ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการใส่ตัวห้อย หรือ subscript ในข้อความ ทำได้ทั้งในคอมพิวเตอร์ มือถือ และแท็บเล็ต โดย subscript จะเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้ ที่ห้อยอยู่ต่ำกว่าบรรทัดข้อความธรรมดา เรามักพิมพ์เลข subscript ในสมการทางคณิตศาสตร์ และสูตรทางเคมี ถ้าใช้คอมปกติจะมีตัวเลือกในโปรแกรม word processor ไว้แปลงข้อความเป็น subscript ถ้าใช้มือถือหรือแท็บเล็ต ต้องหาโปรแกรมมาใช้ใส่ subscript เพิ่มเติม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

ใช้ Toolbar ใน Word

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณเปิดเอกสาร Word ที่เซฟไว้ในคอม แล้วแก้ไขข้อความที่มี หรือจะสร้างเอกสารใหม่ว่างๆ แล้วพิมพ์ข้อความใหม่ก็ได้
  2. ให้ใช้เมาส์เลือกอักขระหรือข้อความที่จะแปลงเป็น subscript
  3. ถ้าอยู่ใน tab อื่นของ toolbar ให้ไปที่ tab Home ทางด้านบนในหน้าจอ
  4. เป็นปุ่มที่เขียนว่า "X 2 " หรือ "A 2 " ข้างไอคอนตัวหนา ตัวเอียง และขีดเส้นใต้
    • ถ้าใช้ Mac ให้กด Command + + ที่คีย์บอร์ด เพื่อแปลงเป็น subscript ใน Word
    • ถ้าใช้ Windows ให้กด Control + + เพื่อแปลงเป็น subscript ใน Word ปกติคีย์ลัดนี้ใช้กับ text editor อื่นๆ อย่าง Notepad ได้ด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

ใช้เมนู Font ใน Word

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณเปิดเอกสาร Word ที่เซฟไว้ในคอม แล้วแก้ไขข้อความที่มี หรือจะสร้างเอกสารใหม่ว่างๆ แล้วพิมพ์ข้อความใหม่ก็ได้
  2. ให้ใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด เลือกอักขระหรือข้อความที่จะแปลงเป็น
  3. เพื่อเปิด font properties ขึ้นมาในหน้าต่าง pop-up ใหม่
  4. พอติ๊กตัวเลือกนี้แล้ว ข้อความที่เลือกไว้ จะถูกแปลงเป็น subscript
  5. เพื่อใช้ font settings ใหม่ และเปลี่ยนอักขระหรือข้อความที่เลือกเป็น subscript
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

ใช้ Google Docs

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะเปิด Google Doc ที่เซฟไว้ แล้วแก้ไขข้อความ หรือสร้างเอกสารใหม่ แล้วพิมพ์ข้อความใหม่ก็ได้
  2. คุณใช้เมาส์เลือกส่วนของข้อความที่ต้องการในเอกสารได้
  3. ที่เป็นปุ่มในแถบของ tab ล่างชื่อเอกสาร แถวๆ มุมซ้ายบนของหน้า
  4. เพื่อเปิดตัวเลือกข้อความในเมนูย่อย
  5. เพื่อแปลงข้อความที่เลือกไว้เป็น subscript
    • ถ้าใช้ Mac ให้กด Command + , ในคีย์บอร์ด เพื่อแปลงเป็น subscript
    • ถ้าใช้ Windows ให้กด Control + , เพื่อแปลงเป็น subscript
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

ใช้ TextEdit ใน Mac

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะเปิดเอกสารที่เซฟไว้ ขึ้นมาใน TextEdit หรือสร้างเอกสารใหม่ว่างๆ แล้วพิมพ์ข้อความลงไปก็ได้
  2. ให้ใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ดเลือกส่วนของข้อความที่จะแปลงเป็น subscript
  3. ปกติปุ่มนี้จะอยู่ในแถบเมนูของ Mac ด้านบนของหน้าจอ
  4. แล้วจะเห็น font tools ในเมนูย่อย
  5. แล้วจะเห็น baseline options ในเมนูย่อย
  6. เพื่อแปลงข้อความที่เลือกไว้เป็น subscript ทันที
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

ใช้ iPhone หรือ iPad

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ค้นหาแอพนี้โดยพิมพ์ชื่อใน App Store แล้วแตะปุ่ม GET สีฟ้า เพื่อติดตั้งแอพใน iPhone หรือ iPad
    • แอพนี้เป็นแอพ third-party ฟรี ใช้ copy และ paste อักขระพิเศษในช่องพิมพ์ทั่วไป
    • คุณจะ copy อักขระที่เป็น subscript จากในเว็บอย่าง https://nadnosliw.wordpress.com/unicode-characters แล้วเอาไป paste ที่อื่นก็ได้
    • ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการดาวน์โหลดแอพโดยละเอียด ลองอ่าน บทความวิกิฮาวนี้ ดู
  2. ไอคอน Character Pad จะเป็นเครื่องหมาย " Σ " (sigma) สีขาว บนพื้นส้ม ปกติอยู่ในหน้า home
  3. จะเห็นเลข subscript ในหน้าที่ 3 ของแอพ
  4. เพื่อ copy ไว้ใน clipboard
  5. คุณ paste อักขระ subscript ที่ copy ไว้ ตรงไหนก็ได้ ทั้งในข้อความแชท โน้ต/บันทึก หรือหน้าเว็บ
  6. จะมีตัวเลือกโผล่มาใน toolbar สีดำ เหนือช่องพิมพ์
  7. เพื่อ paste subscript ที่ copy ไว้ ในช่องพิมพ์ที่เลือก
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

ใช้ Android

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ค้นหาแอพนี้ใน Play Store แล้วแตะปุ่ม INSTALL สีเขียว เพื่อดาวน์โหลดแอพ
  2. คุณพิมพ์ subscript ด้วย Engineering Keyboard ได้ทั้งในข้อความ โน้ต และช่องพิมพ์อื่นๆ
  3. อันนี้แล้วแต่อุปกรณ์ Android รุ่นที่ใช้ คุณสลับคีย์บอร์ดได้หลายวิธี เช่น คีย์ลัดเปิดคีย์บอร์ด เมนู quick settings และแอพ Settings
    • ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการสลับไปใช้คีย์บอร์ดต่างๆ โดยละเอียด ลองหาอ่านเพิ่มเติมในเน็ตดู
  4. ที่เป็นปุ่มตัว " n " สีขาว บนพื้นแดง มีตัว "n" แบบตัวยก (superscript) และตัวห้อย (subscript) ข้าง space bar ไอคอนนี้ใช้สลับรูปแบบการพิมพ์แบบ super/subscript ในคีย์บอร์ด
  5. ค้นหาแล้วแตะ subscript ที่จะพิมพ์ในคีย์บอร์ด เพื่อพิมพ์อักขระที่เลือกนั้นทันที
    • ถ้าอยากดูอักขระ superscript และ subscript เพิ่มเติม ให้ใช้ปุ่ม " n abc " มุมขวาล่าง
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,303 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา