ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณมีคำถามแต่กลัวว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรถ้าคุณถาม หรือกังวลเรื่องที่ว่าจะทำอย่างไรถึงจะได้คำตอบมากที่สุดหรือเปล่า บทความนี้มีเคล็ดลับ (เลื่อนลงไปด้านล่าง) สำหรับการถามคำถามที่เป็นปลายเปิดมากขึ้นและแสดงให้เห็นว่าคุณมีความรู้ในเรื่องที่ถาม ที่จะช่วยให้ทั้งคุณและคนอื่นเข้าใจเนื้อหาที่อยู่ตรงหน้า และได้ข้อมูลที่มีประโยชน์กับคุณมากขึ้น แต่ถ้าคุณอยากได้ความช่วยเหลือแบบเจาะจงล่ะก็ คลิกตามหัวข้อด้านบนได้เลยนะ!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

เทคนิคพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาข้ออ้างเพื่อบอกว่า "คุณสับสนได้อย่างไร" ซึ่งอาจจะไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริงก็ได้ แต่ต้องพูดเพื่อปิดบังความจริงที่ว่าคุณอาจจะไม่ได้สนใจฟังเท่าที่ควร
    • "ขอโทษทีนะคะ ฉันคิดว่าฉันได้ยินคุณผิดไป..."
    • "ฉันไม่ค่อยเข้าใจคำอธิบายสักเท่าไหร่น่ะค่ะ..."
    • "ฉันคิดว่าฉันน่าจะฟังไม่ทันตอนที่จดโน้ต..."
  2. พูดสิ่งที่คุณเข้าใจจริงๆ เกี่ยวกับหัวข้อ วิธีนี้จะทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณเข้าใจบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ และทำให้คุณฟังดูฉลาดขึ้นด้วย
    • "...ฉันเข้าใจว่าพระเจ้าเฮนรีต้องการจะแยกจากนิกายคาทอลิกเพื่อที่จะได้หย่าได้...."
    • "...ฉันเข้าใจว่างานนั้นรวมสวัสดิการอยู่ด้วย..."
    • "...ฉันเข้าใจว่ามีการรับคนมากขึ้นทั่วทั้งหมด..."
    • "...แต่ฉันไม่เข้าใจว่ามันนำไปสู่การตั้งคริสตจักรแห่งอังกฤษได้อย่างไร"
    • "...แต่ที่ฉันไม่แน่ใจคือคุณรวมค่าทำฟันไว้ในนั้นด้วยหรือเปล่า"
    • "...แต่ฉันว่าฉันฟังไม่ทันว่าทำไมเราถึงจัดการด้วยวิธีนี้"
  3. คุณอยากให้คนอื่นเห็นว่าคุณฉลาดและคุณก็ตั้งใจฟังอย่างเต็มที่ แค่มีการสื่อสารบางอย่างที่ทำให้สับสนเท่านั้น
  4. ถ้าพวกเขาตอบและบอกคุณว่าเนื้อหาที่อธิบายไปไม่มีอะไรยาก ให้เตรียมคำพูดตอบกลับเอาไว้เพื่อให้ตัวเองดูฉลาดขึ้น
    • "อ๋อ ขอโทษทีค่ะ พอดีฉันนึกว่าคุณไม่ได้พูดอย่างนี้เสียอีก ก็เลยคิดว่ามันฟังดูแปลกๆ ฉันไม่ได้จะหยาบคายและบอกว่าคุณผิดนะคะ ฉันผิดเองค่ะ ขอโทษด้วยนะคะ" และอื่นๆ...
  5. เวลาที่พูด ให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เลือกใช้คำที่เหมาะสมและเรียงประโยคให้ดี ใช้ภาษาให้ดีที่สุด เพราะมันจะทำให้คุณและคำถามของคุณดูฉลาดขึ้นมาก
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ถามคำถามตามสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่ถามคำถามคนที่อาจจะมาเป็นนายจ้างในอนาคต คุณต้องแสดงให้เขาเห็นว่า คุณได้ทบทวนจริงๆ ว่า คุณทำงานอย่างไรและคุณจะเข้ากับสภาพแวดล้อมแบบนั้นได้ดีแค่ไหน ทำให้พวกเขาเห็นว่าการทำงานของคุณสอดคล้องกับค่านิยมและนโยบายของบริษัท ถามคำถามเช่น :
    • "คุณช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมคะว่า ตามปกติแล้วการทำงานใน 1 สัปดาห์ของตำแหน่งนี้เป็นอย่างไรบ้าง"
    • "ฉันจะมีโอกาสเติบโตแล้วก้าวหน้าได้อย่างไร"
    • "บริษัทนี้ดูแลพนักงานอย่างไร"
  2. เวลาที่ถามคำถามเพื่อสัมภาษณ์รับคนเข้าทำงาน คุณควรมองหาสัญญาณที่บ่งบอกว่าคนนี้เป็นพนักงานประเภทไหน เลี่ยงคำถามมาตรฐาน เพราะคุณจะได้คำตอบที่เตรียมไว้ล่วงหน้ามากกว่าคำตอบที่ซื่อสัตย์ ซึ่งมักจะได้มาจากคำถามที่แปลกใหม่ ลองถามคำถามเช่น :
    • "งานประเภทไหนในตำแหน่งนี้ที่คุณไม่อยากทำ" คำถามนี้จะเผยให้เห็นจุดอ่อนที่คุณสามารถเดาได้
    • "คุณคิดว่าในอีก 5 ปีหรือ 10 ปีข้างหน้างานนี้จะต้องเปลี่ยนไปอย่างไร" คำถามนี้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ไหม
    • "เมื่อไหร่ที่เราสามารถละเมิดกฎได้" คำถามนี้เป็นคำถามที่ดีที่จะประเมินจริยธรรมของพวกเขาได้ และรู้ว่าพวกเขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ซับซ้อนหรือยังคงรักษากฎระเบียบได้หรือไม่
  3. เวลาที่คุณตั้งคำถามในโลกออนไลน์ คนก็มักจะตอบถ้าคำถามเหล่านั้นถ้ามันเป็นคำถามที่สมควรถาม แต่คนจะไม่ตอบคำถามที่คุณสามารถค้นได้ด้วยตัวเองภายใน 2 นาทีและหาคำตอบจาก Google (หรือ wikiHow!) เอาได้ เพื่อเพิ่มโอกาสที่คุณจะได้คำตอบ ให้คุณอ่านส่วนอื่นๆ ที่อยู่ด้านล่าง ระหว่างนี้คุณก็ต้อง :
    • หาคำตอบเองก่อนเสมอ พยายามหาคำตอบด้วยตัวเองด้วยการค้นหาคำตอบด้วยวิธีการทั่วไปก่อน
    • ใจเย็นๆ การโกรธเพราะเร่งจะเอาคำตอบและการแสดงความโกรธลงไปในการเขียนจะทำให้คนไม่สนใจคำถามของคุณหรือทำเหมือนคุณเป็นตัวตลกได้
    • สะกดและใช้ภาษาให้ถูกต้อง วิธีนี้จะทำคนอื่นรู้ว่าคุณตั้งใจจะถามจริงๆ และคุณก็อยากได้คำตอบจริงๆ กลับมาด้วย ถ้าคุณไม่แน่ใจการสะกดหรือการใช้ภาษา ให้พิมพ์ลง Word หรือใช้เว็บไซต์ของราชบัณฑิตเพื่อให้แน่ใจว่าสะกดและใช้ภาษาถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว
  4. คำถามในการประชุมทางธุรกิจมีมากมายขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจและบทบาทของคุณ ถ้าส่วนของบทความในข้างต้นหรือที่อยู่ด้านล่างนี้ช่วยคุณไม่ได้ อย่างน้อยคุณก็สามารถถามคำถามตามแนวทางพื้นฐานต่อไปนี้ได้ :
    • ถามคำถามที่ทำให้เกิดการดำเนินการและการแก้ปัญหา ถามว่าการประชุมนี้กำลังแก้ปัญหานี้อยู่ไหม หาคำตอบว่าหัวข้อที่ประชุมกันในวันนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่บริษัทกำลังเจออย่างไร
    • ตรงประเด็น อย่าพล่าม เพราะจะทำให้คนไม่ฟังและไม่สนใจ
    • คิดไปถึงอนาคต ถามคำถามว่าบริษัทต้องปรับตัวอย่างไรในอนาคตและอุปสรรคหลักๆ อะไรที่บริษัทจะต้องเอาชนะเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ทำให้คำถามสมบูรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สิ่งที่สำคัญที่สุดของการถามคำถามให้ฉลาดก็คือ คุณต้องมีข้อมูลในเรื่องที่จะถามให้มากที่สุด รู้สักหน่อยว่าตัวเองกำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ และอย่าถามคำถามโง่ๆ โดยทั่วไปแล้วคำถามโง่ๆ นั้นไม่มีหรอก เพียงแต่ว่าถ้าคุณสามารถตอบคำถามนั้นได้ด้วยตัวเองด้วยการหาใน Google คำถามนั้นก็ถือว่าค่อนข้างโง่เลยทีเดียว อ่านด้านล่างนี้เพื่อทำให้คำถามของคุณสมบูรณ์จริงๆ ก่อนถามออกไป
  2. คุณต้องตัดสินใจว่าเป้าหมายของคำถามนี้ที่คุณตั้งใจไว้คืออะไร คำตอบนี้จะช่วยให้คุณทำสำเร็จได้อย่างไรจริงๆ วิธีนี้จะมีประโยชน์ในการตัดสินใจว่า ข้อมูลไหนที่คุณต้องการจากคนที่คุณถาม ยิ่งเจาะจงได้ว่าตัวเองต้องการจะรู้อะไรมากเท่าไหร่ คำถามของคุณก็จะฟังดูฉลาดขึ้นและคุณก็จะดูฉลาดขึ้นด้วย
  3. ก่อนที่คุณจะถาม ลองนึกดูว่าคุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้และอะไรบ้างที่คุณไม่รู้ คุณรู้ข้อมูลมากอยู่แล้วและต้องการถามแค่รายละเอียดเล็กน้อยหรือเปล่า หรือคุณแทบไม่รู้อะไรเลย ยิ่งคุณมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่พูดมากเท่าไหร่ คำถามของคุณก็จะยิ่งฟังดูฉลาดมากขึ้นเท่านั้น
  4. ตรวจสอบว่าคุณรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้และอะไรที่คุณสับสน คุณแน่ใจสิ่งที่คุณรู้หรือเปล่า หลายครั้งที่สิ่งที่เราคิดว่าเรารู้ทำให้เราถามคำถามที่ไม่มีคำตอบ เพราะข้อมูลที่เรามีตั้งแต่แรกนั้นมันผิด ถ้าเป็นไปได้ให้คุณเช็กข้อเท็จจริงพื้นฐานก่อน
  5. เป็นไปได้ว่าการมองปัญหาให้รอบด้านอาจช่วยให้คุณตอบคำถามของคุณได้ วิธีการใหม่อาจช่วยให้คุณเห็นสิ่งที่คุณไม่เห็นมาก่อน และแก้ปัญหาที่คุณมีในเรื่องนั้นๆ ได้
  6. ศึกษาก่อน . ถ้าคุณยังมีคำถามและมีโอกาสได้ถาม คุณควรศึกษาข้อมูลด้วยตัวเองก่อนถาม การรู้สิ่งที่คุณถามให้มากที่สุดก่อนที่คุณจะถามคำถามนั้นเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการถามคำถามอย่างฉลาด พอคุณพูดเรื่องนี้มันก็จะแสดงให้คนอื่นเห็นว่า คุณรู้ในสิ่งที่ตัวเองกำลังพูด
  7. เมื่อคุณศึกษาข้อมูลเรียบร้อยแล้ว คุณก็ชัดเจนมากขึ้นว่าตัวเองต้องการข้อมูลอะไร พิจารณาในส่วนนี้และถ้าเป็นไปได้ให้เขียนลงไป เพื่อที่คุณจะได้ไม่ลืมอะไรตอนที่คุณพร้อมจะถามแล้ว
  8. อีกส่วนประกอบหลักของการถามคำถามให้ฟังดูฉลาดก็คือ คุณต้องแน่ใจว่าคุณถามคำถามถูกคน การมีข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่จะถามจะช่วยให้คุณเตรียมตัวได้ดีขึ้นว่าคุณควรจะถามใคร แต่ในบางสถานการณ์คุณก็อาจจะต้องแน่ใจว่า คุณติดต่อถูกคน (เช่น ในกรณีที่คุณพยายามติดต่อแผนกใดแผนกหนึ่ง หรือขอความความช่วยเหลือจากคนที่คุณไม่รู้จัก)
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ตั้งคำถาม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่ถามคำถาม ให้ใช้ภาษาและออกเสียงให้ถูกต้องให้มากที่สุด พูดให้ชัดเจนและเสียงดังฟังชัด วิธีนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณดูฉลาดขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คนที่คุณถามเข้าใจคุณและสิ่งที่คุณอยากจะรู้ด้วย
  2. พยายามเจาะจงให้ได้มากที่สุดและใช้ภาษาที่เจาะจง อย่าพูดกว้างๆ และต้องถามในสิ่งที่คุณต้องการจะถามจริงๆ เช่น อย่าถามนักธุรกิจว่าพวกเขากำลังเปิดรับสมัครพนักงานหรือเปล่า ถ้าคุณสนใจตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่นเดียวกันอย่าถามว่าพวกเขามีตำแหน่งว่างบ้างหรือเปล่า แต่ให้ถามว่าพวกเขากำลังเปิดรับสมัครตำแหน่งที่คุณสนใจหรือมีคุณสมบัติเข้าข่ายหรือเปล่า
  3. ถามอย่างสุภาพและตั้งข้อสงสัยอย่างระมัดระวัง. คุณกำลังหาคำตอบเพื่อเติมช่องว่างในความรู้ของคุณ และคนๆ นี้ก็คือคนที่อาจจะมีคำตอบนั้น เพราะฉะนั้น สุภาพเข้าไว้ ! ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจกับคำตอบหรือรู้สึกว่าสิ่งที่เขาตอบมานั้นไม่ได้ตอบคำถามของคุณ ให้พูดต่ออย่างสุภาพด้วยการถามว่าเขารู้ได้อย่างไรตามความเหมาะสม ถามหาแนวโน้มทั่วไปที่จะเป็นทางลัดไปสู่ความรู้นั้น หมายความว่าคุณกำลังหาเครื่องมือที่จะตอบคำถามนั้นด้วยตัวเองจากจุดนี้เป็นต้นไป
  4. อย่าพล่ามหรืออธิบายอะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวกับการทำความเข้าใจปัญหาและตอบคำถามของคุณ ข้อมูลเพิ่มเติมอาจทำให้ไขว้เขวและอาจทำให้คุณได้คำตอบอื่นที่ไม่ใช่สิ่งที่คุณถามเลยก็ได้ถ้าคนที่คุณถามเขาเข้าใจจุดประสงค์ของคุณผิดไป
    • เช่น ไม่ต้องเล่าให้หมอฟังว่าวันนั้นทั้งวันเกิดอะไรบ้างก่อนที่คุณจะมีปัญหาสุขภาพ หมอไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคุณขึ้นรถเมล์สายเมื่อเช้า สิ่งที่หมอต้องรู้ก็คือคุณกินอาหารเช้าต่างไปจากทุกวัน และตอนนี้คุณก็ปวดท้อง
  5. คุณควรแน่ใจว่าคุณถามคำถามปลายเปิดหรือปลายปิดแล้วแต่สถานการณ์ [1] ถ้าคุณต้องการคำตอบที่เจาะจงหรือคำยืนยันว่าใช่หรือไม่ใช่ ให้ถามคำถามปลายปิด แต่ถ้าคุณต้องการได้ข้อมูลให้มากที่สุด ให้ถามคำถามปลายเปิด
    • คำถามปลายเปิดมักขึ้นต้นด้วย “ทำไม” และ “ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยค่ะ”
    • คำถามปลายปิดมักขึ้นต้นด้วย “เมื่อไหร่” และ “ใคร”
  6. ถามคำถามอย่างมั่นใจ อย่าขอโทษขอโพยหรือถ่อมตัวเกินไปนัก วิธีนี้จะทำให้คุณดูฉลาดกว่าและทำให้คนอื่นมีแนวโน้มที่จะตัดสินคุณจากสิ่งที่ถามน้อยกว่า แต่วิธีนี้ก็สำคัญแตกต่างกันไปตามแต่สถานการณ์ ถ้าคุณถามครู ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ แต่ถ้าคุณถามคำถามระหว่างสัมภาษณ์งาน ก็อาจจะดีกว่าถ้าคุณแสดงความมั่นใจขณะถาม
  7. คำพูดที่ไม่มีความหมายก็เช่น “อ่า...” “อืม...” “เอิ่ม...“ “อ่อ...” “เอ่อ...” “แบบ” เป็นต้น คำพูดเหล่านี้เป็นคำที่คุณใส่ไว้ในประโยคเวลาที่คุณกำลังหาคำถัดไปที่คุณต้องการจะพูด คนส่วนใหญ่พูดคำเหล่านี้ออกมาแบบไม่รู้ตัวเลยสักนิด ใช้คำพูดที่ไม่มีความหมายเหล่านี้ให้น้อยที่สุดถ้าคุณอยากฟังดูเป็นคนฉลาด และอยากให้คำถามของคุณฟังดูเหมือนเป็นคำถามที่ผ่านการเรียบเรียงความคิดมาเป็นอย่างดีแล้ว
  8. คุณอาจจะอธิบายด้วยว่าทำไมคุณถึงถามหรือเป้าหมายท้ายสุดของการถามคืออะไรถ้ามันมีประโยชน์หรือสามารถทำได้ในสถานการณ์นั้นๆ วิธีนี้อาจช่วยทำให้คุณหายเข้าใจผิดและอาจช่วยให้คนที่คุณถามได้ให้ข้อมูลที่คุณอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองต้องการเพิ่มเติมด้วย
  9. การทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า คุณแค่ถามคำถามเพื่อพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองถูกและคนอื่นผิด หมายความคุณเป็นคนชอบโต้แย้งและไม่เปิดใจกว้าง ถามเพราะคุณสนใจจริงๆ ไม่อย่างนั้นคุณจะได้รับคำตอบที่ตั้งแง่และไม่มีประโยชน์
    • อย่าถามว่า : "จริงหรือเปล่าคะที่จำนวนคนที่อยู่ดีกินดีจะมีมากกว่านี้ถ้าเรากินธัญพืชโดยตรง แทนที่จะให้สัตว์กินแล้วเราก็กินเนื้อพวกมันต่อ"
    • ให้ถามว่า : "คนที่รับประทานมังสวิรัติหลายคนแย้งว่า อาหารจะมีมากขึ้นถ้าสังคมไม่ต้องลงทุนกับการผลิตเนื้อสัตว์ ซึ่งก็เป็นข้อโต้แย้งที่เข้าใจได้ แต่คุณทราบข้อโต้แย้งอื่นๆ ที่แสดงความเห็นตรงข้ามกันไหมคะ"
  10. ส่วนที่สำคัญที่สุดของการถามคำถามก็คือ ถามออกไปเลย! คำถามโง่ๆ ไม่มีอยู่จริง เพราะฉะนั้นคุณไม่ต้องอายที่จะขอความช่วยเหลือ จริงๆ แล้วการถามคำถามคือสิ่งที่คนฉลาดเขาทำกันต่างหาก! ยิ่งคุณผัดไม่ถามออกไปนานเท่าไหร่ ปัญหาของคุณก็อาจจะยากขึ้นเท่านั้น
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ได้ประโยชน์จากคำตอบให้มากที่สุด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณรู้สึกว่าผู้ที่ให้ข้อมูลเริ่มจะรู้สึกอึดอัดและสิ่งที่ถามอาจจะลึกเกินกว่าความรู้ของเขา ก็อย่าดึงดันที่จะถามต่อไป ถ้าการถามคำถามไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอาชีพ เช่น คุณไม่ได้ถามในฐานะนักข่าว สมาชิกวุฒิสภา หรือทนาย การคาดเค้นถามในที่สาธารณะนั้นแทบไม่เคยเป็นประโยชน์เลยในสถานการณ์ส่วนใหญ่ ในฐานะคนทั่วไปหรือนักเรียนที่อยู่ในห้องเรียน คุณกำลังหาข้อมูล ไม่ได้หาเหยื่อการวิจารณ์ของคุณ เพราะฉะนั้นถอยกลับมาและ ขอบคุณ บ่อยครั้งที่คุณยังมีเวลาช่วงท้ายที่จะไล่บี้และถกกันเป็นการส่วนตัว แม้ว่าคุณจะต้องการข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่คุณก็ต้องเข้าใจว่า วิธีการที่อะลุ้มอล่วยกว่านั้นอาจจำเป็นต่อการได้มาซึ่งคำตอบที่แท้จริง
  2. ถ้าคุณอยากได้ประโยชน์จากคำตอบที่คุณได้รับมากที่สุด คุณต้องเริ่มจากการฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูดก่อน [2] พูดแทรกก็ต่อเมื่อคนตอบเข้าใจข้อมูลสำคัญผิดอย่างชัดเจน และควรพูดแทรกอย่างสุภาพ
  3. ถึงจะดูเหมือนว่าคนตอบไม่ได้ตอบข้อมูลสำคัญ แต่ก็อย่าซักถามเพิ่มเติมจนกว่าเขาจะพูดจบ เพราะเขาอาจจะยังตอบคำถามไม่หมด หรือเขาอาจจะยังไม่ตอบคำถามในส่วนนั้นเพราะมีข้อมูลอื่นๆ ที่คุณต้องเข้าใจก่อน
  4. คิดถึงข้อมูลทุกอย่างที่เขาให้คุณอย่างถี่ถ้วน นึกดูว่าคำตอบที่ได้นั้นจะนำมาปรับใช้กับปัญหาของคุณได้อย่างไร และเขาตอบคำถามคุณครบทุกประเด็นหรือเปล่า แล้วก็อย่าเชื่อข้อมูลเพื่อรักษาหน้าตาด้วยเช่นกัน ถ้ามีบางอย่างแปลกๆ ก็เป็นไปได้ว่าคุณได้ข้อมูลที่ไม่ดีมา! การที่คุณถามเขาไม่ได้แปลว่าเขาจะมีคำตอบที่ถูกต้อง
  5. ถ้าคำตอบดูไม่สมเหตุสมผลหรือมีบางอย่างที่คุณไม่เข้าใจ อย่าอายที่จะขอคำอธิบายเพิ่มเติม วิธีนี้จะช่วยไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอีกเพราะคุณไม่ได้ข้อมูลทั้งหมดที่คุณต้องการ
  6. ถ้ามีคำถามผุดขึ้นมาก็ให้ถามเพิ่มจนกว่าคุณจะได้คำตอบที่สมบูรณ์ที่สุด คุณอาจจะพบว่าคุณยังมีคำถามและข้อมูลที่คุณไม่ได้นึกถึงมาก่อน การถามคำถามเพิ่มเติมเป็นการทำให้คนที่ตอบคำถามรู้ว่า คุณกำลังประมวลข้อมูลที่ได้และเห็นคุณค่าของคำตอบที่เขาให้คุณจริงๆ
  7. นอกจากนี้คุณอาจจะขอคำแนะนำทั่วไปที่เกี่ยวกับเรื่องที่คุณถามด้วยก็ได้ ถ้าคนๆ นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญ พวกเขามีข้อมูลมากมายที่คุณไม่มี แต่พวกเขาก็เคยอยู่ในสถานะที่ต้องเคยเรียนรู้ข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมดเหมือนกัน พวกเขาอาจจะบอกเคล็ดลับฉบับผู้เชี่ยวชาญที่พวกเขาอยากให้มีใครเคยบอกเขาด้วยเหมือนกัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าใช้คำใหญ่เพราะจะทำให้คุณดูอวดฉลาด แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนคิดลึกซึ้งแต่ก็มี อัธยาศัยที่ดี เช่นเดียวกัน และอย่ากังวลเรื่องที่ว่าตัวเองจะต้องดูเจ๋งมากนัก
  • ให้ผู้ฟังเป็นส่วนหนึ่งของคำถาม เชิญชวนพวกเขาด้วยการถามว่า "พวกคุณคิดเรื่อง…" หรือ "พวกคุณเคยนึกถึงคำถามนี้ไหมครับ..."
  • การแสดงท่าทีที่ฉลาดมากเกินไปไม่ได้บ่งบอกว่าคุณมีการศึกษา อย่าพยายามแสดงว่าตัวเองเป็นคนมีการศึกษาด้วยการใช้คำที่คุณไม่เข้าใจ ใช้คำสื่อความได้ไม่ครบถ้วน/มากเกินไป เช่น :
    • "เมื่อวานคุณได้ไปแผนก 'เภสัชกรรม' เพื่อตรวจร่างกายก่อนเข้าทำงานหรือเปล่า" (ใช้คำผิด)
    • "คุณได้ไปหาหมอให้หมอทำอะไรสักอย่างหรือเปล่า ที่หมอเขาจะดูนั่นดูโน่น เอาอะไรมาทิ่มๆ ตรวจอะไรไม่รู้เยอะแยะ แล้วหมอเขาก็จะบอกว่าร่างกายคุณพร้อมทำงานนี้ที่สุดหรือเปล่า" (ฟังดูกันเองมากเกินไป)
    • "คุณได้ดำเนินการพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายสำหรับกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อรับรองว่าผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ได้เห็นสมควรแล้วว่า คุณมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์อย่างยิ่งที่สุดเมื่อเทียบกับคนไข้รายอื่นๆ ของแพทย์ทั้งหมด" (ฟังดูมากเกินไป)
  • สำหรับคำถามบางคำถาม ให้พยายามศึกษาก่อนล่วงหน้า ลองหาคำตอบในอินเทอร์เน็ต Google เป็นเครื่องมือมหัศจรรย์สำหรับการหาแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยม
  • เช่น : "จนถึงตอนนี้ฉันก็ยังคิดเสมอว่า เพลงคลาสสิกไม่เห็นน่าฟังตรงไหน อาจจะเป็นเพราะว่า เพื่อนๆ ของฉันไม่มีใครชอบเลย แต่ถ้านักดนตรีกับพวกคนมีการศึกษาเขาชอบฟังกัน มันก็ต้องมีอะไรสักอย่าง ฉันรู้ว่าคุณชอบฟัง ถ้าอย่างนั้นคุณบอกฉันได้มั้ยล่ะว่ามันรื่นรมย์ตรงไหน"
  • พยายามอ่านหนังสือเยอะๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องที่คุณกำลังพูดจริงๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าถามคำถามสักแต่ว่าให้ได้ถามเพื่อดึงความสนใจมาที่ตัวเองหรือทำให้ตัวเองดู ฉลาด เด็ดขาด เพราะนี่เป็น แรงจูงใจ ในการถามคำถามที่แย่ที่สุด
  • ระวังว่าตัวเองจะแสดงท่าทีก้าวร้าวเมื่อคุณได้คำตอบที่คุณไม่ชอบสักเท่าไหร่ ถ้าคุณไม่เต็มใจที่จะเปิดรับคำตอบทุกรูปแบบไม่ว่ารูปแบบใดๆ ก็อย่าถาม บางครั้งคนตอบก็อาจจะตอบแบบก้าวร้าวถ้าคำถามของคุณมันตื้นเกินไป อย่าหงุดหงิด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,575 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา