ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เรื่องรบกวนจิตใจ หรือที่เรียกว่า intrusive thoughts นั้นปกติแล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ใครๆ ก็มีกัน แต่สำหรับบางคน มันช่างสับสนจนชวนเครียดได้เหมือนกัน หนักเข้าอาจคิดวนแต่เรื่องนั้นถึงขั้นหมกมุ่น ปล่อยวางไม่ค่อยจะได้ บอกเลยว่าอาการหมกมุ่นแบบนี้อาจลุกลามไปเป็นอาการทางจิตที่รุนแรงกว่าได้ถ้าไม่รู้จักดูแล ถ้าคุณรู้สึกตัวว่าชักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องกังวลของตัวเองมากเกินไปแล้ว ก็รีบไปปรึกษาคุณหมอดีกว่า หรือจะลองอ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้วิธีเลิกหมกมุ่นคิดถึงแต่เรื่องบางเรื่องของตัวเองก่อนก็ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เรื่องรบกวนจิตใจคืออะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. disturbing thought หรือเรื่องรบกวนจิตใจนั้น ก็คือเรื่องที่อยู่ๆ ก็ผุดคิดมาในความคิดคุณแบบปัจจุบันทันด่วน โดยมักเกี่ยวข้องกับความรุนแรง เซ็กส์ และเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจในอดีต แต่นี่แค่น้ำจิ้ม เพราะยังแตกแขนงออกไปได้อีกหลายเรื่อง นักจิตวิทยาเรียกความคิดพวกนี้ว่า intrusive thoughts (ความคิดรุกราน) เพราะอยู่ๆ ก็โผล่ขึ้นมาในหัวเราเฉย และมักจะมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย จนเราพาลวิตกกังวลไปหมด [1] เรื่องรบกวนจิตใจของใครก็ของคนนั้น ไม่เหมือนกัน แต่เรื่องยอดนิยมก็คือ
    • จินตนาการว่าตัวเองทำเด็กทารกที่อุ้มอยู่หล่นหรือขว้างเด็กทิ้งไป ถึงจริงๆ คุณไม่มีทางทำอย่างนั้นแน่นอน แต่บางทีมันก็ผุดขึ้นมาในหัวเองซะเฉยๆ
    • จินตนาการว่าขับรถทับหัวหน้า บางทีเวลาหัวหน้าทำให้คุณไม่พอใจ อยู่ๆ อาจมีความคิดทำนองนี้โผล่ขึ้นมาในหัวคุณ ทั้งๆ ที่เอาเข้าจริงคุณก็ไม่มีทางทำหรอก
    • แอบจินตนาการว่าตัวเองมีเซ็กส์แบบดุเด็ดเผ็ดมัน ถึงในชีวิตจริงคุณจะไม่ทำอะไรแบบนั้น หรือไม่อยากให้ใครมาทำกับคุณก็เถอะ
    • รีรันเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจในหัว อย่างรถชนกันหรือถูกทำร้าย
  2. หลายคนเผลอคิดเรื่องพวกนี้แต่ก็เปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่นได้ไม่ยาก แต่ถึงจะดูเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป ก็มีบางคนที่กังวลและถึงขั้นหมกมุ่นกับความคิดชั่วแล่นแบบนี้ของตัวเอง ถึงจะไม่ใช่อะไรที่จะลองทำจริงก็เถอะ แต่การหมกมุ่นก็ทำเอาเครียดได้ ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนั้น ก็รู้ไว้เลยว่ายังมีคนอีกเยอะที่เป็นเหมือนคุณ [2]
  3. เป็นเรื่องธรรมชาติที่คุณจะมีความคิดแปลกๆ แวบเข้ามาในหัว พวกความคิดที่คุณไม่มีทางทำจริงน่ะ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องผิดเลย จริงๆ แล้วบ่อยไปที่เราคิดเรื่องพวกนี้ เพราะเรา ‘’’ไม่อยาก’’’ ทำอะไรแบบนั้นไงล่ะ คนเราบางทีก็ใจลอยคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อย เผลอจินตนาการว่าจะเป็นยังไงถ้าเกิดเหตุการณ์เลวร้ายสุดๆ [3]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สำรวจเรื่องรบกวนจิตใจของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงสัญชาตญาณแรกสุดมักจะเป็นการหลีกหนีไม่คิดถึงเรื่องพวกนั้นก็เถอะ แต่จริงๆ แล้วเป็นวิธีที่ผิด ถ้าคุณพยายามทำเฉยหรือห้ามใจไม่ให้คิดถึงมันละก็ บอกเลยว่าคราวนี้จะคิดถึงมันมากกว่าเดิมอีก การกลบเกลื่อนเรื่องรบกวนจิตใจอาจทำให้คุณถึงขั้นหมกมุ่นกับมันจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้ [4] แทนที่จะพยายามปิดกั้นเรื่องพวกนั้น ลองเผชิญหน้า แล้วทำความเข้าใจกับมันดู [5]
    • เจาะลึกเรื่องรบกวนจิตใจของคุณ มันคือเรื่องอะไร ทำไมคุณถึงพยายามไม่คิดถึงมัน?
  2. อะไรที่กวนใจก็เขียนมันลงไปให้หมด จะได้เปลี่ยนวิธีที่คุณคิดถึงมัน แถมการเขียนก็ทำให้คุณได้ระบายความคิดพวกนั้นออกมา คราวนี้ก็คิดถึงมันน้อยลงแล้วล่ะ [6] [7] คราวหน้าถ้าคุณมีเรื่องกวนใจเมื่อไหร่ ให้สละเวลาสักนิดมาเขียนบันทึก และเวลาเขียนความคิดพวกนั้น ให้ลองถามตัวเองดูด้วยคำถามต่อไปนี้
    • อะไรที่ทำให้คุณรู้สึกไม่ดีกับความคิดนั้น? กลัวจะทำลงไปจริงๆ? แค่คิดออกมาได้ก็น่ากลัวแล้ว? หรือกลัวสังคมประนาม?
    • คุณเผลอคิดเรื่องพวกนี้บ่อยแค่ไหน? จดไว้ทุกครั้งที่คุณคิดถึงมันขึ้นมา จะได้พอเห็นรูปแบบการเกิดความคิดนั้นๆ เช่น ชอบเผลอคิดเวลาไหนของวันหรือของอาทิตย์มากที่สุด
    • มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิดพวกนี้ไหม? ความคิดนี้ชอบแวบเข้ามาในหัวทุกครั้งที่เห็นใครหรืออะไรหรือเปล่า?
    • พอเกิดความคิดนี้ขึ้นมาแล้วคุณทำยังไง? คิดต่อไปแถมลงรายละเอียดอีกหรือเปล่า? เล่าให้ใครฟังไหม? หรือพยายามไม่คิดถึงมัน?
    • ชอบคิดเรื่องเดียวตลอด หรือมีหลายเรื่อง? แล้วหลายเรื่องที่ว่านี่คล้ายๆ กันไหม?
    • คุณกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาของความคิดนั้น หรือคุณกังวลที่ตัวเองเผลอคิดเรื่องนั้นขึ้นมากันแน่? เช่น คุณกลัวจะเผลอโยนเด็กใส่กำแพงขึ้นมาจริงๆ หรือเครียดเพราะตัวเอง ‘’มีความคิดแบบนั้น’’ ขึ้นมากันแน่?
    • คุณกังวลกับเรื่องที่คิด หรือกลัวว่าคนอื่นจะมองคุณยังไงเพราะคุณคิดเรื่องแบบนี้กันแน่? คุณกลัวว่าคนอื่นจะรู้ว่าคุณคิดแบบนั้นแล้วตัดสินคุณ มากกว่ากังวลเรื่องเนื้อหาของความคิดนั้นใช่ไหม?
    • คุณรู้สึกว่า ต้อง คิดเรื่องนี้หรือเปล่า? บางทีที่ความคิดบางเรื่องผุดขึ้นมาทักทายคุณบ่อยๆ เป็นเพราะคุณไม่ยอมลงมือทำสักที เช่น การตัดสินใจเรื่องนั้นๆ เป็นต้น แต่บางเรื่องที่โผล่มาบ่อยๆ ก็เพราะคุณกังวลเกี่ยวกับมัน แต่ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องคิดถึงมันอยู่ตลอด
    • มีอะไรที่คุณทำหรือต้องทำแล้วตัวเองจะรู้สึกดีขึ้นไหม? พูดง่ายๆ คือมีอะไรที่คุณทำแล้วสามารถพลิกสถานการณ์ได้ไหม?
    • คิดเรื่องพวกนี้แล้วคุณรู้สึกยังไง? ให้อธิบายเป็นคำออกมา เช่น โกรธ เศร้า ตื่นเต้น และอื่นๆ จะได้จัดประเภทความคิดมั่วซั่วผลุบๆ โผล่ๆ พวกนี้
    • เรื่องพวกนี้รบกวนจิตใจคุณจริงๆ หรือเป็นเพราะคนอื่นบอกว่าเรื่องแบบนี้มันน่าเป็นห่วงกันแน่?
  3. พยายามแกะรอยย้อนไปถึงต้นตอของความคิดพวกนี้ คุณจะได้คลายความกังวลลง เช่น ถ้าคุณชอบกังวลว่ามีคนจะบุกเข้ามาในบ้านแล้วทำร้ายคุณ ลองถามตัวเองดูว่าเริ่มมีความคิดแบบนี้ครั้งแรกเมื่อไหร่ และทำไมถึงอยู่ๆ คิดถึงเรื่องนี้
  4. มีงานวิจัยที่แสดงว่าการดูข่าวมากไป โดยเฉพาะเรื่องการใช้ความรุนแรง ทำให้คุณเกิดความเครียดได้ จนเริ่มวิตกจริตคิดกังวลขึ้นมาบ่อยๆ [8] ลองสังเกตตัวเองดูว่าปกติอ่านข่าวดูข่าวที่มีการใช้ความรุนแรงบ่อยแค่ไหน
    • ถ้าพบว่าตัวเองเห็นข่าวแรงๆ บ่อยๆ จนอาจเป็นสาเหตุว่าทำไมคุณถึงชอบเผลอคิดเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ ให้เลิกดูหรืออ่านข่าวสักพัก หรือหันไปสนใจแต่ข่าวดีๆ แทน
  5. เอาจริงๆ นะ จินตนาการลับๆ เรื่องเซ็กส์ส่วนใหญ่ไม่มีอะไรให้ต้องกังวลหรอก [9] ถ้าคุณคิดว่าจินตนาการของคุณมันน่ารังเกียจ หรือมีการใช้ความรุนแรงและเรื่องผิดกฎหมายอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ถือเป็นวิธีการที่คุณใช้ทำความเข้าใจและรับมือกับเรื่องพวกนี้นั่นแหละ
    • เช่น บางคนอาจจินตนาการว่าตัวเองไปข่มขืนคนที่ตัวเองไม่อาจเอื้อม แต่ระหว่างที่คิดเรื่องข่มขืนนั้น คนที่จินตนาการก็อาจคิดได้ด้วยว่าทำแบบนั้นเป็นการทำร้ายร่างกายคนอื่นเขา ความเจ็บปวดของคนอื่นนั่นเองที่จะทำให้คนจินตนาการหยุดคิดเรื่องนั้นได้ [10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปล่อยวางเรื่องรบกวนจิตใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอคุณได้ลองใช้เวลาคิดพิจารณา ทบทวนเรื่องราวของความคิดรบกวนจิตใจแล้ว ก็ถึงเวลาก้าวข้ามไป ลองทำกิจกรรมดีๆ ข้างล่างนี่ดู จะได้เบี่ยงเบนความสนใจไปคิดเรื่องอื่น
    • ออกกำลังกาย ช่วยลดความเครียดและวิตกกังวล
    • หางานอดิเรกทำ จะได้มีอะไรให้คิดให้ทำ
    • ไปเที่ยวกับเพื่อน
    • พกหนังสือไปนั่งอ่านที่ร้านกาแฟ
    • แต่งกลอน วาดรูป ร้องเพลง
  2. สำหรับบางคน เรื่องกวนใจพวกนี้อาจสื่อถึงพฤติกรรมต่อต้านสังคม โรคจิตเภท ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ ถ้าเรื่องกวนใจแวบขึ้นมาบ่อยๆ ให้ลองถามตัวเองดูว่า [11]
    • คุณมีแนวโน้มจะลงมือทำเรื่องอันตรายอย่างที่คิดไหม?
    • คุณมีแนวโน้มจะทำร้ายตัวเองหรือคนอื่นหรือเปล่า?
    • คุณคิดถึงหรือเผลอจินตนาการถึงวิธีทำร้ายคนอื่นแล้วตั้งใจจะทำจริงหรือเปล่า?
    • มีเสียงบางอย่างคอยสั่งให้คุณทำร้ายตัวเองหรือคนอื่นหรือเปล่า?
    • ความคิดหรือพฤติกรรมที่คุณหมกมุ่นส่งผลต่อชีวิตส่วนตัวหรือการทำงานของคุณหรือเปล่า?
    • คุณนึกย้อนถึงเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจซ้ำไปซ้ำมาหรือเปล่า?
      • ถ้าคุณตอบว่า ใช่ ในข้อใดก็ตาม คุณควรรีบเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน
  3. เข้าร่วมกลุ่มบำบัดถ้าเรื่องที่คุณหมกมุ่นเป็นเรื่องที่คนอื่นเขาประสบปัญหาเหมือนกัน. ถ้า intrusive thoughts ของคุณเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่เขาประสบปัญหากัน ให้ลองเข้าร่วมกลุ่มบำบัด จะได้และเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์กับคนหัวอกเดียวกัน เช่น ถ้าสามีหรือภรรยาคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ก็มีกลุ่มบำบัดสำหรับคู่สามีหรือภรรยาของคนเป็นมะเร็งให้ได้แบ่งปันความรู้สึกและปัญหากัน [12]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ห้ามทำเป็นเฉยพยายามไม่คิดเด็ดขาด ถ้าทำเฉย นอกจากจะไม่ทำให้คุณเลิกคิดแล้ว ยังจะคิดถึงมันมากกว่าเดิมซะอีก [13]
  • อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือหรือปรับทุกข์กับใครสักคน
  • สบายใจได้ว่าการที่ความคิดกวนใจบางอย่างแวบเข้ามาในหัว ไม่ได้แปลว่าคุณเพี้ยนหรือเป็นโรคจิต แต่เป็นเรื่องปกติที่ใครก็เขาก็เผลอคิดกัน (ยิ่งสมัยนี้สื่อเล่นข่าวความรุนแรงกันตลอดวันขนาดนี้น่ะนะ)
  • พยายามหางานอดิเรกที่ทำแล้วสุขใจและได้ประโยชน์มาเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเอง
  • นั่งสมาธิให้หัวและใจสะอาด สว่าง สงบ
  • ถ้าคุณเป็นหนักเข้าขั้นน่าเป็นห่วง ให้รีบหาคนปรับทุกข์ด่วน เพราะสิ่งที่ดีที่สุดคือการได้ยกภูเขาออกจากอกนี่แหละ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,275 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา