ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคซึมเศร้าเป็นอาการทางการแพทย์ที่ร้ายแรงที่เกิดกับคนจำนวนมาก ถ้าคุณมีเพื่อนที่ทนทุกข์จากภาวะซึมเศร้า คุณอาจไม่แน่ใจว่าคุณควรทำอย่างไรเพื่อจะช่วยเขา มีหลายวิธีที่คุณสามารถช่วยเพื่อนที่มีอาการซึมเศร้า ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนให้เขารับการรักษา หรือสร้างกำลังใจด้วยคำพูดดีๆ ลองอ่านต่อเพื่อเรียนรู้วิธีช่วยเพื่อนที่มีภาวะซึมเศร้า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ช่วยให้เพื่อนรับการรักษาอาการซึมเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจสงสัยว่าเพื่อนคุณซึมเศร้าจากวิธีการที่เขาแสดง หากคุณไม่แน่ใจ มีหลายอาการที่พบบ่อยของโรคซึมเศร้าที่อาจช่วยคุณตรวจสอบว่ามีสิ่งผิดปกติ อาการบางอย่างของภาวะซึมเศร้ามีดังนี้: [1]
    • มีความรู้สึกเศร้าแบบต่อเนื่อง
    • เลิกสนใจในงานอดิเรก เพื่อน และ/หรือเพศสัมพันธ์
    • มีความเมื่อยล้ามากเกินไปหรือความรู้สึกช้าลงในการคิด การพูด หรือการเคลื่อนไหว
    • มีการเพิ่มหรือลดความอยากอาหาร
    • มีปัญหาการนอน หรือนอนมากเกินไป
    • มีปัญหากับสมาธิ และการตัดสินใจ
    • หงุดหงิด
    • มีความรู้สึกสิ้นหวัง และ/หรือมองโลกในแง่ร้าย
    • น้ำหนักลดหรือเพิ่ม
    • คิดฆ่าตัวตาย
    • มีอาการปวดเมื่อย หรือปัญหาทางเดินอาหาร
    • มีความรู้สึกผิด ไร้ค่า และ/หรือหมดหนทาง [2]
  2. หากคุณสงสัยว่าเพื่อนทนทุกข์จากภาวะซึมเศร้า คุณควรสนับสนุนให้เขาไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อนคุณอาจจะปฏิเสธว่ามีปัญหา หรืออาจจะอายที่จะยอมรับว่ามีปัญหา เพราะบางอาการของโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องผิดปกติ คนหวาดระแวงทั่วไปจำนวนมากไม่เชื่อมโยงกับการซึมเศร้า อาการไม่แยแสและเย็นชามักจะถูกมองข้ามว่าเป็นอาการซึมเศร้า การให้กำลังใจสนับสนุนเพื่อนเป็นอย่างมากอาจจะเป็นสิ่งที่เพื่อนของคุณต้องการเพื่อที่จะขอความช่วยเหลือ
  3. ในขณะที่เพื่อนคุณอาจตกลงที่จะขอความช่วยเหลือ เขาอาจจะหดหู่เกินกว่าที่จะดำเนินขั้นตอนการทำนัดและการไปพบแพทย์ การเสนอความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องของคุณ สามารถมั่นใจได้ว่าเพื่อนคุณจะได้รับความช่วยเหลือที่เขาต้องการ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สนับสนุนเพื่อนของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการซึมเศร้าสามารถทำให้คนรู้สึกไร้ค่า แต่คุณสามารถใช้คำพูดให้กำลังใจสนับสนุนเพื่อน จนกว่าเพื่อนจะเห็นคุณค่าของเขาได้อีกครั้ง พูดอะไรบางอย่างที่ให้กำลังใจเพื่อนทุกวัน เพื่อแสดงว่าคุณห่วงใยและเพื่อนของคุณมีค่ากับคุณและกับคนอื่นๆ
    • ชี้ให้เห็นจุดแข็งของเพื่อนและความสำเร็จที่จะช่วยสร้างกำลังใจให้เขา เช่นคุณอาจจะบอกว่า "เธอเป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ ฉันชื่นชมความสามารถของเธอ" หรือ "ฉันคิดว่ามันน่าทึ่งที่เธอเลี้ยงลูกที่ยอดเยี่ยมสามคนด้วยตัวเธอเอง ไม่ทุกคนที่จะมีความแข็งแกร่งแบบนี้" [5]
    • ให้ความหวังแก่เพื่อนของคุณ โดยบอกเขาว่าสิ่งที่เขารู้สึกเป็นเพียงชั่วคราว คนที่มีอาการซึมเศร้ามักจะรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรดีขึ้น แต่คุณสามารถบอกเขาว่ามันไม่เป็นแบบนั้น พูดอะไรบางอย่างเช่น "เธออาจจะไม่เชื่อตอนนี้ แต่สิ่งที่เธอรู้สึกจะเปลี่ยนไป" [6]
    • หลีกเลี่ยงการพูดสิ่งที่ไม่จำเป็นเช่น "เธอแค่คิดไปเอง" หรือ "เอาตัวออกจากมันได้แล้ว!" การพูดอะไรที่เป็นการตัดสินแบบนี้จะทำให้เพื่อนรู้สึกแย่ลงและอาจทำให้ภาวะซึมเศร้าของเขารุนแรงมากขึ้น [7]
  2. โรคซึมเศร้าสามารถทำให้คนรู้สึกโดดเดี่ยวและคิดว่าไม่มีใครใส่ใจ แม้ว่าคุณจะแสดงให้เห็นถึงความกังวลของคุณด้วยการช่วยเหลือ เขาอาจต้องการได้ยินคุณบอกว่าคุณอยู่เคียงข้างเขา เพื่อที่จะเชื่อ ให้เพื่อนของคุณรู้ว่าคุณพร้อมและให้เขาติดต่อคุณได้ทันทีหากเขาต้องการคุณ
    • คุณสามารถสื่อความตั้งใจของคุณที่จะช่วยโดยบอกอะไรบางอย่างเช่น "ฉันรู้ว่าเธอกำลังผ่านช่วงเวลาที่ยากตอนนี้ และฉันแค่อยากให้เธอรู้ว่าฉันอยู่เคียงข้างเธอ โทรหรือส่งข้อความมาได้ ถ้าเธอต้องการฉัน"
    • พยายามที่จะไม่เสียกำลังใจถ้าเพื่อนของคุณไม่ตอบสนองต่อความคิดแง่บวกของคุณ อย่างที่คุณต้องการหรือคาดหวัง เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่มีภาวะซึมเศร้าที่จะไม่ยินดียินร้ายแม้ต่อคนที่ห่วงใยเขา
    • จำไว้ว่าบางครั้งวิธีที่ดีที่สุดในการสื่อกำลังใจของคุณ ก็แค่เพียงอยู่กับเพื่อน คุณแค่ใช้เวลากับเขา ดูหนังหรืออ่านหนังสือโดยไม่ต้องกดดันที่จะพูดคุยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า หรือแม้จะหวังว่าให้เขากำลังใจดีขึ้น ยอมรับสิ่งที่เขาเป็นในตอนนี้
    • กำหนดขอบเขตว่าเมื่อไหร่คุณสามารถรับสายหรือข้อความ ไม่ว่าคุณต้องการช่วยเพื่อนแค่ไหน ให้แน่ใจว่าการช่วยเขาจะไม่เอาเวลาชีวิตของคุณไปหมด ให้แน่ใจว่าเพื่อนคุณรู้ว่าคุณเป็นห่วง แต่ถ้าเขามีเหตุฉุกเฉินในช่วงกลางคืน เขาควรจะโทรหาสายด่วนสุขภาพจิต ที่เบอร์ 1323 หรือ โทรหา 191 [8]
  3. ฟังเพื่อนของคุณและพยายามเข้าใจในสิ่งที่เพื่อนกำลังฝ่าฟันเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนเขาให้ผ่านการป่วยไปได้ ให้เพื่อนบอกคุณเกี่ยวกับความรู้สึกของเขาเมื่อเขาพร้อม
    • อย่ากดดันให้เพื่อนแชร์เรื่องราว เพียงแค่ให้เขารู้ว่าคุณยินดีที่จะรับฟัง เมื่อเขาพร้อมและให้เวลาเขา
    • ให้ความสนใจขณะที่คุณฟังเพื่อนคุณ พยักหน้าและตอบสนองอย่างเหมาะสมเพื่อให้เขารู้ว่าคุณกำลังฟังอยู่
    • ลองพูดทวนสิ่งที่เพื่อนคุณพูดเป็นครั้งคราวในระหว่างการสนทนา เพื่อให้เขารู้ว่าคุณกำลังให้ความสนใจ
    • หลีกเลี่ยงการเป็นฝ่ายรับ พยายามที่จะควบคุมการสนทนา หรือลงท้ายประโยคให้เขา อดทนแม้ว่าอาจจะยากในบางครั้ง
    • ทำให้เพื่อนคุณรู้สึกว่าคุณฟังอยู่เรื่อยๆ โดยพูดว่า "ฉันเข้าใจ" "พูดต่อสิ" และ "อืม" [9]
  4. คนที่มีภาวะซึมเศร้าบางครั้งฆ่าตัวตายเมื่อความรู้สึกสิ้นหวังและหมดหนทางมีมากเกินที่จะแบกรับไว้ หากเพื่อนพูดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายให้คิดอย่างจริงจัง อย่าคิดว่าเขาจะไม่ทำแบบที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีหลักฐานว่าเขาวางแผนไว้ ให้ระวังสัญญาณเตือนต่อไปนี้:
    • มีลางหรือการพูดคุยเรื่องฆ่าตัวตาย
    • การพูดที่บ่งบอกว่าเขาไม่สนใจอะไรหรือจะไม่อยู่อีกต่อไป
    • ยกสิ่งของให้คนอื่น ทำพินัยกรรม หรือเตรียมงานศพ
    • ซื้อปืนหรืออาวุธอื่นๆ
    • เบิกบานใจหรือสงบอย่างกะทันหันแบบไม่สามารถอธิบายได้ หลังจากมีอาการซึมเศร้าระยะหนึ่ง
    • ถ้าคุณสังเกตเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ ให้ขอความช่วยเหลือทันที! โทรหาจิตแพทย์ หรือกรมสุขภาพจิต ที่เบอร์ 1323 เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำ [10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เอาตัวออกจากอาการซึมเศร้ากับเพื่อนของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อเพื่อนคุณเริ่มรู้สึกดีขึ้นให้เพื่อนเอาตัวออกห่างภาวะซึมเศร้า โดยการวางแผนหาที่เที่ยวสนุกๆ เลือกกิจกรรมที่คุณทั้งคู่ชอบและวางแผนไปทำด้วยกัน เพื่อให้เพื่อนคุณนับวันรอ วางแผนจะไปดูหนังด้วยกัน ไปเดินป่าในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือไปดื่มกาแฟด้วยกัน [11]
    • แต่ให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้กดดันเพื่อนให้ทำสิ่งที่เขายังไม่พร้อมที่จะทำ ให้อดทนและมั่นคงไว้
  2. เสียงหัวเราะเป็นที่รู้จักกันในนามยาที่วิเศษที่สุด งานวิจัยล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่า เสียงหัวเราะจะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและทำให้คนที่มีความรู้สึกหดหู่ รู้สึกเชื่อมต่อกับคนอื่นๆ มากขึ้น คุณจะรู้ว่าอะไรที่ทำให้เพื่อนหัวเราะได้ดีกว่าคนอื่น คุณจึงควรใช้สิ่งนั้น สร้างเสียงหัวเราะให้กับเขาเป็นประจำ [12]
    • ให้แน่ใจว่าคุณใช้อารมณ์ขันในสถานการณ์ที่เหมาะสม ถ้าเพื่อนคุณกำลังเปิดใจกับคุณหรือร้องไห้ คุณอาจไม่ควรพูดเรื่องตลกในตอนนั้น
    • อย่าท้อแท้หรือรู้สึกไม่ดีพอถ้าเพื่อนของคุณไม่หัวเราะ บางครั้งเป็นเรื่องยากมากที่จะรู้สึกอะไร แม้กระทั่งกับสิ่งที่ดีๆ แต่หวังว่ามันจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
  3. เพียงแค่เพื่อนคุณรู้สึกดีขึ้น ไม่ได้หมายความว่าเขาจะหายจากโรคนี้ อาการโรคซึมเศร้าเป็นสิ่งที่เกิดได้เรื่อยๆ ซึ่งหมายความว่ามันมักจะกลับมา เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้าที่จะเจอภาวะซึมเศร้าเป็นยกๆ ไปตลอดชีวิต ถ้าเพื่อนของคุณดูเหมือนจะจมลงไปในความซึมเศร้า ก็ให้ถามเขาว่าเป็นอย่างไรบ้าง
    • พูดอะไรบางอย่างเช่น "ฉันสังเกตเห็นเธอดูเหนื่อยมากหลังๆ มานี้ เธอเริ่มรู้สึกแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่"
    • เสนอให้ความช่วยเหลือด้วยวิธีที่คุณเคยทำมาก่อน และยังคงให้กำลังใจเพื่อนคุณเหมือนเคย [13]
  4. การช่วยเพื่อนที่ต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าเป็นงานหนัก เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่เจอวิกฤตทางอารมณ์ คุณจะต้องใช้เวลาดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ให้แน่ใจว่าคุณตั้งเวลาไว้อย่างน้อย 30 นาทีในแต่ละวันแค่สำหรับคุณ ใช้เวลานั้นมุ่งไปที่ความต้องการของคุณ ดูแลตัวเอง หรือแค่ทำสิ่งที่คุณต้องการ ให้แน่ใจว่าสิ่งที่คุณทำมันบำรุงร่างกาย จิตใจ และ/หรือความต้องการทางอารมณ์ของคุณ มีวิธีการบางอย่างที่คุณสามารถใช้เวลานี้ทำได้: [14]
    • เรียนโยคะ
    • แช่น้ำในอ่าง
    • อ่านหนังสือ
    • เขียนบันทึกความคิดและความรู้สึกของคุณ
    • นั่งสมาธิหรือสวดมนต์
    • เดินเล่นหรือขี่จักรยาน
    • ใช้เวลากับคนอื่นๆ ที่สามารถช่วยให้กำลังใจและสนับสนุนคุณในขณะที่คุณช่วยเพื่อนที่เป็นโรคซึมเศร้า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อเพื่อนคุณไว้ใจที่จะเปิดเผยความรู้สึกของเขากับคุณ ไม่ควรเริ่มเอาปัญหาของคุณเองมาพูด เพราะอาจทำให้เขารู้สึกว่าภาวะซึมเศร้าของเขาไม่มีความสำคัญเท่าปัญหาของคุณ และจะทำให้เรื่องแย่ลง
  • ในทุกๆ วันถามเขาว่าวันนั้นเขาเป็นอย่างไร อย่าลืมเขา ควรพูดคุยกับเขาเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเรื่อยๆ มันจะทำให้เขามีโอกาสที่จะเปิดอกกับคุณ
  • อดทน อย่าเอาคนอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง เว้นแต่เพื่อนคุณยินดีที่จะให้เขาเกี่ยว และเหนือสิ่งอื่นใด บอกเขาว่าคุณจะอยู่เคียงข้างเขา และถ้าคุณพูดแล้ว ก็ต้องหมายความแบบนั้นจริงๆ
  • ช่วยเพื่อนคุณ ช่วยเรื่องงาน ช่วยให้เขาคิดเรื่องอื่น หรือให้กำลังใจเขาชั่วคราว ปกป้องเขาจากคนอื่นๆ ... การป้องกันและการปิดกั้นความวุ่นวายในชีวิตประจำวันนั้น ช่วย สร้างความแตกต่างได้
  • จำไว้ว่าอาการผิดปกติทางจิตยังคงเป็นเรื่องน่าอายในสังคมของเรา ดังนั้นก่อนที่จะพูดเกี่ยวกับอาการคนที่มีภาวะซึมเศร้ากับบุคคลที่สาม ให้ขออนุญาตเขาก่อน คุณต้องการช่วยเขา ไม่ใช่ทำให้เขาเป็นหัวข้อการนินทา
  • ยารักษาอาการซึมเศร้าและการรักษารูปแบบอื่นๆ เช่น การปรึกษาแพทย์อาจทำให้คนป่วยรู้สึกแย่ลงช่วงหนึ่ง ยาอาจมีผลข้างเคียงหลายอย่างและการบำบัดด้วยการพูดคุยอาจรื้อฟื้นปัญหาและความวิตกกังวลที่เก็บกดภายในขึ้นมา เป็นเรื่องปกติที่สิ่งเหล่านี้จะทำให้คนป่วยวิตก แต่มันจะง่ายขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป บอกให้เพื่อนรู้ว่าคุณอยู่เคียงข้างเขาหากเขาต้องการกำลังใจจากคุณ
  • อย่าพยายามทำให้เขารู้สึกดีขึ้นด้วยการบอกเขาว่า ชีวิตของเขาดีกว่าชีวิตของคนอื่น
  • ถ้าเพื่อนคุณได้รับยารักษาโรคซึมเศร้า บอกให้เขารู้ว่าเขาสามารถขอรูปแบบอื่นๆ ของการรักษาได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การให้คำปรึกษา การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม หรือพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี
  • เมื่อคุณพบว่าเพื่อนของคุณซึมเศร้า พยายามอย่าปฏิบัติกับเขาแตกต่างไปจากที่คุณเคยทำ
  • ถ้าคนที่มีภาวะซึมเศร้าคือคนที่สนิทกับคุณ ให้คุณบอกเขาเป็นประจำว่าเขามีความสำคัญกับคุณ และบอกว่าคุณเป็นห่วง การที่คุณบอกเขาทุกเรื่องที่เป็นแง่บวกที่เขาได้เป็นอิทธิพลในชีวิตของคุณและคนอื่นๆ นั้นก็สำคัญ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าบอกเขาว่าปัญหาของเขางี่เง่า หรือว่าไม่มีอะไรต้องกังวล เขาจะหยุดพูด
  • การทำร้ายตัวเองอาจจะเป็นลางบอกเหตุการคิดฆ่าตัวตาย จึงควรสังเกตเขาอย่างใกล้ชิด และควรให้กำลังใจและให้ความวางใจอย่างอ่อนโยน อย่างไรก็ตามการทำร้ายตัวเองไม่ได้หมายความว่าคนนั้นจะฆ่าตัวตายอย่างแน่นอน มันมักจะแสดงให้เห็นว่าเขามีปัญหาอย่างหนักกับความเครียด และ/หรือความวิตกกังวลและแม้ว่ามันจะเป็นไปได้ว่านี่คือการเรียกร้องให้ช่วย คุณก็ไม่ควรถือว่ามันเป็นตามนั้น
  • การพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคนนั้นดูเหมือนรู้สึกดีขึ้น มากกว่าตอนเขาดูซึมเศร้าอย่างรุนแรง เมื่อคนคนหนึ่งอยู่จุดต่ำสุดเขาอาจจะไม่มีพลังมากพอที่จะทำอะไร แต่เมื่อพลังของเขาเริ่มกลับมา นั่นคือเมื่อพวกเขาอาจจะดำเนินการ
  • หากคุณสามารถทำได้ ในช่วงเกิดวิกฤต ให้พยายามโทรหากรมสุขภาพจิต หรือมืออาชีพ หรือศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ก่อนที่จะให้ถึงตำรวจ เคยมีเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าแทรกแซงในกรณีของคนที่อยู่ในภาวะวิกฤติทางจิต แล้วส่งผลให้เกิดความชอกช้ำทางจิตใจ หรือเสียชีวิตมาแล้ว หากเป็นไปได้ให้ติดต่อคนที่คุณแน่ใจว่ามีความเชี่ยวชาญและผ่านการฝึกอบรมการจัดการกับสุขภาพจิตหรือจิตเวชฉุกเฉินโดยเฉพาะ [15] [16] [17]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 70,667 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา