PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

หยกเป็นหินสวยงาม อาจมีสีเขียว ส้ม เหลือง หรือขาว และสามารถจำแนกเกรดเป็นสูง กลาง ต่ำ ได้ตามคุณภาพของเนื้อหยก ถ้าคุณกำลังจะออกไปหาซื้อหยกหรือมีหยกเก่าอยู่ชิ้นหนึ่ง การที่คุณสามารถรู้ได้ว่าหยกที่คุณพบเป็นของแท้หรือแค่ของปลอมชั้นดีก็น่าจะดีไม่เบา และการเรียนรู้วิธีดูหยกแท้หยกเทียมโดยอาศัยเพียงการทดสอบที่ทำได้ง่ายๆ และรวดเร็วของเรา ก็ทำให้คุณพิสูจน์ได้แล้วว่าของที่ซื้อมาจะคุ้มค่าสมราคารึเปล่า ไม่รอช้า เราไปดูคำแนะนำเพิ่มเติมในขั้นตอนที่ 1 กันเลยดีกว่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การสังเกตหยกแท้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีเพียงหยกเจไดต์และเนฟไฟรต์เท่านั้นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นของแท้
    • แร่เจไดต์ที่มีมูลค่าและเป็นที่ต้องการมากที่สุด (เจไดต์พม่า, หยกพม่า, หยกจักรพรรดิ หรือหยกจีน) มักมีที่มาจากประเทศเมียนมาร์ (พม่าในสมัยก่อน) แต่ก็มีอีกเล็กน้อยที่ขุดพบแถบประเทศกัวเตมาลา เม็กซิโก และรัสเซีย แม้หยกจะมีที่มาจากหลากหลายแห่ง แต่สีที่พบส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นสีเขียว
    • 75% ของหยกจากทั่วโลกมีที่มาจากเหมืองแร่ในรัฐบริติชโคลัมเบีย โดยเป็นชนิดเนฟไฟรต์ ซึ่งขุดพบในไต้หวัน สหรัฐ และ (อีกเล็กน้อยใน) ออสเตรเลียด้วยเช่นกัน
  2. แร่ที่มักนำมาปลอมเป็นหยกได้แก่:
    • เซอร์เพนทีน (“หยกใหม่” หรือ “หยกสีมะกอก”)
    • พรีไนท์
    • อะเวนจูรีน ควอตซ์
    • กรอสซูลาร์ การ์เน็ต (“หยกทรานส์วาล”)
    • คริสโซเพรส (“หยกออสเตรเลีย” ส่วนใหญ่มาจากรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย)
    • หยกมาเลเซีย (แร่ควอตซ์โปร่งแสงย้อมสีถาวร อาจเรียกชื่อได้ตามสีที่ปรากฏ เช่น หยกแดง หยกเหลือง หยกน้ำเงิน
    • หินอ่อนโดโลมิติกสีทึบ (“หยกภูเขา” จากเอเชีย ย้อมสีสันสดใส)
    • หินทรายเขียวจากนิวซีแลนด์หรือ “โปว์นามู” เป็นหินศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมารี ชาวเมารีจัดแบ่งโปว์นามูออกเป็น 4 ชนิดหลักๆ ตามสีและความโปรงใส ได้แก่ “คาวาคาว่า, กาฮูรางิ และอินันกา” ซึ่งเป็นหินประเภทเนฟไฟรต์ นอกจากนี้ ชาวเมารียังเคารพหินโปว์นามูชนิดที่ 4 ที่ชื่อว่า “ทันกิไว” ซึ่งพบบริเวณอ่าวมิวฟอร์ดซาวน์ ที่แม้จะมีมูลค่าสูง แต่ก็จัดเป็นหินโบวีไนต์และหยกแท้ในสายตาประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
  3. ถ้าเป็นไปได้ อาจจะใช้แว่นขยาย 10 เท่าเพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในหยก คุณมองเห็นเส้นใยหรือเม็ดเล็กๆ ที่พาดพันกันเหมือนใยหินในนั้นรึเปล่า ถ้าเห็นล่ะก็ หินในมือคุณก็น่าจะเป็นเนฟไฟรต์หรือเจไดต์ของแท้ ในทางกลับกัน หินคริสโซเพรสจะเป็นเพียงผลึกเล็กๆ ที่รวมตัวกัน จึงอาจทำให้ดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน
    • ถ้าใช้แว่นขยาย 10 เท่า แล้วมองเห็นอะไรสักอย่างที่มีลักษณะคล้ายเป็นชั้นๆ แสดงว่าหินที่คุณกำลังส่องน่าจะเป็นเจไดต์ที่ถูกต่อเป็น “สอง” หรือ “สาม” ชั้น (บางครั้งอาจจะมีการนำไจไดต์เกรดอัญมณีแผ่นบางๆ มาติดบนฐานหินชนิดอื่น)
  4. แม้หยกที่คุณถืออยู่ในมือจะเป็นของแท้ แต่ก็อาจผ่านกระบวนการย้อมสี ฟอกสี เคลือบโพลีเมอร์ให้คงตัว หรือทำเป็นหยก 2 หรือ 3 ชั้น หยกอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามความเป็นไปได้ต่อไปนี้:
    • ประเภท A - หยกธรรมชาติ ไม่ผ่านกระบวนการแต่งเติม ใช้เพียงวิธีการดั้งเดิม (ล้างด้วยน้ำลูกพลัมและขัดด้วยขี้ผึ้ง) ไม่ผ่าน “กระบวนการที่ไม่เป็นธรรมชาติ” (เช่น การให้ความร้อนหรือแรงดันสูง) หยกประเภทนี้จะมีสี “จริง” ตามธรรมชาติ
    • ประเภท B - ผ่านการฟอกสีด้วยสารเคมีเพื่อลบความไม่บริสุทธิ์ ฉีดโพลีเมอร์ด้วยเครื่องเหวี่ยงสารเพื่อเพิ่มความโปร่งแสง หรือเคลือบด้วยพลาสติกหนาใส หินประเภทนี้จะไม่ทนทานและอาจเปลี่ยนสีเมื่อเวลาผ่านไป เพราะโพลีเมอร์แตกตัวเมื่อโดนความร้อนหรือสารทำความสะอาดภายในบ้าน อย่างไรก็ตาม หยกประเภทนี้ยังถือเป็นหยกแท้ 100% และสีธรรมชาติ 100%
    • ประเภท C - ผ่านการฟอกสีด้วยสารเคมี ย้อมเพิ่มสี สีอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลาเมื่อถูกแสงจ้า ความร้อนจากร่างกาย หรือสารทำความสะอาดภายในบ้าน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การทดสอบเบื้องต้น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หยกแท้จะมีความหนาแน่นสูงมาก ซึ่งหมายความว่าจะหนักกว่าที่เห็น ถ้าโยนแล้วผลปรากฏว่าหยกของคุณหนักกว่าหินขนาดเดียวกันทั่วๆ ไป และผ่านการทดสอบด้วยสายตาเรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าหยกของคุณมีแนวโน้มเป็นของแท้ [1]
    • วิธีทดสอบนี้อาจจะดูไม่ค่อยเที่ยงตรงแต่ก็ได้ผลพอสมควร อีกทั้งยังเป็นวิธีที่บรรดาผู้ซื้อขายอัญมณีเคยใช้กันอย่างกว้างขวาง
  2. อีกหนึ่งวิธีการดั้งเดิมในการพิสูจน์ความหนาแน่นของหินโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดใดๆ คือการสังเกตเสียงของลูกปัดพลาสติกที่สัมผัสกันเบาๆ ถ้าคุณมีหยกชิ้นหนึ่งที่มั่นใจว่าเป็นของแท้ ให้กระทบหยกชิ้นนั้นเข้ากับหินต้องสงสัย ถ้าเสียงฟังดูเหมือนลูกปัดพลาสติกกระทบกัน แสดงว่าหินก้อนนั้นน่าจะเป็นของปลอม แต่ถ้าเสียงกระทบฟังดูนุ่มลึกและกังวานกว่า แสดงว่าอาจจะเป็นของแท้
  3. หยกควรจะเย็นๆ เรียบลื่น และรู้สึกคล้ายๆ สบู่ในมือคุณ และถ้าเป็นของแท้ จะต้องใช้เวลาสักพักกว่าหยกจะรู้สึกอุ่นขึ้นมา วิธีการนี้จะได้ผลดีที่สุดถ้าคุณสามารถเปรียบเทียบกับหยกแท้ที่มีรูปร่างและขนาดคล้ายๆ กันได้
  4. หยกเป็นหินที่แข็งมากจนทำให้แก้วหรือแม้แต่โลหะเป็นรอยได้เลยทีเดียว แต่ต้องเตือนก่อนว่า หยกเนฟไฟรต์จะอ่อนกว่าเจไดต์ค่อนข้างมาก การขีดทดสอบโดยไม่ถูกวิธีจึงอาจทำให้อัญมณีแท้ของคุณเสียหาย นอกจากนี้ ถึงแม้หินของคุณจะทำให้แก้วหรือเหล็กเป็นรอยได้ แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะเป็นแร่ชนิดอื่นที่นิยมนำมาทำหยกปลอม เช่น ควอตซ์และพรีไนท์สีเขียวหลายๆ ชนิด
    • ใช้ด้านทื่อของกรรไกรกดลงเบาๆ และลากเส้นไปบนชิ้นหยก โดยพยายามลากบริเวณใต้ๆ เข้าไว้เพื่อไม่ให้งานสลักของคุณเสียหาย
    • หลีกเลี่ยงบริเวณที่โดนลมโดนแดด เพราะบริเวณนี้มักจะอ่อนกว่าจุดอื่นๆ และอาจเสียหายได้ง่าย ถ้าการขีดทำให้เห็นเป็นเส้นสีขาวๆ ให้เช็ดคราบออกเบาๆ (อาจเป็นแค่เศษโลหะจากกรรไกร) แล้วสังเกตว่ายังมีรอยขีดข่วนหลงเหลืออยู่รึเปล่า ถ้ามีล่ะก็ หยกของคุณไม่น่าจะเป็นของแท้แล้วล่ะ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การทดสอบความหนาแน่น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หินเจไดต์และเนฟไฟรต์ล้วนมีความหนาแน่นสูงมาก (เจไดต์ - 3.3, เนฟไฟรต์ - 2.95) ความหนาแน่นของสสารสามารถวัดได้โดยการหารน้ำหนัก (เป็นกรัม) ด้วยปริมาตร (ซีซี)
  2. ถ้าเครื่องชั่งของคุณไม่มีคลิปจระเข้ อาจจะนำเชือก หนังยาง หรือยางรัดผมมารัดหยกที่ต้องการทดสอบไว้ [2]
  3. ยกเครื่องชั่งสปริงขึ้นโดยจับที่หูด้านบนเพื่อชั่งหินให้ได้หน่วยเป็นกรัม. จดบันทึกน้ำหนักที่ได้ไว้ การใช้เครื่องชั่งที่บอกน้ำหนักเป็นกรัมถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้แรงดึงเป็นหน่วยวัดกำลัง
  4. หย่อนหยกให้จมลงไปในถังน้ำ และจดน้ำหนักขณะอยู่ในถังน้ำ. ตัวหนีบอาจสัมผัสกับน้ำได้ แต่ไม่ควรให้มีผลต่อน้ำหนักมากนัก
    • แต่ถ้ายังกังวล คุณอาจจะใช้ทางเลือกอื่นๆ ที่อธิบายไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม การทดสอบนี้จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของน้ำหนัก และความแตกต่างนี้จะยังคงเดิม ตราบใดที่เชือก หนังยาง หรือยางรัดผมยังอยู่บนหยกทั้งในอากาศและในน้ำ
  5. หารน้ำหนักในอากาศด้วย 1000 (หรือ 981 ถ้ามีเครื่องคิดเลขอยู่ใกล้มือ) และหักค่าน้ำหนักในน้ำโดยการหารด้วย 1000 (หรือ 981 ถ้ามีเครื่องคิดเลขอยู่ใกล้มือ) ค่าที่ได้คือมวลในอากาศหน่วยเป็นกรัมและมวลที่ปรากฏเมื่ออยู่ในน้ำ ให้ลบค่าที่ได้ในอากาศด้วยค่าที่ได้ในน้ำเพื่อคำนวณหาปริมาตรเป็นซีซี
  6. เมื่อคำนวณความหนาแน่นของหยกต้องสงสัยได้แล้ว ให้ดูว่าค่าที่ได้บ่งชี้ว่าหยกชิ้นนั้นเป็นของแท้รึเปล่า หยกเจไดต์จะมีค่าความหนาแน่นอยู่ที่ 3.20-3.33 กรัม/ซีซี ในขณะที่เนฟไฟรต์จะมีความหนาแน่นอยู่ที่ 2.98-3.33 กรัม/ซีซี
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณหลงใหลในหยกและอยากได้ของคุณภาพสูงจริงๆ หยกที่คุณซื้อควรจะมีใบรับรองจากห้องแล็บที่ยืนยันว่าหยกชิ้นนั้นเป็นอัญมณีเกรด “A” ร้านจำหน่ายปลีกอัญมณีคุณภาพสูงที่เป็นที่ยอมรับส่วนใหญ่จะจำหน่ายเฉพาะสินค้าเกรด A เท่านั้น
  • ถ้ามีฟองอากาศอยู่ในหยก แสดงว่าไม่ใช่ของแท้แน่นอน
โฆษณา

คำเตือน

  • วิธีการขีดทดสอบอาจทำให้หยกเนฟไฟรต์คุณภาพสมบูรณ์เสียหายได้
  • หยกที่มีมาแต่โบราณมักมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถ้าคุณเห็นผู้ขายมีหยกหลากหลายรูปแบบที่ดูคล้ายๆ กัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนอันตราย อาจจะลองถามคำถามหลายๆ ข้อและขอใบรับรองว่าเป็นของแท้เพิ่มเติม
  • ห้ามใช้วิธีขีดทดสอบกับหยกที่คุณไม่ได้เป็นเจ้าของโดยเด็ดขาด เพราะถ้าคุณทำให้ของๆ เขาเสียหาย คุณจะถูกบีบให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นแน่แท้ และต้องไม่ลืมเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนเริ่มทดสอบ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

สำหรับการทดสอบความหนาแน่น:

  • เครื่องชั่งสปริง (100 กรัม, 500 กรัม หรือ 2500 กรัม ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่คุณทดสอบ)
  • ถังน้ำ ขนาดใหญ่พอให้จุ่มชิ้นหยกลงไปได้
  • เชือก
  • ยางรัดผม
  • หนังยาง
  • กระดาษเช็ดมือ (สำหรับเช็ดหยกให้แห้ง)


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 88,661 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา