ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ด้วยอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน และโปรแกรมปรับแต่งภาพที่มีอยู่ทั้งหมดในปัจจุบัน อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ในการตัดสินใจว่า คุณจะปรับแต่งภาพของคุณอย่างไร และส่วนไหนบ้างในภาพที่คุณควรปรับปรุงให้ดีขึ้น บทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงเทคนิค และโปรแกรมที่ใช้ในการปรับแต่งภาพพื้นฐานบนโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ของคุณ ดูขั้นตอนที่ 1 ด้านล่างในการเริ่มต้น!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

ปรับแต่งภาพอย่างมืออาชีพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถแก้ไขภาพพื้นฐานด้วยโปรแกรม เช่น พิคาซ่า (Picasa) และอินสตาแกรม (Instagram) แต่หากคุณต้องการทำให้รูปภาพของคุณดูน่าอัศจรรย์อย่างแท้จริง คุณควรมีโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการปรับแต่งภาพอย่างมืออาชีพ ซึ่งมันไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเสียเงินซื้อโปรแกรมดังกล่าวเสมอไป! โดยโปรแกรมเช่น GIMP คุณสามารถหามาใช้ได้ฟรี ถึงแม้ว่าคุณอาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้วิธีใช้มัน แต่มันจะช่วยสร้างความแตกต่างในรูปภาพของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ
  2. เมื่อคุณย้อนกลับมาดูภาพถ่ายของคุณเพื่อที่จะทำการปรับแต่ง สิ่งหนึ่งที่คุณควรพิจารณาคือ องค์ประกอบทั้งหมดในภาพถูกจัดวางไว้อย่างไร การตัดส่วนของภาพออกบ้างเพียงบางส่วนสามารถเปลี่ยนมุมมองของภาพได้เป็นอย่างมาก ลองใช้กฎสามส่วน ที่เสนอแนะว่าภาพจะดูดีขึ้น เมื่อกรอบภาพถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนเท่าๆ กัน [1]
  3. นี่คือการตั้งค่าที่เป็นพื้นฐานสำหรับการปรับแต่งภาพโดยทั่วไป มันช่วยให้ส่วนที่เป็นสีขาวสว่างขึ้น และส่วนมืดยิ่งมืดมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้รูปภาพมีความโดดเด่น และชัดเจนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พึงระวังในการสูญเสียรายละเอียดรองในภาพ เมื่อคุณเพิ่มความเปรียบต่าง ฉะนั้นอย่าเพิ่มค่าความเปรียบต่างมากจนเกินไป!
  4. ความอิ่มของสี คือความเด่นชัดของสีในภาพ และตัวปรับค่าความอิ่มของสี เป็นคุณสมบัติสำคัญที่โปรแกรมปรับแต่งภาพทุกโปรแกรมต้องมี บางครั้งภาพคุณอาจดูดีขึ้น หากลดค่าความอิ่มของสีลง (โดยลดค่าความอิ่มของสีให้ค่อนไปในโทนของภาพขาวดำ) ในขณะที่รูปภาพอื่นๆ สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยเพิ่มค่าความอิ่มตัวของสี ให้คุณทดลองปรับค่าความอิ่มของสีในแต่ละภาพด้วยตัวคุณเอง!
  5. นี่เป็นอีกหนึ่งคำสั่งที่มีในโปรแกรมโฟโต้ช็อป และในโปรแกรมอื่นๆ บางตัวด้วยเช่นกัน โดยคำสั่งนี้จะคล้ายคลึงกับคำสั่งความอิ่มของสี แต่มันจะใช้งานได้ดีมากๆ กับโทนสีผิวของมนุษย์ หากคุณมีคนอยู่ในภาพ ให้เริ่มต้นด้วยการปรับค่าความฉูดฉาดของสีเป็นอันดับแรก แต่หากคุณมีแค่ภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไป คุณสามารถใช้คำสั่งปรับค่าความอิ่มของสีแทน
  6. ใช้การเบลอภาพ และทำให้ภาพคมชัดอย่างระมัดระวัง. แทนที่คุณจะใช้ฟิลเตอร์เพื่อเบลอภาพ หรือทำให้ภาพคมชัดทั่วทั้งภาพ คุณอาจใช้แปรงเบลอภาพ และทำให้ภาพคมชัดเป็นบางส่วนในภาพ วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมผลลัพธ์ตามที่คุณต้องการได้อย่างแม่นยำ นี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าภาพโดยทั่วไปอาจต้องการที่จะเบลอ และทำให้ภาพคมชัดแค่เพียงเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น ทำให้พื้นที่เล็กๆ คมชัดขึ้น เพื่อทำให้รายละเอียดสำคัญเด่นชัดมากยิ่งขึ้น หรือเบลอพื้นที่เฉพาะส่วน เช่นผิวหน้าของแบบเพื่อทำให้รอยสิว หรือกระบนใบหน้าดูจางลง และไม่เป็นที่สังเกต
  7. พยายามปรับแต่งให้ใกล้เคียงกับภาพต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่ทำได้. การปรับแต่งภาพมากเกินไปทำให้ภาพดูหลอกตา และไม่เนียน ซึ่งคล้ายกับการแต่งหน้าจัดเกินไปให้กับผู้หญิงที่สวยมากๆ อยู่แล้ว เมื่อผ่านไปสักพัก มันจะทำให้เธอดูเหมือนเป็นตัวตลก หากคุณกำลังปรับแต่งเพื่อให้แบบในภาพดูผอมลง อย่าทำให้มากเกินไป และหากคุณกำลังจะเปลี่ยนสีของภาพ อย่าทำให้สีของภาพดูไม่เป็นธรรมชาติ หากคุณแก้ไขบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ปรากฏอยู่ในภาพต้นฉบับตั้งแต่แรก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้หลงลืมสิ่งใด ที่แสดงให้เห็นว่าคุณได้ทำการปรับแต่งภาพ คุณคงไม่อยากให้ภาพเสียหายจากการใช้โปรแกรมโฟโต้ช๊อป!
  8. ความซ้ำซากจำเจเป็นเครื่องมือทางศิลปะ และสามารถทำให้รูปภาพที่ดีเลิศดูน่าเบื่อ และไม่เป็นมืออาชีพ ยกตัวอย่างเช่น ภาพขาวดำที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพมีสีหลงเหลืออยู่ (เช่น ภาพขาวดำที่มีริมฝีปากสีแดงสดอยู่หนึ่งคู่) ได้ถูกทำเลียนแบบกันเป็นจำนวนมาก และมันได้กลายเป็นความน่าเบื่อในปัจจุบัน หากคุณต้องการให้รูปภาพของคุณดูเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ พยายามหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจเช่นที่กล่าวมา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

บนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีโปรแกรมปรับแต่งภาพหลายโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถหาดาวน์โหลดในแอพสโตร์ได้ฟรี รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นบางตัวที่คุณสามารถซื้อได้ในราคาต่ำกว่า 200 บาท หากคุณต้องการสำรวจสไตล์ของภาพที่แตกต่างกัน ให้คุณดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นสัก 2 – 3 ตัว และลองใช้งานเพื่อดูผลลัพธ์ที่ได้ โดยตัวอย่างโปรแกรมปรับแต่งภาพ ได้แก่
    • อินสตาแกรม (Instagram) – ฟรี
    • อะโดบี้ โฟโต้ช็อป ทัช (Adobe Photoshop Touch) – ราคาประมาณ 180 บาท [2]
    • แอ็บเปิ้ล ไอโฟโต้ (Apple iPhoto) – ราคาประมาณ 180 บาท [3]
    • อเวียรี (Aviary) – ฟรี
    • บีฟังกี้ (BeFunky) – ฟรี
    • อายเอ็ม (EyeEm) – ฟรี
    • วู๊ดคาเมร่า (Wood Camera) – ฟรี
  2. ถ่ายภาพด้วยโทรศัพท์มือถือของคุณ หรือเลือกภาพจากห้องสมุดภาพของคุณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้คุณเลือกรูปภาพที่มีความสว่างเพียงพอ ที่ทำให้มองเห็นวัตถุในภาพได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคน พืช สัตว์ หรืออาคารบ้านเรือน ยิ่งรูปภาพมีความชัดเจนมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพในการปรับแต่งภาพยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น
  3. แอพพลิเคชั่นส่วนมากให้ทางเลือกคุณว่าจะถ่ายภาพใหม่ (หาปุ่มที่มีรูปกล้องปรากฏอยู่) หรือเลือกภาพจากห้องสมุดภาพของคุณ
  4. ทุกๆ แอพพลิเคชั่นมีความแตกต่างกัน และแอพพลิเคชั่นหลายๆ ตัว เช่น อินสตาแกรม จะมีตัวเลือกฟิลเตอร์ หรือเลนส์ที่มีความหลากหลาย ซึ่งตัวเลือกดังกล่าวจะจัดการปรับแต่งภาพให้คุณโดยอัตโนมัติ บางแอพพลิเคชั่นให้ทางเลือกคุณในการปรับแต่งความเข้มของฟิลเตอร์ ทำให้คุณสามารถควบคุมผลลัพธ์ได้ตามที่คุณต้องการ
  5. ในเรื่องการถ่ายภาพ ค่าการเปิดรับแสงของกล้อง หมายถึงปริมาณแสงที่ตกลงบนภาพ หากรูปภาพมืดเกินไป คุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มค่าการเปิดรับแสง และหากคุณต้องการให้รูปภาพมืดลง ให้ลดค่าการเปิดรับแสงของกล้องลง
  6. บางแอพพลิเคชั่นจะยอมให้คุณปรับค่าความอิ่มของสี หรือความเข้มของสีในภาพ การเพิ่มความอิ่มของสี สามารถทำให้สีเด่นขึ้น และทำให้รูปภาพสะดุดตามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความอิ่มของสีที่มากเกินไป สามารถทำให้รูปภาพดูกระด้าง และดูเหมือนเป็นภาพการ์ตูน
  7. การเบลอภาพช่วยให้ภาพดูเหมือนอยู่ในความฝัน และดูบิดเบือน หรือการเพิ่มแสงรั่วในภาพ ช่วยให้ภาพดูคลาสสิกเหมือนเป็นภาพในสมัยโบราณ
    • แสงรั่วในสมัยก่อนถือเป็นความผิดพลาดของกล้องถ่ายภาพ โดยเกิดขึ้นเมื่อแสง (โดยปกติหมายถึงแสงอาทิตย์) รอดเข้ามาตกกระทบลงบนฟิล์มถ่ายภาพ และทำให้ภาพเกิดความเสียหาย แต่ในปัจจุบัน แสงรั่วถือเป็นเอฟเฟกต์ที่มีสไตล์ ซึ่งคนจำนวนมากถือว่าเป็นความสวยงามเชิงศิลปะ
  8. หากคุณต้องการเปลี่ยนรูปทรง หรือขนาดของภาพ ให้เลือกปุ่มตัดภาพ “Crop” (ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมจัตุรัสแสดงอยู่) และปรับภาพตามความต้องการ
  9. ทุกๆ แอพพลิเคชั่นมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากคุณเริ่มใช้งานพวกมันเป็นครั้งแรก คุณอาจลองดูว่าฟิลเตอร์ หรือเอฟเฟกต์ตัวไหนให้ผลลัพธ์เป็นเช่นใด และตรวจสอบตัวเลือกอื่นๆ ที่มีไว้สำหรับการปรับแต่งภาพด้วยเช่นกัน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

โปรแกรม ไอโฟโต้ (iPhoto)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถทำได้โดยใช้เมาส์ลากไฟล์จากหน้าเดสก์ท๊อปของคุณเข้าสู่โปรแกรม หรือนำรูปภาพจากกล้องของคุณเข้าสู่ตัวโปรแกรมโดยตรง ซึ่งทำได้โดยใช้สายเคเบิลที่มากับกล้องเพื่อเชื่อมต่อกล้องของคุณเข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ท USB
    • แน่ใจว่ากล้องของคุณเปิดอยู่ และเปิดโปรแกรม ไอโฟโต้ หากมันยังไม่ได้ถูกเปิดอยู่ จากนั้นคุณสามารถนำภาพทั้งหมดเข้าสู่โปรแกรม โดยเลือกปุ่ม “Import All” หรือนำภาพเข้าสู่โปรแกรมทีละภาพ โดยเลือกภาพที่ต้องการ และคลิ๊กปุ่ม “Import Selected”
  2. ดับเบิ้ลคลิ๊กบนภาพเพื่อเริ่มการปรับแต่งภาพ. ภาพควรถูกขยายขึ้น เมื่อคุณดับเบิ้ลคลิ๊กบนภาพ
  3. ในตอนนี้คุณจะเห็นตัวเลือกคำสั่งการปรับแต่งภาพหลายคำสั่งอยู่ด้านล่างของหน้าจอ ได้แก่ หมุนภาพ (Rotate) ตัดภาพ (Crop) ทำภาพให้ตรงได้ระดับ (Straighten) เพิ่มคุณภาพของภาพ (Enhance) แก้ไขตาแดง (Red-Eye) ปรับแต่งภาพ (Retouch) เอฟเฟกต์ (Effects) และปรับแต่งภาพ (Adjust)
    • สำหรับการใช้เอฟเฟกต์ ให้คุณคลิ๊กปุ่มเอฟเฟกต์ที่คุณต้องการใช้ เมื่อผลลัพธ์ได้ถูกแสดงบนหน้าจอ ให้คุณคลิ๊ก “Apply” เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง หรือ “Cancel” เพื่อละทิ้งการเปลี่ยนแปลง และเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
  4. ทำได้ง่ายๆ โดยการคลิ๊กปุ่มหมุนภาพ “Rotate” ภาพจะเริ่มหมุนในแต่ละครั้งที่คุณคลิ๊กเมาส์ จนกระทั่งภาพหมุนกลับมาตำแหน่งเริ่มต้น
  5. การตัดส่วนของภาพเป็นการแก้ไขภาพขั้นพื้นฐานที่สุด ที่ช่วยให้คุณปรับขนาด และรูปทรงของภาพ รวมไปถึงตัดส่วนที่ไม่ต้องการของภาพออก เมื่อคุณคลิ๊กปุ่มตัดภาพ “Crop” คุณจะเห็นสี่เหลี่ยมที่ปรับขนาดได้ทับอยู่บนภาพ ในการปรับแต่งภาพด้วยคำสั่งตัดภาพนี้ ทำได้ง่ายๆ โดยลากมุมของสี่เหลี่ยมดังกล่าว จนกระทั่งได้ขนาด และรูปทรงตามที่ต้องการ คุณยังสามารถเคลื่อนที่สี่เหลี่ยมดังกล่าวไปรอบๆ ภาพ ได้โดยคลิ๊กภายในสี่เหลี่ยมดังกล่าว และลากตัวชี้ตำแหน่งของคุณไปบนภาพตามต้องการ
  6. เมื่อคุณคลิ๊กปุ่ม “Effects” หน้าต่างเล็กๆ จะปรากฏขึ้น โดยหน้าต่างนี้จะบรรจุฟิลเตอร์หลายตัวสำหรับใช้งาน ได้แก่ ขาวดำ (Black and White) ซีเปีย (Sepia) โบราณ (Antique) สีจาง (Fade Color) เร่งสี (Boost Color) และอื่นๆ อีกมากมาย
    • บางเอฟเฟกต์ยอมให้คุณปรับค่าความเข้มของฟิลเตอร์ ทำได้ง่ายๆ โดยคลิ๊กเอฟเฟกต์ และปรับตัวเลข ที่ปรากฏอยู่ด้านล่างด้วยการใช้ลูกศรซ้าย และขวา
  7. หากต้องการปรับแต่งภาพที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ให้คลิ๊กปุ่ม “Adjust” ที่อยู่ใต้ภาพ หน้าจอใหม่จะเด้งขึ้นมาพร้อมกับตัวเลือกในการปรับค่าการเปิดรับแสง (Exposure) ความอิ่มของสี (Saturation) ความเปรียบต่าง (Contrast) คำจำกัดความ (Definition) ส่วนสว่าง (Highlights) ส่วนเงา (Shadows) ความคมชัด (Sharpness) อุณหภูมิแสง (Temperature) และสีพื้น (Tint) ของภาพ
  8. เมื่อการปรับแต่งภาพของคุณเสร็จสมบูรณ์ ให้คุณคลิ๊กปุ่มเสร็จสิ้น “Done” ด้านขวาของหน้าจอ
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

โปรแกรม อะโดบี้ โฟโต้ช็อป (Adobe Photoshop)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถทำได้โดยการลากไฟล์จากหน้าเดสก์ท็อปของคุณสู่โปรแกรม หรือโดยการเปิดไฟล์ภาพในโปรแกรม โฟโต้ช็อป ให้เลือกเมนูไฟล์ “File” และเลือกคำสั่งเปิดไฟล์ “Open” จากนั้นให้เลือกภาพที่คุณต้องการปรับแต่ง
  2. ก่อนที่คุณจะเริ่มปรับแต่งภาพ ให้ทำสำเนาของภาพต้นฉบับเพื่อประกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปรับแต่งภาพ ทำได้โดย เลือกเมนูเลเยอร์ “Layer” และเลือกคำสั่งจำลองเลเยอร์ “Duplicate Layer” โปรแกรมจะสร้างสำเนาของภาพต้นฉบับของคุณ
  3. การตัดส่วนภาพ เป็นเทคนิคในการปรับแต่งภาพพื้นฐาน ที่ช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรง และขนาดของภาพ และตัดส่วนที่ไม่ต้องการทิ้ง การตัดส่วนของภาพทำง่ายๆ ได้โดย คลิ๊กสัญลักษณ์เครื่องมือตัดภาพ “Crop Tool” บนด้านซ้ายของหน้าจอ ในตอนนี้ ให้คุณคลิ๊กบนภาพ และลากเมาส์ของคุณเพื่อสร้างขนาด และรูปทรงสี่เหลี่ยมตามที่คุณต้องการ เมื่อคุณได้ขนาดของสี่เหลี่ยมที่คุณต้องการแล้ว ให้คลิ๊กสัญลักษณ์เครื่องมือตัดภาพอีกครั้งหนึ่ง จะมีตัวเลือกให้คุณเลือกว่าจะบันทึกการเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกคำสั่ง และย้อนกลับไปยังภาพต้นฉบับ
    • หากคุณประสบปัญหาในการหาปุ่มเครื่องมือตัดภาพ “Crop Tool” ให้คุณวางเมาส์บนปุ่มเครื่องมือที่มีอยู่มากมายด้านซ้ายมือของหน้าจอคุณ และคอยจนข้อความรายละเอียดเครื่องมือเด้งขึ้นมา
  4. เลเยอร์เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สำหรับโปรแกรม โฟโต้ช็อป เพราะว่ามันช่วยให้คุณปรับแต่งภาพของคุณ โดยไม่ได้ทำการปรับแต่งใดๆ กับภาพต้นฉบับ เลเยอร์สามารถถูกเปิด และปิด ในระหว่างที่คุณทำการปรับแต่งภาพ ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดที่ถูกปรับแต่งอย่างถาวร (ยกเว้นคุณได้บันทึกแบบร่างสุดท้าย)
    • ปุ่ม “Adjustment Layer” ถูกวางอยู่ด้านล่างของหน้าต่าง Navigator Panel ด้านขวาของหน้าจอคุณ มีสัญลักษณ์เป็นวงกลมดำ และขาว โดยมีเส้นทแยงพาดระหว่างกลาง เมื่อคุณวางตัวชี้บนสัญลักษณ์ดังกล่าว จะปรากฏข้อความ “Create new fill or adjustment layer”
    • เมื่อคุณคลิ๊กปุ่ม รายการดรอปดาวน์จะปรากฏพร้อมกับตัวเลือกการปรับแต่งภาพต่างๆ ได้แก่ ค่าการเปิดรับแสง (Exposure) ความสว่าง/ความเปรียบต่าง (Brightness/Contrast) สีที่ถูกเลือก (Selective Color) และอื่นๆ เมื่อคุณคลิ๊กที่คำสั่งใดคำสั่งหนึ่ง คุณจะสร้างเลเยอร์ใหม่สำหรับคำสั่งนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถปรับเปลี่ยน และเปิด/ปิดการใช้งานคำสั่งได้
    • เปิด หรือปิดการใช้งานของเลเยอร์ ได้โดยการคลิ๊กสัญลักษณ์ลูกตาที่ปรากฏอยู่ใกล้กับชื่อของเลเยอร์
  5. ทำได้โดยคลิ๊กปุ่ม “Adjustment Layer” และเลือกคำสั่ง “Exposure” จากรายการดรอปดาวน์ โปรแกรมจะสร้างเลเยอร์ใหม่ในหน้าต่าง Navigator Panel และใช้ชื่อว่า “Exposure 1” หน้าจอเล็กๆ ควรเด้งขึ้นมาพร้อมกับตัวเลือกให้คุณปรับค่าการเปิดรับแสง ค่าชดเชย (Offset) และการแก้ไขค่าแกมม่าของภาพ (Gamma Correction) โดยการเลื่อนตัวเลื่อนไปซ้าย และขวาเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงค่าตามที่ต้องการ
    • ค่าการเปิดรับแสงของภาพ คือความสว่างของภาพ เมื่อคุณเลื่อนตัวเลื่อนไปทางขวา ภาพจะสว่างมากขึ้น และเมื่อคุณเลื่อนตัวเลื่อนไปทางซ้าย ภาพจะมืดลง
    • ตัวเลือกค่าชดเชย (Offset) และการแก้ไขค่าแกมม่า (Gamma Correction) ช่วยให้คุณปรับโทนมืด และโทนกลางของภาพ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถปรับสมดุล หรือชดเชยความกระด้างของสี ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเพิ่มค่าการเปิดรับแสงของภาพ
  6. ทำได้โดยการสร้างเลเยอร์ “Selective Color” จะปรากฏหน้าจอเล็กๆ ที่ให้คุณปรับโทนสีแดง เหลือง น้ำเงิน ฟ้าอมเขียว เขียว แดงอมม่วง ดำ ขาว และสีที่เป็นกลางของภาพได้
  7. คำสั่ง Levels ช่วยให้คุณเปลี่ยนแปลงโทน (Tone) และความเปรียบต่างของภาพ (Contrast) ทำได้โดยการสร้างเลเยอร์ Levels ในหน้าต่าง Navigator panel จะปรากฏจานสีฮิสโตแกรม (Histogram Palette) ที่มี 3 ตัวเลื่อนที่แตกต่างกัน อยู่ภายใต้กราฟฮิสโตแกรม ได้แก่ ตัวเลื่อนโทนสีดำ (อยู่ด้านซ้ายมือ) ตัวเลื่อนโทนสีขาว (อยู่ด้านขวามือ) และตัวเลื่อนโทนกลาง หรือแกมม่า (อยู่ด้านขวามือ) [4]
    • ตำแหน่งของตัวเลื่อนโทนสีดำ และสีขาว สร้างขอบเขตของการใส่ค่าความสว่างของภาพ [5] โทนสีดำจะมีค่าเริ่มต้นที่ 0 และโทนสีขาวจะมีค่าเริ่มต้นที่ 255 ในการปรับขอบเขตของความสว่าง ทำได้โดยเลื่อนตัวเลื่อนโทนสีดำไปทางขวา และ/หรือเลื่อนตัวเลื่อนสีขาวไปทางซ้าย
    • ลากตัวเลื่อนโทนกลางไปทางซ้ายเพื่อทำให้โทนกลางมืดลง และไปทางขวาเพื่อทำให้โทนกลางสว่างขึ้น [6]
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

เสริมสร้างทักษะของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โฟโต้ช็อปอาจเป็นโปรแกรมที่ยากแก่การใช้งาน: มันต้องอาศัยระดับในการเรียนรู้ แต่ทันทีที่คุณรู้วิธีใช้งานโปรแกรม คุณจะสามารถทำให้ภาพของคุณดูเหมือนภาพที่จัดแสดงอยู่ในห้องแสดงงานศิลปะก่อนที่คุณจะรู้ตัวด้วยซ้ำ!
  2. บางครั้ง สีใดสีหนึ่งอาจดูไม่เข้ากับสีที่เหลือในภาพ และทำให้ภาพรวมทั้งหมดดูขัดกัน การปรับค่าสีพื้นฐานสามารถทำให้ภาพดูดีขึ้นได้!
  3. คุณอาจเคยเห็นแอพพลิเคชั่น และเว็บไซต์ที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือมีไวรัสแฝงตัวอยู่ กล่าวอ้างว่าสามารถทำให้ภาพของคุณดูเหมือนภาพวาดได้ คุณรู้หรือไม่ว่า นี่เป็นเอฟเฟกต์ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมมัลแวร์ (ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์) ใดๆ ซึ่งการใช้เอฟเฟกต์ต่างๆ สามารถทำให้การปรับแต่งภาพของคุณกลายเป็นเรื่องสนุกสนาน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เนื่องจากโปรแกรมปรับแต่งภาพทุกโปรแกรมมีความแตกต่างกัน มันจะเป็นประโยชน์หากคุณตรวจสอบรายละเอียดวิธีการใช้งานสำหรับเคล็ดลับ และคำแนะนำเพิ่มเติม ในขณะที่แอพพลิเคชั่นปรับแต่งภาพส่วนใหญ่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ง่าย ที่คุณสามารถลองผิดลองถูกได้เอง แม้ว่าจะใช้งานเป็นครั้งแรก แต่โปรแกรมที่มีความก้าวหน้า เช่นโฟโต้ช็อปมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก และผู้ใช้จะต้องใช้เวลาหลายเดือนในการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรม
  • โปรแกรมปรับแต่งภาพอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ ได้แก่ อเพอร์เจอร์ (Aperture) เพ้นท์ช็อป โปร (PaintShop Pro)และโปรทูล (Pro Tools) เป็นต้น


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,971 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา