PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเราและพ่อแม่ของเราไม่เคยเห็นพ้องต้องกันเลยสักเรื่องหรือแม้จะเป็นเพียงบางครั้งก็ตาม การโน้มน้าวพ่อแม่จนยอมให้สิ่งที่เราต้องการก็คงยาก ถึงแม้ตัวเราจะเชื่อว่าตนเองสมควรได้รับโอกาสนั้นก็ตาม ในการโน้มน้าวพ่อแม่จนพวกท่านยอมให้สิ่งที่เราต้องการนั้นเราจะต้องเตรียมเหตุผลดีๆ ไว้อธิบายก่อนที่จะไปพูดคุยกับพวกท่าน จากนั้นจึงค่อยไปขออย่างสุภาพและใจเย็นในตอนที่พ่อแม่มีท่าทีผ่อนคลายและพร้อมรับฟัง ให้เวลาพวกท่านใคร่ครวญและเราเองก็ต้องยอมทำตามเงื่อนไขเพื่อแสดงให้เห็นว่าเรานั้นเป็นผู้ใหญ่พอที่จะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเลือกที่จะทำสิ่งที่ตนเองอยากทำ โอกาสที่พ่อแม่จะปฏิเสธไม่ยอมให้สิ่งที่เราต้องการนั้นยังมีอยู่ แต่ถ้าเรามีเหตุผลดีๆ และมีน้ำหนักมากพอ ก็ยังมีโอกาสที่จะโน้มน้าวพ่อแม่ได้สำเร็จ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมเหตุผลเข้าไปพูดคุย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะไปขอพ่อแม่ เราจะต้องเข้าใจสิ่งที่อยากได้เป็นอย่างดี เราจะได้ตอบคำถามของพวกท่านได้ ลองเขียนออกมาสักสองสามข้อเพื่อช่วยให้เราจำได้ การอธิบายว่าเรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับของที่เราอยากได้จะช่วยให้คำพูดของเรามีน้ำหนักขึ้น เราอาจเป็นคนซื้อเองก็ได้ ถ้าเราอยากและมีกำลังซื้อพอ
    • ถ้าอยากขอพ่อแม่เลี้ยงสุนัข ให้ค้นข้อมูลว่าเราจะต้องใช้เงินในการดูแลสุนัขเท่าไรและลูกสุนัขตัวหนึ่งราคากี่บาท นอกจากวิธีการดูแลอย่างละเอียดแล้ว อย่าลืมหาข้อดีของการมีสุนัขด้วยรวมทั้งเหตุผลว่าทำไมเราและครอบครัวควรเลี้ยงสุนัขไว้
    • ต้องสนใจข้อเสียด้วยเพื่อนำมาช่วยในการโน้มน้าวพ่อแม่ของเรา เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะนำข้อเสียเหล่านี้มาแย้งเราและการไม่คำนึงถึงข้อเสียอาจทำให้โน้มน้าวพวกท่านไม่สำเร็จ ฉะนั้นดูข้อเสียของสิ่งที่เราจะขอด้วยเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราได้ใคร่ครวญทุกอย่างมาเป็นอย่างดีแล้ว
  2. พ่อแม่จะใคร่ครวญถึงสิ่งที่เราต้องการมากขึ้น ถ้าทั้งสองรู้ข้อมูลสิ่งที่เราขออยู่บ้าง ยิ่งพวกท่านมีความรู้เรื่องนั้นมากเท่าไร สิ่งที่เราขอก็จะเป็นอะไรที่น่ากลัวและเสี่ยงน้อยลง และมีโอกาสที่พ่อแม่จะยอมให้สิ่งที่เราต้องการมากขึ้น พยายามบอกว่าเราได้ข้อมูลมาจากแหล่งใดด้วย พ่อแม่จะได้ลองเช้าไปสืบค้นเพื่อตรวจสอบได้
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการไปค้างบ้านเพื่อน เราต้องให้พ่อแม่รู้เบอร์บ้านเพื่อน รู้จักชื่อพ่อแม่เพื่อนและรู้ว่าบ้านเพื่อนอยู่ที่ไหนด้วย
    • ถ้าต้องการเจาะหรือสักตามร่างกาย ต้องให้เบอร์เจ้าของร้านหรือมีข้อมูลการสักจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ ถ้าพ่อแม่รู้เบอร์คนที่เราไปสักด้วย หรือพ่อแม่เคยเห็นร้านรับสักร้านนั้นมาก่อน ก็จะช่วยให้พวกท่านมีโอกาสยอมให้เราทำตามความต้องการของตนเองก็ได้
  3. การเผลอขึ้นเสียงและพูดออกนอกประเด็นมักเกิดขึ้นได้ง่ายตั้งแต่เริ่มแรก เขียนประเด็นหลักที่ต้องการพูดให้พ่อแม่ยอมให้สิ่งที่เราต้องการสักสามสี่ประเด็น พยายามกลับไปพูดถึง เน้นย้ำ และถกกันถึงประเด็นเหล่านี้อย่างเต็มที่ก่อนที่เราเลือกจะทุ่มเถียงแบบเด็กๆ ไปว่า “แต่หนูอยากได้!”
    • ถ้าอยากมีสัตว์เลี้ยง เราอาจคิดประเด็นที่ต้องการพูดออกง่าย การมีสัตว์เลี้ยงช่วยทำให้ทุกคนในครอบครัวมีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น เจ้าของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะอายุยืน การได้เล่นกับสัตว์เลี้ยงก็เป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่งและการเลี้ยงสัตว์ช่วยสอนให้เรามีความรับผิดชอบ เห็นไหม การมีสัตว์เลี้ยงมีข้อดีมากมาย
  4. ถ้าอยากให้พ่อแม่ยอมให้สิ่งที่เราขอ หรืออยากป้องกันไม่ให้เกิดการโต้แย้ง เราก็ต้องทำหน้าที่ของตนและงานที่พ่อแม่มอบหมายให้เรียบร้อย ก่อนที่จะไปขออะไรพวกท่าน ถ้าพ่อแม่ขอให้เราทำความสะอาดห้องของตนเอง ล้างห้องน้ำ ช่วยทำความสะอาดห้องนั่งเล่น ทำการบ้านให้เสร็จ กินผัก หรืออะไรก็ตามที่พ่อแม่ขอให้เราทำอยู่ตลอด จงทำภารกิจเหล่านั้นให้เสร็จสิ้น การทำหน้าที่ของตนให้เรียบร้อยเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรานั้นเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ
    • การทำภารกิจและงานต่างๆ ให้เสร็จเรียบร้อยอยู่เสมอเป็นเรื่องดี ถ้าพ่อแม่ถามเราว่าทำความสะอาดห้องของตนเองหรือยัง เราก็จะบอกได้เลยว่าทำความสะอาดแล้วค่ะ/ครับ พ่อแม่ก็อาจตอบกลับมาว่า “โอ้โหเป็นครั้งแรกที่เลยนะนี่ที่ลูกทำความสะอาดห้องโดยไม่ต้องบอก” เราอาจต้องพยายามทำหน้าที่ของตนและงานที่พ่อแม่มอบหมายให้เสร็จเรียบร้อยอยู่เสมอ ท่านจะได้ไว้วางใจเรา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

โน้มน้าวพ่อแม่

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกเวลาที่ทั้งสองดูผ่อนคลายและยินดีที่จะพูดคุย ไม่ควรเข้าไปขออะไรสักอย่างตอนที่พ่อแม่กำลังเครียดหรือเหนื่อย เพราะพวกท่านจะหงุดหงิดได้ง่าย โดยปกติแล้วช่วงเวลากินข้าวเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
    • ถ้าแม่หรือพ่อดูเหมือนเครียดง่าย อาจพูดข้อดีของการมีสัตว์เลี้ยงให้พวกท่านฟัง เราอาจชี้ให้เห็นว่าคนรักสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ จะมีระดับความเครียดและความดันเลือดต่ำอย่างเห็นได้ชัดรวมทั้งมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะซึมเศร้าลดลง [1]
    • ถ้าเรายังไม่ได้ทำภารกิจที่พ่อแม่มอบหมายให้เช่น งานบ้านหรือการบ้าน เราก็ยังไม่ควรขออะไรจากท่าน เพราะพ่อแม่จะมีเหตุผลง่ายๆ (และฟังขึ้น) ที่จะปฏิเสธคำขอของเรา ฉะนั้นจงทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน
  2. ถ้าเอาแต่เซ้าซี้หรือกระฟัดกระเฟียด พ่อแม่ก็จะคิดว่าเราไม่มีความเป็นผู้ใหญ่พอที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ขอ พวกท่านก็จะปิดการสนทนาทันทีและยืนกรานให้เราไปสงบสติอารมณ์ก่อนแล้วจึงค่อยมาพูดกัน หรือแย้งกลับมาว่าพฤติกรรมของเราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเรายังไม่พร้อม เราคงไม่อยากให้ผลของการพูดคุยออกมาเป็นสองแบบนี้!
    • ถึงแม้การสนทนาจะจบลงโดยที่พ่อแม่ไม่ให้ตามที่เราขอ แต่การทำตัวเป็นผู้ใหญ่ตลอดการสนทนาจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการพูดคุยกันอีกครั้งในอนาคตและอาจจบลงด้วยการได้ในสิ่งที่ต้องการภายหลังก็ได้ พฤติกรรมที่ดีของเราอาจทำให้พ่อแม่เริ่มฉุกคิดว่า “ลูกของเรากำลังโตเป็นผู้ใหญ่แล้วจริงๆ” ถ้าเราอยากให้พ่อแม่ตอบรับคำขอของเรา เราต้องให้พวกท่านเห็นการเปลี่ยนไปในทางที่ดีของเรา คราวหน้าถ้าเราลองขอพวกท่าน พวกท่านอาจใจอ่อนยอมให้สิ่งที่เราต้องการมากขึ้น
  3. หลายครั้งที่พ่อแม่บอกว่าสิ่งที่เราขอไม่มีประโยชน์สักเท่าไร ไม่คุ้มค่าเงินหรือเวลาหรือไม่คุ้มค่าทั้งสองอย่าง นี้เป็นการขอให้พวกท่านทำตามที่เราต้องการ ฉะนั้นจงควรแสดงให้เห็นว่าพวกท่านก็จะพลอยได้รับประโยชน์ไปด้วย ทั้งเราและพ่อแม่ต่างก็ได้รับประโยชน์ทั้งคู่ ฉะนั้นพ่อแม่อาจไม่อยากปฏิเสธคำขอของเราขึ้นมาก็ได้
    • ถ้าเราอยากขอให้พ่อแม่ซื้อโทรศัพท์มือถือให้ เราต้องพูดว่าโทรศัพท์เครื่องมือจะทำให้พ่อแม่ติดต่อเราได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะโทรมาโดยตรง ส่งข้อความผ่านทางมือถือ ไลน์ หรือเฟซบุ๊ก ถ้าหากโทรไปแล้วเราไม่รับสาย เราก็ยินดีที่จะบอกสาเหตุว่าทำไมเราถึงไม่สามารถรับโทรศัพท์ได้ ถ้าเราไม่รักษาคำพูด พ่อแม่อาจตัดสินใจไม่ซื้อโทรศัพท์มือถือให้ก็ได้
    • ถ้าขอกลับบ้านช้ากว่านี้ ก็พูดเน้นให้พ่อแม่เห็นว่าพวกท่านจะมีเวลาว่างให้กันและกันมากขึ้น และเราจะขอกลับบ้านช้าในกรณีที่มีเพื่อนมาส่งที่บ้านเท่านั้น พ่อแม่จะได้ไม่ต้องลำบากออกไปรับ
  4. อย่าบีบให้พวกท่านต้องให้คำตอบเราเดี๋ยวนั้น ขอให้พ่อแม่คิดใคร่ครวญดูอีกที ให้เวลาพวกท่านสักสองวันหรือหลายวันก็ได้โดยไม่ไปเซ้าซี้ถามหรือเร่งเร้า ให้พวกท่านรู้ว่าเราต้องการพูดคุยเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง เห็นว่าเรามีความรับผิดชอบ และพร้อมที่จะฝ่าฟันปัญหาใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น ถ้าพ่อแม่เห็นว่าเรามีความเป็นผู้ใหญ่ และเห็นว่าเราพูดคุยกับพวกท่านด้วยเหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์ พวกท่านอาจยอมให้สิ่งที่เราขอก็ได้
    • กำหนดวันเวลาที่จะพูดคุยกันไว้ล่วงหน้าให้ขัดเจน นี้เป็นวิธีป้องกันไม่ให้พ่อแม่บอกเราว่า “พ่อกับแม่ยังไม่ได้คุยเรื่องนี้กันเลย” และเราจะได้ไม่ต้องวุ่นวายในการหาเวลาพูดคุยเรื่องนี้คราวหน้า ถ้าครอบครัวมักจะกินข้าวร่วมกันเป็นประจำ ก็อาจนัดว่าให้มาพูดคุยเรื่องนี้กันอีกครั้งสัปดาห์หน้าช่วงกินข้าวเย็น เมื่อถึงเวลาจะได้คุยกันได้เลย
  5. การทำตามข้อตกลงระหว่างกันได้จะทำให้ทั้งเราและพ่อแม่ของเรามีความสุข อาจขอจ่ายค่าโทรศัพท์เองหรือช่วยงานบ้านเพิ่มเติมเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ต้องทำให้พ่อแม่ได้อะไรจากการให้สิ่งที่เราต้องการ อย่างไรเสียพวกท่านก็อาจยอมช่วยเหลือเราทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากเลี้ยงสุนัข ก็ต้องมีการตกลงกันว่าใครจะเป็นคนพามันไปเดินเล่น ใครจะเป็นคนให้อาหารมัน ใครจะเป็นคนปล่อยมันออกจากกรงเป็นต้น นอกเหนือไปจากใครจะเป็นคนซื้อสุนัขและจ่ายค่ารักษาตอนมันป่วย ความรับผิดชอบไม่ได้จบลงหลังซื้อสุนัข (หรือโทรศัพท์) และนั้นแหละเป็นเรื่องที่พ่อแม่เรากังวลอยู่
    • มีบทลงโทษ ถ้าเราไม่สามารถทำตามที่ตกลงกับพ่อแม่ได้ ถ้าเราลืมปล่อยเจ้าปุกปุยออกจากกรงสองสามครั้ง ก็ให้พ่อแม่งดการดูหนังดังช่วงวันศุกร์หรือลดค่าขนม การมีบทลงโทษถ้าทำตามที่ตกลงกันไว้ไม่ได้จะแสดงให้เห็นว่าเรามีความตั้งใจจริงและต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
  6. การเรียนรู้วิธีเขียนเรียงความเพื่อให้ได้สิ่งที่เราต้องการนั้นช่วยได้ เรียงความที่เรากำลังจะเขียนเรียกว่าเรียงความโน้มน้าวใจ โครงสร้างของเรียงความมีดังนี้
    • ประโยคที่แสดงความคิดหลัก ประโยคเชื่อมโยงที่จะนำไปสู่ประเด็นต่อไป ประเด็นหลัก (หรือใจความหลัก)
    • เขียนประโยคแสดงความคิดหลักประโยคแรก บอกเหตุผลให้ชัดเจนว่าทำไมเราถึงอยากได้สิ่งนี้ อธิบายเหตุผล ยกตัวอย่างให้พ่อแม่เห็น แล้วค่อยเปลี่ยนไปกล่าวประเด็นต่อไป
    • เขียนประโยคแสดงความคิดหลักประโยคที่สอง บอกเหตุผลอย่างที่สองให้ชัดเจน อธิบายเหตุผล แล้วค่อยเปลี่ยนไปกล่าวประเด็นต่อไป
    • เขียนประโยคแสดงความคิดหลักประโยคที่สาม โดยประโยคนี้จะแสดงให้เห็นถึงมุมมองอีกด้านหนึ่งของสิ่งที่เราจะขอ ให้หาเหตุผลมาแย้งประโยคแสดงความคิดหลัก อธิบายเหตุผล แล้วค่อยเปลี่ยนไปกล่าวประเด็นต่อไป
    • เขียนประโยคแสดงความคิดหลักประโยคที่สี่ หรือข้ามการเขียนย่อหน้านี้ไปเลยก็ได้ แต่ถ้าต้องการเขียน ให้ประโยคนี้อธิบายมุมมองอีกมุมมองหนึ่ง เขียนเหตุผลที่สี่ อธิบายเหตุผล แล้วค่อยเปลี่ยนไปกล่าวประเด็นต่อไป
    • กล่าวสรุป จบการกล่าวใจความหลัก เขียนประโยคกล่าวถึงใจความหลักและย้ำใจความนั้นอีกครั้ง
    • ถ้าเราเขียนออกมาได้ดี เรียงความนี้ก็น่าจะช่วยเราได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รับมือกับการถูกปฏิเสธ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถามพวกท่านว่าทำไมถึงไม่ให้สิ่งที่เราต้องการ. เราสามารถถามเหตุผลของพ่อแม่ได้เสมอว่าทำไมพวกท่านถึงไม่ให้สิ่งที่เราต้องการ บางครั้งพ่อแม่ก็ให้เหตุผลที่แท้จริงแก่เราและบางครั้งก็ไม่ให้เหตุผลเลย ตราบเท่าที่เราถามเหตุผลจากพวกท่านอย่างสงบเสงี่ยม พ่อแม่ส่วนใหญ่ก็ยินดีที่จะบอกเหตุผล ถามพวกท่านว่ากังวลเรื่องอะไรและพยายามจัดการสิ่งที่ทำให้พวกท่านกังวลให้เรียบร้อย เพราะวิธีนี้อาจทำให้พ่อแม่เปลี่ยนใจ ถ้าเราได้แสดงให้เห็นแล้วว่าสามารถรับผิดชอบตนเองได้
    • ถ้าเรารู้เหตุผลว่าทำไมพ่อแม่ถึงปฏิเสธ เราอาจหาวิธีทางที่ช่วยลดโอกาสนั้นหรือวิธีการพูดที่ทำให้พ่อแม่ยอมให้สิ่งที่เราต้องการ ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถมีโทรศัพท์มือถือได้ เพราะพวกท่านเห็นว่าเรายังโตไม่พอ ถ้าอย่างนั้นเราต้องแสดงให้พ่อแม่เห็นว่าเรามีความเป็นผู้ใหญ่มากแค่ไหน การรู้เหตุผลจะทำให้เราแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
  2. พ่อแม่จะนำความประพฤติที่ผ่านมาของเรามาพิจารณาด้วย เริ่มตั้งใจเรียน (ถ้าเรายังไม่เคยมีผลการเรียนที่ดีให้พ่อแม่ชื่นใจ) ช่วยทำงานบ้านโดยที่ท่านไม่ต้องร้องขอและอย่าสร้างปัญหาให้พ่อแม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจ เราต้องแสดงให้พ่อแม่เห็นว่าเรานั้นมีความรับผิดชอบมากพอที่จะได้สิ่งที่ขอหรือยอมให้เราทำตามความต้องการของตนเอง
    • อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น บางครั้งเราก็อาจต้องใช้เวลา การทำตัวดีแค่วันสองวันนั้นอาจไม่น่าเชื่อถือพอแต่ถ้าทำตัวดีสองสามสัปดาห์ล่ะ พ่อแม่อาจคิดว่าเราวางแผนอะไรไว้มากกว่า ฉะนั้นถ้าเราอดทนและประพฤติตัวดีอย่างสม่ำเสมอ พวกท่านอาจเห็นว่าเราพร้อมที่จะได้รับสิ่งที่ตนเองต้องการแล้ว
  3. อย่าแสดงความไม่พอใจออกมาให้เห็น ดีกับพ่อแม่และทำตัวตามปกติ พ่อแม่อาจทำเหมือนไม่สนใจ แต่ความจริงแล้วพวกท่านอาจกำลังรอดูท่าทีเราอยู่และคิดพิจารณาเรื่องที่เราขออยู่ก็ได้
    • พ่อแม่อาจเริ่มรู้สึกผิดขึ้นมาสักหน่อย ความรู้สึกผิดในสถานการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องแย่ ยิ่งเราประพฤติตัวดี พ่อแม่ก็ยิ่งรู้สึกแย่ที่ปฏิเสธไม่ให้สิ่งที่เราต้องการ ในที่สุดพวกท่านอาจเปลี่ยนใจก็ได้
  4. บางครั้งพ่อแม่อาจเข้าใจเราได้ดีขึ้นเมื่ออ่านสิ่งที่เราเขียน ฉะนั้นลองเขียนจดหมายโน้มน้าวท่านให้ยอมทำตามอย่างที่เราต้องการ อธิบายว่าทำไมเราถึงควรได้รับสิ่งที่ต้องการ การเขียนจดหมายอาจทำให้เราเรียบเรียงคำพูดได้ดีและพ่อแม่อาจเห็นว่าเรามีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นแค่ไหนผ่านจดหมายฉบับนี้
    • ควรเขียนจดหมายด้วยลายมือของตนเองและเรียบเรียงความคิดให้ดี พ่อแม่จะได้เห็นว่าเราทุ่มเทแค่ไหนและสิ่งที่ต้องการมีความสำคัญต่อเรามากเพียงใด การบอกว่าเราจะทำอะไรบ้างหลังจากพ่อแม่ให้ตามที่ต้องการแล้วนั้นเป็นการเริ่มต้นที่ดี ถ้าเราอยากให้พ่อแม่เห็นความตั้งใจผ่านจดหมายนี้ เราอาจสัญญากับพวกท่านว่าเราจะดูแลเจ้าปุกปุยเป็นอย่างดี ฝึกมันให้ขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง และพาไปเดินเล่นเมื่อมันอยาก
  5. ถ้าวิธีพูดโน้มน้าวใจไม่ได้ผล ลองเปลี่ยนมาโต้แย้ง อย่าแต่เอาข้อมูลเดิมมาโต้แย้งซ้ำไปซ้ำมา แสดงให้พ่อแม่เห็นว่าเรามีเหตุผลดีๆ มากมายที่ควรได้ในสิ่งที่เราต้องการ
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากได้โทรศัพท์และกำลังขอพ่อแม่ยอมอนุญาตให้เราซื้อหรือซื้อให้สักเครื่อง เราอาจเริ่มใช้เหตุผลมาโต้แย้งกับพวกท่านว่าต้องการโทรศัพท์มือถือเพื่อความปลอดภัยของตนเอง ถ้าหากเกิดเรื่องกับเรา เราจะโทรหาพ่อแม่ได้ ถ้าเหตุผลนี้ไม่ได้ผล เราอาจเปลี่ยนไปใช้เหตุผลอื่น เราอาจเล่าว่าเราจำเป็นต้องมีโทรศัพท์เพื่อจะได้มีเพื่อนที่โรงเรียน เพื่อให้ได้งานทำ หรือเพื่อให้ได้งานอาสาสมัคร หรือแม้แต่บอกว่ามีโทรศัพท์มือถือลดราคาอยู่ตอนนี้ เราอาจสามารถหาซื้อได้ในราคาที่ถูกลงได้
  6. บางครั้งเราก็ต้องยอมเลิกร้องขอไปสักพัก อาจพูดไปว่า “ไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ” แล้วเดินจากไป เราอาจลองขอใหม่วันหลังก็ได้ แสดงให้พ่อแม่เห็นว่าเรามีความรับผิดชอบเผื่อพวกท่านอาจเปลี่ยนใจ อย่างไรเสียเราก็ต้องโตขึ้นและมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นอยู่แล้ว
    • เราควรมาคุยเรื่องนี้กันไหมในวันหลัง แต่อย่าเร่งจนเกินไปนัก ตัวอย่างเช่น ถ้าพ่อแม่บอกว่าค่อยมาคุยกันหลังช่วงปีใหม่ ให้รอจนกระทั่งหนึ่งสัปดาห์หรือหลังช่วงปีใหม่ เคารพการตัดสินใจของพ่อแม่และพวกท่านจะเคารพการตัดสินใจของเรามากขึ้น
  7. ถ้าเราอยากเลี้ยงสุนัข แต่พ่อกับแม่ไม่อนุญาต โดยให้เห็นเหตุผลว่ามันตัวใหญ่และมีราคาแพง อย่าเพิ่งอารมณ์เสีย ถ้าพ่อแม่ไม่ให้เลี้ยงเยอรมันเชพเพิร์ด ก็ขอเลี้ยงสัตว์ตัวเล็กและดูแลง่ายแทนอย่างเช่นปลาทอง หรือหนูแฮมสเตอร์ก็ได้ ไม่แน่เหมือนกันว่าเราอาจมีความสุขที่ได้เลี้ยงเพื่อนตัวน้อยเหล่านี้ก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าพ่อแม่ปฏิเสธไม่ให้สิ่งที่เราขอ ให้รอสองวันแล้วค่อยพยายามใหม่ อย่าเพิ่งไปถามหลังจากผ่านไปแค่ครึ่งชั่วโมง เพราะถ้าเราให้เวลาท่านคิดสักหน่อย พ่อแม่อาจแอบเปลี่ยนใจก็ได้
  • ก่อนที่จะขออะไรพ่อแม่สักอย่าง เราต้องแสดงให้เห็นว่าเราโตพอที่จะจัดการปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นอย่างดีและมีความรับผิดชอบต่องานและหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายไปสักหนึ่งเดือน แล้วค่อยลองขอสิ่งที่เราต้องการจากพวกท่านดู แต่หลังจากที่พ่อแม่ยอมให้สิ่งที่ขอแล้ว (หรือปฏิเสธไม่ให้) อยากหยุดที่จะเป็นลูกที่ดี เพราะถ้าเราได้สิ่งที่ต้องการมาแล้วและกลับไปทำตัวไม่ดีแบบเดิม พวกท่านจะไม่กล้าให้อะไรเราอีกคราวหน้าเพราะรู้ว่าเราจะหยุดประพฤติตัวดีทันที ถึงแม้พ่อแม่จะไม่ยอมให้สิ่งที่เราขอ ก็จงทำความดีต่อไป ถ้าพ่อแม่เห็นว่าเรานั้นยังคงประพฤติตัวดีเสมอต้นเสมอปลาย ถึงแม้พวกท่านปฏิเสธไม่ยอมให้สิ่งที่เราต้องการไป สิ่งดีๆ ที่เราทำจะช่วยให้พวกท่านไว้วางใจในตัวเราและเปลี่ยนใจ
  • ให้เวลาพ่อแม่คิดใคร่ครวญถึงสิ่งที่เราขอด้วย อย่าเอาแต่ถามบ่อยๆ ว่า “จะให้ผมไหม”
  • ควรขอสิ่งที่เราต้องการตอนที่พ่อแม่อารมณ์ดีและพร้อมรับฟัง ถ้าพ่อแม่อยากรู้ว่าเราจะทำอย่างไรกับของที่ได้มา บอกให้พวกท่านรู้ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากเลี้ยงสุนัขและรู้ว่าเพื่อนของเราก็เลี้ยงด้วย เราอาจขออนุญาตพ่อแม่นำสุนัขไปเดินเล่นกับเพื่อน
  • ถ้าเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ เราอาจจำเป็นต้องทำไปก่อน จากนั้นค่อยมาขอโทษพ่อแม่ที่หลัง ทำเฉพาะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกะทันหันเท่านั้นอย่างเช่น เพิ่งรู้ว่าเพื่อนจะต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น จึงตัดสินใจออกไปนั่งรถเที่ยวส่งท้ายด้วยกัน
  • อย่าขอมากเกินเพราะอาจทำให้พ่อแม่อยากปฏิเสธไม่ให้เรา
  • พูดอย่างสำรวมและชัดถ้อยชัดคำ
  • เมื่อขอไปแล้ว เราต้องอดทนรอคำตอบจากพวกท่านด้วย
  • อย่าทำอะไรตรงข้ามกับความเป็นจริง อย่าสัญญาอะไรที่ตนเองก็รู้ดีว่าทำตามไม่ได้ ไม่อย่างนั้นพ่อแม่จะเห็นว่าเราไม่มีความรับผิดชอบและไม่น่าไว้วางใจ
  • อย่าโต้เถียงโดยไม่มีเหตุผล
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าคิดว่าเราจะได้ในสิ่งที่ต้องการทุกอย่างหรือสามารถ “เถียง” พ่อแม่จนทำให้พวกท่านยอมให้ในสิ่งที่ต้องการ พวกท่านจะรำคาญและปฏิเสธไม่ยอมให้เสียมากกว่า พ่อแม่จะรับฟังเรา ถ้าเราเคารพพวกท่าน
  • อย่าเถียง เพราะการเถียงจะทำให้เรามีโอกาสได้ในสิ่งที่ต้องการน้อยลง ถึงไม่พอใจก็ให้สำรวมและนิ่งไว้ ไม่อย่างนั้นพ่อแม่จะคิดว่าเราเสียนิสัยหรือมีนิสัยไม่ดี
  • อย่ารบเร้าเซ้าซี้พวกท่าน! ถ้าเอาแต่รบเร้าอยู่เรื่อยๆ พ่อแม่ก็จะเริ่มหงุดหงิดและโมโห สุดท้ายเราก็จะโดนพวกท่านลงโทษ
  • ถ้าพ่อแม่ปฏิเสธไม่ยอมให้ในสิ่งที่เราต้องการ ให้ถามเหตุผลว่าทำไมและพยายามหาเหตุผลมาโต้แย้งพวกท่านอย่างสุภาพ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากมีสัตว์เลี้ยงแต่พ่อแม่เห็นว่าการมีสัตว์เลี้ยงเป็นภาระของพวกท่านที่ต้องคอยดูแลมัน แสดงให้พ่อแม่เห็นว่าเราอยากได้สัตว์เลี้ยงมากแค่ไหนและบอกว่าเราจะเป็นคนดูแลมันอย่างไร!
  • ถ้าพ่อแม่ไม่ยอมให้ในสิ่งที่ต้องการ ก็อย่าแอบไปทำอะไรลับหลังพวกท่าน เพราะสักวันพวกท่านจะรู้และจะไม่เชื่อใจเรา
  • อย่าทำตามที่พ่อแม่ขอมากเกินไป เพราะพ่อแม่อาจเห็นเป็นเรื่องปกติ ถ้าเห็นเราเสนอตัวช่วยทาสีบ้านให้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 82,041 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา