ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กำลังคิดถึงวันที่ได้พักแล้วก็ใช้ชีวิตสบายๆ อยู่เลย แต่อาจารย์ดันบอกว่าจะสอบแบบคาดไม่ถึงซะงั้น ซึ่งเรามักจะดูถูกข้อสอบ คิดว่ามันเป็นอะไรที่ต้องเจออยู่แล้วในรั้วโรงเรียน และทุกคนก็เกลียดการทำข้อสอบ แต่เราสามารถปรับปรุงวิธีการเรียนให้ดีขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการตื่นตระหนกเหล่านี้ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 6:

เริ่มที่พื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คิดว่าจะสอบเมื่อไหร่และควรจะได้เกรดเท่าไหร่ แล้วเขียนวันที่เหล่านั้นลงบนปฏิทินหรือสมุดวางแผนงานจะได้รู้ตัวเมื่อถึงเวลา
    • วางแผนการดูหลักสูตรล่วงหน้าก่อนจะเริ่มสอบแต่ละครั้งอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยควรทำแบบย่อยหลายๆ อันดีกว่าอัดทุกอย่างไว้ทีเดียว
  2. อาจจะดูเหมือนคนไร้สมองแต่การทำอย่างนี้จริงๆ แล้วช่วยตอนทำข้อสอบได้มากเลยล่ะ และอย่าตกหลุมพรางกับความคิดที่ว่าต้อง “จำ” ความรู้พวกนั้น แต่เปลี่ยนเป็นผู้เรียนรู้ที่กระตือรือร้นดีกว่า [1]
    • ฟังอย่างตั้งใจเพราะอาจารย์ทุกท่านมักจะบอกใบ้อย่าง “สิ่งที่สำคัญที่สุดของหัวข้อนี้คือ…” หรืออาจจะเน้นคำหรือหัวข้อต่างๆ และนี่แหละจะเป็นกุญแจสำคัญไปสู่การทำข้อสอบได้ดี โดยยิ่งซึมซับข้อมูลได้มากเราเท่าไหร่ ก็ยิ่งเรียนน้อยลงเท่านั้น
  3. เป็นสิ่งที่พูดง่ายกว่าที่จะทำ แต่การเรียนรู้วิธีการจดที่ดีนั้นจะช่วยในการเรียนเป็นอย่างมากเลย โดยเขียนทุกสิ่งที่อาจารย์เขียนบนกระดานหรืออยู่ในสไลด์ หรืออาจจะพยายามบันทึกเสียงของอาจารย์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่ก็อย่าให้การจดมารบกวนการฟังให้มากนัก [2]
    • ทบทวนสิ่งที่จดทุกวันหลังจากเลิกเรียน มันจะช่วยให้จำข้อมูลที่เพิ่งเรียนไปได้ดี [3]
  4. มันง่ายไปที่จะมองว่าการเรียนเป็นสิ่งที่ทำทีเดียวในนาทีสุดท้ายของคืนที่คร่ำเคร่ง แทนที่จะเป็นอย่างนั้นก็ลองพยายามปลีกเวลาซักนิดมาใช้เรียนทุกวันสิ โดยจัดตารางมันให้เหมือนนัดหรือคาบเรียนอื่นๆ แล้วมันจะทำให้รู้สึกมีแรงกระตุ้นให้ทำต่อไปได้เอง [4]
  5. ถามอาจารย์เรื่องนี้เอาไว้ รวมถึงเรื่องการให้คะแนนด้วย ว่ามีตรงไหนทำให้ได้คะแนนเพิ่มขึ้นได้บ้างไหม และส่วนที่เน้นหรือสำคัญที่สุดของวิชานั้นๆ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 6:

สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนในห้องที่สะอาด เงียบสงบ และเป็นระเบียบ. เอาสิ่งที่จะรบกวนการเรียนรู้ของคุณหรือทุกสิ่งออกไปไกลๆ เพราะการกระโดดเข้าไปอ่านข้อความในโทรศัพท์หรือเช็คโซเชียลมีเดียเป็นระยะๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำระหว่างที่กำลังเรียนอยู่
  2. การเรียนในห้องที่มืดเป็นสิ่งที่ไม่ควร ดังนั้นให้ใช้โคมไฟตอนกลางคืนหรือในตอนกลางวันก็เปิดผ้าม่านและเปิดหน้าต่างเล็กน้อยด้วย เพราะคนเราจะเรียนและตั้งใจได้ดีกว่าในห้องที่สว่างและอากาศถ่ายเท รวมทั้งมีเสียงรบกวนน้อย
  3. นักเรียนส่วนใหญ่คิดว่าตนเองสามารถทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันได้ดี เช่น การเรียนไปพร้อมกับเปิดทีวีหรือคุยแชทกับเพื่อน แต่จากผลงานวิจัยได้บอกไว้ว่ามันไม่ใช่เรื่องจริงสำหรับคนส่วนใหญ่หรอก [5] ดังนั้นเพื่อการเรียนที่ประสบความสำเร็จ ให้กำจัดตัวรบกวนเหล่านั้นซะ เช่น ทีวีและเสียงเพลงดังๆ ที่มีเนื้อร้อง เพราะการสลับความสนใจระหว่างการเรียนและการดูทีวีไปมาอย่างรวดเร็วจะทำให้มันเป็นเรื่องยากต่อสมองที่จะจัดลำดับของข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับ [6]
  4. ผลกระทบของดนตรีต่อประสิทธิภาพในการจดจำจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน จากงานวิจัยพบว่าเพลงช่วยเยียวยาความสามารถในการจดจำของคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นด้วย และทำให้อาการลดลงได้โดยปราศจากการผิดเพี้ยน ซึ่งดนตรีคลาสสิคถือได้ว่าได้ผลที่สุดในการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเรียนรู้ [7] โดยสามารถตัดสินใจได้ว่าจะมีหรือไม่มีดนตรีดีกว่า และหากชอบที่จะฟังเพลงตอนที่เรียนก็ให้ตั้งใจกับสิ่งที่ต้องเรียนจริงๆ ไม่ใช่จับจดอยู่กับทำนองที่กำลังเล่นอยู่ในหัว
    • ถ้าจำเป็นต้องฟังเพลงจริงๆ แล้วก็ให้หาเพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลง เพื่อที่จะไม่ทำให้คำในเพลงมารบกวนการเรียน
    • ฟังเพลงที่ใช้ประกอบฉากทั่วไปจากธรรมชาติเพื่อจะทำให้สมองตื่นตัวอยู่ตลอดและกันเสียงรบกวนอื่นๆ มาขัดขวาง และมีให้ฟรีอยู่บนเว็บทั่วไปมากมาย
    • การฟังเพลงของโมสาร์ตหรือเพลงคลาสสิคไม่ได้ทำให้ฉลาดขึ้นหรือช่วยเก็บข้อมูลในสมองหรอก แต่มันช่วยให้สมองเราเปิดรับข้อมูลมากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 6:

จัดการการเรียนรู้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สิ่งที่จะต้องทำก็คือ ตั้งเป้าหมายการเรียนที่จริงจัง โดยการวางแผนการเรียนเป็นสิ่งที่ดีเลย และหาก 3 ใน 5 ของบทเรียนมันง่ายและทำเสร็จไวไป ก็ทำให้เสร็จก่อน แล้วใช้เวลาที่มีค่านี้ไปกับบทเรียนที่ยากกว่าอย่างไม่ต้องเสียดายเลย
  2. ใช้สมุดโน้ตแล้วเขียนข้อมูลที่สำคัญที่สุดลงไป มันไม่เพียงแต่ทำให้สนใจเรียนมากขึ้น ยังเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนอีกด้วย แค่อย่าไปเสียเวลากับวิธีมากนัก เพราะต้องเอาเวลาไปทำมันเลยต่างหาก
  3. การจดใหม่อีกครั้งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก โดยการทำผังความคิดจะเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด และเมื่อเขียนอะไรซ้ำอีกครั้งจะทำให้คิดว่าสิ่งที่เขียนคืออะไร เกี่ยวกับอะไร และทำไมถึงเขียนมัน และที่สำคัญที่สุดคือ มันช่วยรื้อฟื้นความจำ โดยหากจดไว้เมื่อเดือนที่แล้วและรู้ว่ามันจะใช้สอบ ก็ให้เขียนมันอีกครั้งเพื่อจะทำให้จำได้เมื่อต้องการในการสอบ
    • อย่าจดแบบเดิมซ้ำๆ มันจะทำให้จำเฉพาะคำที่จดแทนที่จะเป็นแนวคิดที่แท้จริง ดังนั้นให้อ่านและคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่จด (เช่น การคิดถึงตัวอย่าง) แล้วเขียนเป็นคำใหม่แทน
  4. จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้บอกได้ว่าจำสิ่งที่เพิ่งเรียนมาได้ไหม อย่าพยายามจำตามคำที่จดเลย แต่ให้ตอบตัวเองด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นวิธีที่เป็นประโยชน์กว่า
    • การตอบคำถามออกมาดังๆ ก็ช่วยได้ เหมือนกับตอนที่พยายามอธิบายมันให้คนอื่นฟังเลย
  5. โดยถ้าทำข้อไหนผิดก็ให้หาคำตอบและทำความเข้าใจว่าทำไมถึงทำข้อเหล่านั้นผิด และมันจะเป็นส่วนที่จะช่วยได้หากข้อสอบที่จะต้องทำมันมีเนื้อหามากขึ้นหรือครอบคลุมซะทั้งหมด ดังนั้นเราก็ต้องรู้ให้หมดก่อนจะเรียนด้วย
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 6:

เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเรียนตอนที่เหนื่อยมาก โดยการนอนหลับตอนกลางคืนที่ดีหลังจากการเรียนสั้นๆ นั้นดีกว่าดันทุรังไปจนถึงตีสองของเช้าอีกวัน เพราะมันจะทำให้จำได้ไม่มากและความสามารถต่ำลงอีกในวันถัดไป
  2. อย่าอัดเนื้อหาทีเดียว การทำแบบนี้ในคืนก่อนการสอบไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะเป็นการรับข้อมูลมากเกินไปในทีเดียว ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะจำได้หมด โดยในความจริงแล้วการจะรักษาอะไรไว้ทำได้ยาก ดังนั้นการเรียนล่วงหน้าและทบทวนซ้ำหลายๆ ครั้งเป็นทางที่ดีที่สุดที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ และมันจริงที่สุดกับวิชาพวกประวัติศาสตร์และทฤษฎีต่างๆ
    • เรียนเมื่อมีโอกาสทุกครั้ง แม้ว่าจะมีแค่ 15 หรือ 20 นาทีก็ตาม การเรียนช่วงสั้นๆ แบบนี้แหละช่วยเพิ่มความเร็วได้
    • เรียนใน 25 นาที โดยใช้วิธีของ Pomodoro หลังจากนั้นพักซัก 5 นาที โดยทำซ้ำอีก 3 อีกครั้ง แล้วพักยาวขึ้นใน 30 – 45 นาที
  3. ถ้าเป็นผู้เรียนรู้ที่ใช้การมอง ก็ให้ใช้ภาพช่วย ส่วนนักเรียนรู้โดยการฟังก็ควรบันทึกเสียงตัวเองพูดสิ่งที่จดและท่องตาม แต่หากเป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหวให้บรรยายกับตัวเองดังๆ ในขณะที่ใช้มือหรือขยับไปรอบๆ มันจะเป็นทางที่ง่ายต่อการจดจำมากขึ้น
  4. วิชาอย่างคณิตศาสตร์ต้องฝึกฝนมากๆ ด้วยการทำโจทย์ปัญหาต่างๆ เพื่อที่จะทำให้คุ้นเคยกับวิธีการที่ใช้ ส่วนวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์หรือวรรณกรรม อาจจะต้องใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและการจดจำที่มากขึ้น เช่น ระยะเวลาหรือวันที่
    • ทำอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่การอ่านสิ่งที่จดซ้ำๆ โดยเพื่อการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องทำอย่างกระตือรือร้นทั้งในกระบวนการสร้างสรรค์ความรู้และการศึกษาข้อมูล โดยลองหาภาพรวมของสิ่งที่ได้จดไปหรือเรียงข้อมูลที่จดตามหัวข้อหรือวันที่
  5. ถามตัวเองว่าสิ่งที่อาจารย์น่าจะเอามาออกข้อสอบมากที่สุดคืออะไร หรือสิ่งที่ต้องสนใจเพื่อโอกาสในการรู้ว่าอะไรจำเป็นต้องรู้บ้าง รวมถึงคำถามหรือคำแนะนำไหนที่อาจารย์ได้แนะนำซ้ำไปซ้ำมาบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้สนใจเฉพาะข้อมูลที่สำคัญที่สุดมากกว่าการจมปลักอยู่กับสิ่งที่ไม่มีค่านัก
  6. ถ้าต้องการความช่วยเหลือก็ให้ถามใครซักคนที่เก่งในวิชานั้นๆ เพื่อน ครอบครัว ครูสอนพิเศษ และอาจารย์ต่างๆ นั้นจะเป็นทางเลือกที่ดี และถ้าไม่เข้าใจว่าพวกเขาต้องการจะสื่ออะไรแล้วก็อย่ากลัวที่จะขอคำอธิบายเพิ่มเติม
    • ขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ช่วยให้เรามุ่งมั่นกับสิ่งที่ทำและยังอาจจะเป็นประโยชน์ในอนาคต เช่น การสอบอีกด้วย โดยถามอาจารย์เสมอเมื่อไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังพูดหรือเมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อาจารย์จะเต็มใจช่วยเลยล่ะ
    • มันมักจะมีแหล่งข้อมูลที่โรงเรียนหรือวิทยาลัยที่จะช่วยในการจัดการกบความเครียด ตอบปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนรวมไปถึงในรูปแบบอื่นๆด้วย ถามอาจารย์หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของโรงเรียนเพื่อจะเรียนรู้วิธีใช้แหล่งข้อมูลเหล่านี้
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 6:

รักษาแรงกระตุ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณต้องการเวลาซักนิดในการที่จะมีความสุข และการเรียนตอนที่รู้สึกผ่อนคลายมันดีกว่าการที่หมดเรี่ยวแรงไปกับการนั่งเรียนทั้งวันแน่ๆ โดยจัดตารางการพักและการเรียนให้ดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การเรียนซัก 20 – 30 นาทีแล้วพักทุกครั้ง ครั้งละ 10 นาทีจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
    • หากมีปัญหาที่จะให้ตัวเองมาเรียน ก็ให้แบ่งงานเป็นช่วงละ 20 นาทีแล้วพัก 10 นาทีจะดีกว่าระยะเวลาที่เป็นช่วงยาวๆ ไม่มีการพักเลย
    • ต้องแน่ใจว่าแบ่งเวลาสมเหตุสมผลแล้วเพื่อจะได้ไม่ทำลายสิ่งที่คิดขึ้นระหว่างช่วงนั้นๆ เพราะไม่งั้นจะทำให้ยากต่อการจำแนวคิดทั้งหมด
  2. การมั่นใจในตัวเองนั้นสำคัญ และมองว่าสิ่งที่เรียนไปมันน้อยมากหรือทำข้อสอบไปแย่แค่ไหนมันจะขัดขวางเราจากทำงานที่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรจะเรียนหนัก มันยังจำเป็นต้องทำ แม้ว่าจะมั่นใจในตัวเองแล้วก็ตาม แต่ความมั่นใจแค่เป็นตัวขจัดขวากหนามที่จะไปสู่ความสำเร็จเท่านั้น
  3. จัดการวันเรียนกับเพื่อนที่ห้องสมุดเพื่อจะเปรียบเทียบสิ่งที่จดหรืออธิบายสิ่งที่อีกคนอาจจะไม่เข้าใจ เพราะการทำงานร่วมกันนี้จะสามารถช่วยปิดรอยรั่วของความรู้ตัวเองและยังช่วยให้จำข้อมูลได้มากขึ้นอีกด้วย เพราะอาจจะต้องอธิบายหรือพูดเกี่ยวกับหัวห้อนั้นๆ
    • ถ้าไปขอให้คนอื่นช่วยก็อย่ามัวแต่เล่น ให้ตั้งใจกับสิ่งที่กำลังทำอยู่
  4. ถ้าติดที่วิชาไหนก็ไม่ต้องกลัวที่จะโทรไปหาเพื่อนแล้วขอความช่วยเหลือซะ และหากเพื่อช่วยไม่ได้ก็ถามครูสอนพิเศษดู
    • ถ้ายังพอมีเวลาก่อนสอบและพบว่าตัวเองไม่เข้าใจสิ่งไหนก็ไปขอให้อาจารย์ช่วยอธิบายมัน
    โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 6:

เตรียมตัวเองสำหรับวันสอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เด็กๆ ในโรงเรียนประถมต้องการเวลาในการนอนเฉลี่ย 10 – 11 ชั่วโมงเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ในทางกลับกันวัยรุ่นต้องนอนอย่างน้อยมากกว่า 10 ชั่วโมง การนอนหลับที่น้อยสะสม (เรียกว่า “ติดหนี้การนอนหลับ”) มันจะทำให้ติดเป็นนิสัยแย่ระยะยาวกับการนอนหลับ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ทุกวันหลายๆ สัปดาห์จะทำให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นได้
    • อย่าบริโภคคาเฟอีนหรือสารกระตุ้นต่างๆ ในเวลา 5 – 6 ชั่วโมงก่อนการนอน (แต่หากแพทย์ได้สั่งยาที่เป็นสารกระตุ้นให้กินตามเวลาก็ให้กินแม้ว่าจะง่วงก็ตาม และต้องถามแพทย์ก่อนจะเปลี่ยนแปลงใดๆ ) เพราะสารบางชนิดลดประสิทธิภาพของการนอนหลับ จึงทำให้ถึงจะมีเวลานอนที่เพียงพอก็จะรู้สึกเหมือนไม่ได้พักผ่อนเพราะถูกปลุก
  2. กินมื้อเช้าที่สมดุลเต็มไปด้วยโปรตีนไร้มัน ผัก กรดไขมันโอเมก้า 3 และสารแอนตี้ออกซิแดนท์ เช่น อาหารเช้าที่อาจจะประกอบไปด้วยไข่เจียวผักโขมและแซลมอนรมควัน ขนมปังโฮลวีตปิ้ง และกล้วย [8]
  3. หากการสอบยาวให้เอาของว่างไปด้วยถ้าทำได้ เพราะสิ่งที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและโปรตีน เช่น แซนวิชโฮลวีตทาเนยถั่วหรือแท่งการ์โนล่าจะช่วยเสริมความสามารถในการจดจ่อให้มากขึ้นเมื่อมันลดลงได้ [9]
  4. ใช้เวลากับตัวเองอย่างน้อย 5 หรือ 10 นาทีเพื่อรวบรวมความคิดก่อนเริ่มทำข้อสอบ เพราะมันจะทำให้จัดการได้ดีและมีเวลาที่จะผ่อนคลายก่อนการสอบจะเริ่มขึ้น
  5. ถ้าไม่รู้ข้อไหนก็ข้ามไปทำข้ออื่นก่อนแล้วค่อยกลับมาทำทีหลัง เพราะการติดและมัวจดจ่ออยู่กับคำถามที่ไม่รู้คำตอบอาจทำให้เป็นการเสียเวลา ซึ่งเป็นตัวเสียคะแนนเลย
  6. ถ้ามีสอบไวยากรณ์หรือสอบภาษาอังกฤษแล้วทำบัตรคำจะช่วยให้จำคำจำกัดความของคำนั้นๆ ได้ดี และยังสามารถเอาไปโรงเรียนแล้วแค่พลิกมันก่อนที่จะเริ่มสอบเอง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าตั้งใจจะเริ่มในเวลาไหนแล้ว เช่น ตอนเที่ยงคืน แต่เลยเวลาและคิดได้ตอนที่ผ่านไป 10 นาทีแล้วก็อย่าปล่อยให้ไปถึง ตี 1 แล้วค่อยเริ่ม มันไม่สายเกินไปที่จะทำงานหรอก
  • เขียนสมุดโน้ตประจำตัวใหม่อีกครั้งด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ เพราะมันจะง่ายต่อการจำมากกว่าการอ่านย่อหน้าใหญ่ๆ
  • ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับคำถามและพบว่ามันยากที่จะจำคำตอบ ให้เขียนคำถามไว้ด้านหนึ่งของบัตรคำและคำตอบไว้ด้านหลัง แล้วฝึกการเชื่อมโยงคำถามเข้ากับคำตอบเพื่อจะให้มันช่วยในการจำคำตอบ
  • พักเพราะมันจะช่วยให้สมองได้ผ่อนคลายและซึมซับข้อมูลที่เพิ่งเรียนมา
  • อ่านออกเสียงเพื่อจะทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น
  • ทำงานตามตาราง
  • อย่าเรียนด้วยการนอนบนเตียงเพราะมันจะทำให้ง่วงได้
  • ปิดโทรศัพท์ เว็บสังคมออนไลน์และทีวี
  • นอนหลับให้เพียงพอและกินอาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพ
  • ศึกษาตอนหลักๆ หนึ่งตอนอย่างเหมาะสมดีกว่าเรียนทุกตอนทีเดียว
  • พยายามอย่ากินมากเกินไปก่อนนั่งเรียนเพราะมันทำให้รู้สึกขี้เกียจหรือเหนื่อยได้
  • ทำตัวให้กระตือรือร้น (วิ่ง หรือปั่นจักรยาน เป็นต้น) ก่อนจะเรียนจะช่วยให้พุ่งความสนใจและคิดโจทย์ปัญหาอย่างรอบคอบขึ้น
  • ทำใจให้ว่างและสนใจแค่การเรียน
  • พักอย่างต่อเนื่อง
  • จัดการกับสถานที่ที่นั่งเพื่อจะได้จัดการกับสมองด้วย
  • ดูข้อสอบเก่าและการบ้าน เพื่อจะช่วยให้ทำข้อสอบที่มีคำถามคล้ายๆ กันได้
  • จดยุกยิกตอนที่เรียน เพราะจากงานวิจัยพบว่ามันทำให้ผู้คนเพ่งความสนใจได้มากขึ้น
  • อย่ากลัวการสอบ
  • นอนอย่างน้อย 9 ชั่วโมงในตอนกลางคืนเพื่อจะได้สดชื่นและผ่อนคลายในเวลาสอบ
  • ถ้ามีปัญหาให้พูดคุยกับอาจารย์
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเรียนเฉพาะคืนก่อนสอบ โดยควรเรียนทีละเล็กทีละน้อยเมื่อกลับมาจากโรงเรียนทุกวัน เพราะมันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเรียนทุกอย่างทีเดียว
  • หลีกเลี่ยงความเครียดจากผู้คนถ้าเป็นไปได้ เพราะการสร้างบรรยากาศในแง่ลบและเคร่งเครียดในการเรียนจะทำให้รู้สึกอย่างหนีจากมัน
  • การโกงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาในการสอบใดๆ แต่มันจะแค่ทำให้ล้มเหลว และมันมีบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับการโกงอยู่ อย่างการเขียนบันทึกลงในประวัติและรวมไปถึงการไล่ออกเลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,637 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา