ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลามีคนใหม่ๆ มาติดตามคุณในไอจี มันรู้สึกดีเหลือเกิน โดยเฉพาะถ้าอยู่ในช่วงปั้นไอจีให้คนตามเยอะๆ แต่ระวังว่าบางทีก็มีไอจีปลอมมาติดตาม ซึ่งไม่ช่วยเรื่องเพิ่มยอดเลย เพราะไม่ถูกใจไม่คอมเม้นท์ ดีไม่ดีจะมาหลอกคุณและผู้ติดตามคนอื่นๆ แต่ก็อย่าเพิ่งเครียดไป เพราะบทความวิกิฮาวนี้ได้รวบรวมจุดสังเกตมาให้คุณได้จับโป๊ะไอจีปลอมแล้ว จะได้แยกออกว่าไอจีไหนจริงไหนปลอม

1

ไม่มีรูปโปรไฟล์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไอจีปกติจะอยากให้คนรู้ว่าตัวเองเป็นใคร เพื่อนๆ และครอบครัวจะได้หาเจอง่ายๆ [1]
    • ก็มีบ้างที่เป็นไอจีของเพื่อนที่ไม่มีเวลาเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ แต่คนส่วนใหญ่จะใส่รูปโปรไฟล์
    โฆษณา
2

ไม่มีผู้ติดตาม ไม่ติดตามใคร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าไอจีนั้นไม่ตามใคร และไม่มีใครตาม เป็นไปได้มากว่าปลอม [2]
    • พวกบอทมักใช้ไอจีแบบนี้ ที่มีลิงค์สแปมใน bio ถ้าผ่านมาเจอโปรไฟล์แนวนี้ ห้ามคลิกลิงค์เด็ดขาด
3

ไม่เคยโพสต์อะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเจอไอจีที่ไม่เคยโพสต์อะไร ส่วนใหญ่จะเป็นบอท [3]
    • ถึงไอจีนี้จะปิดเป็น private ไว้ แต่เราก็เช็คจำนวนโพสต์ได้ โดยดูเลขที่ด้านบนของโปรไฟล์
    • ไอจีที่เคยโพสต์เรื่อยๆ แต่หยุดโพสต์ไป แล้วมาตามเรา ก็ต้องระวัง โดยเฉพาะถ้าไม่ได้โพสต์อะไรนานแล้ว เป็นไปได้ว่าปลอม
    โฆษณา
4

เข้ามาคอมเม้นท์คุณแบบไม่ค่อยเกี่ยวกับโพสต์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ามีไอจีมาคอมเม้นท์ประมาณว่า “great post!” หรือ “nice shot!” เป็นภาษาอังกฤษ ในหลายๆ รูปของเรา แถมเม้นท์แบบติดๆ ส่วนใหญ่จะเป็นไอจีปลอม [4]
    • แต่ก็ต้องลองเช็คดู เพราะบางทีก็เป็นอินฟลูเอนเซอร์ใหม่ๆ อยากได้ยอดฟอล ต้องเช็คโปรไฟล์ประกอบ ถ้าไม่มีอะไรผิดสังเกต น่าจะเป็นไอจีของคนจริงๆ
5

ใช้รูปคนอื่นแทน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองเอารูปไป reverse search ใน Google หรือหาต้นตอของรูปดู ถ้ามีรูปเดียวกันโผล่มาที่อื่น แสดงว่าไอจีนี้ปลอม [5]
    โฆษณา
6

ติดตามคนอื่นเยอะเกินไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าสังเกตว่าจำนวน following กับ followers ของไอจีนั้นต่างกันเยอะมาก ก็มีความเป็นไปได้ว่าเป็นไอจีปลอม [6]
    • แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะหลายคนที่เล่นไอจีก็ใช้วิธีเดียวกันเพิ่มยอดฟอล แค่เป็นจุดหนึ่งที่ควรจับสังเกตเท่านั้น
7

เป็นบัญชีใหม่เพิ่งสมัคร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองไถไอจีนั้นลงไปจนสุด แล้วดูว่าโพสต์แรกเมื่อไหร่ ถ้าเพิ่งแค่ไม่กี่วันก็น่าสงสัยไปอีกขั้น [7]
    • ถ้าไอจีนั้นปิดเป็น private ไว้ ก็จะเลื่อนลงไปดูโพสต์แรกไม่ได้ เว้นแต่ไปฟอลแล้วเขารับก่อน
    • ถ้าทั้งไอจีไม่มีสักโพสต์ เป็นไปได้มากว่าปลอม
    โฆษณา
8

ยอดผู้ติดตามเยอะ ทั้งที่ไม่ค่อยมีคนถูกใจหรือคอมเม้นท์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีแต่ผู้ติดตามปลอม ผู้ติดตามที่ซื้อมา แน่นอนว่าไอจีปลอม. ถ้ายอด following เป็นพันๆ แต่โพสต์ของเขามีแค่ไม่กี่ไลค์กี่คอมเม้นท์ เป็นไปได้ว่าไอจีปลอม [8]
    • แต่ก็อาจเป็นไอจีของคนจริง ที่ใช้ followers ปลอมเพิ่มยอดก็ได้
    • ลองเช็คดูก็ได้ว่า followers ของเขาเป็นคนจริงหรือไอจีปลอม ถ้าส่วนใหญ่ผู้ติดตามเขาเป็นไอจีที่ไม่ได้โพสต์อะไร ไม่มีรูปโปรไฟล์ ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ เป็นไปได้มากว่าเป็นไอจีปลอม (ทั้งไอจีที่คุณเช็ค และผู้ติดตามของเขา)
9

ชอบโพสต์รูปคนอื่นหลายๆ คน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไอจีปลอมส่วนใหญ่จับโป๊ะได้ง่ายในไม่กี่วินาที. ถ้าในไอจีนั้นมีแต่รูปคนไม่ซ้ำหน้า (ส่วนใหญ่เป็นรูปสาวสวยที่หน้าคล้ายกันไปหมด แต่คนละคนกันแน่ๆ) ไอจีนั้นมักจะปลอม [9]
    • ไอจีประมาณนี้จะเอาไว้ spam คนอื่น ให้เผลอคลิกลิงค์ที่ใส่ไว้ใน bio
    โฆษณา
10

ชอบโพสต์ส่วนลดหรือขายของ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไอจีหลอกลวงชอบโพสต์รูปสินค้าราคาแพง แต่ลดราคาซะถูกเว่อร์. ถ้าไอจีนั้นมาฟอลคุณ เพราะอยากให้คลิกลิงค์ขายสินค้าลดราคา ก็น่าเชื่อมากว่าเป็นไอจีปลอม [10]
    • ไอจีปลอมประเภทนี้ที่พบบ่อยที่สุดคือขายแว่น Ray Bans ลดราคา ซึ่งระบาดไปถึง Twitter และ Facebook ด้วย
    • ห้ามบอกข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิตของตัวเอง ให้ไอจีไหนเด็ดขาด

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยากเลือกเองว่าจะให้ใครมาติดตามเรา ก็ต้องปิดไอจีเป็น private หรือส่วนตัวไว้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,250 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา