ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

พอเปิดเรียนไปได้ไม่เท่าไร ก็ต้องเตรียมตัวสอบแล้วใช่ไหม พอสอบวิชาหนึ่งเสร็จ ก็ต้องไปสอบวิชาหนึ่งต่อ ถ้าสามารถทำข้อสอบได้เกือบหมดทุกข้อ เกรดเอหรือบีคงไม่หนีเราไปไหน ฉะนั้นบทความนี้จึงขอแนะนำวิธีอ่านหนังสือสอบเพื่อให้นักเรียนและนักศึกษาได้ลองนำไปปฏิบัติตามดู

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ฝึกตนเองให้ทบทวนบทเรียนจนเป็นกิจวัตร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำตารางทบทวนบทเรียน . การบริหารเวลาเป็นกุญแจสำคัญในการทบทวนบทเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบย่อยหรือสอบครั้งสำคัญ ถ้าบริหารเวลาในการอานหนังสือสอบได้ดีก็จะรู้สึกกดดันและร้อนรนน้อยลง ไม่ต้องอ่านหนังสือจนดึกดื่น คร่ำเคร่งจนถึงตี 3 ให้กำหนดเวลาทบทวนบทเรียนเป็นช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนสอบเพื่อจะได้ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
    • วิเคราะห์ดูว่าต้องทบทวนเนื้อหามากมายแค่ไหนและคำนวณดูว่าต้องใช้เวลาทบทวนบทเรียนในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์เท่าไรถึงจะทบทวนเนื้อหาทุกอย่างได้ครบ จะลองทดสอบระยะเวลาด้วยการอ่านหนังสือสักหน้าและค่อยนำมาคำนวณระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทบทวนเนื้อหาทุกอย่างให้ครบก็ได้
    • พยายามให้เวลาตนเองทบทวนบทเรียนสักหนึ่งสัปดาห์ ไม่ใช่แค่หนึ่งคืน การทบทวนข้อมูลจะทำให้ข้อมูลนั้นย้ายจากความจำระยะสั้น (ซึ่งแทบจะหายไปโดยทันที) ไปอยู่ในความจำระยะยาว เราจึงสามารถเรียกใช้ได้ในภายหลัง [1] ทบทวนเนื้อหาไปทีละนิดทุกวัน
  2. ถ้าเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะไม่ต้องกังวลในภายหลัง อ่านตำราเรียนตามคำแนะนำของครูอาจารย์ ทำการบ้าน และเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อถึงเวลาใกล้สอบ เราจะอ่านหนังสือเพื่อทบทวนบทเรียนด้วยตนเองได้ง่ายขึ้น
    • จัดสมุดและแฟ้มที่ใช้ในการเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย รวบรวมเอกสารทุกอย่างไว้ด้วยกันเสมอ พอสามเดือนต่อมาเราจะได้ดึงมาใช้งานได้สะดวก เก็บประมวลการสอนให้สามารถหยิบใช้งานได้ง่ายเพราะเอกสารนี้จะช่วยให้รู้อย่างคร่าวๆ ว่าจะได้เรียนเรื่องอะไรบ้าง อย่าลืมทบทวนบทเรียนทุกวัน ไม่ควรเพิ่งมาอ่านหนังสือสอบในวินาทีสุดท้าย!
  3. อย่าลืมว่าสามารถถามรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการสอบได้ด้วย!
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ . ควรจะนอนพักพักผ่อนให้เพียงพอและนอนตามปกติแทนการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรตามปกติเพื่อตื่นนอนแต่เช้าตรู่มาทบทวนบทเรียนเพราะการทำแบบนี้จะทำลายวงจรการนอนหลับช่วงหลับฝันได้ [2] พยายามนอนหลับวันละ 8 ชั่วโมงหรือใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลการเรียนจะได้ดีขึ้นและพ่อแม่ก็จะได้ภาคภูมิใจ
    • ก่อนที่จะเข้านอน ทบทวนเนื้อหาที่ยากที่สุดก่อน จากนั้นเมื่อเข้านอน สมองจะได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงในการซึมซับข้อมูล ทบทวนเนื้อหาง่ายๆ ช่วงเช้า ทบทวนเรื่องยากๆ ก่อนนอน แล้วปล่อยให้เนื้อหาซึมเข้าสมองเพื่อจะได้จดจำได้ [2]
  5. ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านักเรียนที่กินอาหารเช้าก่อนสอบจะทำข้อสอบได้ดี แต่อาหารที่กินควรเบาท้องและดีต่อสุขภาพ ฉะนั้นควรเน้นกินอาหารที่มีโปรตีนอย่างเช่น ไข่ เบคอน ชีส และอย่าลืมกินผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด และผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันและน้ำตาลน้อยด้วย
    • ความจริงแล้วผลการวิจัยยังบอกว่าอาหารที่กินใน สัปดาห์ก่อนสอบ นั้นสำคัญด้วยเช่นกัน! นักเรียนที่กินอาหารซึ่งมีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูงจะทำข้อสอบได้น้อยกว่านักเรียนที่กินผัก ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ดที่มีพลังงานเชิงซ้อน ดูแลตนเอง ร่างกาย และสมองด้วยการกินอาหารที่เหมาะสม ถ้ากินอาหารที่เหมาะสม ร่างกายก็จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเราก็จะสามารถจดจำข้อมูลต่างๆ ได้ดีขึ้น [2]
  6. หลีกเลี่ยงการคร่ำเคร่งอ่านหนังสือสอบในนาทีสุดท้าย. การทบทวนบทเรียนในคืนก่อนสอบจะยิ่งทำให้เราลำบากมากขึ้น เราจะนอนไม่พอ มึนงง และคิดอะไรไม่ออก ฉะนั้นจึงไม่ควรพยายามจดจำข้อมูลปริมาณมากในคืนเดียว เพราะไม่มีทางที่จะสามารถจดจำข้อมูลปริมาณขนาดนั้นในระยะเวลาอันสั้นได้อยู่แล้ว [3] สุดท้ายเราก็จะทำคะแนนสอบออกมาได้ไม่ดี
    • ถ้าไม่เชื่อว่าการคร่ำเคร่งอ่านหนังสืออย่างหนักก่อนสอบไม่เป็นผลดี ลองมาฟังผลการศึกษานี้ดู มีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้คร่ำเคร่งอ่านหนังสือจนดึกดื่นจะเรียนได้เกรดเฉลี่ยปานกลาง [4] ถ้าอยากได้เกรดซี ก็คร่ำเคร่งไปเถอะ แต่ถ้าอยากให้คะแนนสอบออกมาดีกว่านี้ หลีกเลี่ยงการคร่ำเคร่งอ่านหนังสืออย่างหนักในคืนก่อนสอบจะดีกว่า
  7. ในตอนเช้าสมองจะแล่นและแจ่มใส ถึงแม้จะไม่คิดว่าวิธีนี้ได้ผล (เพราะทำง่ายมาก!) แต่สมองดูเหมือนจะซึมซับข้อมูลได้ดีขึ้นหลังจากเราตื่นนอน [5] ตอนกลางคืนสมองจะหลั่งสารเคมีเพื่อเชื่อมข้อมูลเข้ากับความจำ ฉะนั้นการอ่านหนังสือก่อนเข้านอน (และหลังจากตื่นนอน) จึงช่วยให้จดจำข้อมูลได้ดี เมื่อรู้ว่าสมองทำงานอย่างไร ก็ให้ใช้ความรู้นี้ให้เป็นประโยชน์!
    • ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการนอนหลับหลังจากเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ จะทำให้จดจำข้อมูลได้ดีขึ้น ฉะนั้นควรอ่านหนังสือก่อนนอน! ยิ่งไปกว่านั้นผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าการนอนหลับเต็มอิ่มจะทำให้ความจำดีขึ้น จำได้ไหมที่บอกว่าอย่าคร่ำเคร่งอ่านหนังสืออย่างหนัก นี้แหละคือเหตุผล [6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทบทวนบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มหาวิทยาลัยดุ๊กแนะนำว่ากลุ่มติวหนังสือควรมีสมาชิก 3 หรือ 4 คน ถึงจะทบทวนบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีใครสักคนเป็นคนนำหรือตัวแทนกลุ่ม จะได้ทำให้การติวหนังสือเป็นไปอย่างราบรื่น นำของว่างกับเพลงมาด้วย และ ตกลง เรื่องเนื้อหากันล่วงหน้า การมานั่งถกกันเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ ทำให้เราต้องอ่าน ดู ฟัง และพูด จึงทำให้สามารถจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น [7]
    • ควรใช้เวลาช่วงแรกในการทำความเข้าใจแนวคิดต่างๆ นี้เป็นขั้นตอนที่ใครๆ ก็มองข้ามบ่อยๆ นั่งถกกันถึงแนวคิดต่างๆ ในเนื้อหาของสัปดาห์นั้นหรือประเด็นสำคัญที่จะออกข้อสอบ เมื่อได้ถกกันเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ก็จะทำให้เนื้อหาต่างๆ น่าสนใจขึ้น (น่าจำมากขึ้น) จากนั้นจึงค่อยมาถกกันถึงปัญหาต่างๆ ที่พบในเนื้อหาเหล่านั้น เมื่อทำความเข้าใจแนวความคิดได้ครอบคลุม ปัญหาในเนื้อหาเหล่านั้นก็น่าจะคลี่คลายลงได้ [8]
  2. ผลการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่าความจำของเราจะดีขึ้นถ้าซึมซับข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ถึงแม้เหล่านักวิทยาศาสตร์ไม่รู้สาเหตุแน่ชัดว่าทำไมแต่คิดว่าสภาพแวดล้อมอาจช่วยเพิ่มประสิทธิในการรับข้อมูลและกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูล (เข้ารหัสข้อมูลได้มากขึ้น) [9] ฉะนั้นจะอ่านหนังสือที่บ้านหรือห้องสมุดก็ได้ผลดีทั้งนั้น!
    • ถ้าสามารถทบทวนบทเรียนในสถานที่ซึ่งจะใช้สอบได้ ก็ยิ่งดี บางครั้งเราจะสามารถนึกอะไรออกได้ง่าย เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ฉะนั้นสมองของเราก็น่าจะจดจำข้อมูลได้มากขึ้น ถ้าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ตนเองเคยเรียนรู้ข้อมูลนั้นมาก่อน [10] ด้วยเหตุนี้เราอาจเลือกติวหนังสือกับเพื่อนๆ ในห้องเรียนก็ได้
    • อย่าเลือกสถานที่ซึ่งมีสิ่งรบกวนและใช้เสียงธรรมชาติกลบเสียงที่ดังแทรกเข้ามา
  3. ไม่ว่าจะเลือกทบทวนบทเรียนที่บ้านหรือที่โรงเรียน ก็ควรมีช่วงพักระหว่างนั้นด้วย ลุกไปดื่มน้ำ เดินเล่น หรือกินของว่าง แต่ต้องพักในช่วงสั้นๆ เท่านั้นคือประมาณ 5-10 นาที อย่าพักนานเกินไป ไม่อย่างนั้นเราจะเริ่มอยากไปทำอะไรอย่างอื่นและไม่ยอมอ่านหนังสือต่อ!
    • เราแค่พักเพราะต้องการให้สมองจัดเรียงข้อมูลที่ซึมซับไปแล้ว เราจะมีสมาธิมากขึ้นและนึกข้อมูลออกง่ายมากขึ้นทีเดียว เราจะไม่เฉื่อยชาเพราะได้ใช้วิธีทบทวนบทเรียนซึ่งดีที่สุดต่อสมองของเรา [11]
    • พอถึงช่วงพัก ให้ลุกขึ้นและออกไปเดินเล่น ออกไปสูดอากาศสดชื่นข้างนอก สมองของเราต้องการออกซิเจนเพื่อจะได้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
  4. ผลการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่าโกโก้เป็นสุดยอดอาหารสำหรับสมอง ช็อกโกแลตดำก็ให้ผลแบบเดียวกันแต่ต้องเป็นโกโก้ 70% ขึ้นไป จะดื่มเป็นถ้วยหรือกินเป็นแท่งก็ได้ แล้วแต่สะดวก [12]
    • กาแฟและชาซึ่งมีปริมาณคาเฟอีนสักเล็กน้อยก็ช่วยได้ [7] ความกระปรี้กระเปร่าเป็นส่วนสำคัญในการซึมซับข้อมูล แต่อย่าดื่มมากเกินไป ไม่อย่างนั้นจะทำให้เกิดอาการกระวนกระวายได้
    • ปลา ถั่ว และน้ำมันมะกอก (อาหารที่มีโอเมก้า 3 ทุกอย่าง) ก็เป็นสุดยอดอาหารสำหรับสมองเช่นกัน กินอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ก่อนเข้าสอบ สมองจะได้พร้อมและแล่น [7]
  5. นำเนื้อหาต่างๆ มาเขียนลงในกระดาษโน้ตและจากนั้นตกแต่งให้สวยงาม อย่ายกข้อมูลทั้งหมดมาเขียนลงในนั้น ไม่อย่างนั้นจะอ่านยาก เล่นถามตอบกับตนเองหรือเพื่อนก็ได้ อาจเล่นตอนรอรถ เดินไปห้องเรียน หรือในเวลาว่าง
    • เราอาจจดจำได้ดีขึ้นเมื่อนำเนื้อหานั้นมาเชื่อมโยงกับเรื่องราวที่แปลกพิสดาร [13] ถ้าต้องจำว่าสงครามครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน เมื่อพิจารณาตัวสะกดภาษาอังกฤษของชื่อประธานาธิบดีท่านนี้ จะเห็นว่าเมื่อดึงเอาตัวอักษรแรกของชื่อ "Woodrow" และตัวอักษรแรกของนามสกุล "Wilson" ออกมาจะตรงกับคำเรียกย่อของสงครามโลกซึ่งก็คือ "WW" ฉะนั้นอาจนึกภาพประธานาธิบดีท่านนี้อยู่ที่จุดสูงสุดของโลกพร้อมกับถุงมือโฟมฟิงเกอร์ขนาดยักษ์ข้างหนึ่ง หรือนึกถึงลูกวอลเลย์บอลยี่ห้อวิลสัน พิมพ์เป็นลายลูกโลก กระเด้งไปมาอยู่ระหว่างสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี
    • เราจะจำกราฟและภาพได้ง่ายกว่าจำประโยคที่ไม่น่าสนใจ ถ้าสามารถทำให้ตนเองเกิดการปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาที่อ่านและทำให้เนื้อหาเป็นภาพที่สนใจได้ ก็ให้ทำ สมองจะได้จดจำเนื้อหาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
    • ใช้เทคนิคช่วยจำด้วย! สมองสามารถจดจำอะไรได้มากมาย (ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มาก) ฉะนั้นถ้าสามารถรวบรวมข้อมูลเป็นคำๆ เดียว (เช่น Roy G. Biv ในการจำสีรุ้งกินน้ำ) เราก็จะสามารถเพิ่มความจำของสมองได้มากขึ้นเยอะทีเดียว [7]
  6. เราจะใช้ปากกาเน้นข้อความในการแยกแยะข้อมูล ถ้าเป็นคำศัพท์ใช้สีเหลือง ถ้าเป็นข้อมูลวันเดือนปี ใช้สีชมพู ถ้าเป็นข้อมูลสถิติ ใช้สีฟ้า เป็นต้น เมื่ออ่านหนังสือ ลองใช้เวลานั้นแยกข้อมูลออกเป็นประเภทต่างๆ สมองของเราจะได้ไม่ถูกอัดไปด้วยข้อมูลตัวเลข ข้อมูลวันเดือนปี หรือข้อมูลที่ประมวลผลยาก เหมือนกับการฝึกเล่นกีฬาบาสเกตบอล เราจะไม่ฝึกการชู๊ตลูกแบบเลย์อัพตลอด เราต้องฝึกท่าอื่นด้วย
    • การแยกเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ในตอนที่อ่านหนังสือจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมกับรายละเอียดได้ค่อนข้างง่ายขึ้น เมื่ออ่านคร่าวๆ ก็จะได้ภาพรวม เมื่อเริ่มเจาะลึกเนื้อหาแต่ละส่วน ก็จะได้รายละเอียด
    • การอ่านเนื้อหาส่วนต่างๆ ในคราวเดียวได้แสดงให้เห็นว่าช่วยให้สมองจดจำข้อมูลได้ดีและนานขึ้น เหมือนกับนักดนตรีที่ต้องกำหนดระดับเสียง จังหวะ และคุณภาพเสียง นักกีฬาที่ต้องฝึกร่างกายให้แข็งแรง ฝึกความเร็ว และฝึกทักษะต่างๆ ฉะนั้นในช่วงบ่ายอ่านเนื้อหาส่วนต่างๆ ให้ครบ! [9]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ลดความวิตกกังวลในการสอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การลองทำตัวอย่างข้อสอบมีประโยชน์สองอย่าง ประโยชน์อย่างแรกคือเราจะกังวลน้อยลงเมื่อต้องสอบจริง (ซึ่งเป็นตัวกำหนดผลการเรียน) และอย่างที่สองคือเราจะทำข้อสอบได้ดีขึ้น ผลการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์แสดงให้เห็นว่านักศึกษาที่ได้รับการทดสอบเนื้อหาซึ่งเพิ่งเรียนไปจะทำข้อสอบ ได้ดี กว่านักศึกษาที่ถูกขอให้จดเนื้อหาซึ่งเพิ่งเรียนไป [14]
    • ฉะนั้นลองฝึกทำตัวอย่างข้อสอบและให้เพื่อนลองฝึกทำตัวอย่างข้อสอบด้วยเหมือนกัน! จากนั้นลองตรวจคำตอบดูสิว่าทำได้คะแนนเท่าไรและแก้ไขจุดบกพร่อง ถ้าลองฝึกทำตัวอย่างข้อสอบกับเพื่อน ก็สามารถช่วยกันแก้ไขจุดบกพร่องของกันและกันได้ ยิ่งฝึกทำตัวอย่างข้อสอบบ่อยๆ ก็ยิ่งรู้สึกว่าตนเอง พร้อม เข้าสอบมากขึ้นเมื่อวันสอบมาถึง
  2. อ่านทบทวนตอนเช้า ถ้าช่วยคลายความกังวลให้ลดลง. การอ่านทบทวนในตอนเช้าก็ให้ประโยชน์แบบเดียวกับการทำตัวอย่างข้อสอบ เราต้องทำให้ตนเองสงบและผ่อนคลายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การอ่านทบทวนก่อนสอบช่วยได้ ยิ่งไปกว่านั้นเราจะจดจำเนื้อได้ (สมองของเราจะแจ่มใสหลังตื่นนอน) ฉะนั้นก่อนสอบ ควักบัตรคำออกมาทบทวนเนื้อหาเป็นครั้งสุดท้าย
    • ทบทวนแต่เรื่องง่ายๆ เท่านั้น (ทบทวนแต่แนวคิดที่ง่ายๆ) การพยายามทบทวนเรื่องยากๆ และมีเนื้อหามากทั้งที่มีเวลาก่อนสอบแค่สิบนาทีไม่ช่วยอะไร จะทำให้เราตื่นกลัวเสียเปล่าๆ และนี้เป็นผลร้ายที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น! แค่ทบทวนเรื่องง่ายๆ เพื่อเตรียมสมองให้พร้อมสอบก็พอ
  3. บางคนเตรียมจิตใจให้พร้อมด้วยการ ทำสมาธิ โยคะก็ช่วยได้เช่นกัน! ทำกิจกรรมใดก็ได้ที่ช่วยฝึกการหายใจและเตรียมจิตใจให้พร้อมสอบ เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับตนเอง
    • ฟังเพลงคลาสสิก ถึงแม้การฟังเพลงคลาสสิกจะไม่ทำให้ฉลาดขึ้นอย่างที่บางคน (เคย) เชื่อ แต่ก็สามารถช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ ถ้าอยากให้ระบุเฉพาะเจาะจงลงไปหน่อย ก็คือฟังเพลงที่มีจังหวะต่อเนื่องที่ 60 BPM ถึงจะได้ผลดีที่สุด [15]
    • การฟังเสียงธรรมชาติอย่างเช่น เสียงฝน เสียงลม เสียงน้ำ หรือเสียงไฟปะทุก็ให้ผลแบบเดียวกันและช่วยให้จิตใจจดจ่อกับการสอบได้มากขึ้น
  4. ถ้าต้องรีบเร่งให้มาทันเวลาสอบ เราจะเครียด ถึงแม้จะเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีก็ตาม มาถึงห้องสอบก่อนเวลา เลิกอ่านหนังสือ ถามเพื่อนเพื่อทบทวนเนื้อหา (ให้เพื่อนถามเราด้วยเหมือนกัน) พอถึงเวลาก็เดินเข้าห้องสอบ ตั้งใจทำข้อสอบให้เต็มที่
  5. การมุ่งทำข้อที่ยากก่อนจะทำให้เราเครียดและวิตกกังวล พอเวลาผ่านไปมากก็จะเริ่มลนลานและคิดว่าตนเองอ่านหนังสือมาไม่ดีพอ ฉะนั้นอย่าเพิ่งทำข้อที่ยาก ให้เลือกทำข้อที่เรามั่นใจก่อน จากนั้นค่อยทำข้อที่ยากและต้องใช้เวลามากทีหลัง
    • ยิ่งใช้เวลาทำข้อหนึ่งนาน ก็ยิ่งเสียความมั่นใจ เชื่อสัญชาตญาณตนเอง เรานั้นได้เตรียมตัวมาเป็นอย่างดีแล้ว! อย่ากลัว อย่าลืมกลับมาตรวจทานคำตอบอีกครั้ง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลังจากอ่านเนื้อจบไปย่อหน้าหนึ่งหรือหน้าหนึ่ง ลองทำแผนที่ความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาทุกอย่างที่นึกออกและตรวจดูสิว่าแผนที่ความคิดนั้นมีประเด็นที่ย่อหน้าหรือหน้านั้นกล่าวถึงครบหรือเปล่า ถ้าไม่ ทำเครื่องหมายตรงประเด็นที่หลงลืมไปว่าเป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะเราอาจลืมได้ในอนาคต
  • ทำบัตรคำและนำมาเล่นเกมสนุกๆ การอ่านหนังสือสอบจะได้ไม่เป็นเรื่องน่าเบื่อ
  • เขียนวันเดือนปีไว้ที่โน้ตด้วย การหาข้อมูลตามวันเดือนปีจะช่วยให้ประหยัดเวลาขึ้น
  • พยายามทบทวนเนื้อหาทีละส่วน เริ่มจากเนื้อหาที่ยากที่สุดก่อน จากนั้นตอบคำถามตนเอง พยายามตั้งคำถามให้ยากกว่าข้อสอบจริง
  • ทุกครั้งที่อ่านหนังสือเตรียมสอบ อาจเคี้ยวหมากฝรั่งรสชาติใดรสชาติหนึ่ง เมื่อถึงเวลาสอบ ให้เคี้ยวหมากฝรั่งรสเดียวกันนั้น จะช่วยให้จำเนื้อหาได้ดีขึ้น
  • ดื่มน้ำมากๆ กินอาหารให้อิ่ม และพักผ่อนให้เพียงพอ เราจะได้มีพลังงานพอในการทำข้อสอบ ไม่อย่างนั้นความหิวอาจทำให้เราเสียสมาธิได้
  • เมื่ออ่านโน้ต อย่าลืมเน้นข้อความโดยใช้ปากกาสักสามสี อาจใช้ปากกาเน้นข้อความ ปากกาธรรมดา ปากกาเมจิก ดินสอสีเน้นข้อความก็ได้ แต่ในบรรดาปากกาทั้งหมดปากกาเน้นข้อความใช้ง่ายที่สุดแล้ว เน้นหัวข้อด้วยปากกาสีหนึ่ง เน้นคำศัพท์ และคำสำคัญด้วยปากกาอีกสีหนึ่ง เน้นข้อมูลสำคัญด้วยปากกาสีที่สาม การทำแบบนี้จะช่วยให้จดจ่อกับเนื้อสำคัญได้มากขึ้น
  • ทุกสัปดาห์ให้รวบรวมเนื้อหาทุกวิชาที่จดไว้และทำสรุปว่าในแต่ละวิชาของสัปดาห์นั้นได้เรียนอะไรไปบ้าง เมื่อถึงเวลาสอบ เราก็จะได้นำโน้ตเหล่านั้นมาอ่านทบทวนได้ทันที
  • อ่านหนังสือในตอนเช้า
  • ถ้าสมองล้าเกินไป ให้พักช่วงสั้นๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ากังวล เราจะมั่นใจในการทำข้อสอบน้อยลง พยายามอย่าเครียด นี้เป็นแค่การสอบครั้งหนึ่งเท่านั้น
  • อย่าเพิ่งมาเริ่มเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบในนาทีสุดท้าย การคร่ำเคร่งอ่านหนังสือในคืนก่อนสอบจะทำให้สมองเหนื่อยล้าเกินไปและพอถึงช่วงสอบเราจะลืมเนื้อหาที่เคยได้อ่านมาในช่วงก่อนหน้านั้นไปหมด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,101 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา