ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Microsoft Word [1] เป็นโปรแกรมจัดทำเอกสาร word ที่คนนิยมใช้กันมากที่สุด แต่จะใช้ฟอร์แมตไหนนั้น ก็แล้วแต่ประเภทเอกสารของคุณ เช่น เอกสารทางกฎหมาย เอกสารทางการ หรือเอกสารส่วนตัว ถ้าใช้ Microsoft Word จัดทำเอกสาร จะมี guideline ช่วยจัดฟอร์แมตให้สะดวกรวดเร็ว โดยใช้ tools หรือเครื่องมือต่างๆ ในโปรแกรม Word ถ้าเป็นมือใหม่หัดใช้ Microsoft Word ก็ไม่ต้องเครียดไป เพราะบทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการจัดฟอร์แมตเอกสารให้คุณเอง อ่านแป๊บเดียวก็จัดได้แบบมือโปร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

จัดฟอร์แมต Layout ของเอกสาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นแรกคือต้องรู้จักและทำความคุ้นเคยกับเมนูต่างๆ และ formatting tools หรือเครื่องมือสำหรับจัดฟอร์แมตเอกสารซะก่อน บางทีก็ต้องเปิดใช้ (enable) tools ใน tool bar ก่อน ถึงจะใช้งานได้ โดยเลือก Toolbars ใน tab "View" แล้วเลือก "Standard"
    • แถบ Menu จะอยู่ด้านบนสุดของหน้าจอ จะมี File, Edit, View และเมนูสำคัญอื่นๆ ให้ได้เลือกใช้
    • Toolbar จะอยู่ล่างแถบเมนูเลย ในนั้นจะมีคำสั่งต่างๆ ที่ใช้บ่อย เช่น เซฟ พริ้นท์ และเปิดเอกสาร
    • Ribbon จะอยู่ทางด้านบนของ workspace (หน้ากระดาษ) ล่าง Toolbar โดยรวมฟีเจอร์ต่างๆ ของ Microsoft Word แบ่งเป็นหมวดหมู่ เช่น tab Home และ Layout
  2. เอกสารต่างประเภทกัน ก็จะมีการวางแนวของข้อความ (text alignments) ในเอกสารต่างกันไป คุณเลือกได้ว่าจะ align ข้อความทั้งเอกสารไปชิดซ้าย ชิดขวา หรืออยู่ตรงกลาง โดยคลิกปุ่ม Alignment ต่างๆ ในหัวข้อ Paragraph ของ Ribbon
    • ปุ่มพวกนี้จะหน้าตาเหมือนเอกสารฉบับย่อ มีเส้นดำเล็กๆ แทนเส้นบรรทัด บอกว่าปุ่มนั้นใช้จัดย่อหน้าไปด้านไหน
    • ปุ่ม align พวกนี้จะอยู่แถวๆ กลาง Ribbon ตามหลังปุ่ม Underline (ขีดเส้นใต้) และก่อนหน้าปุ่ม Bullets
  3. ปรับได้โดยคลิกปุ่ม Line and Paragraph Spacing เลือก tool นี้แล้วถ้าพิมพ์ข้อความอะไร ก็จะใช้ค่าตามที่ตั้งไว้
    • ปกติปุ่ม Line and Paragraph spacing จะอยู่ใน Ribbon หลังปุ่ม Alignment ต่างๆ ปุ่มที่ว่าจะหน้าตาเหมือนบรรทัดเรียงกัน มีลูกศรแนวตั้งทางซ้ายของเส้นชี้ขึ้นและลง
    • ถ้าจะปรับระยะห่างของบรรทัดหรือย่อหน้าที่มีอยู่แล้ว ให้ลากคลุมหรือเลือกเนื้อหานั้น แล้วคลิกปุ่ม Line and Paragraph Spacing เพื่อแก้ไข
    • คุณปรับ line and paragraph spacing ได้อีกวิธี คือคลิก tab Format ในแถบ Menu ทางด้านบนของหน้าจอ แล้วเลือก “Paragraph” จากในรายการ จากนั้นเลือกระยะห่างที่ต้องการ
    • พวกเอกสารทางการ อย่างเรียงความ (essay) ในมหาวิทยาลัย หรือ cover letter (CV) ที่ต้องใช้สมัครงาน ต้องเลือกระยะห่างแบบ double-spaced
  4. ถ้าอยากเปลี่ยนการวางแนวของเอกสาร ให้คลิก “Orientations” ในหัวข้อ Page Layout ของแถบ Menu แล้วเลือก Portrait (แนวตั้ง) หรือ Landscape (แนวนอน) จากในรายการที่ขยายลงมา
  5. ถ้าจะพริ้นท์เอกสารในกระดาษขนาดต่างๆ ให้คลิกปุ่ม “Size” แล้วเลือกขนาดกระดาษที่ต้องการจากในรายการที่ขยายลงมา
    • ขนาดของกระดาษที่เห็นในโปรแกรมจะเปลี่ยนตาม
  6. header จะมีข้อมูลที่ปรากฏในทุกหน้ากระดาษ
    • คุณตั้งค่า header ของเอกสารได้โดยดับเบิลคลิกส่วนบนสุดของหน้า แล้วช่องพิมพ์ header จะโผล่มา
    • ส่วนการปรับ footer ของเอกสาร ก็จะเหมือน header คือข้อความใน footer จะปรากฏที่ท้ายเอกสารทุกหน้า
    • คุณตั้งค่า footer ของเอกสารได้โดยดับเบิลคลิกส่วนล่างสุดของหน้า แล้วช่องพิมพ์ footer จะโผล่มา
    • คุณจัดฟอร์แมตของ header และ footer ได้โดยเลือก tab “View” ของแถบเมนู ทางด้านบนของหน้าจอ แล้วคลิก “Header and Footer” ในรายการ เพื่อเปิด header กับ footer ของหน้านั้น แล้วพิมพ์ข้อความได้เลย
  7. คลิกปุ่ม “Margins” ในหัวข้อ Page Setup ของ tab Page Layout แล้วเลือก margin จาก margin settings ที่มีในรายการที่ขยายลงมา
    • ถ้าจะกำหนด margin เอง ให้คลิก “Custom Margins” ด้านล่างสุดของรายการที่ขยายลงมา แล้วกำหนดระยะขอบเอง
  8. ถ้าอยากสร้างเอกสารที่มีฟอร์แมตแบบหนังสือพิมพ์ ให้ปรับฟอร์แมตเอกสารเป็นหลายคอลัมน์ โดยเลือก “Columns” จาก Ribbon แล้วเลือกจำนวนคอลัมน์ และกำหนดการวางแนวของคอลัมน์ จากรายการที่ขยายลงมา จะเห็นปุ่ม Columns ในแถวบนสุดของ Ribbon ปุ่มนี้ไอคอนจะเป็นสีเขียว มีสี่เหลี่ยมเล็กๆ แบ่งครึ่ง
    • ถ้าจะสร้างคอลัมน์เดียว 2 คอลัมน์ หรือ 3 คอลัมน์ ก็เลือกได้จากตัวเลือกที่มีในโปรแกรม ถ้าจะสร้างหลายคอลัมน์กว่านั้น ให้เลือก "More Columns"
    • แต่ตัวเลือกคอลัมน์นี้จะต่างจากคอลัมน์ที่ได้จากการสร้างตารางในเอกสาร
  9. ให้เลือกข้อความที่จะใส่เลขลำดับหรือ bullet แล้วคลิกปุ่ม Numbering หรือ Bullets ใน Ribbon
    • ปุ่มพวกนี้จะอยู่ติดกันใน Ribbon ตามหลังปุ่ม alignment ต่างๆ โดยปุ่ม Numbering จะมี 3 เส้นเล็กๆ ที่มีเลขลำดับอยู่ทางซ้าย ส่วนปุ่ม Bullets จะมี 3 เส้นเล็กๆ พร้อม bullet point ทางซ้าย
  10. ปกติเอกสารจะเป็นสไตล์มาตรฐานที่โปรแกรมกำหนดมา (เช่น Normal, Title, Heading 1) โดย default style คือ Normal ตัวเทมเพลตที่เอกสารใช้ (เช่น Normal.dotx) จะเป็นตัวกำหนดว่าสไตล์ไหนจะโผล่มาใน Ribbon และ tab Styles
    • ก่อนจะเลือกสไตล์เอกสารไหน จะมีสไตล์ทั้งหมดที่ใช้ได้ให้ดู พร้อมตัวอย่างว่าใช้จริงแล้วหน้าตาเป็นยังไง
    • ใน tab Home หรือ Format ของแถบ Menu ในหัวข้อ Styles ให้เลือก style แล้วคลิกสไตล์ที่ต้องการ
    • หรือคลิกปุ่ม Modify ต่างๆ ใน tab Styles เพื่อสร้างสไตล์ที่ต้องการ
    • ตามค่า default โปรแกรม Word จะใช้สไตล์ของย่อหน้า (เช่น Heading 1) เดียวกันทั้งย่อหน้า ถ้าจะกำหนดสไตล์ของย่อหน้าให้บางส่วนของย่อหน้า ให้เลือกเฉพาะบางส่วนของย่อหน้า ที่จะปรับฟอร์แมต
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

จัดฟอร์แมตฟอนต์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใน Ribbon จะมีเมนูประเภทฟอนต์และขนาดฟอนต์ ที่ขยายลงมาได้ ถ้าจะปรับแต่งข้อความไหน ก็ต้องเลือกข้อความนั้นก่อน แล้วถึงจะปรับแต่งได้ คุณเลือกได้ทั้งตัวอักษรเดียว คำเดียว หรือทั้งย่อหน้า พอเลือกข้อความแล้ว ก็ปรับแต่งฟอร์แมตได้เลย เช่น เปลี่ยนฟอนต์ ปรับขนาด และแต่งสี
    • คลิกทางซ้ายของคำแรกที่จะเลือก จากนั้นคลิกเคอร์เซอร์ค้างไว้ แล้วลากคลุมทุกคำที่จะเปลี่ยนฟอร์แมต
  2. ไปยังหัวข้อที่ขยายลงมาได้ ใน Ribbon เพื่อเลือกฟอนต์ ขนาด สี หรือเน้นคำ จะเจอปุ่ม font เป็นปุ่มแรก ทางซ้าย ติดกับปุ่ม Style ต่อมาเป็นปุ่ม size ที่ตอนแรกเป็นขนาดตามค่า default (ปกติจะเป็นฟอนต์ขนาด 12)
    • ให้คำนึงถึงจุดประสงค์และประเภทเอกสารนั้นๆ เป็นหลัก เวลาเลือกสไตล์และขนาดของฟอนต์
    • ฟอนต์มาตรฐาน (ภาษาอังกฤษ) ที่ใช้กันในรายงาน ทั้งของนักศึกษามหาวิทยาลัยและตามองค์กร คือ Time New Roman ขนาด 12
  3. นอกจากปรับสไตล์และขนาดของฟอนต์แล้ว คุณเลือกเน้นคำหรือบรรทัดในเอกสารได้ด้วย ข้างปุ่ม size จะมีปุ่ม Bold, Italics และ Underline โดยปุ่ม Bold ใช้ทำตัวหนา ไอคอนเป็นตัว B ใหญ่ ปุ่ม Italics ใช้ทำตัวเอียง ไอคอนเป็นตัว I ใหญ่เอียงๆ และปุ่ม Underline ใช้ขีดเส้นใต้ ไอคอนเป็นตัว U ใหญ่ขีดเส้นใต้
    • แค่คลิกปุ่มที่ต้องการใน Ribbon หลังเลือกฟอนต์ที่จะปรับแต่งแล้ว
  4. ถ้าจะใส่สีหรือเน้นข้อความในเอกสาร ให้เลือกส่วนนั้นของเอกสาร แล้วคลิกปุ่ม Text Highlight หรือ Font Color ใน Ribbon
    • ไปที่ด้านขวาสุดของ Ribbon แล้วจะเห็นปุ่ม Highlight ไอคอนเป็น ABC สีฟ้า ขีดเส้นใต้สีขาว ส่วนปุ่มใส่สีฟอนต์ ไอคอนจะเป็นตัว A ขีดเส้นใต้สีดำ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใส่รูปและแผนภูมิ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กะตำแหน่งที่ต้องการก่อนใส่รูป เพราะพอหย่อนรูปแล้ว จะย้ายตำแหน่งให้ได้ตามต้องการยากหน่อย ต่อไปนี้คือ 2 - 3 วิธีปรับแต่งรูปอย่างง่ายๆ
  2. text wrapping ใช้ปรับ layout ของเอกสาร ให้ข้อความล้อมกรอบรูปได้ ไม่ว่าจะวางรูปตรงไหน
    • คลิกขวาที่รูป แล้วเลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่ Wrap Text แล้วเลือกการวางแนวที่เหมาะสมกับเอกสารนั้นที่สุด จะมีตัวอย่างให้ดูตอนเลื่อนเคอร์เซอร์ไปจ่อแต่ละตัวเลือก
    • เลือกรูปแล้วกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ ระหว่างนั้นให้กดปุ่มลูกศรขยับรูปไปมาในเอกสาร
  3. คลิก tab “Insert” แล้วคลิก "Chart" พอเลือก Chart แล้ว toolbar ใหม่จะโผล่มาใน ribbon แสดงระยะต่างๆ ของแผนภูมิให้คุณเลือก ก็เลือกแผนภูมิที่ต้องการ เช่น แผนภูมิวงกลม
  4. เลื่อนไปที่หัวข้อนั้นในหน้าต่าง แล้วเลือกแผนภูมิที่ต้องการจากแผนภูมิประเภทต่างๆ เช่น “Exploded pie in 3-D”
    • คลิก “OK” เพื่อให้ Word สร้างแผนภูมินั้นในเอกสาร แล้วจะมีหน้าต่าง pop-up “Chart in Microsoft Word – Microsoft Excel” โผล่มา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าไม่ได้เขียนแบบด้นสด ย้ำว่าต้องคำนึงถึงจุดประสงค์และประเภทเอกสารเสมอ ก่อนปรับแต่งฟอร์แมต
  • นอกจากฟอร์แมตของ header, footer และ page layout (ที่มีผลกับเอกสารทั้งฉบับ) แล้ว คุณสามารถใช้ formatting tools ต่างๆ ปรับแต่งเฉพาะบางส่วนของเอกสารได้ด้วย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,168 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา