ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชีวิตไม่ได้ดลบันดาลวิธีแก้ปัญหาให้แก่เราอย่างง่ายดายเสมอไป ถ้ากำลังประสบปัญหาที่แก้ไขได้ลำบากยากเย็นอยู่ ก็แสดงว่าถึงเวลาที่เราต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สักหน่อยเพื่อค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลเสียแล้ว การคิดหาวิธีแก้ปัญหาหมายถึงการแก้ปัญหาด้วยสิ่งที่เรามีและใช้ความพยายามมากกว่าที่เป็นอยู่ ต่อไปนี้จะเป็นคำแนะนำว่าจะสามารถคิดหาวิธีแก้ปัญหาได้อย่างไร

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

พัฒนาทักษะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองใคร่ครวญอีกครั้งสิว่าอะไรที่เป็นไปได้และอะไรที่เป็นไปไม่ได้ เรามีความสามารถเฉพาะตัวที่สามารถดึงมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายแล้วตอนนี้ การพิจารณาทางเลือกใหม่ๆ นั้นสำคัญต่อการลงมือทำซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้สำเร็จ
    • การเปิดใจหมายถึงความปรารถนาที่จะหาคุณค่าในตัวของผู้คน เหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ที่เราพบเจอ จงยอมรับความเป็นไปได้ โอกาส ผู้คน ความเห็น คำแนะนำ และประสบการณ์ที่แตกต่าง จงระลึกไว้ว่าเราสามารถเรียนรู้จากสิ่งใหม่ๆ และสิ่งที่แตกต่างได้ เมื่อเราคิดนอกกรอบได้ ก็จะสามารถคิดหาวิธีการใหม่ๆ ซึ่งคนอื่นอาจคิดไม่ถึงและนำมาใช้แก้ปัญหาได้
    • พูดว่า “ฉันทำได้” และผลักดันตนเองให้ทำอะไรที่คนอื่นคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แล้วเราจะเห็นว่าทำไมบางคนถึงประสบความสำเร็จ ขณะที่คนอื่นๆ ยอมทิ้งความฝันของตน
    • ออกจากความสุขสบายและออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ถ้าไม่เคยไปต่างประเทศ กินอาหารแปลกๆ เรียนรู้ภาษาใหม่ๆ เขียนหนังสือสักเล่ม หรือกระโดดร่ม ให้ลองดู เราอาจค้นพบอะไรสักอย่างระหว่างทำกิจกรรมที่ไม่เคยทำเหล่านี้ ซึ่งทำให้ชีวิตเราดีขึ้นและช่วยให้เราแก้ปัญหาได้
  2. [1] เราสามารถรับมือกับปัญหาได้ทุกปัญหา เรามีทุกอย่างที่จำเป็นต่อการการแก้ปัญหาอยู่แล้ว นั่นก็คือตัวเราเอง! การระลึกไว้ว่าเรามีความสามารถเพียงพอที่จะทำอะไรสักอย่างเป็นก้าวแรกสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง
    • การมีความมั่นใจในตนเองหมายถึงการมีความชื่นชมและเชื่อใจตนเอง จงมองเห็นพรสวรรค์ ความสามารถ และคุณสมบัติของตน จงเห็นว่าเราสามารถแก้ปัญหาและหาทางแก้ปัญหาได้ [2]
    • นึกภาพถึงความสำเร็จทุกวัน เมื่อมีอุปสรรคเข้ามาขวางทาง ให้นึกภาพตนเองก้าวผ่านอุปสรรคนั้นไปได้ นึกภาพว่าเราบรรลุเป้าหมายและได้ฉลองความสำเร็จนั้น
    • ยอมรับทั้งคำติและคำชม เพราะชีวิตของคนเรานั้นการได้รับคำติคำชมเป็นเรื่องปกติ
    • จดบันทึกความสำเร็จของตนเองอยู่เสมอ บันทึกความสำเร็จของตนเองทุกวัน ในไม่ช้าเมื่อเขียนจนหมดเล่ม ก็จะได้เห็นว่าเราทำอะไรสำเร็จมามากมายแค่ไหน บันทึกนี้จะช่วยเราให้มีความมั่นใจในตนเอง
  3. การคิดหาวิธีแก้ปัญหาคือการทำสิ่งที่เราต้องทำให้ดีที่สุด การมีความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เพียงการสร้างสิ่งใหม่ๆ เท่านั้น แต่เป็นการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นด้วย [3] ลองคิดถึงวิธีการที่พิสดาร รวมทั้งวิธีการที่เรานำไปทำได้จริงดู เราอาจพบวิธีแก้ไขปัญหาที่ได้ผลซ่อนอยู่ในความคิดเหล่านั้นก็ได้
    • ลองคิดสิว่าช่างเครื่องผู้มีประสบการณ์สามารถทำสิ่งมหัศจรรย์ด้วยอะไหล่ทดแทนและมันสมองที่ช่างคิดได้อย่างไร ช่างเครื่องอาจจะไม่ทำตามคู่มือการซ่อม แต่สามารถหาสาเหตุของปัญหาโดยดูจากอาการของเครื่องยนต์ และตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องมือและวัสดุอะไรที่มีอยู่เพื่อซ่อมแซม เราเองก็แก้ปัญหาโดยใช้วิธีการคล้ายๆ กัน [4]
    • ปล่อยให้ตนเองคิดไปเรื่อยเปื่อย อย่าหยุดคิดเพราะเห็นว่าสิ่งที่คิดเริ่มออกนอกลู่นอกทาง ความคิดของเรามักจะเปลี่ยนจากความคิดหนึ่งไปสู่ไปอีกความคิดหนึ่งแล้วก็ไปสู่อีกความคิดหนึ่งต่อไป เราอาจพบความคิดที่เข้าท่า หรือนึกอะไรออกในความคิดเหล่านั้นก็ได้
  4. อย่ารอให้โอกาสมาถึง หรือให้มีคนมาช่วยก่อนถึงค่อยลงมือทำ ถ้าเราปล่อยให้สถานการณ์มากำหนดการกระทำของเรา เราก็ไม่ได้ทำอะไรเสียที ถ้าโอกาสมาถึง ให้เราคว้ามันไว้ อย่าคิดมากว่าจะมีโอกาสหรือไม่มีโอกาส หรือปล่อยให้ตนเองไม่ยอมทำอะไรเลย
    • จงเป็นมากกว่าผู้สังเกตการณ์ เข้าไปมีส่วนร่วมและคลุกคลีกอย่างแข็งขัน การลงมือทำหมายถึงการเริ่มเข้าไปมีส่วนในการแก้ปัญหา
    • อย่าแค่แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อเหตุการณ์ ผู้คน ปัญหาและข้อมูลเท่านั้น แต่ให้เข้าไปมีส่วนช่วยก่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วย เราจะได้มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหานั้น
  5. ถ้าเลิกล้มกลางคันก่อนที่จะแก้ไขปัญหาได้ เราก็จะทำอะไรไม่สำเร็จเลยสักอย่าง ลองพยายามหาวิธีแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแก้ปัญหาได้สำเร็จ [5] อย่ายอมแพ้
    • หาแรงบันดาลใจ ลองคิดสิว่าทำไมเราถึงอยากทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ และใช้เหตุผลนั้นเป็นแรงผลักดันให้ตนเองเดินทางไปสู่เป้าหมาย
    • มีระเบียบวินัย ระหว่างทางไปสู่เป้าหมายย่อมมีอุปสรรคมากมาย ถ้าเราฝึกตนเองให้มีระเบียบวินัยและทำให้เป็นนิสัย ไม่ว่าเจออุปสรรคมากมายแค่ไหน เราก็จะไปถึงเป้าหมาย
    • อย่าถือว่าการไม่ประสบความสำเร็จเป็นความล้มเหลว ให้ถือเสียว่าเป็นการฝึกแทน
  6. ปัญหาทุกอย่างมีทางออกเสมอ จงมองเห็นด้านดีๆ ของเหตุการณ์ทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต ถ้าเรามีทัศนคติที่ถูกต้องแล้ว การหาทางแก้ปัญหาก็จะง่ายขึ้น
    • การนึกถึงตอนที่เรารับมือกับวิกฤติหรือสถานการณ์ที่ยากลำบากและผ่านมาได้ด้วยดีจะทำให้เรารู้ว่าเราสามารถผ่านปัญหาครั้งนี้ไปได้ด้วยเช่นกัน นี้เป็นทัศนคติที่คนแก้ปัญหาเก่งมีเมื่อพบอุปสรรค
    • จำไว้ว่าแต่ละครั้งที่ก้าวผ่านปัญหามาได้ เราจะกลายเป็นคนที่เก่งขึ้นและแกร่งขึ้น ประสบการณ์สอนเราว่าเราสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เราผ่านมาได้แก่ผู้ที่ต้องการกำลังใจ [6]
    • ปรับปรุงตนเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพยายามติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว ถึงแม้จะประสบความสำเร็จแล้ว ก็ยังควรเรียนรู้และพัฒนาตนเองต่อไป อีกทั้งควรเรียนรู้ที่จะยอมรับและสนับสนุนคนอื่นๆ ด้วย [7]
    • ถ้าเรามีจุดอ่อน ก็ให้เรียนรู้วิธีควบคุมหรือเอาชนะจุดอ่อนนั้นให้ได้ เราอาจไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเราไม่รู้จักวิธีการควบคุมความกลัวและจุดอ่อนของตนเอง
    • อ่านหนังสือให้มาก
    • ลองลงเรียนเพิ่มเติม และเรียนรู้วิธีการทำธุรกิจใหม่ๆ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เตรียมรับมือปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราอาจไม่สามารถรับมือกับปัญหาได้ทุกปัญหา แต่เราสามารถคาดการณ์ว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง ยิ่งเราเตรียมตัวล่วงหน้ามาดีเท่าไร เราก็ยิ่งมีวิธีการรับมือกับปัญหามากขึ้นเท่านั้น
    • สร้างเครื่องมือและเรียนรู้วิธีใช้ ยิ่งมีเครื่องมือในการแก้ปัญหา ก็ยิ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้ดี เครื่องมือที่ช่วยในการแก้ปัญหาขึ้นอยู่กับสถานที่ เครื่องมืออาจอยู่ในห้องเก็บของ อยู่ในกระเป๋า อยู่ในชุดการอยู่รอดฉุกเฉิน อยู่ในห้องทำงาน ห้องครัว รถบรรทุกอุปกรณ์ หรือแม้แต่อยู่ในชุดอุปกรณ์ตั้งแคมป์ เรียนรู้วิธีใช้อุปกรณ์ เมื่อถึงคราวต้องใช้ ก็ต้องพร้อมนำมาใช้งาน
    • ฝึกใช้ก่อน ถ้าไม่รู้วิธีเปลี่ยนยางรถยนต์ ก็ให้ลองฝึกเปลี่ยนก่อนจะเกิดเหตุยางแบนท่ามกลางความมืดและสายฝนเข้าจริงๆ เรียนรู้ที่จะกางเต็นท์ไว้ที่สวนหลังบ้าน หรือลองไปไต่เขาช่วงสั้นๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับอุปกรณ์ปีนเขา ให้ปรับปรุงอุปกรณ์และฝึกทักษะการใช้ให้ดีก่อนทดสอบใช้จริง
    • เตรียมวิธีแก้ไขและรับมือกับปัญหาก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นจริงๆ ถ้ากลัวว่าจะลืมกุญแจและเข้าบ้านไม่ได้ ก็ให้ซ่อนกุญแจสำรองไว้ที่สวนหลังบ้าน ให้ใส่กุญแจไว้ในอะไรที่ใหญ่และมองเห็นได้ง่าย เราจะได้หาเจอ ให้คนในบ้านให้ความร่วมมือด้วย จะได้ไม่เกิดปัญหาลืมกุญแจไว้ในบ้านและเข้าบ้านไม่ได้เช่นกัน
    • ฝึกคิดหาทางแก้ไขปัญหาก่อนเกิดปัญหาขึ้นจริง ลองทำอาหารด้วยของที่มีอยู่ในตู้เย็นมากกว่าออกไปซื้อข้างนอก ประดิษฐ์ของใช้เองแทนที่จะซื้อ ลองสร้างของขึ้นใช้เองถึงแม้ของบางอย่างจะมีทำขายตามท้องตลาดก็ตาม
  2. [8] ชีวิตของคนเราต่างก็สร้างมาจากเวลา และเวลาก็มีจำกัด ถ้าเรามีเวลา เราต้องใช้เวลาทำสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ตั้งใจทำทุกอย่างในแต่ละช่วงของชีวิตให้ดีเพื่อสักวันจะได้บรรลุป้าหมายสูงสุดที่เราตั้งเอาไว้
    • เราอาจต้องใช้เวลามากขึ้น ขอเวลามากขึ้น รบกวนเวลาผู้อื่น หรือใช้วิธีการอื่นชั่วคราวเพื่อทำอะไรสักอย่างให้คงทนถาวร การใช้เวลามากน้อยขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการก้าวผ่านอุปสรรคในสถานการณ์ไหน
    • ปิดกั้นสิ่งที่คอยรบกวนและขัดขวาง ถ้ามีเรามีสิ่งที่คอยรอบกวนและขัดขวางไม่ให้จดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ ให้ปิดกั้นสิ่งนั้นเสีย ต้องให้ตนเองมีเวลาทำงานและมีเวลาผ่อนคลาย จำไว้ว่าให้ทำทั้งสองอย่างและตั้งใจทำในสิ่งที่เรากำลังทำขณะนั้น อย่ารับโทรศัพท์หรือพูดคุยเรื่องสัพเพเหระระหว่างทำงาน ปิดทีวีเพื่อให้มีใจจดจ่อมากขึ้น เช่นเดียวกับที่อย่าให้ความเครียดจากการทำงานมามีผลกับการใช้เวลาอยู่กับเพื่อนและครอบครัว
    • จงอดทน เราต้องใช้เวลาอย่างมีค่าก็จริง แต่บางอย่างก็ต้องใช้เวลาถึงจะเห็นผลด้วยเช่นกัน ฉะนั้นขอให้อดทน
  3. ให้ลองดูสิว่ามีใครที่รู้วิธีแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหา หรือช่วยเราแก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นได้ไหม ให้ลองพูดคุยกับเขาถึงหนทางแก้ไขล่วงหน้า ลองปรึกษากับผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ จากนั้นลองระดมสมองหาวิธีแก้ปัญหาด้วยทรัพยากรอันมีจำกัดดู
    • การติดต่อผู้คนอาจเป็นการสะสมทรัพยากรล่วงหน้า การมีเครือข่ายทั้งแบบทางการหรือไม่เป็นทางการเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างแหล่งทรัพยากรไว้สำหรับแก้ปัญหา
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากเขา เข้าหาผู้อื่น ทำความรู้จัก และช่วยเหลือเมื่อพวกเขาต้องการ วิธีนี้จะช่วยทำให้มีใครอยากช่วยเหลือเราเช่นกัน เมื่อเราต้องการความช่วยเหลือ
  4. เงินอาจเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพได้ในบางสถานการณ์ ถ้าเราไม่มีเงินและจำเป็นต้องใช้ การคิดหาหนทางแก้ปัญหาอาจจะเป็นการรวบรวมเงินหรือการหารายได้ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ แต่ก็ให้ลองคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยไม่ใช้เงินเอาไว้ด้วย
    • ขอให้ผู้อื่นช่วยเหลือด้านการเงิน เสนอทำงานที่มีรายได้เป็นสิ่งตอบแทน เราอาจจัดการระดมทุน ถ้าเรากำลังรวบรวมเงินเพื่อเอามาใช้ในจุดประสงค์เพื่อการกุศล
    • หางานทำ การมีรายได้ประจำนั้นทำให้เรามีแหล่งทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้อยู่เสมอ ดูสิว่าเรามีทักษะอะไรบ้างและหางานที่ตรงกับทักษะที่เรามี ลองหางานในเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต และดูงานที่ตรงกับคุณสมบัติของเรา หรือลองหางานจากในหนังสือพิมพ์ว่ามีตำแหน่งอะไรเปิดรับสมัครบ้าง ถ้ามีตำแหน่งหรือบริษัทที่เราอยากทำงานด้วย ลองไปดูที่เว็บไซต์ของบริษัทนั้น และถามว่าเปิดรับสมัครตำแหน่งอะไรบ้าง
    • กลับไปเรียนต่อ วิธีนี้อาจใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล แต่ถ้าเป้าหมายสูงสุดคือการได้เงินเดือนดีๆ นี้ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเรา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ประเมินสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ให้ลองพยายามรู้ให้ได้ว่าปัญหามีอะไรบ้างและทำความเข้าใจให้ชัดเจน การที่มีความรู้สึกต่างๆ นานา เกิดขึ้นในใจ การเอาแต่ครุ่นคิดถึงปัญหา และการมองไม่เห็นหนทางแก้ไขย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา แต่เมื่อรู้ว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง เราก็สามารถคิดแผนมาจัดการปัญหาได้
    • ลองคิดถึงปัญหาสิว่าเป็นปัญหาร้ายแรงไหม เป็นวิกฤตจริงๆ หรือแค่ความไม่สบายใจ หรือเป็นความล้มเหลวหรือเปล่า จำเป็นต้องจัดการโดยทันทีไหม หรือรอหาทางแก้ที่เหมาะสมให้ได้ก่อน ยิ่งเป็นปัญหาเร่งด่วน ก็ยิ่งต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์
    • ถามตนเองว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร จริงๆ แล้วต้องทำอะไร ตัวอย่างเช่น เราต้องสะเดาะกลอนประตูไหม หรือเราต้องการเข้าหรือออกไหม มีปัญหาสองอย่างเกิดขึ้น ปัญหาหลังต้องใช้วิธีแก้โดยปีนเข้าทางหน้าต่าง ปีนข้ามกำแพง หรือลอดรั้ว เข้าที่เส้นทางด้านหลัง หรือเอาบานพับประตูออก พอนึกได้แบบนี้แล้ว เราต้องการเข้าไปอยู่ไหม หรือเราอาจได้สิ่งที่ต้องการจากที่อื่นหรือเปล่า
    • อย่าตื่นตระหนก ความกดดันเป็นตัวกระตุ้นที่ดี แต่คงไม่ดี ถ้าความกดดันทำให้เราคิดอะไรไม่ออก ลองคิดสิว่าทำไมเราถึงไม่สามารถยอมล้มเลิกความตั้งใจนี้ได้ และเหตุผลนั้นจะทำให้เรายังคงยืดหยัดต่อไปจนว่าจะแก้ปัญหาได้สำเร็จ
    • หาทางแก้ปัญหาดีกว่าเอาแต่กังวล จงเรียนรู้ที่จะฝึกจิตใจให้คิดหาวิธีแก้ปัญหาทุกครั้งที่เริ่มรู้สึกกังวล สงบจิตใจตนเองลงเสียก่อน คิดให้ดีก่อนลงมือทำ
  2. การคิดหาหนทางแก้ปัญหาได้ดีนั้นคือการมีความฉลาดเฉลียวและค้นหาวิธีใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์ เรามีทางเข้าถึง หรือได้รับอะไรก็ตามที่ช่วยแก้ปัญหาได้ไหม ทรัพยากรไม่ใช่แค่สิ่งที่เป็นวัตถุอย่างเดียว แต่รวมถึงทักษะ ผู้คนและความคิดด้วย
    • ลองนึกย้อนกลับไป รวบรวมอะไรที่มี เช่น วัตถุสิ่งของ ทรัพยากร ความรู้ ผู้คน และโอกาสต่างๆ จากนั้นจึงค่อยคิดว่าจะนำมาใช้แก้ปัญหาอย่างไร
  3. คนที่คิดหาหนทางแก้ปัญหาเก่งจะใฝ่หาความท้าทายเพื่อก้าวผ่าน ตั้งเป้าหมายเพื่อจะทำให้สำเร็จ และมีความฝันเพื่อสักวันจะทำให้เป็นจริง ทำเป้าหมายเล็กๆ ในชีวิตประจำวันให้สำเร็จเพื่อจะได้สร้างทางไปสู่ความฝันที่ใหญ่กว่า แล้วสักวันความฝันของเราจะเป็นจริง
    • จำไว้เสมอว่าทุกวันคือโอกาสที่เราจะได้วางแนวทางชีวิตที่เราอยากให้เป็น
    • มีความสุขกับชีวิตในปัจจุบันและติดตามความก้าวหน้าของตนเอง ชีวิตในตอนนี้นั้นสำคัญเพราะไม่มีใครรู้ว่าในวันพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น จงทำตามเป้าหมายที่ตนเองตั้งไว้ไปพร้อมกับการมีความสุขอยู่กับปัจจุบันด้วย [9]
    • เริ่มทีเล็กทีละน้อย ทุกคนต่างก็ต้องเริ่มทำอะไรสักอย่างไม่ว่าเล็กแค่ไหน เวลาและความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งจะทำให้ผลเริ่มเห็นเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราต้องการเงิน ก็ให้เริ่มเก็บเงินที่มีตอนนี้ทีละนิด เงินจำนวนเล็กน้อยที่เก็บสะสมทุกเดือนจะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่เมื่อผ่านไปสักหนึ่งปี [10]
    • ทำต่อไป เราจะไม่รู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรจนกว่าเราจะทำจนเห็นผลแล้ว
  4. การมองภาพใหญ่จะทำให้เราเห็นภาพรวม แต่บางครั้งเราต้องเน้นรายละเอียดหรือขั้นตอนแทน ให้คิดสิว่าเราสามารถทำอะไรในระยะสั้นได้ เราจะได้ลงมือทำและก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ลองทบทวนงาน บทบาทและความรับผิดชอบเฉพาะอย่างซึ่งเราต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมาย เช่น ความยากง่าย เงินออม และความเสี่ยง [11]
    • หาข้อมูล มีใครเคยแก้ปัญหาคล้ายกันนี้มาก่อนไหม ปัญหา (หรือระบบ หรือสถานการณ์) ที่เรากำลังพยายามรับมือเป็นอย่างไร ตอนนี้เราควรทำอย่างไรถึงจะไปสู่เป้าหมายได้ เราจะติดต่อใครและติดต่ออย่างไร เราต้องมีขั้นตอนอะไรบ้างเพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหา
    • การค้นคว้าและการอ่านมีประโยชน์มาก การติดตามข่าวสารและเหตุการณ์สามารถช่วยเราได้ในอนาคต เน้นอะไรที่เราพบว่าน่าสนใจหรือเป็นประโยชน์ และหาทางต่อยอด ศึกษาหัวข้อหรือความคิดที่เกี่ยวข้องจนเชี่ยวชาญ
    • หาทรัพยากรของตนเอง การค้นหาทรัพยากรในการแก้ปัญหาและการคิดหาวิธีแก้ปัญหานั้นไม่เหมือนกัน เมื่อเรามีอุปกรณ์และทรัพยากรที่ต้องการอยู่ใกล้มือ เราก็สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้แล้ว แต่การคิดหาวิธีแก้ปัญหาหมายถึงเราใช้ทรัพยากรที่เราหาได้ในการแก้ปัญหา
    • ตระหนักว่าเราไม่รู้หมดทุกอย่าง เตรียมตัวที่จะเรียนรู้จากผู้อื่น แม้แต่คนที่เราคิดว่าไม่รู้อะไร อาจรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ก็ได้
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

แก้ไขปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำอะไรที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน หรือขัดกับความเชื่อที่ยึดถือกันมาหรือบรรทัดฐานทางสังคม ถ้าทำแล้วช่วยแก้ปัญหาได้ เตรียมแสดงความรับผิดชอบ แก้ไขความผิด หรืออธิบาย ถ้าเราทำเกินขอบเขตมากเกินไป กฎดำรงอยู่เพราะมีเหตุผลบางอย่าง แต่บางครั้งกฎและธรรมเนียมต่างๆ ก็ทำให้เรามองไม่เห็นทางแก้ปัญหา การทำอะไรให้สำเร็จไม่จำเป็นต้องทำตามแบบแผนที่มีอยู่เสมอไป [12]
    • ไม่ต้องขอโทษเมื่อทำได้สำเร็จ กลวิธีนี้จะทำให้การฝ่าฝืนกฎเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ได้รับ ระหว่างที่ใช้วิธีแหกกฎ อาจมีกลายครั้งที่เราควรขอโทษคนอื่น แต่ควรขอโทษเมื่อทำให้ผู้อื่นขุ่นเคืองใจจริงๆ เท่านั้น [13]
  2. อย่าปิดกั้นตนเองให้ยึดมั่นวิธีใดวิธีหนึ่ง ให้เลือกวิธีแก้ปัญหาแบบชั่วคราวก่อนและค่อยหาวิธีแก้ปัญหาแบบถาวร ตัวอย่างเช่น ซ่อมจักรยานให้พอขี่กลับบ้านให้ได้ก่อน แล้วค่อยซ่อมแซมอย่างสมบูรณ์ทีหลัง
    • ทดลองก่อน อาจต้องใช้เวลาลองผิดหรือลองถูก แต่ถ้าเราไม่เคยมีประสบการณ์แก้ไขปัญหานั้นเลย การใช้วิธีนี้ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี อย่างที่น้อยที่สุดเราก็ได้รู้ว่าวิธีไหนที่ไม่ได้ผล
    • ปรับตามสถานการณ์ เมื่อต้องหาวิธีแก้ปัญหาแล้ว ไม่มีอะไรตายตัว ลองหาตัวอย่างต่างๆ เพื่อจะได้แนวทางในการแก้ปัญหา และนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์นั้น เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส [14]
    • อย่ากลัวที่จะใช้ของในแบบที่ไม่เคยใช้ ไม้แขวนเสื้อนั้นนำมาดัดให้โค้งงอได้อย่างเหลือเชื่อ และถึงแม้ไขควงจะไม่ได้ใช้เพื่อถาก งัด ทุบ ขูด หรืออะไรอื่นอีกมากมาย แต่ก็สามารถเอามาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวได้ ถ้าจำเป็น
    • อย่าลืมว่าสิ่งที่จับต้องไม่ได้ก็มีประโยชน์ แสงแดด แรงดึงดูด และความปรารถนาดีมีประโยชน์กับเราทั้งนั้น และสามารถนำมาใช้ให้เกิดผลดีกับเราได้
  3. ทุกสถานการณ์มีทั้งด้านบวกด้านลบ พยายามอย่ามองว่าอะไรผิดหรือแย่ มองให้เห็นด้านดีและดูสิว่าเราทำอะไรได้บ้างกับสิ่งดีๆ ที่มีอยู่
    • ถ้าพลาดรถเมล์คันก่อนและรถเมล์คันต่อไปยังไม่มา เราจะสามารถดื่มกาแฟสักถ้วย หรือแวะดูของที่ร้านใกล้ๆ ระหว่างรอได้ไหม ถ้าอากาศเกิดเย็นจัด เราจะถือโอกาสช่วงนี้ออกไปเที่ยวประเทศที่มีอากาศอากาศอบอุ่นกว่าได้ไหม
    • ถ้าหากกลัว ให้ใช้ความกลัวเป็นแรงกระตุ้นตนเอง ความกลัวจะผลักดันให้เราออกจากสถานการณ์ที่เลวร้าย ใช้ความกลัวคิดหาวิธีแก้ปัญหาและลงมือทำ ความรู้สึกต่างๆ จะเป็นแรงจูงใจให้ทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ฉะนั้นจงใช้ความรู้สึกเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์
  4. บ่อยครั้งที่การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว เมื่อตัดสินใจได้แล้ว ต้องเด็ดขาด อย่าวิเคราะห์อะไร ลงมือทำไปเลย เราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ถ้าไม่ลงมือทำก่อน
    • จำไว้ว่าการไม่ยอมตัดสินใจจะทำให้เราสูญเสียบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าผลที่ออกมาจะเป็นการสูญเสียรายได้ มีชื่อเสียงลดลง หรือประสบปัญหาด้านอาชีพการงาน การที่ไม่มีอีเมลต้องตอบหรือการมีโต๊ะทำงานที่ว่างเปล่าไม่มีงานค้างคากองสุมไว้นั้นคือผลของการตัดสินใจที่รวดเร็วและลงมือทำ เมื่อมีปัญหาเข้ามาหาเรา ให้จัดการแก้ไขดีกว่าปล่อยทิ้งไว้
    • การตัดสินใจเรื่องเล็กๆ อย่างรวดเร็วนั้นมีประโยชน์มากทีเดียวไม่ใช่เพียงแค่ช่วยให้เราจัดการทุกอย่างที่เข้ามาได้ดี ยังช่วยลดความเครียด ปรับปรุงความสามารถในการทำงาน และทำให้เราเป็นที่นับหน้าถือตาในด้านการจัดการงาน ข้อดีของการตัดสินใจเร็วเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ทำสิ่งที่ต้องให้เสร็จได้ทันท่วงที
    • เริ่มลงมือทำอะไรสักอย่าง การประวิงเวลาไม่ยอมทำสิ่งที่เราต้องทำให้เสร็จย่อมไม่ช่วยทำให้เราไปถึงเป้าหมาย เริ่มต้นขั้นแรกด้วยการลงมือทำภารกิจที่ต้องทำให้เสร็จ จากนั้นค่อยทำภารกิจต่อไป
  5. ถ้าเคยแก้ปัญหาแล้วทำไม่สำเร็จ ให้ใช้ขั้นตอนนี้เรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ถ้าลองทำวิธีหนึ่งแล้วไม่ได้ผล ให้ลองทำวิธีอื่นคราวหน้า ดูสิว่าเราทำอะไรที่ผิดพลาดไปและเริ่มแก้ไขจากตรงนั้น
    • คิดวิธีแก้ไว้สองสามวิธี บางครั้งแผนที่เราใช้อยู่ก็ไม่ได้ผล เพราะฉะนั้นปัญหาเดียวอาจต้องใช้วิธีแก้หลายวิธี ต้องเตรียมแผนสองและแผนสามไว้ด้วย [15]
  6. บางครั้งเราก็ต้องขอความช่วยเหลือเพื่อทำให้เป้าหมายสำเร็จ ทิ้งทิฐิและขอความช่วยเหลือจากผู้คนที่สามารถช่วยเราแก้ปัญหาได้ ยิ่งเราช่วยกันแก้ปัญหา ก็ยิ่งเป็นการช่วยให้เป้าหมายของกันและกันบรรลุผล เราจึงมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้น [16]
    • ถ้าเราต้องการได้รับความช่วยเหลือเรื่องเล็กน้อย เช่น มีค่ารถกลับบ้านไม่พอ อยากโทรศัพท์เพื่อติดต่อเรื่องเร่งด่วน ต้องการได้แนวคิดดีๆ หรือต้องการกำลังใจ ให้ลองขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาผู้อื่นดู บางครั้งเราอาจได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากคนแปลกหน้าก็ได้
    • การระดมสมองร่วมกันอาจทำให้เราได้วิธีแก้ปัญหาอันดีเยี่ยมร่วมกัน ขอคำแนะนำจากคนที่เรารู้จักและเชื่อใจ ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ถ้าเห็นสมควร ก็ลองขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มีหน้ารับผิดชอบ (เจ้าหน้าที่ พนักงาน ครูอาจารย์ พนักงานต้อนรับ) เพราะบุคคลเหล่านี้มักจะมีช่องทางเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
    • ถ้ามีคนช่วยหนึ่งถึงสองคนแล้วไม่เพียงพอ ให้ขอคนมาช่วยเพิ่มเติมหรือจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา ลองชักชวนส่วนราชการหรือองค์กรอีกสักองค์กรมาช่วยเหลือเรา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าจมอยู่กับอดีต ถ้าต้นเหตุหรือปัญหาแรกเริ่มนั้นเป็นอะไรที่เราแก้ไขไม่ได้ ก็ให้ปล่อยไป
  • ถ้าเราเกิดต้องใช้วิธีแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม เพราะปัญหาเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เราต้องกลับมาใช้วิธีการแก้ไขที่ถูกต้องให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
  • คิดสิว่าเรามีทรัพยากรอะไรบ้าง บางครั้งวิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลดีก็เกิดจากการใช้ทรัพยากรที่มีร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
โฆษณา

คำเตือน

  • กรณีเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย (เกิดภัยคุกคามชีวิตและทรัพย์สินกะทันหัน) วิธีแก้ไขปัญหาที่เราสามารถทำได้และทำได้ดีที่สุดคือแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการจับกุมคนร้ายและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • ต้องรู้ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาแทน


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 30,358 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา