ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ยอมรับเถอะ ว่าเราก็ต่างต้องรับมือกับคราบใต้วงแขนที่น่าอายนี่กันมาแล้วทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม คุณยังสามารถช่วยชีวิตเสื้อตัวโปรดจากการจะถูกนำไปทิ้งในถังขยะได้นะ ทำตามขั้นตอนเหล่านี้ซะ เพื่อที่จะกำจัดคราบเหลืองฝังแน่นออกไป และป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกเพื่อไม่ให้มันทำร้ายตู้เสื้อผ้าของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เตรียมสำหรับการขจัดคราบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีวิธีมากมายที่จะกำจัดเอาคราบเหลืองนี้ออกไป แม้ว่าจะเป็นวิธีที่เพื่อนแนะนำมาเป็นพิเศษ หรือว่าคุณมีผลิตภัณฑ์นั้นๆ อยู่ในตู้เก็บของอยู่แล้วก็เถอะ ให้เลือกเอาจากวิธีที่เหมาะกับคุณที่สุดแล้วกัน จะเลือกจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้แล้วดูขั้นตอนการใช้ของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นเอาทีหลังก็ได้นะ
    • เบกกิ้งโซดา (โซเดียมไบคาร์บอเนต)
    • OxiClean (เบกกิ้งโซดาผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์)
    • วอดก้า
    • น้ำยาล้างจาน
    • น้ำส้มสายชูใส
    • ยาแอสไพรินบด (เก็บไว้ให้ห่างจากมือเด็ก)
  2. วอร์มคราบด้วยการนำไปแช่ในน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น. ทำให้คราบชุ่มไปด้วยการเทน้ำใส่หรือใช้ฟองน้ำซับน้ำกดใส่รอยคราบ
    • รอยคราบจะเกิดจากเหงื่อที่ทำปฏิกิริยากับอลูมิเนียมที่พบในสารระงับเหงื่อและกลิ่นกายส่วนใหญ่ การรวมกันระหว่างโปรตีนในเหงื่อกับอลูมิเนียมจะทำให้เกิดคราบเหลืองขึ้นมา และเพราะคราบนี้มีโปรตีนเป็นตัวยืนพื้น ถ้าหากว่าเทน้ำร้อนใส่ก็จะทำให้คราบฝังแน่นไปอีกนั่นเอง [1]
    • อย่างไรก็ตาม น้ำร้อนก็เป็นตัวช่วยขจัดคราบที่ดีที่สุดอยู่ดี หลังจากที่แช่น้ำเย็นแล้วใช้วิธีช่วยขจัดคราบตามที่เลือกไปแล้ว ก็ขอแนะนำให้นำไปซักในน้ำร้อนเพื่อชะล้างคราบดินที่เหลืออยู่
  3. ไม่ว่าก่อนหน้านี้จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อะไร ถ้าอยากจะใช้ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบก็ต้องผสมมันกับน้ำนะ ซึ่งอัตราส่วนและการผสมนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้ผลิตภัณฑ์ใด ตามตัวอย่างด้านล่างนี้
    • OxiClean, วอดก้า, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์, น้ำส้มสายชูใส และน้ำยาล้างจาน ควรผสมในอัตราส่วน 1-1
    • เบกกิ้งโซดาควรผสมกับน้ำในอัตราส่วน 3-1
    • ยาแอสไพรินควรนำไปบดก่อน ใช้ 3-4 เม็ดแล้วผสมกับน้ำอุ่นในชาม ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองหาอ่านดูได้ โปรดเก็บยาแอสไพรินให้ห่างจากมือเด็ก และอย่าสูดดมเข้าไปหลังจากที่บดแล้ว
  4. ผสมจนกว่าผลิตภัณฑ์จะเข้ากันกับน้ำได้ดี ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเหลวหรือเนื้อเหนียว. หลังจากที่ส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว คุณก็จะรู้ว่าส่วนผสมนั้นจะออกมาเป็นแบบไหน
    • เบกกิ้งโซดาจะเป็นเนื้อเหนียว
    • วอดก้า, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์, น้ำส้มสายชูใสและยาแอสไพรินจะละลายเป็นของเหลว ซึ่งให้ใช้ด้วยการแช่ผ้าหรือจุดที่เกิดคราบลงในส่วนผสมนี้ ฉะนั้นต้องใส่ส่วนผสมในภาชนะที่ใหญ่พอนะ
    • OxiClean และน้ำยาล้างจานจะละลายในน้ำเมื่อผสมในอัตราส่วน 1-1 อย่างไรก็ตาม คุณสามารถทำให้มันเป็นเนื้อเหนียวด้วยการเติม OxiClean หรือน้ำยาล้างจานเป็น 3-1 แทนก็ได้ เพราะบางคนก็ชอบส่วนผสมที่เป็นเนื้อเหนียวมากกว่า ด้วยความเชื่อที่ว่ามันขจัดคราบฝังแน่นได้ดีกว่านั่นเอง [2]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

การขจัดคราบด้วยส่วนผสมที่เป็นเนื้อเหนียว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องทาทับให้ทั่วก่อนจะไปขั้นตอนถัดไปนะ
  2. ขัดส่วนผสมบนผ้าให้ทั่วด้วยแปรงสีฟันหรือแปรงขัดเล็บ. คุณอาจต้องทาส่วนผสมเพิ่มเพราะมันอาจซึมเข้าไปในผ้าได้บางส่วน ตอนนี้ก็จะเริ่มเห็นว่าคราบเริ่มจางลงแล้ว
    • แม้ว่าส่วนผสมเบกกิ้งโซดาจะใช้งานแบบเดี่ยวๆ ได้ดี แต่จะลองเทน้ำส้มสายชูใส่คราบตอนขัดอยู่เพิ่มก็ได้ ซึ่งน้ำส้มสายชูจะขึ้นฟองมาทันทีที่เทใส่ ฉะนั้นระวังด้วยล่ะ
    • เบกกิ้งโซดามีฤทธิ์เป็นด่าง ส่วนน้ำส้มสายชูจะเป็นกรด ฉะนั้นเมื่อทั้งคู่ผสมกันก็จะทำให้เกิดฟองผุดขึ้นมา คุณสมบัติการกัดกร่อนของปฏิกิริยานี้จะช่วยกำจัดคราบสกปรกออกจากผ้าตอนที่ฟองปุดขึ้นมาได้ [3]
  3. มันจะทำให้ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบมีเวลาได้เซตตัวและทำลายสารเคมีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีนั่นเอง
    • ถ้าคราบสกปรกนั้นฝังแน่นมากๆ ก็ให้ทิ้งข้ามคืนไว้เลย
  4. ซักผ้าตามปกติด้วยน้ำร้อนที่พอจะใช้ซักผ้าได้.
    • วัสดุบางชนิดก็อาจทนความร้อนไม่ได้ เพราะอาจทำให้ผ้าหดหรือสีอาจจางลง ฉะนั้นให้อ่านป้ายเสื้อผ้าก่อนจะซักผ้าล่ะ [4]
  5. คราบฝังแน่นอาจไม่ออกไปทั้งหมดเมื่อขจัดไปแค่ครั้งเดียว ฉะนั้นให้ขัดส่วนผสมนี้บนคราบนั้น ทิ้งไว้ และซักอีกครั้งจนกว่าสีที่เปลี่ยนจะหายไปทั้งหมด
    • ถ้าใช้ส่วนผสม OxiClean หรือน้ำยาล้างจานที่เป็นเนื้อเหนียว แนะนำให้ลองแช่คราบฝังแน่นในส่วนผสมที่เป็นของเหลวก่อน เพื่อเพิ่มแรงในการขจัดคราบนั่นเอง โดยทำตามวิธีของส่วนด้านล่างนี้ได้เลย [5]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การขจัดคราบด้วยส่วนผสมที่เป็นของเหลว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับคราบที่ฝังแน่นมากๆ ให้ผสมส่วนผสมที่เป็นเนื้อเหนียวเพื่อใช้ควบคู่กับการแช่ผ้าไปด้วยเลย.
    • ผสมเบกกิ้งโซดาหรือเพิ่มอัตราส่วนของ OxiClean, น้ำยาล้างจาน หรือยาแอสไพรินบดกับน้ำเพื่อทำเป็นส่วนผสมเนื้อเหนียว
    • ขัดส่วนผสมนั้นบนคราบด้วยแปรงสีฟันหรือแปรงขัดเล็บตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบน และทิ้งเอาไว้ชั่วโมงหนึ่ง
  2. เทส่วนผสมที่เป็นของเหลวใส่ถังหรือภาชนะที่ใหญ่พอจะนำผ้าลงแช่ได้. จริงๆ แค่ต้องแช่ตรงส่วนที่เกิดรอยคราบเท่านั้น แต่จะเอาผ้าลงไปแช่ทั้งตัวเลยก็ได้
    • สำหรับคราบจางๆ อาจไม่ต้องแช่ก็ได้ เพียงแค่เทส่วนผสมลงในขวดสเปรย์แล้วฉีดใส่บริเวณที่เกิดคราบให้เยอะๆ ให้ชุ่ม แล้วทิ้งเอาไว้ก่อนจะนำไปซักตามปกติได้เลย
    • ถ้าคุณมีผิวที่บอบบางแพ้ง่าย อาจต้องสวมถุงมือยางต่อจากนี้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ขจัดคราบบางตัวนั้นมีสารเคมีที่รุนแรงผสมอยู่
    • อย่าใช้น้ำยาฟอกผ้าขาวขณะจะแช่ผ้า เพราะสารเคมีจะเกิดปฏิกิริยาออกซิไดซ์และทำให้ผ้าเปลี่ยนสีได้ [6] รายชื่อผลิตภัณฑ์ในบทความนี้ไม่มีสารฟอกขาวผสมอยู่ และไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อผ้าด้วย
  3. เวลาที่ใช้แช่ผ้าก็ขึ้นอยู่กับความเข้มจางของคราบสกปรกนั่นเอง คราบจางๆ ใช้เวลาแค่ 15 ถึง 30 นาทีก็พอ ส่วนคราบเข้มๆ ก็สามารถแช่ไว้ตั้งแต่สองสามชั่วโมงถึงข้ามคืนได้เลย [7]
    • คอยมาดูผ้าด้วย ถ้าคราบจางลงอย่างรวดเร็วก็นำผ้าออกได้ แต่ถ้ามันค่อยๆ จางลงเมื่อผ่านไปสักชั่วโมง ก็ค่อยแช่ต่อจนข้ามคืน
    • ถ้าผ้านั้นมีคราบเกาะอยู่มานานแล้ว ก็จะยากต่อการขจัดออกยิ่งขึ้น ฉะนั้นให้รีบขจัดคราบใต้วงแขนทันทีที่มันเกิดขึ้นล่ะ
  4. ซักผ้าตามปกติด้วยน้ำร้อนที่พอจะใช้ซักผ้าได้.
    • วัสดุบางชนิดก็อาจทนความร้อนไม่ได้ เพราะอาจทำให้ผ้าหดหรือสีอาจจางลง ฉะนั้นให้อ่านป้ายเสื้อผ้าก่อนจะซักผ้าด้วยนะ
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การป้องกันไม่ให้เกิดคราบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้สารระงับกลิ่นกายหรือระงับเหงื่อที่ไม่มีอลูมิเนียมผสม.
    • คราบพวกนี้จะเกิดจากเหงื่อผสมกับอลูมิเนียมที่มักจะเจอในผลิตภัณฑ์เหล่านั้น แล้วการรวมกันของโปรตีนที่อยู่ในเหงื่อกับอลูมิเนียมก็จะทำให้ได้คราบเหลืองขึ้นมานี่เอง
    • สารระงับกลิ่นกายยี่ห้อ Nivea ก็มีสูตรที่ไม่มีอลูมิเนียมด้วยนะ
  2. ทาสารระงับกลิ่นกายหรือใช้สารระงับเหงื่อให้น้อยลง. การทาสารระงับกลิ่นกายหรือสารระงับเหงื่ออาจทำให้สีเสื้อผ้าเปลี่ยนได้ ให้ใช้บางๆ พอ ถ้าใช้เยอะมันก็จะไปติดกับเสื้อผ้าและทำให้เกิดคราบมากขึ้นนั่นเอง
  3. ก่อนจะใส่เสื้อผ้าและหลังจากซักผ้า ให้กลับด้านเสื้อผ้าจากด้านในมาด้านนอก โรยแป้งเด็กตรงบริเวณใต้วงแขนแล้วรีดซะ วิธีนี้จะได้ผลดีกับผ้าฝ้ายหรือผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์
  4. ในการที่จะไม่ให้มีคราบบนเสื้อตัวสวย ให้ใส่เสื้อตัวในเป็นตัวกั้นระหว่างเหงื่อกับเสื้อผ้าของคุณแทนสิ [8]
  5. ซักล้างเอาคราบออกทันทีหลังจากถอดเสื้อผ้าออกมาแล้ว และใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดคราบอย่าง OxiClean หรือ Vanish กำจัดมันออกซะ
    • คราบที่เกิดขึ้นใหม่ย่อมกำจัดง่ายกว่าคราบเก่า ถ้าอยากคอยป้องกันคราบไปเรื่อยๆ ก็ต้องทำให้เสื้อผ้าสะอาดและไม่ให้คราบเกิดขึ้นบนเนื้อผ้า [9]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,293 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา