ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การอ้างอิงเนื้อหาจากเว็บไซต์วิกิพีเดีย (Wikipedia) เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก เพราะบทความในเว็บไซต์นี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีการระบุชื่อผู้เขียน อย่างไรก็ตาม วิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยและสามารถใช้ในการอ้างอิงข้อความสำหรับการเขียนรูปแบบ MLA และช่วยให้คุณสร้างบทอ้างอิงที่เหมาะสมได้ ในการเขียนเชิงวิชาการนั้น บทความในวิกิพีเดียไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ดี ดังนั้น คุณควรสอบถามอาจารย์หรือสำนักพิมพ์ให้ดีก่อนที่คุณจะอ้างอิงบทความในวิกิพีเดีย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เขียนรายชื่อบทความจากวิกิพีเดียในส่วนการอ้างอิง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มต้นด้วยการให้ชื่อผู้ให้บริการวิกิพีเดีย. เพราะบทความในวิกีเดียถูกเขียนโดยผู้เขียนหลายคน ดังนั้นจึงไม่สามารถอ้างอิงบทความโดยการเขียนชื่อผู้เขียนคนเดียวได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถให้ชื่ออาสาสมัครหลายๆ คนที่เขียนบทความนั้นๆ ได้ [1]
    • คุณอาจจะเว้นชื่อผู้เขียนเอาไว้ก็ได้ แล้วเริ่มต้นอ้างอิงโดยใช้ชื่อบทความอย่างเดียว [2]
  2. จากนั้น เขียนชื่อของบทความด้วยการใช้เครื่องหมายอ้างอิง. หัวข้อของบทความก็คือชื่อของบทความ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการอ้างอิงบทความเกี่ยวกับบลูเบอร์รี่ (Blueberry) หัวข้อของบทความควรจะเป็น “Blueberry” ชื่อหัวข้อของบทความจะปรากฎบริเวณด้านบนสุดของหน้าวิกิพีเดียนั้นๆ [3]
    • ให้เขียนเครื่องหมายมหัพภาค (Period) บริเวณท้ายชื่อหัวข้อ แล้วใช้เครื่องหมายอ้างอิงล้อมทั้งชื่อหัวข้อเครื่องหมายนี้ด้วย
    • การอ้างอิงควรจะเป็นรูปแบบนี้: Wikipedia Contributors. "Blueberry."
  3. ชื่อเต็มของวิกิพีเดียก็คือ Wikipedia, the Free Encyclopedia ให้ทำตัวเอียงและเขียนไว้บริเวณด้านหลังของชื่อหัวข้อ แล้วเว้นวรรค
    • ดังนั้น การอ้างอิงควรจะเขียนในรูปแบบนี้: Wikipedia contributors. "Blueberry." Wikipedia, The Free Encyclopedia. [4]
  4. วิกิพีเดียเป็นทั้งเว็บไซต์และสำนักพิมพ์ในบทความของคุณ ดังนั้น คุณต้องเขียนชื่อนี้สองครั้ง ในครั้งนี้ ไม่ต้องเขียนด้วยตัวเอียงตรงคำว่า Wikipedia, The Free Encyclopedia แล้ว ให้เขียนตามหลังด้วยเครื่องหมายจุลภาค ไม่ใช้เครื่องหมายมหัพภาค
    • การอ้างอิงก็จะเป็นตามรูปแบบนี้: Wikipedia contributors. "Blueberry." Wikipedia, The Free Encyclopedia. Wikipedia, The Free Encyclopedia, [5]
  5. เขียนวันสุดท้ายที่หน้าดังกล่าวมีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหา (Revision) ในการหาวันที่ปรับปรุงเนื้อหานั้น ให้คลิกบริเวณแถบตรงขวามือของบทความที่เขียนว่า "View history" วันที่อยู่ด้านบนสุดคือวันที่มีการปรับปรุงเนื้อหาครั้งล่าสุด [6]
    • เขียนวันที่โดยการระบุเดือนก่อนและควรเป็นตัวย่อ (เช่น Oct, Dec, Sept) แล้วตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค
    • หลังจากนั้นให้เขียนคำว่า "Web" แล้วใช้เครื่องหมายมหัพภาค
    • ต่อมา ให้เขียนวันที่อีกครั้ง แล้วตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค
    • ตัวอย่างเช่น: 11 Jan. 2017. Web. 11 Jan. 2017.
    • การอ้างอิงทั้งหมดก็จะเป็นดังนี้: Wikipedia contributors. "Blueberry." Wikipedia, The Free Encyclopedia. Wikipedia, The Free Encyclopedia, 11 Jan. 2017. Web. 11 Jan. 2017.
  6. การเขียนในรูปแบบเอ็มแอลเอมักต้องแนบที่อยู่เว็บไซต์ไว้ด้วย แต่สมัยนี้ไม่ค่อยทำกันแล้ว อย่างไรก็ตาม หากเป็นหัวข้อทั่วไปอย่างหัวข้อบลูเบอร์รี่ คุณอาจจะเลือกที่จะแนบที่อยู่เว็บไซต์ในตอนท้ายของการอ้างอิงด้วย ในกรณีนี้ ให้แนบชื่อเว็บไซต์ระหว่างเครื่องหมาย "<" และ ">" [7]
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเขียนว่า: Wikipedia contributors. "Blueberry." Wikipedia, The Free Encyclopedia. Wikipedia, The Free Encyclopedia, 11 Jan. 2017. Web. 11 Jan. 2017.< https://en.wikipedia.org/wiki/Blueberry >
  7. ใช้เครื่องมือช่วยเขียนบทอ้างอิงจากวิกิพีเดีย. แทนที่จะเขียนด้วยตัวเองทั้งหมด ให้ลองใช้เครื่องมือของวิกิพีเดียในการสร้างการอ้างอิงขึ้นมา โดยให้เข้าหน้าบทความที่คุณต้องการจะอ้างอิง จากนั้นมองหาเมนู "Tools" บริเวณด้านซ้ายของบทความ จากนั้นคลิก "Cite this page." แล้วเลื่อนลงมาจนคุณเห็นการอ้างอิงในรูปแบบ MLA คุณสามารถคัดลอกแล้วนำไปใช้ในงานของคุณได้ทันที
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การอ้างอิงในเนื้อหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในตอนท้ายของประโยคที่คุณอ้างอิง กล่าวซ้ำ (Paraphrase) หรือใช้ข้อมูลที่มาจากบทความในวิกิพีเดีย คุณต้องอ้างอิงบทความเหล่านั้นเสมอ ให้ใส่วงเล็บหลังจากเครื่องหมายมหัพภาคในบริเวณตอนท้ายของประโยค แต่วางไว้หลังจากเครื่องหมายอ้างอิงถ้ามีการใช้ในบทความ [8]
  2. ถ้าคุณกำลังอ้างอิงผู้ให้บริการวิกิพีเดีย ให้ใส่ชื่อลงไปในวงเล็บ ถ้าคุณไม่ต้องการใส่ชื่อผ้เขียนและต้องการเริ่มอ้างอิงโดยการใส่ชื่อบทความ ก็ให้เขียนในเครื่องหมายวงเล็บเช่นกัน
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเขียนว่า: Blueberries are a great source of nutrients (Wikipedia Contributors).
    • นอกจากนี้ คุณยังสามารถเขียนว่า: Blueberries are a great source of nutrients (Blueberry). ได้ด้วย
  3. ถ้าคุณต้องการอ้างอิงบทความในวิกิพีเดียมากกว่า 1 บทความ คุณสามารถอ้างอิงได้ทั้งผู้ให้บริการและชื่อหัวข้อในเครื่องหมายวงเล็บ
    • คุณอาจจะเขียนว่า: Blueberries are a great source of nutrients (Wikipedia contributors, Blueberry).
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,132 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา