ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การทำตัวน่ากลัวคือการทำให้คนอื่นรู้สึกกลัว ประหม่า หรือไม่ดีพอเพื่อที่เราจะได้มีจุดยืนในสังคมหรือเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ แม้ว่ามันจะเป็นคุณสมบัติที่ดูไม่ดีเวลามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น แต่มันก็มีประโยชน์เมื่ออยู่ในบริบทของการแข่งกีฬา ธุรกิจ หรือสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูงอื่นๆ และการเรียนรู้ที่จะเป็นคนที่ดูน่ากลัวยังช่วยให้คุณไม่ถูกคนอื่นข่มขู่อีกด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ดูเป็นคนน่ากลัวจากภายนอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ภาษากายเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เวลาที่เราต้องการสื่อสารทัศนคติบางอย่างออกไป การทำให้ตัวเองดูสูงและมั่นใจให้ได้มากที่สุดจะทำให้คุณดูน่ากลัวมากขึ้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมฝึกกริยาท่าทางให้ดูดีด้วย [1] คุณอาจจะโน้มตัวไปข้างหน้านิดนึงเวลาสื่อสารกับคนอื่นด้วยก็ได้ [2]
  2. [3] เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณนั่ง ยืน หรือเดิน พยายามกินพื้นที่ให้ได้มากที่สุด เพราะมันบ่งบอกว่าคุณมีอำนาจในพื้นที่ที่คุณอยู่และคุณก็มั่นใจในตัวเองด้วย
    • เวลาเดิน ให้ขยับแขนกว้างๆ (แกว่งแขวน เอาแขนออกจากลำตัว เป็นต้น)
    • เวลานั่งให้เอนตัวไปข้างหลัง ปล่อยแขนขากว้างๆ สบายๆ
    • เวลายืนให้กางขาและแขนออกทุกครั้งที่ทำได้
  3. [4] [5] [6] เวลาที่คุณยืนหน้าหรือข้างคนอื่น ให้เอามือเท้าเอวและผายแขนออกให้กว้างห่างออกจากลำตัว ในหลายๆ บริบทการทำเช่นนี้แสดงถึงความมีอำนาจและยังดูน่ากลัวอีกด้วย
  4. [7] [8] [9] ถ้าร่างกายของคุณกินพื้นที่ที่คนอื่นต้องพยายามลอดผ่านไปให้ได้ พวกเขาก็จะต้องเผชิญหน้ากับคุณตรงๆ หรือไม่ก็อ้อมไปด้านข้าง คนส่วนใหญ่จะไม่อยากเผชิญหน้ากับคุณตรงๆ และอาจจะขอทางคุณหรือค่อยๆ เดินผ่านไปโดยไม่รบกวนคุณ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็จะทำให้คุณดูเป็นคนน่ากลัวทั้งนั้น
    • ลองใช้เทคนิคนี้โดยการยืนขวางทางเดิน บันได ทางเข้าออกประตู เป็นต้น
    • ถ้าคุณอยากดูน่ากลัวมากกว่าเดิมเป็นพิเศษ เวลาที่มีคนขอทางคุณ ให้พูดประมาณว่า “พอดีฉันไม่เห็นคุณน่ะค่ะ”
  5. [10] [11] เวลายืน เดิน หรือนั่ง ให้เอามือกอดอก ในหลายๆ บริบทการกอดอกทำให้ดูน่ากลัวหรือก้าวร้าว
    • คุณต้องเอามือกอดอกสูงๆ ตรงหน้าอกและกอดแน่นๆ ถ้าคุณเอาแขนไขว้กันไว้ต่ำๆ หรือหลวมๆ มันอาจจะแสดงถึงความประหม่ามากกว่าอำนาจ
  6. [12] ในขณะที่รอยยิ้มแสดงถึงความเป็นมิตรและการเห็นด้วย การมองแบบหน้านิ่วคิ้วขมวดจะบ่งบอกถึงความก้าวร้าว ความโกรธ หรือความไม่พอใจ ซึ่งจะทำให้คนอื่นไม่ค่อยกล้าคุยกับคุณ ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ดีถ้าคุณอยากดูเป็นคนน่ากลัว
  7. [13] [14] การชี้นิ้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการชี้นิ้วไปที่คนอื่นจะสื่อถึงอำนาจและความเชื่ออย่างแรงกล้า ในบางกรณีมันอาจจะดูหยาบคายหรือก้าวร้าวสักหน่อย แต่ถ้าคุณอยากดูน่ากลัวล่ะก็ มันอาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้
  8. งานวิจัยได้ข้อสรุปที่แตกต่างกันไป แต่หลายๆ งานวิจัยก็เชื่อว่าร่างกายที่มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ จะทำให้ดูเป็นตัวของตัวเองมากกว่าและดูน่ากลัวกว่าในสายตาหลายๆ คน [15] [16] [17] ถ้าการมีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ ทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองน่ากลัวมากขึ้น วิธีนี้ก็อาจจะเหมาะกับคุณ ลอง เทคนิคสร้างกล้ามเนื้อ หลายๆ แบบเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  9. การเคาะมือหรือเคาะเท้า ทิ้งน้ำหนักซ้ายทีขวาที บีบมือ และภาษาท่าทางอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันแสดงถึงความประหม่า [18] [19] ถ้าคุณพยายามทำตัวให้ดูน่ากลัวมากขึ้น ให้ทำตัวนิ่งๆ และเคลื่อนไหวร่างกายแบบตั้งใจ ภาษาท่าทางในลักษณะนี้จะดูมั่นใจกว่า
  10. การดูแลเรื่องเสื้อผ้าและสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดี และการรักษารูปลักษณ์ให้ดูดีและสะอาดสะอ้านโดยรวมจะสื่อถึงการเป็นตัวของตัวเองและความมั่นใจ ฝึกดูแลเครื่องแต่งกายและเสื้อผ้าหน้าผมเล็กๆ น้อยๆ จนเป็นนิสัย และดูว่าคุณดูน่ากลัวขึ้นหรือเปล่า
    • ถ้าคุณเป็นผู้ชาย คุณอาจจะไว้หนวด หลายคนเชื่อว่าหนวดแสดงถึงความเป็นชายและการเป็นตัวของตัวเอง [20]
    • สูท เดรสสวยๆ หรือชุดสูทกางเกงของผู้หญิง หรือเสื้อผ้าทางการอื่นๆ สามารถสื่อถึงอำนาจได้ [21] ถ้าคุณกำลังพยายามทำตัวให้ดูน่ากลัว คุณอาจจะแต่งตัวดีกว่าคนอื่นๆ เล็กน้อย เช่น ถ้ามาตรฐานการแต่งกายของคนที่ทำงานคือไม่เป็นทางการนัก การใส่สูทเต็มตัวอาจทำให้คุณดูน่ากลัวเล็กน้อย
  11. [22] หลายอารมณ์ของเราสื่อออกมาทางสีหน้า มีความสุขก็ยิ้ม ไม่เห็นด้วยก็ขมวดคิ้ว ตกใจก็อ้าปากค้าง และอื่นๆ ถ้าคุณสามารถรักษาสีหน้าให้เรียบเฉยและจำกัดการแสดงอารมณ์ของตัวเองได้ คุณก็จะดูน่ากลัวมากขึ้น
    • ฝึกที่จะไม่ยิ้ม หัวเราะ ขมวดคิ้ว และอื่นๆ ในสถานการณ์ที่ปกติแล้วคุณจะต้องแสดงสีหน้าเหล่านี้ออกมา คุณอาจจะฝึกหน้ากระจกหรือฝึกกับเพื่อนก็ได้เพื่อให้คุณใช้เทคนิคนี้ได้เก่งขึ้น
  12. ในหลายวัฒนธรรม การมองเข้าไปในดวงตาของคนอื่นถือว่าน่ากลัว [23] ฝึกสบตาคนอื่นๆ ตรงๆ เวลาคุณคุยกับเขา [24] [25] [26] คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองดูน่ากลัวขึ้น และอาจจะสังเกตได้ด้วยว่าคนอื่นก็ปฏิบัติกับคุณเหมือนว่าเขากลัวคุณด้วยเช่นกัน
    • ในบางวัฒนธรรมการสบตาคนอื่นตรงๆ คือการแสดงออกถึงการไม่ให้เกียรติ [27] [28] ถ้าในชุมชนที่คุณอยู่หรือในกลุ่มคนที่คุณทำงานด้วยมันมีข้อห้ามทางวัฒนธรรมที่ไม่ให้สบตาคนอื่น ให้ระวังการแหกกฎข้อนี้ให้มากๆ เพราะคุณอยากดูเป็นคนน่ากลัว แต่ไม่ได้อยากดูเป็นคนหยาบคายหรือก้าวร้าวมากเกินไป
    • การจ้องคนอื่นเขม็งและการกลอกตาจะทำให้คุณดูน่ากลัวได้เหมือนกัน [29] แต่ก็ให้ระวังด้วยเช่นเดียวกันเพราะมันอาจจะดูหยาบคายได้ในหลายๆ บริบท
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ดูเป็นคนน่ากลัวเวลาเข้าสังคม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความมั่นใจหรือการขาดความมั่นใจจะแสดงออกผ่านทางน้ำเสียง ถ้าคุณพูดพึมพำ ลังเล หรือโอดครวญเวลาพูด คุณอาจจะดูเป็นคนไม่มีจุดยืนของตัวเองได้ [30] แต่ถ้าคุณพูดจาฉะฉาน น้ำเสียงอยู่ในระดับเดียวกัน และเสียงดังกำลังดี ความมั่นใจของคุณก็จะแสดงผ่านออกมาและดูเป็นคนน่ากลัวในทางที่ดีด้วย [31]
    • ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องการพูดแล้วคนอื่นได้ยินไม่ชัดหรือน้ำเสียงไม่สม่ำเสมอ ให้หยุดคิดก่อนพูด ซึ่งจะทำให้คุณมีเวลาเตรียมตัวว่าจะพูดอะไร และยังแสดงให้เห็นด้วยว่าคุณมั่นใจในตัวเองมากพอที่จะไม่รู้สึกกระอักกระอ่วนกับความเงียบเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจะทำให้คุณยิ่งดูน่ากลัวเข้าไปใหญ่
  2. คุณสามารถแสดงความมั่นใจผ่านการสื่อสารได้ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความน่ากลัวของคุณให้มากขึ้นไปอีก โดยที่คุณจะต้อง [32] [33]
    • ไม่เห็นด้วยกับคนอื่นเสมอไป
    • แสดงความคิดเห็นของตัวเอง
    • ไม่เลี่ยงการกระทบกระทั่ง
    • ใช้คำพูดที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ฉัน” เช่น “ฉันไม่เห็นด้วย” แทนที่จะบอกว่า “คุณผิด” วิธีนี้จะยิ่งย้ำว่าคุณมีอำนาจ
    • เห็นด้วยกับหลักการแต่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับรายละเอียดโดยการพูดประมาณว่า “ก็เข้าใจได้นะ แต่...”
    • ไม่โกรธเคืองเวลาคนอื่นวิจารณ์คุณ และไม่วิจารณ์ตอบ แต่ให้เน้นย้ำคำพูดเกี่ยวกับความคิดเห็นของคุณโดยตรง
    • ยืนหยัด พูดประเด็นของคุณซ้ำไปซ้ำมาถ้าจำเป็น แต่อย่าวอกแวก
    • เต็มใจที่จะพูดคำว่า “ไม่” (หรือ "ยุ่งอยู่ค่ะ" เป็นต้น) เวลามีคนมาขอให้ช่วย
  3. การพูด “เรื่อยเปื่อย” หรือการวิจารณ์คนอื่นหน่อยๆ เป็นเรื่องปกติในการแข่งกีฬาเพราะเป็นวิธีแสดงความมั่นใจและข่มขวัญคู่ต่อสู้ [34] แต่ก็สามารถใช้ในบริบทอื่น (อย่างโฆษณาการเมืองหรือที่ทำงาน) เพื่อให้ดูน่ากลัวได้
    • การพูดเรื่อยเปื่อยในสถานการณ์อื่นๆ อาจจะเป็นการพูดออกมาตรงๆ เลยก็ได้ เช่น บอกเพื่อนร่วมงานว่า “รายงานเดือนนี้ฉันมีบัญชีเพิ่มเข้ามาใหม่ 13 บัญชี แล้วนายล่ะเจ นายได้กี่บัญชี ศูนย์” และอาจจะเพิ่มคำพูดแดกดันเข้าไปด้วย เช่น “รายงานไม่เลวเลยนี่เจ ไม่แน่ครั้งหน้านายอาจจะได้บัญชีมาใส่ในรายงานกับเขาจริงๆ บ้างก็ได้”
    • อย่าใช้คำพูดที่แสดงถึงการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ หรือคำพูดหยาบคาย การพูดเรื่อยเปื่อยของคุณควรเน้นไปที่การพูดแดกดันความสามารถของคนๆ นั้น ไม่ใช่ตัวตนของเขา
  4. การเดินเข้าไปในที่ใหม่ๆ โดยมีกลุ่มคนเดินตามหลังคุณจะทำให้คุณดูมีอำนาจและเป็นคนสำคัญ ยิ่งคนที่รายล้อมคุณดูแข็งแกร่งและมั่นใจมากเท่าไหร่ คนอื่นก็จะยิ่งไม่น่ามาทำอะไรคุณได้ การมีพรรคพวกไปไหนมาไหนด้วยแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นผู้นำ และอาจดูน่ากลัวในทางที่ดี
    • ในบางที่ คุณอาจจะเช่าพรรคพวกมาเดินตามหลังคุณเป็นเวลาสั้นๆ ได้ด้วย [35]
    • ถ้าจะให้ดีที่สุด กลุ่มพรรคพวกของคุณควรจะเป็นเพื่อนที่ดีที่สนับสนุนคุณและยกคุณเป็นไอดอล
    • กลุ่มพรรคพวกอาจทำหน้าที่เป็น "คู่หู" ของคุณด้วยการพูดสรรเสริญความสำเร็จและคุณสมบัติที่น่ายกย่องของคุณให้คนอื่นฟัง
    • คุณต้องดีกับพรรคพวกของคุณและให้เกียรติพวกเขา คุณต้องรับฟังและสนับสนุนสิ่งที่พวกเขาสนใจ
  5. ถ้าคุณมีประวัติการศึกษาที่ดีเลิศหรือได้เกียรตินิยมและมีรางวัลที่จะไปอวดใครต่อใครได้ และคุณเองก็พยายามทำตัวให้ดูน่ากลัวในที่ทำงานอยู่ อย่าเหนียมอายที่จะตกแต่งออฟฟิศของคุณด้วยใบรับรองและประกาศนียบัตรต่างๆ [36] การมีป้ายประกาศความสำเร็จแสดงในที่สาธารณะจะทำให้คุณดูน่ากลัวเวลามีใครเข้ามาคุยด้วย
    • ในการเพิ่มระดับความน่ากลัวให้มากยิ่งขึ้น ให้พูดถึงความสำเร็จของตัวเองสั้นๆ ในบทสนทนาให้บ่อยที่สุด
  6. บางครั้งการเงียบก็ทรงพลังมากกว่าคำพูด ลองทำตัวเหินห่างจากคนอื่นเล็กน้อย ไม่พูดเล่นพูดหัวมากเกินไป และดูหยิ่งๆ หน่อย ถ้าคุณทำให้ตัวเองดูลึกลับในสายตาคนอื่นเล็กน้อย คนอื่นก็อาจจะกลัวและสงสัยว่าจริงๆ แล้วคุณเป็นยังไง [37]
    • ไม่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นเสมอไป สังเกตคนอื่นและทำเป็นตั้งใจฟัง แต่ยังคงออร่าของความลึกลับเอาไว้
    • ทำตัวเหมือนว่ายุ่งหรือทำอย่างอื่นอยู่ตลอดเวลา (เช่น อ่านหนังสือหรือทำงานในสมุดหรือโน้ตบุ๊ก) แต่อย่าให้คนอื่นรู้ว่าคุณกำลังทำอะไรยกเว้นว่าเขาจะถาม
    • เมื่อไหร่ก็ตามที่มีคนถามว่าคุณทำอะไรอยู่ ให้ตอบสั้นๆ กำกวมๆ ที่บอกถึงเรื่องสำคัญอันลึกลับ เช่น ถ้าเพื่อนร่วมงานเห็นคุณง่วนอยู่กับโน้ตบุ๊กและถามว่าคุณทำอะไรอยู่ ให้ตอบแค่ว่า "อ๋อ โปรเจ็กต์ใหม่น่ะ เขาอาจจะยังไม่ได้บอกเรื่องนี้กับเธอก็ได้"
    โฆษณา
  1. http://sandy.utah.gov/Home/ShowDocument?id=1736
  2. http://www.hr.wa.gov/SiteCollectionDocuments/Publications/Violence%20in%20Wkplace%20Guide%20-Webversion-9-15-08.pdf
  3. https://www.michigan.gov/documents/mde/BSBD_UnitVII_Final_Student_Manual_April_17_2012_384891_7.pdf
  4. https://www.michigan.gov/documents/mde/BSBD_UnitVII_Final_Student_Manual_April_17_2012_384891_7.pdf
  5. http://sandy.utah.gov/Home/ShowDocument?id=1736
  6. http://faculty.psy.ohio-state.edu/montemayor/documents/MenandTheirBodiesTheRelationshipBetweenBodyTypeandBehavior.pdf
  7. http://www.sscnet.ucla.edu/comm/haselton/papers/downloads/Frederick_Haselton_2007_Muscularity_sexy.pdf
  8. http://shrike.depaul.edu/~ztan/psy326/men7127.pdf
  9. https://socialwork.buffalo.edu/content/dam/socialwork/home/self-care-kit/exercises/assertiveness-and-nonassertiveness.pdf
  10. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/assertive/art-20044644?pg=2
  11. https://www.recruiter.com/i/why-beards-are-back-and-their-sociobiological-impact-on-job-interviews/
  12. http://careers.williams.edu/the-look-of-success/
  13. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/assertive/art-20044644?pg=2
  14. https://socialwork.buffalo.edu/content/dam/socialwork/home/self-care-kit/exercises/assertiveness-and-nonassertiveness.pdf
  15. http://graziadiovoice.pepperdine.edu/how-to-get-taken-more-seriously-at-work/
  16. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/assertive/art-20044644?pg=2
  17. http://sandy.utah.gov/Home/ShowDocument?id=1736
  18. https://www.nacada.ksu.edu/Resources/Clearinghouse/View-Articles/body-speaks.aspx
  19. http://home.ubalt.edu/ntsbpitt/ethics.pdf
  20. http://apps.pittsburghpa.gov/pcsc/09_EAP_Fall_Spvr_Bullying_Part1.pdf
  21. https://socialwork.buffalo.edu/content/dam/socialwork/home/self-care-kit/exercises/assertiveness-and-nonassertiveness.pdf
  22. https://www.portlandoregon.gov/police/article/61813
  23. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/assertive/art-20044644
  24. https://socialwork.buffalo.edu/content/dam/socialwork/home/self-care-kit/exercises/assertiveness-and-nonassertiveness.pdf
  25. http://vc.bridgew.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1191&context=br_rev
  26. http://m.kiplinger.com/slideshow/spending/T050-S001-surprising-things-you-can-rent/index.html?page=14
  27. http://www.askamanager.org/2013/04/should-i-display-my-degree-in-my-office.html
  28. http://www.healthguidance.org/entry/15676/1/How-to-Be-Intimidating.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 45,411 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา