ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ราดำจะเกิดขึ้นในบริเวณอับชื้นและอับทึบ ซึ่งถ้าไม่รีบจัดการก็จะขยายตัวออกไปเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว โชคดีที่คุณสามารถทำความสะอาดมันด้วยสารทำความสะอาดอย่างน้ำยาประสานทองหรือน้ำยาฟอกขาว หรือจะใช้สารละลายจากธรรมชาติอย่างน้ำส้มสายชูหรือน้ำมันทีทรี ให้สวมถุงมือกับหน้ากากนิรภัยเวลาทำความสะอาดคราบราดำ และโยนข้าวของที่ติดราดำทั้งหมดทิ้ง ในกรณีร้ายแรงสุดๆ นั้น คุณอาจจำเป็นต้องโทรเรียกบริการของมืออาชีพมาประเมินและขจัดราดำเหล่านั้น

สารละลายจากสิ่งของภายในบ้าน

รานั้นเป็นเรื่องชวนกวนอกกวนใจ แต่มีทางเป็นไปได้มากว่าคุณจะมีสิ่งของที่จะนำมาใช้ขจัดคราบราอยู่ในบ้านเรียบร้อยแล้ว:

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำยาประสานทองหรือบอแร็กซ์เป็นผลิตภัณฑ์ราคาถูกที่คุณสามารถหาซื้อได้ในชั้นขายผลิตภัณฑ์ซักฟอกตามซูเปอร์มาร์เก็ต มันใช้ได้ผลกับพื้นผิวที่ไม่เป็นรูพรุนอย่างเช่นกระเบื้องหรือกระจก และยังได้ผลกับวัสดุที่มีพื้นผิวเป็นรูพรุนอย่างไม้อีกด้วย (ตราบเท่าที่มันไม่ได้อับชื้นมาก) เริ่มด้วยการใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีแผ่นกรองอนุภาคที่มีประสิทธิภาพสูง (HEPA) มาดูดคราบราที่หลุดร่วงออกมา เพื่อที่สปอร์ของมันจะไม่ฟุ้งกระจายไปทั้งห้อง จากนั้นขจัดคราบราตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:
    • ผสมน้ำยาประสานทอง 1 ถ้วยกับน้ำ 4 ลิตร
    • จุ่มแปรงลงในสารละลายและใช้ขัดคราบราดำออกไป
    • เช็ดบริเวณนั้นให้ปราศจากรา
    • อย่าใช้น้ำล้างบริเวณนั้น เนื่องจากน้ำยาประสานทองจะป้องกันไม่ให้สปอร์กลับมาเติบโตอีกครั้ง
  2. วิธีนี้ได้ผลกับกระจก กระเบื้อง และพื้นผิวที่ไม่เป็นรูพรุนอื่นๆ มันไม่ได้ฆ่ารา แต่การผสมสบู่กับน้ำมาใช้ขัดราออกไปก็ได้ผลเพียงพอบนพื้นผิวที่ไม่เป็นรูพรุนแล้ว
    • ผสมผงซักฟอก 1 ถ้วยกับน้ำ 4 ลิตร
    • ใช้แปรงจุ่มในสารละลายแล้วขัดคราบราออกไป
    • ล้างให้ทั่วเมื่อขัดเสร็จ
  3. แอมโมเนียใสเป็นเครื่องมือขจัดราที่ได้ผล แต่มันมีพิษจึงต้องใช้อย่างระวัง ใช้แอมโมเนียฆ่าราที่จับแน่นบนกระจกและกระเบื้อง มันใช้ไม่ค่อยได้ผลบนพื้นไม้หรือพื้นที่เป็นรูพรุน
    • ผสมสารละลายด้วยน้ำ 2 ถ้วยกับแอมโมเนียใส 2 ถ้วยมาใส่ในขวดสเปรย์
    • ฉีดลงไปบริเวณที่มีรา
    • ทิ้งไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
    • เช็ดและล้างบริเวณนั้นให้สะอาด.
  4. นี่เป็นวิธีกำจัดราดำบนพื้นผิวที่ไม่เป็นรูพรุนอย่างกระเบื้องกับกระจกอย่างได้ผลตราบที่คุณไม่ห่วงว่ามันจะเสียหรือเปล่า เนื่องจากน้ำยาฟอกขาวทำให้เกิดไอพิษ จึงต้องแน่ใจว่าบริเวณนั้นถ่ายเทอากาศได้ดี เปิดหน้าต่างและสวมถุงมือเพื่อป้องกันมือ ให้ทำดังนี้:
    • ผสมน้ำยาฟอกขาว 1 ถ้วยกับน้ำ 4 ลิตร
    • ใช้ขวดสเปรย์หรือถังกับฟองน้ำในการลงสารผสมน้ำยาฟอกขาวลงในบริเวณที่มีเชื้อรา
    • ทิ้งมันไว้สักหนึ่งชั่วโมง คุณสามารถเช็ดมันออกในภายหลังถ้าต้องการ แต่จะทิ้งไว้อย่างนั้นก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้วิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี่เป็นวิธีที่ได้ผลในพื้นผิวทุกแบบ และไม่มีพิษเลยด้วย ให้เลือกน้ำยาไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ 3% ขวดใหญ่ตามร้านขายยา แล้วทำตามต่อไปนี้:
    • เติมไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ 3% ลงไปในขวดสเปรย์
    • ฉีดบริเวณที่มีเชื้อรา
    • ทิ้งไว้ราว 20 นาที
    • เช็ดบริเวณนั้นให้สะอาด
  2. คุณสามารถใช้ฉีดบนพื้นผิวทุกชนิด มันไร้สารพิษและทำมาจากธรรมชาติ แถมฆ่าราอย่างได้ผลเพราะมันมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อราโดยธรรมชาติ [1]
    • ผสมน้ำมันทีทรี 2 ช้อนชากับน้ำ 2 ถ้วย
    • เทสารละลายลงไปในขวดสเปรย์
    • ฉีดลงไปบนบริเวณที่มีเชื้อรา
    • ไม่จำเป็นต้องเช็ดออก เพราะการทิ้งน้ำมันทีทรีไว้จะป้องกันสปอร์ไม่ให้เจริญเติบโต
  3. นี่เป็นวิธีทางธรรมชาติที่ได้ผลมาก แถมมันไร้กลิ่นอีกด้วย
    • ผสมสารสกัดจากเมล็ดเกรปฟรุต 20 หยดกับน้ำ 2 ถ้วย
    • เทสารละลายลงไปในขวดสเปรย์
    • ฉีดลงไปบนบริเวณที่มีเชื้อรา
    • ทิ้งไว้อย่างนั้นเพื่อป้องกันสปอร์ไม่ให้เจริญเติบโต
  4. น้ำส้มสายชูกลั่นสูตรเข้มข้นสามารถใช้กำจัดจุดที่เกิดคราบราฝังแน่น ในขณะที่ถ้าผสมกับน้ำอย่างละครึ่งจะใช้ในบริเวณที่ขึ้นราเบาบาง น้ำส้มสายชูเป็นสารละลายขจัดคราบราได้ผลบนพื้นผิวทุกประเภท รวมไปถึงพื้นไม้และพื้นพรม
    • เทสารละลายน้ำส้มสายชูลงไปในขวดสเปรย์
    • ฉีดลงไปบนบริเวณที่มีเชื้อรา
    • ทิ้งให้มันแห้งเพื่อทำลายเชื้อรา [2]
  5. นี่เป็นอีกวิธีทางธรรมชาติที่ได้ผลกับพื้นผิวทุกประเภท ทั้งที่เป็นรูพรุนและไม่เป็นรูพรุน
    • ผสมเบกกิ้งโซดา ¼ ช้อนชากับน้ำ 2 ถ้วย
    • เทสารละลายลงไปในขวดสเปรย์
    • ฉีดลงไปบนบริเวณที่มีเชื้อราแล้วใช้แปรงขัด
    • ล้างบริเวณนั้น
    • ใช้สารละลายเบกกิ้งโซดาลงอีกรอบเพื่อป้องกันราให้หวลกลับมา
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

กำจัดปัญหาราที่มีขนาดใหญ่โต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งอาจพบมันหลังกำแพงแห้ง ในกรอบประตู หรือใต้อ่างล้างจาน สัญญาณของการมีคราบราดำแอบซ่อนคือมีกลิ่นอับรุนแรง แผ่นไม้โก่งตัว หรือฝ้าเพดานมีสีเปลี่ยนไป
  2. ในบางกรณีการทำความสะอาดไม่พอที่จะกำจัดปัญหาและคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนมันเลยดีกว่า ประเมินความเสียหายแล้วดูว่าต้องเปลี่ยนมันไหมหากติดสปอร์เชื้อราในข้าวของต่อไปนี้:
    • กระเบื้องห้องน้ำ
    • พรมและวัสดุปูพื้นอื่นๆ
    • แผ่นปูพื้น
    • ฝ้าเพดาน
  3. นี่จะจำกัดบริเวณสปอร์ราดำไม่ให้แพร่ไปตามอากาศสู่บริเวณอื่นภายในบ้าน ปิดประตูให้สนิทแล้วใช้พลาสติกกับเทปมาปิดทับช่องลม ช่องประตูหรือบริเวณอื่นที่อากาศจะกระจายออกมาได้
    • ข้อยกเว้นเดียวคือใช้พัดลมเป่าอากาศออกไปนอกหน้าต่าง เพื่อที่สปอร์ราดำที่ฟุ้งกระจายในห้องจะถูกดันออกไปข้างนอก
  4. สวมหน้ากากกันฝุ่น และเสื้อผ้าที่ถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่ายหรือกระทั่งถอดทิ้ง สวมถุงมือยางและแว่นตานิรภัยเพื่อป้องกันดวงตา เพื่อที่เชื้อราจะไม่มาติดทางร่างกาย
  5. เวลาจะขนย้ายข้าวของที่ขึ้นรา ให้นำวัสดุที่ติดเชื้อราใส่ถุงในทันที จะช่วยไม่ให้สปอร์ราดำแพร่กระจายในอากาศ
  6. ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คุณใช้บริการการกำจัดราดำอย่างมืออาชีพหากบริเวณที่มีราดำกระจายนั้นกินพื้นที่มากกว่า 10 ตารางฟุต ถึงจุดนี้จะไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะกำจัดเชื้อราโดยใช้แค่ข้าวของภายในบ้าน [3]
  7. ขจัดแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งอาหารให้เชื้อราเพื่อป้องกันไม่ให้มันหวลกลับมา. ซ่อมท่อประปาที่รั่ว เพิ่มระบบถ่ายเทอากาศในห้องน้ำอับชื้นให้ดีขึ้น หรือติดตั้งเครื่องกรองความชื้นบริเวณห้องใต้ดินที่อับชื้น ทำห้องที่พบคราบเชื้อราให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันการก่อตัวใหม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ราดำมีพิษมากกว่าราที่ขึ้นในบ้านทุกชนิด [4] ราทุกชนิดล้วนส่งผลต่อปัญหาทางระบบหายใจ โดยเฉพาะคนที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว จึงควรขจัดราในทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • เอาน้ำมันทีทรีอยู่หางจากสัตว์เลี้ยง เพราะมันมีพิษต่อสุนัขและแมว
  • เวลาโยนพรม กระเบื้อง แผ่นไม้ หรือวัสดุอื่นที่มีคราบราดำนั้น ให้แน่ใจว่าได้ใส่มันในถุงขยะสีดำชนิดหนา ยิ่งใส่ถุงซ้อนกันจะยิ่งช่วยได้ อย่าลากถุงไปทั่วบ้าน แต่ให้เอามันออกทางหน้าต่างจะได้มั่นใจว่าไม่กระจายสปอร์ราดำไปยังส่วนอื่นของบ้าน
  • วัสดุภายในบ้านบางอย่างที่มีพื้นผิวเป็นรูพรุน อย่างเช่นพรมหรือวงกบหน้าต่างอาจยากต่อการทำความสะอาด คุณอาจเปลี่ยนมันเลยเพื่อป้องกันปัญหาสปอร์แพร่กระจายในอนาคต
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,790 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา