ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาจมีสักครั้งในชีวิตที่เราได้รับเชิญขึ้นไปกล่าวขอบคุณเมื่อได้รับรางวัลหรือได้รับเกียรติจากสาธารณชน นี้เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้แสดงการขอบคุณจากใจแก่ผู้คนที่คอยช่วยเหลือเรามาตลอด และอาจได้เล่าเรื่องตลกขบขันสักหนึ่งหรือสองเรื่องเพื่อสร้างเสียงหัวเราะให้ผู้ฟังบ้าง ถ้าอยากรู้วิธีการกล่าวขอบคุณที่ดีและแสดงให้เห็นว่าเรานั้นรู้สึกอย่างที่พูดจริงๆ เริ่มอ่านขั้นตอนแรกของบทความนี้ได้เลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เรียบเรียงคำพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มต้นด้วยการพูดขอบคุณที่ได้รับรางวัลหรือเกียรตินั้น การแสดงความขอบคุณที่ผู้อื่นให้รางวัลหรือเกียรติแก่เรานั้นเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่สุดแล้ว เพราะจะนำไปสู่การพูดเนื้อหาส่วนที่เหลือ ถ้าเราไม่รู้ว่าจะพูดอะไรต่อไปดี ลองคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ดู [1]
    • เราได้รับเกียรติเนื่องในโอกาสอะไร ถ้าเราพูดขอบคุณที่ได้รับรางวัล หรือได้รับเกียรติทางอาชีพ ให้พูดเช่นว่า “ฉันรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้มาร่วมงานในคืนนี้และขอบคุณทุกท่านที่มอบรางวัลนี้ให้”
    • ความเป็นทางการของงานนั้น ถ้าเป็นงานที่มีความเป็นทางการน้อย เช่น งานเลี้ยงวันครบรอบที่เพื่อนหรือครอบครัวเป็นคนจัด เราอาจกล่าวขอบคุณอย่างเป็นกันเอง ตัวอย่างเช่น “ฉันดีใจมากที่ทุกคนมาร่วมงานเลี้ยงคืนนี้”
  2. นี้เป็นโอกาสที่จะได้พูดอะไรลึกซึ้งขึ้นมาอีกเล็กน้อยและทำให้ผู้คนที่มีส่วนช่วยให้เราได้รับรางวัลรู้สึกดี ไม่ว่าจะได้รับเกียรติจากบริษัท องค์กรอื่นๆ หรือคนที่เรารู้จักดี ให้ใช้เวลาสองสามนาทีแสดงความตระหนักถึงคุณค่าของพวกเขาด้วย
    • ถ้าเราได้รับเกียรติจากบริษัท ให้พูดถึงผลงานอันเป็นเกียรติประวัติขององค์กรเราและอะไรที่ทำให้เรามีความสุข เมื่อทำงานอยู่ที่นี่
    • ถ้าเราได้รับรางวัลจากองค์กรภายนอก เช่น องค์กรด้านศิลปะให้รางวัลภาพยนตร์ที่เราเป็นคนกำกับ ให้พูดว่าเรารู้สึกเป็นเกียรติมากแค่ไหนที่องค์กรดังกล่าวยอมรับผลงานของเรา
    • ถ้าเรากำลังกล่าวขอบคุณเพื่อนและครอบครัวที่คอยช่วยเหลือเรา ให้กล่าวถึงบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านี้สักหน่อย
  3. เล่าเรื่องตลก หรือเรื่องราวการเดินทางไปสู่ความสำเร็จ. ในการกล่าวขอบคุณ การกล่าวถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ สักหนึ่งถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นอันนำไปสู่ความสำเร็จและรางวัลที่เราได้รับจะทำให้สิ่งที่เราพูดน่าสนใจ เนื่องจากเรามักจะมีการพูดขอบคุณในงานเลี้ยงอาหารค่ำและงานรื่นเริง การพูดถึงเรื่องเบาสมองและทำให้ผู้ฟังหัวเราะนั้นจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกสนุก
    • เราอาจบอกเรื่องตลกร้ายที่เกิดขึ้นระหว่างทำงานสำคัญ หรืออุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นและวิธีการฝ่าฟันปัญหาต่างๆ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ
    • พยายามพูดถึงคนอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเราด้วยดีกว่าพูดถึงแต่ตัวเราฝ่ายเดียว พูดถึงเรื่องราวที่เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกๆ หรือคนอื่นๆ มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
    • ถ้าต้องการ คุณสามารถเริ่มการพูดด้วยเรื่องเหล่านี้แล้วค่อยพูดชักนำไปจนถึงการกล่าวขอบคุณ
  4. การกล่าวยกย่องคนที่คอยช่วยเหลือเราให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้นั้นเป็นสิ่งที่ดี เขียนรายชื่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อน และสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยให้เราได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ [2]
    • เราอาจกล่าวถึงรายชื่อบุคคลที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนเราด้วยการพูดว่า “ฉันต้องขอบคุณบุคคลสองสามท่านที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนจนฉันได้มายืนอยู่ ณ จุดนี้” จากนั้นก็กล่าวชื่อบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จได้เลย
    • ดูสิว่าบุคคลเหล่านี้นั่งอยู่ในหมู่ผู้ฟังด้วยไหม ถ้าเรารู้ว่าหัวหน้าของเรานั่งฟังอยู่ด้วย อย่าลืมขอบคุณเขาด้วย
    • ถึงการพูดส่วนนี้จะทำให้คำพูดของเราฟังดูน่าเบื่อ แต่พยายามกล่าวถึงบุคคลสำคัญต่อความสำเร็จของเราให้ครบ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงทุกคนที่เรารู้จัก เอาแค่เฉพาะคนที่ช่วยเหลือเราจริงๆ เท่านั้น
    • ดูวิธีการกล่าวขอบคุณในงานแจกรางวัลอย่างออสการ์หรือแกรมมี่เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการขอบคุณผู้คนหลายๆ คน
  5. เมื่อเรากล่าวถึงชื่อผู้คนที่เราอยากขอบคุณหมดแล้ว ก็คงใกล้จบการกล่าวขอบคุณเสียที ให้จบการกล่าวขอบคุณด้วยการพูดขอบคุณอีกครั้งหนึ่งและพูดย้ำว่าเราดีใจมากแค่ไหน ถ้าอยากให้คำกล่าวขอบคุณของเราเป็นที่น่าจดจำ อาจเพิ่มเนื้อหาดีๆ เข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น [3]
    • พูดเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจ ถ้าเรากำลังรับรางวัลสำหรับความสำเร็จที่สร้างให้แก่องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร เราอาจพูดว่า “ถึงแม้งานของเรายังไม่จบสิ้น แต่สิ่งที่เราทำสำเร็จร่วมกันนั้นได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนหลายร้อยคน ฉะนั้นขอให้พวกเรามาทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานกันต่อไป แค่ปีเดียวเรายังทำสำเร็จได้มากขนาดนี้ และถ้าเป็นสามปีข้างหน้าล่ะ เราจะทำสำเร็จได้มากขนาดไหน”
    • กล่าวคำอุทิศ. เราอาจยกย่องคนที่เรารักหรือบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในความสำเร็จของเราด้วยการกล่าวคำอุทิศรางวัลแก่บุคคลนั้น อาจกล่าวเช่นว่า “ฉันอยากมอบรางวัลนี้ให้แก่คุณแม่ของฉัน ถึงแม้คุณครูของฉันบอกท่านว่าโรคบกพร่องทางการอ่านจะทำให้ฉันไม่มีทางอ่านหนังสือออก แต่ท่านก็ยิ้มสู้และบอกครูว่าฉันจะได้เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงสักวันหนึ่ง เพราะคุณแม่เชื่อมั่นในตัวฉัน ฉันจึงได้มายืนรับรางวัลพูลิตเซอร์ในวันนี้ หนูรักแม่ค่ะ”
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ฝึกพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คำกล่าวขอบคุณควรสั้นพอประมาณ เราจะได้จำสิ่งที่จะพูดได้ แต่การมีกระดาษโน้ตหรือกระดาษซึ่งร่างหัวข้อที่จะพูดไว้คร่าวๆ จะช่วยให้เรารู้ว่าตนเองจะพูดเรื่องอะไรบ้างและจำชื่อบุคคลที่เราต้องการกล่าวถึงได้ทั้งหมด [4]
    • อย่าเขียนคำที่จะพูดทุกคำ เพราะเมื่อตอนพูดจริง เราจะเอาแต่มองกระดาษตลอดเวลา ไม่ได้มองผู้ฟัง อีกทั้งเราอาจเกิดกลัวจนพูดไม่ออกได้
    • อีกทางเลือกคือ ถ้าหากมีวลีหรือความประทับใจใดที่คุณต้องการความมั่นใจว่าต้องพูดให้ครบถ้วนถูกต้อง ให้เขียนท่อนนั้นเต็มๆ ฝึกพูดท่อนนี้เพื่อที่คุณจะพูดได้อย่างไม่ติดขัด
    • พยายามเขียนสิ่งที่จะพูดแต่ละเรื่องแค่บรรทัดเดียว เมื่อเรามองกระดาษ สิ่งที่เราเขียนจะทำให้เรานึกออกว่าควรพูดอะไรต่อ
  2. ถ้าเราต้องขึ้นไปกล่าวขอบคุณในงานรับรางวัลที่เป็นทางการ อาจมีการกำหนดเวลาว่าเราจะกล่าวขอบคุณได้กี่นาที ลองถามองค์กรที่จัดงานว่ามีข้อปฏิบัติอะไรไหมที่เราควรทำตาม ถ้าไม่มีการจำกัดเวลาพูด ลองสังเกตผู้พูดคนอื่นว่าส่วนใหญ่ใช้เวลาขึ้นรับรางวัลและกล่าวขอบคุณกี่นาที [5]
    • ส่วนใหญ่ระยะเวลากล่าวตอนขึ้นรับรางวัลนั้นสั้นมาก ตัวอย่างเช่น การกล่าวเมื่อขึ้นรับรางวัลออสการ์ให้เวลาไม่เกิน 45 วินาที ถ้ากล่าวเกินมาสองถึงสามนาทีจะทำให้คนฟังเบื่อ ฉะนั้นให้พยายามกล่าวขอบคุณภายในระยะเวลาดังกล่าวจะดีกว่า
    • เมื่อฝึกพูด ให้จับเวลาเพื่อดูว่าเราพูดนานแค่ไหน เราอาจบันทึกเสียงเพื่อเราจะได้ฟังและหาจุดที่สามารถตัดออกไปได้ ถ้าคำกล่าวขอบคุณของเรายาวเกินไป ส่วนที่สำคัญที่สุดของคำกล่าวคือการแสดงการขอบคุณ ส่วนที่เหลืออาจตัดออกไปก็ได้ ถ้าเห็นว่าไม่จำเป็น
  3. ถ้าเราไม่ใช่คนที่ชอบพูดต่อหน้าผู้คนมากมาย พยายามฝึกพูดต่อหน้าคนสักคนหรือคนสักกลุ่มหนึ่งเพื่อลดความประหม่า ฝึกพูดสักสี่ถึงห้าครั้ง หรือหลายครั้งจนกว่าจะสามารถพูดได้อย่างลื่นไหล ไม่ตื่นเต้น ประหม่า หรือวิตกกังวล เมื่อพูดจนชำนาญแล้วและเมื่อถึงเวลาขึ้นพูดจริง เราก็น่าจะตื่นเวทีน้อยลง
    • ลองฟังเสียงตอบรับจากผู้ฟัง ถามผู้ฟังว่ามีส่วนไหนที่เยิ่นเย้อเกินไปหรือเราลืมพูดส่วนไหนไป ร่วมทั้งมีส่วนไหนควรเพิ่มเติมเข้ามาด้วย
    • เราต้องฝึกต่อหน้าคนอย่างน้อยหนึ่งคน ใครก็ได้ที่เราไว้ใจและให้คำติชมการพูดของเราตามความเป็นจริง
  4. คนส่วนใหญ่จะพูดคำที่แสดงถึงความลังเล เช่น “อืม...” “เออ...” หรือ “แบบว่า...” เมื่อรู้สึกไม่มั่นใจ ฝึกตนเองให้เลิกพูดคำเหล่านี้ เวลาลังเลว่าจะพูดอะไรต่อไป ให้เงียบเพื่อคิดสักครู่ การพูดของเราจะได้ฟังดูมีพลังและลื่นไหล ไม่ตะกุกตะกัก [6]
    • บันทึกการพูดของตนเองเพื่อจะได้เลิกใช้คำเหล่านั้น ลองสังเกตว่าตนเองมักจะใช้คำ “อืม...” หรือ “เออ...” ตรงส่วนไหนบ้าง ลองฝึกพูดส่วนเหล่านี้โดยไม่ใช้คำพูด “อืม...” หรือ “เอ่อ...” ฝึกพูดแบบนี้จนกว่าเราจะพูดโดยไม่ใช้คำเหล่านั้นเลย
  5. การทำให้ผู้ฟังเห็นว่าคำขอบคุณของเราออกมาจากใจนั้นเป็นเป้าหมายสำคัญของการกล่าวขอบคุณ แต่เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ถ้าเรายังดูแข็งทื่อหรือแย่กว่านั้นคือมีท่าทีหยิ่งยโสหรือไม่เคารพผู้อื่น ฝึกท่าทางการพูดของตนเองให้เหมือนพูดคุยกับผู้อื่นตามปกติ มีการแสดงท่าทาง ยิ้ม หยุด และหัวเราะสักเล็กน้อย ใช้น้ำเสียงและคำพูดแสดงอารมณ์ความรู้สึกของเราออกมา
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

พูดต่อหน้าผู้คน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเรามักจะกระวนกระวายก่อนพูดต่อหน้าผู้คนเสมอ หาเวลาทำใจให้สงบ บางคนก็วิตกกังวลไม่ยอมหาย ถึงแม้จะเคยพูดต่อหน้าผู้คนมามากมายแค่ไหนก็ตาม โชคดีที่ยังมีวิธีการเตรียมตัวก่อนพูดที่ใช้ได้ผลจริงให้เราลองทำตามดู [7] :
    • พยายามนึกภาพตนเองกล่าวขอบคุณได้อย่างไม่ตะกุกตะกัก พูดสิ่งที่อยู่ในหัวโดยไม่สะดุด เทคนิคนี้ช่วยคลายความกังวลเมื่อต้องขึ้นพูดจริงได้
    • บางคนอาจใช้วิธีการหัวเราะก่อนที่จะพูด การหัวเราะช่วยให้อารมณ์ของเราผ่อนคลายมากขึ้น
    • ถ้าเรามีโอกาสออกกำลงกายแบบหนักมากก่อนขึ้นพูด ให้ไปออกกำลังกายเสีย จะได้คลายความวิตกกังวลลง
  2. [8] อย่ามัวแต่ดูกระดาษโน้ตมากนัก ให้ดูเป็นบางครั้งเพื่อจะได้รู้ว่าตนเองควรพูดเรื่องอะไรต่อไป อาจเลือกสบตาผู้ฟังสองสามคน หรือเลือกมองผู้ฟังที่นั่งตามบริเวณต่างๆ สองสามกลุ่ม ให้คอยสบตาผู้ฟังหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ระหว่างที่พูดอยู่
    • การสบตาจะช่วยให้เราส่งความรู้สึกผ่านคำพูดได้มากขึ้น ลองคิดว่าพูดอยู่กับเพื่อนดีกว่าคิดว่าพูดอยู่กับคนแปลกหน้า
    • การสบตาผู้คนฟังแต่ละคนนั้นสำคัญ เพราะเมื่อเราสบตาผู้ฟังหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ผู้ฟังจะรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาด้วย
  3. เราอาจกลัวว่าจะลืมเนื้อหาที่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงขึ้นมากล่าวขอบคุณ ลองนึกถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของเราขณะที่พูด แล้วส่งความรู้สึกอันแท้จริงที่มีต่อเกียรติซึ่งได้รับนั้นผ่านคำพูดของตนออกมาให้ผู้ฟังรับรู้ คิดถึงความมานะพยายามของเราจนกระทั่งประสบความสำเร็จและได้รับรางวัล รวมทั้งผู้คนที่คอยช่วยเหลือเราตลอดการเดินทาง ถ้าเรานึกถึงสิ่งเหล่านี้ คำพูดของเราก็จะออกมาจากใจจริง
    • ถ้ามองเห็นผู้คนที่เราต้องการขอบคุณมานั่งฟังอยู่ ขณะพูดชื่อพวกเขา ให้พยายามมองพวกเขาไว้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังขอบคุณเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งซึ่งเรารู้ว่านั่งอยู่แถวหน้า ให้เรามองเพื่อนร่วมงานคนนั้นไว้ขณะที่พูดขอบคุณเขา คำกล่าวขอบคุณของเราก็จะส่งไปถึงผู้รับแล้ว
    • อย่าอายถ้าเกิดน้ำตาไหลออกมา เวลากล่าวขอบคุณ ผู้กล่าวมักจะซาบซึ้งจนน้ำตาไหลออกมาอยู่แล้ว นี้เป็นเรื่องปกติ
  4. ใช้ถ้อยคำดีๆ ที่ทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมและรู้สึกว่า “คนคนนี้เป็นคนช่างคิดและพูดได้น่าฟัง.” การเลือกใช้ถ้อยคำให้ดีนั้นสำคัญ
  5. เมื่อกล่าวขอบคุณจบ ยิ้มให้พูดฟังและลงจากเวทีเมื่อถึงเวลา การยืนอยู่บนเวทีนานนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ เมื่อมีการขึ้นพูดรับรางวัล แต่การทำแบบนี้มักจะทำให้ผู้ฟังเบื่อและทำให้บุคคลต่อไปที่จะมาขึ้นรับรางวัลนั้นมีเวลากล่าวขอบคุณน้อยลง ฉะนั้นเมื่อหมดเวลา ค่อยๆ ลงมาจากเวทีกลับไปนั่งที่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การพูดควรมีส่วนประกอบสามส่วน นั้นคือเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวเองและเรื่องที่จะพูด ต่อด้วยการพูดเนื้อหาของเรื่อง จากนั้นก็สรุปเรื่องและจบการพูด
  • ขอบคุณผู้ฟังที่มาร่วมแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานในงานนั้น
  • ขอแนะให้ใช้บัตรคำ ดีกว่าใช้กระดาษที่เขียนคำพูดของเราทุกคำ บัตรคำจะช่วยให้เราพูดต่อหน้าผู้ฟังได้คล่องมากขึ้น
  • ฝึกพูดคนเดียวจนกระทั่งพูดได้คล่องและจึงขอให้เพื่อนที่เราไว้ใจช่วยมานั่งฟัง รับคำติชม ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสมของเนื้อหาและน้ำเสียง การเปลี่ยนจากเรื่องหนึ่งไปเป็นเรื่องต่อไป การถ่ายทอด เสียง ภาษากาย ความจริงใจ เวลาที่ใช้
  • เขียนลงไปว่ารางวัลนี้มีความหมายอะไรกับเราบ้าง อาจกล่าวถึงค่านิยม เป้าหมาย หรือความปรารถนาขององค์กรและกล่าวว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้เราอย่างไรบ้าง
โฆษณา

คำเตือน

  • การสร้างเสียงหัวเราะระหว่างพูดรับรางวัลหรือกล่าวขอบคุณนั้นเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง ถ้าเราล้อเลียนตนเองด้วยการดูถูกหรือพูดให้ตนเองดูไม่ดี จะเป็นการดูถูกหรือลดค่าขององค์กรที่ให้เกียรติเราด้วย องค์กรเห็นว่าเราเป็นบุคคลที่ควรได้รับรางวัลและเกียรติ ฉะนั้นอย่าพูดอะไรที่เป็นการดูถูกและลดค่าของตนเอง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 249,916 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา