PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ยิ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวไกลไปแค่ไหน โปรแกรมใหม่ๆ ก็จะบังคับกลายๆ ว่าคุณต้องยกเครื่องคอมซะใหม่ เพราะอืดไปบ้าง ประมวลผลไม่รวดเร็วทันใจ โชคดีที่คุณอัพเกรดคอมได้ง่ายนิดเดียว ถ้าอยากให้คอมเลิกอืดหรือกระตุก ก็ต้องอัพเกรด CPU (Central Processing Unit) นี่แหละ สะดวกและเห็นผลสุด แต่ CPU ถือเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญมากๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นก่อนอัพเกรด ต้องศึกษาทุกขั้นตอนให้เข้าใจถ่องแท้ก่อน นอกจากนี้บาง CPU ใหม่ก็ต้องมีชิ้นส่วนเพิ่มเติม (เช่น heat sink หรือ thermal paste ใหม่) และต้องอัพเกรด BIOS ของเมนบอร์ดด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 6:

เช็คเมนบอร์ด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองหาเมนบอร์ด, ชิป CPU ที่ใช้อยู่, RAM memory card และการ์ดจอ.
  2. ลอง Google หรือถามช่างดู ว่าเมนบอร์ดปัจจุบันใช้กับ CPU ใหม่ได้ไหม รวมถึงหาว่าเมนบอร์ดเป็นระบบ 32-bit หรือ 64-bit โดย socket หลักๆ ที่ใช้กันคือ
    • Socket 478: Intel Pentium 4, Celeron, Pentium 4 Extreme Edition
    • Socket 479: Intel Pentium M, Celeron M, Core Solo, Core Duo
    • Socket LGA775: Intel Pentium D, Pentium 4, Celeron D, Pentium Extreme Edition, Core 2 Duo, Core 2 Quad
    • Socket LGA1156: Intel Celeron, Pentium, Core i3, Core i5, Core i7 Clarkdale/Lynnfield
    • Socket LGA1366: Intel Core i7 (9xx), Xeon
    • Socket LGA2011: Intel Core i7 Sandy Bridge-E (38, 39xxx), Core i7 Ivy Bridge-E (48, 49xxx), Xeon E5 v1 และ v2
    • Socket LGA1155: Intel Celeron, Pentium, Core i3, Core i5, Core i7 Sandy/Ivy Bridge
    • Socket LGA1150: Intel Celeron, Pentium, Core i3, Core i5, Core i7 Haswell/Broadwell
    • Socket LGA2011-3: Intel Core i7-58xxK/59xxK/68xxK/69xxK, Intel Core i7 Extreme Edition (5960X/6950X)
    • Socket LGA1151: Intel Skylake/Kaby Lake/Coffee Lake/Cannonlake Pentium, Celeron, Core i3, Core i5, Core i7, Xeon E3 v5 (ใช้กับ chipset Intel C232 หรือ C236 เท่านั้น)
    • Socket 939: AMD 64, Athlon 64 X2, Athlon 64 FX, Sempron, Opteron
    • Socket 940: AMD Athlon 64 FX, Opteron
    • Socket AM1: AMD Sempron/Athlon xxxx APU
    • Socket AM2/AM2+: AMD Athlon 64, FX, Opteron, Phenom
    • Socket AM3: Sempron 100, Athlon II X2, X3, X4, Phenom II X2, X3, X4, X6
    • Socket AM3+: AMD FX X4, X6, X8
    • Socket FM1: AMD Llano APU X2, x3, X4
    • Socket FM2/FM2+: AMD Trinity/Richland/Kaveri APU X2, X4, Athlon X4
  3. ถ้าเมนบอร์ดเดิม ใช้กับ CPU ใหม่ได้ ก็ไปหาซื้อ CPU ใหม่ที่ร้านคอมได้เลย แล้วข้ามไปส่วนที่ 3. แต่ถ้าไม่ได้ ให้อ่านส่วนที่ 2 ต่อ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 6:

ซื้อเมนบอร์ดใหม่

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกเมนบอร์ดที่ต้องการ (ราคาไม่เกินงบ, ตรงตามสเปค หรือใช้กับคอมและอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีได้).
  2. ถ้าเช็คแล้วใช้ได้กับทุกอุปกรณ์ที่มี ก็ข้ามไปส่วนที่ 3 ได้เลย.
  3. ถ้าใช้กับการ์ดจอเดิมไม่ได้ หรือเมนบอร์ดใหม่ไม่มีการ์ดจอแบบ integrated คือติดมากับเมนบอร์ดเลย ก็ต้องหาการ์ดจอใหม่มาใช้.
  4. ถ้าเมนบอร์ดใหม่ใช้กับ RAM เดิมไม่ได้ ก็ต้องซื้อ RAM memory card ใหม่ที่ใช้ได้.
  5. โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 6:

เปลี่ยน CPU (Desktop)

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิดเคส, ปลดล็อค Heatsink จากฐาน แล้วถอด heatsink ออกมา บาง heatsink ต้องไขน็อตก่อน โดยใช้ไขควงหรืออุปกรณ์อื่นๆ (heatsink ของ Zalman นี่แหละขึ้นชื่อเรื่องถอดยาก)
  2. ดึงออก จากนั้นยกขึ้น แล้วค่อยๆ ยก CPU เก่าขึ้นมาจาก socket
  3. แล้ววางให้สามเหลี่ยมสีทองของ CPU ตรงกับของ socket แค่ปล่อยเบาๆ CPU ก็จะเข้าที่เข้าทาง ไม่ต้องกด ถ้าคุณจัดตำแหน่งถูกมุมแล้ว แค่วางลงไปก็เรียบร้อย
  4. หยิบ heatsink ที่รวมอยู่มาหนีบตามขั้นตอน ถ้า heatsink ไม่ได้ให้ thermal paste หรือ pad มา ก็ต้องทาเองบางๆ โดย thermal paste จะเป็นตัวนำและถ่ายเทความร้อนจากชิป CPU ไปยัง heatsink ถ้า heatsink มีพัดลมด้วย ก็ต้องเสียบให้ถูกช่อง ห้ามใช้งาน CPU เด็ดขาดถ้าไม่มีวัสดุถ่ายเทความร้อนหรือไม่มี heatsink
  5. โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 6:

Socket 479 และ mobile socket แบบอื่นๆ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แล้วดึง CPU ออกมา
  2. ใส่ CPU ใหม่เข้าไป โดยทำมุมให้พอดีเหมือนที่บอกไปก่อนหน้า.
  3. ต้องกดเข้าไปเองให้ลงล็อค หรือบางทีก็ล็อคแบบสปริง ไม่ก็ไขน็อตยึด.
  4. ยังไงอ่านคู่มือ CPU ที่ใช้ดีกว่า
  5. เปิดเครื่องแล้วใช้งานคอมที่อัพเกรดแล้วตามสะดวก!.
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 6:

เปลี่ยนเมนบอร์ด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ติดป้ายระบุแต่ละสายที่เสียบกับเมนบอร์ดเก่า แล้วจำว่าสายต่อมาจากไหน. บางสายเล็กๆ จะมีชื่อเขียนข้างพอร์ทที่เสียบกับเมนบอร์ด แต่ก็แทบมองไม่เห็น เช่น เขียนว่า "FAN1" คือปลั๊กของพัดลม
  2. ถอด CPU เก่าแบบระวังที่สุด จากนั้นเก็บในถุงกันไฟฟ้าสถิต (หาซื้อได้ตามร้านคอม).
  3. เช็คให้ชัวร์ว่าใส่ CPU ใหม่ถูกแล้ว และยึดอยู่กับเมนบอร์ด.
  4. เสียบการ์ดต่างๆ กลับไปที่เมนบอร์ด (ตามช่องของตัวเอง).
  5. โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 6:

ประกอบคอมกลับคืน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต่อสายต่างๆ คืนที่แล้วเสียบปลั๊ก, คีย์บอร์ด, เมาส์, จอ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่.
  2. เปิดคอมแล้วเช็คว่าใช้งานได้ตามปกติหรือเปล่า. ถ้าใช้ได้ก็ยินดีด้วย แต่ถ้าไม่อะไรขัดข้อง ลองถามช่างหรือเพื่อนที่เก่งคอมดู
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลาจะถอด CPU ต้องไขน็อต แล้วถอด หรือปลดอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมก่อน เช่น สาย IDE และการ์ด PCI ต่างๆ จุดสำคัญคือต้องรู้ว่าต่อมาจากไหน และเชื่อมต่ออยู่กับเมนบอร์ดยังไง ถึงค่อยลงมืออัพเกรด CPU
  • ถ้าอยากแน่ใจว่าปล่อยประจุหมดแล้ว ให้ใส่สายรัดข้อมือกันไฟฟ้าสถิต หนีบไว้กับเคส 5 - 10 นาทีก่อน แล้วค่อยเริ่มงาน หรือถอดปลั๊กคอมแล้วทิ้งไว้สักพัก จริงๆ แล้วคุณทำสายดินเองได้ โดยต่อสายไฟกลับคอม แต่ไม่ต้องเสียบ hot กับ neutral pin เสียบแต่สาย ground หรือจะซื้อแบบสำเร็จก็ได้ ที่สำคัญคือต้องจับเคสคอมก่อนเริ่มทำงาน จะได้ไม่เหลือไฟฟ้าสถิต
  • อาจจะต้อง flash (อัพเดท) BIOS ให้ใช้กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ซะก่อน เช่น dual core หรือ Hyperthreading พวกนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องทำก่อนเปลี่ยน CPU ใหม่
  • ศึกษาข้อมูลสเปคอุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้อยู่ให้ละเอียด จะได้แน่ใจว่า CPU ใหม่ที่จะอัพเกรดนั้นใช้กับเมนบอร์ดเก่าได้ ถ้าเช็คแล้วใช้ไม่ได้ ก็ต้องซื้อเมนบอร์ดใหม่เลย
  • ตอนทา thermal paste หรือวัสดุระบายความร้อน อย่าทาเยอะไป บีบเท่าข้าว 1 เมล็ดก็พอ
  • ถ้า CPU มี IHS ก็กดไปแรงๆ ได้เลย heatsink จะได้ลงล็อค แต่ถ้าเป็น CPU เปลือยๆ ก็ต้องระวังอย่าทำชิปแตก หัก หรืองอได้ ถ้า core เสียหายละก็ CPU เป็นอันจบเห่
  • ขั้นตอนทางเทคนิคพวกนี้ต้องศึกษาและสังเกตเยอะๆ ถึงจะทำได้ถูกต้องและปลอดภัย เพราะงั้นอย่าใจร้อน ค่อยๆ ทำไป ประมาณว่าช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
  • ถ้ารู้สึกได้ว่ามีอะไรผิดพลาดไปซะแล้ว หรือเข้าขั้นร้ายแรง ให้เริ่มใหม่แต่ต้น โดยไขน็อตและถอดทุกอย่างออกให้หมด
  • ถ้าตัดสินใจซื้อเมนบอร์ดใหม่ อย่าพิจารณาแค่ว่าถูกดี เพราะอาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดีไม่ดีสุดท้ายก็ต้องหาอุปกรณ์เสริมในระยะยาว เพราะงั้นถ้าจะซื้อเมนบอร์ดใหม่เวลาอัพเกรด CPU ก็ให้เลือกที่แพงหน่อยแต่ดี มีฟีเจอร์ครบเครื่อง เดี๋ยวก็ได้ใช้เอง
  • บางทีปัญหาอาจเกิดเพราะเสียบสายที่เมนบอร์ดผิด หรือยึด CPU ไม่แน่นพอ
  • ถ้าใช้เมนบอร์ดรุ่นก่อนปี 2015 (2558) แล้วจะอัพเกรดเป็น Kaby Lake CPU ต้องอัพเดท BIOS ของเมนบอร์ดก่อน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ากลัวทำชิ้นส่วนไหนเสียหาย ก็อย่าอัพเกรดเองเลย เพราะมีโอกาสผิดพลาดได้ตลอดเวลา
  • ห้ามใช้มือเปล่าจับด้านบนของชิป CPU หรือ pin สีทองๆ ที่ฐานการ์ด PCI ต่างๆ เพราะอาจถึงขั้นเสียหายไปเลย
  • ถ้าคอมยังมีประกัน ก็อย่าอัพเกรดเองตามขั้นตอนในบทความนี้ เพราะประกันจะขาดได้
  • ย้ำอีกทีว่าไฟฟ้าสถิตทำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เสียหายถึงขั้นเจ๊งได้ เพราะงั้นต้องต่อสายดินให้ตัวเอง โดยจับเคสไว้ หรือใส่สายรัดข้อมือกันไฟฟ้าสถิต แต่จะใช้วิธีอื่นตามสมควรก็ได้ ขอแค่ระมัดระวังมากพอ
  • ห้าม เปิดหรือใช้คอมโดยที่ CPU ไม่มี Heatsink ถ้าเกิดผิดพลาดหรือเสียหาย เคสนี้ประกันไม่ครอบคลุมแน่นอน รวมถึงห้ามใช้คอมที่ไม่ได้ทา thermal paste ถ่ายเทความร้อน ปกติคอม desktop ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ทั้ง 2 อย่างอยู่แล้ว ถ้าไม่ใช้สักอย่าง ระวัง CPU เสียหายเกินเยียวยา แถมประกันขาดด้วย


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 25,955 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา