ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สำหรับคนที่ยังดูไม่ออก แพลทินัม เงิน และเงินสเตอร์ลิงอาจดูคล้ายกันมากในแวบแรก อย่างไรก็ตาม ถ้าได้ลองฝึกดูสักนิดหน่อย ก็จะทำให้แยกออกได้อย่างรวดเร็วเลยล่ะ!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ดูเครื่องประดับของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เครื่องหมายเหล่านี้จะถูกสลักเอาไว้ในเนื้อโลหะ ถ้าเครื่องประดับชิ้นนั้นมีตะขอ บางทีเครื่องหมายอาจอยู่หลังตะขอก็เป็นได้ หรือตัวเครื่องประดับอาจมีแท็กโลหะเล็กๆ ที่มีเครื่องหมายสลักอยู่แขวนไว้ตรงปลายของมันก็ได้ ถ้าหาไม่เจอก็ค่อยหาในส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเครื่องประดับนั้นๆ แทน
    • ถ้าเครื่องประดับนั้นไม่มีเครื่องหมายระบุไว้ บางทีอาจเพราะมันไม่ใช่โลหะที่มีค่าอะไร
  2. มองหาเครื่องหมายที่ระบุถึงเครื่องประดับเงิน. เหรียญบางเหรียญและเครื่องประดับบางชนิดจะถูกปั๊มเลข “999" เอาไว้ นั่นหมายความว่าเครื่องประดับชิ้นนั้นทำจากเงินแท้ [1] ถ้ามีตัวเลข “925” ตามหลังหรืออยู่ก่อนหน้าตัวอักษร “S" นั่นแปลว่ามันคือเงินสเตอร์ลิง ซึ่งเงินสเตอร์ลิงก็คือเงินแท้ 92.5% ที่ผสมกับโลหะผสม (โลหะอัลลอย) ชนิดอื่น โดยมักจะเป็นทองแดง [2]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าตราปั๊มเป็น “S925” นั่นก็หมายความว่าเครื่องประดับนั้นทำมาจากเงินสเตอร์ลิงนั่นเอง
    • เครื่องประดับเงินแท้นั้นหายาก เพราะเงินแท้มีความอ่อนและเสียหายได้ง่าย [3]
  3. มองหาเครื่องหมายที่ระบุถึงเครื่องประดับแพลทินัม. แพลทินัมเป็นวัสดุที่หายากและแพงมาก ดังนั้นเครื่องประดับจากแพลทินัมแท้ทุกชิ้นจึงจะมีเครื่องหมายระบุตัวตน ลองหาคำว่า “Platinum," “PLAT," หรือ “PT” ตามหรือนำหน้าตัวเลข “950” หรือ “999" ตัวเลขเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของแพลทินัม ถ้าจะให้บริสุทธิ์ต้องเป็นเลข “999” [4]
    • ตัวอย่างเช่น เครื่องประดับแพลทินัมแท้จะต้องมีเครื่องหมายว่า “PLAT999."
  4. โลหะที่มีค่าส่วนใหญ่จะไม่มีแม่เหล็กผสมอยู่ ฉะนั้นถ้าคุณเอาแม่เหล็กไปวางใกล้ๆ เครื่องประดับ ย่อมไม่มีอะไรเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าเครื่องประดับแพลทินัมของคุณมีปฏิกิริยากับแม่เหล็กก็อย่าได้ตกใจไป แพลทินัมบริสุทธิ์เป็นโลหะเนื้ออ่อน ฉะนั้นจึงต้องใส่โลหะผสมมาเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งนั่นเอง อย่างแร่โคบอลต์ ซึ่งเนื้อค่อนข้างแข็ง มักจะนำมาผสมกับแพลทินัม และเพราะโคบอลต์มีความเป็นแม่เหล็กอยู่บ้าง ทำให้เครื่องประดับแพลทินัมบางชิ้นมีปฏิกิริยากับแม่เหล็กนั่นเอง [5]
    • แพลทินัมที่ผสมโคบอลต์มักจะปั๊มตรา PLAT, Pt950 หรืออาจเป็น Pt950/Co. [6]
    • โลหะที่มักนำมาผสมเพื่อเพิ่มความแข็งให้เนื้อเงินสเตอร์ลิงจะเป็นทองแดง ซึ่งไม่มีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็ก ถ้าคุณมีเครื่องประดับเงินสเตอร์ลิงที่มีตรา .925 ปั๊มอยู่ แต่มีปฏิกิริยากับแม่เหล็ก แนะนำให้ลองนำไปตรวจจสอบกับนักอัญมณีหรือนักตรวจสอบเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงดูนะ [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้ชุดกรดทดสอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ชุดกรดทดสอบในกรณีของเครื่องประดับที่ยากต่อการระบุ. ถ้าคุณหาเครื่องหมายใดๆ ไม่เจอเลย และไม่แน่ใจว่าเครื่องประดับนี้มาจากไหนกันได้ ให้ใช้ชุดทดสอบเพื่อหาวัสดุของมันแทน โดยซื้อชุดกรดทดสอบได้จากช่องทางออนไลน์หรือร้านขายเครื่องประดับ ชุดทดสอบนี้จะมีหินขัด (sanding stone) และขวดน้ำกรดอีกหลายขวด
    • ซื้อชุดทดสอบที่สามารถทดสอบได้ทั้งเงินและแพลทินัม ซึ่งฉลากของขวดจะบอกอยู่ว่าเอาไว้ทดสอบกับโลหะชนิดใด
    • ถ้าชุดทดสอบไม่มีถุงมือมาให้ แนะนำให้ซื้อแยก ถ้าหากน้ำกรดโดนผิวหนังเมื่อไรก็อาจทำให้ผิวไหม้ได้นะ
  2. วางหินขัดเอาไว้บนพื้นผิวเรียบๆ แล้วค่อยๆ ขัดเครื่องประดับไปข้างหน้าข้างหลังสลับกัน เพื่อให้เกิดเส้นขึ้น [8] ขีดเส้นสัก 2 ถึง 3 เส้นบนหิน หรือหนึ่งเส้นต่อการทดสอบกรดที่คุณจะใช้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะทดสอบเครื่องประดับแพลทินัม เงิน และทอง ก็ขีดขึ้นมา 3 เส้นเลย
    • ใช้ส่วนที่ไม่เป็นที่สังเกตของเครื่องประดับนั้นๆ ขูดกับหินเอา เพราะเมื่อเกิดการขูดกัน ก็อาจทำให้เนื้อเครื่องประดับเป็นรอยเล็กๆ ได้
    • ปูผ้าขนหนูเอาไว้ใต้หิน เพื่อไม่ให้บริเวณนั้นเกิดรอยจากการขีดข่วนได้
  3. เลือกชุดทดสอบกรดแล้วค่อยๆ หยดลงเส้นขีดแต่ละเส้นในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยอย่าให้กรดมาผสมกันเข้าล่ะ ไม่อย่างนั้นผลอาจผิดเพี้ยนได้
    • ชุดทดสอบด้วยกรดมักจะใช้ทดสอบกับเงินซะส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ชุดทดสอบทอง 18 กะรัตเพื่อทดสอบเงินแท้กับเงินสเตอร์ลิงได้เช่นกัน [9]
    • สวมถุงมือเอาไว้เสมอเมื่อใช้น้ำกรด
  4. ปฏิกิริยาอาจเกิดขึ้นทันทีหรือใช้เวลาสักนาที ถ้าหากว่ารอยขีดตรงนั้นละลายหายไป แปลว่าผลทดสอบล้มเหลว [10] ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณหยดกรดที่ใช้ทดสอบแพลทินัมลงบนรอยขีด แล้วรอยขีดนั้นละลายหายไป แปลว่าเครื่องประดับนั้นๆ ไม่ใช่แพลทินัมแท้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถ้ามันไม่ละลายหายไป ก็แปลว่าเป็นของแท้
    • ถ้าคุณใช้ชุดทดสอบทอง 18 กะรัต รอยขีดจะเปลี่ยนเป็นสีขาว [11] ซึ่งบอกได้ว่าเครื่องประดับนั้นๆ เป็นเงินแท้หรือเงินสเตอร์ลิงของแท้นั่นเอง
    • ถ้าคุณยังสงสัยในผลลัพธ์ ให้ทดสอบอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ใช้สารละลายทดสอบโดยตรงกับเครื่องประดับเงิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้สารละลายทดสอบเงินกับเครื่องประดับที่มีขนาดใหญ่ และเนื้อแข็ง. หลีกเลี่ยงการใช้กรดชนิดนี้กับเครื่องประดับที่มีเนื้อเปราะบาง เพราะกรดจะกัดกร่อนผิวของเครื่องประดับที่สัมผัสได้ ถ้าคุณซื้อชุดทดสอบด้วยกรดมาแล้ว ก็ให้ใช้สารละลายที่ใช้ทดสอบเงินควบคู่ด้วย โดยสามารถซื้อสารละลายชนิดนี้ได้ทั้งช่องทางออนไลน์และร้านขายเครื่องประดับ
  2. หยดสารละลายลงบนโลหะที่ต้องการทดสอบ ให้เลือกในจุดที่ลับตา ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากลองทดสอบกำไลข้อมือขนาดใหญ่ ก็ให้หยดสารละลายไว้ในส่วนด้านในของกำไล หรือถ้าคุณจะทดสอบสร้อยคอแบนๆ ใหญ่ๆ ก็ให้หยดลงส่วนด้านหลังของสร้อย
    • สวมถุงมือเพื่อปกป้องมือ และใช้ผ้าขนหนูรองเพื่อปกป้องบริเวณที่ใช้ทดสอบด้วยล่ะ
    • อย่าหยดกรดลงบนส่วนของตะขอเกี่ยวหรือส่วนที่สำคัญของเครื่องประดับ กรดอาจทำให้ส่วนนั้นๆ ของเครื่องประดับเสียหายได้
  3. กรดจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือเป็นสีใสๆ ในตอนแรก แล้วหลังจากนั้นมันก็จะเปลี่ยนสีไปอีกครั้ง สีใหม่ที่ปรากฎขึ้นนี่แหละ ที่จะบ่งชี้ถึงความบริสุทธิ์ของโลหะได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าสารละลายเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือแดงสด นั่นแปลว่าเครื่องประดับนั้นเป็นเงินไปแล้วอย่างน้อย 99%
    • ถ้าสารละลายเปลี่ยนเป็นสีขาว แปลว่าโลหะนั้นเป็นเงิน 92.5% หรือเงินสเตอร์ลิงนั่นเอง [13]
    • ถ้าเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมน้ำเงิน นั่นหมายความว่ามันคือทองแดง หรือโลหะชนิดอื่นที่มีค่าน้อยกว่านั้น
  4. เช็ดกรดออกด้วยผ้าสะอาดแล้วทิ้งผ้านั้นทันที จากนั้นนำเครื่องประดับไปล้างน้ำเย็นเพื่อเอากรดที่หลงเหลืออยู่ออก โดยใช้ที่กรองหรือจุกปิดอ่างล้างเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องประดับหลุดมือลงท่อไป แล้วนำไปตากให้แห้ง ก่อนจะนำกลับมาใส่อีกครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ตรวจสอบเครื่องประดับด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จุ่มเครื่องประดับลงไปในไฮโดนเจนเปอร์ออกไซด์. ขั้นแรก ให้เทไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ลงในถ้วยหรือชามแก้ว จากนั้นก็จุ่มเครื่องประดับลงไปให้ท่วมมิด ถ้าไม่มิดก็เติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ลงไปอีก
    • สามารถไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้ตามร้านขายของทั่วไป
  2. แพลทินัมถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ดีสำหรับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เลยล่ะ [14] ถ้ามันคือแพลทินัมแท้ ตัวไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะเกิดฟองขึ้นมาแทบจะในทันที [15] เงินจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่อ่อนกว่า ถ้าคุณยังไม่เห็นฟองผุดขึ้นมา ก็ให้รออีกสักนาทีว่าจะมีฟองก่อตัวขึ้นรอบๆ เครื่องประดับหรือไม่ [16]
    • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะไม่กัดกร่อนหรือสร้างความเสียหายใดๆ ให้กับเครื่องประดับทั้งสิ้น
  3. เปิดน้ำเย็นใส่เครื่องประดับเพื่อล้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ออก โดยให้ปิดจุกหรือใช้ที่กรองกับฝาท่อเพื่อไม่ให้เครื่องประดับลื่นหลุดลงท่อไป นำไปตากให้แห้งก่อนจะนำมาสวมใส่อีกครั้ง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณยังไม่มั่นใจกับผลตรวจ แนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องประดับจะดีกว่า
โฆษณา

คำเตือน

  • เก็บกรดและชุดทดสอบกรดให้พ้นมือเด็ก เพราะกรดเป็นอันตรายต่อผิวหนัง และหากกลืนกินลงไปก็จะเป็นอันตรายร้ายแรง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,617 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา