ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การสเก็ตช์ภาพเป็นการฝึกวาดภาพโครงร่างหยาบๆ หรือร่างคร่าวๆ ของงานศิลปะชิ้นที่จะทำเป็นชิ้นเสร็จสมบูรณ์ การสเก็ตช์สามารถใช้ในการเตรียมงานก่อนจะสร้างงานชิ้นใหญ่ หรือเพื่อจะหาดูว่าภาพจะมีหน้าตาออกมาอย่างไร ไม่ว่าคุณจะสเก็ตช์ภาพแค่เอาสนุกหรือเพราะจะทำโปรเจคงาน การเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องจะช่วยทำให้การฝึกสนุกขึ้นกว่าเดิมเยอะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เรียนรู้พื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก็เหมือนกับงานศิลปะทุกรูปแบบ การสเก็ตช์จะกลายเป็นเรื่องยากหากใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำ (หรือผิดประเภท) คุณสามารถหาอุปกรณ์สำหรับการสเก็ตช์ภาพทุกอย่างได้โดยง่ายตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป ลองควักเงินเลือกซื้ออุปกรณ์ดังต่อไปนี้:
    • ดินสอเบอร์ H ดินสอเบอร์ H เป็นดินสอที่เข้มที่สุด และจะใช้สำหรับการสเก็ตช์เส้นตรงบางๆ ชนิดไม่ต้องไปกลืนกับเส้นอื่น มันจะใช้บ่อยที่สุดในงานสเก็ตช์ทางสถาปัตยกรรมและทางธุรกิจ ให้เลือกซื้อคละกันหลายเบอร์ความเข้ม คือ ดินสอ 8H, 6H, 4H, และ 2H (8H จะเข้มที่สุด ส่วน 2H จะอ่อนที่สุด)
    • ดินสอเบอร์ B ดินสอเบอร์ B เป็นดินสอที่อ่อนที่สุด และมักใช้สำหรับการทำรอยเปื้อนหรือเส้นเบลอและเอาไว้แรเงาภาพสเก็ตช์ ศิลปินหลายคนจะชอบใช้มาก ให้หาซื้อคละหลายเบอร์ความเข้มคือ ดินสอ 8B, 6B, 4B, และ 2B (8B จะอ่อนที่สุด ส่วน 2B จะเข้มที่สุด)
    • กระดาษวาดเขียน การสเก็ตช์ลงบนกระดาษพิมพ์ทั่วไปอาจจะง่าย แต่กระดาษแบบนี้บางและไม่จับผงดินสอได้ดี ให้ใช้กระดาษวาดเขียนที่มีลายพื้นผิวเล็กน้อยสำหรับการสเก็ตช์อย่างง่ายที่สุด และให้คุณภาพโดยรวมดีที่สุด
  2. สำหรับมือใหม่ การสเก็ตช์ที่ง่ายที่สุดคือหาภาพหรือแบบของจริงมา จะดีกว่าใช้จินตนาการคิดภาพที่จะวาดเอาเอง หาภาพหรือวัตถุที่คุณชอบ หรือมองหาสิ่งของหรือผู้คนใกล้ตัวมาวาด ใช้เวลาพักใหญ่ศึกษาตัวแบบก่อนเริ่มทำการสเก็ตช์ ให้ความสนใจในสิ่งต่อไปนี้:
    • มองหาแหล่งกำเนิดแสง การระบุแหล่งกำเนิดแสงหลักจะช่วยในการพิจารณาว่าตรงไหนที่คุณจะต้องสเก็ตช์จางๆ และตรงไหนต้องสเก็ตช์เข้มๆ
    • มองหาลักษณะการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวจริงจากแบบของจริงหรือการเคลื่อนไหวในรูปภาพก็ตาม จะช่วยในการพิจารณารูปทรงและทิศทางที่คุณจะร่างลายเส้นได้
    • ให้ความสำคัญกับรูปทรงเบื้องต้น วัตถุทุกชนิดประกอบขึ้นจากการผสมของรูปทรงพื้นฐาน (สี่เหลี่ยม วงกลม สามเหลี่ยม เป็นต้น) มองหาว่ารูปทรงไหนที่เป็นสัณฐานหลักของวัตถุต้นแบบ แล้วสเก็ตช์รูปทรงพื้นฐานเหล่านี้ออกมาก่อน
  3. Watermark wikiHow to สเก็ตช์ภาพ
    ภาพสเก็ตช์นั้นมีเจตนาจะใช้เป็นพื้นฐานหรือภาพร่างของรูปภาพจริง ฉะนั้น เวลาเริ่มสเก็ตช์ คุณควรจะลงน้ำหนักมือเบาๆ และใช้ลายเส้นตวัดสั้นๆ หลายๆ ครั้ง มันจะทำให้ทดลองวาดวัตถุใดๆ ด้วยวิธีแตกต่างกันออกไปได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้คุณลบข้อผิดพลาดได้ง่ายขึ้นด้วย
  4. Watermark wikiHow to สเก็ตช์ภาพ
    การฝึกวาดท่าทาง (gesture drawing) เป็นการสเก็ตช์ภาพรูปแบบหนึ่งที่คุณจะต้องใช้การเคลื่อนไหวต่อเนื่องและเชื่อมเส้นเพื่อวาดวัตถุต้นแบบโดยไม่ต้องมองบนกระดาษวาดเขียน แม้มันจะฟังดูยาก แต่จะช่วยให้คุณได้เข้าใจรูปทรงพื้นฐานในการวาด และช่วยวาดภาพที่ใช้เป็นฐานสำหรับการวาดขั้นสุดท้ายได้ การจะวาดท่าทางนั้น ให้มองเฉพาะตัวแบบ และขยับมือตามบนกระดาษวาดเขียน ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ต้องยกดินสอขึ้นเลยแต่ใช้การวาดเส้นซ้อนทับกัน คุณสามารถย้อนกลับไปลบเส้นที่เพิ่มขึ้นมาโดยไม่จำเป็นและวาดเส้นให้สมบูรณ์ได้
    • นี่เป็นการฝึกสเก็ตช์ภาพได้ดี เหมือนเป็นการลงเส้นร่างก่อนสเก็ตช์อีกที
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ฝึกสเก็ตช์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้แน่ใจว่าคุณมีแสงสว่างพอ คุณสามารถสเก็ตช์บนโต๊ะ ในสวนสาธารณะ หรือใจกลางเมือง โดยใช้สมุดสเก็ตช์ กระดาษธรรมดา หรือกระทั่งบนผ้าเช็ดปากก็ยังได้
    • คุณอาจต้องการลองสเก็ตช์ภาพวัตถุเดียวกันในหลายๆ แบบเพื่อมาดูในภายหลังว่าแบบไหนที่คุณชอบที่สุด
  2. Watermark wikiHow to สเก็ตช์ภาพ
    เช่น คุณสามารถวาดวงกลมหรือเส้นตรงสักห้าถึงสิบนาทีเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องมือตัวเอง
  3. Watermark wikiHow to สเก็ตช์ภาพ
    เริ่มโดยใช้ดินสอเบอร์ H ลงเส้นเบาๆ โดยการขยับมือหลวมๆ. ขยับมือเร็วๆ โดยลงน้ำหนักให้เบามือที่สุด ชนิดแค่ตวัดลงบนกระดาษโดยไม่หยุดชะงัก ทำความคุ้นเคยกับกระดาษที่ใช้วาด ในระยะเบื้องต้นนี้ คุณควรมองลายเส้นแทบไม่ค่อยเห็น คิดเสียว่ามันเป็นแค่ฐานสำหรับการสเก็ตช์
  4. Watermark wikiHow to สเก็ตช์ภาพ
    สำหรับขั้นตอนต่อไป ใช้ดินสอ 6 B ที่มีความเข้มขึ้น. พอคุณได้รูปทรงที่พอใจจากขั้นตอนที่ 3 แล้ว คุณสามารถลงลายเส้นที่แม่นยำขึ้นด้วยดินสอที่มีความเข้มมากขึ้นนี้ พยายามเติมรายละเอียดลงไป เริ่มจากการวาดรูปทรงด้านใน ให้แน่ใจว่าสัดส่วนถูกต้อง เช่น เวลาวาดลานจอดรถ คุณก็ต้องแน่ใจว่าทางเข้ากับจุดที่จอดรถมันมีขนาดเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกัน
    • เมื่อใช้ดินสอชนิดนี้วาดเสร็จ คุณจะสังเกตเห็นรอยเปื้อนบนกระดาษเนื่องจากไส้ดินสอชนิดนี้จะนิ่มกว่าดินสอแบบที่แล้ว ให้ใช้ยางลบลบรอยเปื้อนเหล่านั้นออก
    • ให้แน่ใจว่าคุณใช้ยางลบชนิดอ่อนเช่นยางลบนวด (putty eraser) เพื่อที่คุณจะได้ไม่ลบพื้นผิวชั้นบนสุดของกระดาษ ยางลบแบบนี้จะทำให้เส้นจางลง แต่ไม่ลบมันออกจนหายไปหมด
  5. Watermark wikiHow to สเก็ตช์ภาพ
    เติมรายละเอียดเพิ่มและตกแต่งลายเส้นกับการนำเสนอให้สมบูรณ์จนกระทั่งคุณพอใจในตัวงานแล้ว.
  6. Watermark wikiHow to สเก็ตช์ภาพ
    เมื่อคุณสเก็ตช์เสร็จสมบูรณ์แล้ว ให้พ่นน้ำยาเคลือบภาพเพื่อเคลือบผนึกรูปภาพนั้นไว้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มีดินสอที่ปลายแหลม ดินสอปลายแหลมเหมาะสำหรับการร่างรายละเอียดเล็กๆ
  • คุณสามารถย้อนกลับมาเติมจุดที่ต้องเข้มขึ้นแทนเงาในภายหลัง
  • ฝึกปรือ พยายามสเก็ตช์วัตถุหลายๆ แบบ และอย่ากังวลว่าภาพร่างนั้นจะดูดีหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ อย่ากลัวที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ หรือแค่วาดยึกยือไปเรื่อยๆ
  • เพื่อให้ภาพสเก็ตช์ออกมาดูดี ลองเติมลายเส้นบางๆ ของดินสอที่มีความเข้มสีอ่อนลงไปในภาพวาด
  • ยางลบนวดเหมาะสำหรับการลบจุดเล็กๆ
  • ถ้าคุณต้องการจะเก็บภาพในคอมพิวเตอร์ คุณอาจต้องสแกนเข้าไป
  • ใช้ปากกาลอกลาย มาร์กเกอร์เข้ม หรือดินสอสีเข้มเป็นอีกวิธีที่จะทำให้ภาพสเก็ตช์ดูสมจริงขึ้น อีกทางเลือกคือใช้ปากกาตัดเส้นสีดำจะเส้นบางหรือเส้นปกติลงบนสเก็ตช์ก็ได้
  • รักษาให้วัตถุต้นแบบอยู่ในตำแหน่งที่คุณสามารถมองได้สบาย งานจะได้ง่ายขึ้น
  • คุณสามารถสเก็ตช์โดยอาศัยจินตนาการ แต่ถ้าคิดว่ามันยาก ให้ใช้วัตถุจริงๆ ดีกว่า
โฆษณา

คำเตือน

  • ดินสอที่ไส้อ่อนจะเกิดรอยเปื้อนได้ง่าย เวลาไม่ใช้มัน ให้เก็บไว้ในกล่องดินสอเป็นการป้องกัน
  • การวาดในที่ที่มีแสงน้อยจะทำให้ปวดตา ให้แน่ใจว่าได้สเก็ตช์ภาพในที่ที่มีแสงสว่างพอ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กระดาษวาดเขียน
  • ของอะไรสักอย่างสำหรับเป็นแบบ
  • ดินสอ HB
  • ดินสอ 6 B
  • มือที่สะอาด
  • ยางลบนวด
  • แสงสว่าง
  • น้ำยาพ่นเคลือบภาพ (หาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียน)


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 65,641 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา