PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าใครต่างก็เห็นด้วยว่า การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีนั้นต้องใช้ทั้งเวลาและความพยายาม แม้ว่าการมีลูกจะเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่การเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นซับซ้อนกว่ากันมาก ถ้าคุณอยากรู้วิธีเลี้ยงลูกแล้วละก็ มาทำตามขั้นตอนต่อไปนี้กันเลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

สร้างกิจวัตรประจำวันที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทำหน้าที่พ่อแม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้นเป็นเรื่องยากในโลกปัจจุบันที่เรามีสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำมากมาย พ่อแม่ที่ดีจะวางแผนอย่างรอบคอบและสละเวลาเพื่อมาทำหน้าที่พ่อแม่ พวกเขาให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดูลูกให้เติบโตมาเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อคุณเป็นพ่อแม่คนแล้ว คุณต้องเรียนรู้ที่จะเห็นความจำเป็นของลูกเหนือกว่าความจำเป็นของตัวเอง และต้องเสียสละเวลาในแต่ละวันเพื่อดูแลลูกมากกว่าดูแลตัวเอง นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องปล่อยปละละเลยตัวเอง แต่คุณต้องทำตัวให้ชินกับการให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกมาเป็นอันดับแรก
    • ถ้าคุณมีคู่สามีภรรยา ให้ผลัดกันดูแลลูกเพื่อที่ต่างฝ่ายต่างจะได้มี "เวลาส่วนตัว"
    • เวลาที่วางแผนตารางกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ ความต้องการของลูกต้องมาเป็นอันดับแรก
  2. พอลูกคุณอายุ 15 ปีเขาจะกลับมาขอบคุณที่คุณอ่านหนังสือให้เขาฟัง การปลูกฝังการรักการอ่านเป็นรากฐานของการสร้างนิสัยรักการอ่านให้ลูกต่อไปในภายภาคหน้า จัดเวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเข้านอนหรือช่วงงีบหลับ ใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมงอ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน วิธีการนี้ไม่เพียงแต่สร้างนิสัยรักการอ่านให้ลูกเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ลูกมีโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียนและพฤติกรรมมากขึ้นด้วย จากการศึกษาพบว่า เด็กที่มีคนอ่านหนังสือให้ฟังทุกวันนั้นมีพฤติกรรมไม่ดีที่โรงเรียนน้อยกว่า [1]
    • พอลูกเริ่มอ่านหรือเขียนหนังสือแล้ว ปล่อยให้ลูกทำไป อย่าแก้ข้อผิดพลาดทุกๆ 2 วินาที ไม่อย่างนั้นเด็กจะเสียกำลังใจ
  3. แนวโน้มที่น่าเป็นห่วงที่สุดในครอบครัวสมัยใหม่คือ การรับประทานอาหารเย็นอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาเริ่มจะจางหายไป โต๊ะอาหารไม่ได้เป็นเพียงสถานที่อบรมสั่งสอนและพูดคุยกันในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ที่พ่อแม่ได้สั่งสอนและถ่ายทอดค่านิยมของพวกเขาให้แก่ลูกด้วย มารยาทและกฎเกณฑ์ต่างๆ ถูกซึมซับอย่างแยบคายผ่านโต๊ะอาหาร เวลารับประทานอาหารของครอบครัวควรเป็นเวลาที่พ่อแม่ได้สื่อสารกับลูก และส่งต่ออุดมคติต่างๆ ที่จะติดตัวลูกไปตลอดชีวิต [2]
    • ถ้าลูกเลือกกิน อย่าเอาแต่บ่นนิสัยการรับประทานอาหารของลูกและคอยจ้องว่าลูกไม่กินอะไรอย่างกับเหยี่ยวตลอดเวลาอาหารเย็น เพราะจะทำให้ลูกเกิดทัศนคติในแง่ลบกับการรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว
    • ให้ลูกมีส่วนร่วมในมื้ออาหาร มื้อเย็นจะสนุกมากขึ้นถ้าลูกได้ "ช่วย" คุณเลือกวัตถุดิบที่ร้านขายของชำ ช่วยคุณจัดโต๊ะ หรือช่วยงานที่เกี่ยวกับการทำอาหารเล็กๆ น้อยๆ เช่น ช่วยล้างผักที่คุณจะใช้ทำกับข้าว เด็กโตยิ่งจะช่วยได้มากกว่าล้างผักแน่นอน และอย่าลืมให้ทุกคนในครอบครัวได้มีส่วนร่วมกับการวางแผนเมนูอาหาร
    • บทสนทนาระหว่างมื้อเย็นต้องสบายๆ ไม่กดดัน อย่าไปซักไซ้คาดคั้นเอาคำตอบจากลูก แค่ถามว่า "วันนี้เป็นยังไงบ้าง" ก็พอ
  4. อาจจะไม่ต้องถึงขั้นให้ลูกเข้านอนเวลาเดียวกันเป๊ะบวกลบไม่เกิน 5 นาทีทุกวัน แต่คุณควรกำหนดเวลาที่ลูกต้องเข้านอนอย่างเคร่งครัด จากการศึกษาพบว่า กระบวนการคิดของเด็กจะตกลงถึง 2 ระดับหลังจากนอนไม่พอไปแค่ 1 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นการให้ลูกได้พักผ่อนมากๆ ก่อนเข้าวัยเรียนนั้นเป็นเรื่องสำคัญ [3]
    • คุณควรกำหนดเวลากิจกรรมเพื่อการผ่อนคลายก่อนเข้านอนด้วย ปิดทีวี เพลง หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ และคุยกับลูกเบาๆ บนเตียงหรืออ่านหนังสือให้ลูกฟัง
    • อย่าให้ลูกรับประทานขนมหวานก่อนเข้านอน ไม่อย่างนั้นลูกจะหลับยาก
  5. คุณไม่ต้องถึงขั้นเตรียมกิจกรรมให้ลูกสัปดาห์ละ 10 กิจกรรม แต่ควรหาอย่างน้อย 1 หรือ 2 กิจกรรมที่ลูกชอบและวางแผนกิจกรรมนั้นเอาไว้ในตารางกิจกรรมประจำสัปดาห์ของลูก กิจกรรมที่ว่านี้จะเป็นอะไรก็ได้ ตั้งแต่ฟุตบอลไปจนถึงเรียนศิลปะเพิ่มเติม ไม่สำคัญว่ากิจกรรมจะเป็นอะไร ขอแค่ให้ลูกได้แสดงความสามารถหรือรักในสิ่งที่เขาทำก็พอ บอกลูกว่าลูกทำได้ดีแค่ไหนและให้กำลังใจเขาทำต่อไป
    • การพาลูกไปเรียนทักษะต่างๆ เพิ่มเติมยังช่วยให้ลูกได้เข้าสังคมกับเด็กคนอื่นๆ ด้วย
    • อย่าขี้เกียจ ถ้าลูกบ่นว่าไม่อยากไปเรียนเปียโน แต่คุณรู้ว่าลึกๆ แล้วลูกชอบ อย่าไม่พาลูกไปเรียนเพราะคุณขี้เกียจขับรถไปส่ง
  6. "เวลาเล่น" ไม่ใช่เวลาที่เอาลูกมานั่งหน้าทีวีแล้วปล่อยให้ลูกเอาตัวต่อเข้าปากขณะที่คุณไปล้างจาน "เวลาเล่น" คือเวลาที่ลูกนั่งอยู่ในห้องหรือบริเวณสำหรับเล่น และเล่นของเล่นที่กระตุ้นการเรียนรู้อย่างใจจดใจจ่อในขณะที่คุณช่วยเขาเปิดโอกาสการเรียนรู้ แม้ว่าคุณจะเหนื่อย แต่การที่คุณได้แสดงให้ลูกเห็นถึงประโยชน์ของการได้เล่นกับของเล่นนั้นสำคัญมาก เพราะจะทำให้เขาได้รับแรงกระตุ้นที่จำเป็นสำหรับเขาและได้เรียนรู้วิธีเล่นของเล่นด้วยตัวเอง
    • คุณไม่จำเป็นต้องมีของเล่นให้ลูก 80 ล้านชิ้น คุณภาพของของเล่นสำคัญกว่าปริมาณ และคุณอาจจะพบว่า ของเล่นชิ้นโปรดประจำเดือนของลูกคือแกนกระดาษทิชชูเปล่าก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

รักลูก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสร้างอิทธิพลในชีวิตของลูกไม่ใช่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสิ่งเดียวที่คุณจะทำให้ลูกได้ การทำหูทวนลมใส่คำพูดของลูกนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่คุณจะพลาดโอกาสสำคัญที่จะได้มอบคำแนะนำที่มีความหมายให้เขา ถ้าคุณไม่เคยฟังลูกเลย เอาแต่พ่นคำสั่งใส่ลูกทั้งวันทั้งคืน ลูกจะไม่เคารพและไม่ใส่ใจคุณ
    • กระตุ้นให้ลูกพูด การช่วยให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นตั้งแต่เด็กๆ จะทำให้เขาสื่อสารได้อย่างประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต
  2. อย่าลืมเด็ดขาดว่าลูกของคุณก็เป็นมนุษย์ที่มีชีวิตและมีลมหายใจ มีความจำเป็นและความต้องการต่างๆ เช่นเดียวกับพวกเราทุกคน ถ้าลูกของคุณเลือกกิน อย่าเอาแต่บ่นเขาที่โต๊ะอาหารตลอดเวลา ถ้าเขายังฝึกเข้าห้องน้ำเองได้ช้า ก็อย่าทำให้ลูกอับอายด้วยการพูดเรื่องนี้ในที่สาธารณะ ถ้าคุณสัญญากับลูกว่าคุณจะพาเขาไปดูหนังถ้าเขาทำตัวดีๆ อย่าผิดสัญญากับลูกเพียงเพราะว่าคุณเหนื่อยเกินไป [4]
    • ถ้าคุณเคารพลูกของคุณ เป็นไปได้มากว่าเขาจะเคารพคุณกลับ
  3. คำพูดที่ว่าการรักลูก "มากเกินไป" ชื่นชมลูก "มากเกินไป" หรือแสดงความรักกับลูก "มากเกินไป" นั้นจะทำให้ลูกของคุณกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจนิสัยเสียนั้นไม่เป็นความจริง การมอบความรัก การแสดงความรักใคร่ และการเอาใจใส่เป็นแรงเสริมเชิงบวกที่จะทำให้ลูกได้เติบโตเป็นมนุษย์ การให้ของเล่นแทนที่จะให้ความรัก หรือการไม่ตำหนิลูกเวลาที่ลูกแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างหากที่จะทำให้คุณตามใจลูกมากเกินไป
    • บอกลูกว่าคุณรักเขามากแค่ไหน อย่างน้อย วันละครั้ง แต่ถ้าเป็นไปได้ ให้บอกเขาให้บ่อยที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้
  4. การที่จะอยู่กับลูกทุกวันนั้นต้องอาศัยความพยายามและความแข็งแกร่ง แต่ถ้าคุณอยากกระตุ้นให้เขาพัฒนาความสนใจและตัวตนของเขาเอง คุณต้องสร้างระบบสนับสนุนที่แข็งแรงให้แก่เขา วิธีนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องเดินตามลูกทุกวินาทีในแต่ละวัน แต่หมายความว่าคุณจะต้องอยู่กับเขาในทุกช่วงเวลาเล็กๆ ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลนัดแรกของลูกไปจนถึงเวลาครอบครัวริมชายหาด
    • พอลูกเข้าโรงเรียน คุณควรรู้ว่าเขาเรียนวิชาอะไรบ้างและครูของลูกชื่ออะไร ทำการบ้านกับลูกและช่วยเขาทำข้อยากๆ แต่ อย่า ทำการบ้านให้ลูก
    • พอลูกเริ่มโตขึ้น คุณก็เริ่มปล่อยเขาได้ทีละนิด และสนับสนุนให้เขาได้ค้นหาความสนใจของเขาเองโดยที่ไม่ต้องมีคุณอยู่ด้วยตลอดเวลา
  5. คุณยังสามารถเป็นที่พึ่งให้แก่ลูกควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้เขาค้นหาความสนใจของเขาเองได้ อย่าบอกลูกว่าลูกต้องเลือกเรียนวิชาอะไร ปล่อยให้เขาเลือกของเขาเอง คุณอาจจะช่วยลูกแต่งตัวได้ แต่เวลาไปซื้อเสื้อผ้าให้พาเขาไปด้วย เขาจะได้มีสิทธิ์มีเสียงในเสื้อผ้าที่เขาสวมใส่บ้าง และถ้าลูกอยากจะเล่นกับเพื่อนๆ หรือกับของเล่นของเขาโดยที่ไม่มีคุณอยู่ด้วย ก็ปล่อยให้เขาได้สร้างตัวตนของเขาเองบ้างเป็นครั้งคราว [5]
    • ถ้าคุณสนับสนุนให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้ตั้งแต่เล็กๆ ลูกก็มีแนวโน้มจะมองว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

อบรมบ่มนิสัยลูก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งพวกเขาอาจจะละเลยกฎเกณฑ์ มนุษย์เรามักจะเรียนรู้จากการลงโทษที่สมเหตุสมผล ลูกๆ ต้องเข้าใจว่าทำไมพวกเขาถึงถูกลงโทษ และรู้ว่าคุณทำไปเพราะรัก
    • ในฐานะที่คุณเป็นพ่อแม่ คุณต้องอาศัยเครื่องมือทางปัญญาในการดัดนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ของลูก แทนที่จะคาดโทษที่แลดูสับสนหรือไม่เกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น "ถ้าลูกขี่จักรยานสามล้อไปที่ถนนนะ แม่จะให้ลูกเทินหนังสือเล่มนี้ไว้บนหัว" ให้เปลี่ยนเป็นเพิกถอนสิทธิพิเศษ แล้วลูกจะเชื่อมโยงการเพิกถอนสิทธิพิเศษเข้ากับพฤติกรรมโดยอัตโนมัติ เช่น [6] : "ถ้าลูกขี่จักรยานสามล้อไปที่ถนนนะ ลูกจะไม่ได้ขี่จักรยานอีกเลยตลอดทั้งวัน"
    • อย่าใช้วิธีรุนแรงในการลงโทษ เช่นการตีหรือการทุบ เด็กที่ถูกตีหรือถูกทุบจะไม่สนใจฟังคุณอีกต่อไป พ่อแม่ไม่ควรทุบลูกไม่ว่าในสถานการณ์ไหนก็ตาม เด็กที่ถูกตี ทุบ หรือตบมักจะต่อยตีกับเด็กคนอื่น พวกเขามีแนวโน้มจะกลายเป็นอันธพาลและมักใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับผู้อื่น [7] นอกจากนี้เด็กที่เผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวยังมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรงอีกด้วย [8]
  2. 2
    ให้รางวัลเวลาลูกทำดี. ให้รางวัลเวลาลูกทำดีนั้นสำคัญกว่าการลงโทษเวลาลูกแสดงพฤติกรรมไม่ดีเสียอีก การให้ลูกรู้ตัวเวลาที่ลูกทำดีจะกระตุ้นพฤติกรรมที่ดีให้เกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ถ้าลูกทำตัวดี ตั้งแต่แบ่งของเล่นให้เพื่อนไปจนถึงอดทนขณะอยู่ในรถ ทำให้เขารู้ว่าคุณสังเกตพฤติกรรมดีของเขา อย่านิ่งเฉยเวลาที่ลูกทำดีแล้วไปลงโทษเวลาที่เขาทำผิด
    • อย่าประเมินค่าความสำคัญของการชื่นชมลูกเวลาที่ลูกทำตัวดีต่ำเกินไป การพูดว่า "แม่ภูมิใจนะที่ลูก..." สามารถทำให้ลูกรู้สึกได้ว่า มีคนเห็นคุณค่าการทำดีของเขาจริงๆ
    • คุณสามารถให้ของเล่นหรือรางวัลลูกได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่อย่าทำให้ลูกคิดว่าเขาต้องได้ของเล่นทุกครั้งที่เขาทำตัวดี
  3. 3
    เสมอต้นเสมอปลาย. ถ้าคุณอยากสร้างวินัยให้ลูกอย่างมีประสิทธิภาพ คุณต้องเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่วันนี้ลงโทษที่ลูกแสดงพฤติกรรมแบบนี้ แต่พออีกวันกลับให้ลูกอมลูกเพื่อให้ลูกหยุดแสดงพฤติกรรมแบบเดียวกัน หรือแม้กระทั่งไม่พูดอะไรเลยเพราะคุณเหนื่อยเกินกว่าจะมาทะเลาะกับลูก และถ้าลูกทำตัวดี เช่นเข้าห้องน้ำได้อย่างถูกต้องช่วงกำลังหัดเข้าห้องน้ำ คุณต้องชมลูก ทุกครั้ง ความเสมอต้นเสมอปลายคือสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมทั้งดีและไม่ดี
    • ถ้าคุณกับคู่สามีภรรยาเลี้ยงลูกด้วยกัน คุณต้องสั่งสอนลูกไปในทิศทางเดียวกัน ระเบียบวินัยที่สอนลูกต้องเหมือนกัน คุณไม่ควรสร้างบทบาท "พ่อดุ แม่ใจดี" ในบ้านของคุณ
  4. 4
    อธิบายกฎเกณฑ์ของคุณ. ถ้าคุณอยากให้ลูกตระหนักในระเบียบวินัยที่คุณสร้างขึ้นอย่างแท้จริง คุณต้องสามารถอธิบายได้ว่าทำไมลูกถึงทำอย่างนี้ไม่ได้ อย่าแค่บอกลูกว่าอย่าใจร้ายกับเด็กคนอื่น หรือบอกให้เขาเก็บกวาดของเล่นให้เรียบร้อย แต่ให้บอกเขาด้วยว่าทำไมพฤติกรรมแบบนี้ถึงดีกับตัวเขา ตัวคุณ และสังคมภายนอก การเชื่อมโยงการกระทำของลูกและความหมายของการกระทำจะทำให้ลูกเข้ากระบวนการการตัดสินใจของคุณ

  5. 5
    สอนให้ลูกรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง. นี่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างวินัยให้แก่ลูก และ สร้างตัวตนให้แก่เขา ถ้าเขาทำอะไรผิด เช่นปาอาหารใส่พื้น ต้องให้เขายอมรับผิดในการกระทำของเขาและให้เขาอธิบายว่า ทำไม เขาถึงทำแบบนั้นแทนที่จะโทษคนอื่นหรือปฏิเสธการกระทำของลูก ทุกครั้งหลังจากที่ลูกทำอะไรผิด ให้คุยกับลูกว่าทำไมลูกถึงทำแบบนั้น
    • การที่ลูกรู้ว่าทุกคนต่างก็ทำผิดพลาดนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ความผิดนั้นไม่สำคัญเท่ากับปฏิกิริยาโต้ตอบที่ลูกแสดงออกมา
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เสริมสร้างลักษณะนิสัย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าให้การสร้างเสริมลักษณะนิสัยเป็นแค่เรื่องของคำพูด. คนเราจะประกอบคุณงามความดีได้ด้วยการลงมือทำเท่านั้น พ่อแม่ควรช่วยเหลือลูกด้วยการส่งเสริมการทำดีมีศีลธรรมผ่านวินัยในตนเอง อุปนิสัยที่ดีต่อการทำงาน การแสดงความเมตตาโอบอ้อมอารีแก่ผู้อื่น และจิตสาธารณะ สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาอุปนิสัยคือพฤติกรรมของลูก ถ้าลูกยังเล็กเกินว่าที่จะมีพฤติกรรมโอบอ้อมอารีอย่างแท้จริง คุณก็สามารถสอนให้เขามีเมตตากับผู้อื่นได้เสมอไม่ว่าเขาจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม
  2. ยอมรับเถอะว่า มนุษย์เราเรียนรู้ผ่านตัวอย่างเป็นอันดับแรก ที่จริงแล้วคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเป็นแบบอย่างให้ลูกได้เลยไม่ว่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม เท่ากับว่าการเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกนั้นเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของคุณ ถ้าคุณตวาดใส่ลูกแล้วบอกลูกว่าอย่าตะโกน เตะกำแพงเวลาที่คุณโกรธ หรือพูดถึงเพื่อนบ้านเสียๆ หายๆ ลูกของคุณก็จะเข้าใจว่าพฤติกรรมเหล่านี้ยอมรับได้ [9]
    • เริ่มเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกตั้งแต่วันแรก ลูกเข้าใจอารมณ์และพฤติกรรมของคุณได้เร็วกว่าที่คุณคิด
  3. เด็กก็เหมือนฟองน้ำ สิ่งที่เขารับเข้าไปส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวเนื่องกับค่านิยมทางศีลธรรมและอุปนิสัยทั้งสิ้น หนังสือ เพลง ทีวี อินเทอร์เน็ต และภาพยนตร์ต่างก็สื่อสารบางอย่างทั้งที่ถูกต้องตามศีลธรรมและขัดกับหลักศีลธรรมให้ลูกของเราตลอดเวลา ในฐานะที่เราเป็นพ่อแม่เราต้องควบคุมกระแสความคิดและภาพลักษณ์ที่มีอิทธิพลต่อลูกของเรา
    • ถ้าคุณกับลูกเห็นอะไรที่ไม่ค่อยน่าดู เช่นคนสองคนเถียงกันในร้านขายของชำ หรือคลิปข่าวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง อย่าพลาดโอกาสที่จะคุยเรื่องนี้กับลูก
  4. การสอนให้ลูกพูด "ขอบคุณ" และ "ค่ะ/ครับ" และให้ลูกปฏิบัติต่อผู้อื่นบนพื้นฐานของความเคารพจะช่วยให้เขาประสบความสำเร็จในอนาคต อย่าประเมินค่าพลังแห่งการสั่งสอนให้ลูกนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ เคารพผู้อาวุโส และไม่ทะเลาะเบาะแว้งหรือแกล้งเพื่อนต่ำเกินไป มารยาทที่ดีจะติดตัวลูกไปตลอดชีวิต และคุณก็ควรเริ่มเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • อีกหนึ่งวิธีการสอนมารยาทดีที่สำคัญมากๆ คือการสอนให้ลูกเก็บของให้เรียบร้อยหลังใช้ การสอนให้ลูกเก็บของเล่นให้เรียบร้อยตอนเขาอายุ 3 ขวบจะทำให้เขากลายเป็นผู้พักอาศัยบ้านคนอื่นที่ดีเมื่อเขาอายุ 23 ปี
  5. ถึงคุณจะรู้สึกอยากสบถ บ่น หรือพูดไม่ดีเกี่ยวกับคนที่คุณรู้จักต่อหน้าลูกแม้จะเป็นแค่การพูดโทรศัพท์ก็ตาม ขอให้จำไว้ว่าลูกคุณสนใจฟังสิ่งที่คุณพูดเสมอ และถ้าคุณกำลังมีปากเสียงรุนแรงกับคู่สามีภรรยา ก็ให้ปิดประตูไว้ดีกว่าเพื่อที่ลูกจะได้ไม่เลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีจากคุณ
    • ถ้าคุณพูดคำหยาบแล้วลูกได้ยิน อย่าทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ขอโทษและพูดว่าคุณจะไม่พูดแบบนี้อีกแล้ว เพราะถ้าคุณไม่พูดอะไร เด็กจะเข้าใจว่าเขาสามารถพูดคำเหล่านี้ได้
  6. 6
    สอนให้ลูกเข้าอกเข้าใจผู้อื่น. ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นเป็นทักษะสำคัญที่ไม่มีคำว่าเร็วเกินไปที่จะสอน ถ้าลูกของคุณรู้วิธีเข้าอกเข้าใจผู้อื่น เขาก็จะมองโลกจากมุมที่ปราศจากการตัดสินมากขึ้นและสามารถสมมุติว่าตัวเองเป็นคนอื่นได้ เช่น ถ้าลูกกลับมาบ้านแล้วบอกคุณว่า เพื่อนของเขาที่ชื่อจอมแกล้งเขา พยายามคุยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดูว่าคุณสามารถทำความเข้าใจกับความรู้สึกของจอมได้หรือเปล่า และรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือไม่ [10] หรือถ้าพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารลืมรายการอาหารที่คุณสั่ง อย่าบอกลูกว่าเธอขี้เกียจหรือโง่ แต่ให้บอกลูกว่าเธอคงเหนื่อยมากหลังจากต้องเดินเสิร์ฟอาหารทั้งวัน
  7. การสอนให้ลูกรู้คุณคนนั้นแตกต่างจากการบังคับให้เขาพูด "ขอบคุณ" ตลอดเวลา ถ้าคุณอยากสอนลูกให้รู้คุณคนอย่างแท้จริงละก็ คุณเองก็ต้องพูด "ขอบคุณ" ทุกครั้งด้วยเหมือนกันเพื่อที่ลูกจะได้เห็นพฤติกรรมที่ดี ถ้าลูกบ่นว่าทุกคนในโรงเรียนมีของเล่นใหม่ที่คุณไม่ยอมซื้อให้ลูก ให้ย้ำกับลูกว่ายังมีคนอีกมากมายที่ด้อยโอกาสมากกว่าเขา [11]
    • การให้ลูกได้เห็นผู้คนจากทุกสังคมและทุกอาชีพจะทำให้ลูกเข้าใจว่าเธอมีพร้อมมากแค่ไหน แม้ว่าเธอจะไม่ได้ Nintendo DS เป็นของขวัญวันเกิดก็ตาม
    • การพูดว่า "ผู้ใหญ่ให้ของต้องทำยังไง..." เวลาที่ลูกลืมขอบคุณนั้นไม่ได้ปลูกฝังลูกเท่ากับการที่คุณพูด "ขอบคุณ" ให้ลูกได้ยิน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พบปะพ่อแม่ของเพื่อนๆ ลูก นอกจากคุณอาจจะได้มิตรภาพที่แน่นแฟ้นไปในตัวแล้ว อย่างน้อยคุณก็รู้ว่าถ้าลูกไปเล่นบ้านเพื่อนลูกจะปลอดภัยไหม
  • อ่านหนังสือ "how to" อย่างมีวิจารณญาณ เพราะคำแนะนำการเลี้ยงลูกที่โด่งดังในวันนี้อาจกลายเป็นพาดหัวข่าวในวันพรุ่งนี้เนื่องจากเป็นคำแนะนำที่ไม่ถูกต้อง


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,097 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา