ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ใครๆ ก็มีอาการเมาเครื่องบินได้ แต่สำหรับบางคนอาจจะรู้สึกไวกว่า และมีปัญหาเกือบทุกครั้งที่เดินทางโดยเครื่องบิน อาการเมาเครื่องบินเป็นภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวอย่างหนึ่ง เกิดจากการที่ประสาทสัมผัสส่งสัญญาณที่ไม่สอดคล้องกันไปยังสมอง สายตาของคุณปรับให้เข้ากับการขาดการเคลื่อนไหวรอบๆ ตัว และส่งสัญญาณไปยังสมองว่าคุณกำลังนั่งเฉยๆ แต่หูชั้นในของคุณสามารถจับการเคลื่อนไหวได้ สัญญาณที่ไม่สอดคล้องกันนี้จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ หรือบางครั้งอาจอาเจียนได้ โชคดีที่ยังพอมีวิธีที่จะช่วยคุณได้ในการหลีกเลี่ยงอาการเมาเครื่องบิน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัวสำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใส่ใจกับอาหารที่คุณกินอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเดินทาง พยายามอย่ากินของมันที่น้ำมันชุ่มๆ หรืออาหารที่ใส่เครื่องเทศ ใส่เกลือเยอะๆ ควรกินอาหารหรือของว่างให้น้อยลงแต่บ่อยขึ้นก่อนเดินทาง หลีกเลี่ยงการกินอาหารหนักๆ ก่อนขึ้นเครื่อง [1]
    • อย่ากินอาหารที่จะทำให้คุณต้องกังวลอยู่กับท้องไส้ เช่น อาหารที่จะทำให้รู้สึกจุกเสียดหรือกรดไหลย้อน ยิ่งคุณจดจ่อกับท้องได้น้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งดี [2]
    • พยายามอย่ากินอะไรก่อนขึ้นเครื่องทันที แต่ก็อย่าปล่อยให้ท้องว่างแล้วขึ้นเครื่องเช่นกัน [3]
  2. การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเดินทางอาจเป็นสาเหตุของการเมาเครื่องบินในหลายๆ คนได้ พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และควรดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ [4]
  3. หลายๆ ครั้งคุณสามารถเลือกที่นั่งบนเครื่องได้ตอนซื้อตั๋วเลย ควรเลือกที่นั่งติดหน้าต่างแถวๆ ปีกเครื่องบิน [5]
    • ที่นั่งใกล้ปีกเครื่องบินจะเป็นส่วนที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวได้น้อยที่สุดขณะบิน และการนั่งติดหน้าต่างจะทำให้คุณได้มองและมุ่งความสนใจไปที่ขอบฟ้าหรือวัตถุคงที่อื่นๆ ในระยะไกล [6]
    • ถ้าที่นั่งเหล่านั้นไม่ว่าง ให้เลือกที่นั่งใกล้ส่วนหน้าที่สุดและติดหน้าต่างแทน ส่วนหน้าของเครื่องบินเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวได้น้อยขณะบิน
  4. การพักผ่อนให้สบายตั้งแต่เริ่มออกเดินทางจะทำให้ร่างกายของคุณผ่อนคลายได้มากขึ้น [7]
  5. การป้องกันอาการเมาเครื่องบินจะดีกว่าการพยายามรักษาเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว แพทย์อาจช่วยได้โดยสั่งจ่ายยาป้องกันอาการเมาให้ [8]
    • ยาหลายชนิดสามารถช่วยป้องกันอาหารเมาได้ บางตัวอาจมีขายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาไดเมนไฮดริเนต (dimenhydrinate) หรือดรามามีน (Dramamine) และ เมคลีซีน (meclizine) [9]
    • ตัวช่วยที่ได้ผลยิ่งขึ้นที่แพทย์อาจสั่งจ่ายก็มี เช่น สโคโปลามีน (scopolamine) ที่มักจะมาในรูปแบบแผ่นแปะ ใช้แปะหลังหูประมาณ 30 นาที ก่อนขึ้นเครื่องบิน
    • ยาอื่นๆ ก็มีให้เลือกเช่นกัน แต่อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่ดีสำหรับคุณ อย่างเช่น ยาโปรเมทาซีน (promethazine) และเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) [10]
    • ยาโปรเมทาซีนนิยมใช้รักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนที่เกิดจากการป่วย แต่มีฤทธิ์กดประสาทซึ่งจะคงอยู่นานหลายชั่วโมง [11]
    • ยาเบนโซไดอะซีปีนก็สามารถช่วยป้องกันการเมาเครื่องบินได้เช่นกัน แต่หลักๆ แล้วจะใช้ควบคุมอาการวิตกกังวล และมีฤทธิ์กดประสาทอย่างรุนแรง ตัวอย่างยาอื่นๆ ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาอัลปราโซแลม (alprazolam), ลอราซีแพม (lorazepam) และ โคลนาซีแพม (clonazepam) [12]
    • แพทย์จะรู้ว่ายาตัวไหนดีที่สุดสำหรับคุณ [13]
  6. ยาบางตัวที่คุณกินประจำอาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ได้ง่ายกว่าคนอื่น แพทย์อาจจะช่วยปรับเปลี่ยนการให้ยาชั่วคราวสำหรับการเดินทางของคุณได้
    • ห้ามเปลี่ยนวิธีการกินยาของคุณด้วยตัวเองเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และมีปัญหาอื่นๆ ที่คุณคงไม่อยากให้เกิดขึ้นระหว่างเดินทาง และยังอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้อาการป่วยของคุณแย่ลงด้วย
  7. แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนสำหรับผลของการกดจุดหรือการกินขิง แต่หลายคนก็เชื่อว่าวิธีนี้ใช้ได้ผลจริง แถบรัดนี้จะกดที่ข้อมือเพื่อกระตุ้นจุดซึ่งเชื่อว่าจะช่วยไม่ให้คลื่นไส้และอาเจียนได้ [14]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ระหว่างเดินทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเพ่งมองสิ่งที่อยู่ใกล้หน้าและตาจะยิ่งทำให้สัญญาณจับการเคลื่อนไหวในสมองแย่ลง [15]
    • พยายามใช้หูฟังเพื่อฟังเพลง ฟังหนังสือเสียง หรืองานต่างๆ หรือดูภาพยนตร์บนเครื่องเพื่อฆ่าเวลา
  2. การมองสิ่งที่อยู่นิ่งๆ ไกลๆ จะช่วยให้สมองคุณรู้สึกดีขึ้นและทำให้ความสมดุลในร่างกายคงที่ การเลือกที่นั่งติดหน้าต่างจะช่วยให้คุณมองออกไปหาสิ่งที่อยู่นิ่งอย่างขอบฟ้าได้ [16]
  3. ควรให้อากาศบริสุทธิ์เป่าลงมาแถวๆ ใบหน้า การหายใจเอาอากาศเย็นๆ บริสุทธิ์เข้าไปจะช่วยให้คุณผ่อนคลายและไม่ร้อน พัดลมพกพาขนาดเล็กก็ช่วยให้อากาศเย็นและถ่ายเทเช่นกัน [17]
  4. การหายใจถี่ๆ ไม่ลึก จะยิ่งทำให้อาการแย่ลง การสูดหายใจช้าๆ ลึกๆ จะช่วยจัดการอาการเมาเครื่องบินได้ดีกว่าการหายใจแบบปกติ [18]
    • การใช้เทคนิคที่จะทำให้หายใจได้ช้าและลึกขึ้นจะช่วยให้คุณมีส่วนร่วมกับระบบประสาทที่เรียกว่า ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (parasympathetic nervous system) ที่มีหน้าที่ทำให้รู้สึกสงบ การหายใจแบบนี้จะช่วยให้คุณผ่อนคลายและสร้างภาวะสงบนิ่งให้กับร่างกาย [19]
  5. วิธีนี้จะช่วยให้ผ่อนคลาย และยังช่วยให้การเคลื่อนไหวของศีรษะคุณคงที่ด้วย จะใช้หมอนรองคอก็ได้ถ้ามันทำให้รู้สึกสบายกว่า [20]
  6. กินอาหารเบาๆ และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนระหว่างเดินทาง. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะ ระหว่างเดินทางควรกินขนมปังกรอบและดื่มน้ำใส่น้ำแข็งแทน [21]
    • ดื่มน้ำเยอะๆ ระหว่างการเดินทาง เพื่อคงความชุ่มชื้นให้ร่างกาย [22]
  7. ถ้าคุณเริ่มรู้สึกคลื่นไส้ให้ยืนขึ้น การเอนหลังหรือนอนไปบนที่นั่งนั้นไม่ช่วยให้ดีขึ้น การยืนจะช่วยให้ร่างกายของคุณสร้างภาวะสมดุล และต่อต้านอาการคลื่นไส้ได้ [23]
  8. ขอพนักงานเปลี่ยนที่นั่งหากคนรอบข้างคุณเมาเครื่องบิน. การได้กลิ่นหรือได้ยินเสียงคนรอบข้างที่เมาเครื่องบินอาจเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้คุณรู้สึกเมาเครื่องบินมากขึ้น การขอเปลี่ยนที่นั่งบนเครื่องบินอาจจะไม่ง่ายเสมอไป แต่มันก็คุ้มที่จะลอง [24]
  9. พยายามคิดเรื่องดีๆ และผ่อนคลายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อยู่นิ่งๆ และสนใจอย่างอื่นแทน [25]
    • ถ้าคุณกำลังเดินทางเพื่อไปทำธุรกิจ ให้คิดถึงงานที่คุณกำลังจะไปเสนอ หรือถ้าคุณกำลังเดินทางเพื่อไปท่องเที่ยว ให้คิดถึงวันหยุดพักผ่อนสบายๆ ที่คุณกำลังจะได้เจอ
  10. การฟังเพลงโดยใส่หูฟังสามารถช่วยให้คุณจดจ่ออยู่กับเพลง ผ่อนคลายจิตใจและร่างกาย และตัดเสียงรบกวนรอบข้างที่อาจยิ่งทำให้เครียดและกังวลขึ้นได้ เช่น เสียงเด็กร้อง หรือคนที่เมาเครื่องบิน [26]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ขอความช่วยเหลือหากมีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความวิตกกังวลเป็นสาเหตุหนึ่งของการเมาเครื่องบิน ถ้าใช้วิธีการบำบัดด้วยการรับรู้ คุณจะสามารถฝึกควบคุมความรู้สึกกังวล กลัว และเอาชนะอาการเมาเครื่องบินได้ [27]
  2. เทคนิคนี้จะสอนให้คุณจดจ่ออยู่กับความคิดและพลังในการควบคุมกล้ามเนื้อ และช่วยให้คุณรับรู้ความรู้สึกทางกายต่างๆ ได้ดีขึ้น [28]
    • ฝึกกล้ามเนื้อจากล่างขึ้นบน หรือจากบนลงล่าง เช่น เริ่มจากนิ้วเท้าก่อน เกร็งกล้ามเนื้อทีละส่วนค้างไว้ประมาณ 5 วินาที และคลายกล้ามเนื้อ 30 วินาที ทำซ้ำสองสามครั้งก่อนข้ามไปยังกล้ามเนื้อส่วนต่อไป [29]
  3. แม้แต่นักบินบางคนก็มีอาการเมาเครื่องบินเหมือนกัน นักบินหลายคนหรือผู้ที่ทำงานที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบินบ่อยๆ จะใช้การฝึกความเคยชินเพื่อเอาชนะปัญหานี้ มันเป็นการเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกป่วยซ้ำๆ เช่น เดินทางระยะสั้นด้วยเครื่องบินบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนที่คุณจะต้องเดินทางไกลโดยเครื่องบิน [30]
  4. เรียนรู้เทคนิคที่ช่วยควบคุมกระบวนการของร่างกาย (biofeedback). ผลการศึกษาพบว่าได้ผลดีกับนักบินที่มีปัญหาเมาเครื่องบิน นักบินเหล่านั้นสามารถเอาชนะอาการเมาเครื่องบินได้ โดยใช้เทคนิคไบโอฟีดแบ็คร่วมกับการผ่อนคลาย [31]
    • ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง นักบินเรียนรู้ที่จะเอาชนะอาการเมาเครื่องบิน โดยการนั่งบนเก้าอี้หมุนที่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ และมีการเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของพวกเขา เช่น อุณหภูมิของร่างกาย และความตึงตัวของกล้ามเนื้อ นักบินกลุ่มนี้สามารถควบคุมอาการป่วยจากการเคลื่อนไหวได้โดยใช้เครื่องมือไบโอฟีดแบ็คและวิธีการผ่อนคลาย [32]
  5. ถ้าอาการเมาเครื่องบินของคุณยังคงแย่ลงอย่างต่อเนื่องหรือมีอาการหนักมาก ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเกี่ยวกับหู จมูก คอ ความสมดุลของร่างกาย และระบบประสาท [33]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ใช้ประโยชน์จากระบบให้ความบันเทิงบนเครื่องบิน เที่ยวบินยาวหลายๆ เที่ยวบินมีภาพยนตร์ให้ชมทุกที่นั่ง โดยที่คุณไม่ต้องนั่งจ้องหน้าจอใกล้ๆ มันจะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของคุณจากอาการป่วยและช่วยให้ผ่อนคลาย
  • จิบเครื่องดื่มเย็นๆ ใส่น้ำแข็ง อย่างน้ำขิง น้ำเปล่า หรือน้ำอัดลมที่ไม่มีคาเฟอีน
  • อย่ากินอาหารบนเครื่องบินที่คุณไม่เคยกิน หรืออาหารที่คุณรู้ว่าไม่เหมาะกับคุณ ให้กินอะไรธรรมดาๆ อย่างแคร็กเกอร์
  • การคุยกับคนข้างๆ อาจช่วยหันเหความสนใจและฆ่าเวลาได้
  • มองหาถุงสำหรับอาเจียนเผื่อต้องใช้
  • ฟังเพลงเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของคุณไม่ให้รู้สึกคลื่นไส้
  • ลองเคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมเพื่อช่วยให้หายคลื่นไส้และเบี่ยงเบนความสนใจของคุณจากการป่วย
โฆษณา
  1. http://emedicine.medscape.com/article/2060606-medication#showall
  2. http://emedicine.medscape.com/article/2060606-medication#showall
  3. http://emedicine.medscape.com/article/2060606-medication#showall
  4. http://emedicine.medscape.com/article/2060606-medication#showall
  5. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  6. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_Steps_to_Staying_Well/hic_Travel_Medical_Kit/hic_What_You_Need_to_Know_about_Seasickness-or-motion-sickness
  7. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_Steps_to_Staying_Well/hic_Travel_Medical_Kit/hic_What_You_Need_to_Know_about_Seasickness-or-motion-sickness
  8. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_Steps_to_Staying_Well/hic_Travel_Medical_Kit/hic_What_You_Need_to_Know_about_Seasickness-or-motion-sickness
  9. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  10. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  11. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_Steps_to_Staying_Well/hic_Travel_Medical_Kit/hic_What_You_Need_to_Know_about_Seasickness-or-motion-sickness
  12. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=59876
  13. http://www.entnet.org/content/dizziness-and-motion-sickness
  14. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_Steps_to_Staying_Well/hic_Travel_Medical_Kit/hic_What_You_Need_to_Know_about_Seasickness-or-motion-sickness
  15. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_Steps_to_Staying_Well/hic_Travel_Medical_Kit/hic_What_You_Need_to_Know_about_Seasickness-or-motion-sickness
  16. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2014/chapter-2-the-pre-travel-consultation/motion-sickness
  17. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2014/chapter-2-the-pre-travel-consultation/motion-sickness
  18. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  19. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/relaxation-technique/art-20045368?pg=2
  20. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/relaxation-technique/art-20045368?pg=2
  21. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2014/chapter-2-the-pre-travel-consultation/motion-sickness
  22. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  23. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  24. http://www.entnet.org/content/dizziness-and-motion-sickness

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,208 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา