PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าใครก็ใช้คอมเก็บทั้งความทรงจำ เอกสารสำคัญ และข้อมูลแทบจะทุกอย่างในชีวิต โดยหวังว่าจะเก็บถาวรได้ แต่จริงๆ แล้วอะไรก็เกิดขึ้นได้ สำคัญมากว่าต้องรู้จัก backup ข้อมูลในคอมไว้ (ไม่ว่าจะเก็บข้อมูลระยะสั้นหรือยาว) บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

PC (Windows 7, 8 หรือใหม่กว่า)

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องมีอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลทั้งหมดที่จะ backup ได้ หรือก็คือมีพื้นที่อย่างน้อย 2 เท่าของฮาร์ดไดรฟ์ที่จะ backup ถ้าใช้ external hard drive จะสะดวกที่สุด แถมหาซื้อง่าย
    • หรือแบ่งพาร์ทิชั่นแทนก็ได้ ถ้าอยาก backup ในคอมที่ใช้อยู่ แต่ถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างเสี่ยง เพราะอาจโดนไวรัสหรือฮาร์ดไดรฟ์ล่มขึ้นมา
  2. โดยใช้สาย USB หรือเชื่อมต่อด้วยวิธีอื่นๆ ปกติเสียบแล้วจะมีหน้าต่างโผล่มาอัตโนมัติ ถามว่าจะทำอะไรต่อไป หนึ่งในนั้นคือ backup ข้อมูลลงอุปกรณ์ และเปิด File History ให้เลือกข้อนี้เลย
    • แต่ถ้าหน้าต่างนี้ไม่โผล่มาอัตโนมัติ ก็ให้ตั้งค่า backup เอง โดยพิมพ์ File History ในแถบค้นหา หรือไปดูใน Control Panel
  3. พอเปิดโปรแกรมแล้ว ถ้าอยากปรับเปลี่ยน settings ในส่วน Advanced Settings ทางซ้าย เพื่อกำหนดว่าจะ backup ข้อมูลในคอมบ่อยแค่ไหน, เก็บไฟล์ไว้นานแค่ไหน และจะใช้พื้นที่ไม่เกินเท่าไหร่
  4. พอตั้งค่า settings เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเลือกไดรฟ์ backup ให้ถูกต้อง (ปกติตามค่า default จะเป็น external drive)
  5. ถ้าตั้ง settings ถูกแล้ว ให้คลิก “Turn on” เพื่อเริ่มขั้นตอนการ backup ปกติการ backup ครั้งแรกจะใช้เวลานานหน่อย ทางที่ดีให้เริ่มตอนกลางคืนหรือก่อนไปทำงาน จะได้เป็นช่วงที่ไม่ใช้คอม จากนั้นก็ปล่อยเป็นหน้าที่ของคอม เพราะคุณทำทุกอย่างที่ทำได้แล้ว!
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

Mac (OS X Leopard หรือใหม่กว่า)

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องมีอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลทั้งหมดที่จะ backup ได้ หรือก็คือมีพื้นที่อย่างน้อย 2 เท่าของฮาร์ดไดรฟ์ที่จะ backup ถ้าใช้ external hard drive จะสะดวกที่สุด แถมหาซื้อง่าย
    • หรือแบ่งพาร์ทิชั่นแทนก็ได้ ถ้าอยาก backup ในคอมที่ใช้อยู่ แต่ถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างเสี่ยง เพราะอาจโดนไวรัสหรือฮาร์ดไดรฟ์ล่มขึ้นมา
  2. โดยใช้สาย USB หรือเชื่อมต่อด้วยวิธีอื่นๆ ปกติเสียบแล้วจะมีหน้าต่างโผล่มาอัตโนมัติ ถามว่าจะใช้ backup Time Machine ไหม จากนั้นเลือกว่าจะเข้ารหัสหรือเปล่า แล้วคลิก “Use as Backup Disk”
    • ถ้าไม่มีหน้าต่างโผล่มาอัตโนมัติ ให้เปิดเองโดยเข้า Time Machine ใน System Preferences
  3. คอมจะเริ่ม backup อัตโนมัติ ก็ปล่อยให้ทำไป แต่ถ้า backup ครั้งแรกก็แน่นอนว่าต้องรอนานหน่อยกว่าจะเสร็จ ทางที่ดีให้เริ่มตอนกลางคืนหรือก่อนไปทำงาน จะได้ไม่ต้องนั่งรอ
  4. คุณเปิดหน้าต่าง Time Machine ใน System Preferences แล้วเปลี่ยน settings ได้ โดยคลิกปุ่ม “Options” ที่มุมขวาล่าง แล้วเลือกว่าจะไม่ backup อะไรบ้าง, ตั้งการแจ้งเตือน (notifications) และตัวเลือกใช้งานแบตเตอรี่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

iPad

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี่คือตำแหน่งที่จะ backup ข้อมูลไว้ เพราะงั้นต้องเช็คให้ชัวร์ ว่าคอมคุณ backup วิธีนี้ได้
  2. ทางซ้าย จะมีให้เลือกว่าจะเซฟเข้า cloud หรือเซฟไว้ในคอม
  3. แค่นี้ก็เรียบร้อย!
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

Galaxy Tab

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีนี้คุณเลือก backup ได้เฉพาะบางอย่างเท่านั้น ส่วนไฟล์อื่นที่ backup ไม่ได้ ต้อง backup แยกเองทีหลังด้วยวิธีข้างล่าง
  2. เพื่อ sync ไฟล์ เสร็จแล้วเลือก “back” เพื่อกลับไปใช้เครื่องตามปกติ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

Backup เฉพาะบางไฟล์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกได้ว่าจะ backup ไฟล์ลง USB, external drive, พื้นที่จัดเก็บใน cloud, แผ่น CD, แผ่นดิสก์ (ถ้าบังเอิญคอมเก่ามาก หรืออยากประชดใคร) หรืออุปกรณ์ต่างๆ ตามใจชอบ จะเลือกใช้อะไรก็แล้วแต่พื้นที่เก็บข้อมูลที่ต้องการ รวมถึงระดับความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
  2. copy ทุกไฟล์ที่จะ backup ลงโฟลเดอร์ (เดียว) ในคอม หรือแยกไว้ในโฟลเดอร์ต่างๆ ก็ได้
    • ถ้ารวมทุกไฟล์ในโฟลเดอร์เดียว เวลาย้ายไฟล์ก็ง่ายหน่อย แถม backup ได้ไม่ตกหล่นถ้ามีไฟล์เยอะ นอกจากนี้ไฟล์ใหม่ยังไม่ไปปนกับไฟล์เก่าที่ backup ไว้แล้วด้วย
  3. คุณบีบอัดโฟลเดอร์ backup นี้ได้ถ้าต้องการ เหมาะมากถ้าต้อง backup ไฟล์เยอะๆ หรือไฟล์ที่ใหญ่เป็นพิเศษ
  4. คุณเข้ารหัส (encrypt) หรือกำหนดให้ใส่รหัสผ่านตอนเปิดโฟลเดอร์หรือไฟล์ zip ได้ แล้วแต่ว่าคุณเลือกใช้วิธีไหน อย่างถ้าจะ backup ไฟล์สำคัญก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อน แต่ระวังอย่าลืมรหัสผ่านซะเองล่ะ
  5. พอเตรียมโฟลเดอร์หรือไฟล์ zip พร้อมแล้ว ก็ให้ copy ไปใส่อุปกรณ์ที่จะใช้ โดย copy-paste แล้วสลับไปมาระหว่างอุปกรณ์ หรือเซฟไฟล์เข้าพื้นที่เก็บข้อมูลใน cloud (ถ้าเลือกช่องทางนี้)
  6. ถ้า backup ไฟล์ไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่าง USB ก็น่าจะเซฟข้อมูลลงคอมเครื่องอื่นด้วย เผื่อจะเอา USB ไปทำอย่างอื่น หรือเพื่อความชัวร์ ว่าไฟล์จะปลอดภัยดี เกิด USB เสียหรือหายขึ้นมาก็ไม่เป็นไร
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

Backup ไว้ใน Cloud

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์หรือ cloud เดี๋ยวนี้มีให้เลือกเยอะแยะ เป็นการ backup ข้อมูลเข้าเซิร์ฟเวอร์ของเว็บนั้นๆ เวลา backup ข้อมูลลงคอมหรืออุปกรณ์อื่น ให้ backup ไว้ใน cloud ด้วย จะได้แยกเก็บหลายๆ ที่ เวลาจะใช้งานไฟล์ที่ backup ก็ทำได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา ขอแค่มีสัญญาณเน็ต เว็บที่ให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์มีให้เลือกเยอะแยะ ทั้งฟรีและเสียเงิน แต่ละเว็บก็มีฟีเจอร์แตกต่างกันไป
    • BackBlaze - ให้พื้นที่เก็บข้อมูลไม่จำกัด โดยมีค่าบริการรายเดือนนิดหน่อย
    • Carbonite - ให้บริการพื้นที่สำหรับ backup ข้อมูล เป็นเว็บดีที่ไว้ใจได้ Carbonite มีค่าบริการรายเดือนแต่ให้พื้นที่เก็บข้อมูลไม่จำกัด จุดเด่นของ Carbonite คือระบบ backup ข้อมูลอัตโนมัติ
    • SOS Online Backup - อีกเว็บที่ดังเรื่อง backup ข้อมูลมานาน SOS ก็ให้สมาชิกเก็บข้อมูลได้ไม่จำกัดเช่นกัน
  2. เว็บอย่าง Google Drive, SkyDrive (OneDrive) และ DropBox จะเป็น online storage คุณต้องคอยอัพเดทข้อมูลเอง ไฟล์ต่างๆ จะ sync กันทุกอุปกรณ์ที่พ่วงไว้กับบัญชี แปลว่าถ้าลบไฟล์ไหนใน backup server ไป ก็จะลบไฟล์นั้นในทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อไว้! แต่เว็บพวกนี้ไม่มีระบบ file versioning เท่าไหร่ ทำให้กู้เวอร์ชั่นเก่าๆ ของเอกสาร/ไฟล์ได้ยากหรือทำไม่ได้เลย
    • เว็บพวกนี้ใช้เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลฟรีได้ แต่ไม่ดีพอจะเป็น "backup services" สรุปคือมีพื้นที่ให้ แต่คุณต้อง backup เอง
  3. เว็บ online backup ที่ดี ต้องเข้ารหัสไฟล์ที่เข้าและออกเซิร์ฟเวอร์ คือทางเว็บควรรู้แค่ metadata ของข้อมูล เช่น ชื่อโฟลเดอร์และขนาดไฟล์ แต่ห้ามเข้าถึงเนื้อหาเด็ดขาด คุณเท่านั้นที่มีสิทธิ์
    • หลายเว็บใช้ private key หรือรหัสผ่านล็อคข้อมูลไว้ ถือว่าปลอดภัยเป็นที่หนึ่ง แต่ถ้าคุณลืมรหัสผ่านก็จบเห่ ซึ่งถ้าเว็บไหนใช้ระบบนี้ แปลว่ากู้ไม่ได้ ถ้าคุณไม่มีรหัสก็เสียข้อมูลนั้นไปเลย
  4. เว็บ online backup ส่วนใหญ่จะหน้าตาเหมือนโปรแกรมหรือเบราว์เซอร์ ใช้กำหนดได้เลยว่าจะ backup อะไรและบ่อยแค่ไหน ให้เลือกเวลาที่สะดวกสำหรับคุณ ถ้าคุณเปลี่ยนแปลงแก้ไขไฟล์บ่อยๆ ก็ตั้งให้ backup ทุกคืนซะเลย แต่ถ้านานๆ ใช้คอมที อาทิตย์ละครั้งหรือเดือนละครั้งก็ยังไหว
    • พยายามเลือกเวลา backup นอกเวลางาน พูดง่ายๆ คือเป็นเวลาที่คุณไม่ได้ใช้คอม เพราะ backup แต่ละทีเปลืองทั้งเวลา, bandwidth และทรัพยากรในคอม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ก่อนเริ่มใช้คอมต้องรอจน backup เสร็จสมบูรณ์
  • ตั้งเวลา backup ไฟล์สำคัญบ่อยๆ อันนี้ก็แล้วแต่ว่าคุณใช้คอมถี่แค่ไหน และแก้ไขไฟล์บ่อยไหม แต่ปกติก็ตั้งค่าได้ตามต้องการเลย จุดสำคัญคือต้องเตรียมไฟล์และอุปกรณ์ backup ไว้ให้พร้อม และเปิดคอมทิ้งไว้เมื่อถึงเวลา
  • ปกป้องข้อมูลของคุณจากภัยธรรมชาติและอุบัติเหตุต่างๆ ถ้าข้อมูลสำคัญมาก ก็ให้เอาอุปกรณ์ backup ใส่ตู้เซฟกันไฟซะเลย แต่ถ้าเป็นข้อมูลทั่วๆ ไป แค่ตู้เก็บเอกสารหรือโต๊ะทำงานก็ปลอดภัยพอแล้ว ที่สำคัญคือพยายาม backup ข้อมูลไว้หลายๆ ที่ (นอกสถานที่)
  • backup ข้อมูลในคอมต้องใช้เวลา โดยเฉพาะถ้าข้อมูลเยอะเป็นพิเศษ เพราะงั้นต้องกะเวลา backup ตอนเปิดคอมไว้ (หรือเปิดทิ้งไว้ตอนรู้ว่าจะ backup) แต่ต้องเป็นตอนที่ไม่ได้ใช้งานไฟล์นั้นอยู่
  • ตั้งเตือนไว้ในปฏิทินเลย ว่าต้องเช็คข้อมูลที่ backup ไว้ทุก 2 - 3 เดือน ว่ายังอยู่ดี ไม่มีอะไรทรมานจิตใจไปกว่าคิดว่า backup ไฟล์ไว้แล้ว แต่ที่ไหนได้ อุปกรณ์ดันเจ๊ง (เช่น ฮาร์ดไดรฟ์ล่ม) จนไฟล์หายหรือมีแต่เวอร์ชั่นเก่าซะงั้น
  • จะ backup ให้ได้ผลดี ต้อง backup หลายๆ วิธี และหมั่นตรวจสอบข้อมูลที่ backup ไว้
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามใช้คอมตอนกำลัง backup ข้อมูล เพราะถ้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงไฟล์ระหว่างนั้น จะไม่มีทางรู้เลยว่าที่เซฟไปเป็นเวอร์ชั่นไหน ดีไม่ดีอาจทำขั้นตอน backup หยุดชะงักหรือทำไฟล์เสียได้ นอกจากนี้ยังทำคอมอืดอีกต่างหาก
  • อย่าเก็บอุปกรณ์ backup ไว้ในสภาพแวดล้อมที่ชื้น แฉะ เปียก หรือเสี่ยงต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน อันนี้ใครๆ ก็รู้ว่าชิ้นส่วนต่างๆ ของคอมน่ะเสียง่ายแค่ไหน ถ้าไม่ระวังจะเสียข้อมูลที่สู้อุตส่าห์ backup ไปซะเฉยๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,693 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา