ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ฟิล์มกันรอยจะช่วยป้องกันหน้าจออุปกรณ์ของคุณจากรอยแตกร้าว แต่หากคุณติดฟิล์มกันรอยผิดวิธีหรืออุปกรณ์วางอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม ก็อาจก่อให้เกิดมีฟองอากาศเกิดขึ้นบนแผ่นฟิล์มได้ และเมื่อคุณติดฟิล์มกันรอยลงไปแล้ว ฟองอากาศเหล่านี้จะไม่สามารถทำให้หายไปได้ง่ายๆ นอกจากคุณจะลอกฟิล์มกันรอยออกและติดลงไปใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากฟองอากาศเกิดขึ้นที่บริเวณขอบเครื่อง เพียงคุณใช้น้ำมันประกอบอาหารก็สามารถกำจัดฟองอากาศเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ติดฟิล์มกันรอยใหม่อีกครั้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ด้านที่คมของใบมีดสอดเข้าไปใต้ฟิล์มกันรอยมุมใดมุมหนึ่งด้วยความระมัดระวังโดยพยายามให้ใบมีดอยู่ในแนวนอนเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ใบมีดเจาะเข้าหน้าจอและขูดจนเป็นรอยได้ แผ่นฟิล์มจะเริ่มดันขึ้นมาจากหน้าจออุปกรณ์ของคุณช้าๆ และเมื่อแรงดูดระหว่างแผ่นฟิล์มกับหน้าจอลดลงแล้วจึงใช้มือลอกฟิล์มกันรอยออก [1]
    • หลีกเลี่ยงการงอเพื่อลอกฟิล์มกันรอยออกเพราะอาจทำให้แผ่นฟิล์มแตกหรือหักได้
    • ฟิล์มกันรอยโดยส่วนใหญ่จะสามารถลอกออกและติดซ้ำได้หลายครั้ง
  2. ทำความสะอาดและเช็ดหน้าจอให้แห้งด้วยผ้าไร้ขุย. เศษฝุ่นและขุยผ้าที่ติดอยู่บนหน้าจอเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฟองอากาศบนฟิล์มกันรอย ดังนั้นก่อนเริ่มติดฟิล์มกันรอยซ้ำอีกครั้ง ให้คุณใช้มุมผ้าจุ่มลงไปในแอลกอฮอล์และนำไปเช็ดให้ทั่วหน้าจอเพื่อขจัดเศษฝุ่นและขุยผ้าที่ติดอยู่ออก จากนั้นจึงเช็ดหน้าจอให้แห้งด้วยผ้าไร้ขุย [2]
    • คุณสามารถใช้แผ่นเช็ดทำความสะอาดแบบใช้แล้วทิ้งในการทำความสะอาดหน้าจอแทนได้เช่นกัน โดยคุณสามารถหาซื้อแผ่นเช็ดทำความสะอาดแบบใช้แล้วทิ้งได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ทั่วไป

    เคล็ดลับ: ควรทำการติดฟิล์มกันรอบในห้องที่สะอาดและปราศจากฝุ่น และหากกำลังเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศอยู่ ให้คุณปิดใช้งานก่อนสักครู่เพื่อป้องกันไม่ให้เศษฝุ่นฟุ้งกระจายไปทั่วห้อง

  3. ใช้เทปกาวแปะลงไปบนหน้าจอและกดเบาๆ ให้เทปกาวติดลงไปแน่น จากนั้นดึงเทปกาวออกช้าๆ เพื่อจับเศษฝุ่นหรือขุยผ้าเล็กๆ ขึ้นมาจากหน้าจอ ทำซ้ำเช่นเดียวกันนี้ให้ทั่วพื้นผิวของหน้าจอ โดยทุกครั้งให้คุณแปะเทปกาวเหลื่อมเข้าไปเล็กน้อยในบริเวณที่ทำไปแล้วเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการพลาดที่จุดใด [3]
    • คุณอาจใช้วิธีแปะเทปกาวลงไปให้ทั่วพื้นผิวหน้าจอหากคุณต้องการทำความสะอาดเศษฝุ่นทั้งหมดในครั้งเดียว
  4. กะระยะที่ขอบของฟิล์มกันรอยให้ดีเพื่อไม่ให้แผ่นฟิล์มเอียงเมื่อติดลงไป และเมื่อฟิล์มกันรอยอยู่ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ให้คุณวางทาบขอบของฟิล์มกันรอยกับหน้าจอและกดลงไปช้าๆ จากนั้นกาวที่ด้านหลังของฟิล์มกันรอยจะเริ่มติดกับหน้าจอโดยทันที [4]
    • ติดฟิล์มกันรอยในห้องที่มีความชื้น เช่น ในห้องน้ำ เพื่อลดการเกิดฟองอากาศบนแผ่นฟิล์ม
  5. เมื่อฟิล์มกันรอยเริ่มติดกับหน้าจอแล้ว ให้คุณใช้นิ้วมือหรือขอบบัตรกดลงไปบริเวณกึ่งกลางของแผ่นฟิล์มแล้วถูออกมายังขอบด้านข้างเพื่อไล่ฟองอากาศใต้แผ่นฟิล์มออกไป ทำซ้ำเช่นเดียวกันนี้ให้ทั่วหน้าจอจนกระทั่งไม่มีฟองอากาศหลงเหลืออยู่ [5]
    • หากยังคงมีฟองอากาศเหลืออยู่บนฟิล์มกันรอย ลองลอกออกแล้วติดลงไปใหม่อีกครั้งหรือเปิดใช้ฟิล์มกันรอยอันใหม่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

กำจัดฟองอากาศบริเวณขอบด้วยน้ำมัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันพืชซึ่งเป็นตัวเลือกที่เหมาะที่สุดสำหรับใช้ในการกำจัดฟองอากาศ เทน้ำมัน 1-2 ช้อนชาลงไปในชามใบเล็กเพื่อให้ง่ายต่อการใช้ปลายก้านสำลีจุ่มลงไป จากนั้นจุ่มก้านสำลีลงไปในน้ำมันให้พอเปียกแต่ต้องไม่ชุ่มเกินไปจนน้ำมันหยดออกมา [6]
  2. ใช้ก้านสำลีถูไปตามขอบที่มีฟองอากาศเกิดขึ้น. สะบัดน้ำมันออกเล็กน้อยและใช้ก้านสำลีถูไปตามขอบฟิล์มกันรอยเพื่อให้น้ำมันซึมลงไปบางๆ ใต้แผ่นฟิล์ม น้ำมันจะช่วยกำจัดฟองอากาศและทำให้แผ่นฟิล์มติดลงไปบนหน้าจออย่างเรียบเนียน [7]

    เคล็ดลับ: หากฟองอากาศยังคงไม่หายไปแม้จะป้ายน้ำมันลงไปแล้ว ให้คุณใช้เล็บมือหรือใบมีดงัดขอบฟิล์มกันรอยขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้น้ำมันสามารถซึมลงไปใต้แผ่นฟิล์มได้

  3. กดฟิล์มกันรอยกลับลงไปและเช็ดคราบน้ำมันที่เหลือออก. เมื่อไม่มีฟองอากาศหลงเหลืออยู่ตามขอบฟิล์มกันรอยแล้ว ให้คุณกดแผ่นฟิล์มกลับลงไปให้ติดแน่นกับหน้าจอดังเดิม จากนั้นใช้กระดาษอเนกประสงค์เช็ดคราบน้ำมันที่เหลือตามขอบแผ่นฟิล์มออกให้แห้งสนิท [8]
    • ออกแรงกดลงไปตามขอบฟิล์มกันรอยเพื่อไล่น้ำมันที่ยังคงติดค้างอยู่ใต้แผ่นฟิล์มออกมาให้หมด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หน้าจอของอุปกรณ์บางชิ้นอาจมีส่วนโค้งเว้าและไม่แบนราบจนทำให้เกิดฟองอากาศไม่ว่าจะติดฟิล์มกันรอยแบบใดก็ตาม
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

ติดฟิล์มกันรอยใหม่อีกครั้ง

  • ใบมีด
  • ผ้าไร้ขุย
  • แอลกอฮอล์
  • เทปกาว
  • บัตรเครดิต

กำจัดฟองอากาศบริเวณขอบด้วยน้ำมัน

  • น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันพืช
  • จานใบเล็ก
  • ก้านสำลี
  • กระดาษอเนกประสงค์

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

แก้ไขเมื่อมือถือขึ้นข้อความเตือนว่าไม่มีซิม
ใช้งาน WeChat
หา PUK Code ของมือถือ
ปลดล็อคซิมโดยไม่ใช้รหัส PUK
เช็คเบอร์มือถือตัวเองจากซิม
โทรออกแบบไม่โชว์เบอร์
แก้ไขเมื่อมือถือขึ้นว่าโทรฉุกเฉินเท่านั้น
โทรเข้าเบอร์ต่อ (extension)
ค้นหา Apple Watch ที่หายไปอย่างไรเมื่อแบตเตอรี่หมด
เช็คว่ามือถือปลดล็อคเครือข่ายหรือยัง
หาเบอร์มือถือสำหรับใช้ชั่วคราว
โกงจำนวนนับก้าวในมือถือแบบไม่ต้องเดิน
เช็คผ่าน iPhone หรือ iPad ว่าอีกฝ่ายอ่านข้อความของคุณหรือยัง
ตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีบลูทูธหรือไม่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 100,091 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา