ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กรดในกระเพาะนั้นสำคัญต่อการย่อยอาหาร แต่ถ้ามีกรดมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดการไหลย้อนกลับของกรด (แสบร้อนกลางอก) หรือโรคที่เรียกว่า กรดไหลย้อน (GERD) [1] ซึ่งจะทำให้รู้สึกไม่สบายหรือแม้กระทั่งมีอาการเจ็บปวด ดังนี้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหาร มีความรู้สึกแสบร้อนในกระเพาะอาหารหรือหลังคอ ไอแห้ง (ไม่มีเสมหะ) หายใจมีเสียงหวีดในลำคอ และเจ็บหน้าอก [2] และคนส่วนใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้ในบางครั้ง มักจะเกิดหลังจากการกินอาหารบางอย่าง การกินเร็วเกินไปโดยได้เคี้ยวให้ดี หรือกินแล้วนอนเร็วเกิน รวมทั้งโรคอ้วน การตั้งครรภ์ และอาการป่วยอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มขึ้นได้ด้วย [3]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

แยกแยะอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การไหลย้อนกลับของกรดอาจจะมีอาการของโรคที่เรียกว่า หลอดอาหารอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบขึ้นของหลอดอาหาร จนทำให้หลอดอาหารตีบ ทำลายเนื้อเยื่อ และเพิ่มโอกาสในการสำลักอาหาร และหากปล่อยไว้ไม่รักษา โรคนี้ก็จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อเนื้อเยื่อและมะเร็งหลอดอาหารได้ โดยอาการทั่วไปคือการแสบร้อนกลางอก กลืนอาหารลำบาก และเจ็บหน้าอกที่จะเกิดขึ้นขณะกินอาหาร [4] แต่หากมีหวัด ไข้ หรือการติดเชื้อไวรัสร่วมกับกรดไหลย้อนก็ควรได้รับการรักษาทันที เพราะมันจะไปเพิ่มการอักเสบของท่ออาหาร โดยให้พบแพทย์ถ้ามีอาการเหล่านี้ : [5]
    • อาการไม่หายหรือไม่ดีขึ้นจากการกินยาลดกรดตามเคาน์เตอร์ยา
    • รุนแรงจนทำให้กินลำบากอย่างมาก
    • ร่วมกับสัญญาณและอาการของไข้ เช่น ปวดหัว ไข้ และปวดกล้ามเนื้อ
    • ร่วมกับการหายใจไม่อิ่มหรือเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นช่วงสั้นๆ หลังการกินอาหาร
    • เข้ารับการรักษาถ้าเคยมีอาการเจ็บหน้าอกที่เป็นมากกว่า 2 – 3 นาที หรือสงสัยว่ามีอาหารพักอยู่ที่หลอดอาหาร มีประวัติโรคหัวใจ หรือมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  2. การแสบร้อนกลางอกก็อาจจะเป็นอาการของกระเพาะอาหารอักเสบด้วย โดยกระเพาะอาหารอักเสบนั้นเป็นการอักเสบของกระเพาะ ซึ่งมักเกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร ที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติ การสำรองน้ำดีในกระเพาะอาหาร หรือการใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นระยะเวลานาน เช่น ไอบูโปรเฟน ก็สามารถทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบได้ [6] โดยอาการของกระเพาะอาหารอักเสบก็มี : [7]
    • อาหารไม่ย่อย
    • แสบร้อนกลางอก
    • ปวดหน้าท้อง
    • สะอึก
    • ไม่อยากอาหาร
    • คลื่นไส้
    • อาเจียน ซึ่งอาจจะออกมาเป็นสิ่งที่คล้ายๆ กับกาแฟบด (เลือด)
    • อุจจาระสีดำ
  3. ตรวจหาสัญญาณของภาวะกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารอ่อนแรง. ซึ่งเป็นอาการของการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในกระเพาะที่ทำงานอย่างผิดปกติ และยับยั้งการที่กระเพาะว่าง โดยนี่จะทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนและอาเจียนด้วยการสำรองกรดในกระเพาะอาหารในหลอดอาหาร [8] รวมทั้งหลายคนก็จะมีอาการเพิ่มขึ้น หากเป็นโรคเบาหวานหรือเคยทำศัลยกรรมมาก่อน และอาการของภาวะกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารอ่อนแรงมี ดังนี้ : [9]
    • อาเจียน
    • คลื่นไส้
    • รู้สึกอิ่มมากหลังจากการกินแค่เพียงคำสองคำ
    • ท้องอืด
    • เจ็บหน้าท้อง
    • ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนแปลง
    • ไม่อยากอาหาร
    • น้ำหนักลดและขาดสารอาหาร
  4. การแสบร้อนกลางอก การเจ็บหน้าอก และภาวะที่เส้นเลือดของหัวใจเกิดการอุดตัน ซึ่งอาจจะรู้สึกเหมือนกันมากๆ และทั้งอาการแสบร้อนกลางอก และการเกิดภาวะที่เส้นเลือดของหัวใจเกิดการอุดตันจะทำให้เกิดอาการที่แย่ลง แต่สัญญาณและอาการทั่วไปของเส้นเลือดของหัวใจเกิดการอุดตัน ที่ควรไปห้องฉุกเฉินทันทีคือ : [10]
    • รู้สึกถึงแรงกดดัน รัดแน่น เจ็บ หรือบีบคั้นหรือปวดที่หน้าอกหรือแขนที่อาจจะลามไปถึงคอ ขากรรไกรหรือหลังได้
    • คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนกลางอก หรือเจ็บหน้าท้อง
    • หายใจไม่อิ่ม
    • ตกใจจนเหงื่อแตก
    • อ่อนแรง
    • เวียนหัวหรือมึนหัวกะทันหัน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การนอนไม่พอจะเพิ่มฮอร์โมนความเครียด ที่สามารถกระตุ้นกรดไหลย้อน ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น และลดอายุขัยลง โดยถ้าเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับหรือโรคนอนไม่หลับ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาแบบที่ทำได้
    • กลยุทธ์ในการนอนหลับให้เพียงพอ คือ มีสภาพแวดล้อมที่เงียบ มืด และเย็น และหลีกเลี่ยงคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และอาหารหวานๆ เป็นเวลา 4 – 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารก่อนนอน 2 -3 ชั่วโมงและการทำงานหรือออกกำลังกาย 3 – 4 ชั่วโมงก่อนนอนอีกด้วย [11]
    • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในการนอนหลับที่เพียงพอให้ลองหาบทความเกี่ยวกับวิธีการนอนหลับได้ดีขึ้น
  2. การนอนคว่ำหรือนอนราบหลังจากมื้ออาหารจะทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร แล้วทำให้อาหารไม่ย่อยและแสบร้อนกลางอก ดังนั้นให้ลองนอนตะแคงซ้าย โดยมีหมอนแข็งๆ อยู่ระหว่างหัวเข่าเพื่อป้องกันการตึงของกระดูกสันหลัง สะโพก และหลังส่วนล่าง [12] นอกจากนี้ผลงานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าการนอนตะแคงข้างซ้าย จะจำกัดการไหลเวียนของกรดในกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร ด้วยการส่งเสริมส่วนโค้งตามธรรมชาติของร่างกาย [13]
    • ดึงเข่าขึ้นไปที่หน้าอกเล็กน้อย และหมอนที่หนุนศีรษะควรทำให้สันหลังตรง รวมทั้งการมีผ้าขนหนูม้วนหรือหมอนใบเล็กใต้เอวก็อาจจะช่วยรองรับกระดูกสันหลังไว้ได้ [14]
    • ถ้ามีอาการทางระบบทางเดินหายใจหรือเป็นหวัด ให้ลองหนุนศีรษะขึ้นด้วยหมอนเพื่อเพิ่มการหมุนเวียนของอากาศ และหมอนรองศีรษะควรเสริมส่วนโค้งตามธรรมชาติของคอและทำให้สบาย [15] แต่หมอนที่สูงเกินไปจะทำให้คออยู่ในตำแหน่งที่ทำให้ปวดกล้ามเนื้อหลัง คอและไหล่ได้ ซึ่งนี่จะเพิ่มแรงดัน จนทำให้ปวดหัวและกระตุ้นกรดไหลย้อนได้ ดังนั้นให้เลือกหมอนที่จะทำให้คออยู่ในแนวเดียวกับหน้าอกและหลังส่วนล่าง
  3. รูปแบบของเสื้อผ้าที่สวมใส่มีผลต่ออาการกรดไหลย้อน โดยเฉพาะถ้ามีภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งเสื้อผ้าที่คับจะเพิ่มแรงดันในบริเวณท้อง ซึ่งสามารถบีบให้ของในกระเพาะอาหารกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ดังนั้นต้องใส่เสื้อผ้าที่สบายและหลวมแบบพอดี [16]
  4. หลีกเลี่ยงการยืดหรือโก้งโค้งหลังจากมื้ออาหาร. โดยทั่วไปแล้วควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหลังการกินอย่างน้อย 2 – 4 ชั่วโมง เพราะถ้ามีอาการกรดไหลย้อนหรือแสบร้อนกลางอก แม้จะก้ม ยืดหรือขึ้นบันไดเล็กน้อย ก็ทำให้อาการแย่ลงได้ ดังนั้นให้เดินเล่นเบาๆ แทนเพื่อช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารและช่วยในการย่อย [17]
  5. เพราะมันจะทำให้กลืนและย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น จึงเป็นการลดหรือยับยั้งอาการแสบร้อนกลางอก รวมทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารอาหารด้วยการปล่อยเอนไซม์อาหาร และช่วยเสริมการลดน้ำหนักจากการลดการอยากอาหาร [18]
    • ถ้ามีปัญหาด้านทันตกรรมที่ทำให้เคี้ยวยาก ให้ปรึกษาแพทย์ว่าจะเคี้ยวยังไงให้เหมาะสม ในขณะที่กำลังดูแลสุขภาพช่องปากอยู่
  6. โดยจากการศึกษาพบว่าการสูบบุหรี่จะเพิ่มน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ลดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในคอ และทำลายเยื่อเมือกที่ถูกปกป้องไว้ และการสูบบุหรี่ยังลดการหลั่งน้ำลาย ซึ่งน้ำลายช่วยในการปรับสมดุลของกรด [19] [20]
    • ไม่รู้ว่าควันบุหรี่ นิโคตินหรือทั้งคู่ที่กระตุ้นกรดไหลย้อน เพราะบางคนที่ใช้แผ่นแปะนิโคตินเพื่อเลิกบุหรี่ ก็มีการแสบร้อนกลางอก แต่ก็ไม่แน่ชัดว่านิโคตินหรือความเครียดกันแน่ที่ผลิตกรดสำรองขึ้นมา
    • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งคืออาการที่ถุงลมของปอดถูกทำลายและขยายใหญ่ขึ้น จึงทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

สร้างแผนการควบคุมอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำมีค่า pH เป็นกลาง ซึ่งจะปรับสมดุลของกรดในกระเพาะอาหาร และช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ง่ายขึ้น โดยตั้งเป้าให้ดื่มน้ำได้อย่างน้อย 250 มล. ทุกๆ 2 ชั่วโมง และปริมาณน้ำในแต่ละวันที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ คือ 2 ลิตร และน้ำที่เป็นเบสที่มี pH 8.8 ก็อาจจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่มีอาการแสบร้อนกลางอกและกรดไหลย้อนรุนแรงมากกว่า [21]
    • ถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก็ให้ดื่มน้ำ 1 ลิตรต่อคาเฟอีน 1 แก้ว (ของเหลว 1 ออนซ์)
    • การได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะการขาดน้ำได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหัว หงุดหงิดฉุนเฉียว หัวใจเต้นผิดจังหวะ และการหายใจไม่อิ่ม ซึ่งเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มสปอร์ตปราศจากกลูโคสที่มีอิเล็กโทรไลต์จะช่วยบรรเทาอาการขาดน้ำได้ [22]
  2. มันไม่มีการควบคุมอาหารที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการยับยั้งอาการแสบร้อนกลางอกและกรดไหลย้อน ซึ่งวิธีเดียวสำหรับแพทย์ที่จะออกแบบแผนการกินอาหารที่เหมาะสมกับคนไข้ ก็คือการค้นหาว่าอาหารแบบที่ไหนที่สามารถรับได้และอาหารอะไรที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน ดังนั้นให้พยายามเก็บรายละเอียดของอาหารด้วยการบันทึกประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ ซึ่งในบันทึกก็อาจจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
    • รูปแบบและปริมาณของอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น น้ำส้มคั้น 1 แก้ว และจดเครื่องเทศที่ใส่ลงในอาหารด้วย
    • เวลาของวัน
    • อาการและความรุนแรงของอาการ เช่น กรดไหลย้อนแบบอ่อนๆ
  3. การกินมื้ออาหารย่อยๆ วันละ 5 – 6 มื้อจะช่วยในการย่อยอาหาร เสริมการลดน้ำหนักและเพิ่มระดับพลังงานโดยไม่มีการไหลย้อนของกรด [23] โดยให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในปริมาณแคลอรีที่เหมาะสมในแต่ละวัน จะได้ควบคุมน้ำหนักได้เมื่อกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีอื่นๆ ที่จะควบคุมสัดส่วนในการกินอาหารที่ย่อยเล็กลง คือ [24]
    • แบ่งอาหารเรียกน้ำย่อยจานใหญ่กับเพื่อนแทนที่จะกินมันหมด หรือแบ่งใส่กล่องครึ่งหนึ่งเอากลับไปด้วย
    • ควบคุมสัดส่วนขนมด้วยการวางปริมาณที่แน่ชัดลงในถ้วย แทนที่จะกินหมดทั้งกล่อง
    • เสิร์ฟอาหารในจานแยกและเอาจานใบนั้นเข้าครัวไป เพื่อลดความอยากกินเพิ่ม
    • คนเรามีแนวโน้มจะกินมากขึ้นเมื่อเข้าถึงอาหารได้ง่าย ดังนั้นให้ย้ายอาหารที่ดีต่อสุขภาพมาไว้ข้างหน้าตู้เย็นและตู้กับข้าว แล้วขยับตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพน้อยกว่าให้ห่างจากสายตาไป
  4. คาร์โบไฮเดรตที่ขัดสี ของทอด และอาหารที่ผ่านกระบวนการ เครื่องดื่มหวานๆ เนื้อแดง น้ำมันผ่านกรรมวิธีและมาการีนสามารถเพิ่มการอักเสบในหลอดลมอาหารได้ [25] ซึ่งอาหารที่ไขมันสูงและของทอดก็มีแนวโน้มที่จะลดแรงกดของกล้ามเนื้อหูรูดตอนล่าง (LES) และชะลอการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ดังนั้นมันจะไปเพิ่มความเสี่ยงของกรดไหลย้อน
    • พริกและพริกไทยดำก็มีสารประกอบ เช่น แคปไซซิน และพิเพอริน ซึ่งสามารถเพิ่มการสร้างกรดในกระเพาะอาหารขึ้นและควรหลีกเลี่ยง แต่พริกหวานนั้นปลอดภัยเพราะไม่มีสารเหล่านี้
    • ช็อคโกแลตก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะมีเมทิลแซนทิลที่เป็นสารประกอบที่จะปล่อยกล้ามเนื้อหูรูดตอนล่าง ทำให้กรดในกระเพาะอาหารกลับเข้าไปในหลอดอาหาร
    • หมอจะช่วยสร้างแผนการกินแบบส่วนบุคคล ถ้าแพ้อาหารบางชนิดหรือเคยท้องอืดและอาหารไม่ย่อยจากกรดไหลย้อน
  5. มีตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากมายที่ไม่ช่วยให้สร้างกรดในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร และยังให้สารอาหารที่จำเป็นในการเสริมการทำงานของร่างงกายที่หลากหลาย ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็มีประโยชน์ในการช่วยรักษาน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพ และส่วนประกอบที่ใยอาหารสูงซึ่งเสริมระบบย่อยอาหารเพิ่มขึ้นด้วย แต่ใยอาหารที่มากเกินไปจะลดการว่างของกระเพาะ ในคนที่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่กระเพาะ ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหารเพื่อช่วยคิดแผนการกินอาหารที่เหมาะสม และโดยทั่วไปแล้วก็ควรพยายามกินอาหารเหล่านี้ให้มากขึ้น : [26]
    • ผักใบเขียว เช่น ผักปวยเล้งหรือผักเคล ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระและใยอาหารจากพืชสูง
    • อาร์ติโชคเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
    • พริกหวานที่มีวิตามินซีสูง
    • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ควินัว ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต และเมล็ดแฟลกซ์
    • ถั่วและเลนทิล แต่ควรหลีกเลี่ยงแบบที่เป็นกระป๋องทั้งหลาย เพราะมันมีโซเดียมสูงและอาจจะมีวัตถุเจือปนต่างๆ เช่น ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์และน้ำตาล ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคได้มากมาย
    • สัตว์ปีกไร้มัน เช่น ไก่งวง นกกระทาและไก่
    • ปลาที่มีไขมัน เช่น แซลมอน แมคคาเรล ทูน่า และซาร์ดีน
    • ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ หรือวอลนัต
  6. แม้ผลไม้และมะเขือเทศจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่กรดซิตริกในอาหารเหล่านี้อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการแสบร้อนกลางอกและกรดไหลย้อนได้ ดังนั้นการกินผลไม้ที่ไม่มีกรดซิตริกอาจจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้ โดยลองแอปเปิล กล้วย แตงกวาและแตงโม [27]
  7. น้ำมันพืชบางอย่าง เช่น เมล็ดแฟลกซ์ คาโนล่า มะกอก และถั่วเหลืองนั้นมีกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ที่จำเป็นสูง ซึ่งช่วยป้องกันการแสบร้อนกลางอก ด้วยการทำให้กรดในกระเพาะอาหารเป็นกลางและเคลือบทางเดินอาหารเพื่อลดอาการอักเสบ [28]
    • น้ำมันรำข้าวมักถูกใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการของกรดไหลย้อน
    • สามารถใช้น้ำมันเหล่านี้แทนน้ำสลัดได้ด้วย
  8. เพราะมันเป็นแบคทีเรียที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และพบในกระเพาะอาหารที่ช่วยเสริมสุขภาพของระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และต้านอาการอักเสบ [29] ซึ่งสามารถพบได้ในโยเกิร์ต นมบางประเภท ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และอาหารเสริม [30]
    • กินโยเกิร์ตหรืออาหารเสริมโพรไบโอติกส์ 4 – 6 ออนซ์กับน้ำเมื่อท้องว่าง และสามารถบิดหรือตัดแคปซูล และใส่ผงแบคทีเรียลงในแก้ว แล้วเติมย้ำและโซดาไบคาร์โบเนต 1 ช้อนชาเพื่อทำให้กรดในกระเพาะอาหารเป็นกลาง
    • ถ้ามีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอหรือกำลังกำยากดภูมิคุ้มกัน ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินโพรไบโอติกส์
  9. แม้มันจะไม่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน แต่จากการศึกษาก็พบว่ามันอาจจะทำให้อาการของคนที่มีกรดไหลย้อนและแสบร้อนกลางอกแย่ลง เพราะมันจะเพิ่มความเป็นกรดของอาหาร จึงทำให้เป็นการกระตุ้นกรดไหลย้อนได้ [31] [32]
    • มีการพบว่ากระเทียมและหัวหอมมีประโยชน์ต่อโรคเกี่ยวกับหัวใจ และระบบทางเดินหายใจ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคอื่นที่ต้องหลีกเลี่ยงการกระตุ้นกรดไหลย้อน อาจจะต้องใช้แบบพอดีและปริมาณน้อยๆ
  10. แม้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์ที่พอดีจะช่วยทำให้สุขภาพหัวใจและระบบย่อยอาหารดีขึ้น แต่มันอาจจะทำให้เกิดการอักเสบและทำลายทางเดินอาหารของคนที่มีอาการแสบร้อนกลางอก ทางเดินอาหารอักเสบ และกรดไหลย้อน [33] โดยผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะที่มีปริมาณมากจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนได้ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ เช่น เบียร์ ไวน์ หรือสุราที่ได้จากการกลั่น (สปิริต) เพราะอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ ดังนั้นให้พยายามจำกัดการดื่มที่อาทิตย์ละ 1 แก้ว [34]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

ใช้สมุนไพรและของใช้ในบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้มันจะถูกใช้ในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยมากว่าพันปี แต่งานวิจัยถึงผลกระทบของคาโมมายล์ต่อมนุษย์นั้นมีน้อยมาก ซึ่งจากการทดลองในสัตว์พบว่าคาโมมายล์ของเยอรมันจะลดอาการอักเสบได้ [35] และจากการวิเคราะห์จากการศึกษาพบว่าการรวมสมุนไพรไอบีริส เปปเปอร์มิ้นท์ และคาโมมายล์อาจจะช่วยคลายอาการอาหารไม่ย่อยได้ [36]
    • ทำชาคาโมมายล์ โดยแช่ดอกคาโมมายล์ 2-4 กรัมแห้งลงในน้ำร้อน 1 แก้ว แต่การดื่มคาโมมายล์สกัดที่เข้มข้นสูงจะทำให้เกิดการคลื่นไส้ และอาเจียนได้ ดังนั้นต้องห้ามแช่ชามากเกินกว่า 5 นาที
    • คาโมมายล์นั้นมีแบบอาหารเสริมในร้านขายยาเกือบทุกร้าน แต่หากแพ้ดอก แอสเทอร์ เดซี่ เบญจมาศหรือหญ้า ragweed ก็อาจจะแพ้คาโมมายล์ด้วย [37]
    • ปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้คาโมมายล์ ถ้ากำลังกินยาสำหรับโรคเบาหวาน ความดันเลือดหรือยาระงับประสาทอยู่
  2. มันประกอบไปด้วยยางที่เป็นสารที่ทำให้เป็นเจลมันๆ เมื่อผสมกับน้ำ ซึ่งเคลือบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร และทางเดินลำไส้เพื่อลดการระคายเคืองและกรดไหลย้อน โดยสารต้านอนุมูลอิสระในเปลือกไม้นี้ก็ยังช่วยป้องกันกระเพาะแผลในกระเพาะและการอักเสบ [38] รวมทั้งมันยังมีอยู่ในรูปแบบแคปซูล ยาอม ชา และสารสกัดแบบผงที่ร้านขายยาและร้านอาหารเสริมส่วนใหญ่ [39] โดยให้กินก่อนหรือหลังการกินสมุนไพรหรือยาอื่นที่อาจกำลังกินอยู่ 2 ชั่วโมง เพราะมันจะไปทำให้การดูดซึมยาอื่นช้าลงได้ [40] [41]
    • ทำชาจากเปลือกไม้สลิปเปอรี่เอล์ม โดยการแช่ผงสกัดเปลือกไม้ 1 – 2 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา) ลงในน้ำต้มเดือด 1 แก้ว ประมาณ 3 – 5 นาที แล้วดื่มได้ถึงวันละ 3 ครั้งหรือตามคำแนะนำของแพทย์
    • ปริมาณการกินแคปซูลจากเปลือกไม้สลิปเปอรี่เอล์มที่แนะนำ คือ 400 – 500 มิลลิกรัม อย่างน้อยวันละ 3 – 4 ครั้ง เป็นเวลา 4 – 8 สัปดาห์หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น โดยกินพร้อมกับน้ำดื่มเต็มแก้ว [42]
    • ห้ามให้เด็กกินโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน [43]
  3. จากการวิจัยแนะนำว่าการกินขิงดิบหรือผงรากขิง 1- 2 กรัม อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนอาหารจะช่วยรักษาการที่กระเพาะอาหารส่งอาหารและน้ำย่อยที่คลุกเคล้ากัน ซึ่งก็จะเป็นการลดอาการแสบร้อนกลางอกและกรดไหลย้อน [44] [45] รวมทั้งขิงยังช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอักเสบที่เกิดจากกรดไหลย้อนไปในทางเดินอาหารได้ และรากขิงก็มีที่ร้านขายของทั่วไป
    • ชาขิงสามารถทำได้ด้วยการแช่ขิงที่ปอกเปลือกแล้ว 1 -2 กรัมลงในน้ำเดือด 1 แก้ว เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นกรองและดื่มวันละไม่เกิน 2 ครั้ง ก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
    • ถ้าเป็นโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหัวใจ เลือดไหลผิดปกติ หรือกำลังตั้งครรภ์หรือให้น้ำนม ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการกินขิง โดยบอกชื่อยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมอื่นๆ ที่อาจกินอยู่เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง
  4. (โซเดียมไบคาร์บอเนต) นั้นมักถูกใช้เป็นยาลดกรดแบบธรรมชาติ เพื่อทำให้กรดในกระเพาะเป็นกลางและช่วยในการย่อย [46] โดยมีทั้งแบบยาเม็ดและผง ซึ่งสามารถใช้ได้ถึงวันละ 4 ครั้ง ก่อนกินอาหารหรือยาอื่นอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงการกินโซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อท้องอิ่มเต็มที่ [47]
    • ผสมเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาลงในน้ำหนึ่งแก้ว รอจนกว่ามันจะละลายหมดแล้วดื่มเพื่อทำให้กรดในกระเพาะเป็นกลาง รวมทั้งวัดปริมาณผงอย่างระมัดระวังด้วยการใช้ช้อนตวง และเติมน้ำผึ้งหรือมะนาวเพื่อเติมรสชาติ ถ้าต้องการ
    • ถ้าต้องควบคุมโซเดียม มีโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือระบบการย่อยอาหาร หรือกำลังใช้ยา สมุนไพร และอาหารเสริมอื่นๆ ให้หมอตรวจก่อนใช้เบกกิ้งโซดา
    • ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตตามคำแนะนำ โดยห้ามใช้มากเกินกว่า 2 อาทิตย์ ยกเว้นแพทย์สั่ง และไม่ควรให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ขวบใช้ [48]
    • กินยาที่ลืมทันทีที่จำได้ ยกเว้นมันใกล้ถึงเวลาของยาครั้งต่อไปแล้ว ก็ให้ข้ามครั้งนั้นไปและกินต่อไปตามปกติ [49]
  5. การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาล 1 ชิ้นหลังจากมื้ออาหารครึ่งชั่วโมง สามารถลดการแสบร้อนกลางอก เพราะมันกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย [50] ซึ่งน้ำลายนั้นเป็นเบส ดังนั้นให้กลืนน้ำลายเพื่อทำให้กรดในกระเพาะเป็นกลาง [51] [52] [53]
    • หมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาลจะมีสารประกอบเพิ่มเติม คือ ไซลิทอล ซึ่งยับยั้งแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการฟันผุ
    • หมากฝรั่งหวานๆ จะทำให้น้ำลายหนาจนทำให้ปากแห้ง และอาจจะไม่มีประโยชน์เท่ากับแบบไม่มีน้ำตาล
    • หลีกเลี่ยงหมากฝรั่งรสมินท์ เพราะมันกระตุ้นกรดไหลย้อนได้
  6. หลีกเลี่ยงการใช้เปปเปอร์มินท์หรือสเปียร์มินท์. เปปเปอร์มินท์สามารถคลายกล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร ด้วยการปล่อยให้กรดในกระเพาะอาหารไหลกลับเข้าไปในทางเดินอาหาร ซึ่งหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) นั้นเป็นกล้ามเนื้อที่แยกทางเดินอาหารออกจากกระเพาะอาหาร และในการคลายกล้ามเนื้อหูรูดนี้ เปปเปอร์มินท์ก็อาจจะทำให้อาการแสบร้อนกลางอกและอาหารไม่ย่อยแย่ลงได้ [54] แต่สเปียร์มินท์ไม่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน แต่มันทำให้เกิดเยื่อเมือกและเสมหะไหลลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเป็นหวัด ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินอาหารได้ [55]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเครียดสามารถเกี่ยวข้องกับการเพิ่มกรดไหลย้อนได้ เพราะมันทำให้คนกิน ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือนอนน้อยมากขึ้น เมื่อเต็มไปด้วยความเครียด อาหารก็จะย่อยนานขึ้น รวมทั้งกระเพาะอาหารจะส่งอาหารและน้ำย่อยที่คลุกเคล้ากันช้าลง และทำให้อาหารเหมือนจะไหลกลับ ซึ่งการเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความเครียด และจัดการกับสถานการณ์ที่เครียดมากๆ ด้วยความสบายจะช่วยทำให้ความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น [56] โดยวิธีทั่วไปที่จะลดความเครียดได้ คือ : [57]
    • หายใจลึกๆ ช้าๆ ในที่เงียบๆ
    • ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นแง่บวก
    • ลำดับความสำคัญภาระงานใหม่และตัดงานที่ไม่จำเป็นออกไป
    • ลดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดตาและกระตุ้นให้ปวดหัวได้
    • มีอารมณ์ขัน จากงานวิจัยพบว่าอารมณ์ขันเป็นวิธีที่จะจัดการกับความเครียดที่เกิดแบบฉับพลันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ฟังเพลงที่ผ่อนคลาย
  2. สามารถทำสมาธิได้ง่ายๆ โดยการใช้เวลา 5 นาทีเพื่อผ่อนคลายและปิดใจออกจากสิ่งรบกวนภายนอก [58] มันอาจต้องใช้ความอดทนการฝึกครั้งแรกแต่มันก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่ดีต่อการลดความเครียด โดยทำตามขั้นตอนเหล่านี้ : [59]
    • หาที่ที่เงียบ สบาย เช่น ที่ส่วนตัวในห้องทำงาน สวนสาธารณะ หรือแม้กระทั่งที่บ้าน
    • อยู่ในท่าที่สบายและนั่งหลังตรง นั่งขัดสมาธิถ้าทำได้ หรือบนเก้าอี้ พื้นหรือพื้นหญ้า
    • หาจุดเพ่งความสนใจ โดยเอาคำหรือวลีที่มีความหมายมาแล้วทวนซ้ำ และสามารถเพ่งความสนใจได้แม้กระทั่งบนดอกไม้หรือลูกบิดประตู หรือแค่ปิดตาแบบง่ายๆ
    • ในขณะที่นั่งอยู่ในความสบายและผ่อนคลาย ก็อย่าคิดอะไรมาขัด แต่ให้เพ่งความสนใจไปที่คำหรือวัตถุอื่นประมาณ 5 - 10 นาทีหรือจนกว่าจะรู้สึกสงบและปลอดโปร่ง
  3. ถ้าไม่สามารถอยู่นิ่งได้ซัก 5 นาทีหรือมากกว่านั้น ให้ลองฝึกไทเก๊กดู เพราะมันมีทั้งช้า เคลื่อนไหวอย่างสุขุม มีสมาธิและการหายใจลึกๆ [60]
    • ฝึกบ่อยๆ เพื่อความเชี่ยวชาญ โดยทำที่บ้านวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 – 20 นาที [61]
    • ก่อนโปรแกรมการฝึก ควรปรึกษาแพทย์และบอกความจำเป็นทางสุขภาพกับคนสอนไทเก๊กก่อน เรื่องโรคที่อาจจะมีผลข้างเคียงต่อกรดไหลย้อน จะได้ทำโปรแกรมการสร้างความแข็งแรงโดยเฉพาะให้
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

หาการช่วยเหลือทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรักษาพื้นบ้านอาจจะได้ผลในบางกรณี แต่ถ้าอาการคงที่ก็ควรหาหมอ โดยกรดไหลย้อนหรืแสบร้อนกลางอกอาจจะทำให้รู้สึกแสบรอนในอก หรือมีรสของของเหลวเปรี้ยวอยู่หลังปาก และมักเกิดหลังจากการกินอาหาร การออกกำลังกายหรือนอนลง ซึ่งบางครั้งการไหลย้อนของกรดก็อาจจะกลายเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ ด้วยอาการเพิ่มเติม เช่น อาการหายใจมีเสียงหวีดในลำคอ ไอ กลืนลำบาก และเจ็บหน้าอกเพิ่มเมื่อพัก และถ้ามีอาการเหล่านี้บ่อยๆ ก็ควรพบแพทย์เพื่อดูว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่
  2. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาสำหรับการไหลย้อนของกรด. หมออาจจะสั่งยาเพื่อรักษาอาการแบบระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง [62] ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่ถูกจ่ายยา ให้บอกชื่อยา สมุนไพรหรืออาหารเสริมอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วย โดยยาที่ช่วยได้คือ : [63]
    • ยาลดกรดที่ใช้รักษาอาการแสบร้อนกลางอกอ่อนๆ ไปจนถึงรุนแรง ซึ่งเป็นส่วนผสมของแมกนีเซียม แคลเซียม และอลูมิเนียมพร้อมทั้งสารบัฟเฟอร์ เช่น ไฮดรอกไซด์หรือไบคาร์บอเนตไอออน ซึ่งยาตัวนี้สามารถช่วยคลายอาการได้ทันทีและอยู่นานถึง 1 ชั่วโมง แต่ผลข้างเคียงอาจจะมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกได้
    • ยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นสารเคมีที่ลอยอยู่ในกระเพาะอาหารที่เตือนให้มันสร้างกรด โดยมันอาจจะไม่คลายอาการได้เร็วเท่ายาลดกรด แต่อาจจะมีผลกับคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนรุนแรง
    • ยากลุ่ม Proton-pump Inhibitors อาจจะได้ผลในการรักษาอาการโรคกรดไหลย้อนและแสบร้อนกลางอกแบบปานกลางถึงรุนแรงกว่า ยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 และยังรักษาทางเดินอาหารด้วย
    • หมอสามารถช่วยเลือกยาและปริมาณที่เหมาะสมกับอาการ
  3. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาตัวอื่น. ยาบางชนิดที่อาจจะใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยอื่นๆ สามารถทำให้การไหลย้อนของกรดแย่ลงได้ ในการมีผลข้างเคียงหรือทำให้รับยาไม่ไหว ดังนั้นจำเป็นต้องถามเรื่องยาและอาหารเสริมอื่นที่อาจทำให้อาการแย่ลง โดยยาบางชนิดที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการไหลย้อนของกรดโดยทั่วไป คือ : [64]
    • ยาต้านอาการอักเสบ เช่น แอสไพริน และแอลลีพ ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
    • ยาปิดกั้นแคลเซียมสำหรับความดันเลือดสูงหรือเจ็บหน้าอก
    • ยาโรคหอบหืดสำหรับการติดเชื้อท่อปัสสาวะ ภูมิแพ้ หรือต้อหิน
    • ยาขยายหลอดลมสำหรับโรคหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
    • ยารักษาโรคกระดูกพรุนกลุ่ม Bisphosphonate
    • ยาระงับประสาท ยาปฏิชีวนะ อาหารเสริมโพแทสเซียมหรือธาตุเหล็กบางอย่าง
  4. มันอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง หากการปรับเปลี่ยนยาและวิถีชีวิตไม่ช่วยบรรเทาอาการไหลย้อนของกรด และเข้าไปแทรกแซงกิจวัตรประจำวันหรือทำลายทางเดินอาหารแบบถาวร โดยหมออาจจะแนะนำให้ทำการรักษากรดไหลย้อนโดยการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก ที่จะเข้าไปห่อหุ้มกระเพาะอาหารส่วนบนรอบๆ กล้ามเนื้อหูรูดทางเดินอาหารส่วนล่าง (LES) ที่จะเสริมสร้างและให้ความแข็งแรงกับ LES ด้วย ซึ่งวิธีการนี้ปลอดภัยและมีผลกับคนทุกช่วงวัย ที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนแบบปานกลางไปจนถึงรุนแรง และหวังที่จะหลีกเลี่ยงชีวิตที่ต้องพึ่งยาไปอีกนาน [65]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การน้ำหนักเกินจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน และอาจจะมีอาการแสบร้อนกลางอกหลายครั้งมากขึ้น นั่นเป็นเพราะน้ำหนักที่เพิ่มมาโดยไม่จำเป็นจะไปกดหูรูดทางเดินอาหาร ซึ่งอาจจะหลวมและอ่อนแอได้ง่าย
โฆษณา

คำเตือน

  • การมีความเครียดระดับสูงเป็นเวลานานจะเพิ่มความรุนแรงของปัญหาสุขภาพมากมาย ซึ่งก็คือ แผลในกระเพาะอาหาร การไหลย้อนของกรด และอาการกรดในกระเพาะอาหารอื่นๆ ดังนั้นให้หาวิธีที่จะลดและจัดการกับความเครียดเพื่อรักษาสุขภาพที่ดีของกระเพาะอาหารไว้
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heartburn-gerd/in-depth/heartburn-gerd/ART-20046483?p=1
  2. http://healthysleep.med.harvard.edu/healthy/getting/overcoming/tips
  3. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4460
  4. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  5. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4460
  6. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4460
  7. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  8. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  9. http://www.health.harvard.edu/blog/why-eating-slowly-may-help-you-feel-full-faster-20101019605
  10. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/smoking/Pages/facts.aspx#gerd
  11. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/alkaline-water/faq-20058029
  13. http://umm.edu/health/medical/ency/articles/dehydration
  14. http://www.health.harvard.edu/healthbeat/eating-to-boost-energy
  15. http://www.cdc.gov/healthyweight/healthy_eating/portion_size.html
  16. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  17. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  18. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  19. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  20. https://www.prebiotin.com/probiotics-and-stomach-acid/
  21. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/lactobacillus-acidophilus
  22. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2327378
  23. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2714564/
  24. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2880354/
  25. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  26. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/german-chamomile
  27. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/german-chamomile
  28. https://nccih.nih.gov/health/chamomile/ataglance.htm
  29. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/slippery-elm
  30. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/slippery-elm
  31. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/slippery-elm
  32. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  33. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/slippery-elm
  34. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/slippery-elm
  35. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21218090
  36. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/961.html
  37. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682001.html
  38. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682001.html
  39. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682001.html
  40. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682001.html
  41. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16246942
  42. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  43. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11768700
  44. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9144299
  45. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/peppermint
  46. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10383511
  47. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  48. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/stress
  49. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/stress
  50. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  51. http://umm.edu/health/medical/altmed/treatment/tai-chi
  52. http://umm.edu/health/medical/altmed/treatment/tai-chi
  53. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  54. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heartburn/expert-answers/heartburn-gerd/faq-20057894
  55. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581
  56. Bella, M., (2012), The Complete Idiot's Guide to the Acid Reflux Diet, ISBN: 9781101559581

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 124,752 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา