ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเป็นผู้หญิงประเภทที่เคยเดินชนประตูหน้าห้องที่มีคนเต็มไปหมดหรือเปล่า หรือเป็นผู้ชายประเภทที่ใช้คารมจีบสาวจนน้ำลายแตกฟองและดันปล่อยไก่ โดยเล่าว่าตัวเองชอบสะสมของไร้สาระหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็อย่ากังวลไป อาการเสียหน้าถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต และคนส่วนใหญ่ย่อมพยายามหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งหากคุณอยากเป็นคนที่รู้สึกอับอายหรือเสียหน้าน้อยลงในสถานการณ์ต่างๆ และมีทักษะทางสังคมดีขึ้น จงทำตามขั้นตอนดังนี้


วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ป้องกันการเสียหน้าในสถานการณ์ทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณเป็นคนที่มักทำอะไรน่าอับอายหรือเสียหน้ามากๆ อยู่แล้ว ถึงขนาดไม่รู้แม้แต่วิธีทักทายเพื่อนบ้านอย่างเหมาะสม สิ่งสุดท้ายที่คุณอยากจะทำคงหนีไม่พ้นการออกไปใช้เวลาพบปะผู้คน อย่างไรก็ดี ยิ่งคุณพบปะผู้คนมากเท่าไร โอกาสที่จะพัฒนาความมั่นใจในสังคมก็มากขึ้น ซึ่งย่อมลดโอกาสให้คุณเผลอทำตัวน่าอับอายหรือเสียหน้าหรือทำสถานการณ์ต่างๆ ให้กร่อยน้อยลงได้ ดังนั้น จงวางแผนชีวิตประจำวันให้มีโอกาสพบปะผู้คนมากขึ้น และอุดอู้อยู่แต่ในบ้านให้น้อยลง
    • เลือกพบปะผู้คนหลากหลายผ่านหลายๆ เครือข่ายทางสังคม เช่น วารสารของสถาบันการศึกษาหรือที่ทำงานคุณ เข้าร่วมชมรมกีฬา หรือการออกค่ายเยาวชน รวมถึงออกทริปของกลุ่มที่มีความสนใจเดียวกัน
    • หากคุณยังไม่พร้อมจะก้าวไปในสังคม ลองเชิญเพื่อนหรือคนรู้จักมานั่งดื่มกาแฟสังสรรค์หรือใช้เวลาร่วมกันดูก่อน การพบปะสังสรรค์รายบุคคล จะช่วยเป็นพื้นฐานให้คุณมีความมั่นใจในการเข้าสังคมกลุ่มใหญ่ต่อไป
    • อย่าเอาแต่เงียบเฉย ต่อให้คุณอยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าคุณกล้าออกไปเผชิญพวกเขาหรอกนะ และแม้ว่าคุณจะเป็นคนขี้อายและประหม่า แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทำฝืนกล้าเป็นจุดศูนย์กลางของวงสนทนาแต่แรกก็ได้ ขอแค่ตั้งเป้าหมายไว้เพียงพยายามพูดคุยกับผู้คนให้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ตนเองเป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีความคุ้นเคยกับการปฏิสัมพันธ์บ้างก็พอแล้ว
  2. อย่ากังวล หรือทำท่าทางกังวลว่าคนอื่นกำลังคิดอะไร. แม้ว่าคุณจะเป็นเป็นแบรด พิตต์ หรือจัสติน บีเบอร์ ก็ไม่มีทางที่จะไม่แคร์เลยว่าคนอื่นกำลังคิดอะไร เพราะมันเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่คุณควรจะกังวลน้อยลงต่างหาก หากคุณรู้สึกกลัวจนตัวแข็งทื่อไม่รู้ว่าจะทำอะไรดีเพราะกลัวทำให้คนอื่นเบื่อ รำคาญ หรือพูดจาไม่เข้าหูพวกเขา เมื่อนั้น คุณจะไม่มีวันเอาชนะความกลัวการอับอายหรือเสียหน้าในที่สาธารณะได้เลย
    • ในการเข้าไปพูดคุยกับคนอื่นครั้งต่อไป บอกตัวเองเอาไว้ว่า คุณกำลังเสี่ยงเพื่อที่จะสร้างพลวัตรทางสังคมให้ตัวเอง และการได้รับการตอบสนองในแบบที่ตนเองต้องการจากผู้อื่น ย่อมดีกว่าไม่กล้าทำอะไรเลย
    • คนอื่นยังมักจะรู้ได้ว่าคุณกำลังกลัวว่าพวกเขาคิดอะไร หากคุณเอาแต่คอยถามพวกเขาไปเช่นนั้น เช่น หากคุณชอบพูดว่า “นายว่าผมทรงใหม่ของฉันทุเรศไหม” หรือ “เธอว่าฉันควรเลิกหัดเล่นเปียโนดีไหม” เมื่อนั้นคุณจะกลายถูกมองว่าเป็นพวกไร้ความคิดของตัวเอง
    • หากคุณสามารถเลิกแคร์ได้ว่าคนอื่นจะคิดอะไร มันจะเป็นก้าวแรกในการพัฒนาความมั่นใจและความเชื่อมั่นในตนเอง การพยายามไปให้ถึงเป้าหมายส่วนตัวที่วางไว้และจดจ่อสนใจทำในสิ่งที่คุณชอบไป ถือเป็นยิ่งกว่าการเอาใจต่อผู้อื่นเสียอีก
    • อย่าให้ใครเห็นคุณกำลังส่องกระจกหรือดูเงาตัวเองสะท้อนในหน้าต่าง เพราะมันจะทำให้พวกเขาตระหนักว่าคุณเป็นพวกกังวลภาพลักษณ์ตัวเองเกินเหตุ
  3. แม้ว่าการพัฒนาความมั่นใจในตัวคุณเองจะพูดง่าย แต่มันทำยาก คุณก็ควรพยายามพัฒนาด้านการเห็นคุณค่าในตัวเองให้มากขึ้น เพื่อที่จะทำเรื่องน่าอับอายหรือเสียหน้าให้น้อยลง ส่วนหนึ่งภาวะน่าอับอายที่เกิดขึ้นมักมีสาเหตุจากการที่คุณรู้สึกไม่รู้กาลเทศะว่าควรทำตัวอย่างไร ในขณะที่คนอื่นๆ กำลังมั่นใจในสิ่งที่พวกเขาแต่ละคนทำอยุ่ เพราะฉะนั้น คุณจะไม่มีทางเชี่ยวชาญทักษะทางสังคมเหมือนคนอื่นได้เลย จนกว่าคุณจะตระหนักว่า ตนเองไม่ได้มีอะไรแย่ไปกว่าคนอื่นๆ
    • จงภาคภูมิใจในการทำสิ่งที่ตนเองรัก ไม่ว่าจะเป็นการดูภาพยนตร์หรือฟังเพลงคลาสสิก ต่อจิ๊กซอว์ สะสมตุ๊กตา หรือการเล่นกีฬาใดๆ ก็ดี คุณควรใช้เวลามีความสุขในสิ่งเหล่านั้นตามที่คุณชอบและพัฒนาความพอใจในตนเองขึ้นมา
    • แม้ว่าไม่มีเสื้อผ้าชุดใดและผมทรงใดจะช่วยให้คุณกลายเป็นคนมั่นใจในตัวเองขึ้นมา ก็ควรพยายามอาบน้ำบ่อยๆ ดูแลตัวเอง และการมีรูปลักษณ์ที่ดูได้ไม่อายใคร ก็ย่อมช่วยให้คุณรู้สึกดีกับตัวขึ้นได้แน่นอน
    • ใช้เวลาสังสรรค์ร่วมกับคนที่ทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเอง แทนที่จะอยู่กับคนที่ทำให้คุณรู้สึกแย่ ส่วนหนึ่งของการที่คุณรู้สึกประหม่าเวลาใช้เวลากับคนอื่น ก็เพราะคนที่คุณอยู่ด้วยไม่ได้ทำให้คุณรู้สึกมีคุณค่า
  4. อีกสาเหตุหนึ่งที่บางคนรู้สึกประหม่าในสังคมเพราะพวกเขารู้สึกว่าตนเองไม่รู้กาลเทศะ และมักพบว่าตนเองพูดหรือทำบางอย่างไม่เหมาะสม และไม่ทันระวังเบาะแสทางสังคมบางอย่าง แน่นอนว่าไม่มีคู่มือใดๆ จะมาสอนคุณว่าแบบเจาะจงว่าต้องทำยังไงในแต่ละสภาพการณ์ และทำยังไงจึงจะไม่อับอายหรือเสียหน้า แต่ก็ยังพอมีบางสิ่งที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ในแต่ละสภาพการณ์:
    • หากคุณมีเพื่อนหรือคนรู้จักที่มีทักษะทางสังคมขั้นเทพ พยายามใช้เวลากับคนๆ นั้นให้มากกว่าเดิม เพื่อที่จะศึกษาว่าเขามีหลักการอย่างไรบ้าง
    • หากคุณทำบางสิ่งไปกระทบผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจหรือทำเรื่องอับอายหรือเสียหน้า จดบันทึกเอาไว้วันหลังจะได้ไม่ทำพลาดอีก
    • พยายามศึกษาพลวัตรของสังคมนั้นๆ ก่อนที่คุณจะเข้าไปร่วมวง เช่น หากพวกเขากำลังคุยกันอย่างสนุกสนาน มันก็ย่อมไม่ใช่เวลาที่คุณจะเข้าไปบ่นเรื่องการสอบปลายภาคที่ใกล้เข้ามา ในทางกลับกัน หากมีคนเอ่ยเรื่องเศร้าเกี่ยวกับการเพิ่งเลิกรากับแฟนมาหมาดๆ มันก็ไม่ใช่เวลาที่คุณจะมาเล่นมุกขำๆ
  5. คุณไม่จำเป็นต้องเท่เหมือนเจมส์ ดีนเพื่อจะให้คนอื่นชื่นชอบ ที่จริงแม้แต่การทำอะไรหน้าแตก เซ่อซ่า หรือทำจานข้าวหกเลอะตัวเอง ก็ยังดูน่ารักสำหรับใครบางคนได้ แม้ว่าคุณควรจะพัฒนาทักษะทางสังคม แต่ก็อย่าดิ้นรนให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบมากไป เพราะคนอื่นจะรู้ได้ว่าคุณไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง ทั้งนี้ การยอมรับในเรื่องหน้าแตกของตัวเอง ไม่ได้หมายความให้คุณพูดออกมาว่า “โอ้ว แย่จังเลย หน้าแตกอีกแล้ว” ตลอดเวลา แต่มันหมายถึงการให้อภัยตัวเองเมื่อใดก็ตามที่คุณเผลอทำอะไรขายหน้าลงไป
    • รู้จักหัวเราะให้กับตัวเอง ซึ่งจะเป็นการทำให้คนรอบข้างรู้สึกผ่อนคลายเวลาอยู่กับคุณมากขึ้น เพราะพวกเขาตระหนักว่าคุณยอมรับในความผิดพลาดของตัวเองได้อย่างสบายๆ
    • คุณไม่จำเป็นต้องดูหมิ่นตัวเองมากเกินไป ในการหัวเราะให้กับตัวเอง ขอแค่รู้จักท่าทีและน้ำเสียงอย่างเหมาะสม เช่น หากคุณเผลอทำอาหารหกใส่ตัวเอง และมีคราบซอสเปรอะอยู่บนเสื้อให้คุณอับอายหรือเสียหน้า เมื่อมีใครบางคนมาล้อคุณในเรื่องดังกล่าว คุณก็อาจจะแค่ตอบว่า “เชื่อเหอะว่า ปกติเราซุ่มซ่ามกว่านี้เยอะ” แทนที่จะทำท่าอับอายหรือเสียหน้าให้พวกเขาเห็น
  6. ถึงแม่ว่านี่อาจดูเป็นเรื่องเล็ก แต่หลายๆ ครั้งที่ความอับอายหรือเสียหน้าในสถานการณ์ต่างๆ มักเกิดจากความไม่ตรงต่อเวลา หากคุณไปงานใดก่อนที่คนอื่นจะมาถึงกัน คุณก็จะกลายเป็นคนที่ต้องเอาแต่ยืนคุยกับผู้จัดงาน โดยไม่มีหัวข้อให้คุยกัน แถมยังอาจเป็นการไปเกะกะพวกเขาอีก สุดท้ายก็อาจต้องไปยืนกร่อยหลบมุมคนเดียว ในทางกลับกัน หากคุณไปปรากฏตัวที่งานช้าเกินไป คนส่วนใหญ่ในงานก็มักจะสร้างปฏิสัมพันธ์กันไปจนตลาดวายแล้ว ซึ่งคุณก็จะหาโอกาสเข้าไปร่วมวงสนทนาได้ยากขึ้น
    • หากคุณไปงานปาร์ตี้ การไปถึงงานตรงเวลาเป๊ะ อาจทำให้คุณดูเหมือนกระตือรือร้นมากเกินไป เวลาที่ดีที่สุด คือ อย่างน้อยสิบห้านาทีหลังจากงานเริ่ม ในกรณีที่ไม่มีกำหนดเวลาตายตัว ซึ่งแน่นอนว่า ในงานบางประเภท คุณไม่ควรไปช้ากว่ากำหนดหากมันดูเสียมารยาท
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ลดโอกาสทำเรื่องขายหน้า เวลาอยู่กับคนหมู่มาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี่เป็นหัวใจหลักในการพบปะเข้าสังคมกับเพื่อนใหม่ๆ คุณอาจรู้สึกอยากจะเอาหัวข้อข่าวดังมาคุย เพื่อให้เห็นว่าตนเองทันโลก หรืออาจอยากจะโชว์พาวว่าคุณรู้เทคนิคการปรุงอาหารสูตรอินเตอร์แนวใหม่ แต่หากคุณอยากจะมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผู้อื่น คุณควรจะแสดงความสนใจในตัวผู้อื่นมากกว่าที่จะเอาแต่พูดเรื่องตัวเองตลอดเวลา โดยคุณอาจหลีกเลี่ยงการทำตัวโชว์ออฟ และหันมาแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าคุณใสใจ ด้วยการทำสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ :
    • หากใครกำลังอ่านหนังสืออยู่ ลองถามเขาว่า ชอบหนังสือเล่มนี้ตรงไหน
    • หากคุณเห็นใครใส่เสื้อปักโลโก้สถานศึกษา หรือชมรมใดๆ ก็ตาม และบังเอิญคุณมีความรู้เกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ คุณก็อาจลองถามว่าพวกเขาเคยสังกัดที่นั่นหรือเปล่า และลองถามความเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับสถานที่ดังกล่าวด้วย
    • หากคุณเดินสวนกับใครโดยบังเอิญ ก็ลองถามไถ่สักหน่อยว่าพวกเขากำลังจะไปไหน บางทีอาจมีหัวข้อสนทนาถึงสิ่งที่พวกเขาสนใจ ให้ต่อยอดกันได้อีก
    • สอบถามเกี่ยวกับแผนการในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้
  2. หากคุณต้องการแสดงความสนใจผู้อื่น ก็ไม่ควรยิงคำถามแบบทั่วไปตามที่นึกได้ เพราะพวกเขาอาจรู้สึกว่าคุณถามไปยังงั้นเอง หรือมองว่าคุณไร้มารยาทด้วย พยายามถามด้วยคำถามที่ทำให้พวกเขาสามารถตอบเป็นเรื่องเป็นราวได้ และแสดงถึงความใส่ใจของคุณที่อยากรู้เรื่องของพวกเขาจริง อย่าถามในลักษณะปิดที่ให้ตอบว่า “ใช่” หรือ “ไม่” นอกจากว่าคุณจะมีคำถามต่อเนื่องเท่านั้น ซึ่งคุณอาจลองฝึกถามในลักษณะดังนี้เพื่อแสดงความใส่ใจ:
    • "ไม้เทนนิสของคุณสวยจัง เล่นมานานแล้วเหรอครับ/คะ"
    • "คุณอ้อยเขาชอบจัดงานเลี้ยงที่บ้านประจำเลย ว่าแต่…คุณรู้จักเธอมานานรึยัง"
    • "ฉันก็ชอบอ่านเรื่องเพชรพระอุมาเหมือนกันนะ นี่เธออ่านเล่นหรือที่โรงเรียนให้อ่านเป็นหนังสือนอกเวลาล่ะ อ่านแล้วชอบมั้ย"
    • "นายว่าคราวนี้เขาออกข้อสอบยากไปไหมเพื่อน เราไม่อยากเชื่อเลยว่าจะยากขนาดนี้"
  3. การที่จะรู้จักเพื่อนใหม่ๆ คุณจำเป็นต้องฝึกการคุยปลีกย่อยให้ชำนาญไว้บ้าง การคุยในลักษณะนี้อาจดูไร้สาระ แต่มันสามารถช่วยให้คุณรู้จักคนอื่นมากขึ้น และยังสามารถต่อยอดไปยังเรื่องที่จริงจังหรือมีความหมายมากขึ้นได้ ซึ่งหลักการโดยทั่วไป คุณก็แค่ต้องคอยรักษาจังหวะและความไหลลื่นของบทสนทนาเอาไว้ และรู้จักต่อยอดหัวข้อสนทนาให้ต่อเนื่องกันไป รวมถึงดูท่าทางให้ออกด้วยว่า คู่สนทนาอยากจะคุยเรื่องใดกันแน่ ต่อไปนี้เป็นข้อควรจำเวลาที่คุณจะคุยแบบปลีกย่อย :
    • จงทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดี ทำให้พวกเขาผ่อนคลายด้วยการยิ้มให้ อย่าเอนตัวเข้าหามากเกินไป และใส่ใจพวกเขาขณะพูดคุย
    • เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวเองบาง เช่น บอกว่าคุณชอบดูฟุตบอล คุณมาจากภาคเหนือ หรือคุณชอบศึกษาเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อะไรก็ได้ที่จะเป็นการเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้รู้ว่าจะคุยอะไรกับคุณดี
    • เป็นผู้ฟังที่ดี หากคู่สนทนาของคุณเคยเล่าว่าเขามีน้องสาว และต่อมาพวกเขาพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับญาติพี่น้องขึ้นมาอีก คุณอาจจะถามว่า “เห็นคุณบอกว่ามีน้องสาวด้วยนี่นา พวกคุณอายุห่างกันเยอะมั้ย” ซึ่งจะทำให้คู่สนทนาประทับใจที่คุณจำได้
    • ตรึงคู่สนทนาเอาไว้ ด้วยการหมั่นถามคำถาม และรักษาความเป็นไปในการพูดคุยโต้ตอบ โดยไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าถูกคุณแย่งพูดฝ่ายเดียว หรือปล่อยให้พวกเขาพูดอยู่ฝ่ายเดียว
  4. อย่าคุยเรื่องส่วนตัวลึกเกินไปในช่วงเริ่มต้น. ในช่วงที่คุณและคู่สนทนาเริ่มรู้จักกันมากขึ้นแล้ว ค่อยคุยเรื่องที่เป็นส่วนตัว แต่ในช่วงเพิ่งเจอกันใหม่ๆ คุณควรหลีกเลี่ยงหัวข้อดังกล่าว ไม่งั้นอีกฝ่ายจะรู้สึกอึดอัดได้ สาเหตุหนึ่งที่เกิดบรรยากาศมาคุระหว่างสังสรรค์กัน เพราะมีฝ่ายหนึ่งพูดเรื่องที่ทำให้อีกฝ่ายอึดอัด โดยที่ฝ่ายแรกไม่รู้ตัวเลย ต่อไปนี้คือ ตัวอย่างหัวข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในระยะเริ่มต้น :
    • การเลิกรากับคนรัก
    • การสูญเสียคนที่พวกเขารักไป
    • ประสบการณ์ทางเพศของพวกเขา
    • ปัญหาสุขภาพของตัวคุณเอง
    • ปัญหาชีวิตส่วนตัว
    • เหตุการณ์ที่เคยทำให้ขายหน้า
  5. การเปิดเผยมากไป ก็ไม่ต่างอะไรกับการตีสนิทมากเกินไปนั่นเอง บางทีคุณอาจเป็นพวกไม่รู้กาลเทศะประเภทที่คิดว่าคู่สนทนาไม่มีอะไรจะพูด ก็เลยช่วยชดเชยด้วยการพูดเองอยู่ฝ่ายเดียว แต่กลับมาฉุกคิดได้ภายหลังว่า “นี่เราเผลอพูดเรื่องที่แม่เราติดการพนันให้พวกเขาฟังได้ยังไงเนี่ย” แม้ว่าคุณอาจจะรู้สึกว่าควรพูดไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาความลื่นไหลของวงสนทนาเอาไว้ แต่ที่จริงแล้ว คุณควรหยุดสักครู่ และพยายามชักนำหัวข้อสนทนาไปในทิศทางที่ทุกฝ่ายคุยได้อย่างสบายใจ ต่อไปนี้คือตัวอย่างหัวข้อที่คุณควรหลีกเลี่ยงในการเปรยขึ้นมา ไม่งั้นอาจกลายเป็นว่า ดันเผลอไปเปิดเผยเรื่องลับมากเกินไป:
    • ควมปรารถนาในส่วนลึก
    • ปัญหาคาราคาซังกับพ่อแม่
    • ชีวิตรันทดในวัยเด็ก
    • ความรู้สึกเสียใจ อ้างว้าง โดดเดี่ยว หรือความรู้สึกซีเรียสด้านลบต่างๆ
    • ผื่นคันแปลกๆ ที่ขึ้นมาตามแขนของคุณ
    • เหตุการณ์ตอนที่ตัวเองเมาจนอ้วกแตก
  6. อ่านท่าทางของอีกฝ่าย เพื่อป้องกันการหาเรื่องโดยไม่ตั้งใจ. คุณควรมีความเข้าใจเพื่อนใหม่หรือคู่สนทนาอีกฝ่ายพอสมควร ก่อนที่จะปล่อยมุกตลกหรือด่านักการเมืองคนไหนให้เขาฟัง คนเราแต่ละคนต่างกัน และไม่ใช่ว่าทุกคนจะมุมมองทางการเมือง ศาสนาและกีฬาเหมือนคุณ จำไว้ว่า ต่อให้พวกคุณอยู่ในวงสังคมเดียวกัน ก็ไม่ได้แปลว่าแต่ละคนมีมุมมองต่อบุคคลและสิ่งรอบข้างเหมือนกัน ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างหัวข้อที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการหาเรื่องอีกฝ่ายโดยไม่ตั้งใจ:
    • ตลกลามกทุกประเภท
    • การวิจารณ์เชิงลบต่อนักการเมืองคนใดๆ
    • ความเห็นว่าพระเจ้าเป็นเรื่องเหลวไหล หรือไม่มีตัวตนอยู่จริง
    • วิจารณ์เกี่ยวกับคนที่คุณทั้งคู่ต่างรู้จัก
    • วิจารณ์เกี่ยวกับความน่าสมเพชของพวกแฟนคลับของทีมกีฬา หรือศิลปินนักร้องคนใดก็ตาม
    • เรื่องตลกที่รู้กันเฉพาะกลุ่ม
    • การพุดเรื่องใดๆ ก็ตามที่ชวนให้อีกฝ่ายสงสัยว่า “ฉันว่าคงต้องรู้จักกับเจ้าหมอนี่ไปสักระยะก่อน ถึงจะเข้าใจว่าทำไมเขาถึงได้พูดเรื่องนี้ขึ้นมา”
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ลดโอกาสอับอายหรือเสียหน้าลง ต่อหน้าคนที่คุณแอบชอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพยายามไม่ทำเรื่องอับอายหรือเสียหน้าต่อหน้าเพื่อนและคนแปลกหน้า ก็ถือว่ายากพออยู่แล้ว แต่การจะไม่ทำเรื่องดังกล่าวต่อหน้าคนที่ตัวเองแอบชอบ เผลอๆ จะเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ แต่ยังไงก็ยังพอมีทางเสริมความมั่นใจทางสังคมเวลาอยู่กับคนที่คุณแอบชอบอยู่บ้าง ซึ่งเริ่มได้ง่ายๆ ด้วยการวางฟอร์มให้ดีๆ อย่าทำตัวเหมือนสุนัขที่ไปขึ้นขย่มขาทุกคนที่เดินผ่านมา ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการวางฟอร์มให้ดี โดยไม่ดูดิ้นรนมากเกินไป:
    • ยิ้มและกล่าวทักทาย แต่ยังไม่ต้องถึงกับเข้าไปกอด นอกเสียจากว่าพวกคุณเคยกอดกันมาก่อนหน้านี้ หากคุณไม่แน่ใจ ก็รอให้อีกฝ่ายเข้ามากอดเองดีกว่า
    • หากคุณเห็นคนรู้จักเดินสวนมาตามทางเดิน ถ้าคุณอยู่ใกล้พอก็จึงค่อยทักทายพวกเขา แต่อย่าดิ้นรนถึงขนาดวิ่งข้ามมาจากอีกฝั่ง เพื่อกล่าวทักทาย ไม่งั้นจะดูเหมือนพวกสะกดรอยตาม
    • อย่าพยักหน้าบ่อยหรือจงใจเกินไป โดยหวังจะแสดงให้เห็นความใส่ใจเวลาฟังอีกฝ่ายพูด การพูดตอบกลับแบบมีความหมาย ย่อมสื่อได้ดีกว่าการพยักหน้า
    • อย่าหัวเราะทุกครั้งเวลาที่อีกฝ่ายพูดจบประโยค โดยเฉพาะเวลาที่พวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะให้ขำ
  2. การจะลดความกร่อยของบรรยากาศในการสังสรรค์ลงนั้น คุณต้องแยกให้ออกระหว่างความเห็นที่ดี กับความเห็นอันน่าขนลุก อย่าชมฝ่ายหญิงว่า “เส้นผมบนหัวเธอมันดูฟูนุ่มดีจัง เราอยากเอามือไปลูบสักที” นอกเสียจากว่าคุณอยากจะให้สาวคนนั้นถอยกรูดไป คุณควรพูดประมาณว่า “ชอบทรงผมเธอจัง เราว่ามันดูคล้าย (ใส่ชื่อดาราสาวสวยสักคน)” การแสดงความเห็น ควรแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจของคุณ มากกว่าการรุกล้ำพวกเขาเกินงาม[Image:Be Less Awkward Step 14.jpg|center]]
    • "คุณยิ้มสวยจัง" หรือ "คุณหัวเราะน่ารักจัง" ถือเป็นคำชมที่ปลอดภัยที่สุด
    • ผู้หญิงมักรู้สึกเป็นคนพิเศษ เวลาคุณชมเกี่ยวกับเสื้อผ้าและเรื่องประดับของเธอ
    • การชื่นชมลักษณะบุคลิกภาพบางอย่างของอีกฝ่าย ก็ใช้ได้เช่นกัน การชมฝ่ายชายว่า พวกเขาเป็นคนมีอารมณ์ขัน จะทำให้พวกเขารู้สึกดี
    • ชมแต่พองาม หากคุณกล่าวชมอีกฝ่ายทุกๆ นาที เขาหรือเธอย่อมรำคาญและรู้สึกเอียนได้
  3. สถานการณ์น่าอึดอัดอีกอย่างในการปฏิสัมพันธ์ เกิดขึ้นเมื่อคุณยืนคุยกับอีกฝ่ายแบบประชิดตัวเกินไป จนคล้ายว่ากำลังจะเอนกายเข้าไปจูบพวกเขา บางทีคุณอาจทำไปเพราะต้องการแสดงความใส่ใจ แต่การยืนติดแบบห่างกันแค่คืบ หรือเอนกายเข้าหามากเกินไปจนอีกฝ่ายต้องขยับถอย เกรงว่าอีกฝ่ายจะไม่ถือเป็นความน่าพิศมัยน่ะสิ
    • รักษาระยะห่างเพื่อให้เกียรติคู่สนทนา และใช้มือประกอบท่าทางบ้าง เพื่อให้การสนทนาดูมีรสชาติ
    • พยายามสบตา และมองไปทางอื่นสลับบ้าง เพื่อไม่ให้ดูเคร่งขรึมเกินไป
    • อย่าถือวิสาสะในการจับเส้นผมฝ่ายหญิง จนกว่าเธอจะอนุญาต เพราะพวกเธอไม่ค่อยชอบให้จับเท่าไรหรอก
  4. จำไว้ว่า คนที่คุณชอบ ก็อาจจะชอบคุณเหมือนกัน ดังนั้นเขาหรือเธอก็อาจประหม่าไม่ใช่เล่น คุณจึงควรทำให้พวกเขาหายเกร็งด้วยการมีท่าทีเป็นมิตร หัวเราะบ้างเป็นบางคราวหากคุณรู้สึกว่าอีกฝ่ายตั้งใจเล่นมุก รวมถึงแสดงท่าทางเห็นด้วยเวลาที่อีกฝ่ายดูเหมือนต้องการเช่นนั้น หากเธอเล่าเรื่องตลก จงหัวเราะ หากเธอเริ่มคุยเครียดๆ จงขมวดคิ้วและห้ามดูเหมือนยิ้ม ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณกำลังอยู่ในอารมณ์เดียวกัน และไม่คิดจะแซวหรือล้อเลียนใดๆ
    • หากคุณต้อนรับคนที่คุณชอบในฐานะเจ้าภาพ คุณควรหาที่นั่ง เครื่องดื่ม และขนมขบเคี้ยวมาบริการ
    • การเสียดสีตัวเองแบบขำๆ จะช่วยให้อีกฝ่ายผ่อนคลายได้มากขึ้น
    • หากอีกฝ่ายทำอะไรหกเลอะเทอะ คุณก็อาจเปรยว่า “ผมทำแบบนั้นประจำเลย”
  5. เนื่องจากสถานการณ์น่าอับอายหรือเสียหน้าหลายๆ อย่างมักเกิดขึ้นเวลาที่คุณทำอะไรผิดจังหวะเวลา ดังนั้น ไม่เพียงจังหวะในการเข้ารวมวงสนทนาเท่านั้น แต่คุณควรรู้จังหวะการจากลาด้วย หากคุณกำลังคุยกับคนที่ตนเองชอบ คุณควรปิดการสนทนาเสียก่อนที่จะหมดเรื่องคุย หรือในช่วงที่การนทนายังคงออกรสชาติอยู่ เพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกอยากให้คุณกลับมาคุยด้วยในครั้งต่อไป
    • หากอีกฝ่ายแสดงท่าทีให้คุณรู้ว่า เธออยากให้คุณไปไกลๆ เช่น คอยก้มมองนาฬิกา โทรศัพท์ หรือหันไปมองหาเพื่อนๆ ของเธอ คุณควรกล่าวลาออกมาแต่โดยดี
    • ในกรณีดังกล่าว คุณอาจจะพูดว่า “ยังไงผมก็ยังยินดีที่ได้รู้จักนะ” อย่าพูดว่า “ก็แหงล่ะ ไม่ค่อยมีใครอยากคุยกับผมหรอก” ซึ่งจะทำให้บรรยากาศมาคุเข้าไปใหญ่
    • หากการสนทนาเป็นไปได้สวยดี ก็แค่พูดว่า “หวังว่าจะได้เจอกันอีกนะ” และเดินจากไปอย่างสง่างาม
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • อย่ายืนหลบมุมและแอบจ้องผู้อื่น มันจะยิ่งทำให้คุณดูน่าเย้ยหยัน และหากคุณจ้องมากเกินไป ก็จะดูน่าขนลุก
  • อย่ากลัวที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้อื่น หากคุณอยากพูดอะไรก็พูดเลย การเก็บงำคำชมเอาไว้ ก็ทำให้คุณมีท่าทางดูน่าอึดอัดได้ แต่ยังไงก็ระวังการใช้คำพูดด้วยแล้วกัน
  • หลังจากคุยกับคนหนึ่งเสร็จแล้ว ก็เข้าหาคนอื่นต่อไปเลย หรือจะชวนพวกเขามาร่วมวงสนทนาเดียวกันเลยก็ได้ อย่าทำความรู้จักแค่คนเดียว
  • จงมั่นใจในรูปลักษณ์ของตนเองว่าดูดีในระดับหนึ่ง หากผมเผ้ายุ่งเหยิงหรือใส่เสื้อผ้าประหลาดๆ จะเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้ผู้อื่นจดจำคุณในฐานะตัวประหลาด และไม่น่าคบหา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,064 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา