ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คนเรามักจะทำเป็นไม่สนใจความกลัวที่เรามีและหวังว่ามันจะหายไปเองเสมอ แต่ว่าจริงๆ แล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไปเพราะถ้าคุณไม่เผชิญหน้ากับความกลัวเลยมันก็จะเข้ามาควบคุณได้ในที่สุด คุณคงสงว่าแล้วเราจะควบคุมมันอย่างไร ใช่ไหมล่ะ? วิธีที่ใครๆ ก็ทำได้ก็คือการที่คุณจะต้องไปเผชิญหน้ากับสิ่งหรือสถานการณ์ที่คุณกลัวด้วยจิตใจที่เข้มแข็งนั่นเอง เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถเอาชนะมันไปได้อย่างง่ายดาย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

คิดให้รอบคอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คิดเอาไว้เสมอว่าคุณนั้นไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว. ยังมีคนอีกมากมายเป็นพันเป็นล้านคนที่กลัวในสิ่งที่เหมือนๆ กันอย่างเช่นมากกว่า 50% ของคนอเมริกันกลัวสัตว์ที่ดูน่าขนลุกจำพวก งู แมงมุมหรือแมลงต่างๆ เป็นต้น โดยความกลัวของคุณที่มีต่อสิ่งต่างๆ นั้นมันจะไม่สามารถช่วยให้คุณก้าวผ่านความกลัวที่คุณมีได้เลย เพราะฉะนั้นคุณจะต้องตระหนักเอาไว้เสมอว่าความกลัวนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์แต่มันสามารถแก้ให้หายไปได้โดยใช้ความเข้มแข็งภายในตัวเองเอาชนะมัน [1]
    • คุณสามารถหาความช่วยเหลือจากกลุ่มคนในอินเตอร์เน็ตที่ได้บอกวิธีเอาชนะความกลัวต่างๆ เอาไว้ได้ โดยคุณจะต้องศึกษาว่าพวกเขาเอาชนะความกลัวต่างๆ กันอย่างไรและได้เรียนรู้อะไรจากมันบ้างและแน่นอนว่าใน wikiHow ก็มีบทความต่างๆ ที่จะสามารถช่วยคุณให้เอาชนะความกลัวได้เช่นกัน
      • วิธีการเอาชนะความกลัวการพูดต่อหน้าประชุมชน
      • วิธีการเอาชนะความกลัวใบหน้าของหน้าตัวตลก
      • วิธีการเอาชนะความกลัวเข็ม
      • วิธีการเอาชนะความกลัวคนแปลกหน้า
      • วิธีการเอาชนะความกลัวแมงมุม
      • วิธีการเอาชนะความกลัวความสูง
  2. เพื่อที่จะขับไล่ความกลัวของคุณนั้นออกไปคุณจะต้องรู้ให้ได้ก่อนว่าอะไรทำให้คุณกลัวบ้าง ค่อยๆ นั่งคิดและเขียนออกมาว่าคุณมีความกลัวต่ออะไรบ้าง มันเกิดขึ้นได้อย่างไรและตอนไหนที่มันเป็นหนักๆ แล้วหลังจากนั้นคุณรู้สึกอย่างไร การคิดและจดออกมาแบบนี้จะช่วยคุณสามารถขจัดความกลัวออกไปได้อย่างมีเหตุมีผลและง่ายมากขึ้นเพราะมันจะทำให้คุณมีเป้าหมายในการขจัดความกลัวที่ชัดเจน [2]
    • คุณอาจจะต้องรวมความกลัวเอาไว้เป็นกลุ่มๆ ในกรณีที่คุณมีความกลัวต่อหลายๆ สิ่งที่แตกต่างกัน
    • ลองเขียนหนังสือบันทึกความกลัวของตัวเองดู เมื่อไรที่คุณรู้สึกอยากจะเอาชนะความกลัวให้ได้ ให้คุณหยิบสมุดพกออกมาสักเล่มหนึ่งเพื่อบันทึกความกลัวนั้นเอาไว้ การบันทึกนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่ระบายให้กับคุณอย่างเดียว แต่มันยังเป็นเสมือนกับสิ่งที่คอยย้ำเตือนว่าคุณจะสามารถเอาชนะความกลัวแบบนี้ไปได้เสมอ และมันยังจะทำให้คุณสามารถเข้าใกล้สิ่งที่คุณกลัวได้มากขึ้นอีกด้วย [3]
  3. แยกความแตกต่างให้ออกระหว่างความกลัวที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล. ในหลายๆ สถานการณ์ ความกลัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ยิ่งในโลกแห่งความเลวร้ายและเต็มไปด้วยศัตรูที่เราอยู่กัน การที่คนเรานั้นมีความกลัวมันทำให้มนุษย์สามารถเอาตัวรอดจากหลายๆ อย่างได้มาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว แต่อย่างไรก็ตามความกลับแบบไม่มีเหตุผลนั้นก็มีอีกมายมายในโลกนี้ ซึ่งความกลัวเหล่านี้มักจะก่อให้เกิดความเครียดกับตัวคุณได้ [4]
    • อย่างเช่น มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คุณคุณรู้สึกกลัวและมีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างรุนแรงเวลาที่คุณไปเจอหมีในขณะที่คุณกำลังเดินป่าหรือปีนเขาอยู่เพราะถือว่าคุณกำลังตกอยู่ในอันตราย แต่ถ้าคุณกลัวที่จะขึ้นเครื่องบินเพียงแค่เพราะคุณกลัวเครื่องบินตก นั่นแสดงว่าคุณมีความกลัวแบบไม่มีเหตุผลเข้าแล้ว เพราะทางสถิติแล้วการเดินทางบนเครื่องบินนั้นมีความปลอดภัยมากกว่ารถที่คุณขับเสียอีก [5] เพราะฉะนั้นคุณต้องรู้ว่าอะไรคือความกลัวที่มีเหตุผลและเรียนรู้ที่จะเอาชนะมันให้ได้
  4. เลือกความกลัวที่คุณต้องการที่จะเผชิญหน้ามาสักหนึ่งอย่างและให้เขียนความกลัวนั้นเอาไว้ข้างบนสุดของตัวบันได จากนั้นให้เขียนสิ่งแรกสุดที่คุณจะทำในการเผชิญหน้ากับความกลัวเอาไว้ที่บันไดขั้นแรก และในแต่ละขั้นคุณจะต้องเขียนสิ่งที่คุณจะทำเพื่อให้สามารถไต่ให้ถึงชั้นบนสุดของบันไดให้ได้ ให้คุณทำขั้นบันไดให้ทีถี่ที่สุดเท่าที่จำเป็นและพยายามอย่ารีบร้อนในการทำตามในแต่ละขั้น และทำให้บันไดในแต่ละขั้นกว้างๆ เข้าไว้ด้วยล่ะ [6]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นคนกลัวเครื่องบินแบบที่ว่าแค่อยู่ใกล้ๆ ก็คลื่นไส้แล้ว ขั้นแรกของบันไดให้คุณเขียนเอาไว้ว่าจะเริ่มเรียนรู้ว่าเครื่องบินนั้นใช้เครื่องจักรไม่ใช่บินได้ด้วยเวทย์มนต์อย่างที่คุณคิด ต่อไปให้เขียนไว้ว่า “ฉันจะไปสนามบินให้ได้” อย่าตกใจไปเพราะการทำแบบนี้เป็นการค่อยๆ เผชิญหน้ากับความกลัวทีละขั้นเท่านั้น หลังจากที่คุณสามรถไปที่สนามบินได้แล้วให้คุณลองจองเที่ยวบินระยะเวลาสัก 30 นาทีเพื่อนั่งไปกับเพื่อน และหลังจากที่คุณสามรถทำได้แล้วให้คุณลองกลับมานั่งเครื่องบินด้วยตนเองดู
    • การเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ การที่บางคนนั้นเริ่มต้นด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่ตนเองกลัวที่สุดถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ จะให้ดีคุณต้องค่อยๆ เผชิญหน้ากับมันไปเรื่อยๆ จนสามารถเอาชนะมันได้
    • ในเว็บไซต์ของ Anxiety BC นั้นมีตัวอย่างของบันไดขจัดความกลัวนี้ให้คุณเผื่อว่าคุณไม่แน่ใจว่าจะต้องวาดมันอย่างไร [7]
  5. ถึงตอนนี้คุณก็ต้องเข้าใกล้ความกลัวของคุณมากพอสมควรแล้วเพราะคุณรู้แล้วว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรและคุณก็ซอยมันออกมาดูอย่างละเอียดแล้ว เพราะฉะนั้นมันก็ถึงเวลาแล้วที่คุณจะปรับความคิดของตนเอง จงคิดไว้ว่าความกลัวนั้นก็เป็นเพียงแค่ความคิดของคุณอย่างหนึ่งที่คุณสามารถที่จะควบคุมมันได้เสมอ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเองที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้นจะสามารถช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับความกลัวและเอาชนะมันได้ในที่สุด [8]
    • วิธีหนึ่งในการทำก็คือ คุณจะต้องอย่าไปคิดถึงสิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นแต่กลับกันให้คุณคิดถึงสิ่งที่ดีที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นแทน เช่น ลองนึกถึงสถานการณ์ที่คุณกำลังดำน้ำอยู่แต่คุณกลับเอาแต่คิดถึงสิ่งที่แย่ที่สุดตลอดเวลา เช่น ฉลามอาจจะมากินคุณ อออกซิเจนอาจจะหมดหรือคุณอาจจะจมน้ำ ซึ่งมันจะดีกว่าถ้าคุณเปลี่ยนไปคิดอีกแบบหนึ่ง เช่นว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่ฉลามจากกินคุณเพียงแค่ 1 ใน 3,700,000 เท่านั้น (เหมือนกับที่คุณมีโอกาส 1 ใน 2600 เท่านั้นที่จะได้รับอันตรายจากเครื่องปรับอากาศ) ในทางกลับกันโอกาสที่คุณจะได้รับประสบการณ์ดีๆ จากสิ่งที่คุณกลัวแบบนี้นั้นหายาก แล้วทำไมคุณต้องทิ้งประสบการณ์ที่ทั้งดีและสวยงามแบบนี้ด้วยล่ะ [9]
    • การใช้ความรู้ทางสถิติมาเพิ่มเป็นอาวุธในการต่อสู้กับความกลัวให้กับตัวเองสามารถช่วยเหลือคุณได้เพราะมันจะช่วยลดโอกาสที่จะทำให้คุณคิดมากหรือคิดลบกับสถานการณ์ต่างๆ ได้เนื่องจากคุณจะรู้ข้อเท็จจริงของข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งทีคุณคิดอย่างแน่ชัดแล้ว เช่น ถ้าคุณรู้ข้อเท็จจริงแล้วที่ว่าในช่วงปีพ.ศ. 2535-2554 มีเครื่องบินตกเพียงแค่ 30 ลำเท่านั้นจากทั้งหมด 7,000,000 ลำ และในที่สุดความกลัวของคุณต่อการขึ้นเครื่องบินนั้นมันก็จะค่อยๆ จางหายไปเอง [10]
  6. ความกลัวบางอย่างไม่ได้สร้างความเครียดหรือความเจ็บปวดให้กับชีวิตมากนักถ้าหากว่าคุณสามารถที่จะควบคุมตนเองและมองไปถึงต้นตอของมันได้ (เช่น ถ้าคุณเป็นโรคกลัวงูคุณก็ต้องไม่พยายามไปในที่ๆ มีงูเยอะ) [11] อย่างไรก็ตามความกลัวอื่นๆ เช่น ความกลัวต่อสังคมสามารถทำลายชีวิตประจำวันของคุณได้ หรืออาจจะทำให้ชีวิตของคุณยุ่งเหยิงมากขึ้นได้ เพราะฉะนั้นให้คุณเข้าพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตใจบ้างเผื่อว่าพวกเขาจะให้ความช่วยเหลือกับการใช้ชีวิตและการเอาชนะความกลัวกับคุณได้ [12]
    • อาจจะมีวิธีหลายวิธีที่แตกต่างกันออกไปในการรักษาความกลัวที่ผู้เชี่ยวชาญนั้นจะแนะนำคุณมา เช่น การจ่ายยาจำพวกยาต้านเบต้าหรือยาต้านอาการซึมเศร้า เป็นต้น ซึ่งยาพวกนี้จะช่วยลดความกังวลและความเครียดและในขณะเดียวกันคุณเองก็จะสามรถควบคุมสติตนเองได้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือการเข้ารับการบำบัดให้กล้าเผชิญหน้ากับความกลัวซึ่งจะมีการบันทึกในการเผชิญหน้ากับความกลัวแต่ละอย่างของคุณในแต่ละครั้งซึ่งก็จะมีความกลัวที่แตกต่างกันออกไป (เช่น กลัวการขึ้นลิฟต์หรือกลัวฉลาม) [13]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำตัวให้เป็นผู้ที่ถือไพ่เหนือความกลัวให้ได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจไว้ว่าทุกๆ ความกลัวนั้นมาจากการเรียนรู้. ความกลัวทุกอย่างมักจะเป็นสิ่งที่คุณเรียนรู้มาเสมอ ตอนที่เรายังเด็กคุณอาจจะยังไม่รู้จักความกลัวเท่าที่ควรแต่เมื่อพอเวลาเราโตขึ้น คุณก็จะเริ่มเรียนรู้ที่จะกลัวอะไรสักอย่างหนึ่ง เช่น การพูดกับคนอื่น การพูดต่อหน้าประชุมชนหรือแม้กระทั่งการกลัวที่จะขึ้นรถไฟเหาะ เพราะฉะนั้นให้บอกตัวเองไว้ว่าถ้าความกลัวมันเกิดจากการเรียนรู้ได้เพราะฉะนั้นคุณก็สามารถที่จะเลิกเรียนได้เช่นกัน [14]
    • วิธีนี้จะเหมาะสมกับความกลัวต่อสังคมมากที่สุดเพราะมันเกิดจากจากความกลัวที่คุณเคยโดนปฏิเสธหรือการขาดความมั่นใจในตัวเองมาก่อน ถ้าเกิดคุณไม่ปฏิเสธคนที่คุณรักก่อน โอกาสที่เขาคนนั้นจะปฏิเสธคุณก็น้อยลงเช่นกัน (แต่ถ้าเกิดพวกเขาทำแบบนั้น มันก็ไม่เกี่ยวอะไรคุณแล้วล่ะ เพราะมันก็คงเป็นที่ตัวเขาเองแล้วล่ะไม่ใช่คุณ)
  2. ให้มองตัวเองในอนาคตว่าจะเป็นคนที่มั่นใจและมีความกลัวน้อยที่สุด ความมั่นใจไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าคุณจะประสบความสำเร็จในอนาคตได้ แต่การที่คุณมีความมั่นใจที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งนั้นมันจะทำให้คุณตั้งใจทำสิ่งๆ นั้นมากขึ้นได้ [15] ได้ เพราะฉะนั้นให้คุณวาดภาพตัวเองในอนาคตไว้ให้ดีแบบนี้ และพยายามทำตัวเองให้เป็นอย่างที่วาดไว้ให้ได้
    • อาจจะต้องใช้เวลาฝึกฝนหน่อย ในช่วงแรกอาจจะใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาทีในการวาดภาพวาดภาพอนาคตตนเองก่อน แต่พอมันเริ่มง่ายขึ้นแล้วให้เริ่มเปลี่ยนเป็น 10 นาที และหลังจากนั้นก็ใช้เวลาให้เต็มที่แล้วแต่อยากจะทำเลย
  3. ฝึกกล้ามเนื้อให้มีความผ่อนคลายเพื่อที่จะสามารถช่วยลดความกังวลในชีวิตลงได้ ซึ่งจะสามารถช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นในเวลาที่คุณต้องเผชิญหน้ากับความกลัว [16]
    • นอนลงในที่ๆ รู้สึกผ่อนคลายและมีความเงียบ
    • ฝึกลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อในกลุ่มต่างๆ เช่น ที่มือหรือที่หน้าผาก โดยพยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้นเป็นเวลา 5 วินาที
    • ให้รู้สึกว่ามีความผ่อนคลายค่อยๆ ผ่านไปยังส่วนต่างๆ เหล่านั้น
    • ทำวิธีนี้อีกครั้งหนึ่งในบริเวณกล้ามเนื้อที่มีส่วนสำคัญหลักๆ เช่น กล้ามเนื้อที่ใบหน้า ที่มือทั้งสองข้าง หัวไหล่ หลัง ท้องเอวและสะโพก รวมไปถึงน่องและเท้าทั้งสองข้าง
  4. ความกลัวสามรถกระตุ้นให้ระบบประสาทซิมพาเตติกของมนุษย์นั้นทำงานได้และมันจะทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ใจเต้นแรงหรือหายใจได้ไม่ลึก โดยคุณสามารถแก้ไขได้โดยการพยายามหายใจลึกๆ อย่างเป็นจังหวะ [17]
    • นอนลงแล้วเอามือมาวางบนท้องแล้วในระหว่างที่คุณกำลังหายใจเข้าทางจมูกนั้นคุณจะรู้สึกว่าท้องของคุณกำลังขยายออก จากนั้นให้คอยหายใจออกช้าๆ ผ่านทางปาก ให้ทำแบบนี้ประมาณ 10 ครั้งเป็นอย่างต่ำ
  5. บางคนก็กลัวการอนาคตที่พวกเขาไม่สามารถควบคุมได้ วินสตัน เชอร์ชิลเคยพูดเอาไว้ว่า “เมื่อฉันลองมองย้อนไปในสิ่งที่ฉันกังวลต่างๆ นานา ฉันเห็นเพียงตาแก่คนหนึ่งที่นอนอยู่บนเตียงที่ไม่มีความสุขเพราะสิ่งที่ตนเองกังวลทั้งๆ ที่มันยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย” [18] การทำสมาธิและเรียนรู้ถึงสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้นั้นสามารถทำให้คุณสบายใจขึ้นมาได้ [19]
    • การมีสตินั้นจะสามารถช่วยสร้างความเข้าใจและความยอมรับให้เกิดขึ้นในใจของคุณได้ง่ายขึ้น
  6. การกลัวอะไรสักอย่างหนึ่งมันจะยิ่งทำให้ร่างกายคุณผลิตพลังงานทางด้านลบออกมาซึ่งก็ต้องขอขอบคุณระบบประสาทซิมพาเตติกของมนุษย์ที่คอยตอบสนองต่อสิ่งที่เรากลัวตลอดเวลา! แต่อย่างไรก็ตามในขณะที่คุณรู้สึกประหม่าหรือกระวนกระวายใจในสิ่งที่คุณกลัวนั้น คุณเองสามารถเปลี่ยนพลังงานตรงนี้ให้กลายเป็นความตื่นเต้นและพลังงานด้านบวกแทนได้ ซึ่งร่างกายของคุณเองจะไม่สามารถจับความแตกต่างตรงนี้ได้มากมายเท่าไรนัก [20]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกลัวการเดินทางแต่อยากที่จะไปหาครอบครัวที่อยู่ไกล ให้คุณลองเปลี่ยนพลังงานด้านลบที่เกิดในหัวจากความกลัวต่อรถหรือเครื่องบินแบบนี้เป็นความตื่นเต้นเสีย คุณอาจจะรู้สึกไม่สบายใจสักพักหนึ่งแต่สุดท้ายแล้วคุณก็จะมีความสุขเองเพราะคุณสามารถขจัดความกลัวที่คอยกั้นคุณไม่ให้เจอกับคนในครอบครัวที่คุณรักออกไปได้ [21]
  7. คิดถึงความสำเร็จของคุณสามารถช่วยทำให้คุณมีความมั่นใจตัวเองมากขึ้นและยังสามารถช่วยคุณรู้สึกเข้มแข็งมากพอที่สามารถเอาชนะความกลัวได้ ให้คิดถึงสิ่งเจ๋งๆ ที่คุยเคยได้ทำมา คิดถึงสิ่งที่คุณทำสำเร็จทั้งๆ ที่ตอนแรกคุณไม่คิดว่าจะทำมันได้หรือให้คิดว่าอะไรที่ทำให้คุณแข็งแกร่งขึ้นได้บ้าง [22]
    • อย่าทำให้ความสำเร็จของคุณดูเล็ก เพราะจริงๆ แล้วคุณอาจจะไม่รู้ตัวเลยว่าคุณได้ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ลงไปแล้วและถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ยิ่งใหญ่เท่ากับการที่ได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐเอมริกาแต่มันก็เป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง เช่น การที่คุณเรียนจบ จ่ายภาษีตรงเวลาหรือแค่การทำมื้อเย็นทานเอง
  8. ขณะที่คุณกำลังจะเผชิญหน้ากับความกลัวให้คุณคิดถึง 20 วินาทีข้างหน้าเข้าไว้ ซึ่งมันเป็นเพียงแค่ 20 วิเท่านั้นไม่ใช่ทั้งชีวิต และในที่สุดหลังจาก 20 วินาทีนั้นคุณก็จะมีความสุขและสามารถอาชนะความกลัวได้ [23]
    • มันจะเป็น 20 วินาที ของความกล้าหาญ 20 วินาที ที่คุณจะเพลิดเพลิน และ 20 วินาทีกับประสบการณ์เจ๋งๆ ที่คุณจะหาไม่ได้จากที่ไหนอีก มันไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่ไหมล่ะที่คุณจะใช้เวลาเพียงเสี้ยวนาทีเพื่อเอาชนะความกลัว หลังจากนั้นคุณก็จะมีความสุขได้ในแบบที่คุณต้องการ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ต่อสู้กับความกลัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มต้นจากขั้นแรกของบันไดโดยให้ทำขั้นแรกซ้ำๆ จนกว่าคุณจะรู้สึกสบายใจก่อน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกลัวการพูดต่อหน้าประชุมชน ให้คุณเริ่มจากการพูดทักทายง่ายๆ ก่อน เช่น ทักทายคำว่า “สวัสดี” กับพนักงานขายในร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น โดยคุณต้องเตรียมการหรือซ้อมก่อนที่จะไปพูดแบบนี้เพื่อที่คุณจะได้สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ [24]
    • ถ้าคุณกลัวกับประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้ เช่น กลัวความสูง ให้คุณพยายามเผชิญหน้ากับมันบ่อยๆ (เช่น ให้คุณยืนอยู่บนชั้นสองของห้างสรรพสินค้าและมองลงมาด้านล่าง) หรือถ้าคุณกลัวการกระทำหรือวัตถุบางอย่าง ให้คุณลองทำสิ่งนั้นซ้ำๆ จนกว่าความกังวลจะจางหายไป (เช่นการทักทายทุกๆ คนที่คุณพบในซุปเปอร์มาร์เก็ต)
    • การที่คุณสามารถเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่คุณกลัวได้นานแค่ไหนนั้นจะยิ่งทำให้คุณมีโอกาสที่จะเอาชนะความกลัวนั้นได้มากขึ้นเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามถ้าเกิดคุณทนไม่ไหวก็อย่าฝืนเพราะคุณสามารถที่จะพักและค่อยไปเริ่มใหม่ในวันต่อไปได้
  2. พยายามอย่ากดดันตัวเองมากเกินไป เมื่อคุณสามารถที่จะก้าวข้ามบันไดขั้นแรกด้วยความกังวลที่น้อยลงได้แล้วให้คุณค่อยๆ ก้าวข้ามไปอีกขั้นหนึ่งโดยไม่ต้องรีบร้อน และเมื่อคุณเริ่มมีความสบายใจในการที่จะเผชิญหน้ากับความกลัวของคุณแล้วก็จงอย่าเพิ่งหยุด ให้คุณค่อยๆ เดินต่อไป ก้าวไปทีละขั้นเพื่อท้าทายตนเองให้สามารถเอาชนะความกลัวให้สำเร็จ [25]
  3. คุณอาจจะมีโอกาสเจอคนที่มีความกลัวคล้ายๆ กับคุณ โดยพวกคุณสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ เพราะฉะนั้นคุณไม่ต้องอายที่ขอความช่วยเหลือซึ่งกันและกันแต่ถ้าในกรณีที่คุณหากลุ่มคนที่กลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหมือนกันไม่ได้ก็ให้คุณไปปรึกษาเพื่อนๆ เพื่อขอความช่วยเหลือแทนก็ได้เช่นกัน [26]
    • บอกให้เพื่อนๆ และครอบครัวของคุณรู้เกี่ยวกับแผนเผชิญหน้าความกลัวของคุณและให้พวกเขาคอยเป็นกำลังใจและสนับสนุนคุณเผื่อว่าคุณจะต้องการให้พวกเขาช่วยทำอะไร เพราะพวกเขาก็ต้องยินดีที่จะช่วยเหลือคุณอยู่แล้ว
  4. การคุยกับคนอื่นเกี่ยวกับเรื่องความกลัวของตนเองสามารถทำให้คุณรู้ได้ว่าคุณนั้นก็ไม่ยืนอยู่ตรงนี้เพียงลำพังและอาจจะเริ่มมองว่าความกลัวนั้นมันก็สามารถถูกควบคุมได้ไม่ยาก โดยเพื่อนของคุณอาจจะให้ความช่วยเหลือกับคุณหรือให้คำแนะนำถึงวิธีที่จะเอาชนะความกลัวของคุณได้ และในที่สุดคุณอาจจะเห็นความกลัวของคุณเป็นแค่เพียงเรื่องตลกเพราะคุณมีเพื่อนๆ ที่คอยสนับสนุนคุณให้คุณมีความกล้าหาญในการเผชิญหน้าอยู่เสมอ [27]
    • ตัวอย่างเช่นถ้าคุณจะต้องพูดต่อหน้าประชุมชนแต่คุณเป็นคนที่กลัวการกระทำแบบนี้อยู่แล้ว ให้คุณลองไปปรึกษาเพื่อนๆ ดู คุณอาจจะลองซ้อมพูดกับเพื่อนที่สนิทกับคุณก่อนก็ได้หรือซ้อมพูดกับคนที่คุณรู้สึกสบายใจที่จะอยู่ด้วยหลายๆ ครั้ง การทำแบบนี้มันจะทำให้คุณยิ่งมีความมั่นใจมากขึ้นเพื่อที่จะสามารถไปพูดต่อหน้าคนหมู่มากของจริงได้ [28]
  5. "แสร้งทำจนกว่าคุณจะรู้สึกว่าทำได้จริงๆ" การศึกษามากมายได้บอกเอาไว้ว่าการที่คุณแกล้งว่าคุณมีความมั่นใจตัวเองนั้นทำให้พอนานๆ เข้า คุณจะสามารถมีความมั่นใจตัวเองขึ้นมาได้จริงๆ และถ้าคุณมีความกลัวในการพูดต่อหน้าประชุมชน ซึ่งในกรณีนี้คุณก็ต้องรู้ดีอยู่แล้วว่าคุณมีข้อเสียอะไรบ้างที่เป็นปัญหาที่ทำให้คุณไม่กล้าทำสิ่งนี้ ให้คุณพยายามสร้างความมั่นใจในตัวเองขึ้นมาเพื่อที่จะสามารถไปพูดต่อหน้าคนจำนวนมากได้ถึงแม้ว่ามึงจะเป็นการเสแสร้งสร้างความมั่นใจขึ้นมาก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้วคุณก็จะค่อยๆ มีความมั่นใจและจะรู้สึกว่าการพูดต่อหน้าชุมชนนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัวอะไรเลย [29]
    • คุณจะแปลกใจกับการที่คุณสามารถหลอกจิตใจของตัวเองได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณรู้ว่าสิ่งที่ทำให้คุณยิ้มนั้นสามารถทำให้คุณมีความสุขได้ คุณก็ใช้กฎเดียวกับการเสแสร้งนั่นแหละ โดยคุณก็จะต้องเสแสร้งว่าคุณมีความมั่นใจถึงแม้ว่าภายในใจคุณจะกลัวสิ่งตรงหน้ามากแค่ไหนก็ตาม [30]
  6. ทุกๆ ครั้งเมื่อคุณเผชิญหน้ากับความกลัวที่เล็กๆ น้อยๆ ได้แล้วมันก็เหมือนกับว่าคุณได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง เพราะฉะนั้นคุณต้องให้รางวัลกับตัวเองเพื่อเป็นแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้เอาชนะความกลัวได้ [31]
    • เมื่อไรที่คุณสามารถเอาชนะความกลัวได้อย่างราบคาบได้แล้วคุณก็ต้องให้ของขวัญชิ้นใหญ่กับตนเองด้วย ยิ่งความกลัวใหญ่เท่าไรคุณยิ่งต้องหาของขวัญชิ้นใหญ่ให้ตนเองมากเท่านั้น ตั้งรางวัลเอาไว้เพื่อเป็นแรงจูงใจเพื่อเดินหน้าต่อเพราะทุกคนล้วนแต่ต้องการแรงจูงใจด้วยกันทั้งนั้น และเมื่อไรที่มีคนรู้ว่าคุณมีเป้าหมายคุณก็จะยิ่งรู้สึกกดดันให้ทำมันให้สำเร็จ และยิ่งถ้าคุณคิดบวกเข้าไว้คุณก็จะสำเร็จได้ง่ายขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าหนีความกลัวโดยการออกไปช้อปปิ้ง ดื่มเหล้าหรือพยายามหาอะไรอย่างอื่นทำเพื่อกลบเกลื่อนเพราะการเผชิญหน้ากับความกลัวและการพยายามเปลี่ยนวิธีคิดของคุณให้ไม่กลัวสิ่งต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า
  • คุณอาจจะยังไม่สามารถลบความกลัวได้อย่างถาวรและอาจจะมีความไม่สบายใจเกิดขึ้นบ้างเวลาเจอสิ่งที่กลัว ให้คุณจำไว้เลยว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา อย่ารีบล้มเลิกความตั้งใจแต่ให้พยายามเอาชนะมันต่อไป
  • ยิ่งคุณมีความกล้าในการเผชิญหน้ากับความกลัวมากเท่าไรคุณก็จะยิ่งมีโอกาสในการเอาชนะความกลัวได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ใช้ทั้งเหตุผลและความระมัดระวังในการเผชิญหน้ากับความกลัว เช่น ถ้ากลัวฉลามก็อย่าพยายามกระโดดไปในน้ำที่มีฉลากอาศัยอยู่อย่างชุกชุม
  • อย่าผลีผลามหรือรีบเข้าไปเผชิญหน้ากับความกลัวโดยที่ไม่คิดเพราะมันอาจจะทำให้คุณยิ่งกลัวมากขึ้นก็ได้
  • ความกลัวบางประอย่างที่ถูกจัดว่าเป็นโรคได้แก่ โรคตื่นตระหนก โรคมีความกังวลมากเกินไป และโรคกลัวสิ่งต่างๆ โรคเหล่านี้นั้นมักจะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจังเพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหรือคุณหมอ
โฆษณา
  1. http://www.adaa.org/living-with-anxiety/ask-and-learn/ask-expert/how-can-i-overcome-my-fear-of-flying
  2. http://www.anapsid.org/ophidi.html
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/phobias/basics/definition/CON-20023478?p=1
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/phobias/basics/definition/CON-20023478?p=1
  5. http://www.psychologicalscience.org/index.php/news/releases/people-arent-born-afraid-of-spiders-and-snakes-fear-is-quickly-learned-during-infancy.html
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/thriving101/201012/rejection-losers-guide
  7. http://www.amsa.org/healingthehealer/musclerelaxation.cfm
  8. http://healthland.time.com/2012/10/08/6-breathing-exercises-to-relax-in-10-minutes-or-less/
  9. http://www.psychologytoday.com/blog/high-octane-women/201210/13-quotes-help-you-face-your-fears
  10. http://blogs.psychcentral.com/dbt/2011/10/how-you-can-overcome-intrusive-thoughts/
  11. http://www.entrepreneur.com/article/226814
  12. http://www.forbes.com/sites/amyanderson/2013/10/16/face-your-fear-the-result-might-be-amazing/
  13. http://www.theguardian.com/science/2012/jun/30/self-help-positive-thinking
  14. http://www.forbes.com/sites/amyanderson/2013/10/16/face-your-fear-the-result-might-be-amazing/
  15. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/FacingFears_Exposure.pdf
  16. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/FacingFears_Exposure.pdf
  17. http://www.freedomfromfear.org/AboutAnxietyandDepression.en.html
  18. http://pss.sagepub.com/content/early/2012/08/16/0956797612443830.abstract
  19. http://www.coedu.usf.edu/zalaquett/Help_Screens/Speakers_Anxiety.htm
  20. http://www.entrepreneur.com/article/226814
  21. http://www.scientificamerican.com/article/smile-it-could-make-you-happier/
  22. http://www.simplypsychology.org/operant-conditioning.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,374 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา