ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เด็กๆ ส่วนใหญ่ชอบเล่นวีดีโอเกม ถึงแม้วีดีโอเกมจะมีประโยชน์ ช่วยสอนทักษะบางอย่างหรือให้ความรู้แก่เด็ก แต่ถ้าเด็กชอบเล่นเกมหลายชั่วโมงทุกวัน สักวันก็อาจประสบปัญหาโรคอ้วนในเด็กและปัญหาการเรียนรู้ เราไม่จำเป็นต้องให้เด็กเลิกเล่นวีดีโอเกมไปเลย แต่ควรจำกัดเวลาเล่นและช่วยเด็กหากิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือไปจากการเล่นวีดีโอเกม เด็กจะได้มีโอกาสเล่นวีดีโอเกมน้อยลง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การกำหนดกฎให้ชัดเจนนั้นสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก บอกลูกไปตามความจริงว่าเราต้องการอะไร ให้ลูกรู้ว่าเราคาดหวังอะไรจากเขา และบอกให้ลูกเข้าใจอย่างชัดเจน เราควรกำหนดผลที่จะตามมาถ้าลูกทำผิดกฎ นั่งคุยกับลูกว่าเรามีกฎใหม่อะไรบ้าง [1]
    • อย่าพูดว่า “ลูกเล่นวีดีโอเกมได้วันละสองสามชั่วโมงเท่านั้นและห้ามเล่นวีดีโอเกมดึกเกินไป” คำพูดนี้ออกจากคลุมเครือไปสักหน่อย ให้พูดอย่างชัดเจนว่า “หลังกลับจากโรงเรียนลูกเล่นวีดีโอเกมได้หนึ่งชั่วโมง และห้ามเล่นวีดีโอเกมหลังสองทุ่ม”
    • เตรียมรับมือกับพฤติกรรมตอบโต้ที่ไม่พึงประสงค์ของลูก นี้เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราไม่เคยใช้กฎกับเขามาก่อน ลูกก็อาจจะโมโห เกรี้ยวกราด ร้องไห้ ขอร้องวิงวอน หรือแม้แต่ข่มขู่ อย่าไปสนใจ ถ้าลูกระเบิดอารมณ์ใส่และพยายามสงบสติอารมณ์เข้าไว้
  2. เราจะต้องบอกผลของการละเมิดกฎให้ชัดเจนและกระจ่าง เมื่อตั้งกฎขึ้นมา เราต้องให้ลูกเข้าใจถึงผลที่จะตามมาด้วย กำหนดผลของการละเมิดกฎให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นลูกจะสับสนได้ [2]
    • ตัวอย่างเช่น บอกลูกว่า “ถ้าลูกไม่อาละวาดหรือแสดงอาการโมโหเมื่อพ่อปิดวีดีโอเกมและถ้าลูกไม่เล่นวีดีโอเกมหลังเลยสองทุ่มไปแล้ว หลังกลับจากโรงเรียนลูกจะได้เล่นวีดีโอเกมวันละหนึ่งชั่วโมง แต่ถ้าลูกละเมิดกฎ เล่นวีดีโอเกมนานเกินหนึ่งชั่วโมงหรือเล่นวีดีโอเกมหลังสองทุ่ม ลูกจะไม่ได้เล่นวีดีโอเกมเลยในวันถัดไป”
  3. หลังจากกำหนดกฎและผลของการละเมิดกฎแล้ว เรา ต้อง ทำตามที่พูด ถ้าเราปล่อยให้เด็กละเมิดกฎโดยไม่ทำอะไรเลย เด็กก็จะคิดว่าเราไม่จริงจังและเขาก็จะไม่ทำตามกฎ ฉะนั้นทำตามคำพูดของตน ถ้าลูกละเมิดกฎ [3]
    • ทุกครั้งที่ลูกไม่ทำตามกฎ เขาจะได้รับผลของการละเมิดกฎ บางครั้งพ่อแม่ก็สงสารลูกขึ้นมาถ้าเขาทำตัวน่ารักหรือพ่อแม่เผลอทำโทษอย่างรุนแรงเมื่อลูกเถียงกลับ แต่เมื่อลูกไม่ทำตามกฎที่ตกลงกันไว้ เขาก็ควรได้รับผลจากการกระทำของตนเอง การทำแบบนี้ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎได้ แต่เราจะไม่เปลี่ยนแปลงกฎโดยไม่บอกลูกให้เข้าใจชัดเจนล่วงหน้าหรือทำเพราะความสงสารเห็นใจ
    • พึงระลึกไว้ว่าวีดีโอเกม ไม่ใช่ ของที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพดีและการอยู่ดีมีสุขของลูก ฉะนั้นจึงสามารถตัดออกไปได้ บางครั้งพ่อแม่ก็ลืมไปว่าสามารถงดการเล่นวีดีโอเกมของลูกไปตลอดเลยก็ได้ ถ้าลูกไม่สามารถเล่นวีดีโอเกมตามกำหนดเวลาของเราได้
  4. ใช้นาฬิกาจับเวลาและเตือนลูกให้เขาเตรียมตัวหยุดเล่นวีดีโอเกมเมื่อใกล้หมดเวลา เด็กอาจอยากเล่นวีดีโอเกมต่อจนพยายามขอผัดเวลาออกไป ถึงแม้จะรู้ว่าถึงเวลาที่ควรเลิกเล่นก็ตาม การเตือนลูกว่าใกล้หมดเวลาแล้วจะช่วยให้ลูกเตรียมตัวหยุดการเล่นวีดีโอเกม [4]
    • เตือนลูกเมื่อเหลือเวลา 15 และ 10 นาที
    • ตั้งนาฬิกาให้เตือนก่อนหมดเวลาห้านาที เมื่อได้ยินเสียงนาฬิกา จึงบอกลูกว่า “ลูกเหลือเวลาอีกห้านาที เข้าไปใกล้จุดเซฟเกมได้แล้ว”
  5. ให้เด็กทำการบ้านและงานบ้านหรือหน้าที่ของตนเองให้เสร็จในแต่ละวัน. เด็กควรจะทำหน้าที่ของตนให้เสร็จสิ้นก่อนได้รับอนุญาตให้เล่นวีดีโอเกม เด็กต้องทำการบ้านและงานบ้านที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ หลังเด็กทำหน้าที่ของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อนุญาตให้เด็กเล่นวีดีโอเกมได้
    • ให้ลูกเล่นวีดีโอเกมเป็นรางวัลหลังจากทำการบ้านและงานบ้านที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวันเสร็จแล้ว
    • เตรียมรับมือกับความดื้อของเด็กในช่วงแรกๆ ถ้าครอบครัวไม่เคยใช้กฎแบบนี้มาก่อน
  6. วิธีหนึ่งที่จะสามารถจำกัดเวลาเล่นเกมของเด็กได้และสามารถจับตาดูพวกเขาได้ด้วยคือการวางเครื่องเล่นเกมในห้องนั่งเล่นแทนไว้ในห้องนอนเด็ก เราจะบังคับใช้กฎได้ง่ายและลูกจะทำตามกฎที่ตั้งไว้ด้วย [5]
    • การวางเครื่องเล่นวีดีโอเกมไว้ในห้องนอนเด็กจะทำให้เด็กมีอิสระในการเล่นวีดีโอเกมมากเกินไปเมื่อไม่มีผู้ใหญ่ควบคุมดูแล นอกจากนี้การวางเครื่องเล่นวีดีโอเกมไว้ในห้องนอนเด็กก็อาจยั่วให้เด็กอยากเล่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็กที่ไม่สามารถควบคุมตนเองให้ทำตามกฎได้มากนัก
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ช่วยให้เด็กสามารถหยุดเล่นเกมได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ช่วยกันหากลวิธีให้เด็กหยุดเล่นเกมตามกำหนดเวลา. ให้ลูกมีส่วนในการจำกัดการเล่นวีดีโอเกมด้วย มีข้อตกลงกันว่าจะไม่เล่นวีดีโอเกมประเภทที่ตื่นเต้นเกินไปหรือใช้เวลาเล่นนานเกินไปหรือจะให้รางวัลอะไรเมื่อเด็กทำตามกฎของการเล่นวีดีโอเกมได้ [6]
    • ตัวอย่างเช่น ตกลงกับลูกว่าอย่าเพิ่งพยายามเอาชนะด่านที่ต้องใช้เวลาเล่นนาน ให้เขาใช้เวลาเล่นด่านนั้นช่วงสุดสัปดาห์แทน
    • ทั้งเราและลูกสามารถช่วยกันระดมสมองคิดว่าควรได้รับรางวัลอะไรบ้างเมื่อลูกสามารถทำตามกฎที่กำหนดไว้ได้หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน หรือนานกว่านั้น อย่าให้รางวัลเด็กเป็นการเพิ่มเวลาเล่นวีดีโอเกม พยายามหารางวัลที่ทั้งเราและเขาเห็นพ้องต้องกัน
  2. แทนที่จะไม่ให้เล่นวีดีโอเกมเลย ค่อยๆ จำกัดเวลาการเล่นลง ตัวอย่างเช่น ทุกครั้งที่ลูกกลับมาจากโรงเรียน เขาจะใช้เวลาเล่นเกมนานหลายชั่วโมง ให้จำกัดเวลาเล่นให้เหลือหนึ่งหรือสองชั่วโมงก่อน อธิบายเหตุผลด้วยว่าทำไมเราถึงลดเวลาเล่นวีดีโอเกมของลูกลงและให้ลูกรู้ว่าเราจะไม่ห้ามเมื่อถึงเวลาเล่นและยังอยากให้เขาสนุกกับการเล่นวีดีโอเกมอยู่ [7]
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “ลูกแสดงอาการโมโหและพูดจาไม่ดีใส่แม่เมื่อแม่บอกให้ลูกหยุดเล่นวีดีโอเกม ผลการเรียนของลูกก็ตกลงตลอดสองสามเดือนที่ผ่านมานี้เพราะมัวแต่เอาเวลามาเล่นวีดีโอเกม เรื่องนี้แม่รับไม่ได้ ลูกยังสามารถเล่นวีดีโอเกมได้อยู่แต่แม่จะเป็นคนกำหนดเวลาการเล่นของลูกในแต่ละวัน”
    • การห้ามไม่ให้ลูกเล่นวีดีโอเกมอีกเลยอาจให้ผลตรงข้ามมากกว่า เราต้องการลดชั่วโมงการเล่นวีดีโอเกมของลูก ไม่ใช่ห้ามเขาไม่ให้เล่นเลย
  3. การให้หยุดเล่นวีดีโอเกมทันทีนั้นยากและอาจไม่สามารถหันเหให้ลูกไปทำกิจกรรมอื่นๆ ได้โดยทันที ฉะนั้นเราต้องให้สัญญาณเพื่อลูกจะได้รู้ว่าถึงเวลาหยุดเล่นวีดีโอเกมแล้ว การทำแบบนี้จนเป็นกิจวัตรจะทำให้ลูกค่อยๆ ปรับพฤติกรรมไปทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ไม่ใช่การเล่นวีดีโอเกม [8]
    • ตัวอย่างเช่น อาจพยามพูดส่งสัญญาณให้ลูกรู้ตัวว่าได้เวลาเลิกเล่นวีดีโอเกมแล้ว อาจพูดอะไรแปลกพิสดารหน่อยเช่น “จงรีบกลับมาที่โลกของเราเถอะ! ไก่ทอดแสนอร่อยกำลังรอลูกอยู่!”
    • แสดงท่าทางเป็นสัญญาณว่าใกล้หมดเวลาเล่นแล้ว ให้ลูกดื่มน้ำสักแก้ว ให้ลูกมายืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยกัน หรือกระโดดตบสักสองสามครั้ง
  4. การหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัวจะช่วยให้เด็กอยู่ห่างจากวีดีโอเกมได้ เวลาสำหรับครอบครัวควรมีอย่างสม่ำเสมอและทุกคนในครอบครัวทั้งพ่อแม่และลูกควรเข้าร่วมทำกิจกรรมในช่วงเวลานั้นพร้อมหน้าพร้อมตากัน [9]
    • ยอมให้ลูกเป็นคนเลือกกิจกรรมสำหรับครอบครัวบ้าง ลูกจะได้รู้สึกว่าเขาสามารถทำกิจกรรมที่ตนเองอยากทำในช่วงเวลานั้นได้ การบังคับให้เด็กทำกิจกรรมที่เขาไม่อยากทำอาจทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดได้
    • อาจขอให้ลูกเป็นลูกมือช่วยเตรียมอาหารเย็นและกำหนดให้ช่วงเวลาอาหารเย็นเป็นช่วงเวลาของครอบครัว
    • ไปเดินเล่น ขี่จักรยาน เล่นเกมกระดาน เล่นเกมไพ่ หรือดูภาพยนตร์ด้วยกันตอนดึก
    • อาจกำหนดผลของการไม่เข้าร่วมทำกิจกรรมด้วยกันเป็นครอบครัวด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกไม่ยอมเข้าร่วมทำกิจกรรมของครอบครัวในวันนั้น ก็ไม่ให้เขาเล่นวีดีโอเกมเลย
  5. เด็กเล็กส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีสำรวจข้อมูลต่างๆ ของวีดีโอเกม เราอาจต้องสอนวิธีเซฟเกมให้กับลูก ถ้าเด็กๆ เซฟเกมได้ เขาก็จะรู้ว่าความพยายามของตนเองนั้นไม่สูญเปล่า เพราะฉะนั้นเวลาที่ต้องเลิกเล่นเด็กๆ ก็จะไม่มีท่าทีอิดออดมากนัก
    • อธิบายให้เด็กรู้ว่ามีวีดีโอเกมมากมายที่ต้องใช้เวลาเล่นเป็นสิบเป็นร้อยชั่วโมง ถึงจะจบสมบูรณ์ได้ ฉะนั้นจึงไม่สามารถเล่นเกมให้จบภายในคราวเดียวได้ ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าการเล่มวีดีโอเกมแบบนี้ต้องใช้เวลานาน
    • เราอาจเปลี่ยนให้การเล่นวีดีโอเกมเป็นกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ก็ได้ ให้เด็กอธิบายเกมให้เราฟังและอธิบายถึงความท้าทายต่างๆ และด่านที่มีอยู่ในวีดีโอเกม
    • เมื่อหมดเวลาเล่น รอจนเด็กเซฟเกมเสร็จ อาจช่วยเด็กเซฟเกมก็ได้ ถ้าเห็นว่าเขายังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจวิธีเซฟเกม ถ้าเด็กพยายามเลื่อนเวลาออกไปด้วยการใช้เวลาเซฟเกมมากเกินไป ลดระยะเวลาเล่มวีดีโอเกมในวันถัดไป ถ้าเด็กยังทำแบบนี้อยู่เรื่อยๆ งดการเล่นวีดีโอเกมเลย [10]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

กระตุ้นให้เด็กสนใจอยากทำกิจกรรมอย่างอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเล่นวีดีโอเกมเป็นเพียงแค่วิธีการให้ความบันเทิงแก่ตนเองวิธีการหนึ่งเท่านั้น ความจริงแล้วยังมีกิจกรรมที่สนุกอื่นๆ ให้เด็กได้ทำอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่เด็กๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้เล่นวีดีโอเกม ลองชักชวนให้เด็กๆ หันมาทำกิจกรรมอื่นๆ และถ้าเด็กๆ คิดไม่ออก ก็ลองเสนอกิจกรรมสักสองสามอย่างให้พวกเขาลองทำดู [11]
    • ตัวอย่างเช่น ให้ลูกเล่นของเล่นอย่างอื่น แสดงละคร เล่นดนตรี หรือดูภาพยนตร์ อ่านหนังสือ ออกไปเล่นข้างนอก ง่วนอยู่กับกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเช่น วาดภาพ งานฝีมือ จะให้เล่นเกมกระดาน หรือเล่นเกมไพ่ก็ได้
    • เมื่อลูกอยากเล่นวีดีโอเกมเพราะ “ไม่มีอะไรทำ” ให้ปฏิเสธลูกไป
    • เราต้องไม่ใช้วีดีโอเกมในการป้องกันไม่ให้ลูกออกไปเล่นข้างนอก ถ้าใช้วิธีนี้บ่อยๆ อาจทำให้เด็กเริ่มติดเกมได้
  2. การเล่นวีดีโอเกมเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียว เราสามารถกระตุ้นให้ลูกเข้าทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้และกิจกรรมนั้นควรเป็นกิจกรรมที่เขาสนุกด้วย ระดมสมองร่วมกันกับลูกและให้ลูกเป็นคนเลือกกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบแทนการให้เราเป็นฝ่ายเลือกให้เขา [12]
    • อาจให้ลูกเข้าค่ายเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ลองค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตสิว่าช่วงนั้นมีกิจกรรมอะไรจัดขึ้นเพื่อให้เด็กเข้าร่วมบ้าง
    • ค้นหาสิว่ามีการจัดกิจกรรมการแสดง การเล่นดนตรี การวาดภาพระบายสีสำหรับเด็กแถวบ้านเราไหม เราอาจหากิจกรรมเสริมทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ความคิดสร้างสรรค์ หรือกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงก็ได้
    • การเล่นกีฬานันทนาการก็สนุกสำหรับเด็กบางคน ฉะนั้นอย่าบังคับเด็กให้เล่นกีฬาที่เขาไม่อยากเล่น
  3. การเล่นวีดีโอเกมมากเกินไปมีส่วนทำให้เกิดภาวะอย่างเช่นโรคอ้วนในเด็กเพราะวีดีโอเกมเป็นกิจกรรมที่ทำให้ต้องอยู่กับที่ ฉะนั้นกระตุ้นให้เด็กอยากออกกำลังกายโดยให้เขาเลือกวิธีออกกำลังกายที่ตนเองชอบเพื่อให้ได้มีโอกาสขยับตัวมากขึ้น ให้ลูกได้เลือกวิธีออกกำลงกายเอง กระตุ้นให้ลูกลองการออกกำลงกายแบบใหม่ๆ ถ้าลูกไม่ได้ชอบการออกกำลังกายแบบใดเป็นพิเศษ [13]
    • การออกกำลังกายที่เด็กอาจชื่นชอบเช่น การขี่จักรยาน การเล่นสเกตบอร์ด การเต้นรำ การฝึกศิลปะป้องกันตัว การเล่นกีฬานันทนาการ การว่ายน้ำ และการออกไปเล่นกับเพื่อนข้างนอก
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ประเมินพฤติกรรมของเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทุกคนอาจกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการเล่นวีดีโอเกมแก่เด็กไม่เท่ากัน ให้กำหนดระยะเวลาในการเล่นวีดีโอเกมให้เหมาะสมในแต่ละวันหรือในแต่ละสัปดาห์ พ่อแม่บางคนให้ลูกเล่นวีดีโอเกมวันละหนึ่งชั่วโมง แต่บางคนไม่ให้เล่นวีดีโอเกมในวันธรรมดาเลยและให้เล่นวีดีโอเกมในวันหยุดเสาร์อาทิตย์เท่านั้น โดยให้เล่นแค่วันละสองสามชั่วโมง [14]
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและพัฒนาการแนะนำว่าเด็กไม่ควรอยู่หน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์นานเกินสองชั่วโมง ฉะนั้นให้เอาข้อมูลนี้มาใช้พิจารณาในการกำหนดเวลาเล่นวีดีโอเกมด้วย จะได้กำหนดระยะเวลาในการเล่นวีดีโอเกมได้อย่างเหมาะสม
  2. ตระหนักถึงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเด็กกำลังติดเกม. เด็กบางคนเริ่มติดการเล่นวีดีโอเกม เด็กเหล่านี้จะแสดงอาการทางพฤติกรรม อารมณ์และทางกาย เช่น แยกตัวออกจากครอบครัวและเพื่อน พ่อแม่จึงต้องเข้าใจว่าสัญญาณและอาการติดเกมเป็นอย่างไร จะได้รู้ว่าลูกมีอาการติดเกมหรือไม่ [15]
    • ตัวอย่างเช่น เด็กอาจไม่สามารถหยุดเล่นวีดีโอเกมได้ ก้าวร้าวหรือหงุดหงิดเมื่อไม่ได้เล่นวีดีโอเกม หรือไม่สนใจทำกิจกรรมอย่างอื่นเลย อาจฉุนเฉียวหรือห่อเหี่ยวเมื่อไม่ได้เล่นวีดีโอเกม เด็กอาจไม่สนใจสุขอนามัยของตนเอง นอนหลับไม่เป็นเวลา และมีอาการปวดหลังหรือปวดข้อมือ
  3. เข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถ้าสังเกตเห็นว่าเด็กมีอาการติดเกม. ถ้าเชื่อว่าลูกติดเกมและเราได้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาแล้วแต่ไม่ได้ผล เราอาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตสามารถช่วยเหลือเราปรับพฤติกรรมของเด็กให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นและยับยั้งไม่ให้อาการหนักไปมากกว่านี้ [16]
    • วิธีนี้อาจเป็นวิธีแก้ปัญหาอีกทางหนึ่งหากลูกแสดงพฤติกรรมรุนแรงเมื่อเราพยายามจำกัดการเล่นวีดีโอเกมของเขา ถ้าลูกเรามีพฤติกรรมทำลายข้าวของ ก้าวร้าว หรือข่มขู่เพราะเราพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขา อาจต้องพาลูกมาพบผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

โน้มน้าวให้พ่อแม่อนุญาตให้คุณหยุดเรียน
เป็นพี่คนโตที่ดี
จัดการปัญหาภายในครอบครัว
ทำให้พ่อมีความสุข
รับมือกับเพื่อนบ้านเสียงดัง
อาบน้ำเด็กแรกเกิด
คุยเรื่องส่วนตัวกับแม่
รับมือกับสามี/ภรรยาที่ชอบควบคุม
ลดไข้ในเด็กเล็ก
รับมือกับลูกสะใภ้จอมแสบ
รับมือกับคู่สมรสที่เหยียดหยาม
รับมือกับคนในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิง
เพิ่มโอกาสการมีลูกแฝด
พิสูจน์ว่าลูกเผชิญกับภาวะจิตเวชที่เกิดจากการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,039 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา