ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ว่านหางจระเข้เป็นพืชสารพัดประโยชน์ คุณใช้วุ้นทาแก้ผิวไหม้แดด ใช้หมักผมมาสก์หน้า กระทั่งชงเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพก็ได้ จะซื้อใบว่านหางจระเข้จากตลาดหรือซูเปอร์ หรือเก็บว่านหางจระเข้ที่ ปลูกเองที่บ้าน ก็ได้ แต่พอตัดใบมาแล้ว จะเก็บไว้ให้อยู่ในสภาพดีได้ยังไง? ที่ต้องทำคือตัด ปอก แล้วเอาใบไปแช่ช่องฟรีซ อยากใช้เมื่อไหร่ก็หยิบได้เลย หรือจะเอาไปใส่น้ำผึ้ง ใช้บำรุงผิวหน้าและเส้นผมได้ด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เก็บทั้งใบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้แรปพลาสติกห่อใบ โดยเฉพาะต้องห่อรอยตัดตรงโคนใบที่เคยติดอยู่กับต้นไว้ให้ดี จะใช้ว่านหางจระเข้เมื่อไหร่ ค่อยแกะห่อพลาสติก แล้วเริ่มสกัดวุ้นออกมา
    • เอาปากกามาร์กเกอร์เขียนวันที่ไว้ที่ห่อพลาสติกด้วย จะได้รู้ว่าเก็บไว้ได้อีกนานแค่ไหน
  2. แค่หยิบใบว่านหางจระเข้มา แล้วเอาใส่ถุงซิปล็อค จากนั้นแช่ไว้ในช่องฟรีซ ถ้าใช้งานภายใน 6 - 8 เดือน จะ ว่านหางจระเข้จะมีเนื้อสัมผัสและรสชาติดีที่สุด (ถ้าใช้กิน) แต่จริงๆ แล้วก็เก็บไว้ได้นานกว่านั้นอีก [1]
    • ถ้าอยากเก็บดีไปกว่านั้นอีก ให้ห่อใบด้วยแรปพลาสติกอีกที ก่อนเอาไปเก็บในถุงซิปล็อคที่จะแช่ช่องฟรีซ
  3. ทิ้งไว้จนใบว่านหางจระเข้ละลายเท่าอุณหภูมิห้อง ปกติต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง แล้วแต่ขนาดของใบ [2]
    • ห้ามเอาใบว่านหางจระเข้ไปอุ่นละลายน้ำแข็งในไมโครเวฟ เพราะจะทำให้เนื้อสัมผัสเปลี่ยนไป แถมสรรพคุณบำรุงสุขภาพก็ลดลง!
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สกัดแล้วเก็บเฉพาะวุ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะใช้ว่านหางจระเข้ที่เขาขายกัน หรือตัดใบเองจากต้นที่ปลูกไว้ก็ได้ ให้นำใบว่านหางจระเข้มาล้างคราบเหนียวคราบดินออกไป สุดท้ายใช้ทิชชู่ซับให้แห้ง [3]
    • ถ้าตัดใบจากต้นที่ปลูกเอง ก็ให้วางตั้งไว้ในแก้วหรือขวดโหลสัก 15 นาที ค่อยทำขั้นตอนต่อไป เพราะช่วยระบายน้ำยาง หรือ aloin (น้ำสีแดง/เหลือง) จากใบได้ เราจะไม่ใช้น้ำยางนี้ เพราะทำให้ท้องเสีย ปวดท้องได้ ถ้ากินเข้าไป
  2. เตรียมเขียงสะอาดและมีดคมๆ จากนั้นหั่นส่วนบนของใบว่านหางจระเข้ออกไป รวมถึงส่วนล่างด้วย (ตรงโคนใบที่ติดกับต้น) เพราะเป็นส่วนที่ไม่ค่อยมีวุ้นที่เราจะเอาไปใช้ได้อยู่แล้ว [4]
    • เวลาหั่นใบว่านหางจระเข้ ต้องระวังอย่าให้หนามที่ขอบใบบาดมือได้
  3. วางแล้วกดใบว่านหางจระเข้ให้แนบไปกับเขียง จากนั้นหั่นขอบใบที่มีหนามคมๆ ออก โดยกรีดไปตามความยาวของใบ พยายามเฉือนออกเฉพาะหนาม อย่าให้เกินเข้าไปในส่วนที่เราต้องใช้ [5]
    • ถ้าใช้มีดด้ามเล็กๆ คมๆ จะคุมง่ายกว่ามีดทำอาหารใหญ่ๆ
  4. ปอกเปลือกด้านบนและด้านล่างออก โดยใช้ที่ปอกผักผลไม้. ยังกดใบว่านหางจระเข้แนบไปกับเขียง จากนั้นใช้ที่ปอกผักผลไม้ (ที่ขูดผิว) ปอกเปลือกตั้งแต่ปลายใบลงมาจนถึงโคนใบ ปอกไปเรื่อยๆ จนได้ใบโล้นๆ เสร็จแล้วกลับด้าน แล้วปอกซ้ำตามขั้นตอน [6]
    • พอปอกเปลือกเสร็จ จะไม่เหลือเปลือกสีเขียวเข้ม เหลือแต่วุ้นว่านหางจระเข้สีขุ่นตรงกลาง
    • ถ้าปอกแล้วเหลือเปลือกเป็นเส้นเขียวๆ เล็กๆ ให้ใช้มีดค่อยๆ เฉือนออก
    • ว่านหางจระเข้เหนียวลื่นพอตัว เพราะงั้นมือที่จับมีด/ที่ปอก ต้องแห้งสนิท จะได้ไม่หลุดมือระหว่างปอก
  5. ใช้มีดหั่นว่านหางจระเข้ ให้ได้ลูกเต๋าเล็กๆ ขนาดเท่าๆ กัน ระวังอย่าให้มีดบาดมือระหว่างหั่น จริงๆ ในขั้นตอนนี้จะหั่นว่านหางจระเข้เป็นแบบไหนก็ได้ตามสะดวก แต่ถ้าหั่นเต๋าเล็กๆ จะเอาไปผสมเครื่องดื่มหรือปั่นเป็นสมูธตี้ได้ง่ายกว่า [7]
    • ระหว่างหั่นเต๋า จะทิ้งส่วนที่หั่นแล้วไว้บนเขียง หรือพักไว้ในถ้วยสะอาดสักใบก็ได้
  6. คุณเก็บวุ้นว่านหางจระเข้สดในตู้เย็นได้นานถึง 10 วัน. ให้เก็บวุ้นว่านหางจระเข้ในภาชนะสะอาดที่มีฝาปิดมิดชิด หรือเป็นสูญญากาศ จากนั้นเก็บในตู้เย็น ใช้ผสมได้ทั้งในผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เครื่องดื่มและสมูธตี้ และแก้ผิวไหม้แดด [8]
    • ติดป้ายบอกไว้ที่ภาชนะด้วย จะได้รู้ว่าใช้ได้ถึงเมื่อไหร่
    • ถ้าเก็บวุ้นว่านหางจระเข้มาเกือบ 10 วันแล้ว ให้เอาที่เหลือไปแช่ช่องฟรีซ แบบนี้ก็ใช้ต่อได้ ไม่ต้องกลัวเสีย!
  7. อันนี้แล้วแต่ว่าจะใช้ว่านหางจระเข้ทำอะไร (นอกจากทำสมูธตี้และเครื่องดื่ม ก็ใช้บำรุงผิว แก้ไหม้แดด) ให้เอาว่านหางจระเข้หั่นเต๋าขนาดต่างๆ ใส่ถุงซิปล็อคเล็กๆ สักหลายๆ กำมือ [9]
    • บางทีเวลาเอาไปแช่แข็ง วุ้นว่านหางจระเข้ก็เปลี่ยนสีได้ แก้ได้โดยเติมวิตามินอีลงไป
    • หรือจะเอาวุ้นว่านหางจระเข้หั่นเต๋า ไปปั่นสัก 30 วินาที แล้วเทใส่พิมพ์น้ำแข็งอีกทีก็ได้
    • แนะนำให้ติดป้ายที่ถุง อธิบายว่าคืออะไร และทำวันที่เท่าไหร่ แล้วค่อยเอาไปใส่ในช่องฟรีซ
  8. คุณแช่แข็งวุ้นว่านหางจระเข้เก็บไว้ได้นานถึง 8 เดือน. เวลาเอาถุงซิปล็อคใส่ช่องฟรีซ ระวังอย่าเอาอะไรมาวางซ้อนด้านบน วุ้นจะได้ไม่ถูกทับจนเสียรูปทรงเวลาแช่ [10]
    • ถ้าจะแช่ทีเดียวหลายๆ ถุง ระวังอย่ายัดเข้าไปอัดๆ กันในช่องฟรีซเล็กๆ เพราะอาจจะแข็งติดกันเป็นก้อนได้ เวลาจะหยิบใช้แค่บางถุงก็ทำได้ยาก
  9. ละลายน้ำแข็งโดยวางถุงวุ้นบนเคาน์เตอร์ หรือจะใช้ทั้งๆ ที่เป็นก้อนแข็งก็ได้. เช่น ใส่วุ้น 2 - 3 ก้อนใน สมูธตี้ หรือจะละลายน้ำแข็งก่อน แล้วเอาไปผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำมันมะพร้าว ใช้หมักผม มาสก์หน้า อีกทีคือใช้ทาแก้ผิวไหม้แดด บรรเทาอาการให้หายเร็วขึ้น เรียกว่าเป็นวุ้นสารพัดประโยชน์เลย! [11]
    • ห้ามเอาวุ้นแช่แข็งใส่ไมโครเวฟ เพราะจะทำให้เนื้อสัมผัสเปลี่ยนไป แถมสรรพคุณบำรุงสุขภาพน้อยลง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ผสมน้ำผึ้งกับว่านหางจระเข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ใช้ว่านหางจระเข้ที่ปอกเปลือกและหั่นเต๋าแล้ว จะสกัดวุ้นจากใบที่ซื้อมา หรือตัดจากต้นที่ปลูกเองก็ได้ เอาวุ้นใส่เครื่องปั่น แล้วปั่นจนเนื้อเนียน [12]
    • จริงๆ แล้วขั้นตอนการปั่นไม่ได้บังคับ แต่จะเอาไปผสมกับน้ำผึ้งได้ง่ายขึ้น แถมเนื้อสัมผัสเนียนนุ่มกว่า
  2. ให้ตวงวุ้นที่จะใช้ ด้วยตาชั่งสำหรับส่วนผสม หรือถ้วยตวงก็ได้ ตวงเสร็จให้เอาวุ้นใส่ชามสะอาด [13]
    • ถ้าใช้ตาชั่งส่วนผสม ก็เอาวุ้นใส่ชามสะอาด แล้วชั่งทั้งชามได้เลย แบบนี้รู้น้ำหนักวุ้นแล้วยังไม่เปลืองชามด้วย
  3. ให้ใช้น้ำผึ้งดิบจากธรรมชาติ 100% หาซื้อได้ตามซูเปอร์ และร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเทน้ำผึ้งใส่ชามวุ้นว่านหางจระเข้ แล้วเอาช้อนคนผสมให้เนียนเข้ากัน [14]
    • น้ำผึ้งเหมาะจะใช้ถนอมวุ้นว่านหางจระเข้มาก เพราะน้ำผึ้งไม่เน่าเสีย ให้ผสมน้ำผึ้งกับวุ้นในปริมาณเท่ากัน จะช่วยยืดอายุวุ้นว่านหางจระเข้ไปอีกนาน
    • วิธีนี้ใช้ยืดอายุวุ้นว่านหางจระเข้ที่ใกล้เสียเต็มทีได้ด้วย
  4. คุณเก็บวุ้นที่ผสมน้ำผึ้งแล้วในขวดโหลแก้วสูญญากาศได้นาน 3 ปี. โดยเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ภาชนะที่ใส่ต้องสะอาดและแห้งก่อนบรรจุวุ้น [15]
    • อาจจะแบ่งวุ้นผสมน้ำผึ้งใส่ขวดโหลเล็กๆ หลายๆ ขวด ใช้เป็นของขวัญของฝากได้เลย โดยติดฉลากน่ารักๆ จัดแพ็คเกจรวมกับผลิตภัณฑ์ประทินผิวอื่นๆ หรือชุดทำสปาได้เลย
  5. บำรุงผิวหน้าด้วยวุ้นผสมน้ำผึ้ง หรือใช้ผสมในเครื่องดื่ม. วุ้นว่านหางจระเข้ผสมน้ำผึ้งช่วยให้หน้าใสไร้สิว หรือนำไปหมักผมเพื่อความชุ่มชื้นก็ได้ นอกจากนี้ยังเอาไปเติมความหวานให้ชาร้อน หรือใส่ใน สมูธตี้ ไว้ดื่มยามเช้า ก็หวานคล่องคอขึ้น
    • จะใช้วุ้นผสมน้ำผึ้งเวลาอบขนมก็ยังได้ ถ้าเป็นสูตรขนมที่ต้องใส่น้ำผึ้ง ก็ใช้วุ้นผสมน้ำผึ้งนี้แทนได้เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าใส่น้ำมะนาวในวุ้นว่านหางจระเข้สด จะช่วยยืดอายุว่านหางจระเข้ได้ แถมแต่งกลิ่นผลไม้รสเปรี้ยว สดชื่น
  • ปกติคุณหาซื้อใบว่านหางจระเข้ได้ตามตลาด ตามสวน หรือร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ แต่จะซื้อต้นว่านหางจระเข้มาปลูกที่บ้านเลยก็ได้ อยากสกัดวุ้นเมื่อไหร่ก็ทำได้ตลอดเวลา!
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

เก็บทั้งใบ

  • แรปพลาสติก
  • ถุงซิปล็อค

สกัดแล้วเก็บเฉพาะวุ้น

  • ใบว่านหางจระเข้
  • ทิชชู่
  • เขียง
  • มีดคมๆ
  • ที่ปอกผักผลไม้
  • ถ้วย (ถ้ามี)
  • ภาชนะสูญญากาศ
  • ถุงซิปล็อค

ผสมน้ำผึ้งกับว่านหางจระเข้

  • ว่านหางจระเข้ที่ปอกเปลือกและหั่นเต๋าแล้ว
  • เครื่องปั่น
  • ถ้วยตวง
  • ตาชั่งอาหาร (ถ้ามี)
  • ชาม
  • ช้อน
  • ขวดโหลแก้วสูญญากาศ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,577 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา