PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การต้องพูดต่อหน้าสาธารณชน เป็นเรื่องที่ทำให้คุณกลัวจนขาสั่นหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็ไม่ได้แปลกอะไร เพราะมีผู้คนทั่วโลกจำนวนมากที่มีนิสัยขี้อาย และต่างก็พยายามที่จะแก้จุดอ่อนในเรื่องนี้อยู่ ขอเพียงตระหนักว่า การที่จะเอาชนะนิสัยอันเป็นจุดอ่อนของตัวเอง ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย มันต้องอาศัยระยะเวลา ความพยายาม และแน่นอนว่า ต้องมีความมุ่งมั่นด้วย ซึ่งการที่คุณเปิดมาอ่านหน้าเว็บนี้อยู่ แสดงว่าคุณกำลังมาถูกทางแล้ว!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

รู้จักกับความอาย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนขี้อาย อาจไม่ได้หมายถึงคนที่ชอบเก็บตัว หรือคนที่รู้สึกบกพร่องในตัวเองเท่านั้น มันแค่บ่งบอกว่าคนๆนั้นไม่ชอบอยู่ท่ามกลางความสนใจของผู้อื่น เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้นน่ะเหรอ ที่จริงแล้วมันก็มีสาเหตุมากมายหลายประการ โดย 3 เหตุผลต่อไปนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด:
    • คุณคิดว่าตนเอง เยอะจุดด้อย น้อยจุดเด่น นี่คือเสียงที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของคนที่กลัวการเป็นจุดสนใจ และยากที่จะเพิกเฉยต่อมัน อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วมันก็เป็นคำพูด ของคุณ เอง ดังนั้น คุณสามารถเปลี่ยนบทพูดให้มันได้ [1]
    • ในกรณีนี้ คุณอาจมีปัญหาในการยอมรับคำชมร่วมด้วย เช่น แม้ว่าคุณจะไม่แน่ใจว่าตัวเองดูดีหรือเปล่า แต่จู่ๆ หากมีใครสักคนมาชมว่าคุณดูดี คุณคงไม่คิดว่าพวกเขาโกหกหรอก จริงไหม ดังนั้น พยายามยืดอกรับคำชม พร้อมกล่าว “ขอบคุณ” แทนที่จะบอกว่าพวกเขาคิดผิด
    • คุณมัวแต่กังวลว่าคนอื่นจะมองอย่างไร คนที่กังวลในลักษณะนี้ มักเป็นคนที่หมกมุ่นอยู่กับตัวเองเกินไป และมักระแวงว่าตนเองอาจจะไปทำอะไรน่าขายหน้า จึงเหมาเอาว่าคนอื่นคอยจ้องจับผิด หากคุณมีอาการเช่นนี้ อ่านต่อไปจนจบ จะพบกับทางออก
    • คุณถูกตราหน้าว่าเป็นเด็กขี้อาย หากในวัยเด็ก ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง รวมถึงคุณครูและคนรอบข้างคุณ ชอบพูดกรอกหูคุณบ่อยๆว่า คุณเป็นเด็กขี้อาย คุณก็จะฝังใจและปรับพฤติกรรมไปตามที่คนอื่นพูดกันโดยไม่รู้ตัว ถึงแม้คุณอาจเลิกขี้อายแล้วก็ตาม แต่ข่าวดีคือ ในเมื่อตอนนี้คุณรู้สาเหตุแล้ว คุณก็สามารถดัดนิสัยตัวเองได้ทุกเมื่อ [2]
      • ไม่ว่าสาเหตุใดข้างต้นจะนิยามความขี้อายของคุณ ก็ล้วนแล้วแต่แก้ได้ที่กระบวนการคิดทั้งสิ้น ซึ่งคุณสามารถแก้ไขได้!
  2. จุดเริ่มต้นของการเอาชนะความขี้อาย ก็คือการยอมรับมันเสียก่อน เพราะว่านิสัยใดก็ตามที่เราปฏิเสธ มันจะยิ่งส่งผลทางลบต่อเรา หากคุณเป็นคนขี้อาย ก็ควรยอมรับมัน โดยอาจเริ่มบอกตัวเองอยู่เสมอว่า ‘ฉันเป็นคนขี้อาย ฉันยอมรับ’ [3]
  3. คุณมักจะประหม่าสุดๆ ในสถานการณ์ใดบ้าง เวลาอยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก เวลาต้องเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เวลาอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เวลาอยู่ท่ามกลางคนที่เหนือกว่า หรือเวลาอยู่ร่วมกลุ่มที่ไม่มีใครรู้จักคุณเลย พยายามรู้ทันตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตั้งตัวไม่ทัน
    • อย่างน้อยคุณก็คงไม่ได้รู้สึกอายในทุกสถานการณ์หรอก จริงไหม อย่างเวลาอยู่กับคนในครอบครัว ซึ่งก็เป็นมนุษย์เดินดินเหมือนกับคนอื่นๆทั่วไป เพียงแต่คุณแค่รู้จักคนในครอบครัวดีกว่าเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์ว่า ความขี้อายไม่ได้เป็นสันดานของคุณ หากแต่มันขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ต่างหาก
  4. จัดเรียงลำดับความรุนแรงของมันจากน้อยไปหามาก โดยการทำเช่นนี้ จะช่วยให้คุณเห็นความขี้อายเป็นเสมือนกำแพงที่คุณกำลังจะฝ่าไปทีละเปราะๆ [4]
    • ใส่รายละเอียดให้มากที่สุด หากการพูดต่อหน้าสาธารณชน เป็นหนึ่งในปัญหาของคุณ คุณอาจเติมรายละเอียดลงไปอย่าง เช่น การพูดต่อหน้าคนที่มีอำนาจตัดสินใจ หรือการพูดต่อหน้าเพศตรงข้าม เป็นต้น ยิ่งลงรายละเอียดมากเท่าไร คุณก็ยิ่งพร้อมรับมือกับมันมากเท่านั้น
  5. หลังจากเขียนรายชื่อแต่ละสถานการณ์ออกมาได้สัก 10-15 ข้อแล้ว เริ่มลงมือเอาชนะมันทีละข้อ (หลังจากอ่านบทความนี้จบแล้วเท่านั้นนะ) แน่นอนว่า คุณจะได้เริ่มจากบททดสอบที่ง่ายกว่าก่อน จากนั้น จึงค่อยยากขึ้นไปเรื่อยๆ
    • อย่าคิดมากหากจำเป็นต้องย้อนกลับไปเอาชนะบางสถานการณ์อีกครั้ง เส้นทางสายนี้เป็นของคุณ ขอแค่อย่าหยุดเดิน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เอาชนะใจตนเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อะไรก็ตามที่กระตุ้นให้คุณเกิดอาการประหม่า มันมีบทบาทเช่นนั้นเพียงเพราะคุณมอบให้มันเอง ก็เหมือนกับโปรแกรมจัดการไวรัสทั่วไป ที่เมื่อคอมพิวเตอร์เกิดภาวะ ติดขัด ขึ้นมา โปรแกรมก็จะตอบสนองด้วยวิธีหนึ่งๆ ตามที่ถูกป้อนโปรแกรมไว้ เช่นเดียวกันกับคนเรา ซึ่งในวัยเด็กมักถูกโปรแกรมเข้าสมองอยู่ตลอดเวลา ให้มีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจเป็นภัย เช่น เมื่อเจอสัตว์มีพิษ เมื่อพบเห็นคนแปลกหน้า หรือเมื่ออยู่บนที่สูง เป็นต้น โดยหารู้ไม่ว่า โปรแกรมบางอย่างที่เราถูกป้อนมา มันมีความผิดพลาด ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเกิดอาการตื่นตระหนก เวลาที่เจอ ตุ๊กแก ในขณะที่เพื่อนบางคนของคุณ อาจมองว่าลายบนตัวมันสวยดีออก ความแตกต่างอย่างเดียวอยู่ที่การตอบสนอง(อันเคยชิน)ของแต่ละคนนั่นเอง ซึ่งคนที่กลัวผู้คน(สิ่งเร้า) ก็เป็นเพราะความเคยชินของพวกเขาต่อสิ่งเร้าดังกล่าว มันสั่งให้ตอบสนองด้วย ความประหม่า แต่เราสามารถแก้ไขมันได้โดย…
    • ตรวจสอบการตอบสนองของคุณว่า มันเหมาะสมดีแล้วหรือไม่ ในแต่ละสถานการณ์
    • การจะเอาชนะความประหม่าเวลาพูดต่อหน้าฝูงชน จำเป็นต้องลงมือทำจริงๆ พยายาม หากคุณเริ่มรู้สึกประหม่า ก็ถือเสียว่ามันเป็นสัญญาณที่กำลังบอกให้คุณเตรียมตัว จะได้พยายามทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับทุกครั้งที่เกิดอาการประหม่า หากปกติเวลาอยู่ท่ามกลางฝูงชนแออัด คุณเคยแต่หลีกหนีไปในที่ไม่มีใคร ก็ลองเปลี่ยนมายิ้มทักทายหรือพูดคุยกับพวกเขาดู แน่นอนว่า เริ่มแรกคุณย่อมรู้สึกประหม่าอย่างแสนสาหัส แต่ขอให้ใช้ความประหม่าดังกล่าว บอกตัวเองให้ฮึดสู้ไว้ อย่าถอย เมื่อฝึกแบบนี้บ่อยเข้า สักพักคุณก็จะเกิดความรู้สึกฮึกเหิมทุกครั้งที่เกิดอาการประหม่า
  2. คนมากกว่า 99% มักจะรู้สึกประหม่าด้วยความคิดที่ว่า หากอยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก เราอาจทำอะไรขายหน้า นั่นคือเหตุผลที่คุณควรพยายามโฟกัสไปที่คนอื่น และเลิกหมกมุ่นในความคิดตัวเอง เพื่อที่จะได้เลิกประหม่าหรือกลัวว่าจะทำอะไรขายหน้าเหมือนเคย
    • วิธีที่ง่ายที่สุดในการมองออกไปนอกตัว คือใช้ความกรุณาต่อผู้อื่น [5] หากเราส่งผ่านความกรุณาและมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น เราก็จะเลิกหมกมุ่นกับตัวเองได้เอง พยายามคิดถึงเรืองราวที่คนอื่นอาจกำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ (อาจดูเล็กสำหรับเรา แต่ใหญ่สำหรับพวกเขา) คอยเตือนตัวเองว่า เราทุกคนต่างก็ต้องการความใส่ใจ
    • หากวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล ลองวิธี จินตนาการ ว่า คนอื่นกำลังคิดอะไร และก๊อปปี้ความคิดนั้นมาใช้บ้าง เช่น หากคุณรู้สึกกลัวว่าคนอื่นจะมองไม่ดี นั่นหมายถึง คุณกำลังเหมาว่า คนอื่นกำลังมองออกไปที่เหตุการณ์ภายนอกตัวพวกเขาเอง (ที่จริงแล้ว ไม่ใช่เช่นนั้นหรอก) ดังนั้น คุณก็ทำแบบเดียวกับพวกเขาบ้างสิ แต่ระวังใช้วิธีนี้แล้วเพลิดเพลินจนหยุดไม่ได้ล่ะ
  3. หลับตาและนึกถึงสถานการณ์ที่ทำให้คุณประหม่า จากนั้น สร้างจินตภาพว่า คุณกำลังมีความมั่นใจอย่างเปี่ยมล้น ลองทำแบบนี้กับหลากหลายสถานการณ์ดู โดยเฉพาะหลังจากตื่นนอนตอนเช้า ซึ่งคุณอาจจะรู้สึกแปลกๆ แต่อย่าลืมว่า นักกีฬาระดับโลกจำนวนมาก ก็ใช้วิธีฝึกจินตภาพแห่งความสำเร็จแบบนี้ ในการคว้าชัยชนะจากการแข่งขันกีฬา
    • การฝึกจินตภาพ ควรจะทำให้สมจริงที่สุด ทั้งในแง่ของความคิดที่จะเกิดขึ้น และอารมณ์ความรู้สึกในสถานการณ์ดังกล่าว
  4. การยืนและเดินอย่างอกผายไหล่ผึ่ง ทำให้คนทั่วไปรู้สึกถึงพลังความมั่นใจและความน่าหลงใหลของคุณ ซึ่งพวกเขาก็จะปฏิบัติต่อคุณตามที่รู้สึกนั่นเอง จงใช้ท่าทางสื่อพลังในตัวคุณ! [6]
    • แม้แต่ตัวคุณเองก็ยังรู้สึกได้ ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพหรือท่าทางที่ดี (หน้าเชิด ไหล่ผึ่ง และแขนสองข้างเปิดออกเล็กน้อย) จะทำให้เรารู้สึกมีอำนาจ มั่นใจ และที่สำคัญ ลดอาการประหม่าลงด้วย [7] รู้แบบนี้แล้ว เริ่มฝึกลักษณะท่าทางดังกล่าวโดยด่วน!
  5. ซึ่งจะช่วยแก้ไขอาการพูดอึกอักหรือพูดเบาเกินไป โดยคุณสามารถฝึกพูดกับตัวเองได้ แถมยังได้คุ้นเคยกับเสียงของตัวเองอีกด้วย จนอาจหลงรักเสียงตัวเองไปเลย
    • อัดเทปฝึกสนทนากับตัวเอง แน่นอนว่ามันฟังดูแปลกๆ แต่มันจะเห็นผลดีแน่ๆ คุณจะรู้จังหวะการพูด รวมถึงคำที่มักติดขัด และระดับน้ำเสียงของตัวเอง ในตอนแรกคุณอาจจะรู้สึกเหมือนกำลังซ้อมบทละครด้วยซ้ำ แต่ไม่นานมันจะกลายมาเป็นทักษะและความชำนาญ
  6. เพราะคุณจะไมมีวันรู้สึกดีพอได้เลย แถมยังอาจรู้สึกด้อยกว่า จนทำให้ยิ่งประหม่าฝังลึกเข้าไปอีก แต่หากคิดจะเปรียบล่ะก็ ควรทำอย่างยุติธรรมกับตัวเองสักหน่อย เพราะข้อเท็จจริงก็คือว่า มีคนจำนวนมากที่มักดูเหมือนมั่นใจ แต่ภายในกำลังประหม่าอยู่ต่างหาก! [8]
    • หากคุณมีคนรู้จัก หรือคนในครอบครัว ที่เป็นประเภทมั่นใจตัวเองสุดๆ คุณก็สามารถขอคำแนะนำจากพวกเขาได้ ซึ่งพวกเขาอาจมีคำตอบอย่างเช่น “ฉันก็แค่ตั้งใจแสดงความเชื่อมั่นเวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่น” หรือ “เมื่อก่อนฉันก็ขี้อาย แต่ก็ใช้ความพยายามพัฒนาตัวเองมาถึงจุดนี้” คุณแค่กำลังจะพัฒนาไปเป็นอย่างพวกเขาบ้าง ไม่ช้าก็เร็ว
  7. ทุกคนต่างก็มีดีต่างกันไป ฟังดูอาจเหมือนหลอกตัวเอง แต่มันเป็นความจริง พยายามโฟกัสไปที่เรื่องราวความสำเร็จของตัวเอง รวมถึงสิ่งที่คุณเรียนรู้มา และศักยภาพของคุณเอง แทนที่จะมัวกังวลเกี่ยวกับรูปร่างหรือปัจจัยภายนอก จำเอาไว้ว่าแม้แต่คนที่ดูดีมีเสน่ห์ ก็มีบางอย่างที่ไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเองเหมือนกัน แต่ทำไมพวกเขาจึงไม่ได้รู้สึกประหม่าในเรื่องดังกล่าวเลยล่ะ ดังนั้น คุณเองก็ไม่จำเป็นต้องกังวลอะไรเหมือนกัน
    • เมื่อคุณตระหนักในเรื่องดังกล่าวแล้ว คุณจะเริ่มเห็นเองว่า คุณก็มีส่วนดีบางอย่าง ที่จะมอบเป็นของขวัญให้แก่โลกใบนี้เหมือนกัน ความสามารถของคุณอาจกำลังเป็นที่ต้องการของใครบางคน หรือบางกลุ่ม และเมื่อคุณรู้ คุณก็จะเริ่มกล้าแสดงออกมากขึ้น
  8. การที่คุณไม่ได้เป็นหัวโจกประจำกลุ่ม หรือเสียงดังโผงผาง และไม่ได้ชอบเฮฮาปาร์ตี้ นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณอ่อนด้อยกว่าทางการเข้าสังคม โดยคุณสามารถเป็นนักฟังที่ดี เป็นคนที่ช่างสังเกต และเอาใจใส่ในรายละเอียดหรือไม่ คุณสมบัติเหล่านี้อาจไม่เคยมีอยู่ในตัวคุณ แต่พยายามใช้เวลาค้นหาสักนิดก่อน
    • เมื่อคุณพบจุดเด่นของตัวเองแล้ว คุณสามารถนำมาเป็นจุดขายได้ เช่น หากคุณชอบเป็นผู้ฟัง คุณอาจจะรับรู้ได้ทันทีเวลาที่มีใครกำลังอัดอั้นตันใจ นั่นล่ะคือจุดขายของคุณ คนเหล่านั้น กำลังต้องการ คุณ หากคุณเห็นพวกเขากำลังควันออกหู คุณจะไม่เงี่ยหูไปรับฟังสาเหตุสักหน่อยเหรอ
    • ในทุกวงสังคม มักจะขาดผู้ที่ทำหน้าที่บางอย่างไป และไม่มีบทบาทไหนดีกว่ากัน จำไว้ว่า ความเป็นตัวคุณอาจเป็นชิ้นส่วนที่กำลังขาดหาย ในบางสังคม
  9. จะว่าไปแล้ว คนที่ดูเหมือนเป็นจุดศูนย์กลางของวงสังคม มักไม่ใช่คนที่มีความสุขที่สุด และคนที่ชอบเข้าสังคม ก็อาจไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบมากนัก ที่สำคัญ คนขี้อายก็ไม่ได้หมายความว่าจะเย็นชา หรือขาดความสุขในชีวิต ดังนั้น หากคุณไม่ชอบให้ใครมาตัดสิน ก็จงอย่าตัดสินพวกเขาจากภายนอกเช่นกัน
    • เด็กที่ได้รับความนิยมในหมู่เพื่อน อาจกำลังใช้ความพยายามมากกว่าที่คุณเห็น พวกเขายอมทำทุกอย่างที่จำเป็น เพียงเพื่อที่จะเป็นนักเรียนยอดนิยม ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาหรือเธอจะมีความสุข และความนิยมเหล่านั้นก็อาจหลุดลอยไปได้ในวันใดวันหนึ่ง การพยายามเป็นคนในแบบที่คุณเห็นแค่เพียงภายนอก จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่น่าสมเพชที่สุด เพราะหลังจากที่เปลือกนอกหลุดออก ก็จะเผยให้เห็นภายในอันกลวงเปล่า ดังนั้น จงเป็นตัวของตัวเองเข้าไว้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

พัฒนาทักษะการเข้าสังคม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากรู้ตัวล่วงหน้าว่ากำลังจะต้องไปร่วมงานหรือเข้าสังคมที่ไหน คุณอาจจะเตรียมหัวข้อสนทนาที่เหมาะสมเอาไว้สัก 2-3 เรื่อง ขึ้นอยู่กับประเภทของคนในวงสังคมนั้นๆ ซึ่งรับรองได้ว่า คุณจะกลายเป็นคนที่ใครๆก็อยากหันมาสนทนาด้วย
    • คุณไม่จำเป็นต้องรู้อะไรลึก ขอแค่รู้แบบกว้างๆ เพราะเป้าหมายของคุณคือการเข้าสังคม ไม่ใช่การไปแสดงความเหนือกว่า และคนส่วนใหญ่ก็แค่ต้องการคู่สนทนา หรือคนคอยรับฟัง ดังนั้น พยายามเน้นไปที่ความร่าเริง วางตัวสบายๆ การเปิดหัวข้อสนทนาแบบง่ายๆ เช่น “ฟุตบอลเมื่อคืนนี้ทีมไหนชนะ ใครพอรู้บ้าง?” ก็อาจทำให้คุยต่อยอดกันได้ยาวเป็นชั่วโมงแล้ว
  2. การเข้าสังคมเป็นจะเรื่องง่าย หากคุณสามารถแตกรายละเอียดออกมา และจำได้ขึ้นใจ ในแง่ของลักษณะหรือรูปการที่เกิดขึ้น 4 ลำดับ ดังต่อไปนี้: [9] Think about all conversations in four stages:
    • ลำดับแรก คือการเปิดหัวข้อสนทนา โดยมักเริ่มด้วยประโยคสั้นๆ ง่ายๆ
    • ลำดับที่สอง เริ่มแนะนำตัว ขยายความเกี่ยวกับความเป็นมาของตนเอง
    • ลำดับที่สาม เริ่มมองหาความชอบของแต่ละฝ่าย จะได้เอามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน
    • ลำดับที่สี่ เป็นการปิดท้าย อาจมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องขอตัวไปก่อน ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนช่องทางติดต่อซึ่งกันและกันไว้ เช่น “เอาล่ะ ผม/ดิฉันคงต้องไปแล้ว ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ/คะ ยังอยากคุยเรื่องนั้นต่ออยู่เลย ถ้ายังไงช่วยรับนามบัตรนี้เอาไว้ เผื่อมีเวลาว่าง จะได้นัดเจอกันอีก”
  3. ลองเอาเรื่องงานของคุณ หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบ รวมถึงอาการป่วยที่คุณอาจเพิ่งผ่านพ้นมา นำมาเกริ่นเปิดหัวข้อสนทนาก่อนเลยก็ได้ เพราะเมื่อเริ่มมีการพูดคุยกัน เดี๋ยวบทสนทนาก็จะปรับเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นที่ลงตัวกับทุกฝ่ายเอง เช่น “คุณได้ดูละครตอนอวสานเมื่อคืนหรือเปล่า” หรือ “ช่วงนี้อากาศร้อนกว่าเดิมอีกเนอะ” หรือ “เมื่อคืนเพิ่งยื่นแบบขอคืนภาษีไป ป่านนี้ทางสรรพากรยังไม่ได้ส่งเช็คมาให้เลย” หัวข้อต่างๆเหล่านี้ จะนำไปสู่เรื่องคุยได้อีกร้อยแปดพันเก้าเลยล่ะ [10]
    • ใส่รายละเอียดให้น่าสนใจ. ในแต่ละคำตอบ เช่น หากมีคนถามคุณว่า คุณพักอยู่แถวไหน แทนที่จะตอบแบบเรียบๆ ว่า “แถวห้วยขวาง” ซึ่งจะทำให้บทสนทนาชะงัก และทำให้ผู้ถามเกิดอาการกร่อยๆ คุณสามารถหัดตอบแบบใหม่โดยใส่รายละเอียดเพิ่มเติม เช่น "แถวห้วยขวาง ใกล้ๆกับพระพรหมที่อยู่ตรงมุมสี่แยก เธออาจเคยผ่านแถวนั้น และพอจะนึกภาพออกใช่ไหมจ้ะ" [11] ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้ตอบบ้าง แถมยังมีประเด็นให้คุยเพิ่มอีกมากมาย เช่น เรื่องความศักดิสิทธิ์ของพระพรหม หรือร้านขนมอร่อยๆ ในย่านนั้น
  4. หากอยู่ในงานสังสรรค์ใหญ่ๆ คุณอาจใช้ มุกหากิน ไปเรื่อยๆ และค่อยๆเลื้อยไปคุยกับกับกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ จนกว่าจะรู้สึกว่าเริ่มเอียนกับการพูดคุย หรือทักทายผู้คนมากพอเป็นพิธีแล้ว คุณจึงค่อยเริ่มหันไปหาคู่สนทนาที่เป็นทางการ หรือที่คุณรู้สึกมีความสุขในการคุยด้วยจริงๆ
    • จำกัดเวลาเอง หากต้องพูดคุยทักทายกับคนหลายกลุ่ม คุณอาจจะกำหนดในใจว่า จะพูดคุยกับคนหรือกลุ่มนี้ สักประมาณ 2-3 นาที ก่อนที่จะย้ายไปกลุ่มอื่น วิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่าประหม่า เพราะเดี๋ยวคุณก็จะไปแล้ว จากนั้น จึงใช้เวลาที่เหลือส่วนใหญ่ สังสรรค์กับกลุ่มที่คุณให้ความสำคัญมากหน่อย จะได้คุ้มกับทักษะและเวลาอันมีค่าของคุณ! [11]
  5. ใช้ภาษากายในแบบที่เป็นมิตร พยายามยิ้มเล็กน้อยตลอดเวลา อย่าหลบสายตา อย่ายืนกอดอก หรือเอาแต่นั่งกดโทรศัพท์ เพราะคงไม่มีใครอยากรบกวนคุณเวลากำลังแชทบนมือถือ!
    • เคยสังเกตท่าทางของคนที่คุณอยากเข้าไปคุยด้วยไหม และคนที่คุณไม่อยากแม้แต่เดินเฉียดล่ะ เป็นอย่างไร ลองเปรียบเทียบลักษณะท่าทางหรือภาษากายของคนทั้ง 2 แบบดู แล้วคุณจะรู้ว่าอะไรควรทำ และอะไรไม่ควรทำ
  6. การสบสายตาและส่งยิ้มมาของใครบางคน อาจทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นมาได้อย่างบอกไม่ถูก ซึ่งสายตาและรอยยิ้มของคุณ ก็สามารถส่งผลต่อคนอื่นในลักษณะเดียวกันได้ เพราะภาษากายดังกล่าว เป็นการสื่อให้ผู้อื่นรู้ถึงความเป็นมิตร และอบอุ่น พร้อมที่จะสนทนาหรือให้ความช่วยเหลือกันตลอดเวลา [12]
    • มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่เชื่อก็ลองนึกภาพแววตาของนักโทษที่ถูกขังเดี่ยวดู คนเราแค่ต้องการความสัมพันธ์และการเชื่อมต่อ รวมถึงการเป็นที่ยอมรับ ดังนั้น การทักทายกันจึงถือเป็นการเพิ่มพลังให้อีกฝ่าย มากกว่าที่จะเป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัว
  7. หากคุณรู้สึกอึดอัดหรือกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับท่าทางของตัวเอง ในระหว่างที่กำลังเข้าสังคม ลองถามตัวเองใจดูว่า: [13]
    • ฉันหายใจถูกต้องหรือยัง หากคุณหายใจสม่ำเสมอ ไม่เร่งรีบ ร่างกายคุณจะเริ่มผ่อนคลายเอง
    • ฉันผ่อนคลายหรือไม่ หากรู้สึกเกร็งร่างกายส่วนไหน ค่อยๆผ่อนคลายหรือจัดวางให้รู้สึกสบายที่สุด
    • ฉันมีท่าทีน่าคบหาไหม การมีบุคลิกที่ดูเป็นมิตรและน่าเข้าใกล้ จะทำให้ผู้อื่นยอมรับในตัวคุณมากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ท้าทายตนเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเอาแต่พูดอย่างเดียวไม่ได้ช่วยอะไร หลายๆ คนชอบพูดว่า “ฉันอยากเป็นอย่างนั้น อยากทำเรื่องนี้” แต่จะเริ่ม ลงมือทำ จากจุดไหนล่ะ ดังนั้น คุณจำเป็นต้องมีเป้าหมายและแผนการที่ชัดเจน โดยเฉพาะหากคุณอยากรู้จักเพศตรงข้ามบางคน (ซึ่งเราจะแนะนำวิธีให้ต่อไป) [14]
    • ให้ความสำคัญกับการทำเรื่องเล็กน้อยสำเร็จลุล่วง อย่าคิดว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องกระจอก เช่น หากคุณกล้าเข้าไปถามทางคนแปลกหน้าตามป้ายรถเมล์ นั่นก็ถือว่าเป็นพื้นฐาน อันจะนำไปสู่ความกล้าในการพูดต่อหน้าสาธารณชนได้เช่นกัน!
  2. การเดินเข้าผับแล้วทักทายสาวๆ หรือกอดคอดวลเหล้ากับหนุ่มๆ อาจไม่ใช่สไตล์คุณ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ถ้าทำไม่ได้แล้วจะเป็นคนขี้อายหรือขี้กลัว อย่าพยายามกล้าหาญโดยทำตามอย่างคนอื่น เพราะคุณมีแต่จะเสีย
    • คุณไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตตามกระแส เพราะต่อให้คุณทำได้ดี แต่คุณจะรู้สึกว่างเปล่าและไร้ความสุข อย่ามองหาการยอมรับจากคนอื่น ในแบบที่ไม่ใช่ตัวคุณ หากคุณทำแล้วรู้สึกไม่มีความสุขเท่าที่ควร จะเสียเวลาไปเพื่ออะไร! คุณสามารถค้นหาความชอบ หรือสังคมที่เหมาะกับตัวเองได้ เช่น ที่โบสท์หรือวัด ที่ชมรมนักเขียน หรือร่วมกลุ่มจิตอาสาต่างๆ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ชีวิตคุณลงตัวมากกว่า
  3. แน่นอนว่า เราไม่ได้ต้องการเห็นคุณเจ็บปวด แต่การจะก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง คุณสามารถทำให้สำเร็จเร็วขึ้นได้ ด้วยการจงใจทำสิ่งในที่ประหม่าดูบ้าง นานๆ ครั้ง
    • เริ่มจากหัวข้อแรกๆ ที่คุณเคยจดเอาไว้นั่นไง ซึ่งอาจจะเป็นแค่การเข้าไปขอเบอร์คนที่คุณสนใจ ถามคนเดินถนนทั่วไปว่ากี่โมงแล้ว หรือการพูดคุยกับคนที่กำลังนั่งรอสัมภาษณ์งานพร้อมกับคุณ คุณจะพบว่าคนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยกล้าทำเหมือนกัน (ไม่ได้มั่นใจอย่างที่คุณคิดหรอก) แต่โอกาสดีๆ มักจะเป็นของผู้ที่เริ่มเข้าหาผู้อื่นก่อนเสมอ
  4. การทักทายหรือพูดคุยกับคนแปลกหน้านั้น แทบไม่มีอะไรต้องเสีย เช่น การยิ้มและทักทายกับคนที่ยืนรอรถเมล์ด้วยกัน หรือคนที่กำลังต่อแถวช่องเดียวกับคุณ สุดท้ายแล้ว หากไม่มีอะไรน่าสนใจ ก็แค่ต่างแยกย้ายกันไปเท่านั้นเอง!
    • ยิ่งคุณทำบ่อย คุณก็พบว่าคนในสังคม ไม่ได้ชอบปิดกั้นตัวเองไปเสียทุกคน แถมอาจจะมีโอกาสทางธุรกิจ หรืออาชีพการงานเพิ่มขึ้นด้วย แน่นอนว่า อาจมีบางครั้งที่คุณต้องเจอคนประเภทที่ชักสีหน้าแปลกๆ และวางท่าทางเย่อหยิ่ง หรือขมวดคิ้วใส่คุณ (โดยเฉพาะในเมืองไทย) แต่ขอให้มองคนเหล่านั้นเป็นเพียงทางผ่าน สู่การพัฒนาตัวเองของคุณ!
  5. ลองทำความรู้จักกับคนที่ปกติคุณยังไม่เคยคิดจะทักทายด้วยซ้ำ พยายามมองหาคนที่มองโลกคล้ายๆ หรือแบบเดียวกับคุณ จากนั้น ลองคิดหาวิธีเริ่มทำความรู้จักเขาหรือเธอดู เชื่อไหมว่า หากคุณได้เจอสังคมในแบบของคุณแล้ว คุณอาจจะกลายมาเป็นหัวโจกของกลุ่มเลยก็ได้! [15]
    • การเข้าหาผู้อื่น อาจจะยากหน่อยในช่วงแรกๆ คล้ายๆกับอาการงึกงักของคุณ เมื่อตอนที่หัดขี่จักรยานหรือขับรถช่วงแรกๆ แต่คุณควรจะชำนาญขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก หลังจากนั้น ก็แทบจะเป็นอัตโนมัติ และรู้สึกเหมือนบรรลุวิชาเลยทีเดียว
  6. ก่อนหน้านี้ เราแนะนำให้คุณจดรายการสิ่งต่างๆ ที่ทำให้คุณประหม่าไปแล้ว ตอนนี้ขอให้คุณจดรายการสิ่งที่คุณทำสำเร็จลงไปบ้าง เพราะการเห็นความคืบหน้าของตัวเอง จะทำให้คุณมีแรงจูงในในพัฒนาการขั้นต่อไปที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ ขั้นเทพ
    • อย่าจำกัดระยะเวลา อย่าเปรียบเทียบตนเองกับความสามารถของคนอื่น เรื่องบางเรื่อง คุณอาจชำนาญเร็วกว่า บางเรื่องอาจช้ากว่า จงจดจ่ออยู่บนเส้นทางของตัวเอง จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำไว้ว่าความประหม่า ไม่ใช่ นิสัยที่ต้องติดตัวไปจนตาย คุณสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองจากคนขี้อาย ให้กลายเป็นคนที่มีความมั่นใจได้ ด้วยความมุ่งมั่นปรารถนา และลงมือทำ
  • "ฝืนใจไว้ ไม่ทันไรก็ชินไปเอง" เป็นคติประจำใจที่ควรนึกถึง เวลาที่กำลังพยายามก้าวข้ามจุดอ่อนของตัวเอง แต่ต้องจำไว้ว่า อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป เพราะจะทำให้ใจเสียเปล่าๆ จงท้าทายตัวเองแต่พองาม ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป
  • รู้ไหมว่า อาการกลัวและอาการตื่นเต้น เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนตัวเดียวกัน นั่นคือ อะเดรนาลีน คนที่ดูเหมือนมั่นใจบนเวที พวกเขามีความเครียดไม่ต่างไปจากคุณเลย เพียงแต่พวกเขาพยายามสร้างความฮึกเหิม จนกระทั่งเห็นสถานการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ ดังนั้น คุณสามารถปรับเปลี่ยนความคิดที่คุณมีต่ออาการประหม่าของตัวเอง ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนความกลัวให้กลายเป็นความตื่นเต้นได้เช่นเดียวกัน ด้วยการโฟกัสไปที่ด้านบวกของผลลัพธ์ในแต่ละสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือทำกิจกรรมใดๆ
  • บอกตัวเองว่า "ใช่"เอาไว้ก่อน ไม่ว่าคุณจะลองทำอะไร ที่คุณไม่เคยทำมาก่อน ผลดีมักมีมากกว่าผลเสีย เพราะแทบไม่มีอะไรต้องเสีย มีแต่ความนับถือตัวเองที่เพิ่มขึ้นทีละนิดๆ
  • อาสาหรือเข้าร่วมกลุ่มที่คุณสนใจ จะเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คือได้เพื่อนใหม่ แถมได้ทำสิ่งตัวเองชอบด้วย
  • จำเอาไว้ว่า คนอื่นมักไม่ได้มั่นใจอย่างที่เห็น อยู่ที่ว่าใครจะประหม่ามากกว่ากันเท่านั้นเอง ยิ่งคุณฝึกฝนทักษะใหม่ๆ และพัฒนาตนเองในด้านสังคมมากเท่าไร ก็ยิ่งล้ำหน้าไปไกลมากเท่านั้น
  • เวลาพูด ไม่ต้องรีบ การพูดช้าลงสักนิด จะช่วยให้คุณสามารถคิดก่อนพูด และยังทำให้คำพูดของคุณดูน่าเชื่อถือขึ้นได้ด้วย
  • แปะกระดาษโน้ตไว้หน้าประตู โดยมีข้อความชื่นชมบางสิ่งเกี่ยวกับตัวคุณเอง จะได้มีกำลังใจพร้อมออกจากบ้านในแต่ละวัน
  • เอาชนะอาการอึดอัดจากการถูกผู้คนจ้องมอง ด้วยวิธีจินตนาการว่า ตนเองเป็นคนมีชื่อเสียง หรือเป็นไอดอลของสังคม จนกว่าคุณจะรู้สึกผ่อนคลายลง
  • การเป็นคนขี้อาย ไม่ใช่เรื่องผิด และการเป็นคนกล้าแสดงออก ก็ไม่ใช่เรื่องผิดเหมือนกัน!
  • อย่าลังเลที่จะใช้บริการจิตแพทย์หรือนักบำบัด หากรู้สึกว่าอาการขี้อายของตัวเองเข้าขั้นรุนแรง เพราะในบางกรณี อาการประหม่าแบบสุดขั้ว อาจเป็นเงื่อนงำของโรคทางประสาทที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ
  • คุณไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนที่เคยเป็นในวัยเด็ก หากคุณเคยเป็นเด็กขี้อาย แต่การที่คุณกำลังนั่งอ่านบทความอยู่ตรงนี้ แสดงว่าคุณพร้อมจะเปลี่ยนแล้ว.
  • ลองไปเรียนศิลปะการต่อสู้ ซึ่งคุณจะได้ทั้งเตะและต่อย เป็นการฝึกแสดงออกทางกายและทางอารมณ์มากขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณเคยเป็นเด็กขี้อาย พยายามหลีกเลี่ยงคนที่ยั่วยุคุณ หรืออย่าไปใส่ใจมากนัก หากถูกพวกเขาแซวเล่นบ้าง และพยายามโฟกัสที่ตัวเองในเวอร์ชั่นใหม่ อย่ากลับไปเป็นแบบเดิมอีกเลย
  • บางครั้งเรื่องนี้ก็อยู่ที่ใจล้วนๆ ดังนั้น หายใจเข้าลึกๆ เชิดหน้าเข้าไว้ พร้อมสำหรับการเป็นคนใหม่
  • บ่อยครั้งที่อาการขี้อายมักหายไปเองเมื่อโตขึ้น ดังนั้น หากมันไม่ได้กระทบอะไรคุณมากนัก ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบปรับเปลี่ยนอะไร เว้นเสียแต่ว่า คุณจะอยากเอาชนะมันแล้วตอนนี้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 59,147 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา