ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การบันทึกหมายเหตุประกอบการอ่านในหนังสือเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมวิธีหนึ่งในการจดบันทึกเกี่ยวกับเนื้อหาที่อ่าน และยังช่วยให้คุณได้อ่านหนังสืออย่างเจาะลึก ซึ่งคุณเองก็จะได้บันทึกรู้สึกนึกคิดต่อเนื้อหาลงไป คุณอาจต้องทำบันทึกหมายเหตุเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน หรือตัดสินใจจะลองทำเพื่อสร้างความให้ลุ่มลึกให้กับประสบการณ์การอ่านของคุณ เริ่มต้นจากการเลือกอุปกรณ์ช่วยบันทึกหมายเหตุ จากนั้นให้คุณทำหมายเหตุโดยให้ความสำคัญกับคำ วลี แนวคิด และคำถามสำคัญต่างๆ เพื่อให้สิ่งที่คุณบันทึกไว้ดูเรียบร้อยและง่ายต่อการกลับมาทบทวนในภายหลัง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกอุปกรณ์ที่จะใช้บันทึกหมายเหตุประกอบการอ่าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บันทึกด้วยปากกาเน้นข้อความร่วมกับปากกาหรือดินสอ. หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะขีดเขียนอะไรลงบนหนังสือ คือ การใช้ปากกาเน้นข้อความร่วมกับปากกาหรือดินสอขีดเขียนเนื้อหาที่อ่านเลย เลือกสีปากกาเน้นข้อความที่ช่วยสะดวกเวลาอ่านข้อความ เช่น สีฟ้าอ่อน หรือสีส้ม ปากกาเน้นข้อความสีเหลืองมาตรฐานก็ใช้ได้เช่นกัน และให้เลือกใช้ปากกาหมึกเข้มๆ เพื่อให้อ่านสบาย [1]
    • พยายามใช้ปากกาเน้นข้อความแค่สีเดียวในการบันทึก เพื่อให้หน้าหนังสือที่คุณเน้นข้อความไว้อ่านง่ายเวลากลับมาอ่านใหม่
    • เลือกใช้ปากกาเน้นข้อความร่วมกับปากกาหรือดินสอ หากคุณไม่มีปัญหากับการขีดเขียนลงบนเนื้อหาโดยตรง
  2. ใช้กระดาษโน้ตหรือแผ่นฉลากแบบมีแถบกาวหากไม่สามารถขีดเขียนบนหนังสือได้. กระดาษโน้ตหรือแผ่นฉลากแบบมีแถบกาวเป็นตัวเลือกที่ดีหากคุณไม่อยากขีดเขียนบนหนังสือ หากระดาษโน้ตหรือแผ่นฉลากแบบมีแถบกาวสีสันสดใส เพื่อใช้เป็นตัวช่วยหนึ่งในการบันทึกหมายเหตุบนหน้ากระดาษหรือข้อความ [2]
    • หากระดาษโน้ตหรือแผ่นฉลากแบบมีแถบกาวหลากหลายสีสัน คุณสามารถเลือกใช้กระดาษโน้ตสีต่างๆ เหล่านี้บันทึกหมายเหตุในหนังสือได้
  3. หากคุณจดบันทึกด้วยอีรีดเดอร์ (eReader) มีโปรแกรมช่วยบันทึกหมายเหตุหลากหลายโปรแกรมบนนั้นให้เลือกดาวน์โหลด เช่น สกิม (Skim) และ มาร์วิน (Marvin) ก็ช่วยให้คุณทำหมายเหตุประกอบบนอีรีดเดอร์ได้สะดวก [3]
    • คุณสามารพดาวน์โหลดโปรแกรมบันทึกหมายเหตุอิเล็กทรอนิกส์บนแอ็พสโตร์เพื่อใช้กับอีรีดเดอร์ของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

บันทึกคำสำคัญ วลี และเนื้อหาตอนต่างๆ ของหนังสือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาที่สงบเงียบ ปลอดคนพลุกพล่าน เช่น ห้องสมุดหรือห้องอ่านหนังสือ ถ้าอยู่บ้าน ให้ปิดประตูห้อง และบอกให้คนในบ้านทราบว่าคุณไม่ต้องการถูกรบกวน
  2. เพื่อให้คุณจดหมายเหตุประกอบการอ่านได้ดี คุณต้องใช้เวลาและค่อยๆ อ่านหนังสือ ใส่ใจกับแต่ละคำที่ปรากฏในหนังสือ หยุดอ่านและใช้ความคิดกับข้อความที่อ่านบ้าง ก่อนจะอ่านต่อไป การอ่านช้าๆ จะทำให้คุณแน่ใจว่าคุณไม่พลาดอะไร และทำให้ทำหมายเหตุประกอบการอ่านได้ดี [4]
  3. เริ่มจากการขีดเส้นใต้วลีที่คุณรู้สึกว่าสำคัญ บ่อยครั้งที่วลีสำคัญๆ มันจะอยู่ตอนจบประโยค และอาจอยู่หลังเครื่องหมายวรรคตอนอย่าง เครื่องหมายทวิภาค หรือจุลภาค และให้มองหาวลีที่ปรากฏหลายครั้งในหนังสือ เพราะมีแนวโน้มว่าคำเหล่านั้นจะเป็นคำสำคัญ [5]
    • พยายามขีดเส้นใต้วลีที่ดูน่าจะสำคัญมากๆ. คุณคงไม่อยากลงเอยด้วยขีดเส้นใต้วลีไว้มากมายหลายหน้า เพราะมันจะลำบากในการระบุว่าข้อความไหนบ้างที่สำคัญจริงๆ
    • คุณอาจขีดเส้นใต้วลีที่คุณชอบหรือคิดว่าน่าสนใจก็ได้เช่นกัน. หากประโยคใดโดนใจ หรือคุณรู้สึกว่าฟังดูโดดเด่น ให้ขีดเส้นใต้ไว้ จะได้กลับมาอ่านภายหลัง
  4. มองหาคำที่ดูน่าจะสำคัญสำหรับผู้เขียน คุณอาจวงกลมคำต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับใจความสำคัญของเนื้อหาช่วงนั้นๆ หรืออาจวาดกรอบสี่เหลี่ยมรอบคำต่างๆ ที่ปรากฏซ้ำหลายครั้งในหนังสือ [6]
    • เช่น หากคุณสังเกตเห็นคำว่า “อำนาจ” ปรากฏซ้ำหลายครั้งในหนังสือ ให้วงกลมหรือวาดกรอบรอบคำนั้นเพื่อทำหมายเหตุประกอบ
    • ผู้เขียนอาจบอกให้คุณนึกถึงคำบางคำไว้ในใจขณะอ่าน ให้แน่ใจว่าคุณได้วงกลมหรือวาดกรอบรอบคำเหล่านั้นไว้เป็นส่วนหนึ่งของหมายเหตุประกอบการอ่านของคุณ
  5. หากคุณรู้สึกว่าเนื้อหาตอนที่อ่านอยู่มีหลายสำคัญ ก็ให้ใส่วงเล็บลงไปในเนื้อหาส่วนนั้นให้รู้ว่าเป็นส่วนสำคัญ พยายามเลือกใส่วงเล็บเฉพาะบรรทัดสำคัญของเนื้อหาช่วงนั้น หรือเนื้อหาตอนสั้นๆ ก็พอ การใส่วงเล็บครอบเนื้อหายาวๆ อาจสร้างความลำบากให้คุณเวลาที่ต้องกลับอ่านส่วนนั้นใหม่ และทำให้คุณไม่เข้าใจว่าคุณทำหมายเหตุเอาไว้เพราะอะไร [7]
    • เช่น หากเนื้อหาตอนหนึ่งพูดถึงกรณีศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่คุณเห็นว่าน่าสนใจหรือสำคัญ ให้ใส่วงเล็บตรงขอบกระดาษเพื่อหมายเหตุประกอบ
  6. คอยทำรายการคำศัพท์ที่คุณไม่รู้หรือไม่คุ้นไว้เรื่อยๆ เขียนคำเหล่านั้นลงในกระดาษอีกแผ่น หรือเขียนไว้ที่ส่วนท้ายของเนื้อหา แล้วให้หาความหมายของคำเหล่านั้นเพื่อให้คุณเองเข้าใจความหมายของศัพท์ ให้คุณเลือกใช้ความหมายที่เหมาะสมกับบริบทที่ปรากฏในหนังสือ [8]
    • วางพจนานุกรมไว้ใกล้ๆ มือ เพื่อที่คุณจะได้เปิดหาศัพท์ที่ไม่รู้ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

บันทึกแนวคิดและคำถามสำคัญไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สนทนากับเนื้อหาของหนังสือโดยการเขียนความคิด และสิ่งที่ได้ไตร่ตรองบริเวณขอบกระดาษของหน้าที่กำลังอ่านอยู่ คุณอาจบันทึกความคิดของคุณสักหนึ่งหรือสองคำลงไป และอาจจดวลีสั้นๆ บริเวณขอบกระดาษเมื่อคิดอะไรออก [9]
    • ขณะที่คุณอ่าน ถามคำถามกับตัวเอง เช่น "คนเขียนต้องการจะบอกอะไรกับคนอ่านนะ" "ทำไมข้อความนี้ถึงมาอยู่ในหนังสือเล่มนี้" "ฉันควรจะมีอารมณ์ตอบสนองกันสิ่งที่อ่านอย่างไรดี "
  2. ขณะที่อ่านให้จดคำถามที่คุณมีเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านไว้ จดไว้ที่ขอบกระดาษหรือที่ด้านล่างสุดของหน้า ถามคำถามเกี่ยวกับคำศัพท์หรือวลีที่ทำให้คุณรู้สึกสับสน ถามคำถามเกี่ยวกับแนวคิดที่คุณรู้สึกว่าเข้าใจยาก หรือแนวคิดที่คุณไม่เห็นด้วย [10]
    • เช่น คุณอาจตั้งคำถามว่า "ทำไมผู้เขียนถึงใส่ตัวอย่างนี้มาในหนังสือด้วย" "จุดมุ่งหมายของผู้เขียนบทความนี้คืออะไร" "ผู้เขียนพยายามจะบอกอะไร"
    • เพื่อให้คำถามสั้นเข้าไว้ คุณจะได้คำถามจะได้พอดีกับพื้นที่ขอบกระดาษ คุณอาจแค่ใส่เครื่องหมายคำถามถัดจากบริเวณข้อความที่คุณไม่เข้าใจ หรืออาจจะเขียนคำถามลงไป เช่น "จุดมุ่งหมายของผู้เขียนคือ?" "พูดถึงอะไรน่ะ" เพื่อทำให้คำถามสั้นเข้าไว้
    • คุณอาจตั้งคำถามแยกไว้ต่างหากในสมุดบันทึกอีกเล่ม หรือกระดาษอีกแผ่น จะได้ไม่ต้องเบียดที่บริเวณขอบหนังสือ
  3. ใช้ลูกศรหรือเส้นเชื่อมโยงความคิดและสาระสำคัญหลักๆ เข้าด้วยกัน คุณอาจวงกลมคำสำคัญที่อยู่หนัาเดียวกัน และโยงสิ่งที่วงไว้ทั้งหมดเข้าด้วยกันด้วยลูกศร หรืออาจเน้นข้อความและวาดลูกศรไปหาข้อความถัดไปที่อยู่ในหน้าเดียวกัน [11]
    • การเชื่อมโยงความคิดต่างๆ เข้าด้วยกันจะช่วยให้คุณคิดวิเคราะห์เรื่องราวที่อ่านได้ และยังจะทำให้หมายเหตุประกอบการอ่านและข้อความที่บันทึกมีความลึกซึ้งมากขึ้น
  4. สรุปเนื้อหาของแต่ละตอนไว้ส่วนล่างสุดของหน้ากระดาษ. เมื่อคุณทำบันทึกของแต่ละตอนของหนังสือเสร็จเรียบร้อย อาจลองสรุปย่อใจความสำคัญ และแนวคิดหลักๆ ของแต่ละตอนของหนังสือ เหลือเพียงคำสำคัญสักสองสามคำ เขียนคำเหล่านี้ตรงส่วนล่างสุดของหน้ากระดาษ เพื่อกลับมาอ่านใหม่ในภายหลัง [12]
    • เช่น คุณอาจสรุปข้อความตอนหนึ่งในหนังสือด้วยคำสำคัญ เช่น “อำนาจ” “เพศวิถีของเพศหญิง” และ “กรณีศึกษาของฟรอยด์”
    • คุณสามารถเก็บบทสรุปไว้ในสมุดบันทึก หรือเศษกระดาษแยกต่างหาก ขอบกระดาษในหนังสือจะได้ไม่แออัดไปด้วยข้อความที่คุณบันทึกลงไป
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,617 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา