ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เราเชื่อว่าทุกคนเคยมีประสบการณ์อกหัก การเลิกกับแฟนสร้างความเจ็บปวดให้เรามากทีเดียว ไหนจะความรู้สึกต่างๆ ที่พากันถาโถมเข้ามาไม่ยั้ง การกลับมาเข้มแข็งก็ทำได้ยากในระยะแรก แต่คุณก็สามารถใช้ความอ่อนแอในช่วงนี้ให้เป็นประโยชน์ได้นะ ด้วยการปล่อยให้ตัวเองเสียใจเต็มที่ ไม่นานหรอกคุณก็จะรู้สึกได้ว่าเวลาช่วยเยียวยาบาดแผลได้และคุณจะรู้สึกดีขึ้นและเข้มแข็งกว่าแต่ก่อนด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

บรรเทาความเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื้อเพลงเก่าได้บอกไว้ว่า “อกหักมันยาก” จริงของเขานั่นแหละ นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าความรู้สึกโดนทิ้งที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์จะไปกระตุ้นบางส่วนของสมองในลักษณะเดียวกับความเจ็บปวดทางร่างกายทีเดียว [1] เลิกกับแฟนนั้นเจ็บปวดจริงและการมีความรู้สึกแย่ๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา
    • นักจิตวิทยาได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ 98% ล้วนเจอประสบการณ์ ไม่ได้รับความรักตอบในแบบใดแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น แอบปิ๊งเขาข้างเดียวหรือเลิกแบบจบไม่สวย การตระหนักได้ว่าคุณไม่ได้เป็นคนเดียวในโลกที่เจอเรื่องนี้อาจไม่ช่วยสมานแผลใจแต่คงทำให้ยอมรับความเจ็บปวดได้ง่ายขึ้นบ้าง [2]
  2. อย่าแสร้งว่าไม่เป็นไร การปฏิเสธหรือพยายามข่มความรู้สึกเช่น โกหกตัวเองว่า “ไม่เป็นไรจริงๆ” หรือ “อกหักเรื่องเล็ก” อาจทำให้อาการแย่ขึ้นในระยะยาว คิดทบทวนความรู้สึกตัวเองให้ดีจะได้ตัดใจได้สักที [3]
    • อยากร้องไห้ก็ร้องไป การร้องไห้สามารถช่วยเยียวยาความรู้สึกแย่ๆ ได้จริง อีกทั้งยังช่วยลดความเครียด ความกังวลใจและความโกรธ รออะไรอยู่ เอาเลย หากคิดว่าร้องแล้วช่วยได้ก็คว้าทิชชู่แล้วร้องออกมาให้หมด [4]
    • แสดงความรู้สึกอย่างสร้างสรรค์ผ่านศิลปะหรือดนตรี ลองแต่งเพลงจากความรู้สึกหรือเปิดเพลงที่ทำให้คุณสบายใจ วาดรูปที่สื่อถึงสภาพจิตใจของคุณในตอนนี้ ข้อห้ามอย่างเดียวคือหลีกเลี่ยงเพลงที่เศร้าหรือสื่อถึงความโกรธแค้นมากจนเกินไป (เช่น เพลงเมทัล) ซึ่งอาจไปกระตุ้นความรู้สึกของคุณให้เศร้าและโกรธมากขึ้นไป อีก [5]
    • คุณอาจรู้สึกอยากระบายด้วยการ ต่อยอะไรสักอย่าง เขวี้ยงของให้แตก กรี๊ดให้สุดเสียงหรือตะโกน แต่ถ้าเลี่ยงได้ก็อย่าเลย ผลการวิจัยพบว่า การระบายอารมณ์ด้วยความรุนแรง แม้ว่าจะกระทำกับสิ่งไม่มีชีวิตเช่นหมอนก็สามารถทำให้คุณรู้สึกโกรธมากขึ้นได้ [6] เพื่อที่จะระบายความโกรธอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพจิต ให้เล่าความรู้สึกเหล่านี้กับตัวเองหรือคนที่รักแทน [7]
    • การระบายความรู้สึกจะง่ายขึ้นกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวที่คุณไว้ใจ หาใครสักคนที่พร้อมจะให้เราซบบ่าร้องไห้ได้อย่างสบายใจ พวกเขาคงเคยมาปรึกษาคุณบ้างเหมือนกัน ตอนนี้ก็เป็นตาเขาแล้วที่จะตอบแทนคุณ
  3. เขียนระบายความรู้สึกดีกว่าแสร้งปล่อยไว้ให้อัดอั้นตันใจเปล่าๆ การเขียนช่วยให้คุณยอมรับว่ากำลังเจ็บปวด แต่ก็จะไม่เป็นแบบนี้ตลอดไปหรอก [8] การบันทึกอารมณ์ความรู้สึกอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาจะช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกตัวเองมากขึ้น [9] [10] ก้าวแรกในการรับมือกับความโดดเดี่ยวหลังเลิกกันแฟนคือใช้เวลาสะท้อน สำรวจความคิดตัวเองให้ดี [11]
    • ใช้เวลา 20 นาทีเพื่อผ่อนคลายและเขียนความรู้สึกนึกคิดจากก้นบึ้งของหัวใจถึงความสัมพันธ์นี้เป็นเวลาติดต่อกันสัก 3 วัน ใคร่ครวญถึงประสบการณ์ต่างๆ ตอนยังคบกันอยู่ ความรู้สึกหลังเลิกหรือความกังวลว่าไม่ได้คบกันแล้ว [12]
    • เหตุผลหลักของการเลิกกันมีหลายประการรวมไปถึง การขาดอิสระ ไม่เปิดใจต่อกัน หรือความสัมพันธ์ไม่ตื่นเต้น หวานฉ่ำเหมือน “ต้องมนต์” แล้ว [13]
    • ขณะเขียน อย่ากังวลเรื่องไวยากรณ์หรือการสะกดคำ คุณเขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเพื่อให้ตัวเองอ่านเท่านั้น
  4. บันทึกความรู้สึกเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น ขั้นต่อไปให้มองย้อนกลับไปถึงสิ่งที่คุณได้เขียนและพยายามหาเหตุผลว่าทำไมคุณจึงรู้สึกอย่างที่เป็นอยู่ การพิจารณาความรู้สึกอย่างรอบคอบช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นและยังทำให้เห็นความบิดเบือนต่างๆ ที่อาจไม่ยุติธรรมต่อตัวเอง [14]
    • ยกตัวอย่างเช่น ความกลัวทั่วไปหลังจากเลิกกันแฟนคือตนไม่เป็นที่ต้องการหรือไม่คู่ควรแก่ความรัก มันง่ายมากที่จะรู้สึกว่าไม่มีใครต้องการคุณอีกแล้ว [15] นี่เป็นปฏิกริยาทั่วไป แต่คุณไม่สมควรโน้มน้าวตัวเองว่ามันคือความจริง ลองมองไปรอบๆ สิ จะเห็นว่ามีคนอีกมากที่รักคุณ แม้ว่าคนที่คุณอยากให้รักที่สุดอาจไม่สนใจคุณ (หรือรักคุณในแบบที่คุณต้องการไม่ได้) ก็ตาม
    • มองหา ประโยคที่สรุปสถานการณ์แบบเหมารวม โทษตัวเอง หรือแสดงความเชื่อว่าเยียวยาสถานการณ์ไม่ได้ งานวิจัยพบว่าความคิดเหล่านี้นำไปสู่อาการซึมเศร้าหลังอกหักอีกทั้งยังทำให้ผ่านปัญหาลำบากขึ้น [16]
    • ประโยคที่สรุปสถานการณ์แบบเหมารวม เช่น “การเลิกครั้งนี้จะทำให้ชีวิตพัง” ก็เป็นไปได้ที่จะรู้สึกเช่นนั้น แต่มันอาจไม่จริงอย่างที่รู้สึกเสมอไป ลองเปลี่ยนคำพูดให้แคบมากขึ้น “อกหักครั้งนี้เจ็บมาก แต่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิต
    • ประโยคเน้นแต่จะโทษตัวเอง เช่น “นี่เป็นความผิดของฉัน” หรือ “ถ้าฉันไม่ทำแบบนั้น เราก็อาจไม่ต้องเลิกกัน” จำให้ขึ้นใจว่า ความสัมพันธ์เป็นเรื่องของคนสองคน โอกาสที่ความผิดจะตกอยู่กับฝ่ายเดียว 100% เป็นไปได้ยากมาก โดยทั่วไปแล้วคนเราเลิกกันเพราะว่าไม่ลงรอยกัน ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำตัว “แย่” หรือ “พลาด” บอกตัวเองว่า “ความสัมพันธ์นี้ไปไม่รอดเพราะเราไม่เหมาะสมกัน ทุกคนแตกต่างกันและมีความต้องการหลากหลาย ไม่เป็นไรหรอก”
    • ประโยคที่สะท้อนความคิดว่าเยียวยาไม่ได้ “ฉันคงตัดใจจากเขา/เธอ ไม่ได้” หรือ “ไม่มีวันที่ฉันจะรู้สึกแบบนี้อีกแล้ว” เตือนตัวเองว่าความรู้สึกต่างๆ นั้นมันชั่วคราว ผู้คนเปลี่ยนแปลงได้ตลอด แผลใจก็หายได้ พยายามบอกตัวเองว่า “ฉันเจ็บมากนะตอนนี้ แต่ก็ไม่เป็นไรหรอก เพราะจะไม่เจ็บตลอดไปแน่ๆ”
  5. อกหักอาจทำลายความมั่นใจในตัวเองไปพอควร เอาใจใส่ตัวเองด้วยการพูดว่า เราก็เป็นคนที่เจ๋งนะ มีอะไรดีๆ ไว้รอคนที่ใช่เหมือนกัน เวลาความคิดด้านลบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ผุดขึ้นมา (ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น) อย่างน้อยจะได้ต่อสู้กับมันด้วยคำพูดเหล่านี้ [17]
    • ฉันคู่ควรกับความรักและการใส่ใจ ใครก็รู้
    • ฉันรู้สึกเสียใจอยู่ แต่ก็จะเสียใจไม่นานหรอก
    • ความเจ็บปวดส่วนหนึ่งเกิดจากสารเคมีในสมองซึ่งควบคุมไม่ได้
    • ความคิดและความรู้สึกตอนนี้ไม่เป็นจริงเลย
    • ฉันรักและให้เกียรติตัวเอง
  6. อาการอกหักอาจทำให้คุณคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ดังนั้นการนึกถึงข้อดีของเราเป็นเรื่องสำคัญมาก [18] ผลการวิจัยพบว่าเมื่อคุณบอกตัวเองว่าคุณนั้นคู่ควรแก่ความรัก คุณจะรับมือกับการถูกปฏิเสธได้ดีขึ้น [19] นึกถึงสิ่งเจ๋งๆ ดีและน่าสนใจเกี่ยวกับตัวคุณ เมื่อคุณรู้สึกแย่ ให้นึกถึงรายการเหล่านั้นทันที ว่าคุณเป็นคนน่าจดจำ
    • คิดถึงเรื่องที่คุณทำได้ (เอาเรื่องที่ไม่ต้องเอี่ยวแฟนเก่าที่เพิ่งเลิกกันไป) คุณชอบ ดิ่งพสุธา วาดรูป แต่งเพลง เต้นใช่มั้ย หรือคุณชอบ เดินไกลๆ หรือ ทำกับข้าวอร่อยๆ กิน นึกรายการทักษะของคุณออกมาเลย แล้วบอกตัวเองว่า คุณเข้มแข็งและมีความสามารถ
    • คิดดูว่าคุณชอบตัวเองตรงไหน คุณมียิ้มมัดใจใช่ไหม ตาถึงเรื่องแฟชั่นหรือเปล่า เตือนตัวเองไว้เสมอว่าคุณมีสิ่งดีมากมาย ความเห็นของคุณเท่านั้นที่คู่ควรแก่ความสนใจ
    • นึกถึงข้อดีของตัวเองที่ได้ยินจากคนอื่น เพื่อนๆ เคยชมไหมว่าคุณเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือเกื้อกูล คุณเป็นจุดเด่นของงานเลี้ยงหรือเปล่า คุณใช่คนช่างห่วงใยที่มักลุกให้คนอื่นนั่งบนรถเมล์หรือรถไฟฟ้าใต้ดินหรือไม่ เตือนตัวเองเสมอว่ามีคนเห็นคุณค่าของคุณเช่นกัน
  7. เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนขาดอะไรไปเมื่อเลิกกัน [20] ยื่นมือไปหาเพื่อนและคนที่คุณรักจะช่วยสมานแผลใจได้อีกทั้งยังเป็นการย้ำเตือนว่าชีวิตนี้มีคนรักเราอีกมากมาย [21]
    • ปรึกษาเพื่อน แบ่งปันเรื่องราวกับเพื่อนๆ จะถามเกี่ยวกับประสบการณ์อกหักของคนอื่นด้วยก็ได้ เพื่อนๆ จะช่วยเหลือและให้คำแนะนำ [22]
    • หากเพื่อนให้คำตอบหรือคำแนะนำใดๆ พยายามเปิดใจฟัง คุณไม่จำเป็นต้องทำตามคำแนะนำของเพื่อนเสมอไป แต่ให้ยอมรับความตั้งใจช่วยเหลือ หากสังเกตได้ว่าเพื่อนไม่ค่อยอยากคุยเรื่องอกหักอีกแล้ว อาจหมายความว่าคุณจมอยู่กับเรื่องนั้นมากเกินไป ให้เปลี่ยนเรื่องไปไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบของเพื่อนบ้าง
    • บางครั้งเพื่อนและคนใกล้ชิดอาจล้ำเส้นมากไปเพราะอยากช่วยตัดสินใจแทนหรือ “แก้ไข” ปัญหาของคุณ บางครั้งอาจมีการพูดไม่ดีเกี่ยวกับแฟนเก่าคุณ ซึ่งคุณอาจไม่ต้องการได้ยิน หากคนสนิทเริ่มถลำลึกไปไกลเกินพอดี ให้ขอบคุณเขาสำหรับความห่วงใยและพยายามแสดงให้เห็นว่าคุณจัดการกับปัญหาได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น หากเพื่อนอาสาจะไป “ต่อว่าแฟนเก่า” คุณอาจตอบว่า “ขอบใจนะที่อยากช่วย แต่เราจัดการปัญหานี้เองได้ อย่าทำแบบนี้เลยนะ”
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เข้มแข็งเข้าไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสองคนเลิกกันนั้นมีสาเหตุแน่ชัด ดังนั้นการงดติดต่อแฟนเก่าเป็นก้าวสำคัญของการรักษาแผลใจ [23] คุณอาจรู้สึกโหยหาอยากติดต่อแฟนเก่า โดยเฉพาะตอนเลิกกันแรกๆ ให้เตือนตัวเองถึงเหตุผลที่คุณเลิกกัน [24] เข้มแข็งเข้าไว้ แล้วก็อยู่ให้ห่างจากโทรศัพท์
    • ความสัมพันธ์แบบโรแมนติกกระตุ้นสมองให้หลั่งสารโดพามีน ทำให้คุณรู้สึกพอใจ เมื่อเลิกกันสมองของคุณก็ยังหลั่งสารเดิมอยู่ เหมือนยาเสพติด ไม่ว่าจะยากลำบากขนาดไหน อย่ายอมแพ้ให้แก่ความรู้สึกโหยหาไม่ก็จะผ่านปัญหาไปไม่ได้ [25] [26]
    • อย่าโทรหรือส่งข้อความหาแฟนเก่า ลบเบอร์ออกจากรายการติดต่อไปเลยถ้าจำเป็น อย่าส่งอีเมล์หรือข้อความไปหาบนโลกออนไลน์ด้วย
    • การแอบตามดูบนโลกอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องปกติที่เห็นทำกันบ่อย อย่าตามดูแฟนเก่าบนเฟสบุคหรืออินสตาแกรม คุณจะหมกมุ่นอยู่กับการเห็นภาพเขาหรือเธอกำลังชีวิตดีมีความสุข คุณเอาแต่จะคุ้ยหาร่องรอยแห่งความทรงจำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคุณและนั่นไม่ทำให้รู้สึกดีขึ้น [27] หากต้องทำจริงๆ ให้บล็อกแฟนเก่าไปเลย จะได้ไม่อยากเข้าไปตามอีก
    • อย่าเขียนเสตตัส "คลุมเครือ" เรียกร้องความสนใจบนโซเชียลมีเดีย การจมอยู่กับอดีตมีแต่จะขัดขาไม่ให้คุณก้าวไปข้างหน้า
  2. การยึดติดกับของขวัญจากแฟนเก่าหรือรูปภาพของคุณสองคนจะทำให้เยียวยาอาการอกหักช้าลงและไปต่อยาก ของเหล่านั้นอาจไปกระตุ้นให้รู้สึกเศร้า โดดเดี่ยวหรือโกรธเคืองได้ [28]
    • ลบรูปแฟนเก่าออกจากโซเชียลมีเดียให้หมด (ไม่ก็ตัดเขาหรือเธอออกไปจากรูปซะ)
    • ยับยั้งความรู้สึกอยากทำสิ่งที่เคยทำร่วมกับแฟน เช่น ฟังเพลงที่ชอบด้วยกัน หรือไปที่ๆ ชอบไปกันบ่อยๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณหมกมุ่นกับความสัมพันธ์ที่ตอนนี้ไม่มีอีกแล้ว แทนที่จะยอมให้ตัวเองเริ่มความสัมพันธ์ใหม่ (และทำให้ความสัมพันธ์เหล่านั้นแข็งแรงขึ้น)
    • ไม่ใช่เพียงสิ่งของเท่านั้นที่สามารถปลุกความทรงจำได้ แม้แต่เสียงหรือกลิ่นก็กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก ความทรงจำต่างๆ ได้ [29] สมมติว่ารู้สึกไปแล้วก็อย่าพยายามทำเป็นไม่สนใจ หรือปฏิเสธ ให้ยอมรับความรู้สึกนั้น บอกตัวเองว่า “อ๋อ กลิ่นนั้นทำให้ฉันนึกถึงวันที่เราชอบกินพิซซ่าด้วยกัน คิดถึงเนอะ” จากนั้นก็ก้าวต่อไปเลย
    • หากสิ่งของมีค่าเกินกว่าจะทิ้งไปเฉยๆ ให้บริจาคให้กับองค์กรการกุศลหรือร้านขายของมือสอง ซึ่งเป็นการบอกอีกว่านอกจากคุณจะสามารถสละ เสื้อยืด แก้วน้ำ ตุ๊กตาหมี ที่รักไป ยังสร้างพลังบวกในชีวิตของคนอื่นที่ได้ของได้อีก
  3. มันจะง่ายไปหรือเปล่าถ้ารู้สึกโกรธแล้วออกไป เจาะยางรถแฟนเก่า งัดกุญแจรถ หรือ ปาไข่ใส่บ้านเขาเนี่ย คุณอาจสร้างข่าวลือแย่ๆ แล้วปล่อยให้ลมพัดไป แต่อย่าทำเลย พฤติกรรมนี้จะทำให้คุณหมกมุ่นอยู่กับอดีตแทนที่จะตั้งสติคิดว่าจะสมานอาการอกหักอย่างไร คุณอาจเสียเพื่อนบางคนไปบ้าง แต่ก็ช่างมันเถอะ
    • คนกว่าครึ่งตามส่องแฟนเก่าสักทางหนึ่งหลังเลิกกัน มีตั้งแต่ โทรหาโดยที่เขาไม่ต้องการบ้างล่ะ หรือขู่จะทำลายข้าวของ แคร์รี่ อันเดอร์วูด นักร้องคนดัง อาจทำให้เรารู้สึกว่าการกระทำเหล่านี้ช่างน่าสนุก แต่พฤติกรรมดังกล่าวจะทำให้อาการอกหักหายยากกว่าเดิม [30]
    • การสะกดรอยตามและพฤติกรรมทำลายข้าวของยังผิดกฎหมายอีกด้วย แฟนเก่าคุณมีค่าขนาดจะยอมเสียประวัติโดนตำรวจออกหมายจับเลยเหรอ ไม่ดีมั้ง
  4. หลังจากเลิกกัน เป็นเรื่องปกติที่คุณอาจอยากเปลี่ยนทรงผม หรือย้อมสี หรือ ไปสักตัวซะเลย สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เรารู้สึกว่า เราได้เปลี่ยนตัวตนเป็นคนใหม่ เป็นคนที่ไม่เคยมีความสัมพันธ์แย่ๆ แต่จำไว้เสมอว่า สารเคมีในสมองกำลังถูกทดแทนใหม่อยู่ระหว่างเลิกกันและความสามารถในการตัดสินใจ ณ ตอนนี้ก็ไม่สมบูรณ์เท่าไหร่ [31]
    • ปล่อยเวลาให้ผ่านไปบ้าง หาก 2-3 เดือนผ่านไปแล้วยังอยากสักลายนั้นอยู่เพราะมันสื่อถึงอะไรที่สำคัญ ก็ทำเลย
  5. การให้เรื่องอื่นมาดึงความสนใจก็แก้ปัญหาได้ชั่วคราวเท่านั้น แต่ก็สามารถช่วยให้จิตใจไม่ว้าวุ่นกับความเจ็บปวดหลังเลิกกันได้ [32] พยายามทำให้ตัวเองยุ่งกับสิ่งที่ชอบเข้าไว้ หากสิ่งเหล่านั้นใหม่และน่าตื่นเต้นด้วยจะทำให้คุณตระหนักได้ว่าชีวิตไม่ได้จบสิ้นเสียหน่อย
    • อ่านซีรี่ย์ที่อยากอ่านตั้งนานแต่ไม่มีโอกาส เข้าร่วมกลุ่มนักอ่านจะได้คุยกับคนอื่นด้วย
    • ลงเรียนอะไรสักอย่าง เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หางานอดิเรกใหม่ทำ การเรียนรู้ทักษะใหม่จะเตือนใจคุณว่า คุณสามารถเจริญก้าวหน้าและทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จได้
    • ไปคุยกับคนที่อยากคุยด้วยมานานหลายเดือนแล้วแต่ไม่มีโอกาสสักที เตือนตัวเองว่ามีคนที่คุณรักและพร้อมจะช่วยเหลือห้อมล้อมอยู่ตลอดเวลาแหละ
  6. การออกกำลังกายเป็นทางเลือกที่ดีเพราะจะช่วยระบายความรู้สึกอึดอัดและความเจ็บปวด การออกกำลังกายทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน สารเคมีในสมองเหล่านี้ทำให้คุณมีความสุข ออกกำลังกายตามอัตราปกติหรือปานกลางช่วยให้คุณต่อสู้กับความกังวลใจและความเศร้าได้ [33] ตั้งเป้าออกกำลังกายให้ได้ 30 นาทีต่อวันเพื่อเปิดรับความรู้สึกดีๆ
    • หากจัดการตารางได้ไม่ลงตัว ให้ลองปรับดู ลองหาการออกกำลังกายแบบเข้มข้นสูงดู เพราะใช้เวลาเป็นช่วงๆ แค่ 15 นาทีเท่านั้น ไม่ก็ลองแบ่งออกกำลังกายแค่เช้ากับเย็นจะได้ไม่ต้องใช้เวลามากในทีเดียว
    • ลองพยายามทำสิ่งที่ง่ายกว่าดู เช่น จอดรถให้ไกลจากทางเข้าอาคารมากขึ้นหรือล้างรถเองด้วยมือ
    • อย่ามองการออกกำลังกายเป็นการ “ซ่อมแซม” ตนเอง นี่เป็นมุมมองที่ไม่ดีต่อสุขภาพจิตและยังก่อให้เกิดแนวคิดบิดเบือนต่อภาพลักษณ์ของร่างกายและปัญหาทางจิตอื่นๆ ออกกำลังกายเพราะคุณคิดว่ามันดีกับสุขภาพกายและจิต ไม่ใช่ว่า “ต้อง” ออกกำลังกายเพื่อให้เป็นที่ดึงดูดใจต่อผู้อื่น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รู้จักพัฒนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาจฟังดูแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเลิกกันหมาดๆ แผลยังสดอยู่ อย่างไรก็ตามการมีความสุขเป็นยาดีต่อสมอง อีกทั้งยังช่วยขจัดความรู้สึกโกรธและเสริมสร้างความคิดด้านบวกอีกด้วย [34] ออกไปข้างนอกกับเพื่อน ไปดูหนัง เต้นดิสโก ร้องคาราโอเกะ ทำสิ่งที่ชอบและผ่อนคลายสักนิด คุณจะรู้สึกดีขึ้น
    • การหัวเราะเป็นยาทีดีที่สุด เวลาเราหัวเราะร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารตามธรรมชาติที่ทำให้อารมณ์ดี การหัวเราะช่วยให้ร่างกายสามารถต้านทานความเจ็บปวดอย่างได้ผลมากขึ้น [35]
  2. “รักษาด้วยการชอปปิ้ง” อาจดีต่อคุณ ถ้ารู้จักทำอย่างชาญฉลาดนะ ผลการวิจัยพบว่าเมื่อคุณออกไปจับจ่ายซื้อของหลังจากรู้สึกถูกทิ้ง คุณจะประเมินว่าของที่ซื้อจะเอาไปใช้กับชีวิตใหม่อย่างไร การซื้อเสื้อผ้าที่เพิ่มความมั่นใจในตัวเองหรือซื้อเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่มาวางแทนของแฟนเก่าที่คุณไม่ชอบจะช่วยรักษาแผลใจได้ [36]
    • จำไว้ว่า อย่าใช้จ่ายเพื่อปกปิดความเศร้า อย่าเข้าร้านขายของไปพร้อมกับบัตรเครดิต ไม่งั้นคุณอาจต้องกุมขมับเมื่อใบเรียกเก็บเงินมาแทน ยอมให้ตัวเองซื้อพอหอมปากหอมคอเท่านั้น
  3. เปลี่ยนจุดสนใจจากตัวเองไปที่อื่นช่วยลดอาการหมกมุ่น “คิดวนในอ่าง” ซึ่งเตือนให้คุณนึกถึงแต่เรื่องแย่ๆ เพียงอย่างเดียว [37] ผลการวิจัยพบว่าการแสดงความอ่อนโยน เห็นอกเห็นใจผู้อื่นช่วยเสริมสร้างอารมณ์และก่อให้เกิด “ผลกระทบต่อคนรอบตัว” ที่เปี่ยมไปด้วยความเห็นอกเห็นใจ [38] [39] ก้าวออกไปทำงานและเป็นพลเมืองที่ดีกว่าเคย
    • ทำงานจิตอาสาเป็นอีกทางเลือกที่น่าสน ลองดูว่ามี โบสถ์ โรงเรียน หรือ องค์กรอาสาสมัครในชุมชนเปิดรับอาสาสมัครให้ไปสร้างความเปลี่ยนแปลงไหม
    • การช่วยเหลือคนอื่นช่วยให้รู้สึกมีเป้าหมายในชีวิต ผลการวิจัยพบว่าหากคุณได้มีส่วนร่วมกับสิ่งที่เชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่านิยมในตัวบุคคล คุณจะรู้สึกว่าได้เป็นส่วนที่แตกต่างของโลกนี้ [40]
  4. แค่เขาหรือเธอเลิกกับคุณหรือไม่ต้องการคุณกลับเข้ามาในชีวิตไม่ได้แปลว่าคุณไร้ค่า มีคนอีกมากมายที่ต้องการคุณ และอยากปฏิบัติต่อคุณดีกว่าแฟนเก่า หาสิ่งที่ทำให้คุณยิ้มและหัวเราะ อยู่กับเพื่อนและคนที่ใส่ใจคุณ จะรู้สึกดีขึ้นแน่นอน
    • ท้ายสุดแล้ว ความสุขนำไปสู่ความสำเร็จ [41] ยิ่งคุณมีความสุขมากเท่าไหร่ คุณจะสามารถดึงพลังบวกมาเสริมสร้างชีวิตได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าแน่นอน
    • มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะถูก “ชักจูงทางอารมณ์” ได้ง่าย หรือรับอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นมา หากคุณอยู่กับคนคิดบวก ก็มีแนวโน้มว่าจะรู้สึกบวกไปด้วย ในทางกลับกันหากคุณอยู่กับคนที่ขมขื่นและคิดลบ คุณก็จะรู้สึกแย่ตาม [42]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ก้าวไปข้างหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากระยะแรกของความรู้สึกช็อกและเศร้าได้ผ่านไปแล้ว คุณจะพบว่าตัวเองใจเย็นลงได้ เมื่อคุณสามารถให้อภัยแฟนเก่ากับทุกเรื่องที่เกิดขึ้น ก็เริ่มลืมได้แล้ว ไม่เป็นไร นั่นเป็นวงจรธรรมชาติ [43] จำไว้ว่าคุณให้อภัยเพื่อตัวคุณเอง ไม่ใช่เพื่อคนอื่น [44] [45]
    • อีกทางเลือกหนึ่งในการให้อภัยใครสักคนคือนึกถึงสิ่งที่คุณอยากให้อภัย รื้อฟื้นความทรงจำนั้นขึ้นมาแล้วดูว่ารู้สึกอย่างไร สังเกตความคิดของคุณเกี่ยวกับแฟนเก่าและตัวเอง [46]
    • ใคร่ครวญถึงประสบการณ์นี้ คุณสามารถเรียนรู้อะไรจากมันได้บ้าง บางทีอาจจะมีสิ่งที่คุณควรทำในท่าทีที่ต่างออกไป บางทีคุณอาจหวังให้เขาปฏิบัติตัวแบบอื่น คุณจะมองไปในอนาคตอย่างไร คุณจะใช้ประสบการณ์นี้ทำให้ตัวเองเติบโตอย่างไร
    • จำไว้ว่าการให้อภัยไม่ใช่ข้ออ้างให้คนอื่นมาทำเรื่องแย่ๆ กับคุณได้ การให้อภัยใครสักคนไม่ได้หมายความว่าคุณต้องยอมรับการกระทำของเขาหรือเป็นการบอกว่าสิ่งที่เขาหรือเธอก่อเอาไว้นั้น “ถูกต้อง” แต่มันหมายความว่าคุณพร้อมจะยกภาระความโกรธออกจากบ่าต่างหาก การให้อภัยทำให้คุณเป็นอิสระ
    • เตือนตัวเองไว้ว่าคุณไม่สามารถควบคุมการกระทำของคนอื่นได้ สิ่งที่คุณคุมได้มีแค่การกระทำและปฏิกิริยาของคุณเท่านั้น
    • บอกตัวเองว่าคุณให้อภัยความผิดของเขาหรือเธอ จำไว้ว่าอาจใช้เวลานานในการให้อภัยได้ทั้งหมด ไม่เป็นไร ค่อยๆ ทำไปทีละนิด
  2. ในขณะนี้คุณกำลังจมอยู่กับอดีต ทำไมยังทำอีกล่ะ คุณไม่สามารถเปลี่ยนอดีตได้แล้ว จมอยู่กับอดีตไม่ทำให้อนาคตดีขึ้น มาลองคิดถึงอนาคตจะดีกว่าไหม การทำแบบนี้จะทำให้คิดบวกง่ายขึ้นมาก ใช้เวลาครุ่นคิดว่าคุณได้เรียนรู้อะไรจากอดีตจากนั้นมานั่งวางแผนอนาคตดีกว่า [47]
    • ใช้เวลานี้คิดถึงบทเรียนจากความสัมพันธ์เก่าที่จะจำไว้เตือนใจในอนาคต สิ่งใดที่คุณต้องเปลี่ยนแปลง [48] ทำรายการสิ่งที่คุณได้ประจักษ์แล้วว่าไม่ดีกับความสัมพันธ์แน่นอนและสิ่งดีๆ ที่ทำให้ความสัมพันธ์รุดหน้า จากนั้นเขียนว่าคุณคาดหวังว่าจะได้แฟนใหม่แบบไหน เขาหรือเธอควรเป็นคนอย่างไร รูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัยเป็นอย่างไร และข้อมูลอื่นๆ
    • พิจารณาดูว่าคุณเห็นรูปแบบในความสัมพันธ์เก่าๆ หรือไม่ บางครั้งคนเราก็ตกหลุมรักคนที่ไม่เหมาะสมกับตนซ้ำซากอยู่นั่น สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลหลายประการณ์ เช่น ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ในวัยเด็ก [49] สำรวจดูว่ามีคนประเภทไหนที่ไม่น่าจะไปกันรอด แล้วก็หาทางออกทางรูปแบบจำเจนี้เสียในครั้งหน้า
    • ให้ความสัมพันธ์นี้เป็นบทเรียนสอนใจ อกหักมันเจ็บและห่วยแตก แต่ก็สามารถทำให้คุณเป็นคนเข้มแข็ง มีความมั่นใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้นถ้าคุณยอมให้ประสบการณ์สอน มองหาสิ่งที่คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองและความต้องการของตัวเอง [50] อะไรที่คุณเพิ่งรู้ว่าเกี่ยวกับตัวเอง ที่ไม่เคยรู้มาก่อน [51]
  3. เมื่อเราจริงจังกับความสัมพันธ์ เรามักจะเป็นครึ่งหนึ่งของอีกคนแทนที่จะเป็นตัวเราอย่างเต็มที่ สิ่งนี้ทำให้อกหักเป็นเรื่องยากเย็น แต่เมื่อคุณเป็นอิสระจากมันแล้วคุณก็สามารถค้นหาตัวเองได้อีกครั้งหนึ่ง คุณสามารถใช้เวลาทำสิ่งที่รักได้โดยไม่ต้องมีคนอื่นมาขัดหรือแสดงความเห็นขัดแย้ง ใช้เวลาคิดถึงคุณค่าของ คุณ เองและตัวตนที่แท้จริงว่า คุณ อยากเป็นอะไร [52]
    • เมื่อคุณอยู่ในความสัมพันธ์ คุณอาจรอมชอมบ้าง ลืมตัวเองบ้าง แต่นี่เป็นเวลาที่คุณจะ ไม่ มีข้อแม้ใดๆ กับทุกเรื่องและฟังตัวเองอย่างเต็มที่สักที กินปลาร้ากับพิซซ่าถ้าชอบ นอนหลับให้เต็มที่ในวันหยุด หากก่อนหน้านั้นตื่นสายไม่ได้ ต้องตื่นเช้าตลอดเพราะแฟนเก่าชอบตื่นเช้าและมีแผนไปไหนมาไหนเสมอ ใส่ชุดโปรดที่แฟนเก่าไม่ชอบ แขวนโปสเตอร์ศิลปะที่แฟนเก่าไม่ชอบ ฟังเพลงที่แฟนเก่าไม่ชอบ สิ่งเหล่านี้ทำให้คุณกลับมาเป็นตัวเองได้อีกครั้ง ซึ่งช่วยสร้างแนวคิดว่าคุณเป็นปัจเจกบุคคลแทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งของใครอีกคน
    • อะไรที่คุณต้องสละไปเมื่อเริ่มคบกันแฟน มิตรภาพหรือเปล่า งานอดิเรกใช่ไหม คุณลงทุนเสียเวลาไปเท่าไหร่กับคนนี้ คิดให้ดีว่าคุณได้เสียอะไรไป สิ่งนี้ยังรอคอยให้คุณกลับไปทำหรือไม่ ก็มีโอกาสนะ
  4. เป็นเรื่องง่ายที่เราจะซ่อนตัวอยู่หลังมุมสบายเนื่องจาก มันสบายนั่นแหละ อย่างไรก็ตามมันก็ยากที่จะก้าวไปข้างหน้าหากยังปิดกั้นตัวเองจากความท้าทายในชีวิต [53] ใช้โอกาสนี้เสี่ยงลองทำสิ่งที่อยากทำดู
    • สบายมากเกินไปจะทำให้แรงบันดาลใจหดหาย เนื่องจากคุณอาจรู้สึกสบายเกินไปหลังจากเลิกกันแฟน ใช้ความรู้สึกนิ่งๆ นี้ให้เป็นประโยชน์สิ ใช้มันเปลี่ยนแปลงบางส่วนของชีวิตที่ต้องใช้พลังขับเคลื่อน [54]
    • เรียนรู้ที่จะก้าวข้ามมุมสบายของตัวเองมีประโยชน์อีกเยอะ เช่น การเสี่ยงทำอะไรสักอย่าง (อย่างมีเหตุผล) ทำให้เรายอมรับความอ่อนแอและสิ่งไม่คาดคิดว่าเป็นสัจธรรมของชีวิตได้มากขึ้น เมื่อคุณยอมรับได้แล้วมันก็ง่ายที่จะยอมรับสิ่งที่มองไม่เห็นในอนาคต [55]
    • อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าคุณต้องไปเล่นกีฬาผาดโผนทั้งๆ ที่ไม่ได้รับการฝึกอย่างเหมาะสม หรือตัดสินใจย้ายไปอยู่ต่างประเทศโดยไม่มีความรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ เลย เริ่มจากความท้าทายที่เล็กกว่าก่อนแล้วค่อยไต่ไปทำสิ่งที่ยากขึ้น [56]
    • คิดเสียว่าคุณสมควรได้รับอิสระนี้ คุณยังไปโรงเรียนได้ ย้ายไปอยู่ที่อื่น หรือเลี้ยงแมวตามที่คุณต้องการ คุณสามารถใช้คืนวันศุกร์ไปเรียนศิลปะที่อยากเรียนมาตลอด หากมีความฝันใดที่คุณอยากทำให้สำเร็จ ช่วงนี้แหละเป็นเวลาที่เหมาะสม
  5. คุณกำลังอกหักตอนนี้ แต่คุณจะหายอกหักเร็วๆ นี้ ถึงจะฟังดูซ้ำซาก แต่ความซ้ำซากก็มีข้อดีนะ เวลาช่วยรักษาเราได้จริงๆ คุณต้องใช้เวลาปรับความคิดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ แม้ว่าขณะนี้อาจรู้สึกลำบากใจที่จะคิดว่าแฟนได้กลายเป็นความทรงจำไปแล้ว หลังจากนั้น เขาหรือเธออาจเป็นความทรงจำที่คุณจะรู้สึกขอบคุณที่มันเกิดขึ้น คนเราไม่จางหายไปกับความทรงจำในทันทีหรอก ดังนั้นอย่ากดดันตัวเองหากรู้สึกว่าไม่หายเศร้าสักที เป็นเรื่องธรรมชาติ จงเชื่อว่ามันจะหายในที่สุด [57]
    • ประเด็นหลักคือ เมื่อมันผ่านไปแล้วคุณก็แทบจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ คุณจะตื่นขึ้นมาวันหนึ่งแล้วตระหนักได้ว่า คุณไม่ได้นึกถึงแฟนเก่าเป็นอาทิตย์แล้วนี่นา มันจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยที่คุณไม่รู้สึกอะไรเลย ดังนั้นหากคุณคิดว่ามันจะไม่เกิดขึ้นละก็ มันจะเกิดแน่อย่างที่เป็นเสมอมา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สร้างรายการเพลงที่เป็นแรงบันดาลใจให้คุณ รวมไปถึงเพลงที่สร้างความมั่นใจและเข้มแข็ง เมื่อคุณเริ่มรู้สึกไม่เห็นทางออกหรือโดดเดี่ยว เริ่มเล่นรายการเพลงนี้เพื่อปรับอารมณ์
  • อย่าลืมที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เป็นเรื่องดีที่คุณจะก้าวไปข้างหน้าและรักสิ่งที่เป็นตัวคุณจริงๆ ใช้เวลาให้มากขึ้นกับคนที่คู่ควร ครอบครัวและเพื่อนสนิท
  • อย่าหมกมุ่นอยู่กับอดีตและทำให้ชีวิตดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ทำตัวสบายๆ ผ่อนคลาย ฟังเพลงดีๆ เพื่อเบนความสนใจจากอาการอกหัก
  • หากคุณรู้สึกอยากเปลี่ยนรูปลักษณ์ เอาให้แน่ใจว่า สิ่งเหล่านั้นจะไม่อยู่อย่างถาวร เช่น ใช้สีย้อมผมที่จางได้ในสองสามอาทิตย์หรืออาจจะใช้ที่ติดผมสีๆ แทน
  • ทำตัวให้ยุ่งอยู่เสมอ อยู่กับเพื่อนจะดีที่สุด พยายามเบนความสนใจตัวเองและเลือกคนปรึกษาให้เหมาะสมหากอยากพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ของคุณ คุณไม่ต้องทำให้ทุกคนในโลกพอใจด้วยการเล่าให้ฟังว่า คุณเลิกกับเขาทำไม เพราะอะไร เลือกคนที่คุณจะเปิดเผยความอ่อนแอทุกอย่างด้วย คุณไม่จำเป็นต้องทำให้ทุกคนพอใจ
  • อย่ายึดติดกับอดีตจนทำลายอนาคตตัวเอง คุณอาจพยายามปล่อยวางและลืมสิ่งต่างๆ ไปบ้างหากมันทำให้คุณเสียใจ โศกเศร้าและเสียสมาธิ
โฆษณา

คำเตือน

  • การพยายามเป็น "แค่เพื่อน" เป็นวิธีที่ไม่ควรทำอย่างร้ายแรง การยอมรับว่าความสัมพันธ์ของคุณได้สิ้นสุดลงแล้วเป็นก้าวแรกหลังจากเลิกกัน และหากคุณไม่ตระหนักความจริงข้อนี้ จะไปต่อยากมาก ตอนนี้เป็นเวลาของการเริ่มต้นใหม่ ไม่ใช่หวังจะคืนดี แน่ละว่าอาจมีโอกาสที่คุณสองคนจะกลับมาคบกันอีก แต่อย่าลืมว่า แม้แต่การได้คนรักกลับคืนมาก็ต้องเริ่มจากก้าวแรกก่อน พักจากความสัมพันธ์ซะ อาจจะเป็นการพักยาวๆ หนึ่งหรือสองปี ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาสานสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนจนกว่าจะเลิกชอบอีกฝ่ายแบบนั้นได้อย่างสิ้นเชิง จนกว่าคุณจะรู้สึกรับได้ถ้าเขาหรือเธอไปคบคนอื่น
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

  1. Lepore, S. J., & Greenberg, M. A. (2002). Mending broken hearts: Effects of expressive writing on mood, cognitive processing, social adjustment and health following a relationship breakup. Psychology and Health, 17(5), 547-560.
  2. Rokach, A. (1990). Surviving and coping with loneliness. The Journal of Psychology, 124(1), 39-54.
  3. Lepore, S. J., & Greenberg, M. A. (2002). Mending broken hearts: Effects of expressive writing on mood, cognitive processing, social adjustment and health following a relationship breakup. Psychology and Health, 17(5), 547-560.
  4. Baxter, L. A. (1986). Gender differences in the hetero-sexual relationship rules embedded in break-up accounts. Journal of Social and Personal Relationships,3(3), 289-306.
  5. http://teenshealth.org/teen/your_mind/emotions/rejection.html#
  6. https://www.psychologytoday.com/articles/201012/the-thoroughly-modern-guide-breakups
  7. http://www.healthline.com/health/depression/after-break-up
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/laugh-cry-live/201208/coping-distress-and-agony-after-break
  9. Bourgeois, K. S., & Leary, M. R. (2001). Coping with rejection: Derogating those who choose us last. Motivation and Emotion, 25(2), 101-111.
  10. http://www.huffingtonpost.com/2014/03/13/rejection-coping-methods-research_n_4919538.html
  11. http://www.apa.org/monitor/2012/04/rejection.aspx
  12. Rokach, A. (1990). Surviving and coping with loneliness. The Journal of Psychology, 124(1), 39-54.
  13. Locker Jr, L., McIntosh, W. D., Hackney, A. A., Wilson, J. H., & Wiegand, K. E. (2010). The breakup of romantic relationships: Situational predictors of perception of recovery. North American Journal of Psychology, 12(3), 565.
  14. Locker Jr, L., McIntosh, W. D., Hackney, A. A., Wilson, J. H., & Wiegand, K. E. (2010). The breakup of romantic relationships: Situational predictors of perception of recovery. North American Journal of Psychology, 12(3), 565.
  15. https://www.psychologytoday.com/blog/getting-back-out-there/201506/when-the-person-you-love-doesnt-love-you
  16. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/this_is_your_brain_on_heartbreak
  17. https://www.psychologytoday.com/blog/thriving101/201012/rejection-losers-guide
  18. Marshall, T. C. (2012). Facebook surveillance of former romantic partners: associations with postbreakup recovery and personal growth. Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 15(10), 521-526.
  19. https://www.psychologytoday.com/blog/laugh-cry-live/201208/coping-distress-and-agony-after-break
  20. https://www.psychologytoday.com/blog/intense-emotions-and-strong-feelings/201203/emotional-memories-when-people-and-events-remain
  21. Davis, K. E., Ace, A., & Andra, M. (2000). Stalking perpetrators and psychological maltreatment of partners: Anger-jealousy, attachment insecurity, need for control, and break-up context. Violence and Victims, 15(4), 407-425.
  22. http://www.healthline.com/health/depression/after-break-up
  23. http://io9.com/5983273/how-to-fall-out-of-love-with-somebody
  24. http://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/exercise-and-depression-report-excerpt
  25. https://www.psychologytoday.com/blog/the-squeaky-wheel/201307/10-surprising-facts-about-rejection
  26. http://www.nytimes.com/2011/09/14/science/14laughter.html?_r=0
  27. http://business.time.com/2013/04/16/is-retail-therapy-for-real-5-ways-shopping-is-actually-good-for-you/
  28. Saffrey, C., & Ehrenberg, M. (2007). When thinking hurts: Attachment, rumination, and postrelationship adjustment. Personal Relationships, 14(3), 351-368.
  29. http://greatergood.berkeley.edu/topic/compassion/definition#why_practice
  30. http://www.helpguide.org/articles/work-career/volunteering-and-its-surprising-benefits.htm
  31. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/12/22/how-giving-makes-us-happy/
  32. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/12/02/does-success-lead-to-happiness/
  33. http://asq.sagepub.com/content/47/4/644.short
  34. Lepore, S. J., & Greenberg, M. A. (2002). Mending broken hearts: Effects of expressive writing on mood, cognitive processing, social adjustment and health following a relationship breakup. Psychology and Health, 17(5), 547-560.
  35. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/nine_steps_to_forgiveness
  36. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/the_new_science_of_forgiveness
  37. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/overcome_barriers_forgiveness
  38. Saffrey, C., & Ehrenberg, M. (2007). When thinking hurts: Attachment, rumination, and postrelationship adjustment. Personal Relationships, 14(3), 351-368.
  39. http://www.scientificamerican.com/article/how-does-the-brain-react-to-a-romantic-breakup/
  40. https://www.psychologytoday.com/blog/the-couch/201502/6-ways-get-past-the-pain-unrequited-love
  41. http://tinybuddha.com/blog/dealing-with-a-break-up-and-learning-from-the-experience/
  42. http://www.uwosh.edu/couns_center/self-help/relationships/coping-with-a-break-up
  43. https://www.psychologytoday.com/blog/communication-success/201301/the-break-cure-7-ways-heal-find-happiness-again
  44. http://psychclassics.yorku.ca/Yerkes/Law/
  45. http://www.psychologytoday.com/blog/confessions-techie/201101/comfort-kills
  46. http://www.nytimes.com/2011/02/12/your-money/12shortcuts.html?pagewanted=all&_r=1
  47. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/02/19/7-tips-to-avoid-personalizing-rejection/
  48. https://www.psychologytoday.com/blog/the-squeaky-wheel/201307/10-surprising-facts-about-rejection

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 211,136 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา