ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติกควรจะเป็นเรื่องง่ายกว่าความเป็นจริง แต่การทำให้กาวติดพลาสติกนั้นยากมาก ผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงใช้สารยึดติดที่มีความแข็งแรงสูงเพื่อทำให้ป้ายติดแน่น ไม่ว่าคุณจะลอกสติกเกอร์ไม่ออก หรืออยากจะทำความสะอาดเศษสติกเกอร์ที่ติดค้างอยู่ มันก็มีหลายวิธีที่ใช้ได้ผลและลองทำได้เองที่บ้าน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ลอกสติกเกอร์ออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    ทดสอบน้ำยาทำความสะอาดกับส่วนเล็กๆ บนพลาสติกก่อนใช้จริง. สารเคมีบางตัวจะทำปฏิกิริยากับพลาสติกบางชนิด ทำให้บิดงอหรือผิดรูปได้ ก่อนจะใช้สารทำความสะอาดใดๆ ลองใช้สำลีชุบและทดสอบกับจุดเล็กๆ ที่มองเห็นได้ยากบนพลาสติกก่อน รอ 20 นาที หากไม่เกิดปฏิกิริยาใดก็ค่อยใช้ลอกสติกเกอร์ออก
    • ลองพยายามลอกสติกเกอร์ออกให้ได้มากที่สุดโดยใช้เล็บ มีดด้านที่ไม่คม หรือใบมีดโกน ก่อนจะใช้สารเคมี ถ้าสารเคมีสามารถเข้าถึงพื้นสติกเกอร์มันจะทำงานได้ดีขึ้น
  2. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    เป่าลมร้อนบนสติกเกอร์แค่ประมาณ 45 วินาทีก็พอ หลังจากนั้นก็ให้ลองดึงจากมุมหนึ่ง ถ้ามันยังติดแน่นอยู่ก็เป่าต่ออีก 30-45 วินาทีแล้วลองลอกอีกครั้ง ถ้ายังมีปัญหาแปลว่ากาวนั้นทนความร้อน ให้ข้ามไปดูวิธีอื่น [1]
  3. ทาสติกเกอร์ด้วยน้ำมันทำอาหารทิ้งไว้ 12-24 ชั่วโมง. น้ำมันคาโนลา น้ำมันพืช และน้ำมันอื่นๆ จะซึมเข้าสู่สติกเกอร์และทำให้กาวละลาย และลอกออกง่ายขึ้น ถ้าไม่ได้ผลให้ลองทำซ้ำและใช้ใบมีดขูดออกเบาๆ [2]
  4. สารละลายที่หาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์เครื่องมือนี้สามารถแยกสติกเกอร์ออกได้อย่างง่ายดาย โดยใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีเท่านั้นในการซึมเข้าไป หลังจากทาจนชุ่มแล้วก็ขูดสติกเกอร์เอาคราบกาวออกให้หมด [3]
    • ผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่างน้ำยา Goo-gone ก็ใช้ได้เหมือนกัน
  5. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    ใช้น้ำยาล้างคราบไขมันอย่าง WD40 ถูสติกเกอร์ออก. ทดสอบน้ำยา WD40 จุดเล็กๆ บนพลาสติก จากนั้นสเปรย์ลงบนผ้าสะอาด หรือบนผิวสติกเกอร์หรือคราบกาวโดยตรง ถูวนเป็นวงกลมจากตรงกลางสู่รอบนอกจนสติกเกอร์หลุดออก
  6. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    ทาลงบนสติกเกอร์หรือใช้ผ้าชุบแล้วค่อยถูสติกเกอร์ก็ได้ ยิ่งปล่อยให้มันทำปฏิกิริยากันนานๆ ก็จะยิ่งเอาออกง่ายขึ้น [4]
  7. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    ทาเกลือลงบนสติกเกอร์ก่อนเล็กน้อยเพื่อป้องกันกาวติดและช่วยให้มันจับตัวเป็นก้อนได้ ใช้แผ่นเช็ดเท่าที่จำเป็นเพื่อเช็ดเอาสติกเกอร์ออก
  8. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    ถูจนมันเผยอขึ้นแล้วค่อยดึงออก คุณสามารถใช้ยางลบถูพวกเศษสติกเกอร์ที่เหลือให้หลุดออกได้ด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

กำจัดคราบสติกเกอร์ที่ตกค้าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    เชื่อหรือไม่ว่าน้ำมันในเนยถั่วทำให้กาวหลายชนิดหลุดออกได้ ทาทิ้งไว้สักครู่ก่อนเช็ดออกด้วยฟองน้ำชุบน้ำสบู่อุ่นๆ [5]
  2. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    ผสมผงฟูกับน้ำอุ่นเล็กน้อยพอให้เป็นเนื้อครีม นำมาถูคราบกาวออก ถ้ามันไม่ออกให้ทาทิ้งไว้สักพักแล้วค่อยลองถูอีกที [6]
  3. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    ใช้เศษผ้าชุบไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ 90% เช็ดคราบกาวออก [7]
  4. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    น้ำยาขจัดคราบมันอย่าง WD40 อาจทำปฏิกิริยากับพลาสติกและทำให้บิดงอหรือสีซีดได้ อย่าลืมทดสอบกับจุดเล็กๆ บนพลาสติกก่อนจะใช้ขจัดคราบกาว เมื่อเสร็จแล้วให้ล้างพลาสติกด้วยน้ำผสมน้ำยาล้างจานเล็กน้อย
  5. Watermark wikiHow to ลอกสติกเกอร์ออกจากพลาสติก
    ควรใช้แบบที่มีสารอะซีโตน (acetone) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยขจัดคราบกาว ทาทิ้งไว้ 4-5 นาทีแล้วเช็ดออกโดยใช้ฟองน้ำถูวนเป็นวงกลม
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • ใช้แปรงสีฟันแทนผ้า สำหรับกาวที่แกะออกยาก
  • คุณสามารถใช้มาการีนหรือโลชั่นทามือแทนเนยถั่วได้ มันจะช่วยสลายกาวที่ติดแก้วได้ดีเหมือนกัน
  • แช่ของลงในน้ำร้อนผสมน้ำยาล้างจาน ใช้แปรงถูเพื่อขจัดเศษสติกเกอร์ที่หลงเหลือจากขั้นตอนก่อนๆ เช่น หลังใช้น้ำยา WD40
  • ดึงสติกเกอร์โดยจับให้ชิดกับพื้นผิว (ดึงไปทางตรงข้ามกับทางที่จะลอกออก) วิธีนี้จะทำได้มันหลุดออกมาอย่างหมดจดขึ้น
  • ค่อยๆ ทำช้าๆ อย่าลอกหรือขูดแรงเกินไป ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ยิ่งแย่ลงหรือทำให้ของเสียหายได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังเวลาใช้น้ำยาล้างเล็บ บางยี่ห้อมีสารอะซีโตน (acetone) ซึ่งทำให้พลาสติกละลายได้
  • ควรทดสอบน้ำยาขจัดคราบไขมันในส่วนที่มองเห็นได้ยาก เพราะบางชนิดอาจทำให้พลาสติกละลาย
  • สารเคมีเกือบทุกชนิดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถทำให้พลาสติกแบบอ่อนอย่างเช่นแฟ้มห่วงละลายได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 128,894 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา