ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เราเตอร์เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ตให้กับอุปกรณ์อื่นๆ อย่างคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ถ้าเพิ่งซื้อเราเตอร์ TP-Link มาใหม่ ก็ตั้งค่าเองได้ง่ายๆ โดยใช้ Quick Setup ใน user interface ซึ่งทำได้ผ่านเบราว์เซอร์ในคอมนั่นเอง แต่ถ้ามีข้อมูลไม่พอ ก็ต้องลองต่อเน็ตโดยใช้ basic setup หรือตั้งค่าพื้นฐานธรรมดา นอกจากนี้ยังสามารถใช้เมนูที่หน้าตาเหมือนเว็บทั่วไป ตั้งค่า parental controls ในเราเตอร์ และกำหนด port forwarding ให้อุปกรณ์ที่ต้องการได้ด้วย บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการตั้งค่าเราเตอร์ TP-Link ให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ติดตั้งเราเตอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ามีโมเด็มแยก ต้องปิดเครื่องและถอดปลั๊กก่อน ถ้าเป็นแบบใช้แบตสำรอง ก็ต้องถอดแบตออกด้วย
  2. โดยเสียบสาย ethernet ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้เราเตอร์
    • ถ้าเราเตอร์เป็นแบบมีโมเด็มในตัว ก็แค่เสียบสายเน็ตของค่ายมือถือ ที่พอร์ท "WAN" หรือ "Internet" หลังเราเตอร์ได้เลย
    • ถ้าใช้โมเด็มแยกเครื่อง ให้เสียบสายเน็ตบ้านที่พอร์ท "WAN" หรือ "Internet" ของโมเด็ม แล้วเสียบสาย ethernet ที่พอร์ท "LAN" หลังโมเด็ม แล้วเสียบปลายสาย ethernet อีกข้างที่พอร์ท "WAN" หรือ "Internet" หลังเราเตอร์
  3. ถ้าใช้โมเด็มแยก ก็ต้องเสียบปลั๊กและ/หรือใส่แบตสำรองกลับมาก่อน เพื่อเปิดโมเด็ม
  4. ให้ใช้ AC adapter ที่มาพร้อมเราเตอร์ตั้งแต่แรก โดยเสียบ AC adapter ที่ power input ปกติจะอยู่ด้านหลังของเราเตอร์ เสร็จแล้วเสียบ AC adapter ที่ปลั๊กไฟ เท่านี้เราเตอร์ก็จะเปิดขึ้นมา ให้รอจนไฟสัญญาณด้านหน้าของเราเตอร์ติดนิ่ง แปลว่าบูทเครื่องเสร็จแล้ว
  5. ต้องใช้สาย ethernet อีกเส้น โดยเสียบสาย ethernet ที่พอร์ท "LAN" ว่างของเราเตอร์ แล้วเสียบปลายสายอีกด้านที่พอร์ท ethernet ว่างของคอม
    • ถ้าคอมไม่มีพอร์ท ethernet ว่าง ให้ซื้อ adapter แปลง USB เป็น ethernet มาใช้เสียบสาย ethernet กับคอม โดยใช้พอร์ท USB ว่าง
    • หรือเชื่อมต่อเราเตอร์แบบไร้สาย ด้วย SSID และรหัสผ่านตั้งต้น ที่เขียนไว้ด้านล่างของเราเตอร์ หรือในคู่มือของเราเตอร์
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ตั้งค่าเราเตอร์แบบด่วนทันใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะใช้เบราว์เซอร์ไหนในคอมก็ได้ เช่น Google Chrome, Safari, Firefox และ Microsoft Edge
  2. เพื่อเปิดหน้า user interface ของเราเตอร์ ปกติ default access address จะอยู่ด้านล่างของเราเตอร์ หรือในคู่มือของเราเตอร์ ต่อไปนี้เป็น default access address ที่นิยมใช้กัน [1]
  3. อันนี้ไม่ใช่รหัสผ่าน Wi-Fi เป็นรหัสผ่านสำหรับล็อกอินเข้าเราเตอร์ และปรับแต่ง settings ตามต้องการ แนะนำให้ตั้งรหัสผ่านแบบเดายากแต่จำง่าย มี 8 อักขระขึ้นไป ผสมกันทั้งตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษ จะได้ปลอดภัยหายห่วง ให้กรอกรหัสผ่าน 2 ครั้ง แล้วคลิก Let's Get Started เพื่อไปต่อ
  4. เป็นตัวเลือกสำหรับทำขั้นตอนตั้งค่าเราเตอร์ ให้คลิก tab Quick Setup ด้านบน ถ้ายังไม่ได้เลือก
    • ถ้าใช้เราเตอร์ TP-Link รุ่นเก่า ให้คลิก Quick Setup ด้านบนของกรอบเมนูทางซ้าย
  5. จากในเมนูที่ขยายลงมา ข้าง "Time Zone" เพื่อเลือกโซนเวลาที่ใช้อยู่ปัจจุบัน แล้วคลิก Next เพื่อไปต่อ
  6. คลิกปุ่มกลมข้างประเภทการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ต้องการ มีทั้ง "Dynamic IP", "Static IP", "PPPoE", "L2TP" และ "PPTP" ถ้าไม่แน่ใจว่าต้องเลือกแบบไหน ให้คลิก Auto Detect ด้านบนของหน้าจอ เสร็จแล้วคลิก Next
  7. อันนี้แล้วแต่ประเภทการเชื่อมต่อที่เลือกไป บางทีก็ต้องใส่ IP address, Subnet mask (ปกติเป็น "255.255.255.0"), default gateway และ primary รวมถึง secondary DNS ด้วย ถ้าไม่แน่ใจข้อมูลพวกนี้ ลองสอบถามค่ายเน็ตที่ใช้ดู พอกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้คลิก Next
    • ถ้ามีให้เลือกว่าจะโคลน (clone) MAC address ของคอมหรือไม่ ก็ต้องสอบถามค่ายเน็ตที่ใช้ ว่าสัญญาณเน็ตคุณจำกัดเฉพาะบาง MAC address หรือเปล่า ถ้าใช่ ก็ต้องใช้คอมที่ใช้ MAC address นั้น แล้วคลิกปุ่มกลม เพื่อโคลน MAC address ของคอม ถ้าไม่แน่ใจ ให้คลิกปุ่มกลมข้าง "Do NOT Clone my Computer's MAC Address แล้วคลิก Next
  8. network name คือชื่อสัญญาณเน็ตที่คนจะเห็นหรือใช้ค้นหา ส่วน password คือรหัสผ่านที่ต้องใส่ตอนเชื่อมต่อสัญญาณเน็ตนั้น ให้ใส่ network name ข้าง "Network Name (SSID)" และใส่รหัสผ่านข้าง "Password" จากนั้นคลิก Next เพื่อไปต่อ
    • ถ้าจะอนุญาตให้คนอื่นต่อเน็ตสัญญาณนี้ได้ ก็ต้องตั้งรหัสผ่านแยก อย่าให้เหมือนรหัสผ่านที่ใช้กับแอปหรือบริการอื่น และตั้งรหัสผ่านที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนตัว
    • ถ้าใช้เราเตอร์แบบ dual-band ต้องมี network name (SSID) แยก สำหรับสัญญาณ 2.4 GHz และ 5 GHz โดยสัญญาณ 2.4 GHz จะช้ากว่า แต่ระยะครอบคลุมกว่า ส่วน 5 GHz จะใช้เน็ตได้เร็วกว่า ในระยะจำกัด สองสัญญาณนี้ใช้รหัสผ่านเดียวกันได้ แต่ชื่อสัญญาณต้องแยกของใครของมัน
    • ถ้าไม่อยากให้ชื่อสัญญาณขึ้นในอุปกรณ์คนอื่นหรือค้นหาสัญญาณได้ ให้ติ๊กช่องข้าง "Hide SSID" โดยต้องใส่ network name และรหัสผ่านเองเวลาจะเชื่อมต่อสัญญาณนั้น
    • ถ้าเราเตอร์รองรับ Smart Connect ให้คลิกช่องติ๊ก เพื่อเปิดใช้ Smart Connect อุปกรณ์ต่างๆ จะได้สลับจากสัญญาณ 2.4 GHz ไปใช้ 5 GHz อัตโนมัติ แต่ก็ขึ้นอยู่กับระยะห่างของอุปกรณ์นั้นกับเราเตอร์ด้วย [2]
  9. หน้า summary จะแสดงข้อมูลทั้งหมดที่กรอกไปถึงตอนนี้ ให้เช็คข้อมูลในหน้านี้ว่ากรอกถูกต้องแล้ว จากนั้นคลิก Save เพื่อไปต่อ
  10. เชื่อมต่อสัญญาณเน็ตในอุปกรณ์ที่ต้องการ แล้วคลิก Next . หน้าถัดมาจะมีชื่อสัญญาณและรหัสผ่าน ก็ใช้ต่อเน็ตสัญญาณที่ต้องการได้เลย แล้วคลิก Next เพื่อไปต่อ
  11. ถ้ามี TP-Link ID ก็ใส่อีเมลกับรหัสผ่าน TP-Link ID ของตัวเองได้เลย แล้วคลิก Log In เพื่อเชื่อมต่อบริการคลาวด์ และลงทะเบียนเราเตอร์ ถ้าไม่มี TP-Link ID ให้คลิก Register Now พิมพ์อีเมล ตั้งรหัสผ่าน แล้วยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง เพื่อสร้าง TP-Link ID หรือคลิก Log In Later เพื่อข้ามขั้นตอนนี้
  12. เท่านี้ก็เรียบร้อย! ตั้งค่าเราเตอร์ TP-Link พร้อมใช้แล้ว [3]
  13. พอตั้งค่าเราเตอร์เรียบร้อยแล้ว แนะนำให้อัปเดท firmware ของเราเตอร์ด้วย ใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีก็อัปเดทเราเตอร์เสร็จ เสร็จแล้วเราเตอร์จะรีสตาร์ทอัตโนมัติ ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการอัปเดท firmware ของเราเตอร์
    • ใส่ default access address ในเบราว์เซอร์
    • ล็อกอินด้วยรหัสผ่านแอดมิน
    • คลิก Update มุมขวาบน
    • คลิก Upgrade ล่าง "Online Upgrade" ถ้ามีอัปเดทใหม่
    • คลิก Yes เพื่อยืนยัน
    • รอจนอัปเดทเสร็จ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ตั้งค่าเราเตอร์ด้วยค่าพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะใช้เบราว์เซอร์ไหนในคอมก็ได้ เช่น Google Chrome, Safari, Firefox และ Microsoft Edge
  2. เพื่อเปิดหน้า user interface ของเราเตอร์ ปกติ default access address จะอยู่ด้านล่างของเราเตอร์ หรือในคู่มือของเราเตอร์ ต่อไปนี้เป็น default access address ที่นิยมใช้กัน
  3. อันนี้ไม่ใช่รหัสผ่าน Wi-Fi เป็นรหัสผ่านสำหรับล็อกอินเข้าเราเตอร์ และปรับแต่ง settings ตามต้องการ แนะนำให้ตั้งรหัสผ่านแบบเดายากแต่จำง่าย มี 8 อักขระขึ้นไป ผสมกันทั้งตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษ จะได้ปลอดภัยหายห่วง ให้กรอกรหัสผ่าน 2 ครั้ง แล้วคลิก Let's Get Started เพื่อไปต่อ
  4. ที่เป็น tab ที่ 2 ด้านบนของหน้าจอ เพื่อปรับแต่งเราเตอร์ตามขั้นตอนพื้นฐาน โดยกรอกข้อมูลน้อยที่สุด
  5. ที่เป็นตัวเลือกที่ 3 ในกรอบเมนูทางซ้าย เพื่อปรับแต่ง wireless settings
  6. เราเตอร์ Wi-Fi ระบบ dual-band ส่วนใหญ่จะมี 2 สัญญาณให้เปิดใช้และเชื่อมต่อ โดยสัญญาณ 2.4 GHz จะช้ากว่า แต่ระยะครอบคลุมกว่า ส่วน 5 GHz เน็ตจะเร็วกว่า แต่ระยะจำกัด ให้คลิกช่องติ๊กข้างสัญญาณที่ต้องการเปิดใช้ หรือจะเปิดใช้ 2 สัญญาณเลยก็ได้
  7. network name คือชื่อสัญญาณเน็ตที่คนจะเห็นหรือใช้ค้นหา ส่วน password คือรหัสผ่านที่ต้องใส่ตอนเชื่อมต่อสัญญาณเน็ตนั้น ให้ตั้งชื่อสัญญาณ 2.4 GHz และ 5 GHz ต่างกัน แต่ใช้รหัสผ่านเดียวกันได้ทั้ง 2 สัญญาณ
    • ถ้าจะอนุญาตให้คนอื่นต่อเน็ตสัญญาณนี้ได้ ก็ต้องตั้งรหัสผ่านแยก อย่าให้เหมือนรหัสผ่านที่ใช้กับแอปหรือบริการอื่น และตั้งรหัสผ่านที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนตัว
    • ถ้าใช้เราเตอร์ TP-Link รุ่นเก่า ให้คลิก Wireless 2.4 GHz และ Wireless 5 GHz ในเมนูทางซ้าย เพื่อปรับแต่งทั้ง 2 สัญญาณ
    • ถ้าไม่อยากให้ชื่อสัญญาณขึ้นในอุปกรณ์คนอื่นหรือค้นหาสัญญาณได้ ให้ติ๊กช่องข้าง "Hide SSID" โดยต้องใส่ network name และรหัสผ่านเองเวลาจะเชื่อมต่อสัญญาณนั้น
  8. ที่เป็นปุ่มสีฟ้า มุมขวาล่าง เพื่อเซฟ network settings
  9. พอเปลี่ยนชื่อและรหัสผ่านสัญญาณ Wi-Fi แล้ว คอมกับอุปกรณ์อื่นๆ จะลงชื่อออกจากสัญญาณนั้นอัตโนมัติ ให้ล็อกอินกลับมา ด้วย network name (SSID) และรหัสผ่านใหม่ที่ตั้งไปใน router settings เท่านี้ก็เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเรียบร้อย
  10. พอตั้งค่าเราเตอร์เรียบร้อยแล้ว แนะนำให้อัปเดท firmware ของเราเตอร์ด้วย ใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีก็อัปเดทเราเตอร์เสร็จ เสร็จแล้วเราเตอร์จะรีสตาร์ทอัตโนมัติ ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการอัปเดท firmware ของเราเตอร์
    • ใส่ default access address ในเบราว์เซอร์
    • ล็อกอินด้วยรหัสผ่านแอดมิน
    • คลิก Update มุมขวาบน
    • คลิก Upgrade ล่าง "Online Upgrade" ถ้ามีอัปเดทใหม่
    • คลิก Yes เพื่อยืนยัน
    • รอจนอัปเดทเสร็จ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ตั้งค่า Parental Controls

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะใช้เบราว์เซอร์ไหนก็ได้ในคอม เช่น Google Chrome, Safari, Firefox และ Microsoft Edge โดยใช้เมนูที่หน้าตาเหมือนเว็บทั่วไป ตั้งค่า parental controls ในเราเตอร์ TP-Link ฟีเจอร์ parental controls นี้ใช้บล็อกเว็บไซต์หรือคีย์เวิร์ดแบบเจาะจงอุปกรณ์ รวมถึงกำหนด time limits คือจำกัดระยะเวลาใช้งานอินเทอร์เน็ตในแต่ละอุปกรณ์ได้
  2. เพื่อเปิด user interface ของเราเตอร์ ปกติ default access address จะเขียนไว้ด้านล่างของเราเตอร์ หรือในคู่มือ ต่อไปนี้เป็น default access address ที่นิยมใช้กัน
  3. เป็นรหัสผ่านที่คุณตั้งตอนเปิด user interface ครั้งแรก ตอนตั้งค่าเราเตอร์ครั้งแรก ตรงนี้ให้กรอกรหัสผ่านแอดมินแล้วคลิก Log In
    • ถ้ายังไม่ได้ตั้งรหัสผ่านแอดมิน ให้ตั้งใหม่เลย แล้วคลิก Let's Get Started จากนั้นคลิก Quick Setup แล้วตั้งค่าเริ่มใช้งานให้เสร็จสิ้น
  4. ที่เป็น tab ที่ 2 ด้านบนของหน้า จะมีให้ปรับแต่งเราเตอร์ตามขั้นตอนพื้นฐาน ไม่ต้องใช้ข้อมูลอะไรมาก
  5. ที่เป็นตัวเลือกที่ 5 ในเมนูทางซ้าย จะเป็นไอคอนรูปผู้ใหญ่กับเด็ก
  6. พิมพ์ชื่อโปรไฟล์ parental control ข้าง "Name"
  7. โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • คลิกเครื่องหมายบวก (+) ใหญ่ๆ ล่าง "Devices"
    • คลิกช่องติ๊กข้างอุปกรณ์ที่จะใช้ settings นี้
    • คลิก Save มุมขวาล่าง
  8. ถ้าอุปกรณ์ที่ขึ้นล่าง "Devices" ถูกต้องแล้ว ให้คลิก Next มุมขวาล่าง เพื่อไปต่อ
  9. พิมพ์คีย์เวิร์ดของเนื้อหาที่ต้องการบล็อก แล้วคลิก Add . คุณกำหนดคีย์เวิร์ดที่ต้องการใช้บล็อกเนื้อหาในเว็บต่างๆ ที่ตรงกันได้ หรือจะพิมพ์ชื่อเว็บหรือแอปที่ต้องการบล็อกเลยก็ได้
    • จะบล็อกโดยระบุกี่คีย์เวิร์ดหรือกี่เว็บก็ได้
  10. พอใส่ทุกคีย์เวิร์ดที่ต้องการบล็อกแล้ว ให้คลิก Next เพื่อไปต่อ
  11. โดยคลิกช่องติ๊กข้าง Enable ล่าง "Time Limits" แล้วใช้แถบเลื่อน กำหนด daily time limit ว่าอุปกรณ์นั้นจะท่องเน็ตได้นานแค่ไหนในแต่ละวัน คุณกำหนด daily time limit แยกได้ ระหว่าง weekdays คือวันธรรมดา (จันทร์ - ศุกร์) กับสุดสัปดาห์ (เสาร์ - อาทิตย์)
  12. เพื่อบล็อกสัญญาณเน็ตในอุปกรณ์นั้น ในช่วงเวลานอน คุณกำหนด bedtime limit หรือเวลานอนได้ โดยคลิกช่องติ๊กข้าง Enable ล่าง "Bedtime" แล้วติ๊กช่องข้าง "From:" และ "To:" เพื่อกำหนดช่วงเวลาบล็อกเน็ตในอุปกรณ์นั้น (เช่น "From: 9:00 PM, To: 6:00 AM") โดยคุณกำหนดเวลานอนแยกกันได้ ระหว่างวันธรรมดา กับสุดสัปดาห์
  13. เพื่อเซฟโปรไฟล์ หลังจากนี้จะเพิ่มโปรไฟล์อื่นอีกก็ได้ ถ้าอยากจำกัดการใช้งานต่างออกไป [4]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ตั้งค่า Port Forwarding

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะใช้เบราว์เซอร์ไหนในคอมก็ได้ เช่น Google Chrome, Safari, Firefox และ Microsoft Edge ถ้าคอมหรืออุปกรณ์ต้องใช้พอร์ทหรือ external web address ไหนโดยเฉพาะ ก็ตั้งค่า port forwarding ในเราเตอร์ได้ เพื่อให้อุปกรณ์นั้นเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายนอกโดยตรง คุณตั้งค่า port forwarding ได้ในเมนูที่เป็นแบบหน้าเว็บ
  2. เพื่อเปิด user interface ของเราเตอร์ ปกติ default access address จะอยู่ด้านล่างของเราเตอร์ หรือในคู่มือ ต่อไปนี้เป็น default access address ที่พบบ่อย
  3. เป็นรหัสผ่านที่ตั้งไว้ตอนเปิด user interface ตอนตั้งค่าเราเตอร์ครั้งแรก ใส่รหัสผ่านแอดมินแล้วคลิก Log In ได้เลย
    • ถ้ายังไม่เคยตั้งรหัสผ่านแอดมิน ให้ตั้งรหัสใหม่ตอนนี้ แล้วคลิก Let's Get Started จากนั้นคลิก Quick Setup แล้วตั้งค่าเริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
  4. ที่เป็น tab ที่ 3 ด้านบนของหน้าจอ เพื่อไปปรับแต่งเราเตอร์ TP-Link แบบขั้นสูง
  5. public IP address จะอยู่ข้าง "IP Address" ในช่อง "Internet" ส่วน private IP address จะอยู่ข้าง "IP Address" ในช่อง "WAN" ให้จด 2 เลขนี้ไว้
  6. โดยคลิก Network' ในกรอบเมนูทางซ้าย เพื่อขยายเมนู Network แล้วคลิก DHCP Server ในเมนูล่าง "Network"
  7. โดยเลื่อนลงไปที่ตาราง "DHCP Client List" จะเห็นรายชื่ออุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อเน็ตสัญญาณนั้นอยู่ มองหาชื่ออุปกรณ์ที่จะ forward port แล้วจด IP address และ MAC address ไว้
  8. ข้างไอคอนเครื่องหมายบวก (+) มุมขวาบนของหน้าเว็บ เพื่อใส่ address reservation ของอุปกรณ์นั้น
  9. พิมพ์หรือ copy แล้ว paste MAC address ข้าง "MAC Address" จากนั้นใส่ IP address ข้าง IP Address จะพิมพ์รายละเอียดเพิ่มเติมด้วยก็ได้ แล้วคลิก Save เพื่อให้แน่ใจว่าเราเตอร์จะกำหนด IP address นี้ให้อุปกรณ์นั้นตลอด
  10. โดยเลื่อนลงไปคลิก NAT Forwarding ในกรอบเมนูทางซ้าย แล้วคลิก Virtual Servers
  11. service ก็เช่น HTTP, FTP, DNS, Gopher และ NNTP เป็นต้น คุณเลือก service type ได้โดยคลิก View Existing Services ข้าง "Service Type" แล้วคลิก Choose ข้าง service type ที่ต้องการ โดยหมายเลขพอร์ทของ service type นั้นจะขึ้นอัตโนมัติ
    • ถ้า service ที่เชื่อมต่อ ใช้เลขพอร์ทอื่น ไม่ใช่ที่ขึ้นอัตโนมัติ ก็ต้องเช็คกับ service นั้น ว่าอันไหนเป็นเลขพอร์ทที่ถูกต้อง
  12. ใส่ IP address เดียวกับที่กำหนดให้อุปกรณ์ไปก่อนหน้านี้ ข้าง "Internal IP address" แล้วคลิก Save มุมขวาล่าง เพื่อกำหนด port forwarding ให้อุปกรณ์นี้
    • คุณเข้าเซิร์ฟเวอร์ที่เพิ่งเพิ่มในเบราว์เซอร์ ในเครือข่ายหรือนอกเครือข่าย ได้โดยใส่ public IP address ในแถบ address ตามด้วย colon (:) และเลขพอร์ท (เช่น 119.139.172.01:80) [5]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,463 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา