ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แมวก็เหมือนกับคน ป่วยแล้วก็เป็นไข้ได้ โชคไม่ดีที่วิธีวัดไข้แบบคนนั้นใช้กับแมวไม่ได้ เอามืออังหน้าผากแมวไปก็ไม่ช่วยอะไร วิธีเดียวที่คุณจะวัดอุณหภูมิร่างกายของน้องเหมียวได้แบบแม่นยำ ก็คือเสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในรูก้นหรือหูของน้องแมว แต่ก็อย่างที่คุณเดาได้ ไม่มีแมวตัวไหนชอบถูกเอาอะไรมาทิ่มก้นแน่นอน แค่ถูกอุ้มไว้นิ่งๆ ก็แย่แล้ว การจะรู้ได้ว่าถึงเวลาวัดไข้น้องแมวแล้ว ก็คือต้องมองหาอาการบางอย่าง ถ้าพบอาการที่ว่าก็ถึงเวลาต้องเสี่ยงชีวิตวัดไข้กัน ด้วยวิธีที่ (คิดว่า) น่าจะเครียดกันน้อยสุดทั้งคนและแมว เรื่องสุดท้ายที่เราอยากฝากไว้ก่อนคุณเลื่อนลงไปอ่านบทความนี้ก็คือ ถ้าแมวคุณไข้สูงเกิน 39 องศาละก็ รีบพาไปหาหมอจะดีที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

สังเกตอาการเมื่อแมวมีไข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าปกติน้องเหมียวของคุณขี้เล่น ร่าเริง แถมเฟรนด์ลี่ อยู่ๆ เกิดเก็บตัวไม่เข้ามาสุงสิง แสดงว่าน่าจะป่วยแล้วล่ะ ถ้าคุณสังเกตได้ว่าน้องแมวเริ่มซ่อนตัวใต้เตียง โซฟา โต๊ะ หรือหลบอยู่ตามที่แปลกๆ แสดงว่ามีอะไรผิดปกติ ตามธรรมชาติแมวนั้นเป็นสัตว์ขี้ระแวง ถึงปกติเห็นๆ กันอยู่จะอยากรู้อยากเห็นเป็นที่สุดก็เถอะ ถ้าแมวป่วยก็มักอยากกำจัดจุดอ่อนของตัวเอง โดยหนีไปซ่อนตัวยังไงล่ะ [1]
  2. ถ้าปกติแมวกินอาหารเวลาเดิมและปริมาณเท่าๆ เดิมทุกวันแล้วอยู่ๆ ก็เปลี่ยนไป แสดงว่าอาจจะป่วย ให้คุณคอยสังเกตชามอาหารของน้องเหมียวตลอดวัน ว่ากินอะไรบ้างหรือเปล่า
    • ถ้าพฤติกรรมการกินของแมวเปลี่ยนไป ให้ลองหาอะไรใหม่ๆ ที่ “ล่อใจ” มาให้แมวกิน หรือถือชามอาหารเดินไปหาถึงที่เลยก็ได้ อย่างที่บอกว่าแมวป่วยมักจะซ่อนตัว เลยทำให้พลอยไม่กล้าออกมากินอาหารไปด้วย ถ้าคุณเอาชามไปวางในที่ที่แมวรู้สึกปลอดภัย ก็อาจจะเริ่มกินอาหารขึ้นมา [2]
  3. โรคในแมวหลายชนิด ตั้งแต่ไข้หวัดไปจนถึงโรคหรือภาวะอื่นที่ร้ายแรงกว่า มักทำให้แมวมีไข้ แต่ก็อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย อย่างการอ้วกหรือท้องเสีย ลองไปสำรวจกระบะทรายดู บางทีแมวอาจพยายามเขี่ยทรายกลบ ส่วนถ้าคุณเลี้ยงแมวแบบเปิด ก็ต้องแอบตามไปดู ว่านอกจากอึฉี่ที่แมวกลบตามปกติแล้วมีสิ่งสกปรกต้องสงสัยปนมาไหม [3]
  4. เป็นอาการที่สังเกตเห็นได้ยากมาก เพราะปกติแมวก็ขี้เกียจหาใครเทียบอยู่แล้ว แต่ถ้าแมวไม่รีบลุกมาหาเวลาคุณสั่นถุงขนมโปรด แสดงว่านั่นแหละผิดปกติ ถ้าปกติน้องเหมียวของคุณชอบเดินตามคุณต้อยๆ ไปห้องนั้นห้องนี้ แต่อยู่ๆ เกิดหลบไปนอนห้องอื่นเงียบทั้งวัน แสดงว่าผิดปกติเช่นกัน ถ้าคุณเห็นพฤติกรรมต้องสงสัยว่าแมวน่าจะเซื่องซึม ให้พาไปหาหมอจะดีกว่า [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

วัดไข้ที่รูก้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าใช้ปรอทวัดไข้ก็ต้องสะบัดซะก่อน แต่ถ้าใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลได้จะสะดวกรวดเร็วที่สุด แต่ต้องใช้ซองเก็บเทอร์โมมิเตอร์แบบใช้แล้วทิ้งด้วยนะ [5]
  2. หล่อลื่นเทอร์โมมิเตอร์ด้วยปิโตรเลียมเจลลี่หรือเจลหล่อลื่นสูตรน้ำ. KY Jelly หรือ Vaseline นี่แหละดีที่สุด ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เวลาวัดไข้แมวจะได้ไม่เจ็บจนเครียด หล่อลื่นปลายเทอร์โมมิเตอร์ก่อนใช้ รูก้นน้องเหมียวจะได้ไม่เสี่ยงฉีกขาดหรือบาดเจ็บ [6]
  3. เอาแขนข้างหนึ่งหนีบตัวน้องเหมียวไว้เหมือนเวลาคุณหนีบลูกบอลเข้าตัว ให้หางชี้ไปทางข้างหน้าคุณ ส่วนเท้าก็ยืนมั่นคงบนพื้นราบอย่างโต๊ะ แบบนี้แมวก็ข่วนคุณลำบากแล้ว
    • ถ้าหาคนช่วยจับแมวไว้ก็จะง่ายขึ้นหน่อย แมวบางตัวก็ดีดดิ้นเหลือเกิน ไม่ยอมอยู่เฉยหรอก ให้ผู้ช่วยคุณจับแมวไว้ในท่าที่บอก คุณจะได้เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปง่ายๆ
    • หรือจะดึงเหนียงไว้ก็ได้ (หมายถึงหนังยืดได้ที่หลังคอน่ะ) เพราะแมวส่วนใหญ่จะนึกถึงเวลาถูกแม่คาบไว้ ปลอดภัยเป็นที่สุด เลยสงบขึ้นมา [7]
  4. เสียบเข้าไปแค่ประมาณ 1 นิ้ว (2.54 ซม.) ก็พอนะ ห้ามลึกเกิน 2 นิ้วเด็ดขาด จับเทอร์โมมิเตอร์ทำมุม 90 องศา จะได้เข้าไปในรูก้นตรงๆ ห้ามสอดเฉียงหรืออะไรเด็ดขาดเพราะเดี๋ยวแมวจะเจ็บ รู้สึกไม่ดี [8]
  5. ถ้าเป็นปรอทวัดไข้ต้องนานกว่านั้นนิดนึงถึงจะอ่านค่าได้เป๊ะๆ แต่ถ้าเป็นเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล ให้ค้างไว้จนกว่าเลขอุณหภูมิจะคงที่ ส่วนใหญ่ก็คือตอนที่มีเสียงบี๊บเตือนนั่นแหละ [9]
    • จับแมวไว้ให้มั่นจนกว่าจะเสร็จ อาจมีบิดตัวหนี ข่วน หรือกัดบ้าง แต่ขอให้จับไว้ให้นิ่งที่สุด ทั้งคุณและแมวจะได้ไม่เลือดตกยางออก
  6. อุณหภูมิ 38.55 องศานี่กำลังดีเลย แต่จริงๆ แมวแต่ละตัวก็ตัวร้อนเย็นต่างกันไป มีตั้งแต่ 37 - 39 องศาเลย ทั้งๆ ที่ปกติ ไม่ได้มีไข้อะไร [10]
    • ถ้าแมวคุณตัวเย็นกว่า 37.22 องศา หรือตัวร้อนกว่า 40 องศา แสดงว่าต้องพาไปหาหมอแล้ว
    • ถ้าอุณหภูมิของแมวใกล้ 39.44 องศาหรือมากกว่า แถมอาการไม่สู้ดี ก็ต้องไปหาหมอเช่นกัน
  7. ล้างด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ หรือแอลกอฮอล์ล้างแผลก็ได้ จากนั้นล้างน้ำให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง ถ้าเทอร์โมมิเตอร์คุณมีปลอกด้วย ก็ให้ถอดออกก่อนแล้วล้างเทอร์โมมิเตอร์ตามที่บอก [11] ต้องล้างจนแน่ใจว่าสะอาดหมดจด แล้วค่อยเอาไปเก็บให้เรียบร้อย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

วัดไข้ในหูแมว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบวัดไข้ในหูแมว (หรือหมา) โดยเฉพาะ. ด้ามจะยาวกว่าเลยทำให้ยื่นเข้าไปในรูหูแมวได้สะดวก เทอร์โมมิเตอร์แบบนี้หาซื้อได้เฉพาะบางร้าน ทางที่ดีให้สอบถามจากคุณหมอโดยตรง แต่บอกเลยว่าไม่ค่อยแม่นยำเท่าเทอร์โมมิเตอร์แบบเสียบก้นหรอก [12] ถ้าแมวของคุณเปรียวๆ หน่อย อาจจะวัดไข้ในหูได้ง่ายกว่าแบบเสียบก้น
  2. กดตัวแมวไว้ให้เท้าแนบไปกับพื้น (วิธีนี้ทำบนพื้นจะง่ายที่สุด) เอาแขนหนีบหัวให้มั่น แมวจะได้ไม่โก่งตัวหรือถอยหนีตอนคุณกำลังวัดไข้ ถ้ามีคนช่วยจะสะดวกกว่า [13]
  3. ทำตามวิธีใช้ที่ให้มาอย่างเคร่งครัด จะได้รู้ว่าตอนไหนคือวัดไข้เสร็จ เทอร์โมมิเตอร์แบบวัดไข้ในหูก็ใช้เวลาพอๆ กับแบบวัดไข้ที่ก้นแหละ คือประมาณ 1 - 2 นาที
  4. ก็เหมือนเทอร์โมมิเตอร์ทั่วไป คือพอใช้เสร็จต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล จากนั้นก็เก็บเข้าที่ตามเดิม [14]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

พาแมวไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พาแมวไปหาหมอถ้าตัวเย็นกว่า 37 องศาหรือตัวร้อนกว่า 39 องศา. ปกติแมวจะหายไข้ได้เอง แต่ถ้าเป็นไปได้ก็น่าจะพาไปตรวจร่างกายกับคุณหมอสักหน่อย ถ้าแมวป่วยนานหลายวันหรือคุณกลัวจะเป็นโรคเรื้อรัง ก็ยิ่งต้องรีบพาไปหาหมอ [15]
  2. นอกจากเล่าว่าแมวมีไข้แล้ว อย่าลืมบอกคุณหมอด้วยว่าแมวมีอาการผิดปกติอะไรบ้าง ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่คุณหมอต้องใช้ตรวจวินิจฉัยโรคให้แมว
  3. อันนี้ก็แล้วแต่ว่าแมวคุณเป็นโรคอะไร แต่บางทีวิธีรักษาอาจมีแค่ให้แมวกินน้ำเยอะๆ เข้าไว้ และดูแลเอาใจใส่ด้วยความรัก แต่ถ้าแมวมีอาการติดเชื้อหรือโรคอื่นๆ ก็คงต้องกินยาร่วมด้วย [16]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามให้แมวกินยาลดไข้หรือบีบน้ำจากฟองน้ำรดตัวแมวให้หายไข้เด็ดขาด จริงๆ แล้วไม่ควรพยายามรักษาเองเลย รีบพาไปหาหมอจะดีที่สุด
  • ลองวัดไข้ทั้งที่ก้นและหูดูสัก 2 - 3 รอบ จะได้แน่ใจว่าผลของเทอร์โมมิเตอร์แบบวัดไข้ที่หูไม่ได้คลาดเคลื่อน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 56,878 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา