ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สีชอล์ก หากอธิบายง่ายๆ ก็คือแท่งสีที่ผสมเข้าด้วยกันโดยใช้สารยึดเกาะที่แตกต่างกัน [1] แม้ว่าการใช้สีชอล์กนั้นเราจะเรียกมันว่า “การลงสี” เนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ได้เวลาวาดลงไปบนกระดาษ แต่การวาดรูปด้วยสีชอล์กนั้นยังต้องใช้เทคนิคที่เฉพาะเจาะจงซึ่งแตกต่างจากการวาดรูปลงสีโดยทั่วไป สีชอล์กทุกชนิดไม่ได้มีคุณสมบัติเดียวกัน ดังนั้น หากอยากเรียนรู้วิธีวาดรูปด้วยสีชอล์ก คุณจำเป็นต้องรู้คุณสมบัติที่แตกต่างกันของสีชอล์กแต่ละประเภทและชนิดของกระดาษที่ใช้คู่กันด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

จัดหาอุปกรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สีชอล์กมีหลากหลายรูปแบบ สีชอล์กน้ำมัน สีชอล์กแบบแข็ง สีชอล์กแบบนุ่ม และสีชอล์กแบบแท่งดินสอ แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่โดดเด่นแตกต่างกันไป
    • สีชอล์กน้ำมันคือสีชอล์กที่มีขี้ผึ้งและ น้ำมัน (inert oil) เป็นส่วนผสม
  2. ศึกษากระดาษแต่ละชนิดที่ใช้สำหรับวาดสีชอล์ก. กระดาษวาดสีชอล์กมีพื้นผิวและน้ำหนักที่หลากหลาย แต่มักจะหยาบกว่ากระดาษที่ใช้สำหรับวาดรูปด้วยสีอะคริลิกหรือสีน้ำ [2] เป็นเพราะว่าสีชอล์กมักยึดติดได้ไม่ดีบนพื้นผิวที่เรียบทั้งหมด [3]
    • กระดาษวาดสีชอล์กมีหลากหลายสีเช่นกัน เนื่องจากสีชอล์กใช้วาดบนกระดาษสีได้ดีเพราะมีความแน่นและความเข้มของสี
    • บางครั้งกระดาษวาดสีชอล์กจะผลิตโดยใช้ "การอัด" หมายความว่า เนื้อกระดาษด้านหนึ่งจะมีลักษณะเป็นเส้นบรรทัดติดๆ กัน และอีกด้านหนึ่งจะมีพื้นผิวค่อนข้างด่าง ซึ่งเป็นกระดาษวาดสีชอล์กอีกแบบหนึ่งที่ใกล้เคียงกับกระดาษทรายชนิดดำ หรือกระดาษทรายหยาบ เหล่านี้คือชนิดของกระดาษที่คุณทดลองทำอะไรสนุกๆ ได้
  3. ซื้อสีชอล์กและกระดาษวาดสีชอล์กที่ร้านขายอุปกรณ์ศิลปะใกล้บ้านคุณ. ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะใช้กระดาษแบบไหนดี ให้ลองซื้อกระดาษและสีชอล์กแต่ละชนิดจำนวนน้อยๆ ก่อน แล้วจึงค่อยดูว่าคุณชอบหรือไม่ชอบแบบไหนโดยทดลองใช้แต่ละแบบ
    • แม้ว่าจะใช้แทนกันไม่ได้ แต่สีชอล์กแบบนุ่ม สีชอล์กแบบแข็ง และสีชอล์กแบบแท่งดินสอสามารถใช้ร่วมกันได้ในรูปเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สีชอล์กน้ำมันจะเกลี่ยให้เข้ากับสีชอล์กประเภทอื่นได้ยาก ควรพิจารณาเรื่องนี้เวลาที่จะซื้อสีชอล์กด้วย [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทดลองอุปกรณ์ของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สีชอล์กน้ำมัน สีชอล์กแบบแข็ง สีชอล์กแบบนุ่ม และสีชอล์กแบบแท่งดินสอ ต่างก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันซึ่งคุณควรเรียนรู้โดยการทดลองใช้มัน
    • ลองเขียนสีชอล์กแต่ละชนิดลงบนเศษกระดาษ จะเห็นได้ว่าสีชอล์กแต่ละชนิดให้เส้นที่แตกต่างของกัน
    • ลองหยิบสีชอล์กแบบแท่งขึ้นมาพิจารณาดู แล้วจะพบว่านอกจากมันจะเหมือนกับดินสอไส้กราไฟต์แล้ว ลายเส้นที่ได้ก็ยังมีรายละเอียดคล้ายดินสอปกติด้วย
    • ลองจับสีชอล์กแบบนุ่มและสัมผัสความนุ่มของมัน และระหว่างที่วาดเส้นลงบนเศษกระดาษ ให้สังเกตด้วยว่าความแน่นของสีที่ได้นั้นเปลี่ยนแปลงตามน้ำหนักแรงที่ใช้วาด
    • ลองเขียนสีชอล์กแบบแข็งลงบนกระดาษ ลองเล่นกับวิธีการที่คุณวาดลงบนกระดาษ ลองใช้ทั้งปลายและด้านข้างของแท่ง จะเห็นได้ว่าเส้นที่ได้นั้นแตกต่างกัน ลองลงน้ำหนักแรงแล้วค่อยเบา จะเห็นว่าเส้นที่ได้ก็แตกต่างเช่นกัน [5]
  2. Watermark wikiHow to วาดรูปด้วยสีชอล์ก
    ทดลองดูว่าสีชอล์กแต่ละชนิดจะมีปฏิกิริยาต่อกันอย่างไร. ลองเกลี่ยสีเข้าด้วยกัน แต่ก็ลองวาดเส้นที่คมชัดและแตกต่างทับบนสีอื่นด้วย
    • การทดลองแบบนี้จะช่วยสร้างทักษะที่คุณต้องใช้สำหรับสร้างรูปวาด.
  3. Watermark wikiHow to วาดรูปด้วยสีชอล์ก
    ถ้าคุณวาดบนกระดาษโดยไม่มีที่ยึดเหนี่ยว ให้ลองติดมันด้วยเทปกาว คุณจะได้ไม่ต้องคอยจับให้กระดาษอยู่กับที่
    • ศึกษา “พื้นผิวหยาบ” (tooth) ของกระดาษวาดสีชอล์ก “ความหยาบ” จะแสดงให้เห็นความสามารถของกระดาษในการยึดติดสี กระดาษที่มีความหยาบมากจะทำให้สีชอล์กติดได้มาก กระดาษที่เรียบเกินไปจะใช้ได้ยากกว่าหากคุณต้องการลงสีหลายชั้น
    • ศึกษาดูว่าสีของกระดาษที่แตกต่างกันมีผลต่ออารมณ์ของรูปวาดของคุณ กระดาษสีแดงเข้มจะเพิ่มประกายความอบอุ่น ในขณะที่กระดาษสีอ่อนกว่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดูนุ่มนวลและอ่อนโยนกว่า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

วาดรูปด้วยสีชอล์ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to วาดรูปด้วยสีชอล์ก
    วางแผนรูปที่คุณจะวาดโดยการร่างด้วยดินสอไม้ก่อน. วาดรูปทรงโดยทั่วไป สิ่งของ และอาคารก่อน นี่คือเวลาตัดสินใจว่าองค์ประกอบหลักส่วนใดบ้างที่จะใส่ลงไปในภาพของคุณ
  2. Watermark wikiHow to วาดรูปด้วยสีชอล์ก
    มองดูที่รูปวาดของคุณและเลือกสีหลัก ซึ่งจะเป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดของรูปภาพ
    • ลงสีไม่ต้องหนักมาก โดยระบายให้เต็มรูปทรงและรูปแบบก่อน เมื่อคุณแน่ใจว่าภาพร่างออกมาอย่างถูกต้องแล้ว ก็ให้ใช้เส้นที่หนักและชัดเจนกว่าเดิม
    • หากอยากให้พื้นที่ส่วนใดสว่างขึ้น ให้ลงสีชอล์กสีขาวลงไปก่อนที่จะลงสี หากมันยังเข้มหรือมืดเกินไป ก็ให้ขูดสีออกโดยใช้เหล็กขูด แล้วจึงลงสีใหม่
  3. Watermark wikiHow to วาดรูปด้วยสีชอล์ก
    ลงสีให้เต็มโดยลากเส้นให้หนักขึ้นและเข้มขึ้นหลังจากสร้างเค้าโครงรูปภาพหรือรูปแบบเสร็จแล้ว
  4. Watermark wikiHow to วาดรูปด้วยสีชอล์ก
    เกลี่ยสีเข้าด้วยกัน ลงสีชอล์กซ้อนกันหลายชั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์แบบที่คุณต้องการ. หมุนสีเป็นวงกลมเล็กๆ อย่าลืมลากเส้นให้เนื้องานไปทางเดียวกัน แต่พยายามทำให้เส้นนั้นดูไม่เป็นระเบียบและไม่ตั้งใจ
    • ผสมสีและใส่รายละเอียดโดยใช้เส้นที่ลากด้วยสีชอล์ก
  5. Watermark wikiHow to วาดรูปด้วยสีชอล์ก
    เกลี่ยสี่ให้เสร็จโดยใช้นิ้วมือ พู่กันเกลี่ยสีชุบน้ำหมาดๆ หรือที่เกลี่ยสีปลายแหลม. สิ่งนี้จะเพิ่มรายละเอียดที่ดูดีให้ภาพวาดของคุณสวยงาม
    • ลงสีแบบละเอียดโดยใช้เศษสีชอล์กที่ติดอยู่ปลายอุปกรณ์เกลี่ยสี การใช้อุปกรณ์ชิ้นเล็กจะทำให้คุณสามารถเติมรายละเอียดเล็กน้อย เช่น ประกายแสงในดวงตา ได้ง่ายกว่าการใช้สีชอล์กแบบแท่ง
    • สร้างขอบมนโดยใช้ยางลบสีขาวแบบกลมเกลี่ยสี ค่อยๆ ลากสีออกเป็นแนวเบาๆ ทำให้เส้นขอบจางลงบนกระดาษ
    • คุณอาจเกลี่ยสีโดยใช้เม็ดโฟมกันกระแทกที่เหลือใช้ก็ได้ เม็ดโฟมกันกระแทกจะช่วยป้องกันปลายนิ้วของคุณ และยังใช้เกลี่ยสีเบาๆ ได้ด้วย หรือหากใช้ขี้เลื่อยอัดเม็ดเกลี่ยสี ก็จะช่วยปกป้องนิ้วของคุณไม่ให้ขูดกับพื้นผิวกระดาษหยาบด้วย
  6. Watermark wikiHow to วาดรูปด้วยสีชอล์ก
    รักษารูปให้คงสภาพโดยใช้สเปรย์เคลือบภาพสีชอล์ก (Fixative). ไม่เหมือนกับภาพที่วาดด้วยสีแบบของเหลว สีชอล์กอาจเสียหายหรือผสมกันได้หากถูกสัมผัส คุณสามารถป้องกันได้ด้วยการซื้อสเปรย์เคลือบภาพสีชอล์กได้ตามร้านขายอุปกรณ์ศิลปะใกล้บ้านคุณ
    • หรืออีกทางหนึ่ง คุณอาจเก็บรูปวาดสีชอล์กของคุณไว้ในกรอบรูปทำจากแก้ว มันจะช่วยป้องกันรูปภาพของคุณจากความเสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจ
  7. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากต้องการวาดเส้นเพิ่มในส่วนที่ทำไปก่อนหน้า ควรปล่อยสีแข็งตัวก่อนสัก 1-2 วัน แล้วจึงค่อยเติมเส้น สีชอล์กจะไม่แห้งสนิท แต่สีจะแข็งขึ้นเล็กน้อยหลังจากปล่อยไว้สักพัก ทำให้สีไม่ผสมกัน
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังการเป่าผงจากสีชอล์กในระยะใกล้ เพราะผงนั้นเป็นอันตราย และอาจเข้าไปในปอดได้ [6] ควรใส่หน้ากากหรือเป่าเศษผงออกข้างนอก
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • สีชอล์ก
  • กระดาษหรือสมุดร่างภาพ
  • ดินสอวาดภาพ
  • อุปกรณ์สำหรับเกลี่ยสี
  • สเปรย์เคลือบภาพสีชอล์ก (มีหรือไม่ก็ได้)


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 58,888 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา