ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การชักใยเพื่อโน้มน้าวใจผู้อื่นนั้น เป็นวิธีที่แนบเนียนในการจะได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการหว่านล้อมให้เจ้านายขึ้นเงินเดือน หรือเป็นเพียงการใช้มารยาล่อลวงให้คนรักพาไปเที่ยวยุโรป ไม่ว่าคุณจะชักใยใครด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หากคุณต้องการเห็นผลสำเร็จ ก็จำเป็นต้องทำให้ถูกวิธีและมีเทคนิคชั้นเชิงหลากหลาย โดยหมั่นฝึกฝนให้ชำนาญ รวมถึงต้องเรียนรู้รูปแบบการโน้มน้าวใจคนแต่ละประเภทเสียก่อน หากคุณอยากเป็นจอมบงการขั้นเทพ ผู้ที่สามารถชักใยคนอื่นอยู่เบื้องหลังล่ะก็ มาเรียนรู้เทคนิคกันเลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ฝึกฝีมือชักใยให้ชำนาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลักใหญ่ใจความของการชักใยผู้อื่นก็คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตัวเองได้อย่างดี และหลอกล่อให้ผู้อื่นรับรู้เฉพาะอารมณ์ด้านที่ตนเองต้องการสื่อออกไป หากคุณต้องการรู้ว่า จะทำท่าทางอย่างไรให้ดูหงุดหงิดมากกว่าที่กำลังรู้สึกจริงๆ หรืออยากรู้เทคนิคการแสดงอารมณ์ในแบบอื่นๆ ก็ควรเข้าคอร์สเรียนการแสดง ซึ่งจะช่วยเพิ่มพลังในการโน้มน้าวใจผู้อื่นให้คุณได้มากทีเดียว
    • อย่าไปบอกใครล่ะว่า คุณกำลังเรียนการแสดง หากคุณเรียนเพื่อชักใยหรือคอยบงการผู้อื่น ไม่งั้นพวกเขาจะเริ่มระแคะระคายในพฤติกรรมต่างๆ ของคุณ แทนที่จะเชื่อตาม
  2. ในขณะที่คอร์สด้านการแสดงอาจช่วยให้คุณแกล้งสื่อให้ผู้อื่นรับรู้ว่า คุณจะหงุดหงิดมากหากไม่ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ การเรียนรู้ทักษะการพูดและโต้ตอบ ก็จะช่วยให้คุณได้สิ่งที่ต้องการจากผู้อื่น ด้วยวิธีที่สุขุมและดูมีเหตุผลกว่า ไม่เพียงแต่คุณจะสามารถจัดระเบียบความคิดและสื่อออกไปได้ตรงจุดเท่านั้น แต่คุณยังจะได้เรียนรู้เทคนิคการโน้มน้าวให้ผู้อื่นคล้อยตามความต้องการของคุณด้วย
  3. คุณสามารถทำให้ผู้อื่นรู้สึกคุ้นเคยได้ด้วยเทคนิค ‘สร้างจุดเหมือน’ ซึ่งโดยคร่าวๆ มันก็คือหลักการที่ว่า คนเราจะรู้สึกวางใจกับคนที่มีอะไรคล้ายๆ กับเรามากกว่า ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องทำ ก็คือการสังเกตลักษณะท่าทาง รวมถึงน้ำเสียงของคู่สนทนา จากนั้น ก็พยายามลอกเลียนแบบมาให้แนบเนียน ระหว่างที่ทำการปฏิสัมพันธ์กัน
    • การโน้มน้าวใจผู้อื่นด้วยวิธีอันสุขุมและต่อเนื่อง เป็นเทคนิคที่ดีในการโน้มน้าวหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน หากใช้เทคนิคการโน้มน้าวใจผู้อื่นแบบใช้อารมณ์ประกอบด้วย อาจไม่เหมาะในแวดวงอาชีพการงาน
  4. คนที่มีบารมีมักจะได้สิ่งที่ตนเองต้องการเสมอ หากคุณต้องการชักใยหรือคอยบงการผู้อื่น คุณต้องเพิ่มบารมีให้ตัวเองหน่อย เช่น คุณต้องรู้จักส่งรอยยิ้ม และสามารถทำให้คนรอบข้างรู้สึกดีขึ้นมาได้ทันที ทำตัวให้มีบุคลิกท่าทางน่าเข้าหา เพื่อเชื้อเชิญให้คนอื่นอยากเข้ามาคุย โดยสามารถพูดคุยกับใครๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเด็กเก้าขวบหรือศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย รวมถึงคุณอาจต้องเสริมคุณสมบัติต่อไปนี้ด้วย:
    • ทำให้ผู้อื่นรู้สึกเป็นคนพิเศษ สบสายตาเวลาคุยกับพวกขา ถามไถ่ความรู้สึกและเรื่องที่พวกเขาสนใจ แสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าคุณแคร์ แม้ว่าจริงๆ แล้วไม่ได้แคร์ก็ตาม
    • สำแดงความมั่นใจออกมา คนที่มากด้วยบารมีย่อมรักตัวเองและสิ่งที่ตนทำ หากคุณมีความศรัทธาในตนเอง คนอื่นก็มักจะให้ความสนใจคุณอย่างจริงจัง และอยากตอบสนองความต้องการของคุณ
    • พูดทุกสิ่งด้วยความมั่นใจ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นความจริงหรือปั้นแต่งขึ้นมาก้อตาม พยายามพูดให้คล่องแคล่วในทุกสถานการณ์และทุกเรื่อง
  5. หากคุณมีเพื่อน สมาชิกในครอบครัว หรือแม้แต่ศัตรูของคุณ ที่มีทักษะการชักใยหรือคอยบงการผู้อื่นขั้นเทพ คุณก็ควรที่จะเปิดใจเรียนรู้และลอกเลียนเทคนิคของพวกเขา จดบันทึกไว้เลยก็ได้ เพราะมันจะช่วยให้คุณรู้ว่า พวกเขาชักใยผู้อื่นและได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการเสมอได้อย่างไร แม้ว่าคุณอาจต้องเสียค่าโง่ให้เขาหรือเธอหลอก ก่อนที่จะได้วิชาดังกล่าวมาก็ตาม
    • หากคุณมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงที่จะเป็นนักชักใยหรือจอมบงการผู้อื่นแล้วล่ะก็ คุณก็สามารถจะนำวิชาของกูรูเหล่านั้น มาใช้เป็นทักษะส่วนตัวได้อย่างชำนาญในไม่ช้า
  6. เราแต่ละคนจะมีลักษณะทางจิตวิทยาและอารมณ์ต่างกันไป จึงมักถูกล่อหลอกได้ด้วยวิธีต่างๆ กัน ก่อนที่คุณจะเริ่มวางแผนชักใยใคร คุณควรจะหาเวลาศึกษาเป้าหมายให้ดีก่อนว่า ทำไมเขาหรือเธอจึงมีนิสัยแบที่เห็น แล้วจึงค่อยมาวิเคราะห์หาเทคนิคที่จะเหมาะในการชักใยคนๆ นั้น ให้ทำตามที่คุณต้องการ ต่อไปนี้เป็นข้อควรสังเกต เกี่ยวกับลักษณะทางจิตวิทยาของแต่ละคน:
    • หลายๆ คนมีความไวต่อการตอบสนองทางอารมณ์ ซึ่งมักเป็นคนประเภทที่อารมณ์อ่อนไหว ร้องไห้เวลาดูหนังเศร้า รักสัตว์เลี้ยงทั่วไป และมักมีพลังแห่งความเห็นอกเห็นใจและกรุณาต่อผู้อื่นอย่างเปี่ยมล้น ซึ่งการจะชักใยคนประเภทนี้ คุณก็แค่ต้องเล่นกับอารมณ์ของพวกเขา ทำให้พวกเขาสงสารเห็นใจคุณมากๆ จนกระทั่งยอมให้สิ่งที่คุณต้องการ
    • บางคนมีความไวต่อความรู้สึกผิด คนประเภทนี้มักเกิดมาในครอบครัวที่มักลงโทษตนเองอยู่เสมอ ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไรผิดเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม พวกเขาจึงโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกผิดตลอดเวลา การจะล่อลวงคนพวกนี้ ง่ายมาก คุณก็แค่ทำให้พวกเขารู้สึกผิดที่ไม่ยอมให้สิ่งที่คุณต้องการ จนกว่าพวกเขาจะยอม
    • คนอีกจำนวนหนึ่ง เป็นประเภทที่ว่า ต้องการให้ใช้เหตุผลมากกว่า หากคนไหนที่ชอบพูดจามีตรรกะเหตุผล อ่านข่าวบ่อยๆ และชอบค้นหาข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ ก่อนตัดสินใจ คุณก็ควรใช้เทคนิคการโน้มน้าวพวกเขาด้วยความสุขุมนุ่มนวล แทนที่จะเล่นงานทางอารมณ์ หรือใช้ความรู้สึกในการหลอกล่อ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้เทคนิคการชักใยให้หลากหลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เทคนิคนี้ผ่านการพิสูจน์มายาวนานแล้วว่า ได้ผลดีในการได้มาซึ่งสิ่งที่คุณต้องการ หลักการก็ง่ายๆ หากคุณจะชักใยหรือคอยบงการผู้อื่น คุณก็แค่เริ่มด้วยการเรียกร้องตามใจตัวเองไปก่อน รอให้เป้าหมายปฏิเสธคุณมาเมื่อไร เมื่อนั้นคุณก็ค่อยสำทับด้วยการเรียกร้องในสิ่งที่สมเหตุสมผลเข้าไปอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ มันก็จะดูน่าคล้อยตาม และน่ายอมทำให้คุณมากขึ้น เพราะเขาหรือเธอจะนำมันไปเปรียบเทียบกับข้อเรียกร้องในตอนแรกนั่นเอง [1]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการให้ลูกน้องมาทำงานเร็วขึ้นในวันถัดไป คุณก็แค่ลองถามว่า “เธออยากได้งานพิเศษไปทำมั้ย คอมมิชชั่นดีนะ แต่เธอต้องมาเข้างานเร็วกว่าเดิมสักสองชั่วโมง เป็นเวลาสองเดือนนับจากนี้ ” เมื่อลูกน้องคุณส่ายหัวปฏิเสธ คุณก็แค่หยอดต่อไปว่า “โอเค งั้นพรุ่งนี้เธอช่วยมาเข้างานเร็วกว่าเดิมสักวันได้ไหม มาช่วยสรุปรายงานกันหน่อย” ซึ่งเขาหรือเธอก็มักจะรู้สึกว่าทำได้ไม่ยาก เมื่อเทียบกับเงื่อนไขแรก
  2. ขอในสิ่งที่ดูเกินจริง ก่อนจะขอในสิ่งที่คุณต้องการ. อีกวิธีหนึ่งในการชักใยหรือคอยบงการผู้อื่นให้ทำตามคำขอของคุณ ก็คือการเอ่ยปากขอในสิ่งที่ทำให้พวกเขาเปิดใจง่ายๆ ด้วยความที่ตั้งตัวไม่ทันมาก่อน เพราะหากคุณขอสิ่งที่ตนเองต้องการออกไปทันที ไม่ว่าจะเป็นขอเงิน ขอยืมรถ หรือขอให้ช่วยงานของตัวอง คนอื่นมักปฎิเสธ ด้วยเหตุที่พวกเขามีสัญชาติญาณหลีกเลี่ยงเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว [2]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการล่ารายชื่อเพื่อรณรงค์อะไรสักอย่าง คุณอาจขอให้คนที่เดินอยู่ตามริมถนนช่วยผูกเชือกรองเท้าให้ โดยบอกเหตุผลว่า กระดูกหลังคุณมีปัญหา ทำให้ก้มหลังไม่ได้ ซึ่งเมื่อเขาผูกเสร็จแล้ว เวลาที่คุณขอให้เขาช่วยลงชื่อ พวกเขาก็จะไม่อยากปฏิเสธ เพราะสงสารคุณนั่นเอง
  3. หากคุณต้องการโน้มน้าวใจผู้อื่น คุณอาจเริ่มด้วยการทำให้คนๆ นั้น เกรงกลัวผลลัพธ์ร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้น จากนั้นก็ช่วยคลายความกลัวดังกล่าวลง และทำให้พวกเขาโล่งอกดีใจ จนยอมทำตามสิ่งที่คุณขอได้ง่ายๆ ซึ่งเทคนิคนี้อาจดูเจ้าเล่ห์ไปหน่อย แต่ก็ได้ผลดีทีเดียวล่ะ [3]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะบอกเพื่อนคุณว่า “นายรู้มั้ย ตอนที่เราขับรถนายก่อนหน้านี้ เราได้ยินเสียงเหมือนมีอะไรพังไม่รู้ พอฟังดูอีกที ถึงได้รู้ว่ามันดังมาจากวิทยุนั่นเอง ตลกดีมั้ยล่ะ” จากนั้น คุณก็รอให้เพื่อนคนดังกล่าวหัวเราะเสร็จก่อน แล้วจึงค่อยบอกเขาว่า “ว่าแต่…เดี๋ยวสุดสัปดาห์นี้เราขอยืมรถนายอีกครั้งนะ จะเป็นไรมั้ย?”
  4. ความรู้สึกผิด เป็นเครื่องมือชั้นดี ในการชักใยหรือคอยบงการผู้อื่น ก่อนอื่น คุณก็แค่มองหาคนประเภทที่มักกลัวการถูกตำหนิ หรือรู้สึกผิดตลอดเวลา และก็ทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองเป็นพ่อแม่ เป็นแฟน หรือเป็นเพื่อนที่แย่สุดๆ เลย ที่ไม่สามารถให้ในสิ่งที่คุณต้องการได้ แม้ว่าของสิ่งนั้นจะดูไร้สาระแค่ไหนก็ตาม [4]
    • หากคุณต้องการให้ผู้ปกครองรู้สึกสำนึก ก็แค่บอกให้พวกเขาตระหนักว่า ชีวิตคุณทั้งตอนนี้และในวัยเด็กนั้น มันบัดซบแค่ไหน กับการที่พวกเขาไม่สามารถหยิบยื่นประสบการณ์ดีๆ บางอย่างให้ลูกที่ดีอย่างคุณได้ เหมือนที่เด็กผู้โชคดีคนอื่นๆ ได้รับจากพ่อแม่ของตัวเอง
    • หากคุณต้องการให้เพื่อนรู้สึกผิด ก็พยายามย้ำเตือนให้พวกเขาตระหนักว่า คุณเคยช่วยเหลืออะไรพวกเขา หรือพวกเขาติดหนี้บุญคุณอะไรคุณอยู่บ้าง โดยอาจจะแกล้งเปรยขึ้นมาตอนที่เขาหรือเธอปฏิเสธคำขอของคุณ
    • หากคุณต้องการให้แฟนหนุ่มของคุณรู้สึกผิด ก็แค่ตัดพ้อว่า “ไม่เป็นไร เค้ารู้อยู่แล้วล่ะว่า ตัวเองต้องตอบแบบนี้” ซึ่งจะทำให้เขารู้สึกว่า ช่างทำให้คุณผิดหวังบ่อยเหลือเกิน
  5. การติดสินบนเป็นอีกวิธีที่ดี ในการการโน้มน้าวใจผู้อื่นมอบสิ่งที่คุณต้องการ แต่คุณไม่จำเป็นต้องถึงกับแบล็คเมล์ใครเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายหรอก คุณอาจแค่เพียงติดสินบนด้วยของเล็กๆ น้อยๆ บางอย่าง หรือเป็นสิ่งที่ยังไงคุณก็ยินดีทำอยู่แล้ว เช่น คุณอาจขอให้เพื่อนคุณติวการบ้านให้ แลกกับการอาสาขับรถไปส่งเขาหรือเธอ ซึ่งที่จริงแล้ว คุณก็เคยขับไปส่งอยู่แล้วในบางวัน ไม่ได้หนักหนาอะไร
    • ค้นหาว่า คนที่เป็นเป้าหมายของคุณต้องการอะไร และเสนอสิ่งนั้นให้ เช่น หากเพื่อนคุณแอบชอบใครอยู่ ก็ขอให้ทำบางอย่างแลกกับการที่คุณจะไปขอเบอร์คนที่เขาหรือเธอชอบมาให้
    • อย่าติดสินบนให้ดูจงใจนัก แต่จงทำให้เหมือนกับว่า คุณแค่อยากทำอะไรบางอย่างตอบแทน
  6. การเล่นบทผู้ถูกกระทำนั้น เป็นอีกวิธีในการได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ ขอแค่อย่าเล่นให้มากไป นี่เป็นเทคนิคสำรองเอาไว้เวลาจวนตัวเท่านั้น แต่หากทำอย่างถูกวิธี มันสามารถทิ่มแทงใจเหยื่อของคุณได้อยู่หมัด คุณเพียงแค่ต้องทำเหมือนกับว่า ตนเองเป็นคนที่แสนดี ซึ่งถูกความชั่วร้ายในใบโลกนี้รุมเร้ารังแก
    • เล่นบทคนซื่อ ด้วยการพูดว่า “เราไม่รู้ตัวเลยว่า เราทำไม่ดีกับเธอมาตลอด” โดยทำท่าทางให้เหมือนกับว่า คุณเพิ่งรู้เดี่ยวนี้เองนะเนี่ยว่า อะไรเป็นสาเหตุของความล้มเหลวที่เผชิญอยู่
    • หรืออาจพูดว่า “ไม่เป็นไร เราชินแล้วล่ะ” ให้ฟังดูราวกับว่า คุณอยู่ท่ามกลางคนที่เห็นแก่ตัว ไม่เคยช่วยเหลือคุณเลย
    • ทำตัวให้ดูน่าสมเพช เช่น หากเพื่อนคุณไม่ยอมขับรถไปส่ง ก็ตัดพ้อว่า “ไม่เป็นไรจ้ะ เดินให้มันเหงื่อออกสักหน่อยก็ดีเหมือนกัน”
  7. สำหรับคนที่ชอบความมีเหตุผล การใช้ตรรกะเป็นวิธีที่ดีในการโน้มน้าวใจพวกเขา คุณต้องเตรียมเหตุผลไว้อย่างน้อยสามประการว่า มันจะเป็นประโยชนแก่ทุกฝ่ายอย่างไร ก่อนที่จะขอให้คนประเภทนี้ทำอะไร โดยพยายามพูดแบบนุ่มนวล ใจเย็น ดูมีหลักการ อย่าใช้อารมณ์ การจะเอาชนะใจคนประเภทนี้ คุณต้องเก็บอารมณ์ไว้ ไม่งั้นจะไม่ได้อะไรจากพวกเขาเลย
    • ทำทีเหมือนกับว่าสิ่งที่คุณต้องการ เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลและจำเป็นที่สุดในโลกแล้ว การที่อีกฝ่ายไม่ตระหนักและไม่ตอบสนองต่อความต้องการของคุณต่างหาก ที่เป็นเรื่องน่าเย้ยหยัน
  8. ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีไหนในการชักใยหรือคอยบงการผู้อื่น หากพวกเขาจับได้หรือรู้ทันว่าคุณกำลังเสแสร้ง ก็ห้ามยอมรับเด็ดขาด แต่ยิ่งต้องเล่นต่อไปตามน้ำ เช่นอาจตัดพ้ออย่างเจ็บปวดว่า “ไม่อยากเชื่อเลยว่าพวกเธอจะกล่าวหาชั้นแบบนี้” เพื่อเป็นการทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผิดและเห็นใจคุณ [5]
    • หากคุณยอมรับในความเจ้าเล่ห์ของตัวเองเมื่อใด มันก็ยากที่จะใช้แทคติกเดิมๆ ในการหลอกล่อเหยื่อคนเดิมอีกครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การชักใยหลอกล่อคนทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพยายามชักใยเพื่อนของคุณเอง อาจจะยากสักหน่อย หากฝีมือคุณไม่ถึง เพราะว่าพวกเขามักรู้ไส้รู้พุงคุณดีอยู่แล้ว แต่ไม่เป็นไร ยังไงก็ยังพอมีวิธี ก่อนอื่น คุณต้องเตรียมผูกปมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เช่น พยามทำดี ช่วยเหลือ และชมเชยเพื่อนคุณไว้หนึ่งสัปดาห์ล่วงหน้า ก่อนที่คุณจะขอสิ่งใดจากพวกเขา พยายามทำตัวเป็นเพื่อนในอุดมคติ แต่อย่าประเจิดประเจ้อมากไป
    • แสดงอารมณ์สักหน่อย เพราะเพื่อนคุณมักจะห่วงใยคุณอยู่แล้วนี่ พวกเขาไม่อยากเห็นคุณผิดหวังหรอก พยายามใช้ทักษะการแสดงตีบทให้แตก ให้ดูเหมือนว่าคุณเสียใจมากกว่าที่กำลังรู้สึกจริง
    • ย้ำเตือนให้เพื่อนคุณระลึกเสมอว่า คุณเป็นเพื่อนที่ดีเพียงใด โดยอาจยกตัวอย่างเรื่องที่คุณเคยทำเพื่อพวกเขาสักสองสามเรื่อง
    • ไม่ต้องถึงกับประณามว่าพวกเขาเป็นเพื่อนที่แย่หรอก คุณแค่ใช้วิธีเปรยถึงบางเรื่องที่พวกเขาเคยทำให้คุณผิดหวัง สักสองสามเรื่องก็พอ พยายามทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนกับว่า คุณถูกละเลยมาตลอด ให้พวกเขาพอรู้สึกผิด แต่ไม่ต้องถึงกับกล่าวโทษพวกเขา
  2. การชักใยคนรักของคุณ ในการได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ มักจะเป็นเรื่องง่าย คุณแค่ยั่วยวนหรือทำให้เขาเกิดอารมณ์ และสื่อให้เขารู้ว่า เขาต้องมอบสิ่งที่คุณต้องการเสียก่อน จึงจะได้การตอบสนองทางเพศเป็นการตอบแทน แต่หากคุณไม่อยากใช้วิธีต่ำๆ แบบนั้น ก็ยังมีอีกหลายวิธีที่คุณสามารถใช้เพื่อการได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ
    • ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีใด ก็จำเป็นต้องแน่ใจว่าตัวเองดูเซ็กซี่ในระดับหนึ่งด้วย หากแฟนหนุ่มของคุณสำเหนียกได้ว่าคุณเซ็กซี่หรือน่าฟัดแค่ไหน โอกาสที่คุณจะหลอกใช้เขา ให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ ก็ยิ่งมากขึ้น
  3. ความยากง่ายในการล่อลวงเป้าหมายของคุณ ขึ้นอยู่กับความประทับใจที่พวกเขามีต่อคุณด้วย. พยายามสำรวจบุคลิกตัวเองให้ดูปราดเปรียวและเป็นธรรมชาติ (หัดใช้มารยา)
    • แสดงอารมณ์เข้าไว้ แฟนคุณย่อมไม่อยากเห็นคุณทำหน้าผิดหวัง หรือร้องไห้โฮออกมาเวลาอยู่ด้วยกัน
    • หากคุณต้องการได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการจริงๆ ล่ะก็ จงใช้น้ำตาในที่สาธารณะไปเลย เหมือนกับพ่อแม่ที่ยอมซื้อของเล่นให้เด็กๆ ที่ร้องไห้ลั่นห้าง แฟนคุณก็มักจะยอมเวลาคุณปล่อยโฮกลางห้างเหมือนกัน แต่คุณควรเก็บวิธีนี้ไว้ใช้ยามจำเป็นดีกว่า
    • ติดสินบนนิดๆ หากคุณต้องการให้แฟนหนุ่มพาไปดินเนอร์สุดหรูในโรงแรม คุณก็ลองอาสาไปนั่งเชียร์บอลเป็นเพื่อนเขาล่วงหน้าไว้ก่อน ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นการใช้เล่ห์เหลี่ยมน้อยลง และใช้เหตุผลประนีประนอมมากขึ้น
  4. การโน้มน้าวใจหัวหน้า ควรใช้แนวทางสุขุมนุ่มลึกจะดีที่สุด หากคุณไปนั่งร้องห่มร้องไห้ระบายปัญหาส่วนตัวล่ะก็ คุณอาจจะได้ซองขาวมากกว่าได้สิ่งที่ต้องการ คุณควรใช้เหตุผลอันหนักแน่น ด้วยการทำให้หัวหน้าเห็นด้วยว่า ทำไมคุณจึงจำเป็นต้องได้สิ่งๆ นั้นมา
    • เช่นกัน คุณควรแสดงเป็นพนักงานดีเด่นไว้ล่วงหน้าสักหนึ่งสัปดาห์ ก่อนที่จะขออะไร เช่น กลับบ้านดึกหน่อย ยิ้มหวานเข้าไว้ และก็อาจ “บังเอิญ” ทำอาหารมาเผื่อหัวหน้าด้วยก็ได้
    • ร้องขอแบบเนียนๆ ให้เหมือนกับว่าสิ่งที่คุณขอมันเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย พูดแบบสบายๆ แทนที่จะพูดว่า “พี่คะ หนูมีเรื่องสำคัญจะขอร้อง…” ซึ่งจะเป็นการทำให้ไก่ตื่นโดยไม่จำเป็น
    • พยายามขอหลังเลิกงานหรือช่วงเบรก อย่าขอแต่หัววัน ซึ่งเขาหรือเธออาจจะกำลังวุ่นวายอยู่ แต่จงขอในช่วงที่หัวหน้ากำลังจะออกไปทานอาหารกลางวัน หรือไม่ก็ช่วงเลิกงาน เมื่อนั้น หัวหน้าคุณก็มีแนวโน้มที่จะตอบตกลง เพราะไม่อยากเสียเวลาดีๆ ไปกับการโต้แย้งกับคุณ
  5. การได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการจากคุณครู คุณต้องออกแบบแผนการให้ลงตัว ระหว่างการใช้อารมณ์กับความจำยอมด้วยหน้าที่การงาน ก่อนที่จะขออะไรในวันดังกล่าว คุณควรมาเข้าห้องเรียนให้เร็วกว่าเดิม ช่วยลบกระดาน ช่วยครูถือของ ตอบคำถามบ่อยๆ แสดงให้เห็นว่าคุณอ่านมาก่อนแล้ว และตั้งใจเรียน เป็นต้น
    • พยายามชมเชยครูของคุณอย่างเป็นธรรมชาติ อย่าให้ดูฝืนพูด บอกพวกเขาว่าคุณได้รับแรงบันดาลใจจากพวกเขาอย่างไร หรือชอบวิชาที่พวกเขาสอนมากเพียงใด
    • เปรยๆ ให้พวกเขาเชื่อว่า คุณกำลังมี “เรื่องหนักใจบางอย่างเกิดขึ้นที่บ้าน” ซึ่งจะทำให้พวกเขารู้สึกเห็นใจ และอึดอัดจนไม่อยากจะซักถามรายละเอียด
    • ขณะที่คุณกำลังร่ายปัญหาในครอบครัว รอดูซิว่า คุณครูจะรู้สึกแย่จนกระทั่งยอมทำตามที่คุณขอหรือไม่ หากไม่ คุณก็ลองเปรยว่า “ผม/หนูรู้ดีว่า ปกติคุณครูไม่ยอมอนุญาตให้นักเรียนคนไหนทำเรื่องแบบนี้…” โดยทำเสียงสั่นเครือทิ้งท้ายไว้แค่นั้น เค้นน้ำตาให้คลอๆ และมองเหม่อออกไปทางหน้าต่าง
    • หากยังไม่ได้ผลอีก ก็ถึงเวลาใช้ไพ่เด็ดแล้ว บีบน้ำตาร้องไห้ออกมาเลย ทำท่าเหมือนอัดอั้นตันใจ ไม่สามารถเล่าได้ว่า “เกิดอะไรขึ้นที่บ้าน” และรอดูอาการกระอักกระอ่วนของคุณครู ก่อนที่เขาหรือเธอจะยอมหยิบยื่นสิ่งที่คุณต้องการ
  6. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ มักจะรักลูกหลานอย่างไม่มีข้อแม้ จึงอาจจะถูกชักใยได้ง่ายหน่อย หากผู้ปกครองของคุณเป็นคนประเภทดังกล่าว ทั้งหมดที่คุณต้องทำก็แค่ ทำตัวเป็นลูกตัวอย่างให้พวกเขาเห็นสักระยะ ก่อนจะเริ่มร้องขอสิ่งที่ต้องการ กลับบ้านให้ตรงเวลา ทำการบ้านให้เรียบร้อย อ่านหนังสือ ช่วยงานบ้าน ฯลฯ จากนั้น ก็รุกฆาต
    • จงเอ่ยปากขอ ราวกับว่ามันเป็นเรื่องเหมาะสมที่สุด หากคุณอยากไปดูคอนเสิร์ตในงานเลี้ยงที่โรงเรียน ก็บอกผู้ปกครองไปแบบสบายๆ ไม่ต้องนั่งหรือคุกเข่าให้เป็นทางการ พยายามทำเนียนๆ เหมือนกับว่ามันเป็นเรื่องปกติ
    • คุณอาจลองขอ ตอนที่คุณกำลัง (ทำท่า) ง่วนอยู่กับงานบ้านก็ได้ เช่น ตอนล้างจาน หรือรีดผ้า ซึ่งจะทำให้พวกเขาเห็นภาพว่าคุณเป็นเด็กดี
    • เปรยให้ผู้ปกครองฟังก่อนก็ได้ว่า พ่อแม่ของเด็กคนอื่นๆ ตอบสนองหรือตอบตกลงอย่างไร แค่อย่าให้มันดูเป็นเรื่องใหญ่ก็พอ
    • ทำให้ผู้ปกครองรู้สึกผิด. หากคุณต้องการไปดูคอนเสิร์ต ก็อาจแกล้งพูดว่า “ไม่เป็นไรหรอก ปล่อยให้พวกเพื่อนๆ ไปดูกันให้สนุก แล้วหนูค่อยฝากพวกมันซื้อของที่ระลึกก็ได้” คือ พูดให้ผู้ปกครองคุณรู้สึกว่า พวกเขาทำให้คุณต้องพลาดประสบการณ์ทางสังคมครั้งสำคัญไป แต่ไม่ควรไปพูดว่า “พ่อแม่รังแกหนู!” เพราะหากคุณแสดงได้อย่างแนบเนียนเมื่อไร เดี๋ยวพวกเขาก็สำนึกเองแหละ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อีกวิธีหนึ่งที่ยอดเยี่ยมในการชักใยหรือคอยบงการผู้อื่น ก็คือการหลอกล่อให้พวกเขาทำสิ่งที่คุณต้องการ จากนั้น ก็เสริมเพิ่มบางสิ่งเข้าไปโดย“ไม่ได้ตั้งใจมาก่อน” หากพวกเขาทำในสิ่งดังกล่าวและมาบ่นให้คุณฟังว่า พวกเขาต้องใช้ความพยายามมากแค่ไหน กว่าจะได้มาล่ะก็ คุณก็แค่เปรยกลับไปว่า “เอ้า โทษที เราไม่คิดว่ามันจะยุ่งยากขนาดนี้ มีเรื่องแบบนี้ด้วยเหรอเนี่ย” ทำให้ฟังดูเหมือนกับว่า มันไม่ใช่ความผิดของคุณ แต่คุณต้องแน่ใจด้วยนะว่า อีกฝ่ายจะไม่สามารถโต้แย้งอะไรได้
  • บางคนอาจมีพรสวรรค์ด้านการชักใยหรือคอยบงการผู้อื่นอยู่แล้ว ดังนั้น คุณไม่ควรฝืนพยายามหรือทำโจ่งแจ้งมากเกินไป
  • เข้าคอร์สเรียนการแสดงเพื่อฝึกการใช้และควบคุมอารมณ์ให้ชำนาญ
  • พยายามแสดงความสนใจในตัวเหยื่อ พร้อมๆ กับสื่อให้พวกเขารู้ว่าคุณกำลังต้องการความช่วยเหลือบางอย่าง เมื่อนั้น พวกเขาก็มักเอ่ยปากเสนอความช่วยเหลือออกมาเอง
โฆษณา

คำเตือน

  • การชักใยหรือคอยบงการผู้อื่นจนเคยชิน จะทำให้คุณเสียเพื่อน และขาดความเคารพนับถือจากครูบาอาจารย์ หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ หากคุณยังไม่เซียนจริงๆ พยายามชักใยหรือคอยบงการผู้อื่นด้วยความรอบคอบสักนิด


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,483 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา