ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความพ่ายแพ้สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตทุกคน ถึงแม้อุปสรรคต่างๆ อาจทำให้รู้สึกท้อแท้และหดหู่ก็ตาม แต่การมองเห็นอะไรดีๆ ในชีวิตและการรู้จักมองความพ่ายแพ้เป็นโอกาสในการเรียนรู้จะช่วยให้เรามีกำลังใจมากขึ้นเมื่อชีวิตพบเจอกับความยากลำบาก

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เลือกมองในมุมที่ต่างออกไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นึกถึงภาพความสุขเมื่อเราได้เลื่อนตำแหน่งหรือลดน้ำหนักได้สำเร็จ จงนึกถึงแต่ผลลัพธ์ดีๆ ที่ได้จากการทำตามเป้าหมายของตนได้สำเร็จแทนที่จะท้อแท้เพราะเห็นว่าเป้าหมายนั้นอยู่ไกลเกินเอื้อม [1]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากเก็บเงินไปเที่ยวช่วงลาพักร้อน ก็ให้กำหนดจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ในการท่องเที่ยวและระดมสมองคิดหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้จำนวนเงินตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่าทำอะไรเกินกำลังตนเอง ไม่อย่างนั้นจะรู้สึกท้อใจตั้งแต่แรก เราอาจเริ่มต้นทำตามแผนด้วยการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปหนึ่งหรือสองอย่าง ขณะที่เดินหน้าเก็บเงินให้พอกับการท่องเที่ยวช่วงพักร้อน ให้นึกถึงภาพความสุขที่เราจะได้รับไปด้วย
  2. อย่าคิดถึงแต่ความล้มเหลวหรือความยากลำบาก เพราะอาจทำให้ท้อใจมาก [2] ให้นึกถึงแต่ความสำเร็จและการกระทำที่จะนำเราไปสู่การบรรลุเป้าหมาย
    • ถ้าเราพยายามลดน้ำหนักอยู่แต่มีอยู่สัปดาห์หนึ่งที่เรากินมากเกินไปและลืมออกกำลังกาย อย่าทำโทษตนเองที่พลั้งเผลอไป ลองนึกให้ออกว่าในสัปดาห์นั้นเราทำอะไรถูกบ้างแทน เช่น สามารถกลับมาทำตามเป้าหมายได้ตามเดิมในวันจันทร์ หรือได้พักร่างกายและจิตใจหนึ่งสัปดาห์ การนึกถึงอะไรที่เราทำถูกต้องเหมาะสมแทนที่จะเป็นความผิดพลาดของตนจะทำให้เรามีกำลังใจและมีความสุขมากขึ้น
  3. คนเราต่างก็ทำอะไรผิดพลาดกันได้ แต่ให้ระลึกไว้ว่าถึงแม้เราจะประสบความพ่ายแพ้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนล้มเหลว ความพ่ายแพ้เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ว่าวิธีใดได้ผลและวิธีใดไม่ได้ผลรวมทั้งนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปรับปรุงตนเอง แก้ไขจุดบกพร่อง และป้องกันไม่ให้ทำผิดพลาดซ้ำอีกในคราวหน้า
    • ถ้าเราประสบกับความพ่ายแพ้ พยายามอย่าจมปลักกับอะไรที่ไม่ดี การจมปลักอยู่กับความพ่ายแพ้จะทำให้เราท้อแท้และไม่มีกำลังใจจะทำอะไรที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ฉะนั้นพยายามมองหาสิ่งดีๆ จากความพ่ายแพ้ให้พบ
    • ตัวอย่างเช่น การตกงานอาจทำให้เรามีโอกาสหางานที่ตรงใจมากกว่าเดิมหรือกลับไปเรียนต่อ การยุติความสัมพันธ์อาจทำให้มีโอกาสหันมารักตนเองมากขึ้นและรักษามิตรภาพให้แน่นแฟ้นมากขึ้น [3]
  4. ตั้งเป้าหมายตามความเป็นจริง . เป้าหมายที่ยากเกินเอื้อมถึงจะทำให้ท้อแท้และหมดกำลังใจ ฉะนั้นจึงควรตั้งเป้าหมายที่เราอยากทำให้สำเร็จตามความเป็นจริงและสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้ในกรอบเวลาที่เหมาะสม จงระลึกไว้เสมอว่าการเดินตามเป้าหมายต้องใช้เวลาและไม่มีเป้าหมายใดสำเร็จชั่วข้ามคืน
    • แตกเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อย เราจะได้รู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นในการทำตามเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีเป้าหมายใหญ่คือการวิ่งมาราธอนปีนี้ ฉะนั้นเป้าหมายย่อยแรกที่แตกออกจากเป้าหมายใหญ่และเราต้องทำให้สำเร็จก่อนคือวิ่ง 5 กิโล
  5. การเห็นความสำเร็จเป็นรูปธรรมนั้นสำคัญ การเห็นความก้าวหน้าอย่างชัดเจนจะทำให้รู้สึกดีขึ้นและมีกำลังใจมากขึ้นที่จะเดินตามเป้าหมายต่อไป [4]
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจเขียนแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการลดน้ำหนักลงสมุดบันทึก จดไว้ว่าเราชำระหนี้บัตรเครดิตหมดไปหนึ่งใบ หรือคอยตรวจบัญชีเงินเก็บว่าเก็บเงินไปได้เท่าไรแล้ว ทุกครั้งที่มีความก้าวหน้า แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ให้จดบันทึกไว้ เราจะได้รู้ว่าตนเองเดินตามเป้าหมายมาไกลแค่ไหนแล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนทัศนคติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราจะต้องมองโลกในแง่ดีและเชื่อว่าตนเองทำได้เพื่อจะได้มีกำลังทำสิ่งที่มุ่งหวังได้สำเร็จ ถึงแม้อาจเป็นการฝืนความรู้สึก หรือเหมือน “เสแสร้งแกล้งทำก็ตาม” ในตอนแรก แต่สุดท้ายความพยายามของตนเองก็จะแสดงผลออกมาให้เห็น แทนที่จะคิดว่าเราไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ ให้เชื่อว่าเราสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ถ้าลงมือทำทีละเล็กทีละน้อยและมุ่งมั่นทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสำเร็จ [5]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากลดน้ำหนักลงไปประมาณ 23 กิโลกรัม เป้าหมายนี้อาจดูเหมือนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ถ้าเราปรับเป้าหมายใหม่ให้ทำได้ง่ายขึ้น คือนึกภาพว่าตนเองแค่ต้องลดน้ำหนักสิบครั้ง แต่ลดเพียงแค่ครั้งละสองกิโลกว่า เราก็จะมีความหวังในการบรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการมองโลกในแง่ดีและการคิดบวกเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราปรับเป้าหมายและบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด
  2. การโกรธเพราะทำอะไรผิดพลาดหรือไม่ได้รับความยุติธรรมในอดีตจะทำให้เราท้อแท้และรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณสมบัติพอ จงรู้ตัวว่าโกรธและระลึกไว้ว่าถึงแม้การรู้สึกโกรธจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความรู้สึกนี้ก็ไม่ก่อประโยชน์ใดๆ แก่เรา ละวางความโกรธแค้นในอดีตและสนใจเป้าหมายในปัจจุบันของเราก็พอ [6]
    • คนที่โกรธมักจะแสดงความรู้สึกอื่นๆ ออกมาด้วยเช่น ไม่พอใจ ไม่มั่นใจ เจ็บปวด หรือรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรม พยายามระบายความโกรธออกมาอย่างสร้างสรรค์ วิธีการดีๆ ที่จะ ควบคุมอารมณ์โกรธ ได้แก่ สูดหายใจเข้าลึกๆ และหากิจกรรมอื่นๆ ทำ [7]
    • หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ หรือการจดบันทึกก็เป็นวิธีการระบายความไม่พอใจที่ได้ผลเช่นกัน
  3. ความกลัวก็เหมือนความโกรธคือทำให้เราท้อแท้และไม่มีความสุข ถ้าเรากลัวความล้มเหลวหรือไม่เคยทำเป้าหมายที่สำคัญสำเร็จเลย เราก็จะไม่กล้าทำอะไรเลย การหาวิธีการคลายความกลัวจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะเอาชนะความกลัว สร้างกำลังใจและมีความกล้าหาญที่จะเผชิญกับความยากลำบาก การจัดการความกลัวได้จึงสำคัญเพราะเราจะสามารถ รับมือภาวะอาการวิตกกังวล ได้
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องนั่งเครื่องบินไปทำงานต่างจังหวัด แต่เรากลัวการนั่งเครื่องบิน ความกลัวนี้อาจขัดขวางไม่ให้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ วิธีเผชิญกับภาวะที่กลัวและการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมช่วยสงบความกลัวและทำให้เราคุ้นชินกับสิ่งที่เรากลัว ใช้การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมช่วยให้เราเผชิญหน้ากับความกลัวและความวิตกกังวลตรงหน้า [8]
  4. การเปรียบเทียบตนเองกับเพื่อน พี่น้อง หรือเพื่อนร่วมงานจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลและความท้อแท้ใจ เราไม่รู้หรอกว่าพวกเขาเหล่านั้นต้องผ่านความยากลำบากและความท้อแท้ใจมามากแค่ไหนถึงจะประสบความสำเร็จอย่างที่เราเห็นอยู่นี้ สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้คือพยายามทำให้ดีที่สุด ตั้งใจทำสิ่งที่เราทำได้เพื่อบรรลุเป้าหมาย อย่าเปรียบเทียบสิ่งที่เห็นอยู่ภายนอกกับผู้อื่น ไม่อย่างนั้นเราจะท้อแท้และลืมทำตามเป้าหมายของตนให้สำเร็จ [9]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สร้างกำลังใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายช่วยต่อสู้กับโรคซึมเศร้าและทำให้อารมณ์ดีขึ้น ถ้าเราเห็นว่าตนเองรู้สึกทุกข์และท้อแท้ ถ้าเป็นไปได้ พยายามหาเวลาออกกำลังกายยี่สิบนาทีทุกวัน ไปเดินเล่นหรือวิ่งเหยาะท่ามกลางอากาศที่บริสุทธิ์สดชื่นและแสงแดด [10]
  2. ถ้าเรารู้สึกท้อแท้เวลาพบอุปสรรคในการทำงาน ลองขอคำปรึกษาจากเพื่อนร่วมงานมากประสบการณ์ ผู้ให้คำปรึกษาควรเป็นคนมองโลกในแง่ดีและอยากทำงานร่วมกับเรา สร้างความสัมพันธ์กับที่ปรึกษาของเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป จงขอคำปรึกษาคนที่เราสามารถทำงานร่วมกับเขาได้ดี
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเป็นครูคนใหม่และรู้สึกว่าภาระนั้นหนักหนาเหลือเกิน ให้ถามเพื่อนร่วมงานที่ยินดีช่วยเหลือเราว่าพวกเขามีวิธีการรับมือกับความเครียดและความท้อแท้อย่างไร ความรู้และประสบการณ์ของพวกเขาจะเป็นประโยชน์สำหรับเรา นอกจากนี้ยังทำให้รู้ว่าเราไม่ใช่คนเดียวที่รู้สึกแบบนี้
  3. การบันทึกเป้าหมาย ความล้มเหลว และความรู้สึกจะช่วยให้เรารู้ถึงความก้าวหน้าของตนเอง การรู้ถึงความรู้สึกและรู้ว่าสถานการณ์ต่างๆ มีผลกระทบต่อเราอย่างไรนั้นเป็นกุญแจสำคัญต่อการหาความสมดุลและการป้องกันไม่ให้ตนเองรู้สึกท้อแท้
    • ตัวอย่างเช่น ความล้มเหลวในการทำงานทำให้เรารู้สึกท้อแท้มากเหลือเกินในสัปดาห์นี้ใช่ไหม เราทำคะแนนสอบสูงสุดในวิชาที่อุตส่าห์ทุ่มเทอ่านหนังสืออย่างหนักใช่ไหม เขียนถึงความรู้สึกที่ดีและแย่รวมทั้งประสบการณ์ลงในบันทึก
    • การเขียนบันทึกขอบคุณก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ดีเยี่ยมในการสร้างกำลังใจ เริ่มเขียนบันทึกขอบคุณและพยายามบันทึกทุกวันถึงสิ่งที่เป็นไปอย่างราบรื่นสำหรับเราหรือสิ่งที่เราอยากขอบคุณ
    • ดาวน์โหลดบันทึก หรือแอพบันทึกขอบคุณลงมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ตามแต่ที่เราสะดวก หรือจะบันทึกลงสมุดตามแบบเก่าก็ได้
  4. เมื่อเราพยายามทำอะไรสักอย่างและทำได้สำเร็จ จงฉลองในความสำเร็จนั้น! ออกไปกินอาหารมื้อพิเศษ เข้ารับบริการนวดฝ่าเท้า หรือวางแผนพักผ่อน และหาเวลาอยู่กับตนเองที่บ้าน ไม่ว่าเราจะทำเป้าหมายเล็กหรือใหญ่สำเร็จ อย่าลืมให้รางวัลตนเองด้วย [11]
  5. ถ้าเราพยายามเปลี่ยนทัศนคติตนเองอยู่เพื่อคลายความหดหู่และท้อแท้ ให้เราพยายามพบปะพูดคุยกับคนที่ให้ความคิดดีๆ และกำลังใจ อยู่กับเพื่อนที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนเรา เห็นด้วยกับการพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเราหรือยินดีที่เราทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ อย่าคบเพื่อนที่ดูถูกเป้าหมายของเราและพยายามดึงเราให้ตกต่ำ [12]
  6. ถึงแม้เราจะพยายามช่วยเหลือตนเองอย่างถึงที่สุดแล้ว แต่บางครั้งเราก็อาจต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตเพื่อจะเอาชนะความท้อแท้และความเศร้าได้สำเร็จ นักบำบัดจะช่วยเราหาสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียดและช่วยเราสร้างกำลังใจให้ตนเองได้มากทีเดียว
    • ถ้าเรารู้สึกท้อแท้มากเหลือเกินและไม่สามารถสร้างกำลังใจให้ตนเองได้เลย เข้าพบนักบำบัดเสีย นักบำบัดจะช่วยให้เรามีกำลังใจและมีทัศนคติที่ดีขึ้นได้ [13]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ามักจะรู้สึกทุกข์ใจและท้อแท้บ่อยๆ ก็อาจเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย ถ้ากลวิธีที่บทความนี้นำเสนอไปไม่สามารถช่วยได้ ให้เข้าพบผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต ถ้าจำเป็น เราอาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดและยา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,607 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา