ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางคนชวนคนอื่นคุยไม่ค่อยเป็น อาจจะเพราะขี้เขิน หรือไม่รู้จะชวนเขาคุยเรื่องอะไรดี การเป็นคนคุยสนุกนั้นไม่ยากอย่างที่คุณคิด แต่ต้องอาศัยการฝึกฝน ไม่ว่าจะตอนกินเลี้ยง คุยกับเพื่อนที่โรงเรียน หรือตอนคุยโทรศัพท์ บทสนทนาจะออกรสออกชาติได้ก็ต่อเมื่อคนหรือกลุ่มคนที่กำลังคุยกันนั้นรู้สึกสบายใจไม่อึดอัด มีหลายขั้นตอนด้วยกันให้คุณฝึกฝน รู้จักผ่อนคลาย จะได้มีความสุขคุยสนุกกับทุกๆ คน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ชวนคุย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะคุยสนุกต้องรู้จักจับจังหวะ ไม่มีใครชอบเวลาคนอื่นพูดขัดคอขึ้นมา ถ้าคุณอยากเปิดบทสนทนาก็ต้องใส่ใจจังหวะการพูดนี่แหละ อย่างถ้ามีเรื่องสำคัญต้องคุยกับเจ้านาย ก็ต้องนัดเวลาล่วงหน้าก่อน จะได้แน่ใจว่าจะตั้งใจคุยตั้งใจฟังกันทั้งคู่ ไม่มีอะไรมารบกวน [1]
    • จังหวะยิ่งสำคัญเวลาคุณจะด้นสด อย่างการพยายามทำความรู้จักเพื่อนบ้านใหม่ที่เพิ่งย้ายมา คงไม่ดีแน่ถ้าอยู่ๆ ไปจู่โจมจะคุยกับเขาตอนเขาเพิ่งวิ่งหนีฝนตัวเปียกโชกเข้าตึกมา หน้าตาเหนื่อยล้า ถือถุงกับข้าวพะรุงพะรัง ถ้าเจอเขาในสถานการณ์แบบนี้ละก็ แค่ทักว่า "อ้าว เป็นไงมั่งคะ?" ก็คงจะพอแล้ว ไว้ค่อยหาโอกาสคุยใหม่ตอนที่เขาสะดวกกว่านี้แล้วกัน
    • ถ้าคุณสบตากับใครเข้า นั่นอาจเป็นเวลาดีที่จะได้เริ่มบทสนทนา อย่างถ้าคุณกำลังเดินเล่นอยู่ในร้านหนังสือ แล้วคนใกล้ๆ ตัวคอยแอบดูเป็นระยะว่าคุณสนใจหนังสือเล่มไหนยังไง ให้ลองชวนคุยซะเลย อาจจะเริ่มว่า "เล่มนี้น่าอ่านเนอะ ชอบพวกชีวประวัติคนดังเหรอคะ?"
    • ถ้าอยากเปิดประเด็นกับสามีเรื่องจะเอาลูกหมาตัวใหม่มาเลี้ยง ดูให้ดีว่าเข้าไปคุยกับเขาถูกเวลา ถ้ารู้อยู่ว่าเขาขี้หงุดหงิดตอนเช้าๆ ก็อย่าเพิ่งพูดเรื่องนี้ขึ้นมาจนกว่าเขาจะดื่มกาแฟจนตาสว่างซะก่อน
  2. เมื่ออยู่ๆ ก็ต้องหาเรื่องพูด นั่นล่ะโอกาสอันดีที่จะได้ฝึกฝนทักษะการพูดคุยของคุณ ในแต่ละวันให้ลองหาโอกาสเปิดบทสนทนากับคนที่คุณบังเอิญพบเจอเข้า เช่น ลองชวนคนที่ต่อคิวซื้อกาแฟอยู่หลังคุณคุยดู อาจจะออกความเห็นหรือถามคำถามเกี่ยวกับอะไรรอบตัวไปเรื่อยเปื่อย จะได้ดูเป็นธรรมชาติ แถมเป็นการชวนคุยได้ดีอีกด้วย [2]
    • ลองพูดประมาณว่า "กาแฟที่นี่อร่อยมาก แล้วคุณละคะชอบดื่มอะไร?" จะได้มองว่าคุณสนใจจะคุยกับเขา และเป็นคนเปิดบทสนทนาแบบเนียนๆ
    • พูดด้วยน้ำเสียงร่าเริงจริงใจ คนเขาก็ชอบให้ชมหรือพูดเรื่องดีๆ มากกว่าจะต้องมานั่งฟังเรื่องเครียดๆ อยู่แล้ว อาจจะบอกว่า "วันนี้อากาศดีจังนะคะ เย็นๆ แบบนี้ได้ใส่เสื้อหนาวซะที"
  3. แต่ละวันเราต้องพบเจอผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเพราะคุณทำงานกับบริษัทใหญ่ หรืออยู่ในละแวกบ้านที่พลุกพล่าน ไม่ก็เป็นเด็กๆ และผู้ปกครองของโรงเรียนลูก คนเรามักจำหน้าได้แต่นึกชื่อไม่ออก อย่างไรก็ดีมีงานวิจัยบ่งชี้ว่าไม่เพียงแค่การที่คุณจำชื่อคนได้ แต่ถ้าเรียกชื่อเขาด้วยระหว่างสนทนา จะช่วยเพิ่มความสนิทสนมระหว่างกันได้เป็นอย่างดี [3]
    • ตอนที่เพิ่งรู้จักชื่อใครใหม่ๆ ให้พยายามเรียกชื่อเขาบ่อยๆ เวลาคุยกัน เวลามีคนบอก "หวัดดีค่ะ เราชื่อเอมนะ" ก็ให้ตอบไปว่า "ดีใจที่ได้รู้จักจ้ะ เอม" พอพูดย้ำเรื่อยๆ ชื่อนั้นก็จะตราตรึงเข้าไปในหัวสมองของเราเอง
  4. พูดเรื่องอะไรดีๆ ของเขาจะช่วยเพิ่มความสนิทสนมได้เป็นอย่างดี พอคุณชมใครเมื่อไหร่ เขาก็จะรู้สึกดีกับคุณ ลองหาจุดสังเกตเกี่ยวกับเขา แล้วต้องชมอย่างจริงใจ คนเราอ่านสีหน้าท่าทางและน้ำเสียงกันได้ง่ายๆ ห้ามแกล้งประจบประแจงใครเขาเด็ดขาด [4]
    • ถ้าอยากรู้จักเพื่อนร่วมงานคนไหนให้ดีขึ้น ลองให้กำลังใจเขาดูสิ อาจจะชมไปว่า "ที่คุณนำเสนอไปเมื่อกลางวันผมชอบมากเลย คุณช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมครับว่าทำยังไงถึงออกมาน่าสนใจแบบนั้น?"
    • การเปิดบทสนทนาด้วยวิธีนี้ไม่เพียงทำให้เกิดความรู้สึกในทางบวก แต่ยังเป็นประตูสู่ความสัมพันธ์อันดีในอนาคตอีกด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

มีส่วนร่วมหน่อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตบมือข้างเดียวไม่ดัง การพูดคุยก็เช่นเดียวกัน อย่าเอาแต่ฟังอย่างเดียวต้องมีส่วนร่วมบ้าง วิธีที่ดีที่สุดคือถามคำถามที่สามารถต่อยอดบทสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติ [5]
    • ใช้คำถามแบบปลายเปิด แทนที่จะบอกว่า "วันนี้อากาศดีนะคะ?" ให้เปลี่ยนเป็น "วันนี้แดดดี น่าไปทะเลนะคะ" อะไรประมาณนั้น แบบแรกคนตอบเขาบอกได้แค่ใช่กับไม่ใช่ ซึ่งพอตอบเสร็จก็ตัน คุยต่อไม่ได้ ให้พยายามถามคำถามที่ต้องตอบอะไรมากกว่า 1 คำขึ้นไปนั่นแหละดี
    • ถามคำถามเพื่อลงรายละเอียดเรื่องที่เขากำลังพูด อย่างถ้าจะคุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องกฎระเบียบ ให้พูดทำนองว่า "แม่เห็นหนูไม่สบายใจ บอกว่าไม่มีอิสระ ทำอะไรได้ไม่เต็มที่ ไหนหนูลองบอกแม่ซิว่าอยากให้แม่ทำยังไง?"
  2. การเป็นผู้ฟังที่ดีต้องมีส่วนร่วม แสดงให้คนพูดเห็นว่าคุณใส่ใจเรื่องที่เขาพูดอยู่จริงๆ ซึ่งการแสดงออกนั้นหมายถึงทั้งด้วยการกระทำและคำพูด การที่คุณฟังใครแล้วมีปฏิกิริยาโต้ตอบ จะทำให้เขารู้สึกมีค่าและรู้สึกว่าคุณให้เกียรติเขา ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมากถ้าอยากเป็นคนพูดจาน่าฟัง [6]
    • คุณแสดงให้คนอื่นรู้ว่าคุณใส่ใจเรื่องของเขาได้ด้วยท่าทางที่เป็นมิตร อย่าลืมสบตาเขาตอนพูดด้วย รวมถึงพยักหน้าและส่ายหน้าเป็นระยะตามแต่สถานการณ์
    • มีปฏิกิริยากับเรื่องที่เขาเล่าหน่อย เขาจะได้รู้ว่าคุณฟังอยู่ ไม่ต้องอะไรมากมาย แค่ "โห เจ๋งอะ!" หรือยาวหน่อยก็ "ไม่เคยรู้มาก่อนเลยนะเนี่ย ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ ว่าตอนกำลังวิ่งมาราธอนอยู่รู้สึกยังไง?"
    • อีกวิธีที่บอกคู่สนทนาได้ว่าคุณฟังอยู่ ก็คือการทวนข้อมูลที่เขาเล่าให้คุณฟังนั่นแหละ แต่ใส่คำพูดของคุณผสมลงไปด้วยอย่าง "เยี่ยมเลยที่คุณคอยหาโอกาสเป็นจิตอาสาตามโครงการต่างๆ คงตื่นเต้นดีนะคะที่ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ เรื่อยๆ"
    • ถ้าตั้งใจฟังจริง ต้องเก็บข้อมูลและคิดตามว่าอีกฝ่ายกำลังพูดเรื่องอะไร แทนที่จะทำท่าทำทางเหมือนฟังอยู่ ให้ตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูดแล้วซึมซับข้อมูลมา
  3. เวลาพูดคุยกับใคร ต้องให้เขารู้สึกว่าคุณสนใจเรื่องที่เขาพูดจริงๆ อย่างถ้าคุณอยากรู้จักเจ้านายให้ดีกว่านี้ แต่เจ้านายมักยุ่งอยู่เสมอ และไม่มีเวลามาคุยเล่นทำความรู้จักกัน แทนที่จะคุยกันนอกรอบ ให้ลองหยิบยกเรื่องงานมาปรึกษาซะเลย ถ้าคุณทำงานโปรเจ็คต์ไหนของเจ้านายอยู่ ให้เลียบๆ เคียงๆ ขอคำแนะนำในการทำงานดู เช่น วิธีรับมือกับลูกค้าเจ้าปัญหา เป็นต้น ขอให้จริงใจเข้าไว้และบอกให้รู้ว่าคำแนะนำของเจ้านายนั้นมีประโยชน์กับคุณมากจริงๆ [7]
    • บางทีคุณอาจเหลือบไปเห็นต้นไม้ดอกไม้กระถางใหม่ของเพื่อนบ้าน แล้วอยากรู้ใจจะขาดว่ามันคือต้นอะไร ก็ให้ถามไปตรงๆ เลยว่า "เห็นคุณเพิ่งเอาต้นไม้ใหม่มาวางหน้าบ้าน ดอกสีม่วงอ่อนๆ สวยจัง ต้นอะไรเหรอคะ?" แบบนี้แหละฟังดูจริงใจ ใส่ใจ จนใครก็อยากคุยด้วย พอสนิทสนมกันมากขึ้นแล้วก็ค่อยต่อยอดไปคุยเรื่องอื่นๆ กันได้มากมาย
  4. จะคุยกันให้สนุกต้องเป็นเรื่องที่เข้าใจและสนใจกันทั้งสองฝ่าย ถ้าหาจุดร่วมของทั้งเราและเขาเจอเมื่อไหร่ นั่นแหละเรื่องที่ใช้ "ชวนคุยทำความรู้จักกัน" ได้เป็นอย่างดี กว่าจะรู้เรื่องที่เขาสนใจอาจต้องพูดคุยถามไถ่กันหลายคำถามหน่อย แต่รับรองเลยว่าไม่เสียเวลาเปล่าแน่นอน [8]
    • สมมติว่าคุณอยากผูกมิตรกับพี่สะใภ้คนใหม่ แต่ไม่ค่อยจะมีอะไรคล้ายกันเลย ให้ลองชวนคุยเรื่องละครหลังข่าวที่เพิ่งดูไป หรือหนังสือที่กำลังอ่านติดพันอยู่ก็ได้ เดี๋ยวอาจจะแปลกใจว่าอ้าวที่แท้ก็ชอบเหมือนกัน ถ้าขุดมาหมดแล้วก็ยังไม่ใช่ ให้ลองใช้เรื่องพื้นฐานทั่วไปที่ใครๆ เขาก็ชอบกัน เช่น ใครๆ ก็ชอบกินอะไรอร่อยๆ กันทั้งนั้น ลองถามดูสิว่าปกติมื้อเย็นเขาชอบกินอะไร แล้วก็ลากยาวไปจากตรงนั้นเลย
  5. อะไรกำลังฮอตฮิตเป็นข่าวต้องรู้ไว้บ้าง จะได้ต่อติดเวลามีใครมาชวนคุยเรื่องข่าวสารประจำวัน ทุกเช้าแค่อ่านข่าวใหม่ผ่านๆ ตา 2 - 3 นาทีก็ใช้ได้แล้ว ความรู้รอบตัวจะช่วยให้คุณคุยสนุกขึ้นอีกเยอะเลย [9]
    • อีกเทคนิคคือข่าวบันเทิงทั้งหลายนี่แหละ พวกหนังสือออกใหม่ หนังดัง หรือเพลงฮิตนี่หยิบยกมาคุยกับใครก็ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนฝูง คนที่ทำงาน หรือกระทั่งคนที่นั่งข้างคุณในรถไฟฟ้าตอนเช้าๆ
    • พยายามหลีกเลี่ยงประเด็นที่เผ็ดร้อน (การเมือง ศาสนา เป็นต้น) กับคนที่อาจชวนทะเลาะมากกว่าจะแค่สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกัน
  6. ไม่ว่าจะคุยกับใคร สีหน้าท่าทางของคุณถือเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญมาก โดยเฉพาะการสบสายตากัน เวลาพูดแล้วมองตา คู่สนทนาเขาจะได้รู้ว่าคุณใส่ใจและสนใจฟังเขาอยู่ [10]
    • แต่เรื่องของ eye contact ไม่ใช่การจ้องตาเขม็ง แต่มีหลักง่ายๆ ว่าให้สบตา 50% ของเวลาที่คุณพูด และ 70% ของเวลาที่คุณเป็นผู้ฟัง
    • นอกจากคำพูดแล้ว คุณสามารถตอบรับคู่สนทนาด้วยภาษากายของคุณนั่นแหละ อย่างพยักหน้าว่าเข้าใจ หรือยิ้มให้เพราะเห็นด้วยหรือชอบที่เขาพูดเป็นต้น
    • ระลึกไว้ด้วยว่าห้ามยืนทื่อเป็นรูปปั้นในระหว่างการสนทนา ให้ขยับเขยื้อนร่างกายไปมา (ไม่ใช่แบบคนเสียสติ เพราะจะทำให้คนอื่นรู้สึกไม่สะดวกใจจะคุยด้วยต่างหาก) นั่งไขว่ห้างถ้ารู้สึกสบาย แต่ให้แน่ใจว่าร่างกายได้ขยับในแบบที่แสดงความสนใจในการสนทนา! จำไว้เลยว่า: ร่างกายของคุณเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทรงพลังยิ่งกว่าคำพูด!
  7. หรือก็คือพูดอะไรเกินเลยจนทำเอาทั้งคุณและเขาอึดอัดหรืออับอายจนเข้าหน้ากันไม่ติด ถ้าแบบนั้นล่ะจบเห่ มันมีตลอดแหละที่คนคุยกันมันส์ๆ แล้วเผลอหลุดปากอะไรออกมาจนต้องมานั่งเสียใจภายหลัง ถ้าเล่าอะไรใครมากไปจะทำให้ทั้งคุณและเขาอึดอัดกันเปล่าๆ ป้องกันได้ด้วยการรู้ตัว มีสติอยู่เสมอ [11]
    • ไอ้การหลุดปากพูดมากเกินเหตุหรือพูดเรื่องที่ไม่ควรพูด มักพบบ่อยตอนคุณตื่นเต้นหรือพยายามทำตัวให้น่าประทับใจ เช่น ถ้าคุณมีนัดสัมภาษณ์งานครั้งสำคัญ ให้หายใจเข้า-ออก ทำสมาธิซะก่อนจะก้าวเข้าไปในห้อง และต้องคิดพิจารณาก่อนอ้าปากพูดอะไรออกไปด้วย
    • ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคู่สนทนา ก่อนจะเปิดปากเล่าอะไรใคร ให้ถามใจตัวเองว่า "เรื่องนี้เล่าให้คนนี้ฟังได้ไหม?" เช่น อยู่ๆ คุณคงไม่หันไปบ่นกับคนที่ต่อคิวอยู่ข้างหลังในร้านกาแฟว่า "เจ็บริดสีดวงชะมัด" แน่ ใครเขาจะอยากรู้เรื่องแบบนั้น ขืนพูดไปเขาช็อคตายเลย
    • จำเอาไว้ว่าการแ่งปันข้อมูลส่วนตัวนิดๆ หน่อยๆ เพื่อทำความรู้จักใครสักคนนั้นไม่เป็นไรหรอก แค่ไม่ต้องใส่ข้อมูลทั้งหมดให้เขารู้ในคราวเดียว ลองเผยเรื่องส่วนตัวสัก 1-2 เรื่องในการสนทนาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ มันอาจเสี่ยงเพราะคุณอาจโดนเมินหรือถูกตำหนิได้ แต่มันสำคัญถ้าจะให้ความสัมพันธ์นั้นแน่นแฟ้นขึ้น [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

พูดดีเป็นศรีแก่ตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวและความคิดกันนี่แหละ ที่ทำให้เราสนิทกันได้ การพูดถือเป็นสุดยอดวิธีการสื่อสาร เพราะฉะนั้นถ้าเราได้พูดกับใครบ่อยๆ เข้า ก็ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมถึงรู้สึกคุ้นเคยสนิทใจกับคนคนนั้นมากขึ้น ถ้าสนใจหรือห่วงใยใครเป็นพิเศษ ลองหาเวลาเปิดอกพูดคุยกับเขาดูสิ [13]
    • วิธีนึงที่น่าลองคือคุยกันตอนร่วมโต๊ะอาหารเย็นเป็นเรื่องเป็นราวนี่แหละ อย่างถ้าคุณอยู่ด้วยกันกับแฟน อย่าพยายามดูทีวีไปด้วยกินข้าวเย็นไปด้วย แต่ให้หันมาพูดคุยกันเองจะดีกว่า ถ้าทำได้ทุกๆ วันยิ่งดีใหญ่
    • คุยเรื่องสนุกๆ กัน อย่าง "ถ้าถูกล็อตเตอรีจะทำอะไรเป็นอย่างแรก?" คำถามแนวนี้แหละที่จะล้วงลึกความในใจของกันและกันได้
  2. ถ้ามีเพื่อนร่วมงานแล้วคุยกันสนุกออกรส ชีวิตการทำงานของคุณก็คงสดใสขึ้นอีกเยอะ นอกจากจะมีความสุขทุกวันที่มาทำงานแล้ว ดีไม่ดีอาจได้เลื่อนตำแหน่งเป็นของแถมอีกต่างหาก ลองชวนเพื่อนร่วมงานคุยเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องงานดู จะได้สนิทสนมกันเป็นการส่วนตัว พอวันไหนเกิดได้ทำโปรเจ็คต์ร่วมกันจะได้ประสานงานกันลื่นไหลไร้รอยต่อ [14]
    • ลองสังเกตดู คุณอาจเห็นรูปแมวเยอะเป็นพิเศษบนโต๊ะของเพื่อนร่วมงาน ก็ให้เลียบๆ เคียงๆ ถามเรื่องแมวของเขาซะเลยเพื่อทำความรู้จักกันให้มากขึ้น เดี๋ยวก็มีเรื่องอื่นๆ ให้คุยตามมาเอง
  3. มีงานวิจัยออกมาแล้วว่าคนที่ได้คุยสนุกทุกวันนั้นจะมีความสุขกว่าคนอื่นๆ การพูดคุยที่ว่าส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่จริงๆ แล้วการพูดคุยกันทั่วไปก็ช่วยหลั่งสาร endorphins ได้เหมือนกัน พูดง่ายๆ คือไม่ว่าจะคุยกับใครในแต่ละวันก็ขอให้สนใจใส่ใจ แล้วเดี๋ยวชีวิตก็จะดีดี๊เอง [15]
  4. ยิ้มเวลาพูดคุยกับคนอื่นเพื่อทำให้อารมณ์คุณดีขึ้น. พยายามยิ้มบ่อยขึ้นเวลาคุยกับใครสักคนเช่นกัน การยิ้มช่วยให้คุณมีความสุขขึ้นเพราะมันหลั่งเอ็นดอร์ฟิน จึงเป็นวิธีพัฒนาบทสนทนาและผูกกระชับความสัมพันธ์ที่ง่ายที่สุด
    • เตือนตัวเองให้ยิ้มก่อน ระหว่าง และหลังการสนทนาเพื่อเก็บประโยชน์ของการยิ้มให้มากที่สุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ชมคนอื่นบ้าง อย่างบอกเขาว่า "กระเป๋าสวยจังค่ะ" ก็อาจลากยาวตามมาว่าเขาซื้อกระเป๋าใบนั้นที่ไหน หรือเรื่องอะไรต่อมิอะไรได้อีกด้วย
  • เปิดบทสนทนาเฉพาะตอนสะดวกคุยด้วยกันทั้งคู่เท่านั้น ถ้ากำลังรีบเขาอาจไม่อยากคุยจนพาลรำคาญคุณได้
  • ตอบคำถามให้น่าฟัง
  • ถ้าคุยกับคนรู้จัก ให้ลองนึกดูว่าคราวที่แล้วเคยคุยอะไรกันบ้าง เลือกมาสักเรื่อง จะได้ต่อกันติด อย่างลูกเพิ่งหัดเดิน เขาเพิ่งได้โปรเจ็คต์ใหญ่ หรือที่เขาปรึกษาคุณเรื่องเข่าไม่ค่อยดีก็ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,591 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา