ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คณิตศาสตร์นั้นถูกกำกับโดยกลุ่มหลักการที่ตายตัว หากคุณดำเนินรอยตามกระบวนการเดียวกันนั้น คุณจะได้รับคำตอบที่เหมือนเดิมทุกครั้งไป อย่างไรก็ดี การใช้หลักคณิตศาสตร์ในการเล่นกลนั้นถือเป็นศิลปะพอๆ กับเป็นวิทยาศาสตร์ แน่นอนว่าคุณไม่สามารถอ่านใจใครได้ด้วยกลเหล่านี้จริงๆ แต่หากทำได้ถูกต้อง คุณจะสามารถเรียกเสียงว้าวจากเพื่อนฝูงโดยการคาดเดาคำตอบของพวกเขาโดยไม่ต้องให้ใครบอกใบ้อะไรแก่คุณเลย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เล่นกลอ่านใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาใครสักคนที่คุณต้องการจะสร้างความประทับใจ ผู้ที่มีเวลาให้คุณได้ใช้เล่นกล ทางที่ดีหาที่เงียบๆ เวลาเล่นด้วย เพราะหากเกิดมรอะไรมาขัดจังหวะจะทำให้ทุกอย่างพังไปหมด
  2. ขอให้เขาเลือกเลขจำนวนเต็มระหว่างหนึ่งถึงสิบ. ในทางทฤษฎีนั้น พวกเขาสามารถเลือกจำนวนเต็มอะไรก็ได้ กระนั้น ทางที่ดียึดอยู่กับเลขหนึ่งถึงสิบก็พอเพื่อให้กลมันง่ายเข้าว่า เพราะตัวเลขเยอะๆ จะทำให้เวลาคิดมันซับซ้อน เช่นเดียวกับการเลือกเลขที่มีจุดทศนิยมหรือเป็นเศษส่วน [1]
  3. กลนี้เหมาะสำหรับใช้เริ่มต้นเพราะมันเป็นหนึ่งในกลที่ง่ายที่สุด แต่ก็ยังเจ๋งพอจะสร้างความประทับใจให้คนดู ดังนั้น ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้และทำให้พวกเขาทึ่งว่าคุณรู้ได้ไง:
    1. บอกให้เขาคูณตัวเลขในใจนั้นด้วย 2
    2. ขอให้เขาคูณตัวเลขที่ได้มาใหม่นี้ด้วย 5
    3. ให้เขาหารผลลัพธ์ในตอนนี้ด้วยเลขที่คิดในใจตอนแรก
    4. บอกให้เขาเอา 7 ไปลบออกจากเลขที่ได้ตอนนี้
    5. "เดา"คำตอบ! หากขั้นตอนที่กล่าวมาทำได้ถูกต้อง คำตอบจะเป็น 3 เสมอ
    6. จงมองดูพวกเขาพากันอ้าปากค้างไปกับคุณ
    • ตัวอย่าง หากเพื่อนคุณเลือก 3: 3x2=6. 6x5=30. 30/3=10. 10-7=3.
  4. กลนี้ซับซ้อนขึ้นมาอีกนิด แต่ก็เหมาะมากจะสร้างความประทับใจ คราวนี้ คุณจะต้องเลือกตัวเลขด้วยเช่นกัน ดังนั้นเลือกจำนวนเลขคู่ไว้ในใจก่อนเริ่มเล่น พอเพื่อนคุณเลือกตัวเลขได้ ให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:
    1. บอกเขาให้คูณตัวเลขที่เลือกด้วย 2
    2. เลือกเลข คู่ เพื่อใช้เอง บอกเพื่อนให้บวกตัวเลขนี้ลงไปกับเลขของเขาในใจ
    3. บอกเขาให้หารตัวเลขใหม่ด้วย 2
    4. บอกเขาให้นำตัวเลขเริ่มต้นของเขามาลบออกจากเลขในตอนนี้
    5. "เดา" ตัวเลขนั้น คราวนี้ คำตอบที่ถูกต้องจะเป็นครึ่งหนึ่งของเลขคู่ที่คุณเลือก
    • ตัวอย่าง หากคุณเลือก 10, และเพื่อนคุณเลือก 3, สมการจะเป็นไปตามนี้: 3x2=6. 6+10=16. 16/2=8. 8-3=5 ซึ่ง 5 ก็คือครึ่งหนึ่งของ 10!
  5. นี่เป็นกลเด็ดที่เป็นจริงได้ด้วยคุณสมบัติพิเศษของการคูณด้วย 9 สิ่งสำคัญคือตัวเลขที่เพื่อนคุณเลือกนั้นจะต้องอยู่ระหว่าง 1-10 พอเพื่อนเลือกได้แล้ว ให้ทำดังต่อไปนี้:
    1. บอกให้เขาคูณตัวเลขนั้นด้วย 9
    2. บอกให้เขารวมตัวเลขหลักแรกกับหลักที่สองของผลที่ได้เข้าด้วยกัน หากมันเป็นเลขหลักเดียว (เช่น 9) ก็ให้เติม 0
    3. บอกให้เพื่อนบวก 4 เข้าไปในเลขใหม่
    4. "เดา" คำตอบ ทุกครั้งคำตอบจะเป็น 13
    5. ดูพวกเขาเริ่มฉงนในทุกสิ่งที่เคยคิดว่าคุ้นเคยเป็นอย่างดี
    • หากเพื่อนของคุณเลือก 3 สมการมันจะออกมาเป็นเช่นนี้: 3x9=27. 2+7=9. 9+4=13
  6. [2] ในขณะที่สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณทำตามขั้นตอนที่บอกไปได้อย่างถูกต้อง คุณก็จะเล่นกลให้พวกเขาดูได้แล้วล่ะ และกลนั้นต้องการสไตล์ที่ฉูดฉาดในระดับหนึ่ง ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กลนั้น และการนำเสนอตื่นตาแบบละครนั้นจะช่วยทำให้ทุกคนสนุกไปด้วย
    • ชุดนักมายากลนั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็น แต่มันอาจมีประโยชน์ตรงที่ให้ความรู้สึกว่าคุณมีพลังมายากลจริงๆ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เข้าใจคณิตศาสตร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจว่าส่วนหนึ่งของกลนั้นต้องเป็นเรื่องไม่จริงที่ใช้ลวงเรา. [3] ส่วนที่มีบทบาทมากในการเล่นกลจะอยู่ที่การหันเหความสนใจของผู้ชมไปอยู่กับขั้นตอนและข้อมูลที่ไร้ประโยชน์ กลไกหลักของกลเหล่านี้อยู่ที่การให้เพื่อนของคุณเอาตัวเลขที่เขาเลือกเองนั่นแหละไปลบออกจากสมการ พอตัวแปรถูกกำจัดออกไปแล้ว คุณก็สามารถบังคับได้เต็มตัวว่าจะให้สมการออกมาในรูปแบบใด [4]
  2. ระบุรูปแบบและสิ่งที่เกิดขึ้นอันโดดเด่นไม่เหมือนใครในทางคณิตศาสตร์. เหตุผลที่ทำไมกล "เลข 13 นำโชค" ถึงใช้ได้ผลนัก ก็เพราะการคูณเลข 9 กับตัวเลขระหว่าง 1-10 นั้นมีรูปแบบพิเศษที่ไม่เหมือนใคร ในกรณีนี้ แต่ละคำตอบ (เช่น 9, 18, 27 เป็นต้น) ล้วนแล้วแต่เท่ากับ 9 หากคุณนำเลขสองหลักมาบวกเข้าด้วยกัน ถึงแม้ว่าคุณสมบัตินี้จะโดดเด่นเป็นพิเศษเฉพาะกับการคูณด้วย 9 มันก็เป็นกลที่ดี โดยเฉพาะหากเพื่อนคุณจับได้อย่างเร็วว่ากลอื่นๆ นั้นมีหลักอยู่ที่การนำเลขตั้งต้นมาลบทิ้ง
  3. รู้ว่าทุกคำตอบนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลค่าคงที่ในสมการ. [5] การเติมโน่นลบนี่ที่ไม่จำเป็นนั้นทำได้กี่ครั้งก็ตามใจคุณเลย ตราบเท่าที่ในที่สุดคุณสามารถลบเลขตัวแปรที่เพื่อนคุณเลือกมาออกไปได้ เช่น กล "ยังไงก็ตอบ 3" นั้นสามารถจัดเรียงใหม่ให้ยังไงก็ตอบเลขอะไรก็ได้
  4. พอคุณเริ่มคุ้นเคยกับกลอ่านใจทางคณิตศาสตร์บ้างแล้ว คุณอาจพร้อมจะลองสร้างกลของคุณเอง แม้คุณจะสามารถคิดกลลึกลับซับซ้อนอย่างไรก็ได้ แต่แนะนำว่าเริ่มจากอะไรเล็กๆ ง่ายๆ แล้วค่อยพัฒนาขึ้นไปดีกว่า สำหรับมือใหม่แล้ว การใช้กล "ยังไงก็ตอบ 3" เป็นแม่แบบ แล้วเปลี่ยนค่าคงที่เพื่อให้ได้สมการใหม่ จากตรงนั้น คุณจะสามารถสร้างกลวิธีใหม่ๆ ในการกำจัดตัวแปรออกไปได้ [6]
    • อย่าลืมพัฒนารูปแบบการนำเสนอของคุณด้วยล่ะ ผู้คนชอบความบันเทิง และวิธีที่คุณจะทำให้เขาทึ่งกับกลของคุณนั้นสำคัญพอๆ กับตัวกลเลยนั่นเชียว!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณจะแสดงกลเหล่านี้กับเด็ก เป็นความคิดที่ดีถ้าจะมีเครื่องคิดเลขติดมือ หากต้องมานั่งคำนวณทุกอย่างในใจอาจเป็นเรื่องยาก และความเสี่ยงที่จะตอบผิดจะทำให้กลหมดความสนุก
  • นักเล่นกลที่แท้จริงจะไม่มีวันเปิดเผยเคล็ดลับ แต่หากเพื่อนคุณเซ้าซี้อยากรู้ความจริง คุณสามารถบอกให้เขามาอ่านบทความวิกิฮาวบทนี้ก็ได้!
  • อย่าเล่นกลซ้ำกับผู้ชมเดิมมากกว่าหนึ่งครั้ง
โฆษณา

คำเตือน

  • มันไม่ใช่ความคิดที่ดีนักถ้าจะเล่นกลอ่านใจโดยมีผู้ชมมากกว่าหนึ่งคน ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณงง มันอาจทำลายมายาภาพเรื่องการอ่านใจได้ก็เป็นได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 28,914 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา