PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ฟิล์มกันรอยจะช่วยป้องกันหน้าจออุปกรณ์ของคุณจากรอยแตกร้าว แต่หากคุณติดฟิล์มกันรอยผิดวิธีหรืออุปกรณ์วางอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม ก็อาจก่อให้เกิดมีฟองอากาศเกิดขึ้นบนแผ่นฟิล์มได้ และเมื่อคุณติดฟิล์มกันรอยลงไปแล้ว ฟองอากาศเหล่านี้จะไม่สามารถทำให้หายไปได้ง่ายๆ นอกจากคุณจะลอกฟิล์มกันรอยออกและติดลงไปใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากฟองอากาศเกิดขึ้นที่บริเวณขอบเครื่อง เพียงคุณใช้น้ำมันประกอบอาหารก็สามารถกำจัดฟองอากาศเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ติดฟิล์มกันรอยใหม่อีกครั้ง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ด้านที่คมของใบมีดสอดเข้าไปใต้ฟิล์มกันรอยมุมใดมุมหนึ่งด้วยความระมัดระวังโดยพยายามให้ใบมีดอยู่ในแนวนอนเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ใบมีดเจาะเข้าหน้าจอและขูดจนเป็นรอยได้ แผ่นฟิล์มจะเริ่มดันขึ้นมาจากหน้าจออุปกรณ์ของคุณช้าๆ และเมื่อแรงดูดระหว่างแผ่นฟิล์มกับหน้าจอลดลงแล้วจึงใช้มือลอกฟิล์มกันรอยออก [1]
    • หลีกเลี่ยงการงอเพื่อลอกฟิล์มกันรอยออกเพราะอาจทำให้แผ่นฟิล์มแตกหรือหักได้
    • ฟิล์มกันรอยโดยส่วนใหญ่จะสามารถลอกออกและติดซ้ำได้หลายครั้ง
  2. ทำความสะอาดและเช็ดหน้าจอให้แห้งด้วยผ้าไร้ขุย. เศษฝุ่นและขุยผ้าที่ติดอยู่บนหน้าจอเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฟองอากาศบนฟิล์มกันรอย ดังนั้นก่อนเริ่มติดฟิล์มกันรอยซ้ำอีกครั้ง ให้คุณใช้มุมผ้าจุ่มลงไปในแอลกอฮอล์และนำไปเช็ดให้ทั่วหน้าจอเพื่อขจัดเศษฝุ่นและขุยผ้าที่ติดอยู่ออก จากนั้นจึงเช็ดหน้าจอให้แห้งด้วยผ้าไร้ขุย [2]
    • คุณสามารถใช้แผ่นเช็ดทำความสะอาดแบบใช้แล้วทิ้งในการทำความสะอาดหน้าจอแทนได้เช่นกัน โดยคุณสามารถหาซื้อแผ่นเช็ดทำความสะอาดแบบใช้แล้วทิ้งได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ทั่วไป

    เคล็ดลับ: ควรทำการติดฟิล์มกันรอบในห้องที่สะอาดและปราศจากฝุ่น และหากกำลังเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศอยู่ ให้คุณปิดใช้งานก่อนสักครู่เพื่อป้องกันไม่ให้เศษฝุ่นฟุ้งกระจายไปทั่วห้อง

  3. ใช้เทปกาวแปะลงไปบนหน้าจอและกดเบาๆ ให้เทปกาวติดลงไปแน่น จากนั้นดึงเทปกาวออกช้าๆ เพื่อจับเศษฝุ่นหรือขุยผ้าเล็กๆ ขึ้นมาจากหน้าจอ ทำซ้ำเช่นเดียวกันนี้ให้ทั่วพื้นผิวของหน้าจอ โดยทุกครั้งให้คุณแปะเทปกาวเหลื่อมเข้าไปเล็กน้อยในบริเวณที่ทำไปแล้วเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการพลาดที่จุดใด [3]
    • คุณอาจใช้วิธีแปะเทปกาวลงไปให้ทั่วพื้นผิวหน้าจอหากคุณต้องการทำความสะอาดเศษฝุ่นทั้งหมดในครั้งเดียว
  4. กะระยะที่ขอบของฟิล์มกันรอยให้ดีเพื่อไม่ให้แผ่นฟิล์มเอียงเมื่อติดลงไป และเมื่อฟิล์มกันรอยอยู่ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ให้คุณวางทาบขอบของฟิล์มกันรอยกับหน้าจอและกดลงไปช้าๆ จากนั้นกาวที่ด้านหลังของฟิล์มกันรอยจะเริ่มติดกับหน้าจอโดยทันที [4]
    • ติดฟิล์มกันรอยในห้องที่มีความชื้น เช่น ในห้องน้ำ เพื่อลดการเกิดฟองอากาศบนแผ่นฟิล์ม
  5. เมื่อฟิล์มกันรอยเริ่มติดกับหน้าจอแล้ว ให้คุณใช้นิ้วมือหรือขอบบัตรกดลงไปบริเวณกึ่งกลางของแผ่นฟิล์มแล้วถูออกมายังขอบด้านข้างเพื่อไล่ฟองอากาศใต้แผ่นฟิล์มออกไป ทำซ้ำเช่นเดียวกันนี้ให้ทั่วหน้าจอจนกระทั่งไม่มีฟองอากาศหลงเหลืออยู่ [5]
    • หากยังคงมีฟองอากาศเหลืออยู่บนฟิล์มกันรอย ลองลอกออกแล้วติดลงไปใหม่อีกครั้งหรือเปิดใช้ฟิล์มกันรอยอันใหม่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

กำจัดฟองอากาศบริเวณขอบด้วยน้ำมัน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันพืชซึ่งเป็นตัวเลือกที่เหมาะที่สุดสำหรับใช้ในการกำจัดฟองอากาศ เทน้ำมัน 1-2 ช้อนชาลงไปในชามใบเล็กเพื่อให้ง่ายต่อการใช้ปลายก้านสำลีจุ่มลงไป จากนั้นจุ่มก้านสำลีลงไปในน้ำมันให้พอเปียกแต่ต้องไม่ชุ่มเกินไปจนน้ำมันหยดออกมา [6]
  2. ใช้ก้านสำลีถูไปตามขอบที่มีฟองอากาศเกิดขึ้น. สะบัดน้ำมันออกเล็กน้อยและใช้ก้านสำลีถูไปตามขอบฟิล์มกันรอยเพื่อให้น้ำมันซึมลงไปบางๆ ใต้แผ่นฟิล์ม น้ำมันจะช่วยกำจัดฟองอากาศและทำให้แผ่นฟิล์มติดลงไปบนหน้าจออย่างเรียบเนียน [7]

    เคล็ดลับ: หากฟองอากาศยังคงไม่หายไปแม้จะป้ายน้ำมันลงไปแล้ว ให้คุณใช้เล็บมือหรือใบมีดงัดขอบฟิล์มกันรอยขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้น้ำมันสามารถซึมลงไปใต้แผ่นฟิล์มได้

  3. กดฟิล์มกันรอยกลับลงไปและเช็ดคราบน้ำมันที่เหลือออก. เมื่อไม่มีฟองอากาศหลงเหลืออยู่ตามขอบฟิล์มกันรอยแล้ว ให้คุณกดแผ่นฟิล์มกลับลงไปให้ติดแน่นกับหน้าจอดังเดิม จากนั้นใช้กระดาษอเนกประสงค์เช็ดคราบน้ำมันที่เหลือตามขอบแผ่นฟิล์มออกให้แห้งสนิท [8]
    • ออกแรงกดลงไปตามขอบฟิล์มกันรอยเพื่อไล่น้ำมันที่ยังคงติดค้างอยู่ใต้แผ่นฟิล์มออกมาให้หมด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หน้าจอของอุปกรณ์บางชิ้นอาจมีส่วนโค้งเว้าและไม่แบนราบจนทำให้เกิดฟองอากาศไม่ว่าจะติดฟิล์มกันรอยแบบใดก็ตาม
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

ติดฟิล์มกันรอยใหม่อีกครั้ง

  • ใบมีด
  • ผ้าไร้ขุย
  • แอลกอฮอล์
  • เทปกาว
  • บัตรเครดิต

กำจัดฟองอากาศบริเวณขอบด้วยน้ำมัน

  • น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันพืช
  • จานใบเล็ก
  • ก้านสำลี
  • กระดาษอเนกประสงค์

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 105,556 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา