ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเรียนได้เกรดดีๆ ไม่ได้สงวนไว้แต่เฉพาะคนเก่งและคนหัวดีเท่านั้น เราเองก็สามารถมีผลการเรียนที่ดีได้ ถ้าลองทำตามวิธีการที่นำเสนอในบทความนี้ดู ถึงแม้เราจะไม่ใช่คนระดับหัวกะทิ แต่การเรียนให้ได้เกรดดีๆ ก็มีความสำคัญกับเราเช่นกัน ถ้าไม่ตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง ผลการเรียนที่ออกมาก็อาจมีผลต่ออนาคตของเราได้ ฉะนั้นเมื่อเราเป็นคนหนึ่งที่เห็นความสำคัญของการเรียน อยากได้เกรดดีๆ อยากมีงานดีๆ ทำ อยากมีอนาคตที่ดีและสดใส ลองอ่านบทความนี้ดูเพื่อจะได้รู้วิธีการเรียนให้ได้ผลและได้เกรด A หลายวิชาสมใจ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

จัดระเบียบการเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าจะมีสมุดบันทึกตารางเวลาซึ่งพกอยู่ในเป้ ปฏิทินซึ่งติดไว้ที่ผนัง รายการสิ่งที่ต้องทำซึ่งเราเขียนไว้ทุกครั้งหลังจากหมดวัน หรือปฏิทินออนไลน์ ของเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถติดตามกำหนดการต่างๆ และทำตามกำหนดการนั้นได้ ตอนเริ่มต้นเทอมเมื่อได้สมุดบันทึกตารางเวลามาแล้ว ให้จดลงไปว่ามีกำหนดการสอบใหญ่ สอบย่อย และส่งงานเมื่อไร ให้ทำแบบนี้ทุกวิชา
    • ทุกครั้งที่กลับจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ลองตรวจปฏิทินและดูสิว่ามีภารกิจอะไรบ้างที่ต้องทำให้เสร็จก่อนพรุ่งนี้บ้างและมีอะไรต้องทำในสองสามวันถัดไป เมื่อทำภารกิจใดเสร็จแล้วให้ขีดฆ่าภารกิจนั้นทิ้งไป
  2. นำเอกสารประกอบการเรียนจัดเก็บใส่แฟ้มให้เป็นหมวดหมู่. นำเอกสารประกอบการเรียนเข้าแฟ้ม เราจะได้นำเอกสารออกมาใช้ได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ เราอาจเก็บแฟ้มไว้ที่ใต้โต๊ะเรียนของตนเอง หรือจะเก็บไว้ในล็อกเกอร์ก็ได้ เมื่อถึงคราวที่ต้องนำติดตัว ก็ให้ใส่ไว้ในกระเป๋าเรียนติดตัวไปด้วย
  3. จัดของในล็อกเกอร์ เป้ หรือโต๊ะเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย. การจัดของที่เราใช้ทุกวันให้เป็นระเบียบจะช่วยลดความสับสนวุ่นวายใจ เรื่องนี้อาจฟังดูงี่เง่าแต่เมื่อสภาพแวดล้อมรอบตัวเป็นระเบียบเรียบร้อย จิตใจของเราก็สามารถจดจ่อกับเรื่องสำคัญได้มากขึ้น จัดของในล็อกเกอร์ เป้ หรือโต๊ะเรียนสัปดาห์ละครั้ง การทำแบบนี้ไม่ได้ทำให้เราเสียเวลามากมายอะไร ใช้เวลาแค่สองนาทีเอง
    • ของจะไม่หาย เมื่อวางของไว้เป็นที่เป็นทางเสมอ ถ้าเป้ โต๊ะเรียน หรือล็อกเกอร์รก จะทำให้เราหาของที่ต้องการไม่พบและหงุดหงิด
  4. ทำตารางทบทวนบทเรียน . ถึงแม้จะมีตารางกำหนดการต่างๆ สำหรับสัปดาห์นั้นหรือเดือนนั้นแล้ว แต่เราก็ต้องมีตารางทบทวนบทเรียนรายสัปดาห์ด้วย ร่างตารางทบทวนประจำสัปดาห์ขึ้นมาเพื่อจะได้รู้ว่าเราสามารถทบทวนบทเรียนได้เมื่อไรและควรทบทวนเสร็จเมื่อไร การกำหนดตารางจะทำให้เรารู้ว่าตนเองจะใช้เวลาทบทวนแต่ละวิชาเท่าไรและแต่ละวิชาควรทบทวนช่วงไหนถึงจะเข้าใจง่ายที่สุด เราต้องทำตามตารางที่ตนเองกำหนดด้วย
    • อาจต้องใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจว่าจะแบ่งเวลาทบทวนวิชาต่างๆ อย่างไร ตัวอย่างเช่น วิชาแบดมินตันต้องใช้เวลาทบทวนน้อยกว่าหลักกลศาสตร์ท้องฟ้ามาก
    • เราต้องรู้กำหนดการต่างๆ ในเทอมนั้นเพื่อจะได้สามารถเขียนกำหนดการสอบทุกอย่าง เวลาทบทวนบทเรียน และวันที่ต้องส่งการบ้านมาลงในตาราง ต้องทำการบ้านให้เสร็จทุกอย่าง เพราะการบ้านช่วยทำให้เราเข้าใจบทเรียนมากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

ซึมซับข้อมูล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เทคนิคบางอย่างอาจไม่ได้ผลกับคนบางคน บางคนเรียนรู้ได้ดีเมื่อลงมือทำ บางคนเรียนรู้ได้ดีเมื่อได้เห็นตัวอย่าง บางคนเรียนรู้ได้ดีเมื่อฟัง (และบางคนอาจต้องใช้วิธีเรียนรู้แบบผสมผสานกัน) ถ้าเราจำสิ่งที่อาจารย์สอนเราไม่ได้ แสดงว่าเราอาจใช้วิธีเรียนรู้ที่ตนเองไม่ถนัด
    • พอพบวิธีเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองแล้ว เราก็จะสามารถนำวิธีการเรียนรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ถ้าจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีเมื่อมองเห็น ก็ให้เอาสิ่งที่เราจดในชั้นเรียนมาทำเป็นกราฟซะ! ถ้าได้ฟังแล้วจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น ในเวลาเรียนให้บันทึกเสียงบรรยายของอาจารย์เอาไว้ ถ้าได้ลงมือทำแล้วเข้าใจเรื่องที่เรียนมากขึ้น ก็ให้นำเนื้อหาที่เรียนมาเปลี่ยนเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเรา
  2. ถึงจะน่าเบื่อและซ้ำซากจำเจ แต่การอ่านตำราเรียนก็มีประโยชน์มาก บางครั้งอาจารย์อาจแม้แต่ไม่ได้กล่าวถึงข้อมูลสำคัญในห้องเรียน! หลังจากอ่านจบไปย่อหน้าหนึ่ง ให้ลองทบทวนในหัวโดยไม่มองเนื้อหาดู จากนั้นอ่านอีกครั้ง เนื้อหาจะได้อยู่ในความจำของเรานานขึ้น วิธีนี้จะใช้ได้ดีเมื่อเรามีเวลาทบทวนบทเรียนน้อย
    • เนื้อหาที่ถูกกล่าวถึงทั้งในห้องเรียนและในตำราเรียนบ่อยครั้งจะเป็นเนื้อหาที่สำคัญที่สุด ถ้าบังเอิญพบเนื้อหาเหล่านี้ตอนที่อ่านหนังสือ ให้ใช้ปากกาเน้นข้อความขีดเอาไว้ เราจะรู้ว่าเนื้อหานั้นมันอยู่ตรงไหน
    • ลองอ่านแบบสแกนนิ่งเพื่อจะได้รู้รายละเอียด การเน้นใจความสำคัญ (ข้อความที่ถูกเน้น ทำเป็นตัวหนา หรืออื่นๆ ) จะช่วยกระตุ้นให้เราคิด [1] ถ้าสามารถเติมคำในช่องว่างได้ แสดงว่าการอ่านนั้นได้ผล! แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องอ่านให้ละเอียดขึ้น
  3. ในรายวิชาส่วนใหญ่ของระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย และมหาวิทยาลัย เนื้อหาส่วนใหญ่ที่จะไปปรากฏในข้อสอบและแบบฝึกหัดจะถูกกล่าวถึงในห้องเรียน ถ้าคุณครูวาดแผนภาพบนกระดาษ เราก็ควรคัดลอกแผนภาพนั้นลงในสมุดด้วย เพราะอาจช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้ดีขึ้น
    • จดให้อ่านง่าย ใช้ปากกาเน้นข้อความ ถ้าเห็นว่ามันช่วยทำให้ข้อความชัดเจนขึ้นและอ่านง่าย แต่อย่าเน้นข้อความเยอะเกินไป ไม่อย่างนั้นจะผิดวัตถุประสงค์ของการเน้นข้อความ การใช้ปากกาสีจดสิ่งที่เรียนอาจช่วยให้เราสนุกกับการเรียนมากขึ้นและทำให้ข้อความที่เราจดน่าอ่านมากขึ้น แต่ให้ใช้เฉพาะส่วนที่เราคิดว่าจะออกข้อสอบหรือเห็นว่าสำคัญ
  4. การเสียเวลานอนเพื่อทุ่มเทอ่านหนังสือแล้วรู้สึกขึ้นมาว่าไม่ได้อะไรเลยนั้นช่างเป็นอะไรที่แย่ ลองทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้ดูสิ เราจะได้ไม่เผลอหลับคาหนังสือ
    • เขียนหลักสำคัญและอ่านทบทวน ดูตำราเรียนและจดแนวคิดสำคัญทุกอย่างและรายละเอียดต่างๆ เอาไว้ อ่านทบทวนจนกว่าเราจะรู้สึกว่าตนเองเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ถ้าเราเขียนสิ่งที่เราอ่านลงไป ก็อาจจดจำเนื้อหาที่อ่านได้มากขึ้น
    • พูดถึงเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ให้ใครสักคนฟัง การพูดถึงข้อมูลที่ได้จากการอ่านออกมาดังๆ ง่ายกว่าพยายามท่องจำอยู่ในหัวซ้ำไปซ้ำมา เมื่อเราต้องอธิบายให้ใครสักคนฟัง เราก็ต้อง “เข้าใจ” เนื้อหาอย่างถ่องแท้เสียก่อน ไม่ใช่แค่รู้และจำได้เท่านั้น
    • ทำให้การเรียนเป็นกิจกรรมที่สนุก ลองทำบัตรคำ นัดเพื่อนมาทบทวนด้วยกันที่บ้าน หรือเข้าชมรมทำการบ้านหลังเลิกเรียน คุณครูหรือเพื่อนจะได้ช่วยเหลือเราในการเรียนวิชาต่างๆ เราอาจใช้เกมกระดานมาช่วยทำให้เรียนสนุกและเข้าใจได้ง่ายขึ้นก็ได้ หรือจะเอาเนื้อหาที่จดไว้มาพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์เพื่อให้อ่านง่ายขึ้นก็ได้ พยายามทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราจะได้เข้าใจบทเรียนมากขึ้น
  5. เมื่อทำการบ้านเสร็จ เราก็พร้อมที่จะมีส่วนร่วมในห้องเรียนแล้ว คราวนี้ก็จะได้รู้ว่าตนเองมีความเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านมากน้อยแค่ไหน! การมีส่วนร่วมในห้องเรียนนั้นเป็นเรื่องที่ดี เหตุผลสำคัญอย่างแรกคือการมีส่วนร่วมในห้องเรียนจะช่วยเชื่อมโยงความรู้ที่ได้มาจากการทำการบ้าน (จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น)
    • เหตุผลข้อที่สองคือการมีส่วนร่วมในห้องเรียนจะช่วยเชื่อมโยงข้อมูลในสมองของเรา นี้พูดจริงนะ การพูดคุยถึงเนื้อหาออกมาดังๆ (โดยเฉพาะในห้องเรียนซึ่งอาจทำให้เราตื่นเต้นกว่าพูดคุยกับเพื่อนเสียอีก) จะทำให้เราได้ใช้สมองส่วนต่างๆ มากกว่าการเขียนถึงเนื้อหาต่างๆ ที่ได้อ่านเสียอีก วิธีพูดออกมาทำให้เราได้รับประโยชน์ที่ครอบคลุม
    • เหตุผลที่สามคืออาจารย์ของเราจะดีใจและประทับใจที่เห็นเราพยายามมีส่วนร่วมในห้องเรียนและตั้งใจเรียน ไม่มีอาจารย์ท่านไหนชอบให้นักเรียนมานั่งคุยกันเสียงดังในห้อง ฉะนั้นตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและหมั่นตอบเมื่อท่านถาม เมื่อผลการเรียนออกมาดี อาจารย์ก็จะเห็นถึงความตั้งใจจริงของเราและอยากสนับสนุนช่วยเหลือเราให้ประสบความสำเร็จในการเรียนยิ่งขึ้น
  6. ถ้าไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะมีผลการเรียนดีขึ้นหรืออ่อนวิชาใดวิชาหนึ่งจริงๆ ขอให้คุณครูที่สอนวิชานั้นช่วยเหลือ ไม่จำเป็นต้องกลัวหรือกังวลอะไรเลยเพราะคุณครูยินดีที่จะช่วยเหลือเราอยู่แล้ว ถ้ามีปัญหาเรื่องการเรียน อาจเข้าไปถามคุณครูหลังเลิกเรียน เข้าไปปรึกษาที่ห้องพักช่วงที่คุณครูว่าง หรือส่งอีเมลไปหาท่านเพื่อขอความช่วยเหลือก็ได้ [2]
    • โดยปกติการสอนตัวต่อตัวจะทำให้เราจำเนื้อหาได้แม่นกว่าการบรรยายให้ฟังกันหลายคน นอกจากจะได้เรียนวิชาที่อ่อนเป็นการส่วนตัวแล้ว คุณครูจะได้เห็นความพยายามของเราและเมตตาเรามากขึ้น รวมทั้งยินดีที่จะช่วยเหลือเราเมื่อพบปัญหาด้านการเรียน
  7. ถ้าในท้ายที่สุดแล้ว วิชานั้นยังยากเกินไปและเราก็ไม่เข้าใจอยู่ดี ลองหาติวเตอร์มาช่วยสอนให้ บางครั้งการหาติวเตอร์มาสอนให้อาจช่วยเราได้มากกว่าเรียนกับคุณครูตัวต่อตัวก็ได้เพราะเขาอยู่ในวัยที่ใกล้เคียงกับเราและอาจสามารถอธิบายเนื้อหาต่างๆ ให้เราเข้าใจได้ดีกว่า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

ทำการบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การใช้เวลาให้คุมค่านั้นสำคัญ ถ้ามีการบ้านที่ต้องส่งอาทิตย์หน้า อย่ารอให้ใกล้วันกำหนดส่งถึงค่อยทำ ให้เริ่มลงมือทำภายในสองสามวันหลังจากได้รับการบ้านมา ยิ่งมีเวลาทำการบ้านมาก เราก็จะเครียดน้อยลง
    • ถ้าเป็นไปได้ พยายามทำการบ้านให้เสร็จก่อนวันกำหนดส่งสองสามวัน การทำการบ้านเสร็จล่วงหน้าจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาเร่งด่วนในช่วงนาทีสุดท้าย เช่น เจ้าตูบมากินกระดาษของเรา มีคนเชิญไปงานเลี้ยง เครื่องพิมพ์หมึกหมด ไม่สบาย เกิดเหตุฉุกเฉินในครอบครัว เป็นต้น คุณครูส่วนใหญ่จะหักคะแนนเมื่อเราส่งการบ้านล่าช้า บางท่านไม่ยอมรับการบ้านเลย ฉะนั้นพยายามส่งการบ้านก่อนกำหนดส่งสักสองวัน
    • การบ้านนับว่ามีส่วนสำคัญต่อการได้เกรดดีๆ ถ้าคุณครูมอบหมายงานให้เพื่อเป็นคะแนนเก็บ ก็ให้ตั้งใจทำ! ถ้าไม่ทำงาน ก็จะไม่มีคะแนนมาช่วยในการสอบ ถึงแม้เราจะทำงานออกมาผิดพลาดไปบ้าง แต่คุณครูก็ยังเห็นถึงความพยายามและความตั้งใจของเรา
  2. หลังจากทำการบ้านเสร็จแล้ว ลองให้คุณครูหรือเพื่อนช่วยตรวจให้หลังจากเราตรวจเองแล้ว ถ้าเราไม่เข้าใจ ให้จดสิ่งที่เราไม่เข้าใจลงไปและค่อยถามคุณครู การเข้าเรียนเสริมจะช่วยให้เรามีเกรดที่ดีขึ้นเร็วเช่นกัน หาติวเตอร์มาสอนให้ก็ได้ ถ้าเรามีกำลังทรัพย์พอ หรือขอให้คุณครูช่วยอธิบายเนื้อหาที่เราไม่เข้าใจก็ได้ ท่านยินดีช่วยเราอยู่แล้ว
  3. ทำการบ้านให้เสร็จ. ตั้งเป้าหมายและทำให้สำเร็จก่อนที่จะออกไปเที่ยวหรือไปงานเลี้ยงวันเกิดเพื่อน การหาโอกาสเข้าสังคมก็สำคัญ แต่เกรดของเราก็อาจมีผลต่อทางเลือกในอนาคตของเราเช่นกัน ฉะนั้นหาเวลาทบทวนบทเรียนทุกวันเช่นเดียวกับที่อย่าลืมหาเวลาไปเที่ยวหรือกินข้าวกับเพื่อนบ้าง
    • ให้รางวัลตนเองเมื่อทำการบ้านเสร็จ! พอทำการบ้านเสร็จแล้ว จะดูทีวี กินของโปรด หรือทำกิจกรรมที่ตนชอบก็ได้ ถ้ายังไม่มีแรงใจอยากทำการบ้าน ขอให้พ่อแม่ช่วยสร้างแรงจูงใจให้เราหน่อย พวกท่านก็อยากให้เรามีผลการเรียนที่ดีเหมือนกัน!
  4. ในเมื่อนั่งทบทวนบทเรียนกับเพื่อนเพื่อเตรียมตัวสอบยังได้ประโยชน์มากขนาดนี้ แล้วการนั่งทำการบ้านด้วยกันกับเพื่อนจะได้รับประโยชน์มากขนาดไหน การนั่งทำการบ้านด้วยกันกับเพื่อนนอกจากจะไม่เพียงช่วยให้เราอยากทำการบ้านให้เสร็จเท่านั้น (และทำให้สนใจเรียน) แต่งานยังเสร็จเร็วขึ้น ทำงานมีประสิทธิภาพ และเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
    • เราต้องเลือกเพื่อนที่จะนั่งทำการบ้านด้วยกันให้ดี อย่าเลือกเพื่อนที่ปล่อยให้เราต้องทำงานคนเดียว หรือเลือกเพื่อนที่เอาแต่ชวนเรา “เล่นสนุก” อย่างเดียว! เลือกเพื่อนที่มีเป้าหมายเดียวกันกับเรา
  5. เราจะได้คะแนนศูนย์แน่ ถ้าลอกการบ้านของคนอื่น ยอมรับว่าปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทำให้เราได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น และถ้าเราลอกการบ้านของผู้อื่นมาหรือไม่ได้ทำงานโดยใช้ความสามารถของตนเอง คุณครูของเราก็ “จะ” รู้เช่นกัน ถ้าแปลภาษาอังกฤษโดยใช้ Google Translate หรือคัดลอกสุนทรพจน์ของบุคคลที่มีชื่อเสียงมาส่ง คุณครูจะจับได้ เพราะฉะนั้นอย่าคัดลอกงานหรือการบ้านใครจะดีกว่า
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

เตรียมตัวสอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทำอะไรเป็นกลุ่มนั้นมีประโยชน์ แม้จะเป็นเพียงการทบทวนบทเรียนก็ตาม เมื่อทบทวนบทเรียนกับเพื่อน เราจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดและรวบรวมความรู้ แต่เราต้องไม่ทำให้กันและกันไขว้เขวหรือเอาแต่พูดคุยเรื่องสัพเพเหระตลอดเวลา!
    • การทบทวนบทเรียนกับเพื่อนจะช่วยให้เราพยายามดึงข้อมูลจากเนื้อหา นำมาทำกิจกรรมสนุกๆ และจดจำได้ง่าย เมื่อเราต้องอธิบายเนื้อหาบางอย่างให้เพื่อนฟัง สมองก็ต้องพยายามเรียบเรียงข้อมูลออกมาเป็นคำพูดแทนที่จะแค่จดจำข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว ทำบัตรคำและดึงแนวคิดสำคัญของบทเรียนเตรียมมาแลกเปลี่ยนความคิดกันและกัน โดยพยายามให้ครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนทุกอย่าง
  2. การใช้สิ่งต่างๆ มาเป็นอุปกรณ์ช่วยจำอาจช่วยกระตุ้นความจำของเราได้จริงๆ เราอาจคุ้นเคยและจดจำ Roy G. Biv ได้ดีกว่าท่องลำดับสีของสายรุ้งไปโดยไม่ใช้เทคนิคอะไร หรือถ้าเราคล่องภาษาอังกฤษมาก เราก็อาจใช้ประโยคว่า "My very exhausted mother just slept until noon." มาช่วยในการจำชื่อและลำดับของดาวเคราะห์ ทำไมถึงต้องใช้ถ้อยคำเหล่านี้แทนการจำชื่อจริงๆ ของสิ่งเหล่านี้ เพราะมันเป็นเทคนิคช่วยให้เราจำแม่น!
  3. ทบทวนบทเรียนในสถานที่ซึ่งเรารู้สึกว่าสะดวกสบาย. เราต้องทบทวนบทเรียนในสถานที่ซึ่งนั่งสบายและเงียบสงบ ถ้าเห็นว่าอากาศเย็น ก็อย่าลืมใส่เสื้อกันหนาว นั่งเกาอี้ดีๆ ที่นั่งสบาย อาจเตรียมช็อกโกแลตดำ (พลังสมอง! [3] ) น้ำสักขวด และอะไรก็ตามที่เราจำเป็นต้องมีไว้ในบริเวณนั้น เราจะได้มีสมาธิจดจ่อกับการทบทวนบทเรียนได้เต็มที่
    • มีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเราควรนั่งทบทวนบทเรียน “มากกว่าหนึ่ง” สถานที่ ฟังดูตลกก็จริง แต่สมองของเราจะทำการเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม ยิ่งสมองเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมมากเท่าไร เราก็น่าจะยิ่งเก็บข้อมูลได้มากขึ้น ฉะนั้นถ้ารู้ว่ายังมีสถานที่อื่นๆ ซึ่งสามารถนั่งทบทวนบทเรียนได้สบาย ก็ให้ลองเปลี่ยนสถานที่บ้าง!
  4. ถึงแม้อาจต้องคร่ำเคร่งบ้างเป็นบางครั้ง แต่ก็ไม่ควรคร่ำเคร่งเกินไปอยู่ดี ในความเป็นจริงแล้วการหยุดพักเสียบ้างนั้นดีต่อสมองและจะช่วยเราเก็บข้อมูลได้ “มากขึ้น” พยายามทบทวนบทเรียน 20 -50 นาที สลับกับการพักสักห้าถึงสิบนาที [4]
    • และถ้าเราควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ดีแล้ว ลองทบทวนบทเรียนเต็มสัปดาห์ดู การหมั่นทบทวนหลายครั้งจะช่วยให้จดจำความรู้ได้แม่นและพอจบการทบทวนแล้ว เราก็จะเห็นว่าตนเองเข้าใจเนื้อหาได้ดีมากขึ้น เราจะรู้สึกผ่อนคลายและมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น
  5. พูดนั้นง่ายกว่าทำ พึงระลึกไว้ว่าเรามีข้อมูลที่ต้องการอยู่ในหัวหมดแล้ว! เหลือแค่นำออกมาใช้เท่านั้น! สัญชาตญาณแรกของเราแทบจะถูกเสมอ ฉะนั้นอย่าเพิ่งเปลี่ยนคำตอบ แต่ถ้าไม่แน่ใจจริงๆ ข้ามไปก่อนแล้วค่อยกลับมาพิจารณาทีหลัง
    • อ่านคำถามก่อนตอบเสมอ อ่านคำถามให้ดีๆ จะได้ตอบคำถามได้ตรงและถูกต้อง
    • ถ้าเราเห็นว่าคำถามค่อนข้างกำกวม จนไม่มั่นใจว่าคำถามนี้หมายความว่าอย่างไร ให้ถามคุณครู อย่าถามหาคำตอบของคำถาม แค่ขอคุณครูช่วยอธิบายคำถามให้เราเข้าใจ แต่คุณครูก็มักจะบอกใบ้คำตอบให้เราเสมอ
  6. เราจะต้องพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อตนเองจะได้มีสมาธิจดจ่อกับการสอบ หากเรานอนไม่เต็มอิ่ม เราจะจดจ่อกับการทำข้อสอบได้ยากและอาจลืมเนื้อหาที่เพิ่งอ่านไป นี้เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมถึงไม่ควรคร่ำเคร่งมากนัก!
    • การนอนหลับพักผ่อนนั้นมีประโยชน์ การนอนหลับไม่เต็มอิ่มอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้สมองตื้อคิดอะไรไม่ออก และอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพได้ [5] ถ้าให้เลือกระหว่างคร่ำเคร่งทบทวนบทเรียนอีกช่วงเป็นช่วงสุดท้ายกับนอนหลับพักผ่อน เลือกนอนหลับพักผ่อนดีกว่า
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ปรับตัวเพื่อให้ผลการเรียนดีขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเรียนในมหาวิทยาลัยเราอาจอยากเลือกเรียนวิชาที่ใครๆ มองว่าเท่ หรือท้าทายความสามารถ ถึงแม้การลงเรียนวิชาที่ยากนั้นเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมและทำให้เราได้รับความรู้มากมาย แต่เลือกเรียนแค่วิชาเดียวหรือสองวิชาก็พอ ถ้าเลือกลงเรียนแต่วิชาที่ยากๆ เราก็จะรู้สึกว่ามันหนักหนาสาหัสเกินไป ลองเลือกวิชาที่ยากและวิชาที่ง่ายปนกันไป สมองจะได้พักบ้าง!
    • ลงเรียนวิชาใน “ปริมาณ” ที่เหมาะสมด้วย การเรียนวิชาเยอะเกินไปไม่ช่วยอะไรเรา ตารางเรียนของเราจะแน่นเกินไป ให้ลงรายวิชาตามกำหนดปกติของมหาวิทยาลัย (อาจ 4 หรือ 5 รายวิชาต่อเทอม) และทำให้ดี ทำน้อยๆ แต่ทำออกมาได้ดี ดีกว่าทำมากๆ แต่ทำออกมาแย่
  2. วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะได้เกรดดีๆ คือการมาเรียนทันเวลา ไม่เพียงแค่เราจะได้คะแนนการเข้าเรียนมาช่วย (ถ้ามี) แต่เราก็จะไม่พลาดประกาศสำคัญ แนวคิดสำคัญที่อาจารย์เน้นย้ำ หรือคะแนนพิเศษจากการตอบคำถามอาจารย์ในห้อง (นี้เป็นประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ของการมาเข้าเรียนทันเวลา)
    • ถ้าเราได้เกรดแบบคาบเส้น “การเข้าเรียนจะช่วยเรา” เพราะบ่อยครั้งอาจารย์จะดูการมาเรียนเพื่อพิจารณาว่าเกรดของนักศึกษาคนนั้นควรได้รับการปัดขึ้นหรือปัดลงเมื่อนักศึกษาคนนั้นมีเกรดคาบเส้นเช่นนี้ ฉะนั้นเราจึงต้องมาเข้าเรียนให้ทันและตั้งใจเรียน
  3. ถ้านักเรียนกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพทุกเช้า ส่วนใหญ่จะเรียนได้เกรดดีๆ และจดจ่อกับการเรียนได้ดีขึ้น [6] ฉะนั้นถึงแม้เราจะไม่หิวในตอนเช้า ก็ควรพกอะไรไปกินรองท้องบ้าง
    • ถ้าเราไม่อยากหิว แต่ก็ไม่อยากกินมากจนแน่นท้องและคลื่นไส้ ให้พยายามกินอาหารที่เบาท้อง เช่น ซีเรียลหนึ่งถ้วยและส้มหนึ่งผล แทนการกินอาหารที่หนักท้อง เช่น ไข่เจียวจานใหญ่ เราจะได้จดจ่อกับการเรียนได้มากขึ้นเพราะไม่มีอาการแน่นท้องมารบกวน
  4. เล่นเกมที่ช่วย พัฒนาความจำ . ฝึกสมองด้วยการพยายามเล่นเกมปริศนาทุกวัน เช่น ปริศนาอักษรไขว้ ซูโดกุ และเกมอื่นๆ ที่ใครก็เล่นได้ง่าย การเล่นเกมปริศนาจะช่วยเพิ่มพลังสมองและทำให้เราสามารถจดจำเนื้อหาที่เรียนที่ได้ดีขึ้น
    • เว็บไซต์อย่าง Lumosity [7] และ Memrise [8] นั้นเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยม! โดย Memrise เป็นเว็บไซต์ที่เราจะลงทะเบียนเข้าสู่ระบบหรือไม่ลงก็ได้
  5. ถ้าเราต้องทำข้อสอบ 120 ข้อในหนึ่งชั่วโมง แสดงว่าต้องใช้เวลาทำข้อละ 30 วินาที เวลาแค่นี้ก็อาจมากโขแล้ว เพราะอาจมีข้อสอบหลายข้อที่เราใช้เวลาน้อยกว่านี้ ฉะนั้นเราอาจมีเวลาเหลือพอที่จะทำข้อยากๆ ได้ อย่าพะวงเรื่องเวลามากจนเกินไป ไม่อย่างนั้นจะไม่มีสมาธิทำข้อสอบ
    • บางครั้งอาจเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาในการทำข้อสอบได้ตามความเหมาะสม ถ้าเราอยากได้เวลาเพิ่มสัก 5 นาทีจริงๆ ลองขอคุณครูดู ถ้าเราเป็นเด็กที่ขยันและตั้งใจเรียนมาตลอด คุณครูก็อาจยอมทำตามที่เราขอก็ได้
  6. อย่ากังวลถ้าจะมีคนคิดว่าเราเป็นพวกชอบความสมบูรณ์แบบหรือพวกคาดหวังสูง พยายามตั้งใจเรียนและพัฒนาผลการเรียนต่อ ปล่อยให้เพื่อนเราคุยและเล่นกันในห้องไปตามสบาย อีกสองสามปีข้างหน้าเราก็จะไปไกลกว่าคนอื่น และเห็น กรด A และ B ในใบแสดงผลการศึกษา แทนที่จะเห็นเกรด C และเกรด D อันเป็นผลจากการปล่อยตนเองไปตามยถากรรม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มองโลกให้แง่ดีและอย่ายอมแพ้ มีความขยัน ตั้งใจจริง และพยายามจนสุดความสามารถ
  • เก็บใบแสดงผลการเรียนของแต่ละเทอมไว้เพื่อใช้ติดตามความก้าวหน้า เราจะได้รู้ว่าตนเองเรียนดีขึ้นไหม
  • อาจขออาจารย์ให้แบบฝึกหัดเพิ่มเติมในบทเรียนส่วนที่เราไม่เข้าใจ ถ้าอาจารย์มอบหมายงานมาให้ รีบทำให้เสร็จก่อนสอบ ถ้าอาจารย์ตรวจเสร็จและส่งงานกลับมาเร็ว เราจะได้รู้ข้อบกพร่องของตนเองและแก้ไขได้ทัน เราอาจปรึกษาเพื่อนที่เรียนเก่ง อย่าคิดว่าตนเองนั้นต่ำต้อยในสายตาของเพื่อนๆ เมื่อเข้าไปขอความช่วยเหลือจากเขา เพื่อนๆ อาจยินดีแบ่งปันความรู้ให้เราด้วยซ้ำ อายเพื่อนไม่รู้วิชานะ
  • หาข้อมูลของเนื้อหาที่เรียนอยู่เพิ่มเติม เราจะได้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น สนุกกับการเรียนมากขึ้น และจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้น คุณครูจะประทับใจที่เราสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เรียนแล้วนำมาแปลกเปลี่ยนในชั้นเรียนได้
  • อ่านหนังสือทุกคืนและถามตนเองถึงสิ่งที่อ่านไปเพื่อดูสิว่าตนเองเข้าใจเนื้อหาที่อ่านไหม การถามตนเองจะทำให้รู้ว่าเราต้องอ่านมากเท่าไรถึงจะเข้าใจ เราอาจเข้าใจเนื้อหาที่ได้เรียนรู้นั้นช่วงที่เดินอยู่หรือตอนที่ง่วนอยู่กับการทำงานอื่นๆ ก็ได้
  • จัดบริเวณที่จะใช้ทำการบ้านและทบทวนบทเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย วางทุกสิ่งให้เป็นที่เป็นทาง เราจะได้หาของที่ต้องการพบง่าย การทำงานในสภาพแวดล้อมที่รกจะทำให้เสียสมาธิง่าย ฉะนั้นเมื่อต้องทำการบ้านและทบทวนบทเรียน เตรียมของทุกอย่างให้พร้อมหยิบใช้งานด้วย
  • การแตกเป้าหมายใหญ่เป็นเป้าหมายย่อยช่วยได้ พยายามทำเป้าหมายย่อยให้สำเร็จทีละเป้าหมายแล้วในที่สุดเราก็จะไปถึงเป้าหมายใหญ่นั้นคือการได้ A การมีเป้าหมายใหญ่คือการได้ A เพียงเป้าหมายเดียวอาจทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เราฝันเป็นเรื่องเกินกำลังและไกลเกินเอื้อม
  • ตั้งใจเรียนในห้องและพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่คุณครูพูดหรืออธิบาย
  • ถ้ามีบทเรียนที่เราฟังแล้วไม่เข้าใจในห้อง ให้ใช้ยูทูบค้นหาคนที่อธิบายเนื้อหาส่วนนั้นแล้วฟังดู
  • เมื่อเริ่มเทอมใหม่ พยายามทบทวนบทเรียนทุกวัน เช่น ก่อนนอนทบทวนเนื้อหาที่เราจดไว้ตอนเรียนและทบทวนอีกครั้งช่วงสุดสัปดาห์ การหมั่นทบทวนจะช่วยเราให้เบาแรงขึ้นตอนสอบและเครียดน้อยลง
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าถูกลงโทษเพราะได้เกรดไม่ดี เราก็ต้องพยายามเรียนให้ดีขึ้นกว่าเดิม พึงระลึกไว้ว่าเราสามารถพัฒนาตนเองได้เสมอ!
  • การมีพฤติกรรมการเรียนที่ไม่ดีหรือไม่สนใจการเรียนจะมีผลเสียต่อเราในอนาคต ถึงแม้การไม่ตั้งใจเรียนจะไม่แสดงผลตอนนี้ แต่เราก็ต้องเห็นผลของการกระทำของตนเองเข้าสักวัน
  • อย่าเลือกสนิทกับคนที่ไม่สนใจเรียน ให้พยายามเป็นเพื่อนกับคนที่ตั้งใจเรียนและเรียนดี ถึงแม้จะมีเพื่อนหัวเราะเยาะกับสิ่งที่เราทำ แต่ให้คิดเสียว่าทำเพื่อการเรียนและเพื่ออนาคต อย่าล้มเลิกความตั้งใจ เราต้องได้รับผลตอบแทนจากความพยายามของตนเองอย่างแน่นอน เหมือนสุภาษิตที่ว่า "ความพยายามอยู่ที่ไนความสำเร็จอยู่ที่นั่น"
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,203 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา