ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การทำความเข้าใจในภาษากายสามารถนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด ประกอบไปด้วยความหมายที่แฝงอยู่มากถึง 60% ของการสื่อสารระหว่างบุคคล [1] การสังเกตสัญญาณที่ผู้คนส่งออกมาทางภาษากายของพวกเขา และสามารถที่จะอ่านเจตนารมณ์เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นทักษะที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยการใส่ใจเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย คุณจะสามารถเรียนรู้การอ่านภาษากายได้อย่างแม่นยำ และด้วยการฝึกฝนที่เพียงพอ มันจะกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวคุณไปตลอด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

การอ่านเจตนารมณ์ด้านอารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การร้องไห้ถูกพิจารณาว่าเกิดจากการประทุทางอารมณ์ในเกือบทุกๆ วัฒนธรรม บ่อยครั้งการร้องไห้ถูกพิจารณาว่าเป็นสัญญาณของความเศร้าโศกเสียใจและความอาลัยรัก แต่การร้องไห้ยังสามารถเป็นการแสดงออกถึงความสุข การร้องไห้ยังสามารถเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการหัวเราะ และอารมณ์ขันได้อีกด้วย ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์การร้องไห้ คุณจำเป็นต้องดูสัญญาณอื่นๆ ร่วมกันเพื่อตัดสินใจถึงบริบทที่เหมาะสมของการร้องไห้ [2]
    • การร้องไห้สามารถถูกบังคับ หรือแสร้งทำ เพื่อเรียกร้องความสงสาร หรือเพื่อหลอกลวงผู้อื่น การฝึกหัดนี้รู้จักกันในชื่อ “น้ำตาจระเข้” คำอุปมาแบบภาษาพูดคำนี้มีที่มาจากความเชื่อที่ว่าจระเข้ ‘ร้องไห้’ เมื่อล่าเหยื่อ [3]
  2. โดยสัญญาณของการคุกคาม เช่น คิ้วรูปตัววี ดวงตาที่เบิกกว้าง และปากที่เปิด หรือห้อยลง [4]
    • แขนที่ไขว้กันอย่างแน่นหนา เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า คนคนนั้นกำลังโกรธ และปิดตัวเขาจากคุณ [5]
  3. เมื่อคนมีความวิตกกังวล พวกเขาจะแสดงออกด้วยการกระพริบตาถี่ขึ้น และเคลื่อนไหวใบหน้าไปมา และริมฝีปากของพวกเขาจะเหยียดออกจนมีลักษณะเหมือนเป็นเส้นบางๆ [6]
    • คนที่มีความวิตกกังวลอาจดูกระวนกระวาย และแกว่งมือไปมา โดยไม่สามารถทำให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ได้ [7]
    • ความวิตกกังวลสามารถถูกแสดงออก โดยการเขย่าเท้าอย่างไม่รู้ตัว หรือมีการกระตุกขา [8]
  4. ความขวยเขินสามารถแสดงออกโดยการเบนสายตา หรือเปลี่ยนไปมองที่อื่น การหมุนศีรษะ และการฝืน หรือยิ้มแบบเกร็งๆ [9]
    • หากบางคนมองพื้นบ่อยๆ พวกเขาอาจเขินอาย ขี้กลัว หรือถูกทำให้เขินอาย โดยคนทั่วไปอาจมองพื้น เมื่อพวกเขาอารมณ์เสีย หรือกำลังพยายามที่จะเก็บซ่อนอารมณ์บางอย่าง บ่อยครั้งที่คนจ้องมองไปที่พื้น เมื่อพวกเขากำลังครุ่นคิด หรือมีความรู้สึกไม่สบายใจ
  5. สังเกตการแสดงออกอย่างเปิดเผยของความภาคภูมิใจ. คนทั่วไปแสดงความภาคภูมิใจ โดยการยิ้มเล็กๆ เอียงศีรษะของพวกเขาไปด้านหลัง และวางมือของพวกเขาไว้บนสะโพก [10]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

การอ่านเจตนารมณ์ด้านความสัมพันธ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิเคราะห์เทศภาษา และการสัมผัส หรือการให้ระยะห่าง และการสัมผัส. นี่เป็นวิธีในการแสดงสถานะของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่ ความสนิทสนมทางกาย และสัญญาณทางการสัมผัส ความห่วงหาอาทร และความรัก [11] .
    • คนที่อยู่ในความสัมพันธ์ที่แนบแน่นต้องการพื้นที่ส่วนตัวน้อยกว่าคนแปลกหน้า [12]
    • มันคุ้มที่จะจำไว้ว่า พื้นที่ส่วนบุคคลเปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรม ซึ่งสิ่งที่คิดว่าใกล้ในประเทศหนึ่ง อาจกลายเป็นห่างไกลในประเทศอื่น
  2. การศึกษาได้พบว่า เมื่อคนมีบทสนทนาที่น่าสนใจ ดวงตาของพวกเขาจะโฟกัสไปที่หน้าของคู่สนทนา ประมาณ 80% ของเวลาในการสนทนา พวกเขาจะไม่เพียงแค่โฟกัสไปที่ดวงตาของคู่สนทนา แต่หลังจากที่โฟกัสไปที่ดวงตาเป็นเวลา 2 – 3 นาที พวกเขาจะเริ่มโฟกัสไปที่จมูก หรือปาก และกลับไปที่ดวงตาอีกครั้งอยู่ตลอดเวลา พวกเขาอาจมองดูโต๊ะเป็นบางช่วง แต่พวกเขาก็จะกลับมาโฟกัสที่ดวงตาของคู่สนทนาอยู่เสมอ [13]
    • เมื่อคนมองขึ้นข้างบน และไปทางด้านขวา ในระหว่างบทสนทนา นั่นแสดงว่าพวกเขารู้สึกเบื่อ และไม่ให้ความสนใจในบทสนทนาอีกต่อไป [14]
    • ม่านตาดำที่ขยายขึ้น หมายถึงคนคนนั้นรู้สึกสนใจว่าเกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตาม จำไว้ว่ามีสาเหตุสำคัญมากมายที่สามารถทำให้ม่านตาดำขยายขึ้น เช่น แอลกอฮอล์ โคเคน แอมเฟตามีน สารเสพติด LSD และอื่นๆ [15]
    • การสบตาบ่อยครั้งถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้ความไว้วางใจ การสบตาอย่างจดจ่ออย่างเกินพอดี หรือดูมีความก้าวร้าว บ่งบอกว่าบุคคลคนนั้นระวังข้อความที่จะถูกส่งออกไปเป็นอย่างมาก บุคคลที่พยายามจะหลอกลวงผู้อื่น อาจพยายามสบตาให้น้อยลง เพื่อไม่ให้เป็นที่สงสัยว่ากำลังหลบเลี่ยงความจริง ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่ากำลังพูดโกหก [16] อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้ว่าสิ่งที่กล่าวไว้ด้านบน อาจมีความแตกต่างกันไปเป็นอย่างมากในแต่ละบุคคล เมื่อทำการวิเคราะห์เรื่องการสบตา เพื่อจับผิดการพูดโกหก
  3. หากบางคนพักแขนของพวกเขาไว้หลังคอ หรือศีรษะของพวกเขา หมายความว่าพวกเขากำลังบอกว่า พวกเขากำลังเปิดรับในสิ่งที่ถูกอธิบาย หรืออาจเป็นเพียงแค่การเอนหลังผ่อนคลายโดยทั่วไป
    • การไขว้แขน หรือขาอย่างแน่นหนา โดยปกติเป็นสัญญาณของการต่อต้าน และแสดงระดับของการยอมรับผู้อื่นที่ต่ำ โดยทั่วไปเมื่อร่างกายถูกจัดวางในท่าทางดังกล่าว นี่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คนคนนั้นกำลังปิดตัวเองจากผู้อื่นทางจิตใจ อารมณ์ และร่างกาย [17]
    • ในการศึกษาหนึ่งของการเจรจาต่อรอง 2,000 ครั้ง ซึ่งถูกบันทึกวิดีโอเทปไว้เพื่อวิเคราะห์ภาษากายของผู้เจรจาต่อรอง ไม่ได้มีข้อสรุปในกรณีใดๆ ที่ระบุว่า ผู้มีส่วนร่วมทั้งหญิง และชายมีการไขว้ขา [18]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

การอ่านเจตนารมณ์ด้านการดึงดูดความสนใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสบตาที่เป็นสัญญาณของการดึงดูดความสนใจ ได้แก่ การกระพริบตามากกว่าค่าเฉลี่ย 6 – 10 ครั้งต่อนาที [19] [20]
    • การขยิบตาสามารถเป็นสัญญาณของการจีบ หรือการดึงดูดความสนใจ อย่างไรก็ตาม จำไว้ว่านี่อาจเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม โดยบางวัฒนธรรมของชาวเอเชีย การทำหน้าบึ้งในขณะขยิบตา เป็นกิริยาที่หยาบคาย [21]
  2. การยิ้มเป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของการแสดงการดึงดูดความสนใจ แน่ใจว่าคุณรู้วิธีแยกแยะการฝืนยิ้ม กับรอยยิ้มที่จริงใจ คุณสามารถบอกได้ว่าการยิ้มแบบไหน เป็นการแกล้งยิ้ม เนื่องจากมันไม่ได้ถูกส่งผ่านมาที่ดวงตาของบุคคลที่กำลังยิ้ม รอยยิ้มที่จริงใจโดยปกติจะทำให้เกิดรอยย่นเล็กๆ ที่บริเวณรอบดวงตาของผู้ที่กำลังยิ้ม (หรือเรียกว่า รอยตีนกา) เมื่อคนพยายามแกล้งยิ้ม คุณจะไม่เห็นรอยย่นพวกนั้น [22] [23]
    • การยกคิ้วถูกพิจารณาว่าเป็นสัญญาณของการจีบ [24]
  3. โดยทั่วไป คนที่มีความรักใคร่ชอบพอกัน พยายามที่จะปิดระยะห่างระหว่างกัน นั่นอาจหมายถึงการเอนกายเข้าหาอีกคนมากขึ้น และสามารถมีการสัมผัสร่วมด้วยอย่างชัดเจน การแตะอย่างแผ่วเบา หรือการลูบแขน สามารถเป็นสัญญาณของการดึงดูดความสนใจ
    • การดึงดูดความสนใจสามารถถูกแสดงออก โดยเท้าของบุคคลที่ชี้ หรือหันหน้าเข้าหาวัตถุที่เขาสนใจ [25]
    • ฝ่ามือที่หงายขึ้น เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของความสนใจเชิงปรารถนา เพราะว่ามันบ่งบอกถึงความตรงไปตรงมา [26]
  4. พึงระวังความแตกต่างทางเพศในการแสดงการดึงดูดความสนใจ. ผู้ชายและผู้หญิงสามารถแสดงการดึงดูดความสนใจที่แตกต่างกันผ่านภาษากาย
    • ผู้ชายชอบจะเอนตัวไปด้านหน้า และหันตัวของเขาเข้าหาคนที่เขาหมายปอง ในขณะที่ผู้หญิงที่แสดงการดึงดูดความสนใจจะหันตัวออกไปทางอื่น และเอนตัวไปด้านหลัง [27]
    • ผู้ชายที่รู้สึกสนใจอาจยกมือของเขาขึ้นเหนือหัว ทำมุม 90 องศา [28]
    • เมื่อผู้หญิงแสดงการดึงดูดความสนใจ แขนทั้งสองข้างอาจถูกเปิดออก และมือของเธออาจสัมผัสพื้นที่บนร่างกายตั้งแต่สะโพก ไปจนถึงคาง [29]
    โฆษณา


วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

การอ่านเจตนารมณ์ด้านอำนาจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสบตา หรือช่องทางของภาษาท่าทาง เป็นวิธีขั้นพื้นฐานที่คนแสดงออกถึงการมีอำนาจ คนที่พยายามแสดงอำนาจ จะใช้สิทธิ์ในการเริ่มต้น และการสำรวจผู้อื่น ในขณะที่ทำการสบตาโดยตรง และพวกเขาจะเป็นคนสุดท้ายที่จะเลิกสบตา [30]
    • หากคุณกำลังมองหาทางเพื่อแสดงอำนาจของคุณ จำไว้ว่าการสบตาอย่างต่อเนื่องสามารถทำให้ดูน่ายำเกรง [31]
  2. บุคคลที่แสดงออกถึงความมีอำนาจจะไม่ยิ้ม เพื่อแสดงให้รู้ว่าจริงจัง และบางทีอาจขมวดคิ้ว หรือทำริมฝีปากจู๋ที่แสดงถึงความไม่พอใจ [32]
  3. กิริยาท่าทางสามารถแสดงถึงความมีอำนาจ การชี้ไปที่ผู้อื่น และการใช้ท่าทางที่วางอำนาจเป็นวิธีแสดงให้ผู้อื่นเห็นสถานะของคุณ ทั้งนี้เมื่อบางคนยืนอย่างสง่าผ่าเผย ในขณะที่ดูผ่อนคลาย เป็นการแสดงออกของความมีอำนาจ [33]
    • บุคคลที่มีอำนาจต่อรอง จะมีการจับมือที่มั่นคง พวกเขาจะวางมือของพวกเขาไว้ด้านบน โดยให้ฝ่ามือของพวกเขาชี้ลงด้านล่างเสมอ มือที่จับจะแน่น และมั่นคงเพื่อแสดงถึงอำนาจในการควบคุม [34]
  4. พิจารณาว่าบุคคลจัดการกับพื้นที่ส่วนตัวของพวกเขาอย่างไร. สำหรับคนที่มีสถานะสูงโดยทั่วไปจะสามารถกำหนดพื้นที่ทางกายระหว่างพวกเขา และคนที่มีสถานะต่ำกว่าได้มากกว่า บุคคลที่มีสถานะสูงจะใช้พื้นที่ทางกายมากกว่าเพื่อแสดงการมีอำนาจของพวกเขา และการควบคุมสถานการณ์ [35] หรืออีกนัยหนึ่ง การวางมาดที่ดูยิ่งใหญ่ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอำนาจ และการประสบความสำเร็จ [36]
    • อำนาจถูกแสดงผ่านการยืน ได้ดีกว่าการนั่ง การยืนโดยเฉพาะในด้านหน้า ถูกมองว่าเป็นการวางท่าที่มีอำนาจมากกว่า [37]
    • หลังตรง และอกผายไหล่ผึ่ง แสดงออกถึงความมั่นใจ ในทางกลับกัน การห่อ และงอตัวเป็นการแสดงออกถึงการขาดความมั่นใจ [38]
    • บุคคลที่มีอำนาจ จะยืนนำอยู่ด้านหน้า และเดินนำกลุ่ม หรือเดินเข้าประตูเป็นคนแรก โดยพวกเขาชอบที่จะอยู่แถวหน้า [39]
  5. ดูวิธีการสัมผัสคนว่าเป็นอย่างไร และเมื่อไหร่. คนที่แสดงสถานะของพวกเขาจะมีตัวเลือกมากกว่าเมื่อว่าด้วยเรื่องการสัมผัส เนื่องจากพวกเขารู้สึกมั่นใจในตำแหน่งของพวกเขามากกว่า โดยทั่วไป ในสถานะที่ใครคนใดคนหนึ่งมีสถานะที่สูงกว่า เขาคนนั้นจะสัมผัสคนที่มีสถานะต่ำกว่าอยู่บ่อยครั้ง [40]
    • ในสถานการณ์ทางสังคม ที่คนที่สื่อสารกันทั้งสองคนมีสถานะที่เท่ากัน คนทั้งสองจะแสดงการสัมผัสในวิธีที่คล้ายคลึงกัน [41]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

การทำความเข้าใจภาษากาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พฤติกรรมที่ไม่ใช้คำพูดเป็นความซับซ้อนในตัวมันเอง เนื่องจากคนทั้งหมดมีความแตกต่างกัน และการแสดงออกของพวกเขายังแตกต่างกันด้วยเช่นกัน [42] การอ่านภาษากายสามารถเป็นเรื่องท้าทาย เพราะว่าการตีความสัญญาณที่คนกำลังส่งให้คุณ คุณจำเป็นต้องพิจารณาในภาพรวม ยกตัวอย่างเช่น คนนั้นได้เอ่ยกับคุณในวันนี้หรือไม่ว่าเขาทะเลาะกับภรรยาของเขา หรือไม่ได้รับการโปรโมตตำแหน่งในที่ทำงานใช่ไหม? หรือเขาดูเป็นกังวลอย่างชัดเจนตอนรับประทานอาหารเที่ยงใช่ไหม?
    • เมื่อทำการตีความภาษากายของผู้อื่น มันเป็นเรื่องสำคัญว่าที่ไหนที่มีโอกาสเป็นไปได้ในการพิจารณาบุคลิกภาพ ปัจจัยทางสังคม พฤติกรรมที่ใช้คำพูด และการวางตัวของพวกเขา ในขณะที่ข้อมูลนี้ไม่ได้มีอยู่เสมอไป แต่มันสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการอ่านภาษากาย คนมีความซับซ้อน ดังนั้นมันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ที่วิธีที่พวกเขาแสดงออกด้วยร่างกายของพวกเขามีความซับซ้อนด้วยเช่นกัน!
    • คุณสามารถเปรียบเทียบการอ่านภาษากาย เหมือนกับการดูรายการทีวีที่คุณชื่นชอบ หลังจากนั้น คุณจะไม่ได้ดูแค่ฉากใดฉากหนึ่ง แต่คุณต้องดูทั้งตอนเพื่อเข้าใจความหมายของฉากนั้นๆ นอกจากนี้ คุณยังต้องจดจำตอนก่อนหน้า ประวัติของตัวละคร และโครงเรื่องทั้งหมด คุณจำเป็นต้องดูในภาพรวมเมื่อพูดถึงการอ่านภาษากาย!
  2. ใช้เวลาในการพิจารณาความแตกต่างของแต่ละบุคคล. ไม่มีขนาดใดขนาดหนึ่งจะพอดีกับทุกคน โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเรื่องภาษากาย หากคุณลงทุนเพื่อให้สามารถอ่านภาษากายของคนได้อย่างแม่นยำ คุณอาจต้องใช้เวลาในการศึกษาใครคนนั้นสักระยะเวลาหนึ่ง สิ่งที่เป็นเรื่องจริงสำหรับใครคนหนึ่ง อาจไม่ได้เป็นเรื่องจริงสำหรับคนอื่นเสมอไป
    • ยกตัวอย่างเช่น เมื่อกำลังพูดโกหก คนบางคนจะไม่กล้าสบตา ในขณะที่คนอื่นๆ อาจพยายามที่จะสบตาให้มากกว่าปกติ เพื่อที่พวกเขาจะไม่ถูกสงสัยว่ากำลังพูดโกหกอยู่
  3. พึงระวังว่าภาษากายสามารถแตกต่างกันออกไปตามวัฒนธรรม. สำหรับอารมณ์ และการแสดงของภาษากายบางอย่าง ความหมายของข้อความที่ส่งออกมา มีความเฉพาะเจาะจงไปในแต่ละวัฒนธรรม
    • ยกตัวอย่างเช่น ในวัฒนธรรมชาวฟินแลนด์ เมื่อคนสบตาเรา มันเป็นสัญญาณว่าสามารถเข้าถึงได้ แต่ในทางตรงกันข้าม สำหรับชาวญี่ปุ่น เมื่อคนสบตาเรา เป็นการแสดงออกว่าโกรธ [43]
    • อีกหนึ่งตัวอย่าง ในวัฒนธรรมตะวันตก คนที่รู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยกับคุณ จะเอนตัวเข้าหาคุณ และหันหน้า และร่างกายเข้าหาคุณโดยตรง [44]
    • จำไว้ว่าในขณะที่การแสดงออกด้านอารมณ์ทางใบหน้า แตกต่างกันไปจากวัฒนธรรมหนึ่ง ไปอีกวัฒนธรรมหนึ่ง บางการวิจัยแนะนำว่า การแสดงออกของภาษากายบางอย่าง เป็นเรื่องสากลในทุกวัฒนธรรม นี่เป็นเรื่องจริงโดยเฉพาะสำหรับการสื่อสารของความมีอำนาจ และการยอมจำนน ยกตัวอย่างเช่น ในทุกวัฒนธรรม ท่าทางที่ดูโอนอ่อนแสดงให้เห็นถึงการยอมจำนน [45]
  4. จำไว้ว่าการทำความเข้าใจแตกต่างกันไปในแต่ละช่องทางที่ไม่ใช้คำพูด. ช่องทางที่ไม่ใช้คำพูดเป็นความหมาย ซึ่งข้อความ หรือสัญญาณถูกถ่ายทอดโดยปราศจากคำพูด ช่องทางที่ไม่ใช้คำพูดที่สำคัญ ได้แก่ เทศภาษาต่างๆ (เช่น การสบตา การแสดงออกทางใบหน้า และภาษากาย) การสัมผัส และพื้นที่ส่วนบุคคล หรืออีกนัยหนึ่ง สื่อกลางเป็นตัวกำหนดข้อความ [46]
    • โดยกฎทั่วไป คนสามารถอ่านการแสดงออกทางใบหน้าได้ดีที่สุด และตามด้วยภาษากาย และสุดท้าย คือพื้นที่ส่วนบุคคล และการสัมผัส [47]
    • ในแต่ละช่องทาง สามารถมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ไม่ใช่ทุกการแสดงออกทางใบหน้ามีความง่ายในการทำความเข้าใจได้ทั้งหมด โดยทั่วไปคนจะอ่านการแสดงออกทางใบหน้าในด้านดีได้ดีกว่าในด้านร้าย ในการศึกษาหนึ่งพบว่า บุคคลจะตีความเรื่องความสุข ความพึงพอใจ และความตื่นเต้น ได้ดีกว่าความโกรธ ความเสียใจ ความกลัว และความรังเกียจ [48]
    โฆษณา


คำเตือน

  • อย่าตัดสินคนด้วยภาษากายของพวกเขา จำไว้ว่าภาษากายไม่ใช่ตัวบ่งชี้สถานะของใครบางคน สภาวะทางอารมณ์ หรือความสัมพันธ์ของเขา หรือเธอที่มีต่อคุณ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  2. http://www.psychologistworld.com/bodylanguage/eyes.php
  3. http://www.psychologistworld.com/bodylanguage/eyes.php
  4. Tipples, J. (2007). Wide eyes and an open mouth enhance facial threat.Cognition and Emotion, 21(3), 535-557.
  5. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201206/the-ultimate-guide-body-language
  6. Harrigan, J. A., & O'Connell, D. M. (1996). How do you look when feeling anxious? Facial displays of anxiety. Personality and Individual Differences,21(2), 205-212.
  7. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201206/the-ultimate-guide-body-language
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201206/the-ultimate-guide-body-language
  9. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  1. Tracy, J. L., & Robins, R. W. (2007). Emerging insights into the nature and function of pride. Current Directions in Psychological Science, 16(3), 147-150.
  2. Burgoon, J. K. (1991). Relational message interpretations of touch, conversational distance, and posture. Journal of Nonverbal behavior, 15(4), 233-259.
  3. Burgoon, J. K., & Jones, S. B. (1976). Toward a theory of personal space expectations and their violations. Human Communication Research, 2(2), 131-146.
  4. http://www.psychologistworld.com/bodylanguage/eyes.php
  5. http://www.psychologistworld.com/bodylanguage/eyes.php
  6. http://www.psychologistworld.com/bodylanguage/eyes.php
  7. http://www.psychologistworld.com/bodylanguage/eyes.php
  8. http://www.businessinsider.com/how-to-read-body-language-2014-5?op=1
  9. http://www.businessinsider.com/how-to-read-body-language-2014-5?op=1
  10. Burgoon, J. K. (1991). Relational message interpretations of touch, conversational distance, and posture. Journal of Nonverbal behavior, 15(4), 233-259.
  11. http://www.psychologistworld.com/bodylanguage/eyes.php
  12. http://www.psychologistworld.com/bodylanguage/eyes.php
  13. http://www.businessinsider.com/how-to-read-body-language-2014-5?op=1
  14. Burgoon, J. K. (1991). Relational message interpretations of touch, conversational distance, and posture. Journal of Nonverbal behavior, 233-259.
  15. https://www.psychologytoday.com/articles/200712/fast-forces-attraction
  16. https://www.psychologytoday.com/articles/200712/fast-forces-attraction
  17. https://www.psychologytoday.com/articles/200712/fast-forces-attraction
  18. Grammer, K. (1990). Strangers meet: Laughter and nonverbal signs of interest in opposite-sex encounters. Journal of Nonverbal Behavior, 14(4), 209-236.
  19. Grammer, K. (1990). Strangers meet: Laughter and nonverbal signs of interest in opposite-sex encounters. Journal of Nonverbal Behavior, 14(4), 209-236.
  20. Grammer, K. (1990). Strangers meet: Laughter and nonverbal signs of interest in opposite-sex encounters. Journal of Nonverbal Behavior, 14(4), 209-236.
  21. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  22. http://www.psychologistworld.com/bodylanguage/eyes.php
  23. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  24. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  25. http://psychologia.co/dominant-body-language/
  26. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  27. http://www.businessinsider.com/how-to-read-body-language-2014-5?op=1
  28. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  29. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201206/the-ultimate-guide-body-language
  30. http://psychologia.co/dominant-body-language/
  31. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  32. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  33. Knapp, M., Hall, J., & Horgan, T. (2013). Nonverbal communication in human interaction. Cengage Learning.
  34. Akechi H, Senju A, Uibo H, Kikuchi Y, Hasegawa T, et al. (2013). Attention to Eye Contact in the West and East: Autonomic Responses and Evaluative Ratings. PLoS ONE 8(3): e59312.
  35. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  36. Eibl-Eibesfeldt, I., & Salter, F. K. (Eds.). (1998). Indoctrinability, ideology, and warfare: evolutionary perspectives. Berghahn Books
  37. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  38. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  39. Wagner, H. L., MacDonald, C. J., & Manstead, A. S. (1986). Communication of individual emotions by spontaneous facial expressions. Journal of Personality and Social Psychology, 50(4), 737.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,931 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา