ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความสามารถในการแก้ปัญหานั้นนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าแก้โจทย์คณิตศาสตร์เสียอีก ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานมากมาย ตั้งแต่การทำบัญชีและการเขียนชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ไปจนถึงงานนักสืบและงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเช่น ศิลปะ การแสดง และการเขียน ถึงแม้แต่ละบุคคลจะมีปัญหาแตกต่างกันไป แต่ก็มีวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ได้กว้างขวางอย่างวิธีการแก้ปัญหาที่จอร์จ โพลยา นักคณิตศาสตร์นำเสนอในปี 1945 [1] เราสามารถพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา และรับมือกับปัญหาอะไรก็ตามอย่างเป็นระบบด้วยการทำตามหลักสี่ข้อคือ ทำความเข้าใจปัญหา วางแผน ดำเนินตามแผนที่วางไว้ และประเมิน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ทำความเข้าใจปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองผิวเผิน ขั้นตอนนี้ดูเหมือนง่าย แต่ความจริงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ถ้าเราไม่เข้าใจปัญหาเป็นอย่างดี วิธีแก้ปัญหาของเราอาจไม่ได้ผล หรือแก้ปัญหาไม่ได้เลย เราจะต้องตั้งคำถาม และมองหลายมุมเพื่อจะกำหนดปัญหาได้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ถ้ามีปัญหาสักหนึ่งปัญหา หรือหลายปัญหา เรานำมากล่าวเป็นคำพูดของตนเองได้ไหม การใช้เวลาครุ่นคิดถึงปัญหามากขึ้นจะทำให้เข้าใจปัญหาได้ดีขึ้น และพร้อมที่จะหาวิธีแก้ปัญหา [2]
    • ลองตั้งคำถาม สมมติว่าในฐานะนักเรียนนักศึกษา เรามีเงินน้อยมาก และต้องการหาวิธีแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ ประเด็นปัญหาคืออะไร ปัญหาส่วนหนึ่งคือเรื่องรายได้หรือเปล่า คือเราหาเงินไม่พอใช้ใช่ไหม ปัญหาอีกส่วนหนึ่งคือใช้เงินเกินตัวหรือเปล่า หรือเรามีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด หรือสถานการณ์ทางการเงินเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า
  2. การกล่าวถึงเป้าหมายเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้เข้าถึงสาเหตุของปัญหา เราต้องการทำอะไรให้สำเร็จ เราอยากค้นพบอะไร จำไว้ว่าเราจะต้องอธิบายสิ่งที่รู้และสิ่งที่ไม่รู้เกี่ยวกับปัญหานี้ ร่วมทั้งรู้ว่าจะหาข้อมูลจากไหนเพื่อช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย [3]
    • ถ้าปัญหาเรายังคงเป็นเรื่องเงิน เป้าหมายเราคืออะไร เราอาจไม่มีเงินที่จะออกไปข้างนอกตอนสุดสัปดาห์นี้ ไปดูหนังหรือร่วมกิจกรรมสนุกๆ ที่สโมสร เราเห็นว่าเป้าหมายของเรานั้นต้องใช้เงินมาก เอาล่ะ! เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน เราก็กำหนดปัญหาได้ชัดเจนขึ้นแล้ว
  3. เมื่อเห็นปัญหาและกำหนดเป้าหมายชัดเจนแล้ว เราก็ควรรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อจะได้เห็นภาพของปัญหาชัดเจน รวบรวมข้อมูล ถามผู้คนหรือผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำวิธีแก้ปัญหานั้น หาแหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ต่างๆ หรืออื่นๆ พอมีข้อมูลแล้วให้เรียบเรียง ลองเขียนใหม่ ย่อให้สั้น หรือสรุปข้อมูล อาจลองเขียนเป็นแผนภาพ อาจไม่ต้องทำขั้นตอนนี้ก็ได้ถ้าปัญหานั้นเป็นปัญหาง่ายๆ แต่ถ้าเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ก็อาจจำเป็นต้องทำขั้นตอนนี้ [4]
    • ตัวอย่างเช่น เราจะต้องการภาพสถานภาพทางการเงินของตนเองที่ละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อแก้ปัญหาเงินไม่พอใช้ ลองรวบรวมข้อมูลโดยดูจากรายการเงินฝากถอนล่าสุดในบัญชีเงินฝาก และพูดคุยกับพนักงานรับฝากถอนเงิน บันทึกรายรับและรายจ่ายไว้ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว แล้วจากนั้นจึงสร้างตารางหรือแผนภาพเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายของเรา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

วางแผนแก้ปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นแรกในการหาวิธีแก้ปัญหาคือดูข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่ได้รวบรวมมา และวิเคราะห์ความสำคัญของข้อมูลเหล่านี้ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูล ให้มองหาความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์โดยรวม เริ่มวิเคราะห์ข้อมูลดิบก่อน บางครั้งก็ต้องแยกย่อยข้อมูลให้เล็กลง เพื่อจะได้จัดการได้ง่ายขึ้น หรือนำมาเรียงลำดับตามความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้อง การทำข้อมูลออกมาให้เป็นพวกแผนภาพ กราฟ และแบบจำลองเหตุผลจะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล [5]
    • ตอนนี้รวบรวมรายการฝากถอนเงินทั้งหมดในบัญชีธนาคารมาแล้ว ลองดูรายการเหล่านี้ เงินของเรามาเมื่อไร มาอย่างไร มาจากไหน เราใช้เงินที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร แบบแผนทางการเงินของเราโดยรวมเป็นอย่างไร มีเงินส่วนเกินสุทธิหรือการขาดดุลไหม มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถหาที่มาที่ไปไหม
  2. เมื่อมองข้อมูลและพบว่ามีเงินขาดดุลสุทธิ แสดงว่าเรามีรายจ่ายมากกว่ารายรับ ขั้นต่อไปคือคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่น่าจะนำมาใช้ได้จริง ตอนนี้เราไม่จำเป็นต้องประเมินวิธีแก้ปัญหา ลองระดมสมองหรือระดมสมองแบบคิดตรงข้าม วิธีนี้คือการถามตนเองว่า “ฉันก่อให้เกิดปัญหานี้ได้อย่างไร” จากนั้นตอบคำถามนี้เสีย [6] เราอาจจะยังถามผู้อื่นได้ว่าพวกเขาจะทำอย่างไรด้วย [7]
    • ถ้าปัญหาของเราคือมีเงินไม่พอใช้ แสดงว่าเป้าหมายของเราคือการมีเงินเพื่อมาใช้จ่ายมากกว่านี้ ฉะนั้นมีทางเลือกอะไรบ้าง ลองคิดหาทางเลือกที่น่าจะทำได้โดยไม่ประเมินทางเลือกนั้นว่าได้ผลหรือไม่ได้ผล เราอาจมีรายได้มากขึ้นจากการทำงานพิเศษ หรือรับทุนกู้ยืมเรียน อีกทางหนึ่งคืออาจลองตัดค่าใช้จ่ายหรือลดค่าใช้จ่าย
    • ลองใช้วิธีการดังต่อไปนี้เพื่อช่วยให้เราหาทางแก้ปัญหาได้
      • แตกเป็นปัญหาย่อย และหาทางแก้ทีละปัญหา แตกปัญหาที่เผชิญอยู่นั้นเป็นปัญหาย่อย และระดมสมองหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นทีละปัญหา
      • หาความเหมือน ลองหาปัญหาที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้หรือปัญหาที่คล้ายกัน ถ้าพบว่าสถานการณ์ที่พบเจออยู่นี้คล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่เคยรับมือมาก่อน อาจสามารถนำวิธีการบ้างวิธีมาใช้กับสถานการณ์ตอนนี้ได้
  3. เราจะต้องวิเคราะห์มุมมองทุกมุมว่าวิธีการเหมาะสมไหมเหมือนกับที่เคยวิเคราะห์ข้อมูลดิบ ในบางกรณีอาจหมายถึงการทดสอบกับสถานการณ์หนึ่งๆ หรือดำเนินการทดลอง ในกรณีอื่นๆ อาจหมายถึงการใช้การจำลองสถานการณ์ หรือ “การทดลองทางความคิด”เพื่อเห็นผลการใช้วิธีการปัญหาแต่ละวิธี ลองวิธีการปัญหาที่เหมาะกับความต้องการเรามากที่สุด เป็นวิธีการที่ดูเหมือนจะได้ผล และไม่ก่อให้เกิดปัญหาหนักขึ้นไปอีก [8]
    • จะสามารถเพิ่มรายรับได้อย่างไร ดูที่ค่าใช้จ่าย เราไม่ได้ใช้เงินนอกเหนือที่จำเป็นอย่างเช่น จ่ายค่าเล่าเรียน จ่ายค่าอาหาร และค่าที่พัก มากใช่ไหม เราสามารถลดค่าใช้จ่ายด้วยวิธีอื่นอย่างเช่น หาเพื่อนร่วมห้องมาช่วยแบ่งเบาค่าเช่า เราสามารถรับสิทธิกู้ยืมเงินเรียนเพื่อจะได้แค่มีเงินไปหาความสนุกช่วงสุดสัปดาห์ได้หรือเปล่า ใช้เวลาว่างจากการเรียนมาทำงานพิเศษได้ไหม
    • วิธีแก้แต่ละวิธีจะทำให้เกิดสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ที่ต้องได้รับการประเมิน ลองประเมินดู ปัญหาทางการเงินของเราย่อมต้องให้เราหาวิธีจัดการการใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่นี่ก็ต้องใช้การไตร่ตรองส่วนตัวด้วย ตัวอย่างเช่น เราสามารถลดค่าใช้จ่ายพื้นฐานอย่างเช่น ค่าอาหารหรือค่าที่พักได้ไหม อยากนำเงินไปใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนก่อน หรือยอมเป็นหนี้ก่อน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ทำตามแผนที่วางไว้และประเมินผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอได้เลือกวิธีการปัญหาที่ดีที่สุดแล้ว ก็ลองลงมือทำตามวิธีการแก้ปัญหานั้น อาจกำหนดระยะเวลาก่อนเพื่อจะได้ทดสอบผล หรืออาจจะใช้วิธีการแก้ปัญหานี้ไปตลอดเลย จำไว้ว่าปัญหาที่มองไม่เห็นอาจเกิดในขั้นตอนนี้ได้ สิ่งต่างๆ ที่เราไม่วางแผนไว้ระหว่างการวิเคราะห์และการประเมินตอนแรกอาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะถ้าเรากำหนดปัญหาไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก [9]
    • สมมติเราตัดสินใจลดค่าใช้จ่าย เพราะไม่อยากเป็นหนี้ เราอาจทำงานพิเศษหลังเลิกเรียน หรือหาเพื่อนร่วมห้องมาช่วยกันแบ่งเบาภาระค่าเช้าห้อง อาจลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ตัดค่าใช้จ่ายตรงนั้นตรงนี้ และลองทำไปเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน
  2. คราวนี้เราได้ทำตามวิธีการปัญหาแล้ว ต่อไปมาเฝ้าดูและตรวจสอบผลดีกว่า ถามตนเองว่าวิธีแก้ปัญหานี้ได้ผลหรือไม่ ใช้วิธีการแก้ปัญหานี้แล้วบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการไหม มีปัญหาซึ่งมองไม่เห็นเกิดขึ้นหรือเปล่า ลองตรวจสอบปัญหา และกระบวนการแก้ไขปัญหาของเราดู [10]
    • ผลของการทดสอบจะมีผสมปนเปกันไป ด้านหนึ่งเราได้เก็บเงินไว้เพียงพอที่จะหากิจกรรมสนุกๆ ทำช่วงสุดสัปดาห์ แต่ก็มีปัญหาใหม่ คือเราอาจต้องเลือกว่าระหว่างใช้เงินทำกิจกรรมสนุกๆ และซื้อของจำเป็นขั้นพื้นฐานอย่างอาหาร เราอาจต้องการรองเท้าคู่ใหม่ แต่ไม่มีเงินพอซื้อ เพราะงบมีจำกัด เราอาจต้องหาวิธีแก้ปัญหาใหม่
  3. จำไว้เสมอว่าการแก้ปัญหานั้นดำเนินเป็นวัฏจักร ขั้นตอนการแก้ปัญหาจะสร้างวิธีการต่างๆ ที่อาจนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ และแต่ละวิธีก็ต้องได้รับการประเมิน ถ้าแก้ปัญหาได้ แสดงว่าเราพบวิธีการที่เหมาะสมแล้ว ถ้าไม่ก็ต้องหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ และเริ่มกระบวนการแก้ปัญหาอีกครั้ง [11] ไตร่ตรองวิธีการแรกอีกครั้ง และปรับถ้าไม่ได้ผล ลองวิธีการอื่น ทำตามวิธีการนั้น และตรวจสอบผลลัพธ์ ทำกระบวนการนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั้งแก้ปัญหาได้สำเร็จ
    • พอพ้นหนึ่งเดือนเราอาจตัดสินใจเลิกใช้วิธีการแรก และหางานพิเศษทำ เราอาจจะพบโครงการทำงานควบคู่ไปกับเรียนในบอร์ดประกาศของมหาวิทยาลัย วิธีการใหม่ทำให้เรามีเงินพิเศษโดยไม่เสียเวลาเรียน เราอาจได้วิธีแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ฝึกการใช้ทักษะให้เชี่ยวชาญยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราจะต้องหมั่นฝึกทักษะแก้ปัญหาบ่อยๆ ถ้าอยากพัฒนาทักษะนี้ให้ดีขึ้น และนำมาใช้ได้ตลอด เหมือนกับฝึกใช้กล้ามเนื้อของร่างกาย พูดอีกทางหนึ่ง จะต้อง “ฝึกใช้”บ่อยๆ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเกมลับสมองสามารถเพิ่มความคล่องในการใช้ทักษะแก้ปัญหาได้ [12] มีเกมหรือกิจกรรมที่เราสามารถลองทำดูได้ดังนี้
    • เกมฝึกคำฝึกทักษะการการปัญหาได้ดีเยี่ยม ตัวอย่างเช่น เกม “Split Words” เราต้องจับคู่ส่วนประกอบของคำต่างๆ เพื่อสร้างคำตามภายใต้หัวข้ออย่าง “ปรัชญา” [13] ในเกม “Tower of Babel” เราต้องจดจำ และจำคู่คำในภาษาต่างประเทศให้ตรงกับภาพ [14]
    • เกมคณิตศาสตร์ยังช่วยทดสอบทักษะการแก้ปัญหาเช่นกัน เราจะได้ทำให้ส่วนต่างๆ ของสมองที่ใช้วิเคราะห์ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาตัวเลข หรือแก้ปัญหาคำ ตัวอย่างเช่น “เจมส์อายุเป็นครึ่งหนึ่งของอายุตอนนี้อย่างที่เขาจะเป็นเมื่อแก่กว่าตนเองเมื่อหกปีก่อนที่จะอายุเป็นครึ่งหนึ่งของอายุตอนนี้ 60 ปี เจมส์อายุเท่าไรเมื่ออายุของเขาเป็นสองเท่า 10 ปีหลังจากเขามีอายุเป็นครึ่งหนึ่งของอายุปัจจุบัน” [15]
  2. วิดีโอเกมถูกถือว่าเป็น “ความขี้เกียจทางสติปัญญา” มานาน แต่ผลการวิจัยใหม่ๆ แสดงให้เห็นว่าการเล่นวิดีโอเกมสามารถพัฒนาส่วนต่างๆ ของการคิด อย่างเช่น การรับรู้มิติ การใช้เหตุผล และความจำ แต่ก็ไม่ใช่ทุกเกมที่จะได้ทุกอย่างเท่ากันหมด ตัวอย่างเช่น เกมแนวยิงแบบบุคคลที่หนึ่งสามารถพัฒนาการให้เหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์ แต่ไม่อาจพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาได้เท่าเกมอื่น [16]
    • เล่นเกมที่ทำให้เราฝึกคิดอย่างมีกลยุทธและคิดวิเคราะห์ ลองเกมปริศนาอย่างเตตริส หรือถ้าชอบเล่นเกมประเภทเล่นตามบทบาท หรือเกมวางแผนการรบ เกมอย่าง “ซิวิไลเซชัน” หรือ “ซิมซิตี้” อาจเหมาะกับเรามากกว่า
  3. การมีงานอดิเรกก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาได้อย่างต่อเนื่อง เลือกงานอดิเรกที่มีส่วนเสริมทักษะการแก้ปัญหาให้ทำงาน หรือทำให้ส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะการแก้ปัญหาทำงาน ฉะนั้นการทำงานอดิเรกสักอย่างจะทำให้บริเวณสมองที่ควบคุมการวิเคราะห์รวมทั้งการใช้เหตุผลและการแก้ปัญหาทำงาน [17] นี้คือตัวอย่างงานอดิเรก
    • การออกแบบเว็บไซต์ การเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์ การต่อจิ๊กซอว์ ซูโดกุ และหมากรุก เป็นงานอดิเรกที่ทำให้เราได้ฝึกคิดอย่างมีกลยุทธและอย่างมีระบบ การทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งพวกนี้จะช่วยให้เราพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยรวมได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 61,868 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา