ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Facebook เป็นเหมือนตัวกลางเชื่อมต่อผู้คนกว่าพันล้านคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน แต่ บางคน ในนั้นก็เป็นพวกไม่ประสงค์ดีที่หวังหาผลประโยชน์บางอย่างจากคุณ เช่น หวังเจาะข้อมูลส่วนตัว ตั้งใจจะปลอมเป็นคุณ หรือกระทั่งทำลายชื่อเสียงของคุณ แล้วต้องทำยังไงถึงจะป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพพวกนี้ได้? บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการใช้ Facebook อย่างปลอดภัยให้คุณและครอบครัวเอง เลื่อนลงไปอ่านเลย!

  1. อย่างแรกเลยคือใครคิดปลอม Facebook มาคุยกับคุณก็คงไม่ประสงค์ดีเท่าไหร่แล้ว คนดีๆ เขาก็ไม่อยากจะเสวนากับคนพวกนี้กัน
    • ตอนแรกอาจจะมาดีเหมือนว่าจะมาขอเป็นเพื่อน กระทั่งอยากเป็นคนรู้ใจ คนที่หวังแค่นั้นจริงๆ ก็มี แต่ส่วนใหญ่จะหวังผลไกลกว่านั้น เช่น เงินทอง สิ่งของ และทรัพย์สินต่างๆ ของคุณ
    • บางพวกก็หวังขโมยตัวตนหรือข้อมูลส่วนตัวอันมีค่าของคุณ เพื่อเอาไปใช้หลอกลวงคนอื่นต่อไป
  2. อย่างน้อยก็คิดให้ถ้วนถี่ก่อนรับแอด (friend request) ใครที่ไม่รู้จัก หรือใครที่ไม่ได้มีเพื่อนร่วมกันกับคุณ ถ้าไม่แน่ใจว่าเขาเป็นใคร จะรับแอดดีไหม ให้...
    • ชวนคุยถาม-ตอบ: ทำไมถึงต้องมาแอดคุณ? รู้จักคุณได้ไง? รู้จักเพื่อนคุณคนไหน? แค่คุณคลิกชื่อ Facebook เขา คุณก็จะเห็น mutual friends หรือเพื่อนที่มีร่วมกันแล้ว ถ้าเขารู้จักเพื่อนบางคนของคุณจริงๆ ให้ลองถามเพื่อนคนนั้นดู แต่ถ้าไม่มีเพื่อนร่วมกัน หรือเพื่อนบอกว่าไม่รู้จักเขา ก็ระวังไว้ได้เลย
  3. เรารู้ปกติคุณก็ชอบส่อง Facebook ชาวบ้านอยู่แล้ว แบบนี้จะได้รู้ว่า "ว่าที่เพื่อน" คนนี้ของคุณเขามาดีหรือว่ามาร้าย ที่คุณควรทำก็คือ
  4. ที่เขาเขียนไว้มันเชื่อได้ไหม หรือว่าสวยหรูดูดีเกินจริง?
    • เช่น รูปโปรไฟล์เอ๊าะเชียว แต่บอกว่าเป็นถึงศาสตราจารย์หรือ CEO ข้อมูลของเขาดู "ดีจนไม่น่าเชื่อ" หรือเปล่า? ของพวกนี้คุณเห็นแล้วจะรู้สึกได้เอง ถ้าเป็นไปได้ก็ขอหลักฐานซะเลย อย่าไปเกรงใจเพราะเขาเป็นฝ่าย เข้าหา คุณ
  5. มีแค่รูปเดียวหรือเปล่า? รูปดูดียังกับส่งเข้าประกวดหรือดูโปรเกินเหมือนจะไปสมัครงานที่ไหนไหม? หรือว่าหน้าเขาดูคุ้นพิลึก? จริงๆ หลายคนเดียวนี้ก็ทุ่มเทกับรูปโปรไฟล์ Facebook กันเหลือเกิน แต่ต้องระวังเรื่องแอบเอารูปคนอื่นในเน็ตมาแอบอ้างเป็นตัวเอง เพราะนึกว่าจะไม่ถูกจับได้ ให้คุณลอง
  6. ถ้าเขาชื่อโหลหน่อย (โดยเฉพาะฝรั่ง) ก็เช็คยาก แต่ถ้าเป็นคนไทยด้วยกันก็น่าจะเจอข้อมูลอะไรบ้าง
    • ถ้าเขาชื่อโหล ให้เพิ่มเติมข้อมูลอย่างที่อยู่ ที่ทำงาน อายุ หรืออื่นๆ ที่คุณเจอในโปรไฟล์
    • เขาเคยถูกคนอื่นแท็กไหม? คนส่วนใหญ่ที่เล่น Facebook ก็จะแท็กรูปหรือโพสต์กันไปมาอยู่แล้ว
  7. ส่วนใหญ่เพื่อนเป็นคนไทยหรือฝรั่ง? ถ้าคนไทยด้วยกันเยอะหน่อย ก็ดูปลอดภัยมากขึ้น แต่ถ้าชื่อประหลาดๆ หน้าตาอินเตอร์ทั้งนั้น โดยเฉพาะบางประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่อง scam ก็ต้องระวังไว้
    • ที่บอกว่าเพื่อนต่างชาติเยอะดูน่าสงสัย ก็เพราะพวก scam หลอกลวงมักมาในรูปของหนุ่มหล่อสาวสวยต่างชาติ ประโยคเด็ดที่ใช้ติดต่อคุณก็เช่น "I saw your picture and you looked nice." คือ "ฉันเห็นรูปโปรไฟล์คุณหล่อ/สวยดี เลยอยากรู้จัก เป็นเพื่อนกันไว้" ใครหลงคารม (หรือหลงตัวเอง) หน่อยก็เสร็จไป
  8. ถ้าคุณรู้สึกทะแม่งๆ กับคนที่แอดมา ทางแก้ง่ายๆ ก็คือไม่ต้องรับแอด ที่สำคัญคือบล็อกเขาไปเลย
    • คลิกที่ชื่อ Facebook ของเขาเพื่อเข้าไปหน้า Timeline ทางขวาใต้รูป Cover ให้คลิก Message settings
    • คุณบล็อกไม่ให้เขาติดต่อคุณได้ หรือจะ report ไปทาง Facebook ด้วยก็ได้ ว่าเขาท่าทางจะเป็นภัยคุกคาม หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผิดกฎหมาย/ไม่เหมาะสม
  9. ถ้าคุณติดนิสัย (ไม่พึงประสงค์) อย่างการชอบรับแอด "เพื่อนของเพื่อนของเพื่อน" หรือคนอื่นที่ชอบอะไรเหมือนๆ คุณ เช่น เพลง หนัง ทำอาหาร ก็ถือว่าสุ่มเสี่ยงจะเจอพวก Facebook ปลอมได้
    • จริงอยู่ว่าคนเพื่อนเยอะก็มีเส้นสายเยอะตามไปด้วย ทำอะไรก็สะดวก แต่อย่างน้อยก็ควรเป็นเพื่อนของเพื่อนคุณ แต่ถ้าเป็นคนแปลกหน้าไปเลย ก็อย่าโทษใครถ้าเจอพฤติกรรมแปลกๆ อย่างอยู่ๆ ก็มาไลค์รูปคุณรัวๆ รวมถึงคอมเม้นท์ แท็กรูป และอื่นๆ เป็นประจำ
    • ถ้าคุณแทบไม่รู้จักเขาเลย เพื่อนใหม่ที่ดีควรทำความรู้จักคุณแบบสุภาพ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่อยู่ๆ ก็ตีซี้ล้ำเส้นซะงั้น
    • แต่ถ้าผ่านไป 1 - 2 อาทิตย์แล้วพฤติกรรมของเขาเกินรับได้ จะรออะไร ก็รีบ unfriend เขาเลย!
  10. เราอาจคิดว่าถ้าคนนั้นมีเพื่อนเยอะ แถมเป็นคนไทย และบางคนก็เป็นเพื่อนร่วมกันกับคุณแล้วจะทำให้น่าเชื่อถือ แต่จริงๆ แล้วไม่เสมอไป!
    • เดี๋ยวนี้เพื่อนคุณบางคนก็รับแอดไปทั่วโดยไม่ได้รู้จักกันจริงๆ ที่สำคัญคือพวกหลอกลวงบางทีก็สมัคร Facebook ปลอมเยอะๆ แล้วเอามาพูดคุย ไลค์ เม้นท์ตัวเองไปมา เหมือนกับว่ามีเพื่อน แต่ที่แท้ใช้ทุกบัญชีมาหลอกแอดคุณ!
    • เรื่องทำนองนี้ที่ดังมากของฝรั่ง คือเรื่องของสาวชาวนิวซีแลนด์ชื่อ Natalia Burgess ที่ต้มหนุ่มๆ ทั้งหลายซะสนิทด้วยหลากหลายตัวตน อ้างว่าทำไปเพราะขาดความรักความอบอุ่น (ซะงั้น) [1] น่ากลัวว่า scam พวกนี้ลงทุนถึงขั้นสร้างสารพัดบัญชีปลอมๆ มาหลอกคุณให้หลงเชื่อว่าเป็นคนที่มี "ตัวตนจริงๆ" ที่สำคัญคือมักมีแทบทุก social media ให้สมจริง ไม่ใช่แค่ Facebook เท่านั้น
  11. ถ้าเพื่อนใหม่มาหลอกคุณด้วยเรื่องโกหกสารพัด สุดท้ายก็มักพลาดเผยความจริงด้วยตัวเอง เพราะบางทีปลอมหลาย Facebook เกินจนสับสนซะเอง
    • ถ้าคุณเริ่มจับโกหกได้เวลา ถาม -ตอบพูดคุยกัน หรือเวลาเขาคอมเม้นท์ ให้คอยจดหรือแคปหน้าจอไว้เรื่อยๆ
  12. จับโกหกเวลาเขาพูดอะไรแปลกๆ หรือ "หลุดคาแรกเตอร์". เช่น ถ้าผู้ใหญ่ปลอมเป็นวัยรุ่นมาคุยกับคุณ อาจจะเผลอปล่อยแก่ พูดถึงเหตุการณ์สำคัญหรือคนดังเก่าๆ ที่วัยรุ่นไม่น่าหรือไม่มีทางรู้จัก หรือเขาอาจรู้ลึกรู้จริง (เกินไป) ในบางเรื่องอย่างที่ตัวตนที่เขาแอบอ้างมาตลอดใน Facebook ไม่น่าจะรู้
    • จดหรือแคปคำพูดแปลกๆ หรือผิดที่ผิดทางของเขาไว้ บอกเลยว่านานๆ ไปคนเราก็เผลอกันได้! ไม่มีใครเพอร์เฟ็คต์ สักวันต้องมีหลุดปากพูดอะไรน่าสงสัยมาบ้างแหละ
  13. ถ้าเขาบอกว่ารักคุณคนเดียว รักยิ่งกว่าชีวิต หรืออะไรที่หวานหยดย้อย นั่นแหละผิดปกติสุดๆ. ถามจริงว่ามีด้วยเหรอ คนที่ไม่เคยเจอตัวเป็นๆ กัน อยู่ห่างกันหลายพันกิโล แถมยังไม่ค่อยเปิดเผยเรื่องตัวเอง จะรักกันปานจะกลืนกินได้ขนาดนั้น? บางคนก็ทำไปเพราะสะใจเวลาเห็นคนหลงเชื่อ บางคนทำเพราะไม่กล้าเปิดเผยตัวตนและลองรักใครในชีวิตจริง (ที่แย่กว่าคือพวกที่มีแฟนเป็นตัวเป็นตนในโลกความจริงอยู่) แต่ที่พบบ่อยคือพวกบอกรักหวังผล เช่น เงินทอง เซ็กส์ และยา
    • ถามใจตัวเอง ว่าคุณคิดอะไร ต้องการอะไร ถึงได้เริ่มเชื่อใจคนที่บอกรักคุณออนไลน์ มันไม่ปุบปับไปหน่อยเหรอ? ไม่รู้สึกแปลกๆ บ้าง? หรือถึงขั้นน่ากลัวหรือน่ารังเกียจ? ถามใจตัวเองดูแล้วเชื่อสัญชาตญาณตัวเอง ถ้าหลายอย่างมันเข้าเค้าว่าเขาชักไม่เข้าท่า ก็ unfriend แล้วบล็อกไปเลย
    • ถ้าเขาขอดูรูปวับๆ แวมๆ ของคุณ ก็ยิ่งกว่าน่าสงสัยแล้วล่ะ บางคนปลอม Facebook มาเพื่อหารูปโป๊ฟรี จากนั้นก็แชร์ว่อนไปทั่วเน็ต
  14. ถ้าคุณระแวง กังวล หรือสงสัยเพื่อนใหม่ใน Facebook คนนี้ของคุณ ก็ตัดเขาออกจากสารบบซะเถอะ ยังไงก็ไม่เคยเจอหน้าค่าตากัน ไม่ใช่เพื่อนหรือครอบครัวอยู่แล้ว ดีกว่าปล่อยไว้จนเกิดปัญหาใหญ่ภายหลัง
    • เตือนเพื่อนๆ ใน Facebook ที่เผลอรับแอดเขาไป อย่างที่เราบอกว่าเพื่อนคุณบางคนก็รับแอดไปทั่ว ซึ่งก็เข้าทางพวกหลอกลวงที่อยากทำให้ตัวเองดู "น่าเชื่อถือ" ขึ้นเวลาจะไปหลอกคนอื่นต่อไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จะโพสต์อะไรในเน็ตต้องคิดก่อน รวมถึงเรื่องที่เอาไปพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จักดีด้วย บางคนก็แกล้งเป็นห่วงเป็นใยจนได้ข้อมูลของคุณไปเกินพอ จากนั้นก็เผยตัวแบล็กเมลคุณซะเลย ถ้าคุณไม่รู้จักเขาดีพอ ถึงจะฟังดูเป็นมิตรแค่ไหนก็ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเด็ดขาด พยายามพูดคุยแต่เรื่องทั่วๆ ไปไว้
  • สังเกตว่าเขาไปทำอะไรในโลกความจริงๆ กับเพื่อนๆ ใน Facebook บ้างหรือเปล่า แต่บางทีรูปที่ไปเที่ยวกัน แท็กกันไปมา บางทีก็ปลอมขึ้น (เอารูปคนอื่นมา) โดยเฉพาะพวกมี Facebook ปลอมหลายๆ บัญชี
  • เช็คลิงค์เว็บส่วนตัว หรือ social media อื่นๆ ของเขา ว่าเป็นใครทำอะไรจริงอย่างที่อ้างหรือเปล่า
  • ส่วนใหญ่พวกหลอกลวงจะปลอมบัญชีมาหวังเอาเงินทอง ทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนตัว แต่ที่น่ากลัวกว่าคือพวกโรคจิตหวังได้ ตัวคุณ เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คุณควรคิดให้ดีก่อนผูกสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ออนไลน์
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังน้องๆ หนูๆ ลูกหลานวัยเรียนไว้ให้ดี เด็กกับวัยรุ่นนี่แหละตกเป็นเหยื่อของความสัมพันธ์ออนไลน์ได้ง่ายที่สุด เพราะยังไม่ประสาเลยหลงคนหล่อๆ สวยๆ ที่จริงๆ แล้วอาจไม่มีตัวตน เลยเข้าทางพวกหลอกลวงเป็นที่สุด
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • บัญชี Facebook

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 76,046 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา