ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
"ภาษาท่าทางของคนเป็นออทิสติก" จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่คำที่เหมาะสมนัก— เพราะคนที่เป็นออทิสติกแต่ละคนก็มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นมันยากที่จะวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคนที่เป็นออทิสติกว่าเป็นเหมือนกันหมด บทความนี้จะอธิบายรูปแบบและความเข้าใจผิดทั่วไป เวลาที่นำข้อมูลในบทความนี้ไปประยุกต์ใช้ ขอให้แน่ใจว่าคุณมองคนเป็นออทิสติกที่คุณรักในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง และระลึกไว้เสมอว่าแต่ละขั้นตอนไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับคนแต่ละคนได้ทั้งหมด
ขั้นตอน
-
1จำไว้ว่าความแตกต่างไม่ใช่ความขาดแคลน. คนที่เป็นออทิสติกสื่อสารด้วยวิธีการที่ต่างออกไป แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการสื่อสารของพวกเขาด้อยกว่า แต่ละคน (รวมถึงคนที่ไม่ได้เป็นออทิสติก) ก็มีกิริยาท่าทางในแบบของตัวเอง และไม่มีคำว่าถูกหรือผิดในเรื่องการของการแสดงออกส่วนบุคคล
-
2อย่าคาดหวังว่าพวกเขาควรแสดงออกอย่างไร. คุณอาจจะมีมุมมองที่ค่อนข้างแคบเกี่ยวกับวิธีการแสดงพฤติกรรมบางอย่าง (เช่น คุณอาจจะคิดเอาว่าการไม่สบตาคือการไม่สนใจ เลยทำให้คุณคิดว่าคนที่เป็นออทิสติกกำลังเมินเฉยใส่คุณทั้งที่จริงๆ แล้วพวกเขากำลังตั้งใจฟังอย่างมาก) พยายามเปิดใจให้กว้างและเรียนรู้แต่ละคน
-
3เปิดรับความแตกต่าง และอย่ากลัวภาษาท่าทางที่คุณไม่เข้าใจ. สิ่งนี้อาจจะใหม่สำหรับคุณ และนั่นก็ไม่เป็นไรเลย การทำหน้าแปลกๆ หรือกระพือแขนอาจดูเป็นสิ่งที่คุณไม่ได้คาดคิดมาก่อน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนเป็นออทิสติกอันตรายหรือกำลังจะทำร้ายคุณ หายใจเข้าลึกๆ และผ่อนคลาย
-
4มองหาบริบท. เนื่องจากภาษาท่าทางเป็นเรื่องซับซ้อน และคนที่เป็นออทิสติกก็แตกต่างกันไป จึงไม่สามารถเขียนรายการหรือแผนภูมิตรรกะภาษาท่าทางอย่างง่ายขึ้นมาได้ มองหาคำบอกใบ้ทางบริบท (สิ่งแวดล้อม สิ่งที่พูด การแสดงสีหน้า) และใช้วิจารณญาณของคุณตัดสิน
-
5ถ้าสงสัยให้ถาม. คุณสามารถขอคำอธิบายเกี่ยวกับความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ ซึ่งดีกว่าการเก็บไปคับข้องใจหรือสับสนคนเดียวแน่นอน (คนที่เป็นออทิสติกเข้าใจความรู้สึกของการต้องการคำอธิบายเรื่องความรู้สึก) ตราบใดที่คุณสุภาพและให้เกียรติ ก็ถือเป็นเรื่องปกติมากๆ
- "ฉันสังเกตว่าคุณดูกระสับกระส่ายเอามากๆ ตอนเราคุยกัน มีอะไรหรือเปล่า หรือปกติเวลาที่ฟังคุณจะเป็นแบบนี้อยู่แล้ว"
- "ฉันสังเกตว่าคุณไม่ได้มองฉันเวลาเราคุยกัน นี่เป็นส่วนหนึ่งของภาษาท่าทางเวลาที่คุณฟังหรือเปล่า"
โฆษณา
มีเคล็ดลับทั่วไปที่ช่วยให้คุณเข้าใจคนที่คุณรักมากยิ่งขึ้น ภาษาท่าทางของคนที่เป็นออทิสติกแต่ละคนอาจตรงกับขั้นตอนต่อไปนี้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนทุกข้อ
-
1รู้ว่าการกระตุ้นมีหลายความหมาย. ถ้าคนที่เป็นออทิสติกกระตุ้นตัวเองเวลาอยู่กับคุณ มันมักจะหมายความว่าพวกเขาไว้ใจคุณที่ปล่อยให้เขาได้เป็นตัวของตัวเอง และยังมีความหมายตามสถานการณ์ด้วย อาจเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ เป็นการลดความเครียดหรือการรับข้อมูลมากเกินไป สิ่งที่ช่วยเพิ่มการจดจ่อ หรืออื่นๆ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง วิธีที่จะทำให้คุณเข้าใจท่าทางบอกใบ้ก็คือ
- การแสดงออกทางสีหน้า —การกระตุ้นในขณะที่ยิ้มไปด้วยมักจะมีความหมายต่างไปจากการกระตุ้นตอนขมวดคิ้ว
- คำพูดและเสียง —สิ่งที่เขาพูดหรือเสียงที่เขาทำ (ร้องไห้ หัวเราะคิกคัก และอื่นๆ) อาจเป็นสิ่งที่บอกถึงความรู้สึกของพวกเขา
- บริบท —ผู้หญิงที่โบกไม้โบกมือเวลาเห็นลูกหมาอาจจะตื่นเต้น แต่ถ้าเธอโบกไม้โบกมือตอนที่ทำโปรเจกต์ยากๆ เธออาจจะกำลังว้าวุ่นใจหรือต้องการพัก
- บางครั้งการกระตุ้นตัวเองก็ไม่ได้มีความหมายในทางอารมณ์ เหมือนกับที่การลุกขึ้นยืนบิดขี้เกียจก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งบอกอารมณ์ของคุณเหมือนกัน
-
2รู้ว่าการมองไปที่อื่นมักเป็นส่วนหนึ่งของภาษาท่าทางที่แสดงถึงการฟังของคนเป็นออทิสติก. การสบตาอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เสียสมาธิหรือเจ็บปวดสำหรับคนเป็นออทิสติก [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงอาจจะมองที่เสื้อ มือ ช่องว่างถัดจากคุณ มือของเขาเอง และอื่นๆ [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง สายตาของพวกเขาอาจจะไม่ได้จดจ่อขณะที่ฟัง ซึ่งมักจะเป็นเพราะว่าสมองของเขากำลังจดจ่ออยู่กับคำพูดของคุณ
- ถ้าคุณคิดว่าเขาอาจจะหลุดจากการสนทนา ให้ลองเรียกชื่อ ดึงความสนใจของพวกเขาทางวาจา หรือโบกมือเบาๆ ตรงหน้าเขา (ถ้าใช้วิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว)
-
3ตีความสีหน้าเรียบเฉยว่าเป็นการแสดงออกถึงการไตร่ตรอง ไม่ใช่ความว่างเปล่า. คนที่เป็นออทิสติกหลายคนจะคลายการแสดงทางสีหน้าลงเวลาที่ใจกำลังวุ่นวายกับเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจมีทั้งการเหม่อมองไปไกลๆ เผยอปากเล็กน้อย และการมีสีหน้าเรียบเฉยโดยทั่วไป
- คนที่เป็นออทิสติกบางคนจะทำหน้าเรียบเฉยโดยอัตโนมัติเวลาที่ตั้งใจฟังคนอื่นพูด
- ถ้าคนที่เป็นออทิสติกจ้องไปที่ช่องว่างข้างๆ เขา ให้เดาว่าพวกเขากำลังใช้ความคิดอย่างหนัก พวกเขายังได้ยินคุณอยู่ (แต่ให้ดึงความสนใจเขาก่อนหากคุณอยากให้เขาฟังคุณ)
-
4มองว่าการกระตุ้นเป็นส่วนหนึ่งของภาษาท่าทางปกติ. การกระตุ้นโดยทั่วไปช่วยให้เขาสงบลง จดจ่อ และรู้สึกดี ถ้าคนที่เป็นออทิสติกกระตุ้นตัวเองเวลาที่เขาคุยกับคุณ ให้มองว่าการกระตุ้นช่วยเพิ่มสมาธิมากกว่าจะเบี่ยงเบนความสนใจ
-
5อย่าตีความการแสดงออกทางสีหน้าอย่างดุร้ายโดยไม่มีแบบแผนว่าเป็นความโกรธหรือความคับข้องใจ. คนที่เป็นออทิสติกบางทีจะทำหน้าแปลกๆ ตามปกติแล้วนั่นหมายความว่าพวกเขาสบายใจมากพอที่จะคุณอยู่กับคุณโดยไม่ต้องปิดบังตัวเอง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีมากๆ! ความหมายของการแสดงสีหน้าแบบนั้นอาจเป็นการแสดงออกถึง
- ความสุข —การยิ้มและความรู้สึกสนุกในแบบของตัวเอง
- การกระตุ้น —พวกเขาต้องให้กล้ามเนื้อใบหน้าได้เคลื่อนไหวบ้าง เหมือนกับที่คุณอาจจะต้องเล่นซิปหรือโยนลูกเบสบอลไปมาถ้าคุณไม่ได้ทำกิจกรรมมากพอ
- ทำหน้าบ้าๆ บอๆ —พวกเขาอยากทำให้คุณยิ้ม
- สีหน้าธรรมชาติ —สีหน้าปกติของคนพิการบางคนอาจแตกต่างจากสีหน้าปกติของคนที่ไม่พิการ
- คับข้องใจหรือเจ็บปวด —มองหาคำบอกใบ้ทางบริบทเพื่อดูว่าตรงกันไหม
-
6ตระหนักถึงการไม่สามารถเคลื่อนไหวบางท่า. การเคลื่อนไหวที่ดูกระตุก เงอะงะ ถูลู่ถูกัง หรือ "โกรธ" อาจไม่ใช่การแสดงออกถึงความโกรธก็ได้ แต่อาจเป็นความผิดปกติของระบบประสาท โรคสมองพิการ ความบกพร่องในการประมวลผลทางประสาทสัมผัส หรือความพิการอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อความง่ายดายในการเคลื่อนไหว ถ้าพวกเขามักจะเคลื่อนไหวแบบนี้ ให้มองว่าเป็นผลมาจากความท้าทายทางกายภาพตามธรรมชาติ และระวังอย่าตีความหมายผิดไปว่าพวกเขาไม่พอใจทั้งที่พวกเขาอาจจะแค่พยายามทำอะไรบางอย่างอยู่ก็ได้
-
7รอเจออาการกระสับกระส่าย. คนที่เป็นออทิสติกเสี่ยงต่อความวิตกกังวลสูงมากและอาจประสบปัญหาด้านประสาทสัมผัสที่ทำให้เกิดความอึดอัดหรือความเจ็บปวด ในกรณีที่พบไม่ได้บ่อยคือการเคลื่อนไหวที่แสดงถึงอาการกระสับกระส่าย (รวมถึงการกระตุ้น) คู่กับสีหน้าเรียบเฉยหรือไม่พอใจอาจหมายความว่าคนที่เป็นออทิสติกต้องการพัก
- ขั้นตอนนี้อาจมีประโยชน์ต่อการป้องกันการอาละวาดและภาวะชะงักงัน
-
8เข้าใจว่าหากไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร. คนที่เป็นออทิสติกอาจทำอะไรต่อมิอะไรมากมายตั้งแต่ร้อง "ปี๊บ! ปี๊บ! ปี๊บ!" คู่ไปกับเครื่องจับเวลาไมโครเวฟไปจนถึงยิ้มและตัวปวกเปียกเมื่อโดนกอด อย่าไปกังวล มองเห็นคุณค่าในความแตกต่างและชื่นชมเขาในแบบที่เขาเป็นโฆษณา
เคล็ดลับ
- มูลนิธิออทิสติกไทยมีแหล่งความรู้และโครงการต่างๆ มากมายที่อาจเป็นประโยชน์กับคุณ
- สีหน้าของบางคนอาจจะไม่ได้สะท้อนความรู้สึกข้างใน เช่น เด็กที่ไม่เคยยิ้มเลยก็ยังรู้สึกได้ถึงความสุข แต่แค่ไม่ได้แสดงออกทางสีหน้าอย่างชัดเจนเท่านั้น [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
คำเตือน
- อย่าใช้การขู่เข็ญ แผนการ หรือการบังคับร่างกายเพื่อทำให้คนที่เป็นออทิสติกทำตามบรรทัดฐานทางสังคม ถ้าพวกเขาอยากจะพยายามเข้ากับสังคมให้ได้ นั่นก็เป็นการตัดสินใจของเขา และเขามีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจด้วยตัวเอง
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ So What Is Stimming?
- ↑ Autism Wikia: Stimming
- ↑ Snagglebox: What's The Deal With Eye Contact?
- ↑ The Mighty: Someone Asked My Son With Autism Why Eye Contact Is Hard. This Was His Answer.
- ↑ Indiana Resource Center for Autism: Should We Insist on Eye Contact with People who have Autism Spectrum Disorders
- ↑ https://adiaryofamom.com/2016/05/25/happy-2/
- Autism NOW: Autistic Body Language
โฆษณา