ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเผลอทำ iPhone ตกน้ำ เช่น ในอ่างล้างมือหรือสระว่ายน้ำ แน่นอนว่าเป็นใครก็ต้องสติแตก ถึงการพยายามแก้ไขสถานการณ์ มือถือตกน้ำ จะค่อนข้างเสี่ยง พลาดนิดเดียวก็เจ๊งได้เลย แต่ถ้ารู้วิธีการที่ถูกต้องก็ช่วยได้เยอะ ลองทำตามขั้นตอนต่างๆ ในบทความวิกิฮาวนี้ดู ถ้าโชคดี มือถือคุณน่าจะแห้งสนิทแล้วกลับมาใช้งานได้ตามปกติในที่สุด

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รับมือสถานการณ์เฉพาะหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นอะไรที่ใครก็คงทำกัน แต่ถ้ายังช็อคอยู่ให้รีบตั้งสติ แล้วหยิบมือถือขึ้นจากน้ำโดยด่วน อย่าเพิ่งสติแตก ยิ่งเอาขึ้นจากน้ำเร็วแค่ไหน ก็ยิ่งมีโอกาสกู้ชีพมือถือของคุณได้มากขึ้นเท่านั้น [1]
  2. ถ้าบังเอิญเสียบชาร์จมือถือไว้ ให้รีบถอดปลั๊กทันที ระหว่างนั้นต้องระวังให้มาก เพราะไฟจะช็อตหรือไฟดูดได้ [2]
    • จุดสำคัญคืออย่าจับแถวปลั๊ก ให้ถือมือถือไว้ในมือข้างหนึ่ง อีกมือจับสายชาร์จห่างจากขั้วไปหลายๆ นิ้วหน่อย ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติ การดึงสายชาร์จแบบนี้ออกจะเป็นวิธีต้องห้าม เพราะทำให้สายขาดง่าย แต่กรณีนี้เป็นข้อยกเว้น เพื่อป้องกันตัวคุณเองไม่ให้ถูกไฟดูด
  3. จริงๆ แล้วควรถอดแบตออกเป็นอย่างแรก แต่โชคไม่ดีที่ทำแบบนั้นกับ iPhone ไม่ได้ เพราะงั้นที่ดีรองลงมา คือรีบปิดมือถือให้เร็วที่สุด [3]
  4. ต้องใช้ปลายคลิปหนีบกระดาษหรืออุปกรณ์สำหรับถอดซิมการ์ดที่ติดมากับเครื่อง [4]
    • หาถาดใส่ซิมของ iPhone ปกติจะอยู่ทางด้านขวาของตัวเครื่อง จุดสังเกตคือมีรูเล็กๆ [5]
    • จิ้มปลายคลิปหนีบกระดาษหรืออุปกรณ์สำหรับถอดซิมการ์ดที่ติดมากับเครื่องลงไปในรู แล้วถาดใส่ซิมจะเด้งออกมา ก็เอาออกมาทั้งถาดแล้วแยกไว้ก่อนเลย [6]
  5. ใช้ผ้าขนหนูเช็ดมือถือทั้งเครื่อง เพื่อให้ตัวเครื่องด้านนอกแห้งให้ได้มากและเร็วที่สุด [7]
    • เช็ดพอร์ทหรือรู/ช่องต่างๆ ของเครื่องด้วยก็ดี เผื่อมีน้ำซึมเข้าไปแล้วขังอยู่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

แก้ไขเพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามสะบัดหรือเขย่าให้น้ำไหลออกมาจากเครื่อง [8] หรือจะใช้สเปรย์ลมแบบกระป๋อง (compressed air) ฉีดไล่น้ำออกมาก็ได้ แต่ถ้าพลาดก็อาจกลายเป็นเป่าลมไล่น้ำอัดเข้าไปในเครื่องแทนก็ได้ ต้องระวังมากๆ [9]
    • เวลาจะใช้อากาศอัดกระป๋อง ให้ถือกระป๋องแล้วฉีดผ่านรู อย่าฉีดเข้าไปในรูตรงๆ ถ้าทำถูกวิธี น้ำจะพุ่งออกมาที่อีกด้านทันที
  2. ที่เราได้ยินมาบ่อยๆ และคนนิยมใช้กัน ก็คือ "ข้าวสาร" แต่จริงๆ แล้วยังไม่ใช่วัสดุที่เห็นผลที่สุด ใช้ข้าวแล้วดีและสะดวกก็จริง แต่ข้อเสียคืออาจหลุดเข้าไปในพอร์ทของมือถือได้ [10] เพราะงั้นตัวเลือกที่ดีกว่ามากคือซิลิก้าเจล (silica gel) หรือก็คือเจลเม็ดๆ ในห่อเล็กๆ ที่มักติดมากับห่อขนมหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซิลิก้าเจลเป็นเจลดูดความชื้นโดยเฉพาะ เพราะงั้นน้ำจะแห้งเร็วกว่าการเอามือถือไปแช่ในข้าวสารแน่นอน พยายามหาซิลิก้าเจลให้ได้มากที่สุด จะรวบรวมจากที่มีในบ้าน หรือไปหาซื้อมาเพิ่มเติมตามร้านขายอุปกรณ์งานฝีมือก็ได้ เพราะจะทำให้มือถือแห้งได้ต้องใช้เยอะทีเดียว [11] ตัวเลือกสุดท้ายคือ drying pouch คือห่อ/ถุงที่เอาไว้ดูดความชื้นจากมือถือโดยเฉพาะ หาซื้อได้ในเน็ต และตามร้านซ่อมคอมหรือร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ [12]
    • ถ้าหาห่อซิลิก้าเจลได้ไม่มากพอ ให้ใช้ทรายแมวแบบเม็ดคริสตัลแทน เพราะจริงๆ แล้วก็วัสดุเดียวกัน [13]
    • บางการทดสอบชี้ว่าถ้าวางมือถือตากลมไว้จนแห้ง จะดีกว่าการเอาไปจุ่มหรือแช่ในสารดูดความชื้นต่างๆ [14]
  3. ถ้าใช้ข้าวสาร ก็ต้องระวังเมล็ดข้าวหลุดเข้าไปตามพอร์ทต่างๆ โดยห่อด้วยทิชชู่ก่อนแล้วค่อยเอาไปซุกในข้าว [15] แนะนำให้แช่มือถือในชามข้าว ส่วนถ้าใช้ห่อซิลิก้าเจล ก็ต้องห่อมือถือด้วยซองเจลให้ได้มากที่สุด [16] สุดท้ายถ้าใครใช้ drying pouch ก็แค่เอามือถือใส่เข้าไปในห่อหรือถุง แล้วปิดให้สนิท [17]
  4. อย่างน้อยๆ ก็ต้องทิ้งไว้ 2 วันขึ้นไป [18] เพราะต้องแน่ใจว่าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ข้างในจะแห้งสนิทจริงๆ ไม่งั้นเปิดมือถือแล้วไฟจะช็อตหรือดูดคุณได้
  5. ใส่ถาดซิมกลับเข้าไปในมือถือ โดยดันเข้าไปตรงๆ เหมือนตอนถอดถาดซิมออกมา
  6. พอทุกอย่างแห้งสนิทดีแล้ว ก็มาลองเปิดมือถือดูว่าใช้ได้ไหม ถ้าโชคดีก็เรียบร้อย กลับมาใช้งานได้ตามปกติเลย [19]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ามือถือแช่น้ำอยู่นานเกิน 20 นาที เป็นไปได้มากว่าจะแก้ไขอะไรไม่ได้ โอกาสซื้อเครื่องใหม่มีสูงมาก
  • ถ้าเป็นไปได้ ให้หาซื้อหรือเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้เวลาจะทำให้มือถือแห้ง แล้วติดตัวหรือติดบ้านไว้ เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นเมื่อไหร่
  • ใช้เคสมือถือแบบกันน้ำ เผื่อมือถือตกน้ำหรือคุณเผลอทำน้ำหกใส่ จะได้ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามทำให้มือถือแห้งโดยใช้ไดร์เป่าผมหรืออุปกรณ์อื่นที่แผ่ความร้อนออกมา เพราะความร้อนสูงๆ จะทำมือถือคุณเสียหายหนักกว่าเดิม [20]
  • ถึงแยกส่วนแล้วชิ้นส่วนต่างๆ ในมือถือจะแห้งง่ายกว่าเดิม แต่ก็ไม่ควรทำเอง เพราะประกันจะขาดได้ แถมถ้าคุณไม่เชี่ยวชาญพอ มือถืออาจจะพังเพราะไปแยกส่วนนี่เอง [21] แต่บางคนก็ว่า แค่น้ำเข้าก็ทำประกันขาดแล้ว เพราะงั้นอาจไม่ใช่ปัญหาที่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่ ยังไงก็ลองใช้วิจารณญาณก่อนลงมือแก้ไขหรือซ่อมแซมอะไรเอง [22]
  • ถึงจะแก้ไขจนมือถือกลับมาแห้งและใช้งานได้ตามเดิม มือถือก็อาจจะทำให้บางชิ้นส่วนภายในเสียหายถาวรได้ โดยเฉพาะแบตเตอรี่ 2 - 3 เดือนต่อมาแบตอาจจะบวม เครื่องร้อนจัด หรือระเบิดได้ [23]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,066 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา