ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องหาซื้อทีวีชุดใหม่ที่ทันสมัยและมีการอัพเดทฟังก์ชันต่างๆ คุณคงอยากให้ทีวีมีขนาดพอดีกับตู้ที่มีอยู่แล้ว หรือมีขนาดเหมาะเจาะให้แทรกเข้าไประหว่างของใช้ 2 ชิ้นได้ คุณจึงต้องแน่ใจว่าตัวเองรู้วิธีการวัดขนาดทีวีที่ถูกต้อง การวัดขนาดทีวีอาจดูเป็นเรื่องง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่วันนี้ เรามีข้อมูลเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจช่วยให้คุณตามล่าหาทีวีเหมาะๆ ได้ง่ายขึ้นอีกสักนิดมาฝากกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วิธีการวัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วัดขนาดทีวีตามแนวทแยงจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมเพื่อหาขนาดที่ผู้ผลิตใช้กัน. คุณอาจคิดว่าทีวีขนาด 32 นิ้ว (81 ซม.) คือทีวีที่มีความกว้าง 32 นิ้ว จากมุมซ้ายล่างไปยังมุมขวาล่าง ซึ่งไม่ใช่เลย ความจริงแล้ว ขนาด 32 นิ้ว (81 นิ้ว) ที่ว่านี้ได้มาจากการวัดจากมุมล่างซ้ายไปยังมุมบนขวา หรือจากมุมล่างขวาไปยังมุมบนซ้ายต่างหาก
  2. วัดขนาดจาก “หน้าจอไปยังหน้าจอ” ไม่ใช่จากกรอบด้านหนึ่งไปยังกรอบอีกด้าน. บางคนอาจทำเรื่องผิดพลาด ด้วยการวางสายวัดจากมุมด้านนอกของกรอบหรือโครงทีวีไปยังมุมด้านตรงข้ามของกรอบทีวี ซึ่งจะทำให้คุณได้ตัวเลขที่ผิด วิธีการที่ถูกต้องคือให้วัดในแนวทแยงจากมุมตรงขอบหน้าจอไปยังมุมด้านตรงข้ามของขอบหน้าจอ เพราะกรอบของทีวีมักมีขนาดใหญ่กว่าหน้าจอค่อนข้างมาก การวัดจากกรอบทีวีจึงทำให้คุณได้ค่าที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การติดตั้งทีวีในพื้นที่จำกัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วัดขนาดของทีวีทั้งชุด ทั้งความกว้าง ความสูง และความลึก. วัดขนาดทั้งหมดของตัวเครื่องทีวี (รวมส่วนกรอบด้วย) ไม่ใช่เฉพาะขนาดของหน้าจอ การวัดขนาดตามวิธีนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อคุณพยายามจะติดตั้งทีวีชุดใหม่ลงในพื้นที่ที่มีอยู่แล้ว หรือนำไปติดตั้งในศูนย์รวมความบันเทิง
  2. เว้นระยะห่างเพิ่มเติมเมื่อติดตั้งทีวีในพื้นที่แคบ. สมมุติว่าคุณกำลังคิดจะซื้อทีวีขนาด 46 นิ้ว (117 ซม.) ทีวีของคุณจะมีความกว้างประมาณ 44.5 นิ้ว (113 ซม.) และสูงประมาณ 25 นิ้ว (63.5 ซม.) โดยหลักการแล้ว ทีวีของคุณอาจนำไปติดตั้งในศูนย์รวมความบันเทิงที่มีพื้นที่กว้าง 45 นิ้ว สูง 45 นิ้วได้ แต่มันอาจจะดู “คับเกินไป” จนดูไม่สวยงามน่ามอง คุณจึงควรเลือกทีวีขนาด 40 นิ้ว (102 ซม.) แทน ถ้าตั้งใจจะนำไปติดตั้งในศูนย์รวมความบันเทิงของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

อัตราส่วนจอภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความเข้าใจว่าอัตราส่วนจอภาพมีความเชื่อมโยงกับขนาดทีวีอย่างไร. อัตราส่วนจอภาพ คืออัตราส่วนของความกว้างภาพที่แสดงผลต่อความสูงของภาพนั้น ทีวีมาตรฐานรุ่นเก่าๆ จะมีอัตราส่วนจอภาพต่างจากทีวีหน้าจอกว้างรุ่นใหม่ๆ ทีวีมาตรฐานส่วนใหญ่จะใช้อัตราส่วนจอภาพที่ 4:3 นั่นหมายความว่าคุณจะได้ความสูง 3 นิ้วในทุกๆ 4 นิ้วของความกว้างหน้าจอ ในขณะที่ทีวีหน้าจอกว้างรุ่นใหม่ๆ ทั่วไปจะใช้อัตราส่วนจอภาพ 16:9 ซึ่งหมายความว่าคุณจะได้ความสูง 9 นิ้วสำหรับความกว้าง 16 นิ้ว
    • แม้ทีวีมาตรฐาน (4:3) กับทีวีจอกว้าง (16:9) อาจวัดค่าในแนวทแยงได้เท่ากัน เช่น วัดขนาดหน้าจอได้ 32 นิ้ว ทั้ง 2 รูปแบบ แต่ขนาดทั้งหมดของหน้าจออาจต่างกัน เพราะทีวีมาตรฐานจะมีพื้นที่หน้าจอใหญ่กว่าและภาพจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมากกว่า ในขณะที่ทีวีจอกว้างจะให้ภาพที่มีความกว้างในแนวนอนมากกว่า
    • ทีวีจอกว้างเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ผลิตทีวีเริ่มมีการปรับอัตราส่วนจอภาพเพื่อดึงดูดให้ผู้ชมสนใจภาพยนตร์กันมากขึ้น [1] เพราะอัตราส่วนจอภาพที่กว้าง (16:9) จะให้ภาพที่ใหญ่กว่าและทำให้เห็นฉากหลังได้ชัดเจนขึ้น
  2. ใช้วิธีการคำนวณง่ายๆ เพื่อหาขนาดหน้าจอของทีวีมาตรฐานที่ตรงกับทีวีจอกว้าง. สมมุติว่าตอนนี้คุณมีทีวีขนาด 4:3 และยังอยากดูภาพในอัตราส่วน 4:3 บนทีวีจอกว้าง ให้คูณความยาวในแนวทแยงของทีวีรุ่นเก่าด้วย 1.22 ผลลัพธ์ที่ได้คือขนาดหน้าจอในแนวทแยงของทีวีจอกว้างที่จะให้ภาพเหมือนกับทีวีรุ่นเก่า
    • เช่น สมมุติว่าคุณมีทีวี 40 นิ้ว (102 ซม.) ที่มีอัตราส่วนจอภาพ 4:3 และกำลังคิดอยากอัพเกรดทีวีกับเขาสักหน่อย แต่ไม่อยากให้ขนาดหน้าจอเล็กลง คุณจะต้องใช้หน้าจอขนาดอย่างน้อย 50 นิ้ว (127 ซม.) เพื่อดูภาพ 4:3 โดยที่ภาพไม่มีขนาดเล็กลง เพราะ 1.22 x 40 = 49 และเนื่องจากทีวีขนาด 49 นิ้วไม่มีผลิตกันทั่วไป คุณจึงต้องเพิ่มขนาดเป็น 50 นิ้ว (127 ซม.) นั่นเอง
  3. เรียนรู้วิธีการจัดวางที่นั่งให้ห่างออกมาตามขนาดทีวี. เมื่อได้ขนาดทีวีที่ต้องการพร้อมแล้ว จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายคือการเลือกว่าคุณควรจัดวางที่นั่งให้ห่างออกมามากแค่ไหน ลองนำคำแนะนำต่อไปนี้ไปใช้เมื่อจัดวางที่นั่งดูหน่อยเป็นไง [2]
    โฆษณา
หน้าจอ ระยะการดู
27" 3.25 - 5.5'
32" 4.0 - 6.66'
37" 4.63 - 7.71'
40" 5.0 - 8.33'
46" 5.75 - 9.5'
52" 6.5 - 10.8'
58" 7.25 - 12'
65" 8.13 - 13.5'


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 133,405 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา