ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังมีความรักอยู่หรือเปล่า ก็มีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณตอบตัวเองได้ว่า คุณกำลังตกหลุมรักอยู่ใช่ไหม กระบวนการทางชีววิทยาที่อยู่เบื้องหลังความรักทำให้เกิดผลข้างเคียงทางด้านร่างกาย รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยที่คุณไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำ การสังเกตตัวเองให้ดีและการดูว่าคุณมีปฏิสัมพันธ์กับคนรักอย่างไรช่วยให้คุณตอบตัวเองได้ว่า คุณกำลังมีความรักอยู่หรือเปล่า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

วิเคราะห์ความรู้สึกของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แน่นอนว่าการตรวจสอบว่าเรารู้สึกอย่างไรกับคนรักช่วยให้เรารู้ว่าเรารักเขาหรือเปล่า แต่มันก็อาจจะไม่ใช่อย่างที่คุณคิดเสมอไป นอกจากจะพิจารณาปัจจัยดั้งเดิมอย่างความรู้สึกเหมือนมีผีเสื้อบินอยู่ในท้องแล้ว ให้สังเกตว่าคุณรู้สึกกับเขาหรือเธอในฐานะคนๆ หนึ่งอย่างไร
    • คุณคิดว่าคนรักของคุณพิเศษหรือไม่ คนเราเมื่อมีความรัก เราก็มักจะขยายคุณสมบัติด้านบวกของอีกคนให้ใหญ่เกินจริงและไม่สนใจหรือละเลยข้อเสียไป คุณน่าจะคิดว่าคนรักของคุณมีบางอย่างที่พิเศษและโดดเด่นจากคนอื่นโดยไม่เข้าข้าง [1]
    • คุณพบว่าตัวเองคิดถึงคนรักมากๆ เวลาที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันหรือเปล่า แม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม เมื่อคนเรามีความรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนรักกันใหม่ๆ เราจะอยากอยู่ด้วยกันตลอดเวลา ระดับความคิดถึงที่คุณมีต่อคนๆ นี้เกี่ยวข้องกับระดับความเอ็นดูที่คุณมีให้เขาหรือเธอ ลองนึกว่าคุณคิดถึงคนรักมากแค่ไหน เพราะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าคุณรักหรือไม่รักเขาได้แม่นยำ [2]
    • คุณชอบคนรักของคุณในฐานะคนๆ หนึ่งหรือเปล่า อาจจะฟังดูแปลก แต่หลายคนมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวที่ดูจะเป็นความรักแบบหนุ่มสาวกับคนที่พวกเขาไม่ได้ชอบจริงๆ ด้วยซ้ำ เมื่อคุณมีความรัก คุณน่าจะคิดว่าคนรักของคุณมีบุคลิกในแบบที่คุณต้องการ มิตรภาพที่ซ่อนอยู่หรืออย่างน้อยความชอบที่เหมือนกันเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่ความรัก [3]
  2. พิจารณาว่าคุณสนับสนุนความสำเร็จของคนรักหรือไม่. คุณน่าจะอยากให้คนรักของคุณประสบความสำเร็จด้วยใจจริงถ้าคุณมีความรัก ถ้าคุณรักใครสักคน คุณจะพบว่าตัวเองตื่นเต้นไปกับชัยชนะส่วนตัวของเขาหรือเธอ
    • คนเรามักจะรู้สึกด้อยกว่าเมื่อได้รับรู้ถึงความสำเร็จของคนอื่นแม้กระทั่งเพื่อนสนิท แต่สิ่งที่ต่างออกไปในความรักฉันท์หนุ่มสาวก็คือ คุณจะไม่รู้สึกถึงความด้อยกว่าเมื่อคนรักของคุณประสบความสำเร็จ [4]
    • แม้ว่าคุณจะไม่ประสบความสำเร็จหรือเป็นทุกข์จากความล้มเหลวที่เพิ่งเกิดขึ้น คุณก็ยังรู้สึกมีความสุขกับความสำเร็จของคนรักอยู่ดี สิ่งนี้เป็นวิธีหนึ่งที่คนรักเชื่อมโยงความรู้สึกเขาด้วยกัน ความสำเร็จของคนรักควรแทบจะเป็นเหมือนความสำเร็จของคุณเอง [5]
  3. ถามตัวเองว่าคนรักมีผลต่อการตัดสินใจของคุณหรือไม่. เมื่อมีความรัก คนเรามักจะตัดสินใจตามคนรักไม่ใช่แค่ในเรื่องใหญ่ๆ เช่น จะรับงานหรือย้ายไปอยู่จังหวัดใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการตัดสินใจเล็กๆ น้อยๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานรสนิยมของคนรักด้วย
    • เมื่อมีความรัก แม้แต่การจัดลำดับความสำคัญในแต่ละวันก็ทำให้คุณคิดถึงคนรัก เช่น ตอนที่คุณแต่งตัวในตอนเช้า คุณอาจจะพบว่าตัวเองกำลังเลือกชุดที่คุณคิดว่าคนรักของคุณจะชอบก็ได้ [6]
    • คุณจะพบว่าตัวเองเต็มใจที่จะสำรวจสิ่งใหม่ๆ ตามความสนใจของคนรัก เช่น จู่ๆ คุณอาจจะอยากไปเดินป่าขึ้นมาถ้าคนรักของคุณชอบ แม้ว่าปกติแล้วคุณจะไม่ใช่คนชอบอยู่กลางแจ้งก็ตาม คุณอาจจะอยากฟังเพลงและดูหนังนอกเหนือไปจากรสนิยมในแบบที่คุณเคยดูแค่เพราะคนรักของคุณสนใจก็ได้ [7]
  4. เมื่อคุณมีความรัก คุณจะรู้สึกถึงมันในระยะยาว เมื่อคุณฝันถึงอนาคตของคุณ เช่น เริ่มงานใหม่หรือย้ายไปอยู่จังหวัดใหม่ คุณมักจะรวมคนรักของคุณเข้าไปอยู่ในความฝันนั้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง [8] [9]
    • ถ้าคุณอยากมีลูก คุณคิดว่าคุณจะมีลูกกับคนรักของคุณหรือเปล่า คุณคิดว่าเขาหรือเธอจะเป็นพ่อหรือแม่ที่ดีได้ไหม คุณคิดภาพว่าตัวเองมีลูกกับคนอื่นออกไหม หรือคิดภาพว่าต้องเป็นคนรักของคุณเท่านั้น คุณสองคนเคยคุยกันเรื่องลูกหรืออนาคตบ้างไหม ถ้าใช่ มันก็คงเป็นความรัก
    • คุณคิดว่าจะแก่ไปกับคนรักไหม คุณชอบความคิดที่ว่าคุณสองคนจะได้แก่เคียงข้างกันหรือเปล่า คุณคิดภาพสิ่งที่อยู่ไกลออกไป เช่น เกษียณและวันครบรอบแต่งงานปีที่ 50 หรือเปล่า
    • เมื่อคุณตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ สำหรับอนาคตของคุณ คนรักของคุณมีผลต่อการตัดสินใจของคุณหรือไม่ คุณคิดภาพตัวเองย้ายไปอยู่จังหวัดใหม่หรือเริ่มงานใหม่โดยไม่มีการสนับสนุนจากคนรักหรือมีคนรักอยู่ด้วยได้หรือเปล่า
  5. แม้ว่าคุณจะขยายคุณสมบัติด้านบวกให้ใหญ่เกินจริงในช่วงคบกันแรกๆ แต่สุดท้ายแล้วคุณก็จะรู้ว่าคนรักของคุณมีข้อเสีย ความรู้สึกของคุณที่มีต่อข้อเสียของคนรักนั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า คุณรักเขาหรือเปล่า
    • ถ้าคุณสบายใจที่จะยอมรับข้อเสียของคนรัก และยอมรับเขาหรือเธอได้แม้ว่าเขาหรือเธอจะมีข้อเสีย นี่เป็นสัญญาณที่ดี ความคิดที่ว่าคนรักของคุณสมบูรณ์แบบนั้นสักพักก็หายไป และคุณก็ควรจะยอมรับคุณสมบัติที่ไม่ดีของเขาได้เช่นเดียวกับที่คุณยอมรับข้อดีของเขา ความสามารถในการยอมรับเรื่องแย่ๆ ของคนรักได้อาจช่วยให้คุณมั่นคงกับเขาหรือเธอ [10]
    • คุณสามารถพูดคุยกับคนรักเรื่องข้อเสียของเขาหรือเธอได้ไหม คุณสองคนหัวเราะให้กับมันได้หรือเปล่า คุณอยากช่วยให้คนรักของคุณรับมือกับข้อเสียของเขาหรือเธอได้ถ้ามันขัดขวางความสำเร็จหรือไม่ ถ้าคุณลงทุนที่จะทำให้คนรักเป็นตัวเขาหรือเธอเองในแบบที่ดีที่สุด ก็อาจเป็นสัญญาณว่าคุณรักเขา
  6. เมื่อคนเรามีความรัก เราจะเต็มใจประนีประนอม เมื่อคุณกับคนรักเห็นไม่ตรงกัน คุณสองคนควรจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย รักคือการอยากให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจและมีความสุข เพราะฉะนั้นถ้าคุณรักเขา คุณก็ต้องเต็มใจที่จะประนีประนอม [11]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สังเกตพฤติกรรมของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตว่าคุณอยากให้คนอื่นชอบคนรักของคุณหรือเปล่า. เมื่อคุณมีความรัก คุณจะลงทุนกับการทำให้เพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวประทับใจคนรักของคุณ สังเกตว่าคุณรู้สึกอย่างไรเวลาที่คนรักของคุณพบปะกับคนใกล้ตัวคุณ คุณสนใจว่าพวกเขาจะชอบคนรักของคุณมากแค่ไหน
    • วงสังคมของคุณมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในเรื่องความสัมพันธ์ฉันท์คนรัก แม้ว่าคุณจะชอบคนๆ นี้มากจริงๆ แต่ถ้าครอบครัวหรือเพื่อนๆ ไม่ชอบก็อาจเกิดความตึงเครียดได้ เพราะฉะนั้นถ้าคุณรักใครสักคน คุณจึงลงทุนมากว่าคนอื่นจะมองคนรักของคุณอย่างไร [12]
    • ถ้าคุณพบว่าตัวเองสังเกตอย่างละเอียดว่าเพื่อนๆ และครอบครัวทำตัวอย่างไรเวลาที่อยู่ใกล้คนรักของคุณ ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะมันหมายความว่าคุณลงทุนกับความสำเร็จของความสัมพันธ์ฉันท์คนรัก และคุณก็อาจจะมีความรักอยู่ก็ได้ [13]
  2. พิจารณาว่าคุณเผชิญกับความรู้สึกหึงหวงอย่างไร. ความหึงหวงจริงๆ แล้วเป็นส่วนประกอบที่ดีของความสัมพันธ์ฉันท์คนรัก อย่างไรก็ตามวิธีการที่คุณเผชิญกับความรู้สึกหึงหวงนั้นเป็นเรื่องสำคัญ [14]
    • ถ้าให้พูดกันตามหลักวิวัฒนาการก็คือ ความหึงหวงก่อให้เกิดความวุ่นวาย เพราะมันหมายความว่าคุณรู้สึกได้ถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งก็แปลว่าคุณมั่นคงกับความสำเร็จของความสัมพันธ์ ถ้าคุณมีความรัก คุณอาจจะพบว่าตัวเองเริ่มหึงเวลาที่คนรักของคุณมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของกลายๆ เวลาที่คุณอยู่ในที่สาธารณะ [15]
    • แต่ความหึงหวงอาจกลายเป็นยาพิษถ้ามันแสดงตัวอย่างน่าสงสัย ความไม่เชื่อใจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณอาจจะไม่ได้รักเขาจริงๆ คุณรู้สึกว่าคุณต้องเช็กข้อความและอีเมลของคนรักหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้น คุณอาจจะต้องประเมินความสัมพันธ์ของคุณอีกครั้ง [16]
  3. ถามเพื่อนๆ และคนในครอบครัวว่าคุณเปลี่ยนไปหรือเปล่า. เมื่อคุณมีความรัก คุณจะพบว่าตัวเองเปลี่ยนไป เรื่องเล็กๆ อย่างรสนิยมรวมทั้งเรื่องใหญ่ๆ อย่างการจัดลำดับความสำคัญในชีวิตจะเปลี่ยนไปเมื่อคุณอยู่กับคนรัก
    • เมื่อคุณมีความรัก คุณจะมีลักษณะใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา คุณจะพบว่าตัวเองมีรสนิยมที่ต่างออกไป รวมทั้งอารมณ์ขันและสไตล์ของคุณก็อาจจะเปลี่ยนไปเล็กน้อยด้วย แต่คุณอาจจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างเท่าไหร่ เพราะมันจะค่อยๆ เกิดขึ้นโดยที่คุณแทบไม่รู้ตัว [17]
    • ถามคนใกล้ตัวคุณ เช่น เพื่อนๆ และคนในครอบครัวว่า พวกเขาสังเกตว่าคุณเปลี่ยนไปหรือเปล่า บุคลิก รสนิยม หรือสไตล์ของคุณต่างไปจากตอนที่ความสัมพันธ์เพิ่งเริ่มต้นหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ก็เป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีความรัก [18]
  4. ถ้าคุณรักใครสักคน คุณควรจะรู้สึกว่าตัวเองได้รับรักตอบ หลายคนอธิบายความรู้สึกรักว่าเป็นความรู้สึกที่ว่าอีกฝ่ายเข้าใจพวกเขา ถ้าเป็นกรณีนี้ คุณก็ควรจะไม่มีปัญหาในเรื่องการแสดงความเป็นตัวเองเวลาอยู่กับคนรัก [19]
    • คุณรู้สึกว่าคุณสามารถพูดเรื่องของตัวเองและปัญหาของคุณได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสินหรือเปล่า คุณสามารถพูดถึงอารมณ์ด้านลบที่คุณรู้สึกรวมทั้งอารมณ์เห็นแก่ตัวกับคนรักได้โดยไม่ต้องกลัวว่าคนรักจะมองคุณไม่ดีหรือไม่
    • คุณรู้สึกว่าคุณสามารถเห็นแย้งกับคนรักของคุณได้แม้จะเป็นเรื่องใหญ่ๆ หรือเปล่า เช่น ถ้าคุณนับถือศาสนาหรือมีความเชื่อทางการเมืองที่ต่างกัน คุณรู้สึกว่าคนรักของคุณเคารพความเชื่อของคุณแม้ว่าเขาจะไม่เชื่อหรือเปล่า
    • คุณสบายใจที่ได้เป็นตัวเองเวลาอยู่กับคนรักหรือเปล่า คุณสามารถใช้อารมณ์ขันในแบบของตัวเอง หัวเราะ ร้องไห้ และเผชิญกับทุกอารมณ์อย่างเต็มที่เวลาอยู่กับเขาหรือเธอไหม
  5. สังเกตว่าคุณมีความสุขเวลาอยู่กับคนรักหรือเปล่า. แม้ว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นอะไรที่ดูชัดเจน แต่หลายคนตระหนักได้ว่าพวกเขาไม่ได้มีความสุขที่สุดเวลาอยู่กับคนรัก แม้ว่าคนรักของคุณจะไม่ควรเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้คุณสุขใจ แต่คุณก็ควรจะรู้สึกได้ถึงความตื่นเต้นและความดีใจอย่างแท้จริงเวลาที่เขาหรือเธออยู่ใกล้ ไม่จำเป็นว่าทุกวันจะต้องเป็นวันที่ตื่นเต้นสุดๆ แต่คุณก็ควรรู้สึกตั้งตารอที่จะได้พบคนรักของคุณและพบว่าคุณสองคนทำอะไรสนุกๆ ด้วยกันอยู่เสมอ แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการดูทีวีก็สนุกขึ้นได้ถ้าคนรักของคุณดูด้วย
    • แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องสุขจนล้นปรี่ทุกวินาทีที่คุณสองคนอยู่ด้วยกัน ความคาดหวังแบบนั้นไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ความสัมพันธ์ก็คืองาน แม้แต่คู่ที่เหมาะสมกันสุดๆ ก็ยังขัดแย้งและเห็นไม่ตรงกันในบางเรื่อง อย่างไรก็ตามงานวิจัยแนะนำว่า สัดส่วนของประสบการณ์เชิงบวกกับเชิงลบในความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จนั้นอยู่ที่ประมาณ 20:1 [20] ง่ายๆ ก็คือช่วงเวลาแห่งความสุขที่ได้อยู่กับคนรักนั้นควรจะมากกว่าช่วงเวลาแห่งความทุกข์
    • การรู้สึกไม่มีความสุขหรือทุกข์ใจตลอดเวลาเมื่ออยู่กับคนรักเป็นหนึ่งในสัญญาณของความสัมพันธ์ที่มีปัญหา [21]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รู้สัญญาณทางชีววิทยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณเริ่มมีความรัก สมองจะหลั่งสารเคมีออกมา 3 ตัวได้แก่ Phenethylamine Dopamine และ Oxytocin สารเคมีเหล่านี้ส่งผลกระทบใหญ่ๆ ต่อพฤติกรรมทางอารมณ์ของคุณ [22] [23] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Dopamine ที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางของสมองที่สร้างความรู้สึกเหมือนได้รับ "รางวัล" หมายความว่าความรู้สึก "รัก" นั้นเป็นสิ่งที่สมองของคุณชื่นชอบและอยากจะได้อีกมากๆ [24]
    • ตอนตกหลุมรักในช่วงแรกๆ คุณอาจจะสังเกตได้ถึงอารมณ์ที่รุนแรง ความภาคภูมิใจในตัวเองที่พลุ่งพล่าน และแนวโน้มที่จะทำในสิ่งที่ปกติแล้วคุณไม่ทำ เช่น คุณอาจจะมีแรงบันดาลใจที่จะแสดงความโรแมนติกอย่างยิ่งใหญ่ เช่น ซื้อของขวัญแพงๆ ให้ [25]
    • นอกจากนี้คุณอาจจะพบว่าตัวเองหมกมุ่น คอยเช็กโทรศัพท์ อีเมล หรือเฝ้าหน้าโซเชียลมีเดียเพื่อดูว่าอีกฝ่ายติดต่อคุณมาทางใดทางหนึ่งหรือเปล่า [26]
    • คุณอาจจะเกิดอารมณ์เชิงลบบางอย่างด้วยเช่นกัน คุณอาจจะกลัวอย่างรุนแรงว่าจะถูกปฏิเสธและจู่ๆ ก็เกิดอารมณ์แบบใดแบบหนึ่งขึ้นมา คุณอาจคิดถึงช่วงเวลาสำคัญในหัวซ้ำไปซ้ำมา กังวลว่าจูบแรกของคุณไม่ค่อยดีเท่าไหร่ หรือสิ่งที่คุณพูดช่วงมื้อค่ำฟังดูเด๋อด๋าขนาดไหน
    • การตอบสนองทางจิตใจที่อยู่เบื้องหลังความรักอาจทำให้เกิดความรู้สึกปรารถนาอย่างรุนแรง ถ้าคุณรู้สึกได้ถึงความปรารถนาที่รุนแรงแม้ว่าจะห่างกันแค่ช่วงสั้นๆ ก็แปลว่าคุณอาจกำลังมีความรัก [27]
  2. สารเคมีที่หลั่งออกมาจากสมองในช่วงที่คุณตกหลุมรักทำให้เกิดการตอบสนองทางกายบางอย่างด้วยเช่นเดียวกัน คุณอาจกำลังมีความรักถ้าคุณมีอาการต่อไปนี้ :
    • มีพลังงานมากขึ้น
    • ไม่อยากอาหาร
    • ตัวสั่น
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • หายใจลำบาก [28]
  3. โดยกายภาพแล้วคุณจะปรารถนาในตัวคนรัก ซึ่งไม่ควรจะเป็นแค่ความปรารถนาในรูปแบบของความต้องการทางเพศอย่างเดียว แต่ควรแสดงออกในรูปแบบของความปรารถนาที่จะสัมผัสและเคล้าเคลียกันตลอดทั้งวันด้วย
    • Oxytocin คือสิ่งที่ส่งแรงขับความปรารถนาทางกายเมื่อคุณมีความรัก บางครั้งก็เรียกว่าฮอร์โมนแห่งการเคล้าเคลีย คุณจะพบว่าตัวเองอยากจูบ นัวเนีย และสัมผัสคนรักตลอดทั้งวัน คุณจะอยากมีสัมผัสทางกายกับคนๆ นี้ตลอดเวลาเป็นอย่างมาก [29]
    • แม้ว่าเซ็กส์จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของการตกหลุมรักใครสักคน แต่ก็มีแนวโน้มว่ามันจะไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คนส่วนใหญ่ที่มีความรักพบว่า การเชื่อมโยงทางอารมณ์กับคนรักนั้นสำคัญกว่าการเชื่อมโยงในเรื่องเซ็กส์เพียงอย่างเดียว ถ้าคุณมีความรัก คุณจะรู้สึกว่าความสัมพันธ์ของคุณเป็นมากกว่าเซ็กส์ [30]
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

  1. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1475-6811.2007.00162.x/abstract
  2. http://www.campbell.edu/pdf/counseling-services/characteristics-of-healthy-romantic-relationships.pdf
  3. https://www.psychologytoday.com/blog/meet-catch-and-keep/201406/how-do-you-know-if-youre-in-love
  4. https://www.psychologytoday.com/blog/meet-catch-and-keep/201406/how-do-you-know-if-youre-in-love
  5. http://digitalcommons.unf.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1449&context=etd
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/meet-catch-and-keep/201406/how-do-you-know-if-youre-in-love
  7. https://www.psychologytoday.com/blog/meet-catch-and-keep/201406/how-do-you-know-if-youre-in-love
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/meet-catch-and-keep/201406/how-do-you-know-if-youre-in-love
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/meet-catch-and-keep/201406/how-do-you-know-if-youre-in-love
  10. http://www.campbell.edu/pdf/counseling-services/characteristics-of-healthy-romantic-relationships.pdf
  11. http://couplestraininginstitute.com/gottman-couples-and-marital-therapy/
  12. http://www.inamaegreene.org/universalRedflags.html
  13. http://www.sciencedaily.com/releases/2014/02/140206155244.htm
  14. http://www.nature.com/nature/journal/v457/n7226/full/457148a.html
  15. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/cne.20772/abstract?userIsAuthenticated=false&deniedAccessCustomisedMessage=
  16. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/cne.20772/abstract?userIsAuthenticated=false&deniedAccessCustomisedMessage=
  17. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/cne.20772/abstract?userIsAuthenticated=false&deniedAccessCustomisedMessage=
  18. http://www.livescience.com/33720-13-scientifically-proven-signs-love.html
  19. http://www.livescience.com/33720-13-scientifically-proven-signs-love.html
  20. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0091305713001688
  21. http://www.livescience.com/33720-13-scientifically-proven-signs-love.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,100 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา