ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เดี๋ยวนี้พรินเตอร์รุ่นใหม่ๆ เชื่อมต่อแล้วสั่งพริ้นท์งานผ่าน Wi-Fi ได้เลยสะดวกสุดๆ จะใช้คอมเครื่องไหน ขอแค่ต่อ Wi-Fi แล้วก็พริ้นท์ได้เลย หรือจะสั่งพริ้นท์ผ่านอุปกรณ์ Android หรือ iOS ก็ทำได้ตามใจ แค่ตั้งค่านิดหน่อยก่อนใช้งาน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ติดตั้งพรินเตอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เดี๋ยวนี้พรินเตอร์รุ่นใหม่ๆ ต่อ Wi-Fi ได้ทั้งนั้น แถมติดตั้งและตั้งค่าได้โดยไม่ต้องใช้คอม ขอแค่พรินเตอร์อยู่ในระยะสัญญาณของเราเตอร์ Wi-Fi ก็พอ
    • ถ้าพรินเตอร์ของคุณต่อ Wi-Fi ไม่ได้ ให้เลื่อนลงไปอ่านส่วนถัดไป
  2. เพื่อเชื่อมต่อ Wi-Fi จากพรินเตอร์โดยตรง ไม่ต้องต่อกับคอมก่อน
  3. ขั้นตอนจะแตกต่างกันไปตามพรินเตอร์ที่คุณใช้ แต่หลักๆ คือต้องรู้ชื่อ Wi-Fi (SSID) กับรหัสผ่าน [1]
    • พรินเตอร์ส่วนใหญ่จะมีเมนูที่เครื่องให้ใช้ต่อ Wi-Fi ได้เลย แต่อยู่ตรงไหนยังไงต้องอ่านคู่มือเอา ถ้าไม่มี จะไปดาวน์โหลดเวอร์ชั่น PDF จากในเว็บช่วยเหลือของยี่ห้อที่ใช้ก็ได้
    • ถ้าทั้งพรินเตอร์และเราเตอร์มีปุ่ม WPS สำหรับเชื่อมต่อ ก็กดปุ่มนี้ได้เลย โดยกดปุ่มที่พรินเตอร์ก่อน แล้วค่อยกดปุ่มเดียวกันของเราเตอร์ภายใน 2 นาที เท่านี้ก็ต่อ Wi-Fi ได้อัตโนมัติ
    • พรินเตอร์ไร้สายรุ่นเก่าๆ อาจต้องต่อกับคอมก่อน แล้วถึงจะเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ โดยเฉพาะพรินเตอร์ที่ไม่ใช้ Wi-Fi ได้แต่ไม่มีเมนูที่เครื่อง โดยต้องเสียบพรินเตอร์กับคอมผ่าน USB ก่อน แล้วตั้งค่าการเชื่อมต่อ Wi-Fi โดยใช้โปรแกรมที่ติดมา หลังจากปรับแต่งค่าแล้ว ก็ถอดพรินเตอร์จากคอมได้เลย จะไปจัดวางตรงไหนก็ตามสะดวก
  4. พอพรินเตอร์เชื่อมต่อ Wi-Fi แล้ว ก็ให้เพิ่มพรินเตอร์ในเครื่อง Windows จะได้สั่งพริ้นท์งานจากในคอมได้ [2]
    • เปิด Control Panel จากในเมนู Start (Windows 7 หรือเก่ากว่า) หรือคลิกขวาที่ปุ่ม Windows (Windows 8 หรือใหม่กว่า)
    • เลือก "View devices and printers" หรือ "Devices and Printers"
    • คลิกปุ่ม "Add a printer" ที่ด้านบนของหน้าต่าง
    • เลือกพรินเตอร์ที่จะใช้จากในรายชื่อ อาจจะต้องรอหน่อยกว่าจะโผล่มาครบ
    • ติดตั้งไดรฟ์เวอร์ถ้าจำเป็น. ปกติ Windows จะติดตั้งไดรฟ์เวอร์พรินเตอร์รุ่นดังๆ โดยอัตโนมัติ
  5. ถ้าใช้ Mac แล้วพรินเตอร์ก็ใช้กับ Mac ได้ พอตั้งค่า Wi-Fi แล้วก็ให้เพิ่มพรินเตอร์ในเครื่องได้เลย
    • คลิกเมนู Apple แล้วเลือก "System Preferences"
    • คลิกปุ่ม "Print & Scan"
    • คลิกปุ่ม "+" ที่ท้ายรายชื่อพรินเตอร์
    • เลือกพรินเตอร์ใหม่ของคุณจากในรายชื่อ แล้วติดตั้งโปรแกรมไปตามขั้นตอน (ถ้ามี)
  6. พอเพิ่มพรินเตอร์ในคอมแล้ว ก็สั่งพริ้นท์ได้จากโปรแกรมต่างๆ โดยพรินเตอร์ใหม่ของคุณจะไปโผล่ในตัวเลือกของเมนู "Printer" เวลาจะพริ้นท์เอกสารหรือรูป [3]
    • แต่ถ้าพรินเตอร์ไม่ขึ้น ต้องเช็คให้ชัวร์ว่าคอมคุณต่อ Wi-Fi เดียวกันไว้หรือเปล่า บางทีปิดพรินเตอร์แล้วเปิดใหม่ก็ช่วยได้เหมือนกัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สั่งพริ้นท์ผ่าน Android

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ติดตั้งพรินเตอร์ให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะต่อ Wi-Fi หรือเสียบกับคอมก็ตาม. ก่อนจะสั่งพริ้นท์จากอุปกรณ์ Android ได้ พรินเตอร์ต้องต่อ Wi-Fi ตามขั้นตอนที่ผ่านมาก่อน หรือเสียบกับคอมโดยตรงผ่าน USB จากนั้นให้เพิ่มพรินเตอร์เข้า Google Cloud Print เพื่อส่งไฟล์ที่จะพริ้นท์จากแอพต่างๆ ที่รองรับไปยังพรินเตอร์
    • ถ้าพรินเตอร์ใช้ Google Cloud Print ได้ ก็เพิ่มพรินเตอร์ได้ง่ายนิดเดียว แต่ถ้าไม่รองรับ Google Cloud Print คุณต้องเพิ่มจากในคอมที่ติดตั้งพรินเตอร์ไว้
  2. เชื่อมต่อพรินเตอร์กับ Google Cloud Print โดยตรง (ถ้าทำได้). ถ้าพรินเตอร์ของคุณใช้ Google Cloud Print ได้ คุณก็เชื่อมต่อกับบัญชี Google ได้เลยจากในเมนูของพรินเตอร์เอง ให้ล็อกอินเข้าบัญชี Google ตามขั้นตอน โดยต้องเป็นบัญชี Google เดียวกับที่พ่วงอุปกรณ์ Android ไว้
    • ถ้าเชื่อมต่อพรินเตอร์กับ Google Cloud Print ได้ ให้ข้ามไปดูขั้นตอนที่ 9 ได้เลย
    • แต่ถ้าพรินเตอร์ไม่รองรับ Google Cloud Print ก็ยังเพิ่มพรินเตอร์จากในคอมได้
  3. ถ้าคุณเชื่อมต่อพรินเตอร์กับ Google Cloud Print โดยตรงไม่ได้ ให้เพิ่มพรินเตอร์เข้าบัญชี Google เอง ข้อเสียคือจะใช้พรินเตอร์ได้เฉพาะตอนเปิดคอมและล็อกอินไว้เท่านั้น
    • ต้องมี Chrome ถึงจะตั้งค่าเชื่อมต่อ Google Cloud Print ได้
    • ต้องใช้คอมเครื่องที่เชื่อมต่อกับพรินเตอร์แล้ว โดยทำตามขั้นตอนที่บอกไปด้านบน
  4. เพื่อเปิด tab ใหม่
  5. ส่วนของ Google Cloud Print จะอยู่ทางด้านล่างของเมนู
  6. จะเห็นรายชื่ออุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่
    • ถ้ามีให้ล็อกอิน ก็ต้องล็อกอินด้วยบัญชี Google ที่พ่วงอยู่กับอุปกรณ์ Android ของคุณ
  7. คลิก "Add printers" แล้วจะเห็นรายชื่อพรินเตอร์ที่ต่ออยู่กับคอม. อาจจะโผล่มาหลายชื่อ โดยเฉพาะถ้าพรินเตอร์เป็นเครื่องแฟกซ์ด้วย
  8. เพื่อเพิ่มพรินเตอร์เข้าบัญชี Google Cloud Print
  9. เพื่อให้สั่งพริ้นท์ไปที่พรินเตอร์ใน Google Cloud Print ได้จากอุปกรณ์ Android คุณดาวน์โหลดได้ฟรีที่ Google Play Store เลย
  10. พอติดตั้ง Google Cloud Print แล้ว ก็สั่งพริ้นท์ไปที่พรินเตอร์ใน Google Cloud Print ได้เลยจากแอพที่รองรับ บางแอพก็สั่งพริ้นท์ไม่ได้ แต่แอพส่วนใหญ่ที่เปิดเอกสาร รูป และอีเมลได้ ก็มักจะสั่งพริ้นท์ได้ โดยเลือก "Print" ในเมนู ⋮
    • ถ้าคุณเพิ่มพรินเตอร์ด้วย Chrome ก็ต้องเปิดคอมเครื่องที่ใช้เพิ่มพรินเตอร์รวมถึงเปิด Chrome ทิ้งไว้ หรือให้ทำงานอยู่ในเบื้องหลัง แต่ถ้าพรินเตอร์เชื่อมต่อกับ Google Cloud Print ได้โดยตรง ก็แค่เปิดพรินเตอร์และต่อ Wi-Fi ไว้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

สั่งพริ้นท์ผ่าน iPhone หรือ iPad

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟีเจอร์นี้ทำให้อุปกรณ์ iOS สั่งพริ้นท์ไปยังพรินเตอร์โดยตรงได้ ให้มองหาโลโก้ AirPrint ที่พรินเตอร์ หรือตัวเลือก AirPrint ในเมนู Settings ของพรินเตอร์
    • พรินเตอร์บางเครื่องต้องปรับแต่งให้ใช้ AirPrint ได้ซะก่อน
    • พรินเตอร์ AirPrint ต้องต่อ Wi-Fi เดียวกับอุปกรณ์ iOS โดยทำตามขั้นตอนที่บอกไปด้านบน
    • ถ้าพรินเตอร์ของคุณไม่รองรับ AirPrint ก็ต้องหาแอพพริ้นท์เอกสารจากเว็บของยี่ห้อพรินเตอร์ที่ใช้
  2. ไม่ใช่ทุกแอพที่รองรับ AirPrint แต่แอพส่วนใหญ่ของ Apple กับแอพค่ายดังอื่นๆ จะใช้ได้ ปกติแอพที่เปิดเอกสาร อีเมล และรูปได้ ก็มักจะมีตัวเลือก AirPrint อยู่แล้ว
  3. โดยเปิดเอกสาร รูป หรืออีเมลที่ต้องการในแอพ
  4. เพื่อเลือกพรินเตอร์ AirPrint
    • ย้ำอีกทีว่าอุปกรณ์ที่ใช้ต้องต่อ Wi-Fi เดียวกับพรินเตอร์
  5. ไฟล์ของคุณจะถูกส่งไปยังพรินเตอร์ AirPrint ทันที
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 94,056 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา